ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

มาร์ติน อาร์มสตรอง

  • ทองคำอาจจะทำราคาที่สูงกว่านี้ได้ในวันศุกร์ (ศุกร์กลางคืนบ้านเรา)
  • สัปดาห์เป้าหมายต่อไป คือสัปดาห์ของวันที่ ๘ ต.ค. แนวต้านที่ ๑๗๙x ยังไม่เปลี่ยนแปลง และเราน่าจะได้เห็นการขึ้นไปทดสอบแนวต้านนั้น

ที่มา : http://anonym.to/htt...austerity-gold/

  • ไมเคิล ดีคแมน หัวเรือใหญ่ของ อัลลิอันซ์ บริษัทประกันระดับโลก ออกมาบอกว่าตอนนี้อัลลิอันซ์ หลีกเลี่ยงกับการลงทุนใหม่ในหนี้สาธารณะ
  • มาร์ตินบอกว่า นี่คือสิ่งที่เขาพยายามพูดมาตลอด นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอเวลาเกิดปัญหาเศรษฐกิจ
  • ไม่ต้องสนใจหรอกว่าดอกเบี้ยจะต่ำลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และต้องให้ความสนใจในตอนนี้ก็คือการเปลี่ยนที่อยู่ของเงิน จากการลงทุนในหนี้สาธารณะ เป็นการลงทุนในหนี้เอกชน
  • เมื่อทุนหนีเริ่มหนีจากหนี้สาธารณะ ดอกเบี้ยจะขึ้น และทำให้รู้สึกเหมือนเงินเฟ้อ และบังคับให้ธนาคารต้องเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเรื่อยๆเพื่อดึงทุนเข้ามา
  • รัดเข็มขัดดีๆ ถนนข้างหน้าจะขรุขระกว่านี้อีกมาก

ที่มา : http://anonym.to/http://armstrongeconomics.com/2012/09/28/sovereign-debt-crisis-causing-shift-from-public-to-private-investment/

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวรกรรมจริงๆ เฮ้อ!

 

 

Judge throws out CFTC's position limits rule

 

http://www.reuters.c...E88R1C120120928

 

 

US court scraps CFTC position limits rule

 

 

http://www.ft.com/in...l#axzz27olMKWza

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้าง

 

 

13 States Now Considering Gold and Silver as Money

 

 

http://fromthetrench...as-money/22392/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:_ee ศาลท่านอยากเปิดโอกาสให้ซื้อของถูกได้นานขึ้นอีกนิดครับ ราคาโดนทุบตอนนี้ไม่กลัวเท่ากับราคาเป็นจรวดแล้วไม่มีโอกาสสะสมเพิ่ม

 

เวรกรรมจริงๆ เฮ้อ!

 

 

Judge throws out CFTC's position limits rule

 

.....

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:_ee ศาลท่านอยากเปิดโอกาสให้ซื้อของถูกได้นานขึ้นอีกนิดครับ ราคาโดนทุบตอนนี้ไม่กลัวเท่ากับราคาเป็นจรวดแล้วไม่มีโอกาสสะสมเพิ่ม

 

ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ ว่ามันจะเป็นไปได้มั้ย ถ้าไม่มีการคุม position limit แล้ว เงินมหาศาลที่มาจาก QE ทั้งอดีตและอนาคต จะเข้ามาปั่นคอมโมทั้งหลายให้แพงขึ้น :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ ว่ามันจะเป็นไปได้มั้ย ถ้าไม่มีการคุม position limit แล้ว เงินมหาศาลที่มาจาก QE ทั้งอดีตและอนาคต จะเข้ามาปั่นคอมโมทั้งหลายให้แพงขึ้น :17

 

มันก็น่าจะได้นะครับ แต่ผมว่าเขาจะเอาการที่มีสถานะได้ไม่อั้นนี่มาทุบเสียมากกว่า

:Dh

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันก็น่าจะได้นะครับ แต่ผมว่าเขาจะเอาการที่มีสถานะได้ไม่อั้นนี่มาทุบเสียมากกว่า

:Dh

ขออย่าให้เป็นแบบนั้นเล๊ย แต่อย่างว่านั่นแหละ มันทุบเอาของ :_cd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 1 ตุลาคม 2555 04:00

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ศรษฐกิจโลกหากมองจากแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศหลักคือยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ก็ต้องสรุปว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ฟันธงได้ว่าความเสี่ยงที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าเป้ามีมากว่าความเสี่ยงที่จะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวสูงเกินคาดแม้ธนาคารกลางสหรัฐจะได้ประกาศมาตรการคิวอี 3 (พิมพ์เงินเพิ่มเพื่อซื้อพันธบัตรเอกชนเดือนละ 40,000 ล้านเหรียญ) ตามด้วยการประกาศเพิ่มการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางญี่ปุ่นเพื่อสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยน การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เห็นได้จากการส่งออกเดือนสิงหาคมซึ่งหดตัวลงเกือบ 7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการชะลอตัวของการส่งออกมิได้กระจุกตัวอยู่ที่ยุโรปแต่ชะลอตัวในเกือบทุกตลาดส่งออกของไทย

 

 

สำหรับการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ สรุปได้ดังนี้

 

 

เศรษฐกิจโลกโดยรวม : กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ นาง Lagarde ได้บอกใบ้เอาไว้แล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าไอเอ็มเอฟจะปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลงไปจาก 3.9% อีกเล็กน้อยเพื่อสะท้อนการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ยังขาดความชัดเจนของยุโรปและสหรัฐ นาง Lagarde แสดงความเป็นห่วงว่าความไม่แน่นอนดังกล่าวได้ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ชะลอตัวลงบ้างแล้ว

 

 

ยุโรป : ยังเป็นศูนย์กลาง (epicenter) ของความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก กล่าวคือ แบงก์ออฟอเมริกา-เมอร์ริลลินช์ ซึ่งเป็นพันธมิตรของภัทรประเมินว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะหดตัวลงติดต่อกัน 2 ปี กล่าวคือเศรษฐกิจยุโรปจะติดลบ 0.7% ในปีนี้และติดลบอีก 0.7% ในปีหน้า โดยเมอร์ริลลินช์เปรียบเทียบว่ายุโรปนั้นเสมือนติดอยู่ในทรายดูด (quicksand) ของการที่ประเทศในภาคใต้ (สเปน อิตาลี กรีก โปรตุเกส) ยังต้องรัดเข็มขัดทางการคลัง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว หนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงขึ้น (เพราะจีดีพีลดลง) ทำให้ต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น ประเทศที่ย่ำแย่มานานแล้วคือกรีกก็ยังย่ำแย่อยู่และยังตกลงกันไม่ได้ว่ากรีกจะได้รับเงินช่วยเหลืองวดใหม่หรือไม่ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำมากจึงพลาดเป้าการลดการขาดดุลงบประมาณ ทำให้ต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นอีก แต่ประชาชนกรีกใกล้จะหมดความอดทนแล้ว (เพราะเศรษฐกิจติดลบติดต่อกันเข้าปีที่ 5 แล้ว) ทำให้ยังมีความเสี่ยงว่าหากตกลงกันไม่ได้รัฐบาลกรีกอาจต้องพักชำระหนี้ในกลางเดือนตุลาคม

 

 

สำหรับสเปนนั้นสถานการณ์ก็น่าเป็นห่วงมากขึ้น แม้ว่าการประกาศมาตรการ outright monetary transaction (OMT) ของธนาคารกลาง (อีซีบี) จะทำให้นักลงทุนพึงพอใจอยู่ได้ระยะหนึ่ง แต่ปัญหาก็กำลังกลับมารุมเร้าสเปนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้คือ

 

 

1. ประชาชนไม่พอใจมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างมากและเดินขบวนต่อต้านจนเกิดการปะทะกันขึ้นที่กรุงมาดริดเมื่อวันที่ 25 กันยายน เพราะนายกรัฐมนตรีราฮอย เคยสัญญาเอาไว้ก่อนได้รับเลือกตั้งว่าจะไม่ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง แต่ต่อมาต้องกลับคำเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจ ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นเป็น 7%

 

 

2. มาตรการ OMT ที่กล่าวข้างต้นคือการที่อีซีบีสัญญาว่าจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสเปนโดยไม่จำกัดจำนวนในตลาดรองเพื่อช่วยลดดอกเบี้ยพร้อมกับการนำเอาเงินส่วนหนึ่งจากกองทุนอีเอสเอ็ม (มูลค่ารวม 5 แสนล้านยูโร) มาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสเปนที่ออกใหม่ ซึ่งจะช่วยสถานะทางการเงินของรัฐบาลสเปนอย่างมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลสเปนจะต้องลงนามในบันทึกช่วยจำเพื่อรับเงื่อนไขจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการให้ไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยควบคุมให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ซึ่งในทางการเมืองนั้นย่อมจะทำให้ความนิยมของนายกราฮอยตกต่ำลงไปอีก เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าเงื่อนไขหนึ่งที่จะถูกตั้งขึ้นให้รัฐบาลต้องยอมรับคือการลดบำนาญลงทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่นายกราฮอยเคยยืนยันว่ารับไม่ได้

 

 

3. สเปนประกอบด้วยแคว้นที่มีความรู้สึกในทางชาตินิยมในระดับท้องถิ่นสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รัฐบาลกลางคุมการขาดดุลงบประมาณโดยรวมไม่ได้ เพราะไม่มีอำนาจคุมการขาดดุลในระดับแคว้นต่างๆ ทำให้แคว้นต่างๆ มีปัญหาทางการเงินและรัฐบาลต้องตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อแลกกับการเข้าไปคุมวินัยทางการคลังของแคว้นดังกล่าว แต่ก็เกิดปฏิกิริยาทางการเมืองจากแคว้น Catalonia ซึ่งขาดดุลงบประมาณสูงและได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางพร้อมกับการขอลดการส่งรายได้เข้าไปยังส่วนกลาง แต่ถูกนายกราฮอยปฏิเสธ ทำให้ผู้นำของแคว้นประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยประกาศให้การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเสมือนการลงประชามติพร้อมกันไปว่า แคว้น Catalonia จะแยกตัวออกจากประเทศสเปนหรือไม่ ทั้งนี้แคว้น Catalonia มีขนาดประมาณ 20% ของจีดีพีของสเปนทั้งหมด เมืองหลวงของ Catalonia คือนคร Barcelona ก็เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของสเปนที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทำให้เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจของสเปนกำลังพัฒนาไปสู่วิกฤติทางการเมืองและรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

 

 

4. อิตาลีนั้นแม้จะขาดดุลงบประมาณไม่มาก (ประมาณ 2.3% ของจีดีพีในปีนี้) แต่ก็พลาดเป้าทำให้ต้องรัดเข็มขัดทางการคลังเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจอิตาลีก็น่าจะยังหดตัวลงอีก 1.2% ในปีหน้าตามการคาดการณ์ของเมอร์ริลลินช์ เรื่องนี้อาจส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมอนตี้ ซึ่งเป็นรัฐบาลคนนอกที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองที่จะต้องเผชิญหน้ากับการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า

 

 

สหรัฐอเมริกา : แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐออกมาตรการคิวอี 3 เพื่อช่วยอุ้มเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แต่ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่ามาตรการกดดอกเบี้ยของสหรัฐ (ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว) นั้นนอกจากจะไม่ช่วยแล้วก็อาจทำให้ขาดแรงชักจูงในการแก้ปัญหาอีกด้วย เพราะธนาคารกลางสหรัฐได้ดำเนินการพิมพ์พันธบัตรออกมาเป็นรอบที่ 3 แล้ว แต่เท่าที่ผ่านมาเงินที่พิมพ์ออกไปนั้นธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้นำไปปล่อยกู้ต่อให้กับประชาชนแต่กลับนำเงินกลับมาฝากที่ธนาคารกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะธนาคารพาณิชย์สหรัฐระมัดระวังเป็นพิเศษอันเป็นผลพวงมาจากกฎหมายควบคุมธนาคารฉบับใหม่ที่มีความรัดกุมเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นประชาชนก็ยังมีปัญหาหนี้มาก แต่มีงานทำน้อย ทำให้อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยหลักในการประเมินความเป็นไปได้ของการปล่อยสินเชื่อ

 

 

สำหรับส่วนที่ดอกเบี้ยต่ำจะทำให้ขาดแรงจูงใจนั้น เพราะตราบใดที่รัฐบาลสหรัฐยังกู้เงินได้ที่ดอกเบี้ย 0.25% ในการออกพันธบัตร 2 ปีก็ไม่น่าที่รัฐบาลสหรัฐจะเห็นความเร่งรีบในการเพิ่มวินัยทางการคลัง (เพราะเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5% แปลว่ายิ่งกู้ก็ยิ่งได้เปรียบ) นอกจากนั้นก็ยังมีความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งไม่น่าจะลดลงจนกว่าหลังการเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายน ซึ่งจะมีผลในการยืดอายุกฎหมายลดภาษีหลายฉบับที่จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม ทำให้แรงกระตุ้นจากภาครัฐหายไปถึง 4% ของจีดีพี ผู้ที่มองโลกในแง่ดีก็จะเชื่อว่าประธานาธิบดี (ซึ่งน่าจะยังเป็นนายโอบามาแห่งพรรคเดโมเครต) กับรัฐสภา (ซึ่งพรรคริพับลิกันน่าจะยังได้เสียงข้างมากในสภาล่าง) จะตกลงกันได้ในที่สุด แต่เรากำลังเริ่มเห็นว่าธุรกิจต่างๆ เริ่มรับรู้ความเสี่ยงข้างต้น ทำให้ชะลอการตัดสินใจลงทุน จ้างงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแออยู่ในขณะนี้

 

 

จีน : อยู่ระหว่างการผลัดเปลี่ยนผู้นำ จึงอาจทำให้นโยบายต่างๆ ขาดความต่อเนื่อง และการผ่อนปรนทางเศรษฐกิจ (ทั้งนโยบายการคลังและการเงิน) ที่นักลงทุนคาดหวังก็ไม่เกิดขึ้น นอกจากนั้นความขัดแย้งกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของเกาะ Senkakus (ชื่อของญี่ปุ่น) หรือ Diaoyu (ชื่อของฝ่ายจีน) ก็ได้บานปลายกระทบกับธุรกิจและความน่าลงทุนของจีน และกระทบกับรายได้และการส่งออกของญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ อันจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ที่สำคัญคือโดยปกติแล้วเรามักจะเชื่อกันว่ารัฐบาลจีนมีอำนาจและความสามารถสูงในการควบคุมรักษาเสถียรภาพและความสงบในประเทศ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้อาจมีการตั้งคำถามได้ว่าในช่วงผลัดเปลี่ยนผู้นำนั้น อำนาจในการควบคุมเสถียรภาพและความสงบในประเทศนั้นด้อยลงหรือไม่

 

Tags : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GOLD & SILVER EXPLODE TO $35.50 & 1793 AS CHICAGO FED’S EVANS CALLS FOR MORE QE!

 

Gold and silver have just gone vertical as the Chicago Fed President Charles Evans has just appeared on CNBC calling for QE∞ squared!

Silver has exploded nearly $1.50 to $35.50, and gold has jumped nearly $20 to a new 2012 high of $1793!

 

http://www.silverdoc...-qe/#more-14734

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

 

วันที่ 1 ตุลาคม 2555 11:20

สิงคโปร์ยกเลิกภาษีทองคำปูทางสู่ฮับเอเชีย

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

news_img_472155_1.jpg

 

(ภาพ goldbullionlondon.com)

สิงคโปร์ประกาศยกเลิกภาษีทองคำ-เงิน หวังยกระดับประเทศเป็นศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า แข่งกับลอนดอนและซูริก

 

สิงคโปร์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางธนบดีธนกิจระดับโลก พยายามผลักดันตัวเองให้เป็นคลังทองคำแห่งเอเชีย ด้วยการยกเลิกภาษี 7% สำหรับการซื้อขายทองคำและเงิน เริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้ (1 ต.ค.) เป็นต้นไป

การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความ พยายามผลักดันประเทศสู่การเป็น ศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า แข่งกับกรุงลอนดอน ของอังกฤษ และเมืองซูริก ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อขายทองคำเพื่อการลงทุน

นักลงทุนแห่ซื้อทองคำและเงินในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดอาการสะดุด โดยส่วนใหญ่เลือกซื้อทองคำแท่ง ก้อนโลหะมีค่า และเหรียญ เพื่อปกป้องความมั่งคั่งของตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการลงทุน ทำให้สิงคโปร์ ที่พยายามสร้างภาพตัวเองเป็นแหล่งลงทุนปลอดภัย มั่นคง และไม่ซักถามจุกจิก ตั้งความหวังว่าจะกลายเป็นแหล่งลงทุนทองคำและเงินสำหรับนักลงทุนมากขึ้น

นายเซดริก ชานุ ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าโลหะมีค่าในเอเชีย ของดอยช์แบงก์ กล่าวว่า ลูกค้าที่ต้องการโยกไปลงทุนในทองคำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีลูกค้าที่ต้องการย้ายทองคำจากยุโรปมาที่สิงคโปร์

หลังจากยกเลิกภาษีทองคำและเงินแล้ว สิงคโปร์ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งตลาด 10-15% ของความต้องการทองคำทั่วโลก ภายในเวลา 5-10 ปี เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2% ในปัจจุบัน

นายเกรเกอร์ เกรเกอร์สัน ผู้อำนวยการบริษัทซิลเวอร์ บุลเลียน ซัพพลายเออร์ทองคำและ เงินในสิงคโปร์ กล่าวว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมในระดับต่ำของสิงคโปร์ และความมั่นคงทางการเมือง จะเป็นปัจจัยหลักในการทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการค้าโลหะมีค่า เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกปลอดภัย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

2 ตุลาคม 2555

 

General News

------------------

 

• รัฐบาลกรีซได้เริ่มเปิดการเจรจารอบใหม่กับ Troika เพื่อขอรับเงินกู้งวดใหม่ โดยกรีซต้องโน้มน้าวให้ Troika เห็นชอบกับมาตรการลดรายจ่ายและขึ้นภาษีมูลค่ารวม 1.35 หมื่นล้านยูโรในปี 2556-2557 เพื่ออนุมัติเงินกู้รอบใหม่กับกรีซ ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมกับ Troika รมต.คลังกรีซจะยื่นร่างงบประมาณปี 2556 ต่อรัฐสภาเป็นลำด

ับต่อไป

 

• อัตราว่างงานของยูโรโซนในเดือน ส.ค.คงที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 11.4% เป็นผลมาจากการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในหลายประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐต้องลดตำแหน่งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจลงหลายตำแหน่ง ทำให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นรวม 34,000 คน

 

• ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือน ก.ย.อยู่ที่ 46.1 จุด เพิ่มขึ้นจาก 45.1 จุดในเดือนก่อน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมัน อิตาลี และสเปน ปรับเพิ่มขึ้นสู่ 47.4, 45.7 และ 44.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ ของฝรั่งเศสลดลงมาอยู่ที่ 42.7 จาก 46.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 41 เดือน (ดัชนีในระดับต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนยังอยู่ในภาวะการหดตัวลง)

 

• ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐในเดือน ก.ย.เพิ่มขึ้นสู่ 51.5 จาก 49.6 ในเดือนก่อน แสดงว่า ภาคการผลิตกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากยอดการสั่งซื้อ และการส่งออก ที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนก่อน

 

• นักวิเคราะห์ต่างประเทศรายหนึ่ง รายงานว่า เม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าตลาดทุนในประเทศเกิดใหม่เริ่มมีอัตราชะลอลงเนื่อง จากรอดูผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในประเทศพัฒนาแล้วว่าจะส่งผลต่ออัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่แค่ไหน อย่างไรก็ตาม สำหรับกองทุนซึ่งลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกนั้นเริ่มมีการกำหนดน้ำหนักลง ทุนเพิ่มขึ้นใน ไทย เกาหลีใต้ รัสเซีย และ จีน

 

RAPAPORT รายงานในสัปดาห์ก่อนว่า FactorShares ได้ส่งโครงการถึง กลต.สหรัฐ เพื่อขอจัดตั้งและจำหน่ายกองทุน ETF รวม 3 กองทุนภายใต้ชื่อ PureFunds ได้แก่

 

1. PureFunds ISE Diamond/Gemstone ETF มีนโยบายลงทุนในบริษัทเหมืองเพ็ชร อัญญมณี และกิจการของผู้ค้าปลีก

 

2. PureFunds ISE Mining Service ETF มีนโยบายลงทุนในบริษัทสำรวจเพ็ชร/อัญญมณี

 

3. PureFunds ISE Junior Silver ETF มีนโยบายลงทุนในบริษัทเหมืองเงิน

 

ทั้งนี้ จะออกขายไอพีโอก่อนสิ้นปีนี้ โดยระบุว่า มีความต้องการเพ็ชรพลอยเพิ่มขึ้นสูงมากในปีก่อนๆ เนื่องจากผู้ลงทุนทั่วโลกต้องการลงทุนในสินทรัพย์จริง (Hard Assets) เพื่อเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย เพราะนักลงทุนเชื่อว่าค่าเงินสกุลต่างๆ จะลดลงไปอีกมาก

 

• ดัชนีภาคการผลิตของจีนในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นสู่ 49.8 จาก 49.2 ในเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 จุดเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของจีนยังหดตัวลง

 

• ธนาคารกลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในไตรมาส 3 ลดลงมาอยู่ที่ -3 จุด จากเดิม -1 จุดในไตรมาสก่อน โดยติดลบ 4 ไตรมาส ติดต่อกัน บ่งชี้ว่า ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ยังคงขาดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต อันเป็นผลมาจากมุมมองเชิงลบที่มีต่อเศรษฐกิจจีน และยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของญี่ปุ่น

 

• ยอดส่งออกเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.ลดลง 1.8% ซึ่งเป็นการลดลงเป็น 3 เดือนติดต่อกัน อันเป็นผลมาจากเงินวอนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออก รวมทั้งยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรป

 

• อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย.ของอินโดนีเซียอยู่ที่ 4.31% จาก 4.58% ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการชะลอตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือน จากราคาอาหาร และการขนส่งที่ชะลอตัวลงหลังการเฉลิมฉลองในเทศกาลประจำชาติของอินโดนีเซียจบ ลง

 

• ยอดหนี้สาธารณะของไทย ณ สิ้นเดือน ก.ค.อยู่ที่ 44.19% ของ GDP เพิ่มขึ้นจาก 43.34% ในเดือนก่อน โดยอยู่ที่ 4,899,877 ล้านบาท หรือปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 108,343 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น 64.60 พันล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 60.89 พันล้านบาท

 

• อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือน ก.ย.ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.38% จาก 2.69% ในเดือนก่อน โดยเป็นผลมาจากหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 13.97% จากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าที่มีผลในเดือนที่ผ่านมา และระดับฐานที่ต่ำในปีก่อน ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 4 จะอยู่ในช่วง 3.20% - 3.50% และทำให้ทั้งปีอยู่ในช่วง 3.00% – 3.40%

 

• ครม.มีกำหนดพิจารณารายละเอียดโครง การจำนาข้าวประจำปี 2555 – 2556 ในวันนี้ โดยคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณรวม 400,000 ล้านบาท ซึ่งก.เกษตร ประเมินว่า จะมีข้าวเข้าโครงการจำนำประมาณ 23.5 ล้านตัน

 

เศรษฐกิจของไทยในเดือน ส.ค.

----------------------------------

 

1) ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4.1% จากยอดขายรถที่ขยายตัวต่อเนื่อง

 

2) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 14.2%

 

3) ดัชนีผลผลิตหดตัวลง 11.3% จากผลกระทบของการชะลอตัวในเศรษฐกิจโลก

 

4) ดัชนีรายได้เกษตรกรปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.8% จากผลผลิตที่ขยายตัว

 

5) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 858 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อน จากการเกิดดุลการค้า 1,540 ล้านดอลลาร์

 

Equity Market

-----------------

 

• SET Index ปิดที่ 1,299.71 จุด เพิ่มขึ้น 0.92 จุด หรือ 0.07% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 31,103 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 860 ล้านบาท โดยดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ เนื่องจากยังคงไร้ปัจจัยบวกใหม่มาสนับสนุน รวมทั้งการที่ตลาดในภูมิภาคหลายแห่งปิดทำการ

 

• Marc Faber ยังคงยืนยันว่า มีโอกาส 100% ที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ซึ่งหุ้นจะได้รับผลกระทบจากการเทขายอย่างหนักในอนาคต

 

และแม้ว่า Faber จะชื่นชอบทองคำโดยจะไม่ยอมขายออกจากพอร์ตลงทุนของเขาเอง แต่เขาก็ระบุว่า ทองคำก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วยการปรับฐานเช่นกันเพราะมีการขึ้นติดต่อกัน มาระยะหนึ่งแล้ว

 

ทั้งนี้ เขามีมุมมองที่เป็นลบอย่างยิ่งต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น เนื่องจากคาดว่าตลาดกำลังจะเข้าสู่ภาวะปรับตัวของราคาที่จะทำให้เกิดความผิด หวังได้ เพราะเขาเชื่อว่าหุ้นในสหรัฐอาจลงมาได้ง่ายๆ ถึง 20% จากจุดสูงสุดที่ผ่านมานี้

 

อย่างไรก็ตาม Mark Faber ก็ไม่ได้เทขายทุกอย่างที่เขาลงทุนแล้วหันไปถือเงินสดแทน เขาระบุว่า ....

 

“ผมไม่ได้ถือเงินสด 100% เนื่องจากผมอาจคิดผิดก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วผมเชื่อว่าคนที่ลงทุนในหุ้น ในทองคำ และในสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ในสัดส่วนสูงจะพบกับภาวะที่มีคนขายทำกำไรออกไปบ้าง

 

Fixed Income Market

-------------------------

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุมากกว่า 1 ปี มีการปรับตัวลดลงช่วงระหว่าง -0.03% ถึง -0.01% ขณะที่รุ่นอายุต่ำกว่า 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตรธปท. อายุ 1 3 6 และ 11 เดือน มูลค่ารวม 120,000 ล้านบาท

 

 

Guru Corner

---------------

 

• Marc Faber

 

เมื่อเงินเฟ้อเกิดขึ้น มันก็มีวันต้องจบสิ้นทุกครั้ง เพียงแต่เราไม่รู้ว่าเมื่อไรฟองสบู่มันจะระเบิดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากการบริโภคในยุค 1970`s ไม่ว่าราคาหุ้นใน Nasdaq ที่พุ่งกระฉูดในปี 2000 ไม่ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่บูมมากในช่วงปี 2007-2008 หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่กี่ปีนี้ ทุกครั้งล้วนมีจุดจบ

 

แม้ว่าเงินทองจะหลั่งไหลไปสู่มือคนรวยๆ ในตลาดเงินตลาดทุน แต่มันก็ทำให้ผมนึกภาพออกเลยว่า ในวันหนึ่งข้างหน้า พวกที่ร่ำรวยเหล่านี้จะเจ็บปวดที่สุดจากการโดนเพิ่มภาษีอย่างหนัก ไม่เช่นนั้นก็จากการที่สินทรัพย์ที่มีอยู่มีราคาตกต่ำลงอย่างมาก

 

• Jim Rogers

 

Jim Rogers เขียนหนังสือ A Gift to My Children: A Father's Lessons for Life and Investing เพื่อเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแก่ลูกเล็กๆ ของเขาไว้อ่านในอนาคต โดยระบุเรื่องที่มีคุณค่าหลายอย่าง เช่น

 

“จงรับรู้ความเปลี่ยนแปลงและสนองตอบ คนที่ปรับตัวไม่ได้จะสูญเสีย ส่วนคนที่ปรับตัว และสนองตอบได้ดีจะได้รับประโยชน์”

 

“การลงทุนที่ประสพผลสำเร็จคือการเข้าไปลงทุนก่อนใครในขณะที่ยังมีราคาถูก ในขณะที่ทุกอย่างดูแย่ไปหมด และในยามที่ทุกคนรู้สึกท้อถอย”

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...