ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

คุณ Kunghdy รอทองลง 1550+/- ระวัง เกรงว่า น้องเงิน จะหล่นตามด้วยสิครับ blink.gif คงต้องลุ้นให้ อัตราส่วน เงิน กับ ทอง ลดช่องให้แคบลงครับ

 

หรือไม่ก็ต้องให้นักลงทุน หันมาลงทุนเสี่ยงมากขึ้น เปลี่ยนจาก ทอง มาลงกับเงินเยอะขึ้น ราคาจะได้ขึ้น (ผมก็จะได้ลงดอย 48 usd สักที (แต่ก็ไม่แน่ว่าถึงเวลา 48 usd มาแล้ว จากดอยจะกลายเป็นตีนดอยหรือเปล่าก็ต้องดูกันต่อไปครับlaugh.gif)

ลงไม่กลัว ลงมาจะได้เก็บต่ออีกสักรอบ2รอบ :D :D :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนว 1600 เหนียวเหมือนกันนิ แต่จะทนได้กี่วันหว่า :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาร่วมฉลอง 1600 ด้วยคนครับ

 

แนวต้าน 1607 จะเอาอยู่ไหม

 

น่าถือไปลุ้นแนวต้านฟิโบ 261.8 ที่ 1687 เลยนะครับ ^_^

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซ้าาาทุ em0009.gif

 

 

ไม่เคืองครับ แซวเลย คือ ในใจ ก็รู้อยู่ว่ามันไม่ขาดทุนหรอก ไปต่อได้ แต่ต้องให้เวลาหน่อย

แต่อีกใจนึงก็อดเซ็งๆไม่ได้ เลยเอามาแซวตัวเองขำๆ ไปเล่าให้เพื่อนฟังก็เล่าแบบขำๆ

จนมันหาว่าบ้า ขาดทุนแล้วยังไม่เครียด laugh.gif

 

อารมย์เดียวกันเลยครับ รู้สึกว่าเราจะซื้อราคาใกล้เคียงกันด้วย

 

ดีที่ได้อ่านบทความคุณแน็กซ์ทำให้จิตใจเข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวแม้วันลงมาก 555555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝากชาวดอยเงินครับ อ่านเล่นยามอยู่ดอย tongue.gif

 

 

Silver is an irreplaceable metal

David Bond of the Silver Summit is a strong believer that silver could double in price very soon , silver is an irreplaceable metal , the only thing that can replace silver as an industrial commodity is palladium in terms of its conductivity and reflectivity etc...we are hitting in a big squeeze in the market , JP Morgan Stanley which is hugely short silver tries to cover , I think their short covering is probably what's driving the momentum I really do not see a top for it yet says David Bond as a log term investment silver is better than gold it has bigger leverage , it is easier for the price of silver to double than it is for gold

http://www.youtube.com/watch?v=4dqKBHRxOjw&feature=player_detailpage

 

http://goldbasics.bl...able-metal.html

 

ณ.เวลานี้ palladium ราคาอยู่ที่ 782 $ ครับ tongue.gif

 

 

รบกวนคุณ MOR LEK หรือใครก็ได้ช่วยแปลให้หน่อยคร๊าบบบบบ อังกฤษไม่แข็งแรงน่ะคร๊าบบบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเดาแค่ทองหรือหุ้นจะเป็นอย่างไรนะคะ

 

เพดานหนี้น่าจะผ่านฉลุย ไม่น่ามีปัญหาค่ะ เพิ่มเพดานหนี้ได้ หุ้นทั่วโลกน่าจะขึ้น (ชั่วคราว) ทองก็จะวิ่งไปทำ wave 5 พร้อมๆ กับตลาดหุ้นบ้านเราน่าจะขึ้นไปทำ Wave 3 อีกซักพักพอตัวเลขต่างๆ ออกมาไม่ดี (เดาเอา)ว่าอาจจะยังไม่พูดถึง QE หรืออาจจะต่อลองเรื่องตัวเลข stimulus package งวดใหม่อาจน้อยไป หุ้นช่วงนี้จะตกหนักทั่วโลก ทองอาจโดน panic sell (ถึงตอนนั้นอาจจบรอบใหญ่ พอดี)

 

พอเศรษฐกิจโลกมีปัญหา ทุกประเทศขายทองออกมาชำระหนี้ (เหมือนตอน dubai และ ญ๊่ปุ่น) ทองน่าจะตกแรงมากๆๆๆๆ จนคนกลัวไม่กล้าซื้อ ระบบจะปั่นป่วนไปหมด ถึงตอนนั้น ก็อยู่ที่ว่าเราจะ กล้า panic buy กะเค้าหรือป่าว เพราะอาจจะลงแรงแบบ 400-600 บาทต่อวัน ร้านทองอาจจะปิดไม่ให้ซื้อขายเพราะเปลี่ยนป้ายราคาไม่ทัน 5555+++ (อะไรประมาณนี้หรือป่าว) ทั้งหมดนี้เดาเอานะคะ เพราะตอน dubai world ตัวเองยังไม่ได้มาลงทุนในทองคำ ได้ยินแค่ทองโดนทุบแรงมากๆๆๆ คิดว่า commo ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะน้ำมันน่าจะโดนด้วย ก็คอยดูกันต่อไปค่ะ เดาเล่นๆ หนุกๆๆ 555+++ :P

 

ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ ผมยังเดาไม่ออกจริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงประกาศเพิ่มเพดานหนี้ ถ้าทองลงมากๆ อย่างที่ว่า จะเข้าไปซื้อเพิ่มครับ เพราะตอนนี้ก็ถือก้อนใหญ่แช่เย็นไว้ตั้งแต่บาทละ 8,000 :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนคุณ MOR LEK หรือใครก็ได้ช่วยแปลให้หน่อยคร๊าบบบบบ อังกฤษไม่แข็งแรงน่ะคร๊าบบบ

 

เขาบอกว่า นาย David Bond เป็นคนที่เชื่ออย่างแรงว่าราคาของเงินจะกลับมาเป็น2เท่าในเวลาอันสั้น

เงินเป็นธาตุที่ไม่มีอะไรมาแทนที่ได้นอกจากพาลาเดียม(ในแง่ของการนำไฟฟ้า,ความแวววาวฯลฯ)

แต่พาลาเดียมแพงกว่าเงินเยอะมากครับ ราคาราวๆ 790ดอลล์เข้าไปโน่นแล้ว

แม้ว่าราคาจะเดี้ยงไปบ้างจากการถูกทุบโดยJPMorgan

เงินน่าเล่นกว่าทองเพราะเขาเชื่อว่าราคาสามารถขึ้นไปเป็น2เท่าได้ง่ายกว่าทอง

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3ca8b998.gif3ca8b998.gif3ca8b998.gif

ทะลุ $40 / $1600 สบายใจละ ถึงเวลาตลาด NY ปิดต่ำกว่านี้นิดหน่อยก็ไม่เป็นไร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NY คงปิดต่ำสุดๆจริงๆ แถวๆ 1590-1595 เท่านั้นเอง แต่ถ้ายืน 1600 จะสวยหรูสวยงามมากกว่า (^^)

 

วันนี้เห็นมี TLC ออกมายับ แต่ยังลางดีตรงที่จีนกับญี่ปุ่นซื้อเพิ่ม...ส่วนที่ทิ้งเห็นๆก็ Russia ใน Zerohedge บอกว่าเอาไปซื้อทองกันเลยทีเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เขาบอกว่า นาย David Bond เป็นคนที่เชื่ออย่างแรงว่าราคาของเงินจะกลับมาเป็น2เท่าในเวลาอันสั้น

เงินเป็นธาตุที่ไม่มีอะไรมาแทนที่ได้นอกจากพาลาเดียม(ในแง่ของการนำไฟฟ้า,ความแวววาวฯลฯ)

แต่พาลาเดียมแพงกว่าเงินเยอะมากครับ ราคาราวๆ 790ดอลล์เข้าไปโน่นแล้ว

แม้ว่าราคาจะเดี้ยงไปบ้างจากการถูกทุบโดยJPMorgan

เงินน่าเล่นกว่าทองเพราะเขาเชื่อว่าราคาสามารถขึ้นไปเป็น2เท่าได้ง่ายกว่าทอง

 

 

ขอบคุณมาก ๆ ครับ คุณ MOR LEK ที่กรุณามาแปลให้ ผมพยายามแล้วแต่เข้าป่าไปไกลเลยครับ ฮิ ฮิ ฮิ

 

ที่ว่าจะขึ้นไปเป็น 2 เท่า เขาคิดจากราคาตรงไหนครับ จากที่ต่ำสุด (32.xx) หรือจากที่สูงสุดครับ (50.xx)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้าเน็ก สั่งเหรียญทองจาก kitco ยังไงครับ? ช่วยบอกหน่อย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

My Dear Friends,

Here are the magnets. The key number is neither $1600 or $1650. The number is $1764.

Regards,

Jim

 

http://www.jsmineset.com/ :o

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาชูธงปรองดองหนีเส้นตายหายนะหนี้

18 กรกฎาคม 2554 เวลา 07:39 น. | เปิดอ่าน 397 | ความคิดเห็น 2

การผิดนัดชำระหนี้ (Default) อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประเทศยากจนโดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

การผิดนัดชำระหนี้ (Default) อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประเทศยากจน และมีแนวโน้มสูงที่เศรษฐกิจจะล่มสลาย สถานการณ์ยุโรปในขณะนี้ก็ดูเข้าเค้าคำกล่าวที่ว่านี้ดี เพราะประเทศที่ประสบวิกฤตหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ล้วนแต่ติดอยู่ในกลุ่มยากจนที่สุดในยุโรป

 

ทว่า โอกาสที่ประเทศร่ำรวยจะเบี้ยวหนี้มีโอกาสสูงเช่นกัน โดยเฉพาะสหรัฐ ซึ่งถือกันว่าร่ำรวยที่สุดในโลก ยังเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้

 

ขณะนี้หนี้สาธารณะของสหรัฐพุ่งมาถึงระดับเพดานที่กำหนดไว้ที่ 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเดือน พ.ค. เพื่อที่จะสามารถชำระผลตอบแทนได้ตามกำหนด สหรัฐจำเป็นต้องเพิ่มเงินในคลังโดยด่วน ด้วยการระดมทุนเพิ่มเติม หรือนัยหนึ่งก็คือ ขอให้สภาเปิดทางให้ขายตราสารหนี้เพื่อระดมทุน นัยหนึ่งก็คือเปิดโอกาสให้เพิ่มเพดานการก่อหนี้นั่นเอง

 

แต่สภาที่มีเสียงกึ่งๆ กันระหว่างพรรคฝ่ายค้านและพรรครัฐบาลไม่ลงรอยกัน จนเสี่ยงที่สหรัฐอาจต้องเบี้ยวนัดชำระหนี้

 

หากสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ จะสร้างความเสียหายย่อยยับให้กับตลาดพันธบัตร เท่ากับทำลายความน่าเชื่อถือของตน ทำให้พันธบัตรสหรัฐที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดในสายตานักลงทุน ตกอยู่ในสถานะน่ากังขาในทันที อีกทั้งยังทำให้ประเทศเจ้าหนี้ไม่ไว้วางใจ กระทั่งกลายเป็นความแค้นเคือง เป็นกระแสวิตกไปทั่วโลก จนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินต่างพากันยกขบวนเตือนสหรัฐให้เร่งจัดการกับหนี้สาธารณะโดยด่วนก่อนที่จะ “วินาศสันตะโร”

 

 

คำว่า “วินาศสันตะโร” ไม่เกินจริงแม้แต่น้อย เพราะผู้ที่เอ่ยเป็นถึงรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ที่กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “หากสิ่งนั้นเกิดขึ้น (ผิดนัดชำระหนี้) เราจะเป็นพยานความเสียหายระดับวินาศสันตะโรที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก”

 

แม้จะ “ขู่” จนชาวโลกผวา ไกธ์เนอร์ กลับลูบหลังด้วยประโยคถัดมาว่า “สหรัฐไม่มีทางผิดนัดชำระหนี้ เราจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ได้”

 

เงื่อนไขที่ว่านี้ไม่ใช่แต่เพียงจ่ายผลตอบแทนผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลตรงตามกำหนด แต่ปัญหาใหญ่ยิ่งกว่า และเป็นหัวใจ (หรืออุปสรรค?) ที่ทำให้สหรัฐเสี่ยงที่จะเผชิญกับวิกฤตหนี้ ก็คือ ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านเกี่ยวกับนโยบายหนี้สาธารณะ

 

กำหนดการที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องลงรอยกันคือ ภายในวันที่ 2 ส.ค. แต่หากยังฟัดกันอยู่ ก็จะไม่สามารถผ่านการขึ้นเพดานหนี้ และสหรัฐย่อมต้องผิดนัดชำระหนี้อย่างไม่มีทางบ่ายเบี่ยง

 

การขึ้นเพดานหนี้เพื่อระดมทุนเพิ่มเติม จะเป็นโอกาสให้สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงหายนะทางการเงินได้ เพียงแต่ว่าพรรคฝ่ายค้านกำลังเล่นแง่กับรัฐบาลพรรครีพับลิกันที่กำลังดิ้นสุดชีวิตเพื่อให้สภาคองเกรสผ่านมติขึ้นเพดานหนี้ ทว่าพรรครีพับลิกันฝ่ายค้านตั้งข้อแม้ที่ยากจะยอมรับได้ว่า หากต้องการเสียงสนับสนุนให้ขึ้นเพดานหนี้ รัฐบาลจะต้องลดการใช้จ่ายครั้งมโหฬารเสียก่อน แล้วฝ่ายค้านจะยกมือให้

 

เงื่อนไขของพรรคฝ่ายค้านดูเหมือนจะไม่ยากเย็นนัก แต่แท้จริงแล้วเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายรากฐานของพรรคเดโมแครตอย่างแนบเนียน เพราะการลดการใช้จ่ายของภาครัฐย่อมหมายถึงการลดสวัสดิการสังคม สวัสดิการสาธารณสุข การปิดหน่วยงานของรัฐเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งงบประมาณสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แย้มท่าทีแล้วว่าอาจมีมาตรการกระตุ้นรอบ 3

 

ที่ผ่านมาพรรคเดโมแครตชูธงนโยบายเชิงสวัสดิการสังคมมาโดยตลอด ความสำเร็จล่าสุดคือการผลักดันกฎหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งนับเป็นมาตรการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมที่สุดเท่าที่สหรัฐเคยมีมา แต่ก็ใช้งบประมาณมหาศาลเช่นกัน ยังความไม่พอใจต่อพรรครีพับลิกัน และชาวอเมริกันส่วนหนึ่ง

 

ดังนั้น พรรครีพับลิกันที่เพิ่งกวาดที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ทีสวนกลับ เรียกร้องให้ลดงบประมาณด้านสวัสดิการลงเพื่อแลกกับเสียงสนับสนุนในสภา เพราะคงไตร่ตรองแล้วว่า หากรัฐบาลเดโมแครตต้องลดเงินสวัสดิการ ประชาชนจะรู้สึกผิดหวังและชิงชังในทันที กลายเป็นโอกาสทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลทางการเมืองและเหตุผลอื่นๆ ทำให้เดโมแครตไม่ยอมทำตามเงื่อนไขของอีกฝ่าย เหตุผลอื่นๆ ที่ว่านี้ รวมถึงการที่รัฐบาลชุดที่แล้วโดยพรรครีพับลิกันได้ก่อสงครามไปทั่ว ทำให้สหรัฐเสียงบประมาณไม่ต่ำกว่า 120 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

 

ทั้งสองพรรคจึงเล่นแง่มาตลอดหลายเดือน จนกระทั่งเหลือเวลาเพียง 2 สัปดาห์ที่จะถึงเส้นตาย แต่สุดท้ายยังไม่มีวี่แววที่จะลดราวาศอกกัน

 

ล่าสุด ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เรียกร้องให้สมาชิกสภาจากทุกพรรคทุกฝ่ายรอมชอมกันเพื่อเร่งผ่านมติขึ้นเพดานหนี้โดยเร็ว เพราะหลังจากที่เสียเวลาถกเถียงในสภาติดต่อกัน 5 วัน ยังไม่มีผลสรุปที่เป็นรูปธรรมใดๆ ออกมา ยิ่งทำให้นักลงทุนเริ่มขวัญผวา และสหรัฐเองเริ่มที่จะเฉียดปากเหวเข้าไปทุกขณะ

 

ขุนคลังสหรัฐเคยใช้คำว่า “วินาศสันตะโร” หรือ “Catastrophic” เพื่อข่มขู่ทุกฝ่ายให้รีบหันหน้าเข้าหากันฉันใด ประธานาธิบดีสหรัฐก็ใช้โวหารที่ชวนให้ขนลุกไม่แพ้กัน โดยกล่าวว่าหากไม่มีผลสรุปในเรื่องนี้ อาจต้องเผชิญกับ “โลกาวินาศ” หรือ “Armageddon” ในทางเศรษฐกิจ กันเลยทีเดียว

 

โอบามา ไม่ได้ใช้โวหารข่มขู่ไปเสียทีเดียว เพราะใช้คำเตือนที่กระทุ้งใจว่า ไม่ว่าพรรคเดโมแครตหรือพรรครีพับลิกันก็ล้วนต้องเสียสละอย่างเท่าเทียมกัน หรือแบ่งกันเสียสละ (Shared Sacrifice)

 

สิ่งที่ โอบามา เรียกว่าเป็นการ “แบ่งกันเสียสละ” คือการแบ่งรับแบ่งเสียด้านนโยบายระหว่าง 2 พรรค จากเดิมที่รีพับลิกันต้องการให้เดโมแครตรับเงื่อนไข บนความเสียหายเชิงนโยบาย และความวอดวายทางการเมือง

 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โอบามา เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่าย “ต่อราคาครั้งมโหฬาร” โดยชี้ว่า หากรีพับลิกันต้องการให้เดโมแครตลดสวัสดิการสังคม ก็จะรับเงื่อนไขไว้ เพื่อให้การขึ้นเพดานหนี้เดินหน้าต่อไปได้ก่อนถึงเส้นตาย แต่ฝ่ายรีพับลิกันต้องยอมรับเงื่อนไขของรัฐบาลเช่นกัน คือต้องยุติมาตรการลดภาษีสำหรับคนรวย เพื่อนำรายได้มาทดแทนสวัสดิการ และชดเชยส่วนที่จะต้องตัดงบประมาณ ตามคำร้องของรีพับลิกัน

 

เจอไม้นี้รีพับลิกันก็แทบหงาย เพราะนโยบายลดภาษีอุ้มคนรวยเป็นนโยบายหลักของพรรค เท่ากับว่าแลกกันคนละหมัดจะจะ เพราะฝ่ายรีพับลิกันเขย่าฐานเสียงของรัฐบาลด้วยการลดสวัสดิการแล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ต้องสวนกลับด้วยนโยบายเก็บภาษีคนรวยให้หนัก

 

ดูเหมือนจะสมน้ำสมเนื้อกันดี แต่พรรครีพับลิกันยังปฏิเสธเสียงแข็ง

 

กลายเป็นว่าน้ำหนักเริ่มตกมาที่ โอบามา ที่เริ่มเป็นพระเอกในสายตาประชาชนอีกครั้ง หลังจากที่ยอมรับเงื่อนไขฝ่ายตรงข้าม โดยมีข้อเสนอแลกเปลี่ยนที่สมเหตุผล ขณะที่รีพับลิกันเริ่มกลายเป็นผู้ร้าย เพราะทำให้การแก้ปัญหาของชาติและปัญหาของเศรษฐกิจโลกต้องล่าช้าออกไป เพราะต้องการเล่นแง่ทางการเมือง

 

ข้อเสนอเพื่อการ “ปรองดอง” ของ โอบามา จึงไม่เพียงเป็นทางออกทางการเมืองสำหรับพรรครัฐบาลที่ถูกบี้มาหลายเดือนเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อเสนอที่รอบจัดที่สุดและสมเหตุสมผลที่สุด

 

หากถึงที่สุดแล้ว อีกฝ่ายไม่ยอมรับการปรองดอง ด้วยการยอม “แบ่งกันเสียสละ” จะกลายเป็นผู้ร้ายเห็นแก่ตัวในทันที แต่แม้สหรัฐจะพ่ายแพ้ในทางเศรษฐกิจ โอบามา ก็จะเป็นผู้ชนะในทางการเมือง

 

แต่ไม่ว่าฝ่ายใดจะแพ้ชนะ โลกก็ย่อมหนีไม่พ้นผลกระทบอย่างหนักหน่วงครั้งนี้ไปได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...