ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีสค่ะทุกคน รบกวนถามว่าหุ้นbblควรเข้าซื่อราคาเท่าไหร่ดีคะ จะซื้อถัวเพราะติดอยู่157 บาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีสค่ะทุกคน รบกวนถามว่าหุ้นbblควรเข้าซื่อราคาเท่าไหร่ดีคะ จะซื้อถัวเพราะติดอยู่157 บาท

 

ตามระบบ closing price > 153.50 จะมีสัญญาณซื้อครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเฮนรี่ครับที่เข้ามาอัพเดทตลอดๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทางออกของวิกฤติกรีซ

โดย : ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ boontham.r@ku.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21 กันยายน 2554

 

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลาง 5 แห่งหลักของโลก ได้ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องในยุโรป ด้วยการจะร่วมกันปล่อยกู้เป็นเงินดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับวิกฤติยุโรปที่กลับมาลุกลามในขณะนี้ หลังจากเมื่อต้นเดือนที่แล้ว สหภาพยุโรปเพิ่งออกแพ็คเกจความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ มูลค่าอย่างเป็นทางการประมาณ 1.09 แสนล้านยูโร

 

เวลาผ่านไปได้ไม่ถึง 2 เดือน กลับปรากฏว่า กรีซทำท่าจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อที่จะได้รับเงินงวดถัดไปในเดือนหน้าไว้จ่ายเงินเดือนและบำนาญข้าราชการเสียแล้ว สิ่งที่ยังต้องจับตาในอนาคตอันใกล้ คือ รูปแบบการดำเนินงานของยูโร ว่าจะมีโครงสร้างเปลี่ยนไปในแนวทางใด อย่างน้อยประกอบด้วย หนึ่ง ยูโรจะแปลงสภาพเป็นสหภาพด้านการคลัง (Fiscal Union) และ สอง กรีซหรือประเทศอื่นๆ ที่อ่อนแอทางเศรษฐกิจจะออกจากยูโร

 

เริ่มจาก Fiscal Union ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบย่อย ได้แก่ สหภาพการคลังแบบเต็มรูปแบบ (Fiscal Federalism) สหภาพการคลังแบบกึ่งรูปแบบ (Transfer Europe) พันธบัตรยูโร (E-Bonds) และพันธบัตรของอีซีบี (ECB Bond) โดยทั้งสี่รูปแบบจะมีลักษณะที่แหล่งเงินได้จะมาจากองค์กรที่มิใช่ประเทศผู้ใช้เงิน หรือถ้าจะเข้าใจง่ายๆ ก็คืออยู่ภายใต้หลักการ "คนที่ใช้เงิน มิใช่เป็นคนหาเงิน"

 

โดย Fiscal Federalism หมายถึง องค์กรทางการคลังที่มีอำนาจ 1) สามารถเลือกได้ว่าจะหาเงินจากแหล่งใดเพื่อสนับสนุนด้านการเงินของแต่ละประเทศในยูโร 2) สามารถเลือกได้ว่าจะจัดหาหรือยืมเงินให้กับประเทศใดก่อนหลัง และ 3) มีอำนาจการยืมเงินอย่างเป็นอิสระ อาทิ ความสามารถในการออกพันธบัตรยูโร โดยข้อดีของรูปแบบนี้ คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิตและด้านสภาพคล่องจะลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายทางการเงินของประเทศหนึ่งๆ ในยูโรหากต้องออกตราสารทางการเงินด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติ

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาขององค์กรการคลังรูปแบบดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ ตัวองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านการคลัง มักจะมีความรับผิดชอบด้านการคลังน้อยกว่าเจ้าของประเทศเอง เนื่องจากผลเสียหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการวางแผนด้านการคลังผิดพลาดมิได้ตกกับหน่วยงานกลางโดยตรง และประเทศต่างๆ ในโครงสร้างดังกล่าวมักจะแข่งขันกันลดอัตราภาษีของตนเองเพื่อจูงใจให้ประเทศของตนเองมีความน่าลงทุน ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา มีตัวอย่างของประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้โครงสร้างนี้ เช่น บราซิลและอาร์เจนตินาในช่วงทศวรรษที่ 90 และที่สำคัญ โครงสร้างดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแก้กฎหมายหลักในยูโรแล้วเท่านั้น ซึ่งดูแล้วคงยากที่จะเกิดขึ้น

 

รูปแบบที่สอง ได้แก่ สหภาพการคลังแบบ Transfer Europe ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่เน้นการโอนเงินจากประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านการคลังไปสู่ประเทศที่อ่อนแอด้านการคลัง โดยประเทศซึ่งเป็นแหล่งเงินสามารถควบคุมการใช้จ่าย การเก็บภาษี และการขายกิจการภาครัฐให้กับภาคเอกชนของประเทศที่เป็นผู้รับเงิน

 

ในทางปฏิบัติแล้ว รูปแบบ Transfer Europe ก็เพิ่งจะเกิดขึ้นแบบจำเป็นในปัจจุบัน อาทิ วงเงินกู้ให้กับกรีซ (Greek Loan Facility) มูลค่าสูงสุด 8 หมื่นล้านยูโร หรือ Securities Markets Programme (SMP) มูลค่า 1.29 แสนล้านยูโร (ตัวเลข ณ วันที่ 5 กันยายน 2554) อย่างไรก็ดี คาดกันว่าโครงสร้างนี้ก็คงจะมิได้เป็นรูปแบบที่ใช้ในยูโรเนื่องจากเป็นภาระกับประเทศเจ้าหนี้เป็นอันมาก

 

รูปแบบที่สาม พันธบัตรยูโร (E-Bonds) หมายถึง การออกตราสารพันธบัตรซึ่งได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากประเทศต่างๆ ในกลุ่มยูโรโดยที่แต่ละประเทศยังมีความเป็นอิสรภาพด้านการคลังของตนเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการร่วมกันแบ่งปันด้านความเสี่ยงของประเทศ (Pooling Sovereign Risk) โดยที่แต่ละประเทศยังมีอิสระในด้านการบริหารด้านการคลัง อาทิ การจัดเก็บภาษี และการใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยโครงสร้างดังกล่าว ย่อมทำให้สภาพคล่องมีสูงขึ้นและความเสี่ยงของตราสารดังกล่าวลดลงเมื่อเทียบกับตราสารที่ออกมาในตอนนี้

 

อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้วินัยด้านการคลังของแต่ละประเทศอ่อนแอลง กล่าวคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของความเสียหายที่แท้จริงหากเกิดความผิดพลาด ทำให้ในระยะยาว คาดกันว่า ตัวพันธบัตรยูโร หากมีการใช้งานจริงก็อาจจะก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ประเทศในยูโรไม่แพ้วิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ รวมถึงเยอรมันก็คัดค้านแบบหัวชนฝา เนื่องจากตนเองต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเกินความจริง กระนั้นก็ตาม มีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งที่จะมีการออกพันธบัตรยูโรล็อตใหญ่ (คาดกันว่าวงเงินอาจจะสูงถึง 3 ล้านล้านยูโรทีเดียว) แบบครั้งเดียวโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือปัญหาหนี้ของประเทศในกลุ่ม PIGS

 

ท้ายสุด การใช้พันธบัตรหรือการซื้อสินทรัพย์โดยธนาคารยุโรป หรืออีซีบี (ECB Bond) แนวคิดดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ว่า ธนาคารยุโรปเป็นองค์กรที่ถูกออกแบบให้มีความสามารถในการรับความเสียหายโดยที่ไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงมากได้ดีกว่าหน่วยงานอื่น ทั้งในทางโครงสร้างและทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี จากการแสดงจุดยืนล่าสุดของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดูเหมือนว่าโอกาสทางเลือกดังกล่าวมีอยู่น้อยมาก

 

ทั้งนี้ ทางออกอีกทางที่เป็นไปได้ในระยะสั้น คือ ให้กรีซออกจากยูโร มีการประมาณตัวเลขความเสียหายของกรีซหากออกจากยูโรและจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้รายต่างๆ ซึ่งคาดการณ์กันคร่าวๆ ว่าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของจีดีพีในปี 2011 โดยที่ไอเอ็มเอฟจะได้สิทธิรับเงินคืนก่อนเพื่อน ตามด้วยองค์กรทางการเงินต่างๆ ของต่างประเทศ และนักลงทุนในกรีซเอง ตามลำดับ โดยหนทางเดียวที่ดูเหมือนกรีซจะสามารถจ่ายเงินคืน ได้แก่การพิมพ์เงินมาจ่าย ซึ่งย่อมต้องส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของกรีซพุ่งแบบไม่หยุด

 

ผมมีความเห็นต่อปัญหากรีซในตอนนี้อยู่ 2 ประการ คือ หนึ่ง จากการที่ธนาคารกลางยุโรป ได้ใช้โควตาความน่าเชื่อถือของตนเองต่อตลาดเงินไปจนหมดหน้าตัก นับจากเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ธนาคารกลางยุโรปได้ยืนยันต่อสาธารณชนทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัยว่า นักลงทุนเอกชนจะได้รับความเสียหายจากพันธบัตรของประเทศในกลุ่มยูโรก็ต่อเมื่อผ่านพ้นหลังปี 2013 ไปแล้ว ทว่าแพ็คเกจช่วยเหลือภาค 2 ที่เพิ่งประกาศไป ได้มีส่วนของการแบ่งความรับผิดชอบความเสียหายไปให้นักลงทุนเอกชนแล้ว แน่นอนว่าการส่งผ่าน สื่อสาร และปฏิบัตินโยบายการเงินต่อสาธารณชนสำหรับการช่วยเหลือกรีซในครั้งนี้ย่อมทำได้ลำบาก หากปราศจากการสนับสนุนของเยอรมัน

 

ประการที่สอง หากการผ่อนปรนเงื่อนไขให้กับกรีซสำหรับการจ่ายเงินงวดหน้าบังเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาต่อไปอีก 6-18 เดือนข้างหน้าแล้ว จะพบว่า ในกรณีที่ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของโปรตุเกส สเปน และอิตาลีไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติ จนกระทั่งทั้งหมดต้องการความช่วยเหลือในแบบที่คล้ายคลึงกับกรีซ แน่นอนว่าตลาดการเงินต้องชิงขายตราสารของประเทศเหล่านี้ เนื่องจากกลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยต่อนักลงทุนเอกชนดังเช่นในครั้งนี้ คงไม่ต้องพูดถึงว่าความวุ่นวายของตลาดการเงินจะมีมากขนาดไหน

 

ผมขอสรุปสั้นๆ จากข้อจำกัดทั้งหมดว่า ในที่สุดแล้ว กรีซอาจจำเป็นต้องออกจากยูโร ไม่ช้าก็เร็วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ลีก คืนวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554

 

18.45 น. แมนฯ ซิตี้ - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. เชลซี - สวอนซี ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. นิวคาสเซิ่ล - แบล็คเบิร์น ทรูสปอร์ต 2(102)

21.00 น. ลิเวอร์พูล - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต 3(103)

21.00 น. อาร์เซน่อล - โบลตัน ทรูสปอร์ต 5(105)

21.00 น. วีแกน - สเปอร์ส ทรูสปอร์ต 6(106)

21.00 น. เวสต์บรอมวิช - ฟูแล่ม ทรูสปอร์ต เอ๊กซ์ตร้า(107)

22.30 น. สโต๊ค - แมนฯ ยูไนเต็ด ทรูสปอร์ต 3(103)

 

พรีเมียร์ลีก คืนวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554

 

22.00 น. ควีนส์ปาร์ค - แอสตัน วิลล่า ทรูสปอร์ต 1(101)

 

พรีเมียร์ลีก คืนวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554

 

02.00 น. นอริช - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 1(101)

 

 

ช่วงนี้ทุกตลาด " แดง " กันถ้วนหน้า ดีที่ว่า แมนยูฯ ไม่ได้เจอ ลิเวอร์พูล ในสัปดาห์นี้

 

ไม่งั้น " แดงเดือด " กันตั้งแต่ ตลาดหุ้น ยันสนามบอลเลย :lol: :lol: :lol: :lol:

ถูกแก้ไข โดย henry

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนะนำฟังรายการวิทยุย้อนหลังทางเนท เน้นเศรษฐกิจโลกโดยเจาะไปที่ประเทศจีนเป็นหลัก น่าจะช่วยให้เรามองความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น ความรุ่งเรืองกำลังคืบคลานเข้าหาจีนอย่างมากเลย

http://www2.mcot.net/fm965/list.cfm?cat=Archive&m=102&id=673

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จาก fb คุณเสม ครับ (เสาร์ที่ 24 กันยายน 2554)

 

ทองคำลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง ระยะสั้นเน่าเเน่นอนครับ โลหะมีค่าต่างๆเน่าเเน่นอน

ส่งผลต่อระยะกลางเเล้ว เเต่ระยะยาวยังสดใส เพราะการเเข๊งค่าขึ้นของ USDX

ยังไม่มีสัญญาณกลับตัว นั่งนิ่งๆไม่เสียเงิน ทองคำเเท่งรอดูเเถว $1570

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากคะ Khun Henry !thk

คิดถึงคุณเสมอยู่นะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...