ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีติดตามอ่านมานานแล้วรับความรู้แบบเงียบ ๆ อ่ะขอบคุณมากและจะติดตามต่อค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นตั้งแต่เช้าแล้วค่ะ...ว่าอะไรนะ ไปขุดมาให้ดู ว่า อาจารย์กัมพลทำไว้...มันไม่ได้ปักหมุดนะคะอาจารย์

 

ที่บทความราคาทองคำ

http://www.thaigold....hp?showforum=11

 

 

ที่กระทู้ สูตรคำนวนราคาทองไทยและที่มา

http://www.thaigold....B8%A1%E0%B8%B2/

 

 

แสดงว่าเราทำ...แต่เขาก็อปไป...แล้วเราก็อปกลับมากระนั้นหรือคะ

 

 

อาจารย์กัมพลโพสตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2008 ที่โน่นโพส 16 ตุลาคม 2008

 

ขอบคุณอาจารย์กัมพลมากๆค่ะ ที่ทำสิ่งดีๆไว้ให้เราดู 5fc0f220.gif แต่เราไม่ค่อยเห็นกัน..กระทู้มันหล่น ! ค่ะ......ช่วยปักหมุดให้ด้วยนะคะ

 

ผมจำไม่ได้และไม่แน่ใจว่า เดิมทีผมโพสต์ครั้งแรกที่ไหน มันนานแล้ว สมัยก่อนผมก็สิงสถิตย์อยู่นั่นแหละ

 

ยังมีอีกหลายบทความ ที่ผมเขียนไว้ ลอกกันจนเต็ม net ไปหมด โดยไม่ได้อ้างอิงที่มา ทำให้คนอ่าน ไม่รู้ที่มา ว่าเนื้อหาเดิมมาจากไหน

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นชาวนาจริงหรอ เป็นชาวนารู้ไหมว่าพวกมันโกงคุณไปปีละกี่แสนล้านบาท

และปีหน้าราคาข้าวยังไงก็ขึ้น เพราะค่าเงินลด ไม่ใช่ขึ้นเพราะ มันคนไหนไปช่วยคุณนะ อย่าไปดีใจ เพราะอะไร อะไำรก็ขึ้นหมด

 

เหมือนยางพารา นักการเมืองชอบอ้างกันจริงๆ ว่าเป็นผลงานของตัวเองที่ทำให้ราคายางแพง ตลาดโลกเค้าขึ้นหมดแล้วตลาดบ้านเราจะไม่ขึ้นได้ไง หลอกประชาชนไปวันๆ ฟังแล้วเศร้า !023

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

xBT> USA:เจาะลึกประเด็นหารือทำเนียบขาว-คองเกรสกรณีปรับเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐ

วอชิงตัน--7 ก.ค.--รอยเตอร์

 

ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐและผู้นำสภาคองเกรสจะประชุมกัน

ที่ทำเนียบขาวในวันนี้เพื่อเริ่มต้นเจรจาต่อรองเรื่องงบประมาณกันอีกครั้ง โดยมีจุด

ประสงค์เพื่อควบคุมการก่อหนี้ของสหรัฐ และช่วยให้สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการ

ผิดนัดชำระหนี้

กระทรวงการคลังสหรัฐประกาศเตือนว่า สหรัฐจะไม่มีเงินเหลือไว้ใช้

ชำระหนี้ ถ้าหากสภาคองเกรสไม่ปรับเพิ่มเพดานหนี้จากระดับ 14.3 ล้านล้าน

ดอลลาร์ภายในวันที่ 2 ส.ค.

ถึงแม้พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันระบุว่า รัฐบาลสหรัฐอาจจะ

หาทางประหยัดเงินได้ราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ทั้งสองพรรคก็ยังคงขัดแย้งกัน

เกี่ยวกับองค์ประกอบหลายอย่างในข้อตกลง

ต่อไปนี้เป็นการสรุปประเด็นปัญหาในเรื่องนี้:-

 

*งบประมาณรายจ่ายรายปี

ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรจะจำกัดการขยายตัวของงบประมาณรายจ่าย

รายปีในส่วนที่ไม่จำเป็น ซึ่งครอบคลุมการบังคับใช้กฎหมาย, การรักษาความปลอดภัย

ในท่าอากาศยาน และปฏิบัติการทางทหาร

ผู้ช่วยจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันระบุว่า การประหยัดเงิน

ในส่วนนี้อาจมีวงเงิน 0.9-1.3 ล้านล้านดอลลาร์

ประเด็นสำคัญที่สร้างความขัดแย้งคือเรื่องที่ว่า พรรคเดโมแครตต้องการ

ปรับลดงบใช้จ่ายทางการทหาร แต่พรรครีพับลิกันไม่เห็นด้วย

นายจอน ไคล์ วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันกล่าวว่า "ภาระผูกพันแรกของ

รัฐบาลกลางสหรัฐคือการรักษาความปลอดภัยของประชาชนทั่วประเทศ และถ้าหาก

ภาระดังกล่าวต้องใช้เงินจำนวนหนึ่ง เราก็จำเป็นต้องหาเงินจำนวนนั้นมาให้ได้"

สมาชิกพรรคเดโมแครตกล่าวว่า สมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนแสดงท่าที

ยอมรับการปรับลดงบกลาโหมมากกว่าในอดีต แต่ยังไม่มีการตกลงกันเรื่องตัวเลข

ที่แน่นอน

 

*สวัสดิการ

ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า ควรจะมีการปรับลดโครงการสวัสดิการ

บางรายการ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติทุกปีจนกว่า

สภาคองเกรสจะปรับแก้โครงการดังกล่าว ขณะที่พรรคเดโมแครตระบุว่า

การออมเงินในส่วนนี้จะมีมูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่พรรครีพับลิกันระบุว่า

จะมีวงเงินใกล้ 6 แสนล้านดอลลาร์

โครงการที่อาจถูกปรับทบทวนรวมถึง:-

--การเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดอัตราเงินเฟ้อ เพื่อจะได้ชะลอการเติบโต

ของสวัสดิการเงินบำนาญและการหักภาษี ซึ่งอิงกับอัตราเงินเฟ้อ โดยการปรับทบทวน

ในส่วนนี้อาจช่วยให้สหรัฐประหยัดเงินได้ 3 แสนล้านดอลลาร์

--การปรับลดสวัสดิการเงินบำนาญสำหรับพนักงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ

--การเรียกเก็บค่าพรีเมียมที่สูงขึ้นจากบริษัทที่ไม่มั่นคง ซึ่งสวัสดิการของ

บริษัทดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากโครงการประกันของรัฐบาลกลาง

--การปรับลดเงินช่วยเหลือภาคเกษตร

--การจำกัดค่าเสียหายที่จ่ายให้กับโจทก์ในคดีการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์

หรือทุรเวชปฏิบัติ (medical malpractice)

--การบังคับให้นักศึกษาจ่ายดอกเบี้ยในสินเชื่อสำหรับนักศึกษาของรัฐบาลกลาง

--การประมูลขายช่วงความถี่ที่ไม่ได้ใช้งานในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

--การขายอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป

 

*รายได้จากภาษี

ประเด็นนี้อาจจะเป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้งมากที่สุดในการประชุม

โดยพรรคเดโมแครตยืนยันว่า ข้อตกลงปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณไม่สามารถพึ่งพา

การปรับลดงบใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่พรรครีพับลิกันยืนยันว่า การปรับขึ้นภาษี

ต้องไม่อยู่ในข้อตกลงนี้

พรรคเดโมแครตตั้งเป้าหมายไปที่การแก้ไขมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับ

ผู้เสียภาษีหรืออุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งการแก้ไขในส่วนนี้จะช่วยให้สหรัฐ

ออมเงินได้ 4 แสนล้านดอลลาร์ ทางด้านพรรครีพับลิกันลังเลที่จะบรรจุมาตรการ

ดังกล่าวไว้ในข้อตกลงปรับลดยอดขาดดุล เพราะทางพรรคต้องการบรรจุข้อตกลง

ดังกล่าวไว้ในมาตรการปฏิรูปกฎหมายภาษีในวงกว้าง ซึ่งครอบคลุมการปรับลด

อัตราภาษีด้วย

อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายอาจจะมีช่องทางตกลงกันได้ หลังจากนาย

เอริค แคนเทอร์ ผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันกล่าวว่า พรรค

รีพับลิกันอาจจะตกลงยอมรับการยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีบางมาตรการ

ตราบใดที่มีการปรับลดภาษีในส่วนอื่นๆเพื่อเป็นการทดแทน

ประเด็นในการหารือครั้งนี้รวมถึง:-

--การจำกัดรายการลดหย่อนภาษีสำหรับคนรวย ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐ

มีรายได้เพิ่มขึ้น 2.93 แสนล้านดอลลาร์ในเวลา 10 ปีข้างหน้า

--การยุติการให้เงินช่วยเหลือผู้ผลิตเอทานอล โดยวุฒิสมาชิกพรรค

รีพับลิกันเคยโหวตมาแล้วสองครั้งให้ยุติเงินช่วยเหลือนี้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงิน

ได้ 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

--การยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่

โดยพรรครีพับลิกันคัดค้านข้อเสนอนี้ในวุฒิสภา แต่พรรคเดโมแครตระบุว่า

ทางพรรคจะผลักดันให้มีการบรรจุข้อเสนอนี้ไว้ในแผนปรับลดยอดขาดดุล

ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินให้สหรัฐได้ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์

--การนำอัตราภาษีเงินได้แบบปกติที่มีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 35 %

มาใช้กับผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ โดยในปัจจุบันนี้ผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์จ่าย

อัตราภาษีกำไรจากการขายสินทรัพย์ที่ 15 % สำหรับค่าตอบแทนของตนเอง

โดยการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้จะเพิ่มรายได้ให้สหรัฐ 2 หมื่นล้านดอลลาร์

--การยกเลิกหลักปฏิบัติทางการบัญชีแบบ "last in, first out"

ที่บริษัทน้ำมันและบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆใช้ในการคุ้มครองผลกำไรจากการค้า

ถึงแม้พรรครีพับลิกันระบุว่าการยกเลิกหลักปฏิบัติดังกล่าวจะสร้างความเสียหาย

ต่อการจ้างงาน โดยการยกเลิกนี้จะเพิ่มรายได้ให้สหรัฐ 7 หมื่นล้านดอลลาร์

--การยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีที่ให้กับเครื่องบินของบริษัทเอกชน

เพราะเครื่องบินประเภทนี้สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้เร็วกว่าสายการบิน

พาณิชย์ โดยมาตรการนี้จะช่วยประหยัดเงินได้เพียง 3 พันล้านดอลลาร์

แต่อาจส่งผลดีต่อชื่อเสียงของปธน.โอบามา เพราะเขาสามารถอ้างว่า

เขาได้โจมตีความฟุ่มเฟือยที่พรรครีพับลิกันพยายามปกป้อง

 

*การประกันสุขภาพ

ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐมีแนวโน้ม

เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากประชากรสูงวัย

มีจำนวนมากขึ้น และค่ารักษาพยาบาลอาจพุ่งขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่า

อัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ พรรครีพับลิกันเสนอให้มีการปฏิรูปโครงการเมดิแคร์

สำหรับผู้สูงอายุ และโครงการเมดิเคดสำหรับคนจน ทางด้านพรรค

เดโมแครตไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงการสำคัญนี้

แต่การเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กน้อยเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ โดยพรรค

เดโมแครตระบุว่า การประหยัดเงินในส่วนนี้อาจมีมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์

แต่พรรครีพับลิกันระบุว่าอาจมีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์

การประหยัดเงินในส่วนนี้อาจรวมถึง:-

--การปรับปรุงการประสานงานในเรื่องการให้สวัสดิการแก่

"ผู้มีสิทธิรับเงินสองโครงการ" ซึ่งได้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินประกันสุขภาพจาก

ทั้งโครงการเมดิแคร์และเมดิเคด โดยคนกลุ่มนี้ครองส่วนแบ่งที่สูงเกินไป

ในงบใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล

--การปรับลดสวัสดิการเมดิแคร์สำหรับผู้เกษียณอายุที่มีฐานะร่ำรวย

ซึ่งสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้ อย่างไรก็ดี สมาชิกพรรคเดโมแครต

หลายคนกังวลว่า มาตรการนี้อาจส่งผลให้ประชาชนลดการสนับสนุนโครงการ

เมดิแคร์

--การปรับเปลี่ยนวิธีการที่รัฐบาลกลางสหรัฐให้เงินตามโครงการ

เมดิเคดแก่รัฐต่างๆในสหรัฐ โดยรัฐบาลกลางควรให้รางวัลแก่รัฐที่ใช้จ่ายเงิน

อย่างมีประสิทธิภาพ

--การปรับลดการฉ้อโกงทางการแพทย์และการจ่ายสวัสดิการมากเกินไป

 

*มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผู้นำวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตต้องการบรรจุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

และปรับลดการว่างงานไว้ด้วย เนื่องจากอัตราการว่างงานในสหรัฐอยู่ที่ระดับสูงถึง

9.1 % ในปัจจุบัน โดยมาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น

ในระยะสั้น และพรรครีพับลิกันไม่ต้องการบรรจุมาตรการดังกล่าวไว้ในข้อตกลง

ข้อเสนอของพรรคเดโมแครตรวมถึง:-

--การต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีที่หักจากค่าจ้าง เพราะมาตรการ

ดังกล่าวจะหมดอายุลงในช่วงสิ้นปีนี้ โดยการต่ออายุนี้จะส่งผลให้ยอดขาดดุล

งบประมาณเพิ่มขึ้น 1.12 แสนล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

--การปรับเพิ่มงบรายจ่ายในการซ่อมแซมทางหลวงและโครงการ

คมนาคมอื่นๆ

--การให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมเกิดใหม่ในด้าน"พลังงานสะอาด"--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

xBT> USA:ก.คลังสหรัฐกำลังพิจารณาทางเลือก หากคองเกรสไม่เพิ่มเพดานหนี้

วอชิงตัน--7 ก.ค.--รอยเตอร์

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า ทีมงานขนาดเล็กของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง

สหรัฐกำลังหารือเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆในการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้

ถ้าหากสภาคองเกรสไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ทันกำหนดเส้นตายในวันที่

2 ส.ค.

เจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งรวมถึงนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ

เคยกล่าวย้ำหลายครั้งว่า สหรัฐไม่มีแผนฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีที่สภาคองเกรส

ไม่อนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐกู้เงินเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูง

ของกระทรวงการคลังได้สำรวจวิธีการต่างๆที่สามารถใช้สกัดกั้นภาวะปั่นป่วนวุ่นวาย

ทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหากรัฐบาลสหรัฐไม่สามารถชำระหนี้ได้

ทันเวลา

กระทรวงการคลังสหรัฐได้ศึกษาประเด็นดังต่อไปนี้:-

--รัฐบาลสหรัฐสามารถเลื่อนเวลาชำระเงินออกไปได้หรือไม่ เพื่อจะได้

บริหารจัดการกระแสเงินสดหลังวันที่ 2 ส.ค.

--รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐหรือไม่

ในการไม่เชื่อฟังสภาคองเกรส และให้อำนาจรัฐบาลในการออกตราสารหนี้ต่อไป

หรือไม่

--ผลการประเมินโดยหน่วยงานรัฐบาลในปี 1985 ให้อำนาจทางกฎหมาย

แก่รัฐบาลหรือไม่ในการจัดลำดับความสำคัญในการชำระเงิน

นางแมรี มิลเลอร์ รมช.คลังสหรัฐฝ่ายตลาดการเงิน และนายริชาร์ด

เกร็กก์ รมช.คลังสหรัฐฝ่ายงบประมาณ เป็นผู้นำในทีมงานชุดพิเศษของกระทรวง

การคลังชุดนี้

ทีมงานชุดนี้ได้หารือกันเรื่องทางเลือกที่ว่า กระทรวงการคลังอาจจะ

อ้างบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 14 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ในการชำระเงิน

ต่อไปถึงแม้ไม่มีการปรับเพิ่มเพดานหนี้

นักวิเคราะห์บางรายตีความว่า บทบัญญัติดังกล่าวระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถ

ผิดนัดชำระหนี้ได้ และมีการคาดการณ์กันในช่วงนี้ว่า กระทรวงการคลังอาจจะอ้าง

บทบัญญัตินี้ในการละเลยเพดานหนี้ที่สภาคองเกรสกำหนดไว้

อย่างไรก็ดี ทำเนียบขาวปฏิเสธทางเลือกนี้ โดยนางเอมี บรุนเดจ

โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า "บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 14 ไม่ใช่อุปกรณ์

ป้องกันภัยที่จะเปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถหลีกเลี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ได้"

ทีมงานของกระทรวงการคลังยังได้หารือเกี่ยวกับผลการประเมินในปี

1985 กับทางสำนักงานกำกับความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐ (GAO) ด้วย

โดยผลการประเมินระบุว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจในการจัดลำดับความ

สำคัญในการชำระเงิน

นายไมเคิล บาร์ อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกล่าวว่า เขาเคย

หารือกับนางมิลเลอร์และนายเกร็กก์เมื่อหนึ่งเดือนก่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้

"พวกเขากำลังสำรวจว่า มีทางเลือกอื่นๆที่ถูกกฎหมายและนำมาปฏิบัติ

ได้จริงหรือไม่ โดยพวกเขาไม่แน่ใจว่าประธานาธิบดีมีอำนาจทางกฎหมายหรือไม่

ในการเลือกว่าใครจะได้รับการชำระหนี้ก่อน" นายบาร์กล่าว

ทีมงานชุดนี้ได้ปรึกษากับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ด้วย โดยหารือกัน

ในเรื่องที่ว่าเฟดหรือเฟดสาขานิวยอร์คจะทำหน้าที่เป็นคนกลางของกระทรวงการคลัง

ในตลาดได้อย่างไรบ้าง ถ้าหากสภาคองเกรสไม่อนุมัติการปรับเพิ่มเพดานหนี้จากระดับ

14.3 ล้านล้านดอลลาร์ได้ทันเวลา--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไดัดู Too Big Too Fail แล้วครับ เนื้อหามีหลายๆส่วนไกล้เคียงกับ The Big Short ของ Michael Lewis เลย

ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากขึ้น แนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ ที่คิโนฯ มีขาย

 

ช่วงนี้ติดตามข่าวการเงิน และพยายามอ่านหนังสือ ทางด้านการเงินเรื่อยๆ รู้สึกเหมือนกับกำลังต่อ jigsaw ครับ

ดูเหมือนกับว่าปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งหลายนี่เกิดจากการที่ลุงแซมพิมพ์เงินปลอมออกมา และใช้เงินเหล่านั้น

ซื้อน้ำมันกับตะวันออกกลาง หลังจากนั้นก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในทวีปต่างๆมาเรื่อยๆ

  • ละตินอเมริกา
  • ญี่ปุ่น
  • เอเชีย (ช่วง 1997 ที่บ้านเราก็โดน)
  • เม็กซิโก
  • อเมริกา
  • และ ยุโรป + อเมริกา ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ต้นเหตุคือเงินปลอมที่รัฐบาลกลางต่างๆพิมพ์ขึ้นมา ที่ฝรั่งเรียกว่า counterfeit หรือ funny money ซึ่งถ้า

อ้างอิงจาก Unfair Advantage ของคิโยซากิ นโยบายพิมพ์เงินปลอม หรือนโยบาย Fractional Reserve นั้น

เป็นนโยบายที่ธนาคารกลางของทุกประเทศไหนในโลกใช้ เพราะถูกบังคับจาก World Bank และ IMF

 

สรุปตามคิโยซากิ ปี 1971 ที่นิกสันประกาศ "ชักดาบ" เลิกผูกเงินดอลล่าร์กับทองคำ เป็นจุดผกผันที่ทำให้

ทุกประเทศ ต้องออกมาพิมพ์เงินแข่งกัน นั่นรวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะถ้าเราไม่ลดค่าเงินของเราเอง

ค่าเงินของเราก็จะแข็งมากจนไม่สามารถส่งออก และหาเงินมาซื้อพลังงานได้

 

คิโยซากิ, Lindsey Williams, Max Keiser, ลุงจิม, และกูรูอื่นๆ พูดตรงกันว่า ต่อไปเงินกระดาษที่เราถืออยู่ จะไม่มีค่า

และมีค่าลดลงไปเรื่อยๆ สิ่งที่พอจะมีความหวังในการรักษากำลังซื้อไว้ก็คือ "เงิน" และ "ทองคำ"

 

  • คิโยซากิ บอกว่าในโลกนี้ไม่มี safe asset ต่อไปแล้ว แม้กระทั่งทองคำ ที่แม้จะปลอดภัยกว่าทรัพย์สินอื่นๆ ก็ยังเสี่ยงต่อการถูกปั่น/ทุบค่าเงิน แต่อย่างน้อย เงินกระดาษที่เราๆท่านๆถืออยู่ นี่เป็นทรัพย์สินที่ไม่ปลอดภัยที่สุดแล้ว
  • Lindsey Williams (จาก DVD 1) บอกว่า "พวกเขา" ได้ยืนยันมาว่า เงินดอลล่าร์กำลังถูกทำลาย ใครที่ถือเงินกระดาษ ต่อไปกำลังซื้อของมันจะลดลงกว่าครึ่ง และสิ่งเดียวที่ชาวบ้าน(ในอเมริกา)จะรักษากำลังซื้อไว้ได้ คือการถือทองคำ และ เงิน(จริงๆ) เก็บไว้ ในที่สุด ประเทศที่ยิ่งใหญ่ ต่อจากอเมริกา จะเป็นประเทศจีน
  • Max Keiser บอกว่า BUY SILVER!
  • ลุงจิม บอกว่า ตาโป๊งเหน่ง พิมพ์เงินไม่หยุดแน่ๆ (QE to the infinity)
  • จิม โรเจอร์ บอกว่า ความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 19 อยู่ที่อังกฤษ, 20 อยู่ที่อเมริกา, และ 21 จะอยู่ในเอเชีย

นักการเมืองส่วนมาก ไม่ได้เข้ามาเพื่อรับใช้ประชาชน แต่เข้ามารับใช้ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

เพราะฉะนั้น ประเด็นที่สงสัยว่า ทำไมตาโป๊งเหน่งทำแบบนี้ กรีนสแปนทำแบบนั้น โอบามาออกกฏหมายแบบนั้น

ไม่ใช่เพราะเขาโง่ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำจะทำให้ประเทศล้ม หรือเศรษฐกิจมีปัญหา แต่เป็นเพราะสิ่งที่เขาทำ เอื้อกับพวกพ้องของเรา

 

ถ้าเอาหมวกประชาชนมาใส่ คนพวกนี้ทำงานไม่ดีมากๆ

แต่ถ้าเอาหมวก "พวกเขา" มาใส่ คนพวกนี้ทำงานดี สมควรได้รับรางวัล

 

 

 

ถ้า DVD 2/3 มีอะไรน่าสนใจ จะมาเล่าให้ฟังต่อครับ

 

ขอบคุณคุณ Kunghdy ครับสำหรับข้อมูลเทคนิค

ขอบคุณคุณ WCG ครับสำหรับ DVD ไว้จะโหลดมาดูครับ

 

คุณ WCG อย่าลืมโหลด Too Big Too Fail ของ HBO จาก isohunt (bittorent) มาดูด้วยนะครับ

ผมเพิ่งดูจบเมื่อวาน ทำให้เข้าใจปัญหา subprime ในอเมริกาอีกระดับหนึ่งเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ๋อ.... เข้าใจแล้วค่ะ ที่แท้ก็มาจากเฮียกัมคนเก่งนี่เอง ของเฮียเคยอ่านนานมากแล้ว ก็หลง ๆ ลืม ๆ ไป แต่พอคุณเด็กสยาม อยากได้คำตอบ ก็ searh หาใน google ให้จะได้ทันใจ

ก็เห็นมีแต่ของเวปนั้น ของเฮียลองไล่ดู ก็หาไม่เจอ ไม่รู้เพราะอะไรนะคะ เมื่อกี้ลองใส่คำว่า thaigold ต่อท้ายถึงจะหาเจอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาขำพี่ปุยเมฆ 555+ วันหลังเฮียกัมพลต้องทำลายน้ำไว้ด้วยนะคับ พี่ปุยจะได้ไม่ปล่อยไก่ อิอิ (แซวด้วยความเคารพ) :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนี้สาธารณะเอเชีย คลื่นใต้น้ำที่ประมาทไม่ได้

07 กรกฎาคม 2554 เวลา 08:30 น. | เปิดอ่าน 474 | ความคิดเห็น 3

ปัญหาหนี้สาธารณะไม่เคยเป็นประเด็นให้ชาวโลกกังวลถึงเพียงนี้

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ปัญหาหนี้สาธารณะไม่เคยเป็นประเด็นให้ชาวโลกกังวลถึงเพียงนี้ ไม่เฉพาะแต่สถานการณ์ในยุโรปกับวิวาทะในสหรัฐเท่านั้น แม้แต่เอเชียยังต้องพลอยประสบกับวิบากกรรมหนี้สาธารณะตามไปด้วย

 

เริ่มต้นจากญี่ปุ่น ซึ่งมีระดับหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลก จนยังผลให้รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องประกาศเป้าหมายทางการเมืองเพื่อหั่นหนี้โดยเร่งด่วน เพราะในเวลาอันใกล้ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะจนลง จากอัตราการเกิดของประชากรต่ำ คนวัยทำงานไม่เพียงพอจะเลี้ยงประเทศที่มีแต่คนชรามากขึ้น

 

พันธกิจปลดหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นเกือบไปไม่รอด เพราะเศรษฐกิจของประเทศซวนเซอย่างหนัก ต้องการเม็ดเงินกู้มหาศาลเพื่อกระตุ้นให้ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลายเป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายค้านโจมตีอย่างรุนแรง จนนายกรัฐมนตรี ยูคิโอะ ฮาโตยามา ต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว

 

เมื่อเดือน ม.ค.ปีนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะยิ่งย่ำแย่ลง เมื่อบริษัท Standard & Poor’s หรือ S&P ประกาศลดระดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของญี่ปุ่นลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2545 ลงมาอยู่ที่ AA- ในเดือนถัดมา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะพอกพูนถึง 919.15 ล้านล้านเยน หรือ 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

 

ภายในปีนี้มีวี่แววที่หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นจะทะลุ 200-220% หรือ 2 เท่าของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขณะเดียวกันประเทศก็ยิ่งต้องการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

 

 

 

 

สถานการณ์เลวร้ายที่ประเดประดังเข้ามา ทำให้รัฐมนตรีคลังและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ยิ่งกำหนดนโยบายรับมือไม่ถูก

 

แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นโชคในคราวเคราะห์หนัก เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเบี่ยงประเด็นหนี้สาธารณะไปได้ระยะหนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลจวนเจียนจะล้มครืนเพราะปัญหานี้อยู่รอมร่อ

 

ไม่เฉพาะแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่กำลังทุรนทุรายกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้แต่จีน มหาอำนาจอันดับ 1 ของเอเชีย ยังเริ่มแสดงอาการกระอักพิษหนี้บ้างแล้ว

 

เมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลจีนเปิดเผยยอดหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งสูงถึง 10.7 ล้านล้านหยวน หรือ 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือครึ่งหนึ่งของทุนสำรองของประเทศที่กว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราส่วนหนี้ต่อหัวที่ 1,200 เหรียญสหรัฐต่อประชากร 1 คน

 

การเปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะในภาคท้องถิ่น นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะทุกประเทศมักให้ความสำคัญกับหนี้มวลรวมทั้งประเทศมากกว่า แต่ในกรณีของจีนสามารถเข้าใจได้ สำหรับผู้ที่ติดตามท่าทีของรัฐบาลกลางของจีนต่อรัฐบาลท้องถิ่นมาโดยตลอด

 

นับตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก เงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ของจีนอย่างไม่เคยมีมาก่อน เงินส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนาสาธารณูปโภค เพื่อวางรากฐานการขยายตัวอย่างเท่าเทียมระหว่าง “เขตนอก” คือ เขตเศรษฐกิจชายฝั่งที่ร่ำรวย กับ “เขตใน” หรือเขตชนบทที่ยากจน

 

แต่เอาเข้าจริงเขตในมีทุนไหลเข้าไม่มากนัก เพราะมิใช่จุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ยังผลให้รัฐบาลกลางต้องเป็นผู้อัดฉีดทุนเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าว พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องที่ของตนให้ตรงตามเป้ายุทธศาสตร์ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่าง 2 พื้นที่

 

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน รัฐบาลจีนยิ่งกระตุ้นให้ท้องถิ่นใช้จ่าย ไม่ว่าจะใช้จ่ายในทางใดก็ตาม ในชั้นต้นไม่มีการตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะมุ่งให้เกิดสภาพคล่องและการจ้างงานเป็นหลัก

 

เรื่องมาแดงในภายหลัง เมื่อประชาชนเริ่มร้องเรียนว่ารัฐบาลท้องถิ่นกู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่ประสา เพราะนำไปใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ที่ชัดเจนที่สุด คือ แทนที่จะปรับปรุงสาธารณูปโภค กลับกลายเป็นการแห่กันสร้างอาคารราชการอย่างหรูหรา หรือกระทั่ง “กู้เพื่อกิน” กันอย่างซึ่งๆ หน้า

 

เป็นมหกรรมผลาญงบประมาณอย่างขนานใหญ่ โดยที่รัฐบาลกลางเพิ่งรู้ตัว และก่อหนี้ก้อนมหึมาจนกลายเป็นช่องโหว่ในระบบเศรษฐกิจ

 

การเปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะของภาคท้องถิ่น จึงเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า นับจากนี้การกู้อย่างสิ้นคิดจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ส่วนหนึ่งเป็นสารที่ส่งไปยังข้าราชการท้องถิ่นว่า หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก โทษสูงสุดที่จะตามคือข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งจะลงเอยที่ตะแลงแกงประหารชีวิต

 

ส่วนสารที่ส่งไปยังชาวโลก คือ ท่าทีจริงจังของรัฐบาลจีนที่จะไม่ก่อหนี้ตามใจชอบ มิให้ลงเอยเหมือนยุโรป หรือญี่ปุ่น

 

ปัญหาก็คือ สารที่ส่งไปยังชาวโลกเกือบกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ เมื่อบริษัท Moody’s ประเมินตัวเลขหนี้สาธารณะภาคท้องถิ่นของจีนเสียใหม่ ปรากฏว่าจีนอาจหมกเม็ดหนี้อีกถึง 5.41 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบครึ่งของตัวเลขที่ประกาศออกไป

 

แม้จะเป็นเพียงหนี้ในระดับท้องถิ่น แต่ Moody’s ถึงกับขู่ว่า หากจีนไม่มีแผนการแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง เห็นทีคงต้องลดระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสัญชาติจีนลงเหลือระดับติดลบ หรือ Negative พอๆ กับที่กรีซกำลังเผชิญอยู่

 

ร้ายแรงถึงเพียงนั้น!

 

สถานการณ์หนี้สาธารณะของจีนอาจไม่ถึงขั้นวิกฤต และที่จริงยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาด้วยซ้ำ แต่ที่บริษัทจัดอันดับเครดิตต้องตาลีตาลานออกปากขู่จีน ก็เพราะไม่ต้องการให้เอเชียปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตนี้

 

แค่ในยุโรปนักลงทุนก็อ่วมอรทัย หากลามไปกระทบดินแดนแห่งความหวังที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เศรษฐกิจทุกหัวระแหงอาจล้มครืนลงอีกครั้ง

 

ท่าทีของ Moody’s จึงสะท้อนความกังวลของนักลงทุนในอนาคต มิใช่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

 

ในความเป็นจริง ขณะนี้จีนอยู่ลำดับที่ 111 ของอัตราหนี้สาธารณะรายประเทศ ปริมาณหนี้อยู่ที่เพียง 1.91 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือน้อยกว่าไทยหลายขุม ยังไม่ต้องเทียบกับญี่ปุ่น หรือกระทั่งสิงคโปร์ ซึ่งมีหนี้สูงที่สุดในกลุ่มอาเซียนที่ 9.89 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือในอันดับที่ 9 ของโลก จากการประเมินโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

 

ประเทศในเอเชียไม่ได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีหนี้สูงที่สุดในโลก หากไล่ตั้งแต่ญี่ปุ่นในอันดับที่ 1 ของโลก มาที่สิงคโปร์ในอันดับที่ 9 ลงมาจะพบว่า ลำดับต่อไป คือ ภูฏาน กลับอยู่ที่ 39 ตามด้วยเวียดนามในอันดับที่ 41 ฟิลิปปินส์ในอันดับที่ 42 อินเดียที่ 44 มาเลเซียที่ 48 ปากีสถานที่ 51 และไทยในอันดับที่ 62 ของโลก

 

การประชุม Asian Regional Public Debt Management Forum ครั้งที่ 2 เมื่อเดือน มี.ค. ซึ่งจัดขึ้นที่ภูเก็ต ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานด้านการบริหารหนี้สาธารณะจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวม 46 ประเทศ ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าเอเชียยังไม่มีความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

อย่างไรก็ตาม จากกระแสทุนที่ไหลบ่าเข้าเอเชียอย่างหนัก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นการใช้จ่ายโดยภาครัฐ อาจยังผลให้เอเชียเริ่มที่จะมีพฤติกรรมการเงินการคลังคล้ายประเทศพัฒนา ซึ่งก่อหนี้มหาศาลจนกลายเป็นปัญหาดังเช่นทุกวันนี้

 

หากกำหนดทิศทางนโยบายผิดพลาด หรือมือเติบจนเกินไป ความรุ่งเรืองของเอเชียอาจดับวูบลงอย่างไม่เป็นท่า เหมือนกับที่ยุโรปกำลังประสบ

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/98297/หนี้สาธารณะเอเชีย-คลื่นใต้น้ำที่ประมาทไม่ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาขำพี่ปุยเมฆ 555+ วันหลังเฮียกัมพลต้องทำลายน้ำไว้ด้วยนะคับ พี่ปุยจะได้ไม่ปล่อยไก่ อิอิ (แซวด้วยความเคารพ) :lol:

 

55555 laugh.gifem309.gifตอกย้ำอีกนะ Golden campass ใครจะไปรู้ล่ะ(แซวกลับด้วยความเอ็นดู)happy.gif wacko.gifทีเป้าเฮียยังมีเครดิต แต่ความคิด ไม่ยอมลงเครดิตไว้ tongue.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอาเรื่องจีนมาต่อจากเรื่องที่คุณส้มโอมือเอามาครับ

 

'เทมาเส็ก'ขายหุ้นธนาคารยักษ์ของจีน ลือหึ่งฟองสบู่อาจแตกแดนมังกร

 

http://www.thairath.co.th/content/oversea/184661

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนี้สาธารณะเอเชีย คลื่นใต้น้ำที่ประมาทไม่ได้

07 กรกฎาคม 2554 เวลา 08:30 น. | เปิดอ่าน 474 | ความคิดเห็น 3

ปัญหาหนี้สาธารณะไม่เคยเป็นประเด็นให้ชาวโลกกังวลถึงเพียงนี้

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ปัญหาหนี้สาธารณะไม่เคยเป็นประเด็นให้ชาวโลกกังวลถึงเพียงนี้ ไม่เฉพาะแต่สถานการณ์ในยุโรปกับวิวาทะในสหรัฐเท่านั้น แม้แต่เอเชียยังต้องพลอยประสบกับวิบากกรรมหนี้สาธารณะตามไปด้วย

 

เริ่มต้นจากญี่ปุ่น ซึ่งมีระดับหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลก จนยังผลให้รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องประกาศเป้าหมายทางการเมืองเพื่อหั่นหนี้โดยเร่งด่วน เพราะในเวลาอันใกล้ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะจนลง จากอัตราการเกิดของประชากรต่ำ คนวัยทำงานไม่เพียงพอจะเลี้ยงประเทศที่มีแต่คนชรามากขึ้น

 

พันธกิจปลดหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นเกือบไปไม่รอด เพราะเศรษฐกิจของประเทศซวนเซอย่างหนัก ต้องการเม็ดเงินกู้มหาศาลเพื่อกระตุ้นให้ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลายเป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายค้านโจมตีอย่างรุนแรง จนนายกรัฐมนตรี ยูคิโอะ ฮาโตยามา ต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว

 

เมื่อเดือน ม.ค.ปีนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะยิ่งย่ำแย่ลง เมื่อบริษัท Standard & Poor’s หรือ S&P ประกาศลดระดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของญี่ปุ่นลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2545 ลงมาอยู่ที่ AA- ในเดือนถัดมา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะพอกพูนถึง 919.15 ล้านล้านเยน หรือ 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

 

ภายในปีนี้มีวี่แววที่หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นจะทะลุ 200-220% หรือ 2 เท่าของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขณะเดียวกันประเทศก็ยิ่งต้องการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

 

 

 

 

สถานการณ์เลวร้ายที่ประเดประดังเข้ามา ทำให้รัฐมนตรีคลังและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ยิ่งกำหนดนโยบายรับมือไม่ถูก

 

แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นโชคในคราวเคราะห์หนัก เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเบี่ยงประเด็นหนี้สาธารณะไปได้ระยะหนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลจวนเจียนจะล้มครืนเพราะปัญหานี้อยู่รอมร่อ

 

ไม่เฉพาะแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่กำลังทุรนทุรายกับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้แต่จีน มหาอำนาจอันดับ 1 ของเอเชีย ยังเริ่มแสดงอาการกระอักพิษหนี้บ้างแล้ว

 

เมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลจีนเปิดเผยยอดหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งสูงถึง 10.7 ล้านล้านหยวน หรือ 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือครึ่งหนึ่งของทุนสำรองของประเทศที่กว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราส่วนหนี้ต่อหัวที่ 1,200 เหรียญสหรัฐต่อประชากร 1 คน

 

การเปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะในภาคท้องถิ่น นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะทุกประเทศมักให้ความสำคัญกับหนี้มวลรวมทั้งประเทศมากกว่า แต่ในกรณีของจีนสามารถเข้าใจได้ สำหรับผู้ที่ติดตามท่าทีของรัฐบาลกลางของจีนต่อรัฐบาลท้องถิ่นมาโดยตลอด

 

นับตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก เงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ของจีนอย่างไม่เคยมีมาก่อน เงินส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนาสาธารณูปโภค เพื่อวางรากฐานการขยายตัวอย่างเท่าเทียมระหว่าง “เขตนอก” คือ เขตเศรษฐกิจชายฝั่งที่ร่ำรวย กับ “เขตใน” หรือเขตชนบทที่ยากจน

 

แต่เอาเข้าจริงเขตในมีทุนไหลเข้าไม่มากนัก เพราะมิใช่จุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ยังผลให้รัฐบาลกลางต้องเป็นผู้อัดฉีดทุนเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าว พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องที่ของตนให้ตรงตามเป้ายุทธศาสตร์ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่าง 2 พื้นที่

 

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน รัฐบาลจีนยิ่งกระตุ้นให้ท้องถิ่นใช้จ่าย ไม่ว่าจะใช้จ่ายในทางใดก็ตาม ในชั้นต้นไม่มีการตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะมุ่งให้เกิดสภาพคล่องและการจ้างงานเป็นหลัก

 

เรื่องมาแดงในภายหลัง เมื่อประชาชนเริ่มร้องเรียนว่ารัฐบาลท้องถิ่นกู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่ประสา เพราะนำไปใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ที่ชัดเจนที่สุด คือ แทนที่จะปรับปรุงสาธารณูปโภค กลับกลายเป็นการแห่กันสร้างอาคารราชการอย่างหรูหรา หรือกระทั่ง “กู้เพื่อกิน” กันอย่างซึ่งๆ หน้า

 

เป็นมหกรรมผลาญงบประมาณอย่างขนานใหญ่ โดยที่รัฐบาลกลางเพิ่งรู้ตัว และก่อหนี้ก้อนมหึมาจนกลายเป็นช่องโหว่ในระบบเศรษฐกิจ

 

การเปิดเผยตัวเลขหนี้สาธารณะของภาคท้องถิ่น จึงเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า นับจากนี้การกู้อย่างสิ้นคิดจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ส่วนหนึ่งเป็นสารที่ส่งไปยังข้าราชการท้องถิ่นว่า หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก โทษสูงสุดที่จะตามคือข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งจะลงเอยที่ตะแลงแกงประหารชีวิต

 

ส่วนสารที่ส่งไปยังชาวโลก คือ ท่าทีจริงจังของรัฐบาลจีนที่จะไม่ก่อหนี้ตามใจชอบ มิให้ลงเอยเหมือนยุโรป หรือญี่ปุ่น

 

ปัญหาก็คือ สารที่ส่งไปยังชาวโลกเกือบกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ เมื่อบริษัท Moody’s ประเมินตัวเลขหนี้สาธารณะภาคท้องถิ่นของจีนเสียใหม่ ปรากฏว่าจีนอาจหมกเม็ดหนี้อีกถึง 5.41 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบครึ่งของตัวเลขที่ประกาศออกไป

 

แม้จะเป็นเพียงหนี้ในระดับท้องถิ่น แต่ Moody’s ถึงกับขู่ว่า หากจีนไม่มีแผนการแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง เห็นทีคงต้องลดระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสัญชาติจีนลงเหลือระดับติดลบ หรือ Negative พอๆ กับที่กรีซกำลังเผชิญอยู่

 

ร้ายแรงถึงเพียงนั้น!

 

สถานการณ์หนี้สาธารณะของจีนอาจไม่ถึงขั้นวิกฤต และที่จริงยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาด้วยซ้ำ แต่ที่บริษัทจัดอันดับเครดิตต้องตาลีตาลานออกปากขู่จีน ก็เพราะไม่ต้องการให้เอเชียปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตนี้

 

แค่ในยุโรปนักลงทุนก็อ่วมอรทัย หากลามไปกระทบดินแดนแห่งความหวังที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เศรษฐกิจทุกหัวระแหงอาจล้มครืนลงอีกครั้ง

 

ท่าทีของ Moody’s จึงสะท้อนความกังวลของนักลงทุนในอนาคต มิใช่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

 

ในความเป็นจริง ขณะนี้จีนอยู่ลำดับที่ 111 ของอัตราหนี้สาธารณะรายประเทศ ปริมาณหนี้อยู่ที่เพียง 1.91 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือน้อยกว่าไทยหลายขุม ยังไม่ต้องเทียบกับญี่ปุ่น หรือกระทั่งสิงคโปร์ ซึ่งมีหนี้สูงที่สุดในกลุ่มอาเซียนที่ 9.89 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือในอันดับที่ 9 ของโลก จากการประเมินโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

 

ประเทศในเอเชียไม่ได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีหนี้สูงที่สุดในโลก หากไล่ตั้งแต่ญี่ปุ่นในอันดับที่ 1 ของโลก มาที่สิงคโปร์ในอันดับที่ 9 ลงมาจะพบว่า ลำดับต่อไป คือ ภูฏาน กลับอยู่ที่ 39 ตามด้วยเวียดนามในอันดับที่ 41 ฟิลิปปินส์ในอันดับที่ 42 อินเดียที่ 44 มาเลเซียที่ 48 ปากีสถานที่ 51 และไทยในอันดับที่ 62 ของโลก

 

การประชุม Asian Regional Public Debt Management Forum ครั้งที่ 2 เมื่อเดือน มี.ค. ซึ่งจัดขึ้นที่ภูเก็ต ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานด้านการบริหารหนี้สาธารณะจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวม 46 ประเทศ ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าเอเชียยังไม่มีความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

อย่างไรก็ตาม จากกระแสทุนที่ไหลบ่าเข้าเอเชียอย่างหนัก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นการใช้จ่ายโดยภาครัฐ อาจยังผลให้เอเชียเริ่มที่จะมีพฤติกรรมการเงินการคลังคล้ายประเทศพัฒนา ซึ่งก่อหนี้มหาศาลจนกลายเป็นปัญหาดังเช่นทุกวันนี้

 

หากกำหนดทิศทางนโยบายผิดพลาด หรือมือเติบจนเกินไป ความรุ่งเรืองของเอเชียอาจดับวูบลงอย่างไม่เป็นท่า เหมือนกับที่ยุโรปกำลังประสบ

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/98297/หนี้สาธารณะเอเชีย-คลื่นใต้น้ำที่ประมาทไม่ได้

เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ฝรั่งอยากให้เราเห็น แล้วเต้นตามที่เค้าคิดเพื่อปั่นราคา ยังไงผมก็ยังคิดว่าจีนมีการป้องกันตัวเองในระดับนึงแล้ว จากการขึ้นดอกเบี้ย เข้าใจว่าอาจมีการลดการใช้จ่ายของภาครัฐด้วยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ และฟองสบู่อย่างที่ว่า งวดนี้ก็คงจะรู้ว่า ยุโรป+เมกา กับ เอเชียใครจะรอด เข้าใจว่าผลกระทบมีแน่นอนแต่ใครตายสนิทกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไดัดู Too Big Too Fail แล้วครับ เนื้อหามีหลายๆส่วนไกล้เคียงกับ The Big Short ของ Michael Lewis เลย

ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากขึ้น แนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ ที่คิโนฯ มีขาย

 

ช่วงนี้ติดตามข่าวการเงิน และพยายามอ่านหนังสือ ทางด้านการเงินเรื่อยๆ รู้สึกเหมือนกับกำลังต่อ jigsaw ครับ

ดูเหมือนกับว่าปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งหลายนี่เกิดจากการที่ลุงแซมพิมพ์เงินปลอมออกมา และใช้เงินเหล่านั้น

ซื้อน้ำมันกับตะวันออกกลาง หลังจากนั้นก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในทวีปต่างๆมาเรื่อยๆ

  • ละตินอเมริกา
  • ญี่ปุ่น
  • เอเชีย (ช่วง 1997 ที่บ้านเราก็โดน)
  • เม็กซิโก
  • อเมริกา
  • และ ยุโรป + อเมริกา ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ต้นเหตุคือเงินปลอมที่รัฐบาลกลางต่างๆพิมพ์ขึ้นมา ที่ฝรั่งเรียกว่า counterfeit หรือ funny money ซึ่งถ้า

อ้างอิงจาก Unfair Advantage ของคิโยซากิ นโยบายพิมพ์เงินปลอม หรือนโยบาย Fractional Reserve นั้น

เป็นนโยบายที่ธนาคารกลางของทุกประเทศไหนในโลกใช้ เพราะถูกบังคับจาก World Bank และ IMF

 

สรุปตามคิโยซากิ ปี 1971 ที่นิกสันประกาศ "ชักดาบ" เลิกผูกเงินดอลล่าร์กับทองคำ เป็นจุดผกผันที่ทำให้

ทุกประเทศ ต้องออกมาพิมพ์เงินแข่งกัน นั่นรวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะถ้าเราไม่ลดค่าเงินของเราเอง

ค่าเงินของเราก็จะแข็งมากจนไม่สามารถส่งออก และหาเงินมาซื้อพลังงานได้

 

คิโยซากิ, Lindsey Williams, Max Keiser, ลุงจิม, และกูรูอื่นๆ พูดตรงกันว่า ต่อไปเงินกระดาษที่เราถืออยู่ จะไม่มีค่า

และมีค่าลดลงไปเรื่อยๆ สิ่งที่พอจะมีความหวังในการรักษากำลังซื้อไว้ก็คือ "เงิน" และ "ทองคำ"

 

  • คิโยซากิ บอกว่าในโลกนี้ไม่มี safe asset ต่อไปแล้ว แม้กระทั่งทองคำ ที่แม้จะปลอดภัยกว่าทรัพย์สินอื่นๆ ก็ยังเสี่ยงต่อการถูกปั่น/ทุบค่าเงิน แต่อย่างน้อย เงินกระดาษที่เราๆท่านๆถืออยู่ นี่เป็นทรัพย์สินที่ไม่ปลอดภัยที่สุดแล้ว
  • Lindsey Williams (จาก DVD 1) บอกว่า "พวกเขา" ได้ยืนยันมาว่า เงินดอลล่าร์กำลังถูกทำลาย ใครที่ถือเงินกระดาษ ต่อไปกำลังซื้อของมันจะลดลงกว่าครึ่ง และสิ่งเดียวที่ชาวบ้าน(ในอเมริกา)จะรักษากำลังซื้อไว้ได้ คือการถือทองคำ และ เงิน(จริงๆ) เก็บไว้ ในที่สุด ประเทศที่ยิ่งใหญ่ ต่อจากอเมริกา จะเป็นประเทศจีน
  • Max Keiser บอกว่า BUY SILVER!
  • ลุงจิม บอกว่า ตาโป๊งเหน่ง พิมพ์เงินไม่หยุดแน่ๆ (QE to the infinity)
  • จิม โรเจอร์ บอกว่า ความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 19 อยู่ที่อังกฤษ, 20 อยู่ที่อเมริกา, และ 21 จะอยู่ในเอเชีย

นักการเมืองส่วนมาก ไม่ได้เข้ามาเพื่อรับใช้ประชาชน แต่เข้ามารับใช้ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

เพราะฉะนั้น ประเด็นที่สงสัยว่า ทำไมตาโป๊งเหน่งทำแบบนี้ กรีนสแปนทำแบบนั้น โอบามาออกกฏหมายแบบนั้น

ไม่ใช่เพราะเขาโง่ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำจะทำให้ประเทศล้ม หรือเศรษฐกิจมีปัญหา แต่เป็นเพราะสิ่งที่เขาทำ เอื้อกับพวกพ้องของเรา

 

ถ้าเอาหมวกประชาชนมาใส่ คนพวกนี้ทำงานไม่ดีมากๆ

แต่ถ้าเอาหมวก "พวกเขา" มาใส่ คนพวกนี้ทำงานดี สมควรได้รับรางวัล

 

 

 

ถ้า DVD 2/3 มีอะไรน่าสนใจ จะมาเล่าให้ฟังต่อครับ

ไม่รู้ว่า dvd Lindsey Williams - The Elite Speak 3in1 DVD.iso จะมีแปลไทยมั่งป่าวครับ แบบ อังกฤษไม่แข็งแรง

ส่วนเรื่องการพิมพ์เงินก็อย่างที่เรารู้ เงินมันท่วมมาจกาเมกา แล้วลามมาเรื่อยๆ ที่เหลือแค่รอดูว่าตอนที่มันลดลงแล้วเศษซากที่เหลือจากสึนามิการเงินจะส่งผลมากน้อยแค่ไหน ใครหนีตายทัน(ป้องกันตัวเองจากความเสี่ยง ถึงแม้ว่าจะยังเสี่ยงต่อการถูกปั่นราคาก็ยังมีชีวิตรอด )ที่น่าห่วงน่าจะเป็นคนที่เล่น เงิน(จริงๆ)กระดาษ กับทองกระดาษเพราะคิดว่าป้องกันตัวไว้แล้วแต่ท้ายที่สุดก็ยังอาจไม่ดีพอครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เข้าใจว่า ตอนนี้เป็นช่วงที่น้ำลด (ของทุกอย่างดูเหมือนจะลดราคา เป้นโอกาศที่จะเก็บของถูกแล้ววิ่งหนี สุดชีวิต ไปนอนกอดของบนดอยดีกว่า อยู่ข้างล่างแล้วโดนพัดไปด้วย ) มีเสียงอื้ออึงมากมาย(ข่าวต่าง ) แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้สึกถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (จริงๆก็อยากให้ที่ผมคิดอยู่ไม่เกิดขึ้นเหมือนกันครับ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

On paper, China’s debt to GDP ratio is under 20 percent, making Beijing a paragon of fiscal virtue compared with profligate Western governments. However, if we factor in various government obligations that are typically counted as public debt, the picture doesn’t look pretty for China. Once local government debts, costs of re-capitalizing state-owned banks, bonds issued by state-owned banks, and railway bonds are included, China’s total debt amounts to 70 to 80 percent of GDP, roughly the level of public debt in the United States and the United Kingdom. Since most of China’s debt has been borrowed in the last decade, China is on an unsustainable trajectory at the current rate of debt accumulation, particularly when economic growth slows down, as it’s expected to do in the coming decade."

 

http://www.zerohedge...cking-debt-bomb

 

จีนส่อแววไม่ดีจริงหรือไม่ผมไม่รู้ครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องจริงยิ่งต้องเก็บทองหรือแร่เงินไว้ครับ อิอิcool.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...