ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ยุโรปรวนหนักทางออกกรีซ ซ้ำไร้นโยบายชัดสกัดหนี้ลุกลาม

หลังปล่อยให้วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซยืดเยื้อจวนเจียนจนแทบไปไม่รอดและส่อเค้าลุกลามทั่วยุโรป ในที่สุดรัฐมนตรีการคลังของกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ก็ต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเอง ด้วยการตอบรับมาตรการผิดนัดชำระหนี้บางส่วนเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้กรีซ

 

แม้หลายฝ่ายรวมถึงธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะยังคงปฏิเสธเสียงกร้าวว่า ข้อตกลงที่รัฐมนตรีการคลังเห็นชอบกันนี้ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ถึงแผนการการผิดนัดชำระหนี้บางส่วน แต่จากท่าทีที่แสดงออกและแถลงการณ์ของที่ประชุม ล้วนบ่งชี้ว่าอียูไม่ได้รังเกียจหากจะยอมให้กรีซต้องผิดนัดชำระหนี้บางส่วนบ้าง

 

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ในการประชุมครั้งก่อนๆ หน้า ผู้แทนของสมาชิกยูโรโซนยุโรปได้ยืนยันอย่างชัดถ้อยชัดคำว่าจะไม่ยอมให้กรีซกลายเป็น “หนี้เสีย” เป็นอันขาด ทว่าในการประชุมครั้งนี้กลับเล่นลิ้นว่าความคิดไม่เอาด้วยดังกล่าวนั้นเป็นความเห็นของอีซีบีเท่านั้น ไม่ใช่ของยุโรปทั้งหมด

 

นั่นเท่ากับว่า ภาคเอกชนจะต้องร่วมแบกภาระหนี้ของกรีซบ้างแล้ว ดังที่ ฌอง โคลด จุงเกอร์ ประธานอียู แถลงข่าวยืนยันว่า “อียูพร้อมจะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วยเหลือกรีซด้วย”

 

นอกจากจะเริ่มมีท่าทีอ่อนลงให้กรีซกลายเป็นหนี้เสีย บรรดารัฐมนตรีคลังจาก 17 ชาติสมาชิกกลุ่มยูโรโซน อาจจะนำมาตรอื่นๆ มาช่วยบรรเทาอาการไข้ของกรีซหลายประการอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล การแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ และการให้ภาคเอกชนเปลี่ยนมาถือพันธบัตรที่มีอายุยาวนานขึ้น เพื่อช่วยให้หนี้ของกรีซมีเสถียรภาพมากขึ้น

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ สถานการณ์หนี้ของกรีซในขณะนี้เข้าขั้นเลวร้ายจนถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีจอร์เก ปาปันดรู ของกรีซ กล่าวว่า กรีซไม่มีเวลาเหลือสำหรับความลังเลหรือความผิดพลาดอีกต่อไป พร้อมเรียกร้องอียูให้จริงจังกับปัญหาของกรีซมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กรีซเพิ่งจะปฏิเสธแผนการของฝรั่งเศสที่จะให้กรีซเจรจากับภาคเอกชนเพื่อขอยืดอายุพันธบัตรของกรีซออกไปอีก 30 ปี เนื่องจากแผนดังกล่าวถือว่ากรีซต้องจ่ายแพงเกินไปกับอัตราดอกเบี้ยที่ต้องคิดทบต้นทบดอกไปอีก ขณะที่รัฐบาลเยอรมนีก็เสนอแผนที่คล้ายคลึงกัน โดยมีระยะเวลาที่สั้นกว่าเพียง 7 ปี

 

และในครั้งนั้น แน่นอนว่า ธนาคารกลางยุโรป ยืนยันไม่เห็นด้วยกับแผนการของทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี และยังยืนยันชัดเจนว่า ทางออกของปัญหาหนี้กรีซจะต้องหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศกรีซ และกรีซจะต้องไม่เป็นหนี้เน่าเป็นอันขาด

 

การที่อียูต้องเปลี่ยนท่าทีมาพิจารณาถึงหนทางที่ตนเองพยายามบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ของกรีซในครั้งนี้มีแนวโน้มที่ “สูงมาก” ที่จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ อีก หลังจากที่ไอร์แลนด์และโปรตุเกสนั้นโดนพิษสงไปแล้ว

 

“เราเห็นชอบที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดขึ้นในพื้นที่ยุโรป และพัฒนาระบบเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการระบาดในวิกฤตครั้งนี้” แถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีคลังอียูครั้งล่าสุดระบุ

 

ทั้งนี้ ประเทศที่มีแนวโน้มสูงที่อาจจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตต่อไปนั้น ก็คือ อิตาลี

 

อิตาลี คือความกังวลล่าสุดของยุโรป เนื่องจากอัตราหนี้สาธารณะของประเทศที่สูงเกิน 100% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยในปี 2553 ระดับหนี้สาธารณะของอิตาลีสูงถึง 119.0% ของจีดีพีทีเดียว ทำให้อิตาลีในขณะนี้มีสถานะเป็นประเทศที่มีภาระหนี้สาธารณะหนักหนามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศยุโรป และเป็นรองแค่กรีซเท่านั้น

 

แม้สถานการณ์ของอิตาลีจะมีภาษีดีกว่ากรีซตรงที่ว่าอิตาลีมีระบบแผนการทางการเงินที่สมจริงและดีเยี่ยม มีกลไกในการจัดการปัญหาหนี้ให้อยู่ในกรอบได้ดี จนทำให้อิตาลีมีเงินงบประมาณขาดดุลต่ำ และตลาดพันธบัตรมีความคล่องตัวสูง อีกทั้งพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่อยู่ในมือ “คนในประเทศ” แต่กระนั้นทางด้าน เคธี เลียน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านการเงินของจีเอฟที ฟอเร็กซ์ ในนิวยอร์ก ยังเห็นว่า สิ่งที่อิตาลีมีอยู่อาจยังไม่เพียงพอที่จะหยุดความกลัวแบบไม่มีเหตุผลของบรรดานักลงทุนในตลาดได้

 

กระแสความหวาดกลัวต่อวิกฤตในอิตาลียังถูกย้ำด้วยเสียงเตือน จาก เจ.พี. มอร์แกน ที่เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ในอิตาลีกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมหาศาล เพราะธนาคารเหล่านั้นต้องพึ่งพาการระดมเงินในจำนวนมาก ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารเหล่านี้ถืออยู่ก็มีสัดส่วนสูงถึง 6.33% ของพันธบัตรทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าที่ธนาคารพาณิชย์ของสเปนถือพันธบัตรรัฐบาลอยู่

 

ความเห็นดังกล่าว ส่งผลให้อาการหวาดวิตกของนักลงทุนลุกลามขยายตัวเป็นวงกว้าง และทำให้นักลงทุนต่างพากันตัดภัยเสียแต่ต้นลม ด้วยการอยู่ให้ไกลพันธบัตรมะกะโรนี

 

โซน คาร์ล สชามอตตา นักกลยุทธ์อาวุโสจากเวสเทิร์น ยูเนียน บิซิเนส โซลูชัน ในเมืองคาลการีของแคนาดา มองว่า หากอิตาลีต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตหนี้สาธารณะตามที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายกังวลกัน ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซก็จะกลายเป็นปัญหาเล็กน้อยไปในทันที

 

เพราะอย่าลืมว่าอิตาลี คือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน!

 

เพื่อสกัดไม่ให้หนี้ลุกลาม อียูจึงต้องยอมรับทางเลือกที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บช้ำน้อยที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม แม้อียูจะได้เลือกทางออกไว้เป็นที่เรียบร้อย แต่ดูเหมือนว่าทางที่เลือก จะไม่ได้ทำให้นักลงทุนมั่นใจเท่าไรนัก เพราะรายละเอียดของแผนการ เช่นว่าจะให้ธนาคาร ผู้รับประกัน และกองทุนอื่นๆ จัดสรรปันส่วนกองทุนช่วยเหลือกรีซต่อไปอย่างไร ยังไม่มีความชัดเจนแม้แต่น้อย ณ เวลานี้

 

ทั้งนี้ ขณะที่เยอรมนีและพันธมิตรต้องการให้เอกชนร่วมสมทบทุนเป็นมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโร ในการให้เงินช่วยเหลือกรีซก้อนต่อไป แต่ทว่าแหล่งข่าวได้เปิดเผยว่า เยอรมนีและอีกหลายชาติก็ใกล้ได้ข้อตกลงยอมที่จะแบกภาระความเสียหายกันแล้ว ถ้าหากกรีซจะถูกประกาศให้เป็นหนี้เน่า

 

อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์การประชุมของบรรดารัฐมนตรีการคลังกลุ่มยูโรโซนยังคงคลุมเครือ ไม่มีการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาอย่างชัดเจนนัก โดยระบุเพียงแต่ว่า ... “ขณะนี้เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดการข้อตกลงด้านหลักทรัพย์ที่เหมาะสม” เท่านั้น

 

ความไม่แน่นอนและคำสัญญาแค่ว่ารายละเอียดของแผนการจะตามมาในเวลาอันสั้นและเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ โดยปราศจากกรอบเวลาชัดเจนในการลงมือ ไม่แม้แต่การกำหนดวันประชุมนัดถัดไปที่จำเป็นจะต้องมี ก็เพียงพอให้ประเทศต่างๆ รับรู้แล้วว่า อียูเจองานหนักที่ทั้งกลืนไม่เข้าและคายไม่ออก กับการหาทางออกในวิกฤตนี้มากเพียงใด

 

 

 

Post Today

Last update : 7/14/2011 10:30:25 AM

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้ากงฯ จ่อลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือมะกัน ไร้สามารถ​ใน​การชำระหนี้ฯ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2554 09:25 น.

 

 

 

 

 

 

ป้ายแสดงยอดตัวเลขหนี้ของประเทศสหรัฐฯ ที่สำนักงาน Internal Revenue Service ไทม์สแควร์ ในมหานครนิวยอร์ค สหรัฐฯ (ภาพรอยเตอร์)

 

 

เอเยนซี -ต้ากง ​โกลบอล ​เครดิต เรทติ้ง บริษัทจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของจีน ประกาศ​​แนว​โน้มที่จะปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐฯ โดยระบุว่าภาวะ​เศรษฐกิจถดถอยยาวนาน อัน​เนื่องมาจาก​การบริหาร​และ​น​โยบาย​เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบต่อระบบสิน​เชื่อ

 

ไชน่าเดลี่ สื่อจีนรายงานวันที่ 14 ก.ค. ว่า ต้ากง โกลบอล เครดิต เรทติ้ง บริษัทจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของจีน มีแนวโน้มปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือสกุล​เงินดอลลาร์​และต่างประ​เทศของสหรัฐฯ จากที่ A+ ​เป็นลบ โดยก่อนหน้านี้ เมื่อ​เดือนพ.ย.ปีที่​แล้ว หลังรัฐบาลสหรัฐ​ฯ ได้ประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบสอง ​(QE2) ต้ากงก็​ได้ปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐ​ฯ จากระดับ AA มาแล้ว

 

รายงานข่าวกล่าวว่า ต้ากงคาด​การณ์ อัตราการขยายตัวของ​เศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2554 ​และ พ.ศ. 2555 ว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี​ ​เนื่องจากรัฐบาลจำ​เป็นต้องคุม​เข้มน​โยบาย​การ​เงิน​และ​การคลังมากขึ้น ขณะที่ ​แรงขับ​เคลื่อน​เศรษฐกิจภาย​ในประ​เทศยังอ่อน​แอ

 

ต้ากงฯ ระบุว่า การ​ใช้มาตร​การ QE2 กับอัตราดอก​เบี้ยระดับต่ำของสหรัฐฯ ​นั้น ​ทำ​ให้มีกระ​แส​เงินทุน​ไหล​เวียน​ในระบบ​เป็นจำนวนมาก ​ ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานที่​แท้จริง ​​จึงมี​ความ​เป็น​ไป​ได้สูงว่าสหรัฐฯ อาจ​เผชิญวิกฤต​การ​เงิน​เช่นในปี พ.ศ. 2551 อีกครั้ง

 

ในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ต้าคงยัง​ได้คาด​การณ์ยอดขาดดุล​การคลังของสหรัฐฯ ว่า จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ​พร้อมกับคาดว่า ​รัฐสภาสหรัฐฯ จะ​เพิ่ม​เพดานหนี้ของรัฐบาลกลาง เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ แต่จะ​ไม่สามารถลดยอดขาดดุลฯ ลง​ได้ก่อนปี 2558 นอกจากนี้ ความสามารถ​ใน​การระดมทุนของสหรัฐฯ นั้น ยังพึ่งพา​การออกตราสารหนี้ด้วย

 

ต้ากงฯ อาจจะลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐฯ ลง จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ​ความสามารถของรัฐบาล​ใน​การชำระหนี้ และยัง​ไม่มี​ความกระเตื้องขึ้น

 

การเตรียมลดอันดับเครดิตให้กับสหรัฐฯ นี้ มีสถานการณ์ใกล้เคียงกับ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ต้ากงฯ ก็เพิ่งประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษ ลงสู่ระดับ A+ หล่นลงหนึ่งระดับจาก AA- มาแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Even Ben Bernanke Admits that Gold Is the Ultimate Safe Haven

แม้แต่โป๊งเหน่งก็ยังยอมรับว่าทองเป็นที่ของสุด safe haven ในวันที่ถูกถล่มอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยคำถามที่ว่า ทำไมคนถึงซื้อทอง

Mr Bernanke himself was grilled by Congress this week on the role of gold. Why do people by gold?

 

 

"As protection against of what we call tail risks: really, really bad outcomes,"

he replied. Indeed.

 

"เพื่อป้องกันความเสี่ยงเมื่อมีอะไรที่เลวร้ายโคดๆเกิดขึ้น " เขาว่างั้นจริงๆนะ อิอิ

 

 

 

 

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้วถ้าทุกอย่างดีขึ้น ทองจะลงมาก ๆ เลยมั้ยคะ ชักจะสงสัย <_<

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้วถ้าทุกอย่างดีขึ้น ทองจะลงมาก ๆ เลยมั้ยคะ ชักจะสงสัย <_<

 

ผมคิดว่าไม่น่าลงมากครับ เพราะระบบการเงินของโลกน่าจะต้องกลับเข้าไปสู่ระบบที่จะพิมพ์เงินต้องมีโลหะมีค่าค้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามท่านที่เคยผ่านประสบการณ์ QE1 QE2ด้วยค่ะ แบบว่าอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเราบ้างแล้วจะเป็นแบบเดิมไหม :excl: ถ้าเป็นจะเตรียมตัวอย่างไร !10(ครั้งแรกที่เจอค่ะ ขนาดอ่านย้อนแล้วยังตกใจเลย) อีกอย่างค่ะ ทั้งๆที่รู้ว่าต้นตอของเรื่องคืออเมริกาแต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้เลยหรือ ทุกวันนี้ยังกร่างไม่เลิก !19

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ !_087 !_087 !_087

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิอิ ผมก็อปมาให้กำลังใจชาวดอยเงินอ่ะครับ cool.gif

แต่ที่ผมสงสัยอย่างนึงก็คือ วันใดที่คนรู้สึกว่าไม่มีเงินสกุลใดๆเลยที่ควรถือ แล้วเกิด panic buy ทั้งเงินและทองอะไรมันจะเกิดขึ้น 555wacko.gif

คนที่มีเงินและทองเก็บไว้เยอะ พุงก็ปลิ้นเยอะ คนที่เก็บน้อยก็ปลิ้นน้อย :lol: :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้ากงฯ จ่อลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือมะกัน ไร้สามารถ​ใน​การชำระหนี้ฯ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2554 09:25 น.

 

 

 

 

 

 

ป้ายแสดงยอดตัวเลขหนี้ของประเทศสหรัฐฯ ที่สำนักงาน Internal Revenue Service ไทม์สแควร์ ในมหานครนิวยอร์ค สหรัฐฯ (ภาพรอยเตอร์)

 

 

เอเยนซี -ต้ากง ​โกลบอล ​เครดิต เรทติ้ง บริษัทจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของจีน ประกาศ​​แนว​โน้มที่จะปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐฯ โดยระบุว่าภาวะ​เศรษฐกิจถดถอยยาวนาน อัน​เนื่องมาจาก​การบริหาร​และ​น​โยบาย​เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบต่อระบบสิน​เชื่อ

 

ไชน่าเดลี่ สื่อจีนรายงานวันที่ 14 ก.ค. ว่า ต้ากง โกลบอล เครดิต เรทติ้ง บริษัทจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของจีน มีแนวโน้มปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือสกุล​เงินดอลลาร์​และต่างประ​เทศของสหรัฐฯ จากที่ A+ ​เป็นลบ โดยก่อนหน้านี้ เมื่อ​เดือนพ.ย.ปีที่​แล้ว หลังรัฐบาลสหรัฐ​ฯ ได้ประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบสอง ​(QE2) ต้ากงก็​ได้ปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐ​ฯ จากระดับ AA มาแล้ว

 

รายงานข่าวกล่าวว่า ต้ากงคาด​การณ์ อัตราการขยายตัวของ​เศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2554 ​และ พ.ศ. 2555 ว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี​ ​เนื่องจากรัฐบาลจำ​เป็นต้องคุม​เข้มน​โยบาย​การ​เงิน​และ​การคลังมากขึ้น ขณะที่ ​แรงขับ​เคลื่อน​เศรษฐกิจภาย​ในประ​เทศยังอ่อน​แอ

 

ต้ากงฯ ระบุว่า การ​ใช้มาตร​การ QE2 กับอัตราดอก​เบี้ยระดับต่ำของสหรัฐฯ ​นั้น ​ทำ​ให้มีกระ​แส​เงินทุน​ไหล​เวียน​ในระบบ​เป็นจำนวนมาก ​ ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานที่​แท้จริง ​​จึงมี​ความ​เป็น​ไป​ได้สูงว่าสหรัฐฯ อาจ​เผชิญวิกฤต​การ​เงิน​เช่นในปี พ.ศ. 2551 อีกครั้ง

 

ในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ต้าคงยัง​ได้คาด​การณ์ยอดขาดดุล​การคลังของสหรัฐฯ ว่า จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ​พร้อมกับคาดว่า ​รัฐสภาสหรัฐฯ จะ​เพิ่ม​เพดานหนี้ของรัฐบาลกลาง เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ แต่จะ​ไม่สามารถลดยอดขาดดุลฯ ลง​ได้ก่อนปี 2558 นอกจากนี้ ความสามารถ​ใน​การระดมทุนของสหรัฐฯ นั้น ยังพึ่งพา​การออกตราสารหนี้ด้วย

 

ต้ากงฯ อาจจะลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐฯ ลง จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ​ความสามารถของรัฐบาล​ใน​การชำระหนี้ และยัง​ไม่มี​ความกระเตื้องขึ้น

 

การเตรียมลดอันดับเครดิตให้กับสหรัฐฯ นี้ มีสถานการณ์ใกล้เคียงกับ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ต้ากงฯ ก็เพิ่งประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษ ลงสู่ระดับ A+ หล่นลงหนึ่งระดับจาก AA- มาแล้ว

อยากรู้ว่าเรตติ้งของจีนจะกระเทือนซาง เมกาปะเนี้ย หรือแค่พยาธิในท้องเมกาสะดุ้งนิดหน่อยอะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามท่านที่เคยผ่านประสบการณ์ QE1 QE2ด้วยค่ะ แบบว่าอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเราบ้างแล้วจะเป็นแบบเดิมไหม :excl: ถ้าเป็นจะเตรียมตัวอย่างไร !10(ครั้งแรกที่เจอค่ะ ขนาดอ่านย้อนแล้วยังตกใจเลย) อีกอย่างค่ะ ทั้งๆที่รู้ว่าต้นตอของเรื่องคืออเมริกาแต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้เลยหรือ ทุกวันนี้ยังกร่างไม่เลิก !19

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ !_087 !_087 !_087

 

คุณหมอ เจ้าของ MTS ให้สัมภาษณ์ ถ้ามี QE3 จะทำให้ทองขึ้น จากเดิม 5 - 10 % :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Even Ben Bernanke Admits that Gold Is the Ultimate Safe Haven

แม้แต่โป๊งเหน่งก็ยังยอมรับว่าทองเป็นที่ของสุด safe haven ในวันที่ถูกถล่มอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยคำถามที่ว่า ทำไมคนถึงซื้อทอง

Mr Bernanke himself was grilled by Congress this week on the role of gold. Why do people by gold?

 

 

"As protection against of what we call tail risks: really, really bad outcomes,"

he replied. Indeed.

 

"เพื่อป้องกันความเสี่ยงเมื่อมีอะไรที่เลวร้ายโคดๆเกิดขึ้น " เขาว่างั้นจริงๆนะ อิอิ

พี่น้อง thaigold รวยให้หนำใจไปเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเดาตามกราฟนะคะ

 

คิดว่าอาทิตย์หน้าทองน่าจะพักลงมาหน่อย เพราะตอนนี้ชน 61.8% ของการขึ้นมาใหม่ของคลื่นนี้ เป็นการพักของราคาเพื่อทำ wave 4 ซึ่งไม่ควรลงมาต่ำกว่า ยอดของ wave 1 ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 1550+/- เนื่องจาก wave 2 ค่อนข้างซับซ้อน wave 4 น่าจะเป็น simple wave คือ พักแบบ V shape ลงมาแล้วไปต่อเลย

 

เพราะงั้นคนที่ถือแท่งหรือ GF ไม่ควรปล่อยของเพื่อเล่นรอบนะคะ เพราะมันอาจลงมาแล้วดีดขึ้นเลย ถ้าขายไปก็อาจไม่ได้คืนในราคาที่ถูกกว่า คนที่ไม่มีของรอจรวดลงมารับแถวๆ นั้น กระโดดเกาะได้ อย่า overtrade นะคะ เอาแบบพอเพียงค่ะ

 

wave 3 รอบนี้ขึ้นมาเกือบ 161.8 % ของ wave 1

 

wave 5 รอบนี้ถ้าไปที่ 161.8 % ของ wave 3 จะอยู่ที่ประมาณ 1800+/- ค่ะ woow!!!! !54 โชคดีนะคะ

 

คนที่ไม่มีทองแท่งน่าจะรอสะสมแถวๆ นั้นค่ะ คนที่ตกจรวด รอกระโดดเกาะค่ะ

 

อิจฉาใครบางคนแถวๆ นี้ที่เกาะทองแท่งไม่ยอมปล่อย !La

 

ปล. อันนี้คาดการณ์ตามกราฟที่เห็นนะคะ เดาล้วนๆ ไม่รู้ว่ามันจะเป็นจริงแค่ไหน ช่วยกันลุ้นต่อไป ทำใจแข็งๆ ไว้เวลามันลงมาพัก ชั่วคราวค่ะ อย่ากลัว!!!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้วถ้าเหตุการณ์เป็นเหมือนที่เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว โดยการที่อเมริกาเพิ่มเพดานหนี้ในวินาทีสุดท้ายของวันที่ 2 สค. 54 (ซึ่งผมว่าเป็นไปได้มาก) ทองหรือหุ้นจะเป็นอย่างไร?

เพราะ

1) หากปล่อยผิดนัดชำระหนี้ ผลเสียเห็นๆ คือโอบามาหลุดตำแหน่งแน่นอนจากกลุ่มผู้ไม่ได้รับสวัสดิการ (ซึ่งใหญ่มาก) ซึ่งโอบามาไม่อยากให้เกิดแน่นอน สถานการณ์จะเลวร้ายอเมริกาถูกปรับอันดับแน่และเศรษฐกิจล้มพังพาบ ผมจึงคิดว่าอเมริกาคงไม่ยอมให้เกิดขึ้น

2) พิมพ์เงิน QE3 ทำให้มีเงินพอสำหรับการจับจ่ายใช้สอยซึ่งดูเหมือนทุคนจะเฮ

3) เพิ่มเพดานหนี้ เพิ่มแล้วยังไงต่อซื้อเวลาออกไป แล้วสุดท้ายต้องมี QE3 อีกใช่หรือไม่ หรือรอให้ฝีไปแตกที่รัฐบาลหน้า นั่นทำให้ฝ่ายค้านไม่ยอมยกมือผ่านการเพิ่มเพดานหนี้เพื่อให้ฝีที่ไหนๆ จะแตกแล้วก็ให้มันแตกในรัฐบาลนี้ละวะ เลือกตั้งคราวหน้าก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพาะยังไงการเพิ่มเพดานก็ไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุอยู่แล้ว

 

แต่ถ้าสุดท้ายทนไม่ได้ต้องเพิ่มเพราะแรงกดดันหลายฝ่ายและ คำที่ว่าToo big to Fail จะเกิดอะไรขึ้นครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นราคาที่เพิ่งปิดไปเมื่อวันศุกร์แล้วรู้สึกว่า สิ่งที่คุณ next นำมาเล่าให้ฟังไม่น่าจะผิดไปจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นมากนัก

รู้สึกว่าโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรใหม่ๆจากในเวบ Thaigold และเวบอื่นๆที่ไม่เคยคิดจะเปิดมาก่อน

 

คุณเด็กสยามลองย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่บทความแรกๆนะครับ จะเห็นภาพเลยว่า QE นี่ก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง

ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปที่ ทำงาน รับข่าวจากสำนักข่าวทั่วไป เวลาเกิด QE ก็ไม่รู้สึกอะไรมากหรอกครับ

นอกจากว่า เอ๊ะ ทำไมของแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น ทำไมรัฐบาล "แย่" อย่างนี้ ไม่ออกมาทำอะไรซักอย่าง

 

เหมือนกับตัวอย่างที่ฝรั่งชอบใช้ ก็คือการต้มกบ ถ้าโยนกบลงไปในน้ำเดือด มันจะรู้ตัวและรีบกระโดดหนีตาย

ออกมาทันเวลา แต่ถ้าจับมันใส่ในน้ำเย็น แล้วค่อยๆตั้งไฟ มันจะกลายเป็นกบต้มโดยไม่รู้ตัว

 

ผมมองว่า การยกเลิกระบบ Bretton-Wood ในช่วงปี 1970 เป็นการเริ่มเอากบใส่หม้อตั้งไฟ

แล้วผ่านมาเกือบสี่สิบปี QE1 QE2 เป็นการเร่งไฟให้แรงขึ้นเรื่อยๆ QE3 มาน้ำคงไกล้เดือดเต็มที

 

เช้านี้ย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่บทความแรกๆแล้วรู้สึกดีครับ

หลายๆคนที่ผมนำข่าวไปบอกต่อ ก็มองว่ายังไงระบบเศรษฐกิจก็ไม่มีปัญหา

แต่หลายๆคนก็หันมา ศึกษา และเตรียมตัวกันมากขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามท่านที่เคยผ่านประสบการณ์ QE1 QE2ด้วยค่ะ แบบว่าอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเราบ้างแล้วจะเป็นแบบเดิมไหม :excl: ถ้าเป็นจะเตรียมตัวอย่างไร em183.gif(ครั้งแรกที่เจอค่ะ ขนาดอ่านย้อนแล้วยังตกใจเลย) อีกอย่างค่ะ ทั้งๆที่รู้ว่าต้นตอของเรื่องคืออเมริกาแต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้เลยหรือ ทุกวันนี้ยังกร่างไม่เลิก 3c68bb64.gif

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ 875328cc.gif 875328cc.gif 875328cc.gif

 

 

QE 2 เกิดขึ้นเมื่อ 3 พ.ย.53 ทองจาก 19100 (spot 1355) ทองก็ดีดแต่บ่ายเป็นเส้นตรงอย่างรวดเร็ว ไป (19150) (1360)19200(1365)

ตอนเช้าเปิดมาก็เจอ ราคาดีดจากการประชุมไป 19450 1388 สปอตขึ้นมาเยอะ แต่ดอลล่าร์อ่อนตัว จาก 76.31 ไปที่่ 75.94 ส่งผลให้ราคาไม่ขึ้้นมากนัก แต่ก็ยังทรง ๆ อยู่ หลังจากนั้น ดอลล่าก็แข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมสปอตที่ขึ้นต่อไปได้ 8 วัน หลังจากนั้น วันที่ 12 พ.ย.เกิดการเทกระหน่ำ ราคาเปลี่ยนแปลงไหลลงเป็นบันจี้จั๊มถึง 9 ครั้งในวันเดียวกัน จากราคาสูงสุด 19750 (1400 ต้น ๆ )ไหลลงต่อหลายวันต่อไปอีก 5 วันจนถึง 17 พ.ย. 19050 (1338) โดยที่ดอลล่ายังคงแข็งค่าต่อไปถึง 80 กว่า ๆ แล้วทองก็ค่อย ๆ กลับตัวขึ้นต่อเรื่อยๆไป 20,000 up ครั้งแรก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้วถ้าเหตุการณ์เป็นเหมือนที่เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว โดยการที่อเมริกาเพิ่มเพดานหนี้ในวินาทีสุดท้ายของวันที่ 2 สค. 54 (ซึ่งผมว่าเป็นไปได้มาก) ทองหรือหุ้นจะเป็นอย่างไร?

 

 

ขอเดาแค่ทองหรือหุ้นจะเป็นอย่างไรนะคะ

 

เพดานหนี้น่าจะผ่านฉลุย ไม่น่ามีปัญหาค่ะ เพิ่มเพดานหนี้ได้ หุ้นทั่วโลกน่าจะขึ้น (ชั่วคราว) ทองก็จะวิ่งไปทำ wave 5 พร้อมๆ กับตลาดหุ้นบ้านเราน่าจะขึ้นไปทำ Wave 3 อีกซักพักพอตัวเลขต่างๆ ออกมาไม่ดี (เดาเอา)ว่าอาจจะยังไม่พูดถึง QE หรืออาจจะต่อลองเรื่องตัวเลข stimulus package งวดใหม่อาจน้อยไป หุ้นช่วงนี้จะตกหนักทั่วโลก ทองอาจโดน panic sell (ถึงตอนนั้นอาจจบรอบใหญ่ พอดี)

 

พอเศรษฐกิจโลกมีปัญหา ทุกประเทศขายทองออกมาชำระหนี้ (เหมือนตอน dubai และ ญ๊่ปุ่น) ทองน่าจะตกแรงมากๆๆๆๆ จนคนกลัวไม่กล้าซื้อ ระบบจะปั่นป่วนไปหมด ถึงตอนนั้น ก็อยู่ที่ว่าเราจะ กล้า panic buy กะเค้าหรือป่าว เพราะอาจจะลงแรงแบบ 400-600 บาทต่อวัน ร้านทองอาจจะปิดไม่ให้ซื้อขายเพราะเปลี่ยนป้ายราคาไม่ทัน 5555+++ (อะไรประมาณนี้หรือป่าว) ทั้งหมดนี้เดาเอานะคะ เพราะตอน dubai world ตัวเองยังไม่ได้มาลงทุนในทองคำ ได้ยินแค่ทองโดนทุบแรงมากๆๆๆ คิดว่า commo ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะน้ำมันน่าจะโดนด้วย ก็คอยดูกันต่อไปค่ะ เดาเล่นๆ หนุกๆๆ 555+++ :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...