ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

GC : closing price 1,616.00

 

SI : closing price 29.84

 

GC & SI : ระบบ " แดง " แรกวันนี้ครับ

 

เข้าเมื่อวาน วันนี้ต้องออกซะละ โดนไปตามระบบ :lol: :lol: :lol:

 

- -'' ขอบคุณครับ... รอกันต่อไป ....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอรับระบบได้จากที่ไหนเหรอ

โดยที่ไม่ต้องมาดูคุณเฮนรี่หรือคุณเสมโพสในบอร์ด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จาก fb คุณเสม ครับ (เมื่อประมาณบ่าย 3 โมงวันนี้)

 

GC20111005 ทอง SW ต่อไปในกรอบ $1,600-$1,650 GF นิ่งๆก่อนนะครับรอราคา break out เสียก่อน นิ่งๆไว้

 

DX ราคาดีดขึ้นต่อเนื่องครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤติภาคต่อไป : แบงก์ยุโรป

โดย : ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ boontham.r@ku.ac.th คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพธุรกิจ 5 ตุลาคม 2554

 

 

 

นอกจากปัญหาหนี้ของกรีซซึ่งกำลังรอลุ้นบทสรุปในภาคนี้ ยุโรปยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่กำลังรอวันแก้ไขอยู่ นั่นคือ ปัญหาสถาบันการเงินของหลายๆ ประเทศในยุโรป ที่แม้หลายฝ่ายจะทราบกันดีว่าย่ำแย่ แต่ข้อมูลต่างๆ กลับมิได้ถูกแสดงอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มวิกฤติในรอบนี้

 

เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น ผมจะขอตั้งและตอบคำถามที่น่าสนใจในเรื่องดังกล่าว ดังนี้ หนึ่ง ขนาดความเสียหายของสถาบันการเงินยุโรปมีมากน้อยประมาณเท่าใด และอะไรคือความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันสำหรับปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐและยุโรป สอง ทำไมต้องรีบแก้ปัญหาแบงก์ยุโรปโดยเร่งด่วน และท้ายสุด รูปแบบใดบ้างที่กำลังจะถูกนำมาใช้แก้ไขปัญหานี้ในอนาคตอันใกล้

 

คำถามแรก จากตัวเลขที่ผู้เขียนประมาณบนพื้นฐานของผลลัพธ์การทดสอบภาวะวิกฤติ หรือ Stress Test ของยุโรปครั้งล่าสุดเมื่อเกือบ 3 เดือนที่แล้ว ในส่วนของธนาคารที่เกือบจะไม่ผ่านการทดสอบจำนวนทั้งหมด 19 แห่ง จะพบว่า ปัญหาธนาคารในยุโรปขณะนี้ มีตัวเลขความเสียหายขั้นต่ำที่สุดอยู่ที่เกือบ 4 แสนล้านยูโร ดังรูป ซึ่งยังน้อยกว่าตัวเลขความเสียหายของสหรัฐที่เคยประมาณไว้จากการทดสอบภาวะวิกฤติตอนต้นปี 2009 แม้ว่าปริมาณสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ในยุโรปจะสูงกว่าของสหรัฐก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากความรุนแรงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุโรปในขณะนี้ที่ไม่น่าจะน้อยกว่าของสหรัฐ ประกอบกับท่าทีความกังวลอย่างเห็นได้ชัดต่อวิกฤติแบงก์ในยุโรปของนางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศคนใหม่ จึงมีความเป็นไปได้สูงว่ายังมีความเสียหายอีกจำนวนหนึ่งยังมิได้ถูกบันทึกไว้ด้วยขนาดที่มีนัยสำคัญ

 

อย่างไรก็ดี เนื่องจากตัวเลขความเสียหายของสินเชื่อในยุโรปส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่สินเชื่อขนาดใหญ่ และ SME ทำให้การแก้ปัญหาหนี้เสียของยุโรป น่าจะเป็นการเจรจาระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางกับสถาบันการเงิน โดยอาจมีหน่วยงานภาครัฐเป็นตัวกลาง จึงอาจจะไม่ต้องพึ่งพาตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคที่ดีขึ้นมากเท่าไรนักเพื่อให้ตัวเลขหนี้เสียลดลง แตกต่างจากสถานการณ์ในสหรัฐ ซึ่งความเสียหายส่วนใหญ่ไปอยู่ที่สินเชื่อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นหน้าที่หลักของธนาคารกลางและกระทรวงการคลังสหรัฐ ที่จะต้องพยายามทำให้อัตราการว่างงานลดลงโดยเร็ว รวมถึงต้องบีบให้สถาบันการเงินลดเงื่อนไขในการปล่อยกู้และปฏิบัติกับลูกหนี้ที่มีปัญหา เพื่อให้สินเชื่อในกลุ่มดังกล่าวกระเตื้องขึ้นมาบ้าง จะเห็นได้ว่า หากพิจารณาให้ลึกลงไปในประเด็นความยากของการแก้ปัญหาสถาบันการเงินในตอนนี้ จะพบว่า สหรัฐ อาจจะต้องทำงานหนักกว่ายุโรปอยู่พอควร

 

คำถามต่อไป คือ แล้วทำไมต้องรีบแก้ปัญหานี้ คำตอบคือ เหตุผลทางระเบียบการเงินใหม่ของโลก ส่งผลให้ปัญหาธนาคารในยุโรปจำเป็นที่จะต้องถูกเร่งรัดแก้ไขให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว กล่าวคือ จากเดิมที่สินเชื่อขนาดใหญ่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ด้วยการตรวจสอบแบบไม่ละเอียดมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้ระเบียบใหม่ทางการเงิน จะมีผลให้การตรวจสอบสินเชื่อแต่ละรายมีความละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นโดยใช้หลักการ Credit Valuation Adjustment (CVA) จึงอาจทำให้การไม่รายงานหนี้ที่มีปัญหาแบบครบถ้วน ไม่คุ้มค่าที่จะปฏิบัติอีกต่อไป

 

ท้ายสุด ใครจะเป็นผู้แก้ปัญหานี้ หากพิจารณาขนาดความเสียหายของทั้งวิกฤติหนี้ภาครัฐของ PIIGS และ วิกฤติสถาบันการเงินในยุโรปข้างต้น ตัวเลขสุดท้ายจากหลายฝ่ายฟันธงไปที่ 1.5-2 ล้านล้านยูโร ทว่าขนาดของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป หรือ European Financial Stability Facility (EFSF) ในปัจจุบันหลังจากที่รัฐสภาเยอรมันโหวตผ่านร่างกฎหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมีอีกหลายประเทศที่กำลังจะผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ยังมีขนาดสูงสุดเพียง 4.4 แสนล้านยูโรเท่านั้น แม้จะมีโครงการความช่วยเหลืออื่นๆ ในยูโรอีก ทว่าขนาดรวมก็ยังน้อยกว่าตัวเลขที่ฟันธงข้างต้นอยู่มาก ทำให้ขณะนี้หลายฝ่ายจึงกำลังมองหาแหล่งเงินเพิ่มเติมอยู่

 

แนวคิดที่เด่นๆ ในขณะนี้มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง เปลี่ยนให้ EFSF เป็นผู้ค้ำประกันตราสารที่จะออกใหม่ไว้ขายให้กับนักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศ BRIC เพื่อให้ขนาดความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น อาทิ หากค้ำประกันเพียงร้อยละ 20 ความเสียหายจากตราสารดังกล่าวจะตกอยู่ที่ EFSF เพียงร้อยละ 20 และตกอยู่กับนักลงทุนอีกร้อยละ 80 ส่วนวิธีที่สอง คือ ให้ EFSF ออกพันธบัตร แล้วขอกู้เงินกับธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB โดยใช้พันธบัตรดังกล่าวเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ ความเสียหายของ EFSF จะถูกจำกัดอยู่เพียงไม่เกินมูลค่าหลักประกันเท่านั้น อย่างไรก็ดี ทั้งกลุ่มประเทศ BRIC และ ECB จะตกลงก็ต่อเมื่อเงื่อนไขต้องจูงใจมากๆ ซึ่งในที่สุด EFSF ก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์มากอย่างที่คิดกัน

 

สำหรับอีกแนวทางหนึ่งคือ การจัดตั้งกองทุนซึ่งคล้ายคลึงกับโครงการ Troubled Asset Relief Program (TARP) ของสหรัฐที่ซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงินต่างๆ ที่เกือบจะล้มเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน คำถามคือ สัดส่วนของเงินที่แต่ละประเทศในยูโรจะร่วมลงขันนั้น จะออกมาเป็นเช่นไร เนื่องจากหากออกเงินตามสัดส่วนใน EFSF เยอรมนีจะต้องลงเงินมากที่สุด ทว่าจากรูป ฝรั่งเศส อิตาลี และ สเปน เป็นประเทศที่น่าจะใช้เงินในการช่วยเหลือแบงก์มากที่สุด ประเด็นนี้น่าจะต้องถกเถียงกันอีกพอสมควร ที่น่าสนใจมาก คือ การลงขันดังกล่าวเสมือนกับเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับภาครัฐของเยอรมันและฝรั่งเศส ย่อมส่งผลให้โอกาสที่ทั้งคู่จะต้องถูกลดอันดับเครดิตมีมากขึ้นเช่นกัน

 

อย่างไรก็ดี เหนือสิ่งอื่นใด เรื่องเร่งด่วนของธนาคารยุโรปในขณะนี้ คือ การที่จะต้องฝ่าวิกฤตสภาพคล่องให้ผ่านช่วงไตรมาส 1 ปีหน้าไปให้ได้ จากการที่มีปริมาณเงินดอลลาร์ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินของตนเองหรือค้ำประกันให้หน่วยงานอื่น จนธนาคารกลาง 5 แห่งหลักทั่วโลกต้องประกาศตั้งโต๊ะปล่อยกู้ดอลลาร์จนถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้

 

ผมขอสรุปสั้นๆ ว่า วิกฤติสถาบันการเงินในยุโรปกำลังเริ่มปรากฏชัดขึ้นแบบเป็นทางการแล้วนับจากนี้ และการหาทางแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว น่าจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควรครับ

 

หมายเหตุ - สนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Operation Twist และ ปัจจัยกำหนดราคาทองคำ ได้ที่ “Blog ดร.ธรรม” ที่

http://facebook.com/MacroView และ http://www.econbizview.com ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเตรียมการรับมือวิกฤติของสหภาพยุโรป

โดย : กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรุงเทพธุรกิจ 5 ตุลาคม 2554

 

จากนี้ต่อไป จะเป็นช่วงเวลาของการนับถอยหลัง เพื่อเตรียมการรับมือวิกฤติของสหภาพยุโรป

 

สำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิดจะพบว่า นับวันเหตุการณ์ยิ่งบานปลาย ล่าสุดเริ่มมีข่าวว่า แบงก์บางแห่งในสหภาพยุโรปเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) ต้องนำมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องหลายขนานที่เคยใช้ไปเมื่อปี 2008-2009 ออกมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการนำดอลลาร์จากธนาคารกลางสหรัฐ มาช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ผ่าน currency swap การออกมาตรการปล่อยสภาพคล่องเงินยูโร โดยการปล่อยกู้ยืมระยะยาวให้กับธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงการที่ ECB ต้องเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาจากตลาดที่ต้องนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

 

ถ้าเราทำใจกลางๆ การที่ ECB นำมาตรการเหล่านี้ออกมาใช้อีกรอบ ทั้งๆ ที่ เคยหยุดใช้ไปแล้ว ตีความได้สถานเดียวว่า ปัญหาเริ่มกลับมาอีกครั้ง และปัญหารอบนี้ แรงกว่าเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา จนต้องเอาเครื่องช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจ ล้างไต ที่เคยใส่ให้กับคนไข้ ถอดออกไป แล้วต้องกลับมาใส่อีกครั้งเช่นนี้

 

สัญญาณเหล่านี้ จึงเป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนว่า วิกฤติหนี้ภาครัฐในยุโรปกำลังเข้าสู่ช่วงที่ 2 หรือ phase II ที่น่ากังวลใจจากเดิมมาก เพราะรอบนี้ ปัญหาไม่ใช่วิกฤติการคลัง ที่ค่อยๆ ใช้เวลาในการสุกงอม ปัญหารอบนี้คือวิกฤติสถาบันการเงิน ที่สามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว (แม้จะอยู่ในช่วงต้นๆ ของการเกิดวิกฤติสถาบันการเงิน) ซึ่งถ้าแก้ไม่ดี ปัญหาอาจจะลึกซึ้ง รุนแรง กระทบกว้างไกลกว่าที่หลายคนคาด

 

จะเตรียมการรองรับปัญหาอย่างไร

 

ณ จุดนี้ ถ้าถามว่า “ระดับความรุนแรงของปัญหาจะร้ายแรงแค่ไหน” คงต้องตอบว่า “ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ขึ้นกับมาตรการแก้ไขปัญหาในยุโรป” ว่าจะมีมาตรการที่ (1) ตรงจุด (2) ขนาดเพียงพอกับปัญหา (3) ลงมือทำอย่างรวดเร็วหรือไม่

 

ถ้าทางการยุโรปยังคงเลือกที่จะออกมาตรการแบบ “ขอไปที” ตามที่ได้ทำมาในช่วง 2 ปีที่แล้ว โดยไม่ยอมรับปัญหาตามที่เป็นจริง อาทิ ยอมรับว่า กรีซยังไงก็คืนหนี้ไม่ได้ และต้องตัดหนี้ออกไปอย่างน้อย 50% เงินกองทุนของหลายแบงก์ในยุโรปไม่พอ ต้องหาทางเพิ่ม หรือยึดมาเป็นของภาครัฐ และปัญหาครั้งนี้จะกำหนดความเป็นตายของสหภาพยุโรปโดยรวม ไม่มีเวลาสำหรับเกมการเมืองอีกต่อไป เป็นต้น การแก้ไขปัญหาก็จะไม่เริ่มขึ้น ยุโรปก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

 

และต่อให้พยายามแก้ การที่ไม่ยอมรับความจริงเช่นนี้ ก็จะทำให้แก้ผิดจุด ใช้ยาผิดขนาน เป๋ไปเป๋มา (ไม่น่าแปลกใจว่า ไม่ว่าจะพยายามพูดให้ตลาดเชื่อเท่าไร แต่ท้ายที่สุด ตลาดก็ไม่เคยเชื่อตามนั้น ทำตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลหวัง เก็งกำไรกันว่าเล่น) ซึ่งนับวัน ยิ่งทางการยุโรปช้าไป ความเสียหายก็ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที และยาที่ต้องใช้ ก็ต้องเป็นยาที่แรงขึ้นทุกที

 

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ประเทศไทยควรทำ ณ จุดนี้ ก็คือ “prepare for the worst and hope for the best” ซึ่งถ้าสถานการณ์ไม่ร้ายแรงขนาดนั้น เราก็จะสบาย ถ้าแย่ตามที่คาด ก็จะสบายเช่นกัน เพราะได้เตรียมการไว้หมดแล้ว โดยสิ่งที่เราควรเตรียมไว้นั้น ควรเริ่มจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา

 

ขอให้ทุกคนย้อนความจำไป 3 ปีว่า เมื่อตอนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เราทำอะไร ปรับตัวอย่างไร ลงทุนอย่างไร ไม่ว่าท่านจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน หรือรัฐบาล อะไรที่ทำถูกครั้งที่แล้ว ขอให้ทำอีกครั้ง อะไรที่พลาดไป ขอให้ใช้เป็นบทเรียน เพื่อครั้งนี้จะได้ไม่ผิดซ้ำอีกรอบ

 

โดยส่วนตัวคิดว่า วิกฤติครั้งนี้จะเบากว่าวิกฤติรอบที่แล้ว โดยปัญหาจะอยู่ในยุโรปเป็นสำคัญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อเทียบกับปี 2008 ทุกคนรู้ถึงปัญหา ได้ระวัง เตรียมการไว้แล้วในระดับหนึ่ง สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และการที่วิกฤติรอบนี้ไม่ได้ surprise ทุกคน ผลต่อสภาพคล่อง และความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวก็จะมีน้อยกว่าครั้งที่แล้ว

 

แต่ก็ขออย่าได้ตายใจ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็ยังจะมีความรุนแรงพอสมควร ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

 

ช่วงต่อไปจะเป็นช่วงของความผันผวน (ใครที่ขึ้นเครื่องบินบ่อย คงเคยได้ยินที่กัปตันประกาศว่า กำลังเข้าสู่ช่วงอากาศแปรปรวน ให้กรุณารัดเข็มขัด) เริ่มจากความผันผวนในตลาดหุ้นที่ได้ตกกันมามากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ ลงมาอยู่ที่ 869.31 จุด โดยความผันผวนในตลาดหุ้นจะยังไม่จบลงง่าย ต้องรอจนกระทั่งปัญหาในยุโรปได้รับการแก้ไข ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง (ก็ขอให้นักลงทุน ลงทุนโดยมีภาพนี้อยู่ในใจ)

 

ในอีกด้าน ความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จากการที่ค่าเงินดอลลาร์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยความผันผวนได้ลามไปถึงตลาดอื่นๆ เช่น ทองคำ เงิน ราคาสินค้า commodities ซึ่งปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินในยุโรป การขาดทุนของกองทุนต่างๆ จากการปรับตัวลดลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก กำลังทำให้เงินไหลออกจากตลาดที่เสี่ยง และย้อนกลับไปที่ดอลลาร์อีกครั้งหนึ่ง นำมาสู่การปรับลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็ขอให้ทุกคนทำใจว่า ความผันผวนเหล่านี้จะอยู่กับเราอีกระยะ เตรียมการเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากค่าเงินและราคาวัตถุดิบเหล่านี้ ไว้แต่เนิ่นๆ

 

ส่วนภาคการผลิต ในช่วง 1 ปีข้างหน้า หลังจากวิกฤติการเงินได้สุกงอมเต็มที่ สภาพคล่องในเศรษฐกิจจริงจะถูกกระทบ และมีนัยต่อภาคส่งออกและภาคการผลิตเหมือนครั้งที่แล้ว เพียงแต่รอบนี้ ปัญหาจะหนักหน่วงเป็นพิเศษที่ยุโรป มีปัญหาบ้างที่สหรัฐ และเอเชียจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของปัญหา ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกควรพยายามลดการพึ่งพิงตลาดยุโรปแต่เนิ่นๆ พยายามหันมาตลาดในเอเชียให้มากขึ้น ใช้เงินสกุลท้องถิ่น พร้อมกันนั้น พยายามลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพราะท้ายที่สุดแล้ว การส่งออกไปเอเชีย ก็คงพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยบ้าง

 

สิ่งที่จะแตกต่างไปอย่างมีนัยสำคัญในรอบนี้ก็คือ รัฐบาลในสหรัฐและยุโรป ไม่มีเงินมากนักที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นจะใช้เวลานานกว่าจะออกจากวิกฤติได้ ด้วยเหตุนี้ เราคงต้องพยายามหันธุรกิจเรามาที่เอเชีย ที่น่าจะยังไปได้ หลังจากฝุ่นหายตลบลง เพราะพื้นฐานเราดี ฐานะการเงินของทุกส่วนของเราเข้มแข็ง และเมื่อเวลาผ่านไป เอเชียก็จะยิ่งดูดีมากๆ เมื่อเทียบกับทุกภูมิภาค ที่อยู่ในภาวะซึมหลังจากเกิดวิกฤติ ซึ่งจะช่วยดึงดูดทุกธุรกิจให้มุ่งหน้ามาที่เอเชีย

 

ท้ายสุดสำหรับภาคทางการ ถ้าจำเป็น ไม่มีทางเลี่ยง การกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ยังจะเป็นตัวช่วยสำคัญในสถานการณ์เช่นนี้ รวมไปถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินตามที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ เอเชียได้เปรียบสหรัฐและยุโรปมาก เพราะเราอยู่ในฐานะที่ทำได้ และไม่ได้มีปัญหาการคลังเหมือนยุโรป และจะเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจของเอเชียอีกทาง

 

ในเวลาเช่นนี้ ก็ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ช่วยให้เราผ่านวิกฤติเมื่อ 3 ปีที่แล้วมาได้ และพยายามเตรียมการแต่เนิ่นๆ ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ เราก็น่าจะผ่านวิกฤติรอบนี้ไปได้เช่นกัน ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

 

หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม หรือเสนอแนะได้ที่ “Blog ดร.กอบ” ที่ www.kobsak.com ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณเสมที่แวะข้ามา ขอบคุณคุณส้มโอมือสำหรับบทความดีๆด้วยคร้าบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สวัสดี นักลงทุนทุกท่าน เมื่อวานนี้ตลาด Dow Jone ปรับตัวขึ้นตามเทคนิคปิดที่ราคา 10,939.95 +131.24 หรือ +1.21%

ตลาด S&P500 ปิดที่ 1,144.03 +20.08 หรือ +1.79% ส่งผลให้ตลาด SET บ้านเราในวันนี้เเนวโน้มเป็นบวกตามตลาดต่างประเทศ

ระยะสั้น ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับตัวขึ้นตามเทคนิค เเต่ระยะกลาง เเละยาว ตลาดหุ้น เน่า สนิท

 

ทองคำปรับตัวโดยการ Sideway up $1644.47 + 1.01% ระยะสั้นอาจจะมีการปรับตัวขึ้นตามทางเทคนิคระยะกลาง ยังดูไม่ดี ระยะยาวทองคำยังสดใสมากมาย

 

SI ราคาปิดที่ $30.43 + 0.33% หลังจากโดนเพิ่ม margin ราคาก็ไหลลงต่อเนื่อง ตลาดเงินตอนนี้เหมือนทองคำ Side way

 

ตลาดยางพารา TC เเละ AFET ยังลงไม่เสร็จ ระยะสั้นในราย week หน้าอาจจะมีการดีดกลับของราคา เเต่ระยะกลางเเละยาว ตลาดนี้ยังเน่าสนิท

 

 

ตัวที่น่าสนใจตอนนี้มี 2 ตัว

ตัวเเรก DX หรือ ดอลล่าปิดไปที่ 78.989 +0.070 หรือ +0.09% ระยะสั้นตลาดพักตัวชั่วคราว

ตัวที่ 2 Crude Oil 79.58 -0.10 หรือ -0.13% ระยะสั้นอาจจะมีการดีดตัวกลับของราคา เเต่ระยะกลางเเละยาว ยังเน่าสนิท

 

 

 

ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ

^^

 

 

 

 

 

post-31-044295400 1317868765.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

CL ตัวนี้ระยะสั้นน่าสนใจ ราคาจะดีดกลับใน สัปดาห์นี้เเละสัปดาห์หน้า

 

 

post-31-009822300 1317868853.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณเสม ดีใจจังเลย ที่คุณเสมมาให้ข้อมูล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคะคุณเสม สบายดีหรือเปล่า

ขอบคุณมากคะที่มาอัพเดทข้อมูล :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...