ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

GC, SI : เขียว

 

TC, AFET : เสียว เอ๊ย ! เขียวแรกมาละครับ :lol: :lol:

 

SET : แดง (closing price > 971.63 ระบบจะเขียว)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554

 

18.00 น. เอฟเวอร์ตัน - แมนฯ ยูไนเต็ด ทรูสปอร์ต 3

18.45 น. เชลซี - อาร์เซน่อล ทรูสปอร์ต 1 :lol: :lol: เชลซี เละแน่ ๆ

21.00 น. แมนฯ ซิตี้ - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต 1

21.00 น. สวอนซี - โบลตัน ทรูสปอร์ต 2

21.00 น. ซันเดอร์แลนด์ - แอสตัน วิลล่า ทรูสปอร์ต 3

21.00 น. วีแกน - ฟูแล่ม ทรูสปอร์ต 5

21.00 น. นอริช - แบล็คเบิร์น ทรูสปอร์ต 6

23.30 น. เวสต์บรอมวิช - ลิเวอร์พูล ทรูสปอร์ต 3

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554

 

23.00 น. สเปอร์ส - ควีนสปาร์ค ทรูสปอร์ต 1

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2554

 

03.00 น. สโต๊ค ซิตี้ - นิวคาสเซิ่ล ทรูสปอร์ต1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC, SI : เขียว

 

TC, AFET : เสียว เอ๊ย ! เขียวแรกมาละครับ

 

 

คือ อะไร

 

รบกวนช่วยบอกหน่อยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC, SI : เขียว

 

TC, AFET : เสียว เอ๊ย ! เขียวแรกมาละครับ

 

 

คือ อะไร

 

รบกวนช่วยบอกหน่อยค่ะ

GC ทองคำตลาดcomex

SI silver(โลหะเงิน)

TC น่าจะเป็นยาง ตลาดโตคอมของญี่ปุ่น

AFET The Agricultural Futures Exchange of Thailand (ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย)

http://www.afet.or.th/v081/thai/learning/articleShow.php?id=31

 

เขียวแรกมาคือสัญญาณซื้อครั้งแรกของระบบ แดงมาคือสัญญาณขายครั้งแรกของระบบ ซื้อเมื่อเขียวแรกมาขายเมื่อแดงแรกมา

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็น กราฟ ของ mt4 หรือป่าวค๊ะ แบบราย4h หรืออย่างไร

 

 

หรือว่าต้องลงโปรแกรมเฉพาะค๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็น กราฟ ของ mt4 หรือป่าวค๊ะ แบบราย4h หรืออย่างไร

 

 

หรือว่าต้องลงโปรแกรมเฉพาะค๊ะ

รอผู้รู้มาตอบนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็น กราฟ ของ mt4 หรือป่าวค๊ะ แบบราย4h หรืออย่างไร

 

 

หรือว่าต้องลงโปรแกรมเฉพาะค๊ะ

 

อยากได้ของดี อยากได้อาจารย์ดี อยากได้วิชาความรู้ดี ๆ ที่จะช่วยให้เรามีรายได้อย่างมั่นคงไปตลอดชีวิต และเป้นการลงทุนน้อย แต่ได้กำไรมาก ไม่เครียด มีความสุขในการลงทุน

 

แนะนำให้ฝึกความอดทนเป็นอันดับแรก โดยการอ่านกระทู้นี้ตั้งแต่หน้าแรก โดยเฉพาะความเห็นของคุณ กระบี่ไร้ใจ (คุณเสม) ซึ่งเป็นผู้แนะนำแนวทางการลงทุนด้วยระบบให้เพื่อน ๆ ในเวปนี้ครับ เดิมผมก็ลงทุนอย่างไม่เป็นระบบ โดยไขว้เขวไปตามข่าวบ้าง ตามปัจจัยต่าง ๆ บ้าง หรือดูตามสัญญาเทคนิคก็จับโน่นจับนี่มาปนเปกัน แต่เมื่อได้คำแนะนำจากคุณเสมและคุณส้มโอมือ ก็สามารถคัดเลือกความรู้ท่วมหัวที่มีเอามาจัดเป็นระบบการลงทุนของตนเองได้และมีกำไรแบบพอเพียงมาได้ 3 ปีแล้ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าเทรดอะไรมากมาย แค่ดูกราฟวันละครั้ง และเข้าซื้อขายตามสัญญาณของระบบที่วางไว้ จัด money management ให้เหมาะสม และที่สำคัญ ต้อง stop loss เสมอเมื่อผิดทางครับ

 

ดังนั้น ขอให้ค่อย ๆ อ่านกระทู้นี้ตั้งแต่หน้าแรกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าใจ ผมเชื่อว่าอ่านไปแค่ไม่ถึงร้อยหน้า ก็เข้าใจแล้วครับ ไม่ใช่เรื่องยากเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:wub: จานอั๋นเป็นไงบ้างคิดถึงรายงานตัวด่วน :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เผชิญหน้าและฝ่าฟัน 6 เสี่ยงของ "ยูโรโซน"วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:11:00 น.

 

Share

 

 

 

 

เศรษฐกิจต่างประเทศ มติชน

 

 

 

เศรษฐกิจในประเทศกำลังพังเพราะน้ำนับแสนๆ ล้านบาท เศรษฐกิจภายนอกก็ต้องเฝ้าระวัง เพราะวิกฤตหนี้ยูโรโซน กำลังย่างเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ออกมาตรการชุดหนึ่งออกมาแล้วก็บอกอย่างเชื่อมั่นว่า เป็นหนทางแก้ปัญหา "เบ็ดเสร็จ" เล่นเอาตลาดเงิน ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวขึ้นกันคึกคัก

 

 

 

 

 

แต่นักวิชาการและนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งชี้ว่า แนวทางแก้ปัญหาของอียูหนนี้ยังคงมีช่องโหว่ ช่องว่างหลายประการที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ ในหน้ากระดาษหรือในทางทฤษฎีนั้นมันเป็นเรื่องหนึ่ง แต่พอนำมาปฏิบัติจริง มันอาจกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นได้

 

 

 

ดังนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจอย่างเด็ดขาด

 

 

 

มีการสรุปถึงปัญหาที่บรรดาประเทศในกลุ่มยูโรโซนยังจำเป็นต้องเผชิญและฝ่าฟันให้ผ่านพ้นไปให้ได้อยู่ 6 ประการด้วยกัน ดังนี้

 

 

 

1 เงินช่วยกรีซอาจไม่พอ (อีกแล้ว)

 

 

 

การแก้ปัญหาให้กับกรีซหนหลังสุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ทางที่จะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทางหนึ่งนั้นก็คือ อียูจะไปเจรจาเป็นเชิงบีบบังคับให้นักลงทุนเอกชน (เช่นสถาบันการเงิน, ธนาคารต่างๆ) ให้ตัดหนี้สูญให้กรีซไปซะ 50 เปอร์เซ็นต์ ใครถือพันธบัตรกรีซมูลค่า 100 ยูโรอยู่ตอนนี้จะหลงเหลือแค่ 50 ยูโรเท่านั้น ในเวลาเดียวกัน กองทุนเพื่อเสถียรภาพทางการเงินของอียูก็จะปล่อยเงินกู้ช่วยอุ้มให้รัฐบาลกรีซอีก 100,000 ล้านยูโร เป้าหมายก็คือ ทำให้กรีซยืนได้บนขาของตัวเองภายในปี 2020

 

 

 

 

 

ปัญหาก็คือ ทั้งสองอย่างนั้น จะลดหนี้ของกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ 120 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เท่านั้นเอง ซึ่งตลาดและนักเศรษฐศาสตร์เองก็ยังชี้ว่า ยังคงสูงเกินไปอยู่ดี

 

 

 

 

 

อย่าลืมว่า ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น ทีม "ทรอยก้า" ที่ประกอบด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

 

(ไอเอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ก็จะต้องเข้าไปสะสางตรวจสอบทุกอย่างทุกประการในกรีซเพื่อดูว่า กรีซทำตามเงื่อนไข "รัดเข็มขัด" ของอียูหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจกลายเป็นเหตุผลให้เศรษฐกิจกรีซตกอยู่ในสภาพของ "คนป่วย" ที่ถึงแม้ "ไม่ตาย" ก็เลี้ยง "ไม่โต" อยู่ดี

 

 

 

 

 

2 ภาคเอกชนอาจไม่เอาด้วย

 

แถลงการณ์ของผู้นำอียูประเด็นสำคัญเรื่องการ "ตัดหนี้สูญ" ให้กรีซสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นเพียงแค่การแถลงฝ่ายเดียว ข้อเท็จจริงก็คือ เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากันต่อเนื่องยังไม่ได้ข้อยุติ นั่นเป็นประเด็นแรก ประเด็นถัดมาก็คือ ถ้าหากเอกชนที่ประกอบด้วยธนาคาร, บริษัทประกันภัย, กองทุนเพื่อความเสี่ยง (เฮดจ์ฟันด์) และกองทุนบำเหน็จบำนาญไม่เอาด้วย อียูไม่มีอะไรไปบังคับใดๆ ได้ เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องของการ "สมัครใจ" เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องนี้สำคัญอย่างยิ่ง หากไม่สำเร็จวิกฤตหนี้ของกรีซก็อาจลุกลามต่อไป แต่หากกรณีดังกล่าวนี้กลายเป็นเรื่อง "บังคับ" ก็เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาธนาคารหรือสถาบันการเงินล้มเป็นลูกระนาด เพราะหนี้แต่ละก้อนไม่ได้อยู่นิ่งเฉย กลับถูกนำไปขายต่อในรูปของตราสารอนุพันธ (เครดิตดีฟอลท์ สว็อป-ซีดีเอส) ที่รวมมูลค่าแล้วอาจจะเป็นหลายพันหลายแสนล้านยูโร

 

 

 

 

 

ที่ผ่านมา อียูพยายามจูงใจด้วยการเสนอโครงการให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า "เครดิต เอนแฮนซ์เมนต์" รวมมูลค่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านี้ใช้กู้เพื่อรับมือกับสถานการณ์

 

 

 

 

 

แต่บรรดาเฮดจ์ฟันด์และกองทุนทั้งหลายยังคงยืนกรานที่จะตัดหนี้อยู่ที่ราว 20-21 เปอร์เซ็นต์ เหมือนอย่างที่เคยตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ดี

 

 

 

 

 

3 การจลาจลทางการเมืองและทางสังคม

 

 

 

 

 

ทั้งอิตาลีและกรีซ ตกปากรับคำเป็นมั่นเหมาะว่าจะดำเนินการตัดทอนรายจ่ายภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมายที่ตกลงกันไว้กับอียู ปัญหาก็คือ ทุกอย่างต้องผ่านมาตรการรัดเข็มขัด ประหยัดรายจ่ายและขึ้นภาษี ที่กำลังถูกต่อต้านอย่างหนัก

 

 

 

การจลาจลเมื่อเร็วๆ นี้ที่กรีซ หนักหนาสาหัสถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต และเหตุการณ์ทำนองนี้จะยิ่งมากขึ้น รุนแรงขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปและตามมาตรการที่บังคับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่คาดหมายกันว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้นทั่วยูโรโซน และการฟื้นตัวจะเนิ่นช้าเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

เหล่านี้จะทำให้การแก้ปัญหายูโรโซนหนักหนาและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

4 กองทุนอีเอฟเอสเอฟอาจล้มเหลว

 

 

 

 

 

ฝรั่งเศสและเยอรมนี 2 โต้โผใหญ่ของอียู ตกลงที่จะใช้ประโยชน์จากกองทุนเพื่อเสถียร ภาพทางการเงินแห่งยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) เพื่อ "ค้ำประกัน" พันธบัตรใหม่ที่ออกโดยรัฐบาลอิตาลีและสเปน เป้าหมายก็เพื่อดึงให้ "อัตรา ดอกเบี้ย" ที่แต่ละประเทศจะต้องจ่ายให้กับ ผู้ซื้อพันธบัตรนั้นลดต่ำลงในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา

 

 

 

 

 

ปัญหาก็คือ การค้ำประกันดังกล่าวนั้นจำกัดอยู่แค่ 20 เปอร์เซ็นต์แรกเท่านั้นเอง

 

 

 

 

 

นักวิเคราะห์เชื่อว่า โดยธรรมชาติของนักลงทุน การค้ำประกันแค่ 1 ใน 5 ไม่มีทางส่งผลต่อพันธบัตรทั้งหมด ทางที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ รัฐบาลอิตาลีและสเปน ก็จะยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยในอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือของพันธบัตรในอัตราที่เห็นแล้ว "น้ำตาร่วง" อยู่ดี

 

 

 

 

 

อีกแนวทางหนึ่งที่ผู้นำอียูพยายามจะทำก็คือ เจรจากับประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนและบราซิล ในระหว่างการประชุมจี 20 ให้เข้าไปช่วยซื้อพันธบัตรของประเทศเหล่านี้ ซึ่งหลายคนฟันธงว่า เรื่องรับปากด้วยคำพูดกับการปฏิบัติจริงนั้น ยังคงเป็นคนละเรื่องกันอยู่ดี

 

 

 

 

 

5 อาจเกิดภาวะสินเชื่อชะงักงันขึ้น

 

 

 

 

 

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับธนาคารในกระบวนการ "แฮร์คัตหนี้" ให้กรีซสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อียูเรียกร้องให้บรรดาธนาคารต่างๆ เพิ่มทุนให้เพียงพอต่อการครอบคลุมหนี้ที่มีอยู่ในบัญชีของตน รวมถึงให้ครอบคลุมต่อโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด "ดีฟอลต์" ขึ้นกับโปรตุเกส สเปน และอิตาลี

 

 

 

 

 

การระดมทุนเพื่อให้ครอบคลุมหนี้ดังกล่าวทำได้ทั้งด้วยการระดมเงินลงทุนจากตลาดเงิน (เช่นการดึงดูดเม็ดเงินจากประเทศที่มั่งคั่งอย่างจีน เป็นอาทิ) หรือไม่ ก็ด้วยการเรียกเงินกู้คืนจากบรรดาลูกหนี้ทั้งหลาย แล้วลดความเสี่ยงลงด้วยการงดปล่อยกู้ให้กับรายใหม่ๆ ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลังนี้ มันอาจหมายถึงการเกิดภาวะที่เรียกว่า "เครดิต ครันช์" ขึ้นในยูโรโซน

 

 

 

ซึ่งผลลัพธ์ของมันอาจทำให้เศรษฐกิจของ ยูโรโซนที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเริ่มถด ถอยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ถดถอยเร็วขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

6 อีซีบี อาจไม่ยอมรอ อีเอฟเอสเอฟ

 

 

 

 

 

เป้าหมายอย่างหนึ่งของการใช้อีเอฟเอส เอฟ ค้ำประกันพันธบัตรของชาติในยูโรโซน ก็เพื่อลดภาระในการเข้าไปช้อนซื้อพันธบัตรที่ออกโดยประเทศที่มีปัญหาทั้งหลายของ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ลง

 

 

 

 

 

 

 

ปัญหาก็คือ โครงการค้ำประกันโดยใช้อีเอฟเอสเอฟนั้นต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นรูปเป็นร่างและส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลงได้จริง หรืออาจล้มเหลวในการลดดอกเบี้ยลง อย่างที่ตั้งข้อสังเกตไว้ในข้อ 4

 

 

 

 

 

 

 

อีซีบี เพิ่งเปลี่ยนตัวประธานคนใหม่จาก ฌ็อง โคล้ด ทริเชต์ มาเป็น มาริโอ ดรากีห์ นายแบงก์จากแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี ที่ค่อนข้างจะยึดถือแนวทางจากทางการเบอร์ลิน ที่ไม่ค่อยเห็นพ้องกับการแสดงบทบาท "ผู้ใหญ่ใจดี" อย่างนี้มานานแล้ว

 

 

 

 

 

ข้อสังเกตเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายคนให้ข้อสรุปต่อมาตรการของอียูในหนนี้เอาไว้ว่า เป็นเพียงแค่การ "ซื้อเวลา" ให้วิกฤตยืดเยื้อออกไปอีกเท่านั้น

 

 

 

ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อึ้งกรีซทำประชามติข้อตกลงอัดฉีด ฝรั่งเศส-เยอรมนีรุดหารือฉุกเฉิน

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 04:42 น. Share

 

 

 

 

 

 

เอเจนซี - ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนี รุดหารือฉุกเฉินกับกรีซในวันพุธ(2) เพื่อผลักดันปฏิบัติตามข้อตกลงปล่อยกู้อย่างเร่งด่วน วิธีการเดียวสำหรับการแก้วิกฤตหนี้ของเอเธนส์ ประธานาธิบดีซาร์โกซีเผยเมื่อวันอังคาร(1) ไม่นานหลังจากนายกฯกรีซสร้างความตกตะลึงด้วยการประกาศให้รัฐสภาลงมติไว้วางใจ อีกทั้งยังจะให้ชาวกรีกลงประชามติว่าจะยอมรับข้อตกลงกู้วิกฤตหนี้ของประเทศหรือไม่

 

ตลาดหุ้นสำคัญๆ ทั่วยุโรปดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันอังคาร(1พ.ย.) หลังรัฐบาลกรีซแถลงจัดลงประชามติท่ามกลางเสียงเตือนว่าประชาชนชาวกรีกอาจปฏิเสธไม่ยอมรับข้อตกลงในสัปดาห์ที่แล้วเพื่อรับเงินอัดฉีดก้อนใหม่ ซึ่งนั่นจะมีความหมายเท่ากับว่าเอเธนส์ต้องบอกลาการเป็นชาติสมาชิกใช้สกุลเงินยูโร

"ถ้อยแถลงดังกล่าวสร้างความแปลกใจให้แก่ทั่วทั้งยุโรป" ซาร์โกซี กล่าวผ่านโทรทัศน์จากทำเนียบประธานาธิบดี "แผนนี้เป็นทางเดียวสำหรับคลี่คลายปัญหาหนี้กรีซ" เขากล่าว หลังจากหารือกับคณะรัฐมนตรีและผู้ว่าการธนาคารกลางถึงประเด็นกรีซจัดลงประชามติ

 

ซาร์โกซีบอกว่าได้เตรียมการประชุมกันอย่างเร่งด่วนในช่วงบ่ายวันพุธ(2) ในเมืองคานส์ ซึ่งร่วมด้วยนายกรัฐมนตรีแองเจลา แมร์เคิล ของเยอรมนี นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซ เจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟ

 

การหารือครั้งนี้มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าการรวมตัวของเหล่าผู้นำจี20 ซึ่งมีกำหนดประชุมกันในเมืองคานส์ ระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายนนี้ และจะพยายามรับประกันกับชาติมหาอำนาจของโลกว่ายูโรโซนสามารถจัดการกับวิกฤตของพวกเขาได้

 

การตัดสินใจของรัฐบาลกรีซยังนำมาซึ่งเสียงด่าทออย่างรุนแรงจากคริสติน เอสโตรซี อดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรม พันธมิตรผู้ใกล้ชิดของซาร์โกซี ที่ตำหนิว่าเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบของเอเธนส์ ส่วนมารีน เลอ เพน ผู้นำพรรคฝ่ายขวาจัด ระบุว่าถึงเวลาแล้วที่บรรดาผู้นำยุโรป ที่จะต้องเตรียม "แผนบี" สำหรับขับกรีซออกจากยูโรโซน

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รมต.ต่างประเทศกรีซเชื่อปชช.จะลงประชามติรับรองข้อตกลงอัดฉีดอียู

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 03:05 น. Share

 

 

 

 

สตาฟรอส ลัมบรินิดิส รัฐมนตรีต่างประเทศกรีซ

 

 

ซีเอ็นเอ็น - สตาฟรอส ลัมบรินิดิส รัฐมนตรีต่างประเทศกรีซแสดงความเชื่อมั่นว่าชาวกรีกจะโหวตรับประชามติรับรองมาตรการอัดฉีดของอียู ยืนยันประเทศของเขามีความรับผิดชอบต่อยูโรโซน

 

"ผมคาดหวังและเชื่อมั่นว่าชาวกรีกจะโหวตรับรอง" ลัมบรินิดิส ให้สัมภาษณ์พิเศษกับซีเอ็นเอ็น "ผมคิดว่าทุกคนเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายเล็กน้อยต่อข้อสงสัยเกี่ยวกับความสุขุมรอบคอบของชาวกรีกและความรับผิดชอบของพวกเราต่อยุโรป"

 

"ความรับผิดชอบของเราได้รับการพิสูจน์มาแล้วจนถึงตอนนี้ ที่ได้มีมาตรการรัดเข็มขัดอันเข้มข้น ยอมรับความเจ็บปวด ยอมเปลี่ยนแปลงประเทศ และนี่คือความรับผิดชอบที่ผมคิดว่ามันจะได้รับการพิสูจน์ในการลงประชามติ" เขากล่าว

 

คณะรัฐมนตรีกรีซเมื่อวันพุธ(2) ลงมติสนับสนุนข้อเสนอนายกรัฐมนตรี จอร์จ ปาปันเดรอู ที่เรียกร้องของทำประชามติรับรองมาตรการอัดฉีดจากต่างชาติ การตัดสินใจที่ก่อความตกตะลึงแก่เหล่าผู้นำยุโรป เขย่าตลาดหุ้นทั่วโลกและฉุดอนาคตของยูโรสู่ความยุ่งเหยิง

 

แต่ทางลัมบรินิดิส อ้างว่าเคยมีการยกแนวคิดเกี่ยวกับการลงประชามติหารือกับเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศชาติอื่นๆทั่วยุโรปมาก่อนแล้ว "ท่านนายกรัฐมนตรีเคยชี้แจงอย่างชัดเจนต่อผู้นำชาติยุโรปทุกคนว่านี่คือหนึ่งในทางเลือกหลักในใจเขา ดังนั้นนี่จึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจแต่อย่างใด"

 

เขาบอกต่อว่าการทำประชามติคือก้าวย่างที่จำเป็นสำหรับรับประกันความสำเร็จระยะยาวของยูโรโซน "เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว เราได้ตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุด อันเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกรีซ นั่นคือการลดหนี้ให้ร้อยละ50 เพิ่มทุนและสนับสนุนธนาคารต่างๆ แต่จากนั้นไม่กี่วัน บางคนในตลาดก็เริ่มมีข้อสงสัยและบอกว่ามันยังไม่เพียงพอ มันยังไม่มากพออีก"

 

ทั้งนี้ยังไม่มีการกำหนดวันลงประชามติ แต่ทางลัมบรินิดิส หวังว่ามันจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากรายละเอียดของการจัดทำประชามติแล้วเสร็จ พร้อมกันนั้นยังย้ำปิดท้ายด้วยว่าการตัดสินใจทำประชามติไม่ได้ทำให้อนาคตของยูโรอยู่ในอันตราย แถมในทางตรงข้ามหากชาวกรีกโหวตรับรองก็ยิ่งจะช่วยให้ยุโรปก้าวไปข้างหน้าในรูปแบบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮอนด้าอังกฤษลดชั่วโมงทำงานเซ่นพิษอุทกภัยไทย

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 00:30 น. Share

 

 

 

 

 

 

บีบีซี - พนักงานฮอนด้า มอเตอร์ส ในสวินดอน ของอังกฤษ ถูกลดเวลาทำงานเหลือเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ สืบเนื่องจากวิกฤตอุทกภัยในไทย อันกระทบต่อกระบวนการผลิตอย่างรุนแรง

 

ปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้โรงงานต่างๆในไทยต้องหยุดการผลิต ในจำนวนนั้นรวมไปถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ในการผลิตรถยนต์ของฮอนด้า ณ โรงงานวิลต์เชียร์

 

เดิมทีฮอนด้ามีกำหนดเริ่มผลิตรถยนต์รุ่นซีวิคลอตใหญ่ ณ โรงงานแห่งนี้ อย่างไรก็ตามจากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ทางบริษัทต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อยๆ 1 เดือน

 

เวลานี้ทางฮอนด้า กำลังสำรวจเพื่อตัดสินใจว่าจะสามารถช่วยโรงงานต่างๆในไทยให้กลับมาผลิตอย่างเร็วที่สุดได้หรือไม่ หรืออาจต้องหันไปหาบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเจ้าอื่น

 

เจ้าหน้าที่ ซึ่งเริ่มทำงาน 3 วันต่อสัปดาห์ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ได้รับแจ้งว่าอาจถูกลดชั่วโมงทำงานต่อไปอีกอย่างน้อยสองสัปดาห์

ก่อนหน้านี้ บริษัทบอกว่ายังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงกลับมาผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง โดยตอนนี้ได้แต่จับตาดูสถานการณ์แบบวันต่อวันเท่านั้น

 

ในเดือนสิงหาคม ฮอนด้าเปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี บริษัทมีกำไรลดลงถึงร้อยละ 88 ตามหลังภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น และอุทกภัยในไทยเวลานี้ได้รับคาดหมายว่าจะซ้้ำเติมสถานการณ์ของฮอนด้าให้เลวร้ายลงไปอีก

 

อนึ่งคนงานในสวินดอน ลดชั่วโมงการทำงานเหลือ 2 วันต่อสัปดาห์ในเดือนเมษายน จากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนและความโกลาหลในห่วงโซ่อุปทาน ก่อนกลับมาทำงานได้เต็มเวลาอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกันยายน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...