ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เงินบาทปิด 32.24/25 อ่อนค่าช่วงท้ายตลาด รอผลเฟด-จับตาถ้อยแถลงคืนนี้

 

 

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.24/25 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.20/22 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่าง 32.21-32.25 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันจะมีการทำธุรกรรมในช่วงระดับ 32.22-32.23 เป็นส่วนใหญ่ มีใกล้ปิดตลาดที่ขึ้นมาปิดที่ 32.24/25....ส่วนผล กนง.ออกมา 5 ต่อ 0 ไม่มีอะไซอร์ไพร์สตลาด" นักบริหารเงิน กล่าว

ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงรอคอยผลการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) ในระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ และ Action ของนางเจนเน็ต เย็ลเล็น ประธานเฟด รวมทั้งรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่จะประกาศคืนนี้เช่นกัน

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.15-32.35 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.20 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.22/24 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2967 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.2952/2954 ดอลลาร์/ยูโร

- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,570.64 จุด เพิ่มขึ้น 5.23 จุด, +0.33% มูลค่าการซื้อขาย 46,568 ล้านบาท

- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,298.47 ลบ.(SET+MAI)

- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุม ครั้งที่ 6/2557 วันที่ 17 ก.ย.มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ตามตลาดคาดการณ์ โดยระบุว่านโยบายการเงินผ่อนปรนยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจระยะเริ่มแรก โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงิน และในสัปดาห์หน้า ธปท.จะพิจารณาทบทวนคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 57-58 อีกครั้ง รวมถึงการขยายตัวของภาคการส่งออกปีนี้ด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตี 1 ครึ่ง เรารออะไร นักลงทุนรออะไร สิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะออกมา ชี้นำ มีอะไร !?! ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) คงมีการลดวงเงิน QE อีก 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ลงมาสู่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ/เดือน และจะสิ้นสุดโครงการ QE ในเดือนต.ค.ตามแผน รอบนี้ ไม่ได้ตื่นเต้น เพราะยังไงเดือนหน้า QE ก็ถูกยกเลิก

 

ประเด็นที่มองกัน คือ หมด QE จะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ เร็วหรือช้า หรือ โยนคำตอบไปที่ตัวเลขเศรษฐกิจ จึงต้องรอฟังจากถ้อยแถลง จาก นางเยลเลน ที่จะส่งสัญญาณบอกมา ว่าเมื่อไหร่ ? และเดากันว่า จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยภายในกลางปีหน้า เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกยังมีปัญหาอยู่ทถ้านางเยลเลน พูดถึงดอกเบี้ยคงต่ำอีกระยะยาว ดอลล์จะอ่อนค่า แล้วผลที่จะส่งมาในตลาดเอเชีย คือ ทองอาจปรับขึ้น แต่ไม่มาก ต้องวนกลับมาที่ตลาดยุโรปอีกครั้ง เพราะช่วงนั้น ค่าเงินยูโรอาจฟื้นแข็งค่าขึ้นมาได้

 

นักลงทุนรอผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) ตี 1 ครึ่ง ผลการประชุมครั้งนี้จะยังไม่ระบุกำหนดเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อาจจะให้ความเห็นต่อภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขเงินฝืดที่สูง หรือ เงินเฟ้อที่ยังต่ำ

 

********

 

ราคาทองคำ

 

1. หากสหรัฐยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า ซึ่งจะหนุน ราคาทองคำปรับขึ้น

2. แต่ถ้ามีการส่งสัญญาณว่าปรับลดอัตราดอกเบี้ย ราคาทองคำก็คงปรับฐานลง และจะลงค่อนข้างน่ากลัว

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึง ป๋า บอกช้าไปนิด โดนหวยแดร็กตามเจ้อี๋ ไปด้วย แงๆ เพื่อนบอก35 ดันลืมซื้อ ป้ายแดงรถใหม่เพื่อน แถม เพื่อนบอก กลางคืนไฟมันกะพริบๆ เหมือนมันรวน แต่เจ้าตัวดันแทงบน มันออกล่าง 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดมีมติคงดอกเบี้ย 0-0.25% พร้อมยืนยันตรึงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก

 

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557 06:04:32 น.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) เอาไว้ที่ระดับ 0-0.25% และยังคงยืนยันว่า เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปอีก แม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลงตามกำหนดก็ตาม

 

ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวานนี้ คณะกรรมการเอฟโอเอ็มซียังได้ประกาศปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้วงเงินการซื้อพันธบัตรปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าปรับลด QE ไปจนจบโครงการในปีนี้

 

 

 

แถลงการณ์ภายหลังการประชุมของเฟดระบุว่า เฟดจะคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันต่อไปอีก แม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลงก็ตาม พร้อมกับระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐขยายตัวปานกลาง ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวขึ้น แต่อัตราว่างงานเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ส่วนตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ตัวเลขการลงทุนในภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ยังไม่ตัด เส้นดำเส้นแดง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ไม่น่าจะอ่อน 32.3x น่าจะเป็นเพียงชั่วคราว กรอบน่าจะ 32.2x

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับป๋า

 

เช้านี้ตื่นมา ตะลึง ตึ่ง ๆ ๆ ๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวันที่ 3-4 กันยายนที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจำนวน 9 รายของธนาคารกลางอังกฤษมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันแล้วในเรื่องการคงอัตราดอกเบี้ย

 

โดยกรรมการที่สนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนั้นมองว่า ปัจจัยเสี่ยงในยุโรปมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และสถานการณ์ที่ตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซัย ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังไม่สูงนัก

 

ขณะที่มาร์ติน วีล และเอียน แมคคาฟเฟอร์ตี เป็นกรรมการ 2 รายที่ต้องการให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%

 

รายงานการประชุมซึ่งเผยแพร่ในวันนี้แสดงให้เห็นว่า หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนถดถอยลงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อมติของที่ประชุมธนาคารอังกฤษ โดยถึงแม้เศรษฐกิจที่อ่อนแอและอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำของยูโรโซนอาจไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออังกฤษ แต่ปัจจัยดังกล่าวก็อาจนำไปสู่สถานการณ์ไม่แน่นอนเกี่ยวกับหนี้สาธาณะของยูโรโซนอีกครั้ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจอังกฤษก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

 

นอกจากนี้ เนื้อหาในรายงานยังระบุด้วยว่า อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากขึ้น ขณะที่นักลงทุนเริ่มไม่แน่ใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลการลงประชามติของสกอตแลนด์เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร

 

ในการประชุมเมื่อวันที่ 3-4 ก.ย.นั้น บอร์ดธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 17 กันยายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันปรับลด ดาวโจนส์ทุบสถิติ-ทองคำลงหลังเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กันยายน 2557 04:31 น.

 

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันขยับลงวานนี้(17ก.ย.) จากข้อมูลสต๊อกเชื้อเพลิงสำรองของสหรัฐฯ ส่วนดาวโจนส์ทุบสถิติตลอดกาลรอบใหม่ หลังเฟดบรรลุแผนที่วางกรอบไว้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อเข้าสู่ปี 2015 แล้ว ปัจจัยนี้ดันดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและฉุดให้ทองคำปิดในแดนลบ

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 46 เซนต์ ปิดที่ 94.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 8 เซนต์ ปิดที่ 98.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯพบว่าในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 กันยายน คลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นเหนือคาดหมาย 3.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่เหล่านักวิเคราะห์คาดเดาว่าน่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันพุธ(17ก.ย.) ปิดในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์ทุบสถิติตลอดกาลรอบใหม่ หลังจากธคารกลางอเมริกา(เฟด) บรรลุแผนสำหรับจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ตอนนี้อยู่ในระดับใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2015

 

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 24.88 จุด (0.15 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,156.85 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 2.59 จุด (0.13 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,001.57 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 9.43 จุด (0.21 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,562.19 จุด

 

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นสูงสุดถึง 17,221.11 จุด ไม่นานหลังจากเฟดแถลงไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายทางการเงินใดๆ โดยบอกว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาสำคัญ หลังสิ้นสุดโครงการเข้าซื้อพันธมิตรกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนตุลาคมนี้แล้ว

 

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามหลังคำแถลงของเฟด และปัจจัยนี้เองที่ฉุดให้ราคาทองคำวานนี้(17ก.ย.) ปิดลบเล็กน้อย โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 0.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,235.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยราคาผู้บริโภคเดือนส.ค. ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง เนื่องจากราคาพลังงานลดลง ส่งสัญญาณว่าแรงกดดันเงินเฟ้อในสหรัฐบรรเทาเบาบาง ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่จำเป็นต้องเร่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวลง 0.2% ในเดือนส.ค. ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว หลังจากที่ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค.

 

ปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนี CPI หดตัวลงคือ ราคาพลังงานที่ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยหดตัวลง 2.6% ในเดือนส.ค. นำโดยราคาน้ำมันเบนซินที่ร่วงลง 4.1% หลังจากที่ขยับลง 0.3% ในเดือนก.ค.

 

ด้านราคาอาหารขยับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค.

 

ขณะที่ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ทรงตัวในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนต.ค.2553 ที่ดัชนี CPI พื้นฐานไม่ปรับเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 17 กันยายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แถลงการณ์ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐเดือนก.ย.

 

 

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกแถลงการณ์ภาย หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ซึ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อคืนนี้ว่า ข้อมูลที่ได้รับนับตั้งแต่ที่คณะกรรมการ FOMC ประชุมกันในเดือนก.ค.บ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังขยายตัวในอัตราปานกลาง ภาวะตลาดแรงงานได้ปรับตัวดีขึ้น แต่อัตราวางงานแทบไม่เปลี่ยนแปลง และปัจจัยชี้วัดต่างๆเกี่ยวกับตลาดแรงงานบ่งชี้ว่าการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรด้านแรงงานยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก การใช้จ่ายภาคครัวเรือนดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นปานกลางและการลงทุนในสินทรัพย์ ถาวรของภาคธุรกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวในภาคที่อยู่อาศัยยังคงชะลอลง นโยบายการคลังกำลังสกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าผลกระทบกำลังลดน้อยลง ส่วนเงินเฟ้อได้ปรับตัวต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวของคณะกรรมการ แต่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาวยังคงทรงตัว

 

คณะกรรมการ FOMC พยายามที่จะสนับสนุนการจ้างงานให้ขยายตัวในระดับสูงสุดและสร้างเสถียรภาพ ด้านราคา ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเฟด คณะกรรมการคาดว่า ด้วยการผ่อนคลายนโยบายอย่างเหมาะสม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัวปานกลาง โดยปัจจัยชี้วัดตลาดแรงงานและเงินเฟ้อได้ปรับตัวใกล้ระดับที่คณะกรรมการ พิจารณาว่าสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก 2 ประการ คณะกรรมการเล็งเห็นความเสี่ยงต่อแนวโน้มสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรง งาน ซึ่งเกือบจะมีความสมดุล และประเมินว่าความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อจะปรับตัวต่ำกว่า 2% อย่างต่อเนื่องนั้น ได้ลดลงไปบ้างนับตั้งแต่ต้นปีนี้

 

ในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการพิจารณาว่ามีเศรษฐกิจโดยรวมมีความแข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญเพียง พอที่จะช่วยหนุนการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของภาวะตลาดแรงงาน และหลังจากมีความคืบหน้ามากขึ้นสู่การจ้างงานในระดับสูงสุดและการปรับตัวดี ขึ้นของแนวโน้มสำหรับตลาดแรงงาน นับตั้งแต่เริ่มโครงการซิ้อสินทรัพย์ในปัจจุบันนั้น คณะกรรมการได้ตัดสินใจที่จะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอย่างระมัดระวังต่อ ไป ซึ่งจะเริ่มในเดือนต.ค. โดยคณะกรรมการจะซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุนในวงเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน จากเดิม 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอายุการไถ่ถอนนานขึ้นในวงเงิน 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน จากเดิม 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน คณะกรรมการยังคงดำเนินนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไปในการนำเงินต้นที่ได้ รับจากการถือครองตราสารหนี้ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและ MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ไปลงทุนใหม่ใน MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และเข้าซื้อพันธบัตรชุดใหม่เมื่อพันธบัตรเดิมครบกำหนดไถ่ถอนในการประมูล การที่คณะกรรมการยังคงถือครองตราสารหนี้ระยะยาวขึ้นในจำนวนมากและยังคงเพิ่ม จำนวนขึ้นนั้น น่าจะยังคงสร้างแรงกดดันช่วงขาลงต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว ช่วยหนุนตลาดจำนอง และช่วยทำให้ภาวะทางการเงินในวงกว้างมีความผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งต่อจากนั้นก็น่าจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยสร้างความมั่นใจว่า เมื่อเวลาผ่านไป เงินเฟ้อจะอยู่ในอัตราที่สอดคล้องมากที่สุดกับเป้าหมายหลัก 2 ประการของคณะกรรมการ

 

คณะกรรมการจะจับตาดูข้อมูลที่กำลังจะมีการเปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้า ทางเศรษฐกิจและการเงินในช่วงหลายเดือนข้างหน้าอย่างใกล้ชิด และจะยังคงเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและ MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน รวมทั้งใช้เครื่องมือด้านนโยบายอื่นๆตามความเหมาะสมจนกว่าแนวโน้มของตลาดแรง งานจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในบริบทของความมีเสถียรภาพด้านราคา หากข้อมูลที่กำลังจะมีการเปิดเผยโดยรวมได้ช่วยหนุนการคาดการณ์ของคณะกรรมการ ในประเด็นเกี่ยวกับการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของภาวะตลาดแรงงานและการ ที่เงินเฟ้อปรับตัวกลับมาอยู่ใกล้เป้าหมายระยะยาว คณะกรรมการก็จะยุติโครงการซื้อสินทรัพย์ในปัจจุบันในการประชุมครั้งหน้า อย่างไรก็ตาม การซื้อสินทรัพย์ไม่ได้เป็นแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และการตัดสินใจของคณะกรรมการเกี่ยวกับขนาดการซื้อสินทรัพย์จะยังคงขึ้นอยู่ กับแนวโน้มสำหรับตลาดแรงงานและเงินเฟ้อของทางคณะกรรมการ รวมทั้งการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพและต้นทุนที่มีความเป็นไปได้ของการ ซื้อดังกล่าว

 

ในส่วนของการสนับสนุนให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องสู่การจ้างงานสูงสุด และความมีเสถียรภาพด้านราคานั้น คณะกรรมการได้ยืนยันอีกครั้งในวันนี้ถึงมุมมองที่ว่าท่าทีที่ผ่อนคลายอย่าง มากด้านนโยบายการเงินจะยังคงมีความเหมาะสม และในการที่จะตัดสินใจว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ไว้ในระดับปัจจุบันที่ 0-0.25% ต่อไปนานเพียงใดนั้น คณะกรรมการจะประเมินความคืบหน้าสู่เป้าหมายของการจ้างงานในระดับสูงสุดและ เงินเฟ้อที่ 2% ทั้งในแง่ความเป็นจริงและคาดการณ์ การประเมินนี้จะพิจารณาข้อมูลในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการประเมินภาวะตลาดแรงงาน, ปัจจัยชี้วัดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อ และการพิจารณาถึงความคืบหน้าทางการเงิน เมื่ออิงกับการประเมินปัจจัยเหล่านี้ คณะกรรมการยังคงคาดว่ามีแนวโน้มที่จะมีความเหมาะสมในการคงช่วงเป้าหมายใน ปัจจุบันสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่อไปอีกเป็นระยะเวลานานหลังจากโครงการ ซื้อสินทรัพย์สิ้นสุดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงินเฟ้อที่คาดไว้จะยังคงปรับตัวต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ของคณะกรรมการ และหากการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะยาวยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

เมื่อคณะกรรมการตัดสินใจที่จะเริ่มยกเลิกนโยบายผ่อนคลาย ก็จะใช้วิธีการที่มีความสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวว่าด้วยการจ้างงานในระดับสูงสุดและเงินเฟ้อ ที่ 2% โดยในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการคาดว่า แม้ว่าหลังจากการจ้างงานและเงินเฟ้อปรับตัวใกล้ระดับที่สอดคล้องกับเป้าหมาย หลักแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจอาจจะเป็นเหตุผลในการคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ต่ำ กว่าระดับที่คณะกรรมการมองว่าเป็นระดับปกติในระยะยาว ต่อไปสักระยะหนึ่ง

 

สำหรับผู้ที่ออกเสียงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินของ FOMC ได้แก่ เจเน็ต แอล. เยลเลน ประธานเฟด, วิลเลียม ซี. ดัดลีย์ รองประธานเฟด, เลล เบรนาร์ด, สแตนลีย์ ฟิสเชอร์, นารายานา โคเชอร์ลาโคตา, ลอเร็ตตา เจ. เมสเตอร์, เจอโรม เอช. เพาเวล และ แดเนียล เค. ทารุลโล

 

ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ ริชาร์ด ดับเบิลยู. ฟิชเชอร์ และ ชาร์ลส์ ไอ. พลอสเซอร์ โดยนายฟิชเชอร์เชื่อว่าความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่แท้จริง, แนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์ด้านแรงงานและความมีเสถียรภาพ ด้านราคาโดยทั่วไป และสัญญาณบ่งชี้ต่อเนื่องเกี่ยวกับความคืบหน้าในตลาดการเงิน มีแนวโน้มจะสนับสนุนให้มีการปรับลดการผ่อนคลายทางการเงินได้เร็วกว่าที่มี การบ่งชี้ไว้ในสัญญาณชี้นำล่วงหน้า (Forward Guidance) ของคณะกรรมการ ขณะที่นายพลอสเซอร์ไม่เห็นด้วยกับสัญญาณชี้นำดังกล่าว ซึ่งระบุว่ามีแนวโน้มที่จะมีความเหมาะสมในการคงช่วงเป้าหมายในปัจจุบัน สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่อไปอีกเป็น “ระยะเวลานาน หลังจากโครงการซื้อสินทรัพย์สิ้นสุดลง" เนื่องจากการใช้ภาษาดังกล่าวเป็นการขึ้นอยู่กับเวลา และไม่ได้สะท้อนถึงความคืบหน้าอย่างมากทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้เดินหน้าใกล้เป้าหมายของคณะกรรมการ

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (18/09/2557)

 

 

ปล. สรุป สำหรับความเห็นของเฟดต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate จะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังสิ้นสุดโครงการ QE ในการประชุมเดือนต.ค.นี้ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจยังเติบโตในระดับปานกลาง การจ้างงานยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย เพียงแต่การคาดการณ์ของเฟดต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ได้ขยับขึ้นจาก 1.125% ณ สิ้นปี 2558 ในการประเมินเดือนมิ.ย. เป็น 1.375% ล่าสุดคืนวานนี้ ทำให้นักลงทุนทั่วโลกมั่นใจว่าปีหน้าเฟดจะต้องเริ่มทยอยปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย แต่ช่วงจังหวะอาจต้องรอความเห็นจากทางเฟดต่อช่วงเวลาที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลดังกล่าว DJIA ตอบสนองเป็นกลาง แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินต่างๆ กดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...