ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

้เพื่อ นช่วยสร้างกลุ่มในเฟซให้เพื่อสะดวกสำรวบรวมบทความ ไปดูเนื้อหาที่นี่ได้เลยครับ ขวาบนใต้รูปภาพสมาชิกมีคำว่าไฟล์ กดที่ไฟล์ เลืออ่านเนื้อหาได้เลยครับ สำหรับสมาชิกใหม่แนะนำอ่านเรื่องโอกาสทองของทองจริงๆก่อนครับ ค่อยตาม ด้วยวิกฤตอเมริกา ตอนนี้กำลังรวบรวมเนื้อหาของโลหะเงินครับ

http://www.facebook....35029796643588/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 17 กันยายน 2555 04:00 news_img_ceo_6.jpg ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน" จำนวนคนอ่าน 13 คน

ผลกระทบของมาตรการพิมพ์เงิน (QE) ของสหรัฐ

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

 

news_img_470177_1.jpg

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน (QE3) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นดีใจ

 

และปรับตัวขึ้นกว่า 1.5% ทั้งนี้เพราะมาตรการที่ประกาศเกินความคาดหมายของตลาด คือ เฟดประกาศว่าจะซื้อ MBS (หลักทรัพย์ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน) เดือนละ 40,000 ล้านบาทเริ่มต้นวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไปและคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2015 ที่สำคัญคือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยิ่ง (highly accommodative) และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วก็จะยังดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อไปอีกนาน (considerable time after economic recovery strengthens) เป็นที่เข้าใจว่านโยบายทุ่มเงินอย่างไม่จำกัดจำนวนจะดำเนินต่อเนื่องจน กระทั่งการว่างงานปรับตัวลงเหลือ 7% หรือต่ำกว่านั้น มาตรการ QE3 นี้นักวิเคราะห์บางคน บอกว่าน่าจะเรียกว่า “QE infinity” มากกว่า เพราะไม่มีการกำหนดขอบเขตแต่อย่างใด และ Bank of America-Merrill Lynch คาดการณ์ว่าขั้นต่อไปเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกเดือนละ 45,000-60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แปลว่า เฟดจะพิมพ์เงินเข้าระบบเดือนละเกือบ 100,000 ล้านเหรียญอย่างต่อเนื่องถึงปี 2015 คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่า QE1 และ QE2 รวมกัน

 

ทั้งนี้มาตรการ QE ที่ทำมาในอดีตนั้น ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 900,000 ล้านเหรียญมาเป็น 2,800,000 ล้านเหรียญในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (ขณะที่งบดุลของอีซีบีเพิ่มจาก 1.1 ล้านล้านยูโรมาเป็น 3.1 ล้านล้านยูโรในช่วงเดียวกัน) ทั้งนี้หนี้ของธนาคารกลางนั้นส่วนใหญ่ก็คือธนบัตร (เงิน) ที่พิมพ์ออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งมาตรการคิวอีถือว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุด เพราะการที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรคุณภาพดีออกจากมือของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีเงินที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ดังนั้นนักลงทุนจึงมองว่าเมื่อมีข่าวร้ายว่าเศรษฐกิจทรุดตัวลง (เช่น การว่างงานเพิ่มขึ้น) แทนที่จะกลัวว่าผลประกอบการของบริษัทจะตกต่ำลง ก็จะมองว่าธนาคารกลางจะต้องเพิ่มมาตรการคิวอีเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะไม่ตกมีแต่ขึ้น คือ เชื่อว่า Bad news is good news เพราะเมื่อมีข่าวร้ายในเชิงของปัจจัยพื้นฐานก็จะมีมาตรการคิวอี (ข่าวดี) ออกมาพยุงหุ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐสรุปว่าการพยุงหุ้นคือกลไกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจนั่ง เอง

 

สภาวการณ์เช่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมี ความพึงพอใจอย่างมากและเกือบทุก คนจะสนับสนุนมาตรการคิวอีอย่างไม่มีเงื่อนไข น้อยคนที่จะมองต่างมุมจากธนาคารกลางของสหรัฐหรืออีซีบี แต่ผมได้พบบทความที่มองต่างมุม 2 บทความซึ่งขอนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ครับ

 

บทความแรกเขียนโดย Ruchir Sharma หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของกองทุน Morgan Stanley ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 10 กันยายน 2012 สรุปว่าการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรใน สินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน เห็นได้จากตาราง 1

 

ปัญหาคือเมื่อคิวอีทำให้ราคาสินค้าปรับตัว ขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง แปลว่าคิวอีจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่นหากคิวอี 3 ผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกินกว่า 120 เหรียญต่อบาร์เรลก็จะทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำมันคิดเป็นสัด ส่วนเกินกว่า 6% ของรายได้ ซึ่งการศึกษาในอดีตพบว่าที่ระดับดังกล่าวผู้บริโภคจะเริ่มลดการบริโภคสินค้า อื่นๆ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในกลางปี 2010 และ 2011 นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเมื่อราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล จีดีพีสหรัฐจะลดลง 0.3% และเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ที่สำคัญคือคิวอีนั้นกระทบคนจนมากกว่าคนรวย เพราะสัดส่วนของรายจ่ายของคนจนที่ต้องนำไปใช้ในการซื้ออาหารและพลังงานนั้น สูงกว่าสัดส่วนของคนร่ำรวยอย่างมาก (ตาราง 2)

 

นอกจากนั้นคนที่รวยที่สุด 10%ของประเทศก็ยังถือหุ้นมากถึง 75% ของหุ้นทั้งหมดอีกด้วย กล่าวคือมาตรการคิวอีนั้นช่วยคนรวยและทำให้คนจนลำบากมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

นาย Sharma สรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐกำลังพยายามฝืนธรรมชาติในการใช้คิวอีมาอุ้มเศรษฐกิจ ไม่ให้ตกต่ำอย่างรุนแรง กล่าวคือโดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างรุนแรงและใช้เวลา 7 ปีกว่าจะฟื้นตัว (เช่นกรณีของไทยในปี 1997 ซึ่งกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ต้องใช้เวลา 5-6 ปี) แต่ธนาคารกลางสหรัฐพยายามอุ้มให้เศรษฐกิจตกต่ำเล็กน้อยเพียง 1 ปี แต่ก็ส่งผลให้เกิดความบิดเบือนและเกิดผลกระทบข้างเคียงดังกล่าว

 

อีกบทความหนึ่งเขียนโดยนาย Peter Fisher หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุน BlackRock ลงใน Financial Times เช่นกัน กล่าวตำหนิวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐว่าการพิมพ์เงินออกมากดดอกเบี้ยลงให้ ต่ำทั้งดอกเบี้ยระยะยาวและดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นจะไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อย สินเชื่อเพิ่ม (ซึ่งจะถูกนำไปลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ) แต่อย่างใดเพราะหากคนให้กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 1-1.5% (พันธบัตร 5-10 ปี) ก็จะทำให้คนไม่อยากปล่อยกู้ กล่าวคือจะต้องตอบให้ได้ว่าหากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ต่ำแล้ว ทำไมจึงจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น? ทั้งนี้ทาง Fisher กลับมองว่าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเข้าไปซื้อพันธบัตรมาเก็บเอาไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้พันธบัตร (สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด) ราคาสูงมาก (ดอกเบี้ยต่ำมาก) นักลงทุนที่มีเงินอยู่ในมือก็จะไม่กล้าซื้อพันธบัตรราคาแพงดังกล่าว เพราะกลัวว่าราคาพันธบัตรจะปรับลดลงในอนาคต (เพราะดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นกลับไปสู่ระดับปกติ) คนที่คาดการณ์เช่นนั้นก็จะยอมถือเงินเอาไว้ (เก็บซุกใต้หมอน) ดีกว่านำเอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง กล่าวคือมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐอาจกำลังนำไปสู่กับดักสภาพคล่อง (liquidity trap) ก็ได้ หมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้าไปเท่าไหร่ประชาชนก็จะเก็บเงินกอง เอาไว้เฉยๆในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้นำเอาไว้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด

 

หากจะนำเอามาโยงกับประเทศไทยผมก็ขอกล่าวถึง บทความของดร.บัณฑิต นิจถาวรที่ลงในกรุงเทพธุรกิจเมื่อ 10 กันยายน ซึ่งแสดงความกังวลว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทย “ขณะนี้ขยายตัวจากการเร่งตัวของการใช้จ่ายที่มาจากการสร้างหนี้ (debt-driven spending-led economy)” ดังนั้นนโยบายการเงินจะต้องนำปัจจัยนี้มาพิจารณาในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดร.บัณฑิตกล่าวต่อไปว่า “อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายในประเทศ” และสรุปว่า “ในทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกต้นเหตุจะเหมือนกัน คือมาจากการก่อหนี้ที่เกินพอดี”

 

ผมเห็นด้วยกับดร.บัณฑิตและมีประเด็นเพิ่ม เติมว่ามาตรการกดดอกเบี้ยลงให้ ต่ำ (ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว) ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้านั้นย่อมจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายประเทศไทยอย่างมาก เพราะเรากำลังเห็นต่างชาติเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและธนาคารแห่ง ประเทศไทยอย่างมาก (เงินทุนไหลเข้า) ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ของไทยก็ได้เริ่มกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

QE-3 ใหญ่กว่าสองครั้งแรกรวมกัน ผลกระทบกับเงินเฟ้อก็ต้องใหญ่กว่าสองครั้งแรกรวมกันหรือเปล่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็น1ในเนื้อหาทีอยู่ในโอกาสเงินของเงินจริงๆ2 น่าสนใจเลยแยกมาฝาก

 

เงิน เงิน เงิน ตอนที่ 4: เงินตราที่เราต้องเชื่อว่ามันมีค่าจริง (บทความโดย OPAC)

 

โดย Siam Silver เมื่อ 23 มกราคม 2012 เวลา 13:06 น.

“เงินกระดาษนั้น.. เมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของมันจะกลับมาสู่มูลค่าตามธรรมชาติเดิม.. นั่นก็คือ ศูนย์”

“Paper money eventually returns to its intrinsic value – zero.”

– Voltaire

 

คราว ก่อนผู้เขียนได้เกริ่นถึงสถานะของเงินตราที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ว่าเป็น เพียง currency และมูลค่าของมันที่ลดถอยลงทุกๆวันไปแล้ว.. หลายท่านคงเคยนึกสงสัยว่า เงินตรานี้เกิดมาได้อย่างไร? พิมพ์มาจากแป้นพิมพ์ก็ใช้ได้เลยหรือ? แล้วใครเป็นผู้ควบคุม? ไม่ว่าท่านใดที่พยายามค้นหาคำตอบก็คงจะมึนงงไปกับศัพท์เทคนิคต่างๆและภาษา วิชาการที่สับสนในการทำความเข้าใจ

 

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ขั้นตอนการจัดการระบบเงินนั้นจริงๆแล้วมันไม่ได้ยุ่งยากเลย... ทุกอย่างเป็นคอนเซ็ปเดียวกับเรื่องนายดำ นายขาว และนายเทา โดยเริ่มมาจากสมัยก่อนที่มนุษย์เราใช้ทองคำและโลหะเงินเป็นเงินตรา(ยุค Gold Standard ค.ส.1870 -1914) ในสมัยนั้นไม่ว่าประเทศใดก็ตามถ้าจะออกธนบัตรออกมาแล้ว จะต้องมีทองคำค้ำประกันไว้เพื่อให้นำธนบัตรไปแลกเป็นทองคำได้ตลอดเวลาและ ต้องเป็นอัตราส่วนที่ตายตัว เทียบได้กับว่าธนบัตรก็คือตั๋วจำนำแลกทองคำอย่างหนึ่งได้เลยทีเดียว... ดังนั้นการซื้อขายระหว่างประเทศจึงเป็นไปอย่างราบรื่นเพราะราคาของทุกอย่าง คงที่ ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่เฉพาะ supply และ demand ในช่วงที่ขาดหรือเกิน... และที่เยี่ยมยอดที่สุดคือความสมดุลย์ของการค้าระหว่างประเทศ

 

กล่าว ก็คือ ถ้าประเทศใดนำเข้าสินค้าเยอะ ก็จะทำให้ทองคำ(ธนบัตรที่เหมือนตั๋วจำนำแลกทองน่ะแหล่ะ)หลั่งไหลออกไปนอก ประเทศ ก่อให้เกิดภาวะเงินฝืดและส่งผลให้ demand น้อยลง ข้าวของก็ราคาถูกลงตาม พอราคาของถูกลงก็ทำให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะมาซื้อของในประเทศ ดึงดูดให้ทองคำก็ไหลกับเข้ามาในประเทศอีกครั้ง ราคาก็จึงปรับตัวสูงขึ้นตาม demand เพราะของขายดี และระบบมันก็จะวนเวียนเป็นวัฎจักรของมันเช่นนี้เรื่อยไป แต่ทว่าในปัจจุบันการตัดทองคำออกไปจากระบบเงินตราทำให้ไม่มีอะไรมาควบคุมมัน ได้ ความสมดุลย์ที่เคยมีจึงหมดหายไป

 

ในยุคหลังจาก Gold Standard เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกลง ชาวโลกต่างก็ยินยอมให้สกุลดอลล่าร์ สหรัฐฯเป็นเงินนานาชาติ (reserve currency) โดยอิงค่ากับทองคำที่ 1 oz ต่อ 16 USD และในปี 1935 ก็เปลี่ยนเป็น 1 ต่อ 35 USD จนในที่สุดได้ตัดขาดการอิงค่ากับทองคำโดนสิ้งเชิงไปในปี 1971 แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้ชาวโลกยังคุ้นเคยกับเงินสกุลนี้อยู่และให้ ยังมีความเชื่อมั่นว่าเงินสกุล USD เป็นสกุลที่แข็งแกร่งที่สุด นิยมที่สุดและสามารถคงมูลค่าไว้ได้เสมอ

 

ทีนี้เจ้าตัวเงินล่ะมันออกมาได้อย่างไร? ในปัจจุบันการผลิตออกใช้ธนบัตรเกิดขึ้นด้วยหลักการง่ายๆ คือการออกสัญญาเชื่อ (IOU = I owe you หรือ ผมติดคุณนะ) ระหว่างธนาคารกลาง(ธนาคารแห่งชาติ)และรัฐบาล... แค่นี้แหล่ะครับ สั้นๆ ง่ายๆ

 

สมมุติว่าสภาอนุมัติงบมา 500 ล้านบาท เพราะรัฐบาลต้องการใช้เงินไปทำสงครามหรือคิดว่าเศรษฐกิจซบเซาทำให้คนไม่กล้า ใช้เงินเลยต้องการอัดฉีดเม็ดเงินตราเข้าไปในระบบ รัฐบาลก็จะเขียนตัวเลขลงบนกระดาษใบหนึ่งมีลวดลายสวยงามและเรียกเจ้ากระดาษ ตัวนี้ว่า พันธบัตร (bond) และนำกระดาษตัวนี้ไปที่ธนาคารชาติเพื่อแลกกับเป็นเงินสดออกมา ซึ่งรัฐบาลก็จะต้องเสียดอกเบี้ยแถมให้อีกด้วย ธนาคารชาติก็จะเก็บพันธบัตรนี้ไว้โดยถือว่ามันเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่มี ไว้ค้ำประกันสำหรับเงินสดที่พิมพ์ออกมา

 

แต่ทว่ามันยังไม่จบ แต่เพียงเท่านี้... มันยังมีวิธีการผลิตเงินตราอีกแบบโดยธนาคารย่อยทั่วไปที่เรียกว่า fractional reserve โดยไอ้เจ้าตัวเงิน 500 ล้านบาทที่เป็นเงินสดใหม่ๆร้อนๆจากเตาก้อนแรกนี้ เมื่อรัฐบาลนำไปใช้ซื้อของต่างๆ ผู้ที่ได้รับเงิน 500 ล้านแรกนี้ก็จะนำไปเข้าบัญชีธนาคารย่อยทั่วไป... พวกธนาคารย่อยเหล่านี้เมื่อได้รับเงินฝากแล้วจะมีกฎว่าสามารถออกเงินกู้ให้ กับผู้คนทั่วไปได้ตามจำนวนเปอร์เซ็นต์ของกองทุนสำรองต่อมูลค่าเงินในบัญชี ที่ธนาคารมีอยู่

 

ยกตัวอย่างเช่น อัตตราส่วนกองทุนสำรองกับการให้กู้กำหนดอยู่ที่ 10% เพราะฉะนั้นเมื่อ 500 ล้านก้อนแรกฝากอยู่ในธนาคาร ทางธนาคารจะสามารถออกเงินกู้ให้กับเจ้าใหม่ได้ถึง 450 ล้านบาท ในขณะที่เก็บเงินสดอยู่ในบัญชีของธนาคารเพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น... จากนั้นเจ้าต่อไปที่ได้รับเงินกู้มา 450 ล้านก็จะนำไปซื้อของและผู้ขายที่ได้รับเงินก็จะนำ 450 ล้านนี้ไปฝากอีกธนาคารและธนาคารนั้นก็จะเก็บไว้ 45 ล้านและสามารถปล่อย 405 ล้านออกไปเป็นเงินกู้ให้กับเจ้าใหม่ต่อไป มันก็จะดำเนินต่อเป็นลูกโซ่ในระบบลดระดับลงไปเรื่อยๆเช่นนี้... ซึ่งจากตัวเงิน 500 ล้านก้อนแรกเมื่อหมุนเวียนเข้าในระบบนี้แล้ว จะก่อให้เงินตราใหม่ในระบบทั้งสิ้นได้ถึงกว่า 5,000 ล้านบาท

 

และ นี่เป็นก็ถือวิธีสร้างรายได้ของธนาคารต่างๆวิธีหนึ่ง โดยให้ดอกเบี้ยเงินฝากน้อยกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ เมื่อใดที่เจ้าของบัญชีจะต้องการถอนเงินฝากก็เพียงแต่ใช้เงินฝาก 10% ที่เก็บเป็นทุนไว้ และถ้าเจ้าของบัญชีจะถอนหมดบัญชีเลย ทางธนาคารก็ยังมีเงินสดมากมายหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พวกธนาคารเหล่านี้หวาดกลัวที่สุดในอดีตคือ การที่ผู้คนแห่ไปถอนเงินสดกันออกมาหมดที่เรารู้จักกันในนามว่า bank run แต่ทว่าในปัจจุบันระบบธนาคารมีเครือคร่ายที่ใหญ่และมีแผนสำรองมากมายดังนั้น การเกิด bank run จึงทำให้ไม่มีผลกระทบต่อระบบมากนัก

 

จากวิธี การทั้งหมดที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่าปริมาณเงินกระดาษ (currency supply)ในระบบนั้นเติบโตไปอย่างมหาศาลจริงๆ ซึ่งการวัดจำนวนของมันทำได้โดยการแบ่งเป็นกลุ่ม M1, M2, M3 โดยมี M3 เป็นตัวบ่งบอกปริมาณเงินตราทั้งหมด และเมื่อท่านดูกราฟของธนาคารกลางทั่วโลกจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่าเจ้าตัว M3 นั้นมันได้เติบโตขึ้นเป็นกองภูเขาสูงขึ้นเรื่อยๆ และผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือราคาข้าวของแพงขึ้นเนื่องจากปริมาณเงินมากมีกว่า สิ่งของ (inflation) และถือเป็นการบั่นทอนคุณค่าของเงินตราลงไปทุกๆวันด้วย

 

รูปที่โพสต์

ตรงจุดนี้นอกจากอำนาจการออกเงินตราแล้วนั้นแล้ว ธนาคารกลางยังอาศัย “การกำหนดอัตตราดอกเบี้ยทั่วไป” เป็นเครื่องมือในการควบคุมการเกิดเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างชั่วคราว (ต่างจากอดีตที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดย demand และ supply ที่มีทองคำเป็นตัวรักษาความสมดุลย์อย่างถาวร) และก็สร้างความน่าเชื่อถือโดยการประกาศอัตตราเงินเฟ้อจากอัตตรา CPI (consumer price index) ทำให้เหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแม้ M3 จะพุ่งสูงเท่าภูเขาเหล่ากาก็ตาม... แต่ด้วยความน่าเชื่อถือและรูปลักษณ์ในการนำเสนอข้อมูลที่มีเหล่านี้สาธารณะ ชนจึงไม่แตกตื่นเพราะยังเชื่อว่าเงินตราวันนี้ยังจะซื้อสินค้าพรุ่งนี้ให้ พวกเค้าได้อยู่เหมือนเดิม

 

และทั้งหมดนั้นก็คือกระบวนสำหรับการนำเงินตราออกมาใช้ในปัจจุบัน มันเป็นระบบที่ใช้ความเป็น “หนี้” และความ “เชื่อมั่น” ล้วนๆในการสร้าง ซึ่งเราเรียกเงินตราชนิดนี้ว่า fiat currency เพราะคำว่า fiat หมายถึงอำนาจการสั่งประกาศใช้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ที่จับต้องได้มาค้ำประกัน 100% บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ผู้เขียนจึงจะขอนำตัวอย่างจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาอ้างอิง

 

“พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๑๖ กำหนดไว้ว่า การนำธนบัตรออกใช้จะทำได้เพียง ๒ กรณี เท่านั้น คือ

 

๑. แลกเปลี่ยนทันทีกับธนบัตรที่ออกใช้ไปก่อนแล้วถอนคืนจากการออกใช้ในมูลค่าเท่ากัน

 

๒. แลกเปลี่ยนทันทีกับสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากัน และระบุไว้ในมาตรา ๓๐ ซึ่งจะต้องรับขึ้นบัญชีทุนสำรองเงินตรา

 

ทุนสำรองเงินตรา

 

ทุน สำรองเงินตรา คือ สินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ สินทรัพย์ดังกล่าว ธปท. จะต้องรักษาและกันไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่น ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในค่าของธนบัตรและเป็นหลักประกันว่าการออกใช้ธนบัตร มีขอบเขตอยู่เท่ากับสินทรัพย์ที่จะมาเป็นทุนสำรองเงินตรา

 

พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๓๐ กำหนดสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ดังนี้

 

๑. ทองคำ

๒. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักร หรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

๓. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ ๒.

๔. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ ที่นำส่งสมทบทุนกองทุนการเงิน

๕. ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง

๖. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน

๗. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ ๒. หรือเป็นบาท

๘. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้

 

สินทรัพย์ตาม ข้อ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ และ ๖ นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อย ละหกสิบของมูลค่าธนบัตรออกใช้”

 

(ที่มา www.bot.or.th

โปรดสังเกตุว่าโดเมนจะไม่ใช่ .go.th เพราะว่าธนาคารกลางไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ แต่เป็นพียงนิติบุคคลเหมือนที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในตอนแรก)

 

ซึ่ง จากที่เห็น จะแปลได้ว่าทองคำไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ต้องบังคับให้มีอยู่ไว้ค้ำ ประกัน เพราะข้อที่ 2 ถึง 6 นั้นแสดงให้เห็นว่าเพียงแค่มีหลักทรัพย์สินเชื่อ ธนาคารกลางก็สามารถออกใช้เงินตราได้ทันที และเงินตราระหว่างประเทศนั้นไม่ว่าจะเป็นธนบัตรหรือพันธบัตรต่างก็เกิดขึ้น จากกระดาษและความเชื่อมั่นโดยทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดมาค้ำประกันหรือแลกเป็นสิ่งของได้ 100% มันเป็นระบบทางคณิตศาสตร์ที่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์คือผู้ที่อยู่บนยอดปิรา มิด และผู้ที่ทนทุกข์ทรมาณก็คือชนชั้นกลางที่นับวันก็จะยิ่งทำงานหนักขึ้นเพื่อ หาเงินตรามีจำนวนที่มีมากขึ้นมาแลกของกินของใช้ที่มีจำนวนเท่าเดิมไปในแต่ละ วัน

 

ในประวัติศาสตร์กว่าพันปีที่ผ่านมา มนุษยชาติพยายามหาทางเอาชนะธรรมชาติที่มีทองคำและโลหะเงินเป็นเงินตราหลาย ต่อหลายครั้ง แต่ท้ายสุดก็ไม่มีครั้งใดเลยที่เงิน กระดาษจะยืนหยัดอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจักรวรรดิโรมัน จักวรรดิต่างๆในยุคกรีซโบราณ หรือในสมัยนาซีเยอรมัน เงินกระดาษต่างก็ล่มสลายและหมดค่าของมันลงเมื่อผู้คนเริ่มเข้าเห็นความผิด ปกติของเงินตราและวิ่งไปหาสิ่งของที่จับต้องได้ ซึ่งทุกๆวันนี้มันก็กำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง และนี่คือเหตุผลสำคัญที่สุดในการครอบครองโลหะเงินและทองคำในปัจจุบัน...

 

เขียน: OPAC

ตามเนื้อหาโอกาสเงิน2ที่นี่ครับ

http://www.facebook.com/groups/135029796643588/doc/136198286526739/

-PAXP-deijE.gif

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

www.bot.or.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพสต์ 05 มีนาคม 2012 - 05:09

 

ปริมาณทองคำและโลหะเงินที่ขึ้นมาแล้ว(อยู่บนโลก) ที่ยังไม่ได้ขุด ปริมาณที่ถือครองโดยธนาคารกลางทั่วโลก หลายครั้งทำให้ผู้อ่านสับสน ผมเลยไล่หาข้อมูลจากหลายที่เพื่อสรุปให้ชัดเจนขึ้น ผิดพลาดอย่างไรหรือข้อมูลไม่ตรงกับข้อมูลที่หลายท่านมี ช่วยให้ข้อมูลแย้งด้วยนะครับ เพื่อเพื่อนๆจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตัวเลขที่ผมหามาบางส่วนไม่ระบุปีพ.ศ. ดังนั้นข้อมูลจะคลาดเคลื่อนบ้างในตัวเลขแต่น่าจะทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น

 

ตั้งแต่เริ่มแรกโลกเรามีปริมาณทองคำมากกว่า โลหะเงิน ปริมาณแร่ทีผลิตได้จะได้โลหะเงินประมาณ10-16เท่าต่อทองคำ1เท่า ปัจจุบันผลิตแร่เงินได้ประมาณ10เท่าต่อทองคำ1เท่า ทองคำที่ขุดขึ้นมาอยู่บนโลกไม่ค่อยสูญหายไปไหนแต่โลหะเงินโดนกดราคาจนถูกมาก ทำให้ขั้นตอนในการรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สุดท้ายโลหะเงินจึงสูญหายเป็นขยะไป

 

 

---ในปี1950โลหะเงินที่อยู่บนโลกมี ถึง1หมื่นล้านออนซ์

 

----จากการประมาณการณ์ แร่เงินที่ยังไม่ขุดเหลืออยู่ประมาณ5.1แสนตัน(ไม่รู้ว่าตัวเลขนี้สำรวจปีไหน ) ปริมาณการบริโภคของโลหะเงินต่อปีประมาณ2.5หมื่นตัน แร่ทองคำที่ยังไม่ขุดผมยังไม่เจอข้อมูลครับ

 

----ปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมาทั้งหมดถึงปีพ. ศ.2515มีประมาณ 3พันล้านออนซ์(9.3หมื่นตัน) แต่หลังจากนั้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นทำให้ปริมาณการขุดขึ้นมาเพิ่มขึ้น อย่างมากมาย

 

--ปี1990ปีเดียวขุดทองคำได้1.74พันตัน

 

--ปีค.ศ.2010 จีนนำเข้าโลหะเงิน3.58พันตัน

 

--ปี2011อินเดียนำเข้าโลหะเงิน4.8พันตัน

 

---ถึงปัจจุบันมีโลหะเงินอยู่บนโลกประมาณแค่1พันล้านออนซ์(3.1หมื่นตัน) ทองคำที่อยู่บนโลกประมาณ7พันล้านออนซ์(ประมาณ2.2แสนตัน) ทองคำอยู่ในความครอบครองของธนาคารกลางทั่วโลกประมาณ3หมื่นตัน

---------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลบางส่วนที่ผมรวบรวมไว้ในโอกาสเงิน3(ข้อมูลส่วนนี้บางข้อมูลจะน่าเบื่อ นะเพราะเป็นfactและผมก็ทำสีเน้นส่วนสำคัญในเฟซไม่ได้ด้วยซิ)

http://www.facebook....35029796643588/

ขวาบนใต้ภาพสมาชิกจะมีคำว่าไฟล์ กดที่ไฟล์จะมีเนื้อหาต่างๆที่ผมรวบรวมไว้แยกเป็นหัวข้อครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เนื้อหาส่วนนี้ กำลังรวบรวมในเฟซชองผมครับ(หลายคนมือใหม่มากSET50คืออะไรก็ไม่ทราบ)

 

RMFและLTFสำหรับการลดหย่อนภาษี

 

----หลายคนกลัวหุ้น เลยไม่ใช้สิทธิลดหย่อยภาษี มีมุมมองมาเสริมสำหรับคนสนใจลดหย่อนภาษี

----สำหรับทองคำผมลง TGoldRMF-H ที่เลือกตัวนี้เพราะในหนังสือชี้ชวน เขาบอกว่าเขาเอาเงินเราไปลงทุนซื้อทองคำจริงแล้วนำไปฝากในคลังนิรภัยที่ สิงคโปร์หรือฮ่องกงที่รัฐบาลที่นั่นเป็นหุ้นส่วนด้วย ดูจะน่าเชื่อถือหน่อย มีอะไรเราก็ฟ้องธนชาติ

----RMFกองอื่นจะลงผ่าน SPDR(ซึ่งในส่วตัวผมกังวลว่าถ้าระบบเงินกระดาษมันล้มจะวุ่นวายมากขนาดไหน จะได้เงินคืนครบมั้ย จะฟ้องใครระหว่างตัวแทนที่เราซื้อในเมืองไทย หรือฟ้องต่างประเทศ

----RMFต้องลงทุนถึงอายุ55(กรณีถึง55แล้ว แต่ยังไม่ถึง5หรือ10ปีต้องลงทุน ต้องถือต่อก่อน ส่วนนี้จำเนื้อหาไม่ได้ ไว้จะมาแก้ไขเนื้อหาส่วนนี้ให้ถูกต้อง ลงRMFคุณต้องลงตลอดนะครับ(ยกเว้นช่วงตกงาน ลงอย่างต่ำปีละ5พัน ถ้าไม่ประสงค์จะลงทุกปีก็ต้องปีเว้นปี หยุดเลยจะโดนเรียกภาษีคืนพร้อมดอกเบี้ย

---RMFกองพันธบัตรกับกองหุ้น ก็เล่นสลับไปสลับมาได้ คือถ้าเป็นช่วงหุ้นน่าเข้าซื้อเขาก็สลับเงินRMFกองพันธบัตรเป็นหลักมากองRMF ที่เป็นหุ้น เมื่อไหร่หุ้นน่าขายก็โยกสลับRMFกองหุ้นไปRMFกองพันธบัตร

ใช้สลับนะครับ(switch)ห้ามขายนะครับ

 

---LTF ต้องลงทุนถึง5ปีพ.ศ.(คำว่า5ปีพ.ศ.มีจุดเด่นที่ทำประโยชน์ได้ครับ เดี๋ยวอธิบาย)

LTFถามว่าน่าลงทุนมั้ย ตอบยากครับ คือช่วงนี้น่าลงทุนเพราะQE3มา จะทำให้เงินไหลมาเอเซียและมาไทยเยอะ เงินไหลมาซื้อหุ้นจำนวนมากทำให้หุ้นขึ้น เงินไหลมาฝากกินดอกเบี้ยด้วยเพราะดอกเบี้ยเราสูงกว่ายุโรปและอเมริกา มาก(เงินฝากหรือซื้อพันธบัตรระยะสั้นหรือกองทุน พันธบัตรหรือมีอย่างอื่นไม่แน่ใจนะ) จะทำให้ค่าเงินบาทเเข็งขึ้น เวลาขายหุ้นกลับหรือถอนเงินบางส่วนกลับ จะกำไรทั้งราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยน

--เงินไหลไปที่ไหนจะทำให้เกิดเงินเฟ้อที่ นั่น หลายคนคงแปลกใจว่าอเมริกาอัดเงินเข้าระบบเขาเยอะแล้วทำไมอเมริกาเงินเฟ้อ น้อย ตอ้งบอกว่าเงินที่อัดไปไหลไปธุรกิจเก็งกำไรเป็็นส่วนใหญ่มาก มาเอเซียมาก เงินถึงเฟ้อมากในเอเซีย(แต่เมื่อไหร่คนไม่เชื่อดอลลาร์และเริ่มไม่ถือครอง ดอลลาร์ ซุปเปอร์สึนามิจะถล่มอเมริกาอย่างหนักมาก)

--ที่ว่าตอบยากว่าLTFน่าลงทุนมั้ย คือผมห่วงว่า เงินเฟ้ออ่อนๆจะทำให้ตลาดหุ้นดี ราคาหุ้นดี เงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าทรัพย์สินที่กิจการถือสูงขึ้น การปรับราคาขายทำให้ยอดตัวเงินเข้าบริษัทสูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นตามเงินเฟ้อ แต่ถ้าเงินเฟ้อหนักๆจะทำให้ธุรกิจไม่มีกำไรหรือถึงขั้นขาดทุน เงินเฟ้อสูงๆแต่ธุรกิจไม่อาจปรับราคาสินค้าตามตลาดได เพราะต้องการรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ อีกอย่างเงินเฟ้อสูงประชนจะเหลือเงินมาซื้อสินค้าต่างๆได้น้อยลง ประชาชนไม่มีเงินมาซื้อ ส่งออกก็คงไม่ดีหลายปีแล้วสุดท้ายราคาหุ้นจะเป็นไง กว่าครบ5ปีปฎิทิน แต่ที่คนได้ลดหย่อนภาษีเยอะเช่นได้ลดถึง30%ก็น่าสนนะ คือคุณได้ซื้อรวมสุทธิแล้วถูกกว่าตลาดถึง30%

--ทีเด็ดเรื่อง5ปีพ.ศ. ถ้าคุณซื้อช่วงปลายปีนี้ และไปขายต้นปีที่5(คุณลงทุนแค่3ปีนิดๆ)

ปี2555แม้แต่คุณซื้อเดือนธันวาคม พอถึงปี2556ถือว่าลงทุนมา2ปีแล้ว 2557(3) 2558(4ปี)

ต้นปี2559(5ปีขายวันที่2มกราคมก็ได้เลยนะ ผมเคยทำมาแล้ว)

---เทคนิคเพิ่มเติมอีกอย่าง เทคนิคเพื่มสำหรับคนไม่อยากลุ้นหุ้นเท่าไหร่ แต่อยากลดหย่อนภาษี คุณจะเสี่ยงมากแค่3ปีกว่าๆในตอนแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเสี่ยงน้อยลงปลายปีที4พอวันที่29หรือ30ธันวาคมคุณซื้อLTFล็อต ใหม่ พอวันที่2หรือ3มกราคมคุณก็ขายล็อตที่ครบ5ปีปฏิทินออกไป รวมแล้ว1-2วันราคาหุ้นไม่ต่างมากคุณเสียค่าใช้จ่ายนิดหน่อยในการซื้อและขาย แต่ได้ลดหย่อนภาษีเยอะ

---ถ้ายอดที่ขายคุณมีกำไร พอที่จะซื้อLTF29หรือ30ธันวาคมเต็มยอดเงินที่คุณได้ลดหย่อนอันนี้สบายซื้อ เต็มเลย เดี๋ยววันที่2หรือ3มกราคมคุณขายตัวที่ครบ5ปีปฎิทินออกก็ได้เงินคืนแล้ว(เสีย ค่าใช้จ่ายซื้อเข้าขายออกนิดหน่อย) แต่ถ้าราคาขายวันนั้นได้เงินไม่พอเนื่องจากหุ้นตกหรือคุณได้ปรับเงินเดือน ขึ้นเยอะ คงต้องตัดสินใจเองแล้วครับว่าจะซื้อเพิ่มมั้ย

 

-------ยังไม่จบนะครับ เดี๋ยวจะนำคำแนะนำของเพื่อนบางท่านเช่นคุณงูดินที่ผมเคยเก็บคำแนะนำไว้มาฝาก ครับ(ขออนุญาตคุณงูดินเพื่อการเผยแพร่ด้วยนะครับ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ next หายไปไหนครับ QE3 ออกแล้ว ออกแบบ no limit ระยะยาวกันไปเลย ไม่ต้องถามหา QE4 QE5 เลยนะ ออกครั้งเดียวจบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้น้องเสม คุณjohncmเเวะไปเยี่ยมเฟซผมด้วย น้องเสมมีลงกราฟทองคำและโลหะเงินด้วย ใครอยากดูกราฟต้องรีบมีเฟซแล้วตามไปที่

http://www.facebook....35029796643588/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Seam Arsenal

 

 

GC เเละ SI จะมีย่อไวๆนี้ เเนวรับ GC $1720 , $1682(น้องเสมโพสลงในเฟซผม ไปดูที่เฟซน้องเสม กราฟนี้น้องเสมยังไม่ได้ลงเฟซตัวเองเลยนะ)

 

185065_440043599375559_1119553257_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืนเห็นเเล้วค่ะ

เสียดายจัง น่าจะรีบปล่อยตั้งแต่เมื่อคืน

 

ไม่คิดว่าเร็วๆ นี้จะเป็นเช้านี้ โฮๆๆๆๆๆๆ

 

ขออนุญาติใช้คำว่า " รู้งี้.......... ขายตั้งเเต่เมื่อคืนเเล้ว "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืนเห็นเเล้วค่ะ

เสียดายจัง น่าจะรีบปล่อยตั้งแต่เมื่อคืน

 

ไม่คิดว่าเร็วๆ นี้จะเป็นเช้านี้ โฮๆๆๆๆๆๆ

 

ขออนุญาติใช้คำว่า " รู้งี้.......... ขายตั้งเเต่เมื่อคืนเเล้ว "

ต่างกันแค่ 100-200 บาท...ของจริง...ใกล้เข้ามาแล้ว...ขึ้นลงครั้งละ 400-700 บาท (ขาใหญ่)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...