ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

จากทีม งาน ข้อมูล ของเวปฉโลกนะครับ ข้อมูลมาปกตินะครับ ลองใช้โปรแกรม CDCDL หรือ the stock Downlonder ดึงดูนะครับ

 

ขอบคุณมาก ๆค่ะ เดี๋ยวลองโหลดใหม่ค่ะ..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET : เขียวแรก

 

S50 : ข้อมูลไม่อัพเดท

 

 

ไป โหลด ไฟล์ข้อมูลมา covert นะครับ หรือไม่ก็ เอา CDCDL ดาวโหลดก็ได้ครับ ช่วงนี้ข้อมูลมีปัญหา ให้ลองใช้ทั้งสองโปรแกรมสลับกันนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยุโรปกัดฟันอุ้มเด็กเซีย บทเรียนที่ต้องไม่ซ้ำเลห์แมน บราเธอร์

11 ตุลาคม 2554 เวลา 08:14 น. | เปิดอ่าน 1,041 | ความคิดเห็น 2

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

เป็นเรื่องต้องลุ้นชนิดใจหายใจคว่ำกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ร่วมทุนระหว่างประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม อย่างธนาคารเด็กเซีย ว่าจะร่วงหรือจะรอดจากเหตุวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรปในครั้งนี้

 

เพราะถ้าหากกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ยอมปล่อยมือจากธนาคารเด็กเซีย ให้เผชิญชะตากรรมหนี้ความเสี่ยงสูงที่บังเอิญจำต้องแบกรับมาแต่เพียงลำพัง

 

หน้าประวัติศาสตร์โลกคงมิแคล้วต้องบันทึกเหตุการณ์ธนาคารล่มสลายอีกครั้งตามรอยวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นกับธนาคารรุ่นพี่อย่างเลห์แมน บราเธอร์สในสหรัฐ เมื่อปี 2551

 

อย่างไรก็ตาม โลกค่อยๆ กลับมาคึกคักให้พอชื่นใจกันได้อีกครั้ง เมื่อสองพี่เบิ้มแห่งอียู ทั้งนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เกิลแห่งเยอรมนี และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส สามารถจับมือบรรลุข้อตกลงในประเด็นหลักเรื่องแผนรองรับปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซที่จ่อลุกลามเข้าสู่ระบบการเงินได้สำเร็จ หลังจากคุยหารือถกเถียงกันอย่างมาราธอน

 

ขณะเดียวกัน ทางด้านสามทหารเสือ ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีฟรองซัวส์ ฟิลยงแห่งฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีอีฟ เลอแตร์ม แห่งเบลเยียม และรัฐมนตรีการคลัง ลุก ฟรีย์เดนแห่งลักเซมเบิร์ก ยังตอกย้ำให้นักลงทุนเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อทั้งสามมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้แยกกิจการธนาคารของเด็กเซียออกจากกัน

 

 

หมายความว่า เด็กเซีย ต้องยอมขายกิจการหลักๆ ทั้งหมด พร้อมจัดตั้ง “แบด แบงก์” บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขึ้นเพื่อรับโอนสินทรัพย์ที่เสี่ยงมาบริหารเสียเอง โดยเด็กเซียจะได้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลฝรั่งเศส เบลเยียม และลักเซมเบิร์กเป็นผู้รับประกันสินทรัพย์ของแบด แบงก์เองทั้งหมด ด้วยวงเงินค้ำประกัน 9 หมื่นล้านยูโร ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเบลเยียมให้มากที่สุดคือ 60.5% ฝรั่งเศส 36.5% และลักเซมเบิร์กอีก 3%

 

อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือว่า ธนาคารขนาดใหญ่ทุนหนาอย่างเด็กเซีย กลายเป็นเหยื่อรายแรกที่ต้องสังเวยให้กับวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรปได้อย่างไร

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2539 เด็กเซีย ถือกำเนิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่างสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ของฝรั่งเศสและเบลเยียมที่นิยมลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลท้องถิ่น ก่อนจะขยายกิจการใหญ่โตจนมีเครือข่ายธุรกิจทั่วโลก

 

ทว่า กิจการของเด็กเซียก็มีอันต้องสะดุดครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกจากวิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ เนื่องจากธนาคารขาดสภาพคล่องจากสินทรัพย์ที่เสียไป จนรัฐบาลฝรั่งเศส เบลเยียม และลักเซมเบิร์กต้องให้เงินช่วยเหลือก้อนแรกจำนวน 6,400 ล้านยูโร ในปี 2551

 

ทั้งนี้ แม้ว่า วิกฤตเลห์แมน จะเป็นชนวนเริ่มต้นให้เด็กเซียเกิดปัญหา แต่สถานการณ์ของธนาคารในปัจจุบันมาจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปล้วนๆ

 

เด็กเซียถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซสูงถึง 3,400 ล้านยูโร ขณะที่อีก 1.75 หมื่นล้านยูโรก็เป็นพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลี สเปน โปรตุเกส และประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีปัญหา ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงทั้งสิ้น แต่เด็กเซียก็สามารถผ่าน Stress Test ของอียูมาได้ เพียงเพราะบททดสอบดังกล่าวลืมกำหนดเงื่อนไขในกรณีที่กรีซเกิดผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเซียต้องขาดทุนมากกว่า 50-60%

 

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ยอมรับว่าแม้ธนาคารขนาดใหญ่อย่างเด็กเซียจะมีเงินทุนเพียงพอรองรับการขาดทุนจำนวนมหาศาล แต่สำหรับธนาคารที่พึ่งพาการเก็งกำไรในกองทุนระยะสั้นอย่างเด็กเซีย สถานการณ์ดังกล่าวไม่ต่างกับการฆ่าตัวตาย เพราะนักลงทุนพากันกังวลจนไม่ยอมนำเงินมาลงทุน

 

ทั้งนี้ แม้ว่าธนาคารเด็กเซียจะพยายามดิ้นรนด้วยการขายสินทรัพย์คุณภาพต่ำประเภทเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่การเร่งเทขายก็ทำให้ธนาคารต้องเฉือนเนื้อหั่นราคาสินทรัพย์ลงถึง 3,600 ล้านยูโร

 

เมื่อขาดสภาพคล่องด้านเงินทุนอย่างหนัก และการเร่งขายสินทรัพย์ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือการเดินหน้าขาดทุนของธนาคารสามไตรมาสรวด จนขึ้นแท่นบัญชีดำอันตรายของนักวิเคราะห์และนักลงทุนหลายฝ่าย และเข้าขั้นเลวร้ายด้วยหุ้นที่ดิ่งเหวถึง 37% ในวันเดียว ก่อนที่รัฐบาลฝรั่งเศสและเบลเยียมจะตัดสินใจประกาศแผนช่วยเหลือธนาคารเด็กเซีย

 

ต้องยอมรับว่า การที่รัฐบาลฝรั่งเศสและเบลเยียมยอมให้ควักเงินจำนวนหลายพันล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือธนาคารเด็กเซียในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่กดดันไม่น้อย แถมดีไม่ดีอาจจะต้องเจ็บตัวตามไปด้วย

 

แต่หากไม่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ และปล่อยให้เด็กเซียล้มตึงลงไปต่อหน้า ก็เป็นเรื่องที่อียูก็ไม่อาจยอมให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน และการช่วยเหลือเด็กเซียในครั้งนี้นับว่ามีนัยสำคัญซ่อนเร้นอยู่

 

ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้าที่เด็กเซียจะเกิดเรื่อง เด็กเซียผ่านการทดสอบความเสี่ยงของอียูมาได้อย่างฉลุย ส่งผลให้ทั่วโลกเริ่มกังขาแล้วว่า ยังมีธนาคารพาณิชย์ในยุโรปอีกเท่าไรที่ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นนี้ แต่ว่ามองไม่เห็น

นอกจากนี้ จนกว่าปัญหาวิกฤตหนี้จะสิ้นสุดลงอย่างเด็ดขาด สิ่งที่ยังคงเป็นปัญหากวนใจที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็คือ ปัญหาหนี้ที่อาจลุกลามต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่กว่ากรีซ โปรตุเกส หรือไอร์แลนด์ ไม่ว่าจะเป็น สเปน อิตาลี และอาจจะลามถึงฝรั่งเศสในที่สุด

 

เพราะเมื่อนักลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นแล้ว ความกลัวดังกล่าวก็จะคอยหลอกหลอนอยู่ภายในใจต่อไป จนกว่าทุกอย่างจะจบสิ้น

 

นอกจากนี้ หนี้สาธารณะที่มีสิทธิลุกลามสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่า ระบบการเงินและเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปเชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยมีสถาบันทางการเงินและธนาคารพาณิชย์ทั่วทั้งภูมิภาคเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ

 

ทั้งนี้ การดึงไม่ให้ธนาคารเด็กเซียล้มลงไป แม้จะต้องยอมเจ็บตัวกันบ้าง จึงไม่ใช่แค่การช่วยเหลือธรรมดา แต่เป็นเดิมพันสำคัญสำหรับยุโรปที่จะต้องทำให้ได้ เพื่อเรียกความมั่นใจของนักลงทุนให้กลับคืนมาสู่ภูมิภาคนี้อีกครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงินโลกสะเทือน หนี้ยุโรปจุกอก ไร้ทางออก

13 ตุลาคม 2554 เวลา 07:46 น. | เปิดอ่าน 729 | ความคิดเห็น 0

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีซที่ยืดเยื้อมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศต่างๆ ในยุโรป เจ็บตัวไปตามๆ กันเท่านั้น แต่ยังจะลากเอาประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้เจ็บหนักตามๆ กันไปด้วย

 

เพราะทุกประเทศทั่วโลกล้วนเกี่ยวข้องถึงยุโรปกันหมด โดยมีระบบกลไกหนึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงร้อยเรียงแต่ละประเทศเข้าไว้ด้วยกัน

 

ระบบที่ว่าก็คือ ระบบการเงินการธนาคาร ที่ขณะนี้กำลังโดนโจมตีอย่างหนักหน่วงจากวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซน เพราะธนาคารทั่วโลกล้วนไปลงทุนทำกำไรอยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู)

 

เป็นวิกฤตที่ นักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักทั่วโลกถึงกับกุมขมับ และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ยากที่จะรับมือเหลือเกิน

 

แม้กระทั่งสองปรมาจารย์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2554 นี้ อย่างคริสโตเฟอร์ ซิมส์ และโทมัส ซาร์เจน ยังยอมรับเลยว่า วิกฤตในครั้งนี้หนักหนาสาหัสอย่างมากจนยากที่จะหาทางออกได้ในเร็ววัน

 

 

 

 

ขณะที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนในแวดวงวอลสตรีตถึงกับตะโกนออกมาแบบสุดเสียงด้วยความอัดอั้นตันใจว่า ยังไม่เห็นทางออกจากปัญหาในครั้งนี้เลย

 

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือว่า ยุโรป ถือเป็นแหล่งลงทุนทำเงินมหาศาลให้กับนักลงทุน และนักเก็งกำไรในวอลสตรีตของสหรัฐมาโดยตลอดในช่วงไม่กี่ปีให้หลังที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดวิกฤตการเงินในปี 2551

 

การที่หนี้สาธารณะของยูโร กำลังลุกลามคุกคามภาคการเงินของภูมิภาค ทำให้เกิดความเสี่ยงที่นักลงทุนในวอลสตรีตบอกได้คำเดียวว่า “ไม่ขอเสี่ยง”

 

เมื่อไม่อยากเสี่ยง ก็ต้องถือเงินเก็บไว้รอดูสถานการณ์ ทำให้กลายเป็นผลร้ายต่อระบบทุนนิยม ที่จำเป็นต้องให้มีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง จนทำให้เศรษฐกิจเดินหน้ามีการเติบโตต่อไป

 

เท่ากับว่า เศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐก็ไม่อาจจะเดินหน้าต่อไปข้างหน้าได้ ถ้าหากว่า หนี้สาธารณะของยุโรป โดยเฉพาะในกรีซ ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย

 

เพราะมีเงินแต่ไม่มีหนทางลงทุนให้เงินนั้นงอกเงยต่อยอดไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

 

ขณะที่ จอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีของโลก ผู้ได้รับฉายาพ่อมดทางการเงินยังต้องออกมายอมรับว่า การที่ยุโรปยังคงมืดมนไร้ทางออก จนทำให้เงินไม่มีที่ไป ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่สามารถเขย่าระบบการเงินโลกทั้งระบบให้พังครืนลงมาได้อย่างง่ายดาย

 

ผลกระทบร้ายแรงดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาผู้นำในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างส่งเสียงเร่งให้อียูลงมือหาทางแก้ไข หรือทำอะไรสักอย่าง เดี๋ยวนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

 

ทั้งนี้ แม้ว่าบรรดาผู้นำในอียูจะตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือกัน แต่จนแล้วจนรอด พอถึงเวลาเข้าจริงๆ แต่ละประเทศก็ยังไม่วายคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง

 

เห็นได้จากการลงมติอนุมัติเพิ่มเงินกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินแห่งยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) เพื่อล้อมคอกปกป้องสถาบันทางการเงินและธนาคารของภูมิภาค ที่กว่าจะลงมติกันได้ก็เล่นเอาหุ้นในตลาดวูบแล้ววูบอีก ขณะที่ประเทศที่ต้องลงมติเป็นรายล่าสุดอย่างสโลวะเกีย ก็ยังอุตส่าห์มีเงื่อนไขและผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

ทว่า ปัญหาการไขว่คว้าหาประโยชน์เข้าตัวดูจะเทียบไม่ได้กับความจริงที่น่าหวั่นใจที่ว่า ในเวลานี้ อียูมีกลไกหรือเครื่องมือที่จะใช้แก้ปัญหาอยู่ไม่มากนัก แถมเครื่องมือที่มีอยู่ก็ไม่สามารถจะรับประกันได้ว่าจะช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤตทางการเงินในครั้งนี้ได้ในสภาพปลอดภัยหรือไม่

 

เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับวิกฤตการเงินแบบเลห์แมน บราเธอร์ส ในปี 2551 กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารเกือบทุกประเทศทั่วโลก ต่างเร่งเสริมกำแพงป้องกัน ด้วยการเพิ่มเงินกองทุนช่วยเหลือ สั่งเพิ่มเงินทุนสำรองของธนาคาร พร้อมๆ กับเพิ่มเงื่อนไขจำกัดการให้กู้ยืม

 

แม้จะเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่เมื่อธนาคารปิดประตูแน่น ก็ทำให้ธุรกิจบริษัทที่ขับเคลื่อนภายใต้ระบอบทุนนิยม เน้นผลิตเน้นบริโภคก็ไม่มีเงินทุนเข้ามาหมุนเวียนเพื่อประคองธุรกิจ หรือเพื่อขยายงาน

 

เท่ากับว่า เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะไม่สามารถเติบโตได้ตามที่ประเทศซึ่งประสบกับปัญหาหนี้สิน และหวังให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นตัวช่วยนำมาลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีสิทธิที่จะเดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย

 

นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีการยอมเพิ่มเงินกองทุนอีเอฟเอสเอฟตามที่ได้ตกลงกันไว้จนค่อยๆ เรียกความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนให้กลับคืนมาได้บ้าง แต่การแก้ปัญหาหนี้กรีซที่ให้ธนาคารเจ้าหนี้ต้องยอมลดมูลค่าของสินทรัพย์ที่ถืออยู่ หรือก็คือ พันธบัตรรัฐบาลกรีซ ลงถึง 50% ก็ส่งผลกระทบต่อธนาคารอย่างหนักเช่นกัน

 

เพราะการที่ธนาคารต่างๆ ต้องดำเนินงานอย่างระมัดระวังมากขึ้น เพื่อรักษาผลกำไรให้ได้มากที่สุด ธนาคารบางแห่งจำเป็นจะต้องตัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด ซึ่งรวมถึงการปลดพนักงานออก

 

ทั้งนี้ บลูมเบิร์กรายงานว่า บรรดาธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐ เช่น แบงก์ออฟอเมริกา คอร์ป ได้ปลดพนักงานออกถึง 3 หมื่นตำแหน่งเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่หลายธนาคารในยุโรปก็เตรียมจะปรับลดคนออกภายในปีนี้เช่นกัน

 

ผลที่ได้ก็คือ ตัวเลขคนตกงานมากขึ้น เป็นภาระให้กับรัฐบาล ขณะที่ธุรกิจเองก็ไม่มีความเคลื่อนไหว เพราะคนไม่ยอมใช้จ่าย จนซ้ำเติมเศรษฐกิจให้แย่ลงมากกว่าเดิม

 

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างพูดกันว่า สิ่งที่ยุโรปต้องทำตอนนี้ ก็คือ จัดตั้งสถาบันเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับยูโรโซนทั้งหมด เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตลาดการเงิน และปรับปรุงแก้ไขแผนการเติบโตในระยะยาว

 

แต่ทว่าพอเอาเข้าจริง ทุกอย่างที่เกริ่นมาข้างต้นเป็นแนวคิดที่ยังไม่สามารถเคาะในรายละเอียดได้ว่าจะต้องทำอย่างไร แล้วทำแบบไหนที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ

 

ด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจอีกส่วนหนึ่งก็มองว่า ต้องมีการผสมผสานเครื่องมือหลายประการเข้าไว้ด้วยกันจึงจะประสบผลสำเร็จ

 

จอร์จ แม็กนัส ที่ปรึกษาอาวุโสของธนาคารเพื่อการลงทุนยูบีเอส เสนอว่า อียูจำต้องยืดระยะเวลาชำระหนี้กรีซ ควบคู่ไปกับการให้เงินทุนสนับสนุนธนาคารกรีซและธนาคารประเทศอื่นๆ ด้วยการซื้อพันธบัตรผ่านอีซีบี

 

แต่เท่ากับว่า ธนาคารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอาจจะต้องยอมเสียสภาพคล่อง และอาจเกิดความโกลาหลครั้งใหญ่กับภาคธนาคาร เท่ากับว่า แม้จะรอดจากการล้มครืนมาได้ แต่ก็อยู่ในอาการปางตาย

 

เรียกได้ว่า ไม่ว่าจะเลือกไปทางไหนเพื่อใช้เป็นทางออก ภาคการเงินการธนาคารก็มิวายเจ็บตัวอยู่ดี เสียแต่ว่าจะเจ็บมากหรือเจ็บน้อยก็เท่านั้น

 

หรือพูดให้ง่ายเข้า ยุโรปในวันนี้ ยังคงไร้ทางออก

 

แต่ในขณะเดียวกัน การปล่อยให้วิกฤตหนี้สาธารณะที่กำลังลุกลามภาคการเงินในครั้งนี้ยืดเยื้อออกไปโดยไม่ยอมหาทางแก้ไขป้องกัน ก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตาย

 

ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือต้องลองเดินหน้าผ่าทางตันลูกเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2554

 

18.45 น. ลิเวอร์พูล - แมนฯ ยูไนเต็ด ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. แมนฯ ซิตี้ - แอสตัน วิลล่า ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. สโต๊ค - ฟูแล่ม ทรูสปอร์ต 2

21.00 น. ควีนส์ปาร์ค - แบล็คเบิร์น ทรูสปอร์ต 3

21.00 น. วีแกน - โบลตัน ทรูสปอร์ต 5

21.00 น. นอริช ซิตี้ - สวอนซี ทรูสปอร์ต 6

23.30 น. เชลซี - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 3

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554

 

18.00 น. เวสต์บรอมวิช - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต 3

19.30 น. อาร์เซน่อล - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 1 ( จาโดนเด็กปืนยิงไหมเนี่ย - นิคลาส เบนเนอร์ :lol: :lol: )

22.00 น. นิวคาสเซิ่ล - สเปอร์ส ทรูสปอร์ต 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันพฤหัสบดี ที่ 22 กันยายน 2554

ทองคำสำรอง 8,000 ตัน ของสหรัฐ

Posted by น.นันท์นภัส , ผู้อ่าน : 975 , 17:27:25 น.

หมวด : เศรษฐกิจ

พิมพ์หน้านี้ โหวต 2 คน

 

"ทองคำสำรอง 8,000 ตัน" ของสหรัฐ

 

 

 

 

 

 

หลายวันก่อนมีโอกาสได้คลิกเข้าไปดูเวบไซด์ที่มีการโพสต์เกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐบ้างครับ มีเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก แต่คนรู้กลับมีน้อย นั่นก็คือ "ทองคำสำรอง 8,000 ตัน" ของสหรัฐ ผมจะเขียนเรื่องนี้ในอีกมุมมองหนึ่งซึ่งคุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่สิ่งนี้อาจจะทำให้คุณเกิดมุมมองใหม่ แล้วเห็นอะไรชัดเจนขึ้นครับ ผมอ่านบทความของนักวิชาการหลายๆท่านที่เขียนถึง fundamental หรือจะเรียกว่าโครงสร้างพื้นฐาน แต่ผมจะเรียกง่ายๆ ว่า "ใส้ใน" ของสหรัฐก็เแล้วกันครับ

 

 

 

หนึ่งในความเชื่อมั่นที่โลกใบนี้มีต่อสหรัฐก็คือ ทองคำสำรอง 8,000ตัน ที่สหรัฐ "ไม่เคย" อ้างว่าถือครองอยู่ แต่ทั่วโลกกลับยึดถือตัวเลขนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกครับ แต่.......

 

 

 

ถ้าลองศึกษาประวัติศาสตร์การกำเนิดของ Federal Reserve หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ ในปี1912-1913 และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นมาจนถึง ปี 1928-1932 คือช่วงปีที่เกิด The Great Depression เลยไปจนถึงอีกช่วงหนึ่งคือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939-1945 ในด้านเศรษฐกิจของสหรัฐ ทำให้เข้าถึงข้อมูลบางอย่างซึ่งทั้งหมดคือเรื่องเดียวกันและต่อเนื่องกันครับคือ

 

 

 

ทองคำจำนวน 8,000 ตันนี้ "อาจจะ" ยังอยู่ในสหรัฐ แต่ความจริงคือ เจ้าของ "ไม่ใช่" รัฐบาลสหรัฐหรือประเทศอเมริกาครับ

 

 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเป็นมหาอำนาจของโลกถูกเคลื่อนมายังประเทศสหรัฐ โดยกลุ่มทุนเดิมคือกลุ่มนายธนาคารสากล หรือ International Bankerที่มีฐานอยู่ในประเทศอังกฤษและยุโรปเกือบทั้งหมดครับ จนกระทั่งในช่วงคริสมาสของปี 1913 สหรัฐผ่านกฏหมาย Federal Reserve Actก็คือการจัดตั้ง Federal Reserve, CIA และ IRS ในคราเดียว องค์กรทั้ง 3 นี้ถูกจัดตั้งขึ้นมา โดยการยัดเยียดจากกลุ่มนายธนาคารสัญชาติยุโรปเหล่านั้น ประวัติศาสตร์ในช่วงนี้คงพอจะทราบกันดีครับจากที่ผมเขียนไปแล้วครั้งหนึ่ง นานพอสมควรครับ

 

 

 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกา เข้มแข็ง และยิ่งใหญ่ในทุกๆ ด้านครับ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การคลัง และเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่หลังจากการจัดตั้งFederal Reserve ขึ้นมาเป็น "กาฝาก" ในระบบการเงินและเศรษฐกิจแล้ว "หายนะ" ทั้งหลายก็เริ่มก่อตัวขึ้นครับ เพราะจุดประสงค์จริงๆ ของนายธนาคารสัญชาติยุโรปเหล่านั้นก็คือ การเข้ายึดครองระบบเศรษฐกิจ การเงิน และประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด

 

 

 

พวกเค้าทำสำเร็จครับ โดยการควบคุมระบบการเงินการธนาคารซึ่งเปรียบได้กับเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประเทศอเมริกาโดยรวม โดยมีการควบคุมปริมาณเงินและดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ และด้วยสิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐและของโลกนั่นก็คือ "The Great Depression" ซึ่งทำให้สหรัฐอยู่ในสภาวะล้มละลายทางงบประมาณและการคลัง ในสภาพเดียวกับที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ครับ (แต่ทองคำสำรองยังมีอยู่ในมือ ณ ขณะนั้น) เช่นเดียวกัน การที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลเพื่ออัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หรือที่ถูกเรียกว่า " The New Deal " คำถามคือเงินจำนวนมหาศาลเหล่านั้นมากจากไหน ในขณะที่สหรัฐเองเป็นมหาอำนาจใหม่ และถือครองทองคำมากที่สุดในโลก

 

 

คำตอบก็ Federal Reserve นั่นเองครับ การจัดตั้ง Federal Reserve ในทางกฏหมายแล้วไม่ได้มีสถานะเป็นรัฐ หรือเป็นหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่ให้ "บริษัทเอกชน" แห่งนี้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดพิมพ์ธนบัตร กระแสเงินสด และดอกเบี้ย ซึ่งจริงๆแล้วทั้งหมดนี้รัฐบาลสหรัฐสามารถที่จะทำเองได้ทั้งหมดเหมือนนาๆ ประเทศ เช่นประเทศไทยเป็นต้น แต่การผ่าน Federal Reserve Act ในครั้งนั้นอย่างที่บอกครับว่าเป็นการ "ยัดเยียด" โดยสิ้นเชิง โดยความร่วมมือระหว่างนายธนาคารข้ามชาติและนักการเมืองที่ถูกกว้านซื้อในสภาคองเกรส

 

 

หลังจากการที่ใช้เงินกู้จาก FED แล้ว ก็ต้องใช้คืนเค้าสิครับ ก็คือทองคำทั้งหมดที่สหรัฐนั่นแหละครับ ที่ราคา 35 ดอลล่าต่อออนซ์ และขั้นตอนทั้งหมดก็ถูกควบคุมโดย FED, นักการเมือง และประธานาธิบดีในสมัยนั้น ก็คือ "ทองหมด" ครับ เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ที่ไปเอาตัวเลขเหล่านี้มา ยกมาได้ครับ แต่ในความเป็นจริง ทองคำเหล่านี้ ซึ่ง "อุปโลก" ว่ายังมีอยู่ และเก็บอยู่ที่ฟอร์ทน๊อก ไม่ได้มีการ Audit หรือตรวจสอบจากหน่วยงานใดๆ แม้แต่หน่วยงานเดียวของโลกตั้งแต่ ทศวรรษที่ 50 เป็นต้นมา แต่กลับมีทองคำสำรองเก็บไว้จำนวนมหาศาลที่ สำนักงานของ FED สาขานิวยอร์ค ซึ่งก็คงมีคนจำนวนมากที่สงสัยแต่ใครล่ะจะไปถาม นั่นคือประเด็นมากกว่าครับ

 

 

 

หลังจากที่หมดตัวแล้วสหรัฐก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดครับ เพราะครั้งที่แล้วที่ร่ำรวยมาได้ก็เพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะฉะนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ "คำตอบ" ของปัญหาครับ เป็นแบบ Win Win Solution คือทุกฝ่ายได้ประโยชน์ คือสหรัฐก็ได้ทำมาหากินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสงคราม ฮิตเล่อร์ก็ได้ลุ้นทวงตำแหน่งคืน พวกไซออนนิสแบงค์เกอร์เหล่านี้ก็ได้ปล่อยกู้ทั้ง 2ฝ่าย โดยที่กลุ่มธนาคารกลางยุโรปก็คือกลุ่มเดียวกันที่เป็นเจ้าของ FED สนับสนุนเงินทุนให้ฮิตเล่อร์ทั้งหมดในการเคลื่อนไหวในยุโรป เพื่อช่วยฮิตเล่อร์ทวงสิ่งที่พวกเค้าสูญเสียไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 คืนมา และนี่ก็คือจุดกำเนิดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ แต่จะให้เป็นสงครามโลกได้อย่างไหร่ถ้าแค่พรรคนาซีเยอรมันรบกับสหรัฐอเมริกา

 

 

 

ในอีกฟากโลกหนึ่งคือเอเซียแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกโจมตีสหรัฐ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงครับ แต่อะไรที่ทำให้ให้ญี่ปุ่นตัดสินใจบุกสหรัฐ ซึ่งน้อยคนที่จะทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไม "ตัวหมัดถึงกล้าลุกไปต่อยกับช้าง" ก็เพราะสหรัฐเจ้าเก่าแทรกซึมและบ่อนทำลายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างย่อยยับก่อนนั่นเองครับ ซึ่งทั้งหมดก็คือแผนการที่ถูกวางไว้ก่อนแล้ว จนปัจจัยต่างๆเหล่านี้ผลักดันให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

 

 

 

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวหรือประวัติศาสตร์ ที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่มต่างๆ และเก็บอยู่ในห้องสมุดที่หาอ่านได้ทั่วไป หรือแม้ในกระทั่งอินเตอร์เน็ตครับ.......

 

 

 

และยังมีโศกนาฏกรรมอีกมากมายที่ก่อขึ้นโดยคนกลุ่มนี้หรือ International Banker ตั้งแต่ปี1913 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การลอบสังหารบุคคลสำคัญต่างๆ การล้มอเมริกาในรอบแรกด้วย "หนี้" โครงการสตาวอร์ โครงการอวกาศต่างๆ ทั้งหมดถูกจัดฉากขึ้นเพื่อให้สหรัฐ "กู้เงิน" ให้มากที่สุดครับ แล้วสุดท้ายก็จบลงด้วยการจ่ายหนี้คืนด้วย "ความเป็นเอกราช" ของสหรัฐทั้งหมด ลองเอาเรื่องราวเหล่านี้มาเปรียบเทียบหรือเรียงต่อกับสิ่งที่สหรัฐกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คุณก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นครับ โดยเฉพาะประเด็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของ FED ที่จะทำให้ถึงทางตันในอนาคต

 

 

 

แล้วคุณจะเห็นครับว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและคนอเมริกัน ไม่ได้มีความหมายหรือมีคุณค่าใดๆ เลย สำหรับกลุ่มทุนระดับโลกเหล่านี้ (ซึ่งเคลมตัวเองว่าเป็น "ยิว" (ปลอม)จากทวีปยุโรป หรือที่เรารู้จักในชื่อ "ไซออนนิส") สำหรับคนอเมริกันนอกจากการมีชีวิตอยู่ หาเงินเพื่อจ่ายภาษี และประสบชะตากรรมในสิ่งที่กำลังจะมาถึง ถ้าคุณเข้าใจในเรื่องราวเหล่านี้แล้วคุณคงจะมองเห็นแล้วนะครับว่า ทำไมผมถึงกล้า "ฟันธง" ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาต้อง "ล้ม" ชะตากรรมคนอเมริกันจะเป็นอย่างไร แล้วอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง คงไม่ต้องถามผมนะครับ เพราะคุณก็คงตอบคำถามเหล่านี้ได้ด้วยตัวคุณเองแล้ว

 

 

 

แต่ปัญหาก็คือมันไม่ได้จบอยู่แค่ในอเมริกาครับ เพราะผลกระทบจะเปรียบเสมือนคลื่นยักษ์ซึนามิ ที่จะกระแทกใส่ทุกประเทศทั่วโลกอย่างรุนแรง และร้ายแรงกว่าครั้งไหนๆ ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงินโลก และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร คุณคงจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้กับตัวคุณเองครับ

 

 

 

ในขณะที่คุณรับรู้เรื่องราวเหล่านี้แล้ว ยังมีคนอีกหลายพันล้านคนครับ ที่ยังคิดว่า อเมริกา "ล้มไม่ได้" เพราะมีทองคำตั้ง 8,000 ตัน คุณลองเอาตัวเลข 8,000 ตันตั้งแล้วคูณด้วยราคาทองคำ ณ ปัจจุบันที่ $1,400 ก็คือ 8,000ตัน x 1,000กิโล x 2.2ออนซ์ = 17,600,000 ออนซ์ x $1400 = $24,640,000,000 หรือ $24.64 Billion

 

 

 

ในขณะที่หนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ $14 Trillion ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่รวมกับหนี้ผูกพัน(หนี้สินสมทบ)ในอนาคตที่คาดว่าจะต้องจ่ายแน่นอน หรือที่เรียกกันว่า Unfunded Liability ซึ่งถ้ารวมเข้าไปแล้วก็จะอยู่ $75 -100Trillion (totals dept is around $114 Trillion) เข้าไปแล้วครับ ซึ่งจะทำให้ตัวเลข $24.64 Billion แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลยครับ

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ FED เลือกวิธีปั๊มเงินมาจ่ายหนี้ต่างๆ ซึ่งก็คงเป็นความตั้งใจที่จะทำอย่างนั้น และถ้ามองกลับไปตอน The Great Depressionซึ่งสหรัฐก็อยู่ในสภาพไม่ต่างจากตอนนี้ แต่ ณ วันนี้หนักหนาสาหัสกว่ามากๆ ครับ และถ้าตอนนั้นเค้าหมดตัวแล้วก็เลือกทางออกด้วยการ "ก่อสงคราม" โลกครั้งที่ 2

 

 

 

ในครั้งนี้เค้าจะใช้วิธีไหนแล้วกลุ่มมือที่มองไม่เห็นหรือคือพวกพวกไซออนนิสแบงค์เกอร์หวังจะใช้ให้สหรัฐทำอะไร คำตอบง่ายๆก็คือตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัวเท่านั้นครับก็คือ "NWO " นั่นเองครับ

 

http://jimmysiri.blogspot

-----------------------------------------------------------------

 

ความคิดเห็นที่ 3

นานาทัศนะ วันที่ : 22/09/2011 เวลา : 20.34 น.

http://www.oknation.net/blog/chaidung

 

 

 

สวัสดียามค่ำครับคุณ น.นันท์นภัส ผมเข้าใจว่าจะใช้ตัวเลขผิดนะครับน้ำหนักทองคำ1kg.=32.1508ออนซ์(TroyOunces)ดังนั้นแล้ว 8,000x1,000x32.1508x1,700=437,250,880,000

 

ความคิดเห็นที่ 4

น.นันท์นภัส วันที่ : 23/09/2011 เวลา : 16.08 น.

http://www.oknation.net/blog/nidnhoi

 

 

 

 

^_^ สวัสดีค่ะ คุณนานาฯ คุณพูดถุกค่ะ

 

 

เป็นการตั้งค่าสังเกตที่ดีมากๆเลยค่ะ เอาเป็นว่า เรามาเคลียร์ตัวเลขกันชัดๆไปเลยดีกว่านะคะ

 

จากค่ามาตราฐาน ทองทองคำ international troy ounce = 31.1034768 grams

 

ดังนั้น 8,000 MT คูณ 1000kgs= 8,000,000 kgs.

8,000,000kgs= 8,000,000,000 grams.

 

 

8,000,000,000 grams. /31.1034768 => 257,205,972.55 troy ounce

 

สมมติราคาทองคำ ณ วันนี้ อยู่ที่ US$1700/ ounce

>>>>

So US$1700 x 257,205,972.55 troy ounce = US$ 437,250,153,333.34

 

 

เพราะฉะนั้น ทองคำ8,000 ตัน จะมีมูลค่าเป็นเงินที่

USD 437.25 brillion ( 437.25 พันล้านดอลลาร์)

 

คือ ยังไงๆหากทองกองนี้ยังเป็นของอเมริกาจริง ก็ยังมีมูลค่าที่ไม่ถึง USD trillion (ล้านล้านดอลลาร์) ซะทีค่ะ

ซึ่ง หนี่สินที่แท้จริงปาเข้าไปตั้ง 114 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว

 

แต่มีทองสำรองแค่ 437 พันล้านดอลลาร์เองค่ะ

 

คิดว่าอเมริกาคงไม่มีปัญญาใช้หนี้ใครหรอกค่ะ

 

นอกจากจะ

1.ทำให้ค่าดอลลาร์อ่อนค่าลงมากๆ จะได้ใช้หนี้ด้วยเงินที่น้อยลง

2. ทำสงครามซะเลย เพื่อล้างไพ่ เหมือน WW1 & WW2

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยยอดขาดดุลทะลุ 1 ล้านล้านดอลล์

15 ตุลาคม 2554 เวลา 11:00 น. | เปิดอ่าน 859 | ความคิดเห็น 3

กระทรวงการคลังสหรัฐ เผย ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ ทะลุระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

 

กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐอยู่ที่ 1.2986 ล้านล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2554 จนถึงเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 0.3% จากปีที่แล้ว นับว่าทะลุระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสถานภาพทางการคลังของสหรัฐอยู่ในภาวะอันตราย

 

ในช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 6.5% จากปีก่อน แตะที่ 2.3025 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีเงินได้ แต่ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น 4.2% แตะที่ 3.6011 ล้านล้านดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สิ่งที่เกิดขึ้นในกรีซ ประเทศเขตเงินยูโร หรือแม้แต่ในประเทศสหรัฐฯและญี่ปุ่นเองนั้นมีความหมายที่กว้างกว่าการเป็นเพียง วิกฤตการเงิน (Financial Crisis) ทั่วไปแบบที่เข้าใจกันในหน้าสื่อ แต่วิกฤตครั้งนี้กินลึกไปถึงโครงสร้างที่ควบคุมและสนับสนุนการไหลเวียนของกระแสเงินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยมีต้นตอมาจากตลาดพันธบัตรรัฐบาลก่อน จากนั้นลุกลามไปสู่ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารกลาง นโยบายการเงิน และระบบทุนสำรองของโลก โดยวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ถือเป็นการพัฒนาการอีกขั้นต่อจากวิกฤตการเงินในช่วง 2007-2008 แต่เป็นวิกฤตขั้นใหม่ที่เรียกว่า วิกฤตเงินตราโลก (Global Monetary System)

http://www.siamintelligence.com/from-financial-crisis-to-monetary-crisis/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก คืนวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2554

 

23.00 น. ซีเอสเคเอ มอสโก (รัสเซีย) - แทร็บซอนสปอร์ (ตุรกี) ESPN Astro (ดาวเทียม)

01.45 น. แมนฯ ซิตี้ (อังกฤษ) - บียาร์เรอัล (สเปน) ช่อง3

01.45 น. โอเตลุล กาลาติ (โรมาเนีย) - แมนฯ ยูไนเต็ด (อังกฤษ) ช่อง7

 

ฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก คืนวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554

 

01.45 น. บาร์เซโลน่า (สเปน) - วิคตอเรีย เปลเซ่น (สาธารณรัฐเช็ก) ช่อง3

01.45 น. เชลซี (อังกฤษ) - เกงค์ (เบลเยียม) ช่อง7

01.45 น โอลิมปิก มาร์กเซย (ฝรั่งเศส) - อาร์เซน่อล (อังกฤษ) ESPN Astro (ดาวเทียม)

01.45 น เลเวอร์คูเซ่น (เยอรมัน) - บาเลนเซีย (สเปน) Star Sports Astro

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : เขียว (SL 1,635.80)

 

SI : เขียว (SL 31.67)

 

SET : เขียว (SL 936.82)

 

TOCOM : เขียว (SL 317.50)

 

AFET : เขียว (SL 132.20 / 125.00 ต้องดูราคาปิดวันนี้)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...