ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เอาของจริง(กาซธรรมชาติ) มาแลกกับของในจินตนาการ(กระดาษ) เถอะนะ...

  • แกซพรอม (บ.พลังงานรัสเซีย) เสนอที่จะอุ้มธนาคารไซปรัส เพื่อแลกกับสิทธิ์ของกาซธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษในไซปรัส
    (อ้าว .. ถ้ามีทองคำอยู่ในมือแบบนี้ ก็สูบมาจ่ายหนี้ดิว๊าาา ไปยอมเป็นเบี้ยให้เยอรมัน/อีซีบีทำไม <_< )

http://greece.greekreporter.com/2013/03/18/gazprom-offers-cyprus-restructuring-deal-to-avoid-eu-bailout/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 01:00

CYPRUS : รหัสลับวิกฤติโลก

 

โดย : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

 

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กำลังคิดว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติในยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว ผมกำลังจะบอกว่า "ไม่ใช่" เลย

สิ่งเลวร้ายสุดๆ กำลังจะมาเยือนต่างหาก โดยรหัสลับที่จะเปิดประตูสู่วิกฤตินั้นก็อาจเป็น CYPRUS นั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่า สงครามของ "หลักเศรษฐศาสตร์" และ "ระบบยูโร" นั้นเป็นแบบไตรภาคแทนที่จะเป็นแบบม้วนเดียวจบ โดยภาคแรกเริ่มตั้งแต่ปี 2011 ไปจนถึงกลางปี 2012 นั้น "เศรษฐศาสตร์" ได้รุกไล่จน "ระบบยูโร" เกือบล่มสลาย ขณะที่กลางปี 2012 เป็นต้นไปนั้น ผู้นำของ ECB และ ยูโรโซนหลายประเทศ ได้ทุ่มเทสรรพกำลังดำเนินนโยบายแบบ Eurozonomics ซึ่งย้อนแย้งกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แทบทุกมิติ จึงพิทักษ์ "ระบบยูโร" เอาไว้ได้ ส่งผลให้ภาค 2 ซึ่งก็คือ ตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2012 นั้นเป็นชัยชนะของ "ระบบยูโร" โดยแท้ แต่สำหรับภาคที่ 3 ซึ่งเป็นภาคสุดท้าย ผมคิดว่า "ระบบยูโร" ยังคงอันตรายอย่างยิ่ง และเสี่ยงต่อภาวะล่มสลาย

ไซปรัส (Cyprus) ซึ่งเป็นเกาะในทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน อยู่ทางตะวันออกของกรีซ และ ทางใต้ของตุรกี มีประชากรเพียง 8.6 แสนคน ซึ่งน้อยกว่าจังหวัดขอนแก่นของไทยเสียอีก แต่มีนักท่องเที่ยวราว 2.4 ล้านคนต่อปี (3 เท่าของประชากร) ขนาดเศรษฐกิจก็เพียง 25 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 1 ใน 12 ของประเทศกรีซเท่านั้น เหตุใดเกาะเล็กๆ แห่งนี้อาจเป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสึนามิเศรษฐกิจกระทบไปทั่วโลกได้ มาดูรายละเอียดกันครับ

ไซปรัส มีโอกาสสูงที่จะออกจากระบบเป็นประเทศแรกในยูโรโซน หลังจากเริ่มขอความช่วยเหลือจากทรอยก้า (EC, ECB และ IMF) เป็นประเทศที่ 5 ตั้งแต่กลางปี 2012 โดยธนาคารในประเทศเกิดความเสียหายจากการลงทุนในพันธบัตรกรีซจำนวนมาก มีเหตุผล 4 ประการที่สนับสนุน ดังนี้

1. ไซปรัสมีความผูกพันอยู่กับ "ยูโร" ระยะเวลาสั้น เพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น เพราะ เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2008 และ หลังจากใช้เงินสกุลนี้ก็ดูเหมือนเศรษฐกิจจะย่ำแย่มาโดยตลอด ภาพพจน์ของเงินยูโรในสายตาประชาชนดูเลวร้าย

2. แม้ไซปรัสจะมีหนี้ภาครัฐต่อ GDP อยู่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในยูโรโซนโดยอยู่ระดับ 71% เท่านั้น แต่การใช้เงินยูโรกลับทำให้ประเทศเกาะแห่งนี้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และ เสียสมดุลมากที่สุด โดยดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบอย่างหนักถึง -10.4% GDP ในปี 2011 เมื่อเทียบกับ กรีซที่ -9.8% โปรตุเกส -6.4% สเปน -3.5% และ อิตาลี -3.2% ตามลำดับ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาที่แท้จริงของยูโรโซนนั้นไม่ได้อยู่ที่หนี้สินภาครัฐ แต่อยู่ที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่างหาก โดยประเทศที่ขาดดุลมากหมายถึง ใช้ค่าเงินที่แข็งเกินไปมาก จะทำให้ติดหนี้สินต่างประเทศมาก จำเป็นต้องไฟแนนซ์เงินด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และ ดูเหมือนว่าความรุนแรงของปัญหาใน PIIGS จะหนักหน่วงผันแปรตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้เสียด้วย คือ ไซปรัสและกรีซมีปัญหาหนัก ขณะที่ สเปน อิตาลี ยังอยู่ระดับมีปัญหาพอสมควร

3. ผู้นำของไซปรัสไม่เกรงใจทรอยก้า ซึ่งจะต่างจากกรณีของกรีซ โดยจะไม่ยอมรับเงื่อนไขการรัดเข็มขัดการคลัง รวมไปถึงการถูกบังคับขายรัฐวิสาหกิจ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ ซึ่งเรื่องนี้ถือได้ว่าสำคัญมากทีเดียว ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ ซึ่งจะต้องหาเสียงกันแบบไม่ยอมรับนโยบายรัดเข็มขัดเป็นแน่ เพราะ ปัจจุบันเศรษฐกิจก็ถดถอยอยู่แบบ -2% ต่อปี และ มีการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ แตะระดับ 14% ไปแล้ว นอกจากนี้ ไซปรัสยังหวังจะหาเงินช่วยเหลือซึ่งก็เป็นวงเงินไม่สูงนัก จากประเทศรัสเซียได้ด้วย

4. ทรอยก้า คงเห็นประเทศนี้เล็กมากๆ ไม่มีผลอะไรนักที่จะยอมปล่อยให้ออกจาก "ระบบยูโร" ไปได้

สิ่งสำคัญก็คือ ภาวะหลังจากการออกจาก "ระบบยูโร" ซึ่งผมคิดว่าระบบยูโรนี้คือ ความผิดพลาดครั้งใหญ่ของระบบการเงินโลกเลยทีเดียว เพราะ ประเทศที่อ่อนแอจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่า เป็นลูกหนี้หนักขึ้นเรื่อยๆ แถมถูกบังคับให้รัดเข็มขัดการคลัง ผู้คนถูกลดเงินเดือน แถม อัตราว่างงานสูงอีกด้วย จึงสูญเสียอิสรภาพทั้งการเงินการคลังโดยสิ้นเชิง

การเลิกใช้ "ยูโร" จึงน่าจะกลับส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไซปรัสอย่างเร็ว โดยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ และ อัตราว่างงานลดลง เพราะ สามารถกลับไปใช้ค่าเงินที่เหมาะสมและมีดุลยภาพ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ การส่งออก และ การท่องเที่ยวได้ แต่ผลดีของประเทศไซปรัสนั้นอาจเป็นผลเสียหายต่อยูโรโซน

เพราะเมื่อประชาชนของประเทศ PIIGS เห็นเหตุการณ์แบบนั้น ก็คงคิดว่า "พวกเราจะมาทนอยู่อย่างยากลำบาก ถูกตีโซ่ตรวนด้วยระบบเงินยูโร จนกลายเป็นทาสของประเทศเยอรมนีเพื่ออะไรกัน การประกาศอิสรภาพอย่าง ไซปรัส จะมิดีกว่าหรอกหรือ" และ นี่เองอาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะล่มสลายของ "ระบบยูโร"

หลายคนอาจคิดว่าสิ่งเลวร้ายที่สุดของยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความเป็นจริงก็คือ "เงินยูโร" ระบบปัจจุบันคือ ต้นตอปัญหาใหญ่ซึ่งยังไม่ได้แก้ไขเลยแม้แต่น้อย สิ่งนี้จะเชื่อมระหว่างประเทศแข็งแรง (เยอรมนี เนเธอร์แลนด์) โดยจะเป็นประเทศเจ้าหนี้ และ ประเทศอ่อนแอ (PIIGS) เป็นประเทศลูกหนี้ ซึ่งต้องติดหนี้เพิ่มเรื่อยๆ และ จ่ายดอกเบี้ยสูงอีกด้วย ความสัมพันธ์ผ่าน "ระบบเงินยูโร" จึงคล้าย นายทาสกับทาส หรือ จักรวรรดิกับอาณานิคม เมื่อมีประเทศต่างๆ ต้องการออกจากระบบนี้กลับมามีอิสรภาพ สามารถกลับไปใช้ค่าเงินที่เหมาะสมกับประเทศตนเอง โดยเริ่มจาก "ไซปรัส" ก็น่าจะสร้างความปั่นป่วนต่อเสถียรภาพเงินยูโร และตลาดการเงินของโลกอยู่ไม่น้อยเลย

C-Y-P-R-U-S จึงเป็นรหัสที่อันตรายอย่างยิ่งยวด แม้จะเป็นผลประโยชน์ของชาติที่ผู้นำควรตัดสินใจทำเพื่อประชาชนของประเทศตน เอง ให้หลุดพ้นจากโซ่ตรวน "เงินยูโร" สู่อิสรภาพ และ นำพาเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ มีการจ้างงานเพิ่ม อย่างไรก็ดี การทำเพื่อชาตินี้อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพของ "ระบบเงินยูโร" และ "ยูโรโซน" ไปด้วย ซึ่งนั่นหมายถึง ความยุ่งเหยิงของการเงินโลกอีกครั้งจะกลับมาเยือน เพราะ ประเทศ PIIGS บางประเทศจะหาทางเดินหน้าสู่อิสรภาพจากโซ่ตรวน "เงินยูโร" เพื่อฟื้นเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

"CYPRUS" จึงเป็นรหัสลับตัวอักษร 6 ตัวที่อันตรายยิ่งแต่ก็มีน้อยคนนักจะล่วงรู้และสังเกตเห็น แรงสั่นสะเทือนบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ซึ่งมีประชากรไม่ถึง 1 ล้านคน อาจก่อให้เกิดสึนามิทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกกระทบผู้คนถึง 7 พันล้านคนได้เลย และหากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงก็อาจมีทฤษฎี "ไซปรัสไท้เก๊ก" (Taiji Cyprus Theory) ตามมาด้วย ซึ่งหมายความว่า "การที่ประเทศเล็กๆ แม้จะดำเนินนโยบายที่ถูกต้องเป็นผลบวกต่อประเทศตนเองก็ตาม แต่สิ่งนั้นกลับส่งแรงสะท้อนกลับเป็นผลลบต่อโลกได้ในระดับที่ยิ่งใหญ่ขึ้น หลายพันเท่า"

อย่างไรก็ดี หากจะคิดในแง่บวกก็คือ ประเทศที่อ่อนแอในยูโรโซน (PIIGS และ ไซปรัส) จะสามารถประกาศอิสรภาพจากโซ่ตรวนยูโรได้ จึงสามารถดำเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ หากเกิดวิกฤติโลกขึ้นจริง โลกก็ได้มีแผนสำรองที่จะรับมือไว้แล้ว.... "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" (Taiji-Econ.) ไงละครับ

Tags : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านเพลินเลยครับ ขอบคุณพี่ ๆ ใจดีทุกท่านที่นำข่าวที่มีประโยชน์มาโพสท์ให้อ่านกันครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารไซปรัสเจอโรคเลื่อนอีกแล้วครับ

  • ธนาคารต่างๆในไซปรัส จะหยุดทำการต่อจนถึงวันอังคารหน้า
    (เริ่มแรกปิดแค่วันจันทร์วันเดียว, จันทร์-อังคาร, จันทร์-พฤหัส, จนตอนนี้ จันทร์ - จันทร์)
  • ซึ่งตอนนี้ แบงค์รัน หรือการที่คนวิ่งกันแห่ไปถอนเงินออกนั้น เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้แน่ๆ --- คณะรัฐมนตรีไซปรัส กำลังจะมีการหารือเรื่องการออกกฏหมายควบคุมเงิน (แคปิตอล คอนโทรล) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบงค์รัน

http://www.zerohedge.com/news/2013-03-20/cyprus-banks-reopen-next-tuesday-earliest-capital-controls-become-reality

 

งานนี้เอาใจช่วยชาวไซปรัสอย่างเดียวเลย ถอนเงินไม่ได้ แถมเงินเก็บทั้งชีวิตจะโดนปล้นเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

 

:033 :_10 :_cd :Wt :21 :_02 :Dh :023

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารไซปรัสเจอโรคเลื่อนอีกแล้วครับ

  • ธนาคารต่างๆในไซปรัส จะหยุดทำการต่อจนถึงวันอังคารหน้า
    (เริ่มแรกปิดแค่วันจันทร์วันเดียว, จันทร์-อังคาร, จันทร์-พฤหัส, จนตอนนี้ จันทร์ - จันทร์)
  • ซึ่งตอนนี้ แบงค์รัน หรือการที่คนวิ่งกันแห่ไปถอนเงินออกนั้น เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้แน่ๆ --- คณะรัฐมนตรีไซปรัส กำลังจะมีการหารือเรื่องการออกกฏหมายควบคุมเงิน (แคปิตอล คอนโทรล) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบงค์รัน

http://www.zerohedge...-become-reality

 

งานนี้เอาใจช่วยชาวไซปรัสอย่างเดียวเลย ถอนเงินไม่ได้ แถมเงินเก็บทั้งชีวิตจะโดนปล้นเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

 

:033 :_10 :_cd :Wt :21 :_02 :Dh :023

 

 

 

สิ่งที่ผมคาดการณ์ในเฟซผมถูกต้อง โรคเลื่อน+แคปิตอล คอนโทรล


  •  
    252231_1002029915278_1941483569_t.jpg
     
     
     
     
    ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ ผม มองว่าในระยะที่ยาวพอ ไม่มีเงินสกุลไหนแข็งกว่าทองคำครับ ส่วนเรื่องไซปรัสมีประชากรน้อย ผมมองต่างครับ ปัญหาคือประเทศอื่นที่ต้องกูเงินจากECB จะกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกับเขามั้ย ผู้ฝากเงินสำคัญที่สุดคือเมื่ออยากถอนต้องถอนได้(กลัวที่สุดคือ BANK RUN) ปิดตั้งแต่วันเสาร์เมื่อไหร่จะเปิด ฟันธงเลยว่าเปิดเมื่อไหร่ต้องมีกำหนดปริมาณการถอนด้วย ธนาคารและเงินกระดาษอยู่ได้ด้วยความน่าเชื่อถือ ครั้งนี้ECBประมาทอย่างมากเขารู้มั้ยว่ากำลังทำลายความน่าเชื่อถือระบบ ธนาคารในกลุ่มยูโรโซน
    7 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

3 ชั่วโมงที่แล้ว

ไซปรัส จิ๋วแต่เจ็บ ตอนที่ 1

----------------------------

 

วรวรรณ ธาราภูมิ CEO บลจ.บัวหลวง

 

20 มีนาคม 2556

 

Cyprus เป็นประเทศเกาะเล็กๆ ที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดูจากแผนที่จะเห็นประเทศจิ๋วๆ นี้มีหน้าตาเหมือนปลากระเบนหัวโลมา กำลังว่ายน้ำอย่างร่าเริงอยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี

 

 

เจ้าปลากระเบนหัวโลมาตัวนี้ มีพื้นที่ 7,800 ตารางไมล์ หรือ 20,202 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 1.1 ล้านคน น่าจะเทียบได้กับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ 20,107 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 1.7 ล้านคน

 

ชาวไซปรัสมีเชื้อชาติกรีก 77% เชื้อชาติตุรกี 18% ส่วนที่เหลือ 5% เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งมีอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี

 

เล็กๆ อย่างนี้ ดูแล้วไม่เห็นจะน่าจะอยู่ในเรดาร์ของผู้ลงทุน และไม่น่าจะได้พาดหัวข่าวทุกสำนักข่าวใหญ่นานาชาติ

 

แต่เล็กๆ อย่างนี้แหละ ที่เขาเรียกกันว่า จิ๋วแต่เจ็บ

 

หลังจากที่มียอดขาดดุลถึง 6.3% ในปี 2003 ไซปรัสก็ฟื้นคืนมาได้เพราะใช้วิธีรัดเข็มขัดมากมายหลายอย่างจนมีดุลเป็นบวก ในปี 2008 แต่ก็โชคร้ายที่ปีนั้นเกิด Recession ไปทั่ว ทำให้ไซปรัสต้องถอยหลังลงไปอีก เพราะมีการปล่อยกู้ให้กรีซมากมาย โดยในปี 2012 เศรษฐกิจของไซปรัสถดถอยไปถึง 2.3%

 

เห็นไหมว่าฤทธิ์เดชของยัยเอเธนส์ มันร้ายกับเจ้าหนี้อย่างไซปรัสและที่อื่นๆ ขนาดไหน

 

ผลกระทบต่อเนื่องทำให้ไซปรัสโดนลดอันดับความน่าเชื่อถือไปหลายครั้งในปี 2012 โดย Fitch Rating ให้อันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสเหลือ BB- เท่านั้น แถมยังแปะคำเตือนว่า “จะโดนลดอันดับลงได้อีก” นี่ก็ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของไซปรัสพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเจ้าหนี้กลัวไม่ได้คืน เลยต้องคิดดอกเบี้ยแพงหน่อยถึงจะคุ้มความเสี่ยงแบบ High Risk - High Return

 

เขียนถึงตรงนี้ ก็พลอยนึกถึงผู้ลงทุนบ้านเรา ที่มักจะเอาแต่ No Risk – Highest Return แต่สุดท้ายอาจจะตัดสินใจผิด ได้ Highest Risk – No Return กลับไป

 

CNBC รายงานว่า ภาคธนาคารของไซปรัสมีขนาด 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใหญ่กว่าเศรษฐกิจไซปรัสถึง 8 เท่า และเงินฝากในธนาคารเหล่านี้มาจากรัสเซียถึง 1 ใน 3 โดย Dmitry Rybolovlev เป็นชาวรัสเซียที่ฝากเงินที่ธนาคารในไซปรัสมากที่สุด มากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

น่าเสียดายที่ CNBC ไม่ได้บอกว่า ในจำนวนชาวรัสเซียที่ฝากเงินในไซปรัสนั้นมี วลาดิเมียร์ ปูติน อยู่ด้วยหรือไม่

 

เป็นที่รู้กันว่า บรรดามหาเศรษฐีชาวรัสซียต่างเอาเงินไปฝากที่ธนาคารในไซปรัสกันเพื่อป้องกัน ความไม่แน่นอนทางการเมืองในรัสเซีย นอกจากนี้ ยังใช้ไซปรัสเป็นแหล่งฟอกเงินที่มาจากการทำธุรกิจผิดกฏหมายและการ คอร์รัปชั่นอีกด้วย

 

นี่ก็เพราะไซปรัสยอมหลับหูหลับตารับเงินที่ไม่มีที่มาที่ไป ทั้งนี้ The Canadian News บอกว่า ทางการรัสเซียระบุว่ามีการโอนเงิน 49,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรัสเซียไปยังบัญชีในต่างประเทศอย่างผิดกฏหมายในปีที่ แล้ว ไม่มากไม่น้อยเท่าไร แค่ 2.5% ของ GDP รัสเซียเลยทีเดียว

 

อ้าว ทางการรัสเซียรู้ขนาดนี้แล้วยังปล่อยให้เกิดได้อย่างไรล่ะ แปลกแท้ เป็นอย่างบ้านเราก็ว่าไม่ได้ เพราะทางการไทยไม่เคยรู้อะไรเลย ฮ่า ....

 

ช่วงนี้ รัสเซียถึงกับจองเครื่องบินไปไซปรัสจนที่นั่งเต็มทุกเที่ยวบิน ก็เพราะ แบงค์ในรัสเซียอาจขาดทุนได้มากถึง 2% ของ GDP รัสเซีย เนื่องจากไปปล่อยกู้ให้บริษัทรัสเซียที่ตั้งอยู่ในไซปรัสถึง 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ บรรดาชาวรัสเซียผู้ฝากเงินในไซปรัสนั่นแหละ ที่แตกตื่นเหาะเหินเดินอากาศไปไซปรัสกันขนานใหญ่ (ไม่รวยจริงนี่ เพราะไม่มีเครื่องบินส่วนตัว) ซึ่งขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ธนาคารในไซปรัสยังโดนสั่งปิดทำการชั่วคราวเพราะรัฐบาลกลัวว่าจะเกิดการแห่ ถอนเงินจนแบงค์แตก เกิดจราจล

 

นี่ก็แว่วๆ มาว่าตู้เอทีเอ็มเกลี้ยงฉาดแล้ว ไม่มีเงินเหลือเลย

 

เมื่อไซปรัสซวดเซ ไม่มีเงินพอจ่ายหนี้ คนก็เลยห่วงว่ารัฐบาลไซปรัสจะใช้มาตรการควบคุมเงินไม่ให้ไหลออกจากประเทศ

 

ตรงข้ามกับบ้านเราที่ ดร.ประสาร กำลังพยายามหาทางไล่เงินที่โหมเข้ามาในประเทศให้ออกไปข้างนอก

 

แต่ความที่บ้านเราเหมือนเด็กกำลังแตกเนื้อสาว เลยมีคนเข้ามาแวะเวียนตอมกันหึ่ง ดร.ประสาร ไล่ยังไงๆ ไอ้หนุ่มต่างชาติก็ไม่ไป ยุหนุ่มไทยให้ไปหาสาวต่างชาติบ้าง ก็ไปกันไม่กี่คน

 

แหม ... ก็ขยาดกลัวพูดกันไม่รู้เรื่องนะสิ

 

ผู้เล่นในตลาดหุ้นเลยกลัวว่า ดร ประสาร จะสวมบทพ่อตามหาโหดใช้มาตรการ Capital Control ปิดประตูตีแมว จับไอ้หนุ่มผู้บุกรุกผูกมัดให้แต่งงานกับลูกสาว แล้วจะทำให้ต่างชาติถอยทัพหนีเพราะหวงความโสด บางคนบอกว่า สงสารแบงค์ชาติชะมัดเลย หาทางออกยากนะ ก็คงต้องรอจนเขาเชยชมสมใจแล้วจากไปเมื่อร่วงโรย ฮา....

 

 

 

((( โปรดติดตามตอนต่อไป ที่นี่ เร็วๆ นี้ )))

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'ไซปรัส'ดิ้นรนหลัง'สภา'คว่ำเงื่อนไขอียู เจรจาขอเงิน'รัสเซีย'ก็ไม่เป็นผล blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มีนาคม 2556 22:06 น.

 

 

blank.gif

 

เอเจนซีส์ - ไซปรัสดิ้นหาทางออกวิกฤตสภาพคล่อง ภายหลังสภาคว่ำแผนการจัดเก็บภาษีเงินฝากตามเงื่อนไขปล่อยเงินกู้ฉุกเฉินของ อียู/อีซีบี/ไอเอ็มเอฟ โดยรัฐบาลส่งขุนคลังไปทาบทามความช่วยเหลือจากรัสเซีย ขณะประธานาธิบดีนัดประชุมฉุกเฉินกับผู้นำพรรคและตัวแทนกลุ่มเจ้าหนี้ ทางด้านผู้สังเกตการณ์ชี้ปัญหาเร่งด่วนคือ เมื่ออนุญาตให้แบงก์กลับมาเปิดให้บริการในวันพฤหัสบดี(21) ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดการแห่ถอนเงิน และกระตุ้นวิกฤตยูโรโซนเดือดพล่านอีกครั้งหรือไม่ ขณะที่ยูโรโซนก็ขู่ว่าถ้ายังตกลงอะไรกันไม่ได้ จะยุติการอัดฉีดเงินสดให้พวกแบงก์ไซปรัสตั้งแต่วันศุกร์นี้ (22)

ในวันพุธ (20) ประธานาธิบดีนิคอส อนาสตาเซียเดส ของไซปรัส เรียกประชุมผู้นำพรรคต่างๆ ตลอดจนผู้ว่าการธนาคารกลาง และตัวแทนจาก “ทรอยกา” ผู้เป็นเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อหาทางออกวิกฤตที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดของประเทศเกาะแห่งนี้ ภายหลังถูกกองทัพตุรกีบุกรุกรานในปี 1974

 

การประชุมดังกล่าวที่มีขึ้น 1 วันหลังจากสมาชิกรัฐสภาไซปรัสโหวตคัดค้านมาตรการเก็บภาษีเงินฝาก ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทรอยกากำหนดไว้ในการให้เงินกู้มูลค่า 10,000 ล้านยูโร ทั้งนี้เรื่องหนึ่งที่จะต้องตัดสินใจเร่งด่วนที่สุดคือ จะอนุญาตให้บรรดาธนาคารเปิดทำการตามกำหนดเดิมในวันพฤหัสบดีและศุกร์ (21-22) นี้หรือไม่ ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ประชาชนจะแห่ถอนเงิน กระทั่งฉุดภาคการธนาคารล่มจม และปลุกวิกฤตยูโรโซนที่สงบมาระยะหนึ่งกลับมาออกฤทธิ์อีกครั้ง หรือว่าจะให้แบงก์ปิดต่อจนถึงสัปดาห์หน้า ด้วยความหวังว่า รัฐบาลจะหาทางออกได้สำเร็จแล้ว

 

ธนาคารของไซปรัสนั้นประสบปัญหาเนื่องจากปล่อยกู้จำนวนมากให้แก่กรีซ ที่ประสบวิกฤตรุนแรงก่อนหน้านี้ และหากไม่สามารถหาเงินกู้ได้ อาจส่งผลให้ไซปรัสล้มละลาย ผิดนัดชำระหนี้ และหลุดออกจากยูโรโซน

 

ภายใต้เงื่อนไขพ่วงเงินกู้ของทรอยกา ซึ่งได้มีการผ่อนปรนลงมาระดับหนึ่งแล้วนั้น ไซปรัสจะต้องจัดเก็บภาษีแบบครั้งเดียวสำหรับเงินฝากก้อนใหญ่สูงถึง 10% แต่ยกเว้นสำหรับเงินฝากมูลค่าต่ำกว่า 20,000 ยูโร ภาษีนี้จะทำให้ไซปรัสระดมเงินได้ 5,800 ล้านยูโร ทว่าในเมื่อรัฐสภาลงมติในวันอังคาร โดยที่ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเลยแม้แต่เสียงเดียว ไซปรัสจึงต้องหาทางใหม่เพื่อหาเงินมาชำระหนี้

556000003579001.JPEG blank.gif ในสภาพที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างผู้นำยูโรโซนที่เรียกร้องเงื่อนไข เข้มงวดสำหรับเงินกู้ กับพันธมิตรรัสเซีย ประกอบกับถูกสภาปฏิเสธ ไซปรัสจึงพยายามหาทางออกอย่างนุ่มนวล ด้วยการหันไปพึ่งแดนหมีขาว ซึ่งเป็นที่มาของเงินฝากปริมาณระหว่าง 1 ใน 3 จนถึงครึ่งหนึ่งในธนาคารต่างๆ ของไซปรัส หรือคิดเป็นมูลค่าราว 31,000 ล้านดอลลาร์

 

ด้วยเหตุนี้ในช่วงคืนวันอังคาร (19) หลังจากสภาคว่ำข้อเสนอเก็บภาษีเงินฝาก อนาสตาเซียเดสได้โทรศัพท์หารือกับนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย

 

พร้อมกันนั้นอนาสตาเซียเดสยังส่งมิคาลิส ซาร์ริส รัฐมนตรีคลังเดินทางไปมอสโกเพื่อโน้มน้าวให้รัสเซียช่วยเหลือ รวมทั้งขอให้ขยายกำหนดเวลาชำระหนี้ 2,500 ล้านยูโรในปี 2016 ออกไปอีก 5 ปี และลดดอกเบี้ย

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากหารือกับฝ่ายมอสโกอยู่ 2 รอบ ซาร์ลิส ได้ออกมาแถลงยอมรับว่าประสบความล้มเหลว ไม่สามารถตกลงกับรัสเซียได้

 

ทางเลือกอื่นๆ ของไซปรัสนอกเหนือจากนี้คือ ยึดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐและสถาบันกึ่งรัฐให้ตกเป็นของรัฐบาล และนำออกมาระดมทุนซึ่งคาดว่าจะได้เงินราว 3,000 ล้านยูโร

 

อีกทางเลือกหนึ่งคือลดขนาดภาคการธนาคารด้วยการผนวกแบงก์ใหญ่สุด 2 แห่ง เพื่อให้วงเงินที่จำเป็นในการเพิ่มทุน มีขนาดลดลง

 

ขณะเดียวกัน อาร์คบิชอป ไครโซสโทมอสที่ 2 ประมุขนิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่สุดในไซปรัส อีกทั้งยังถือหุ้นในธุรกิจมากมาย รวมถึงเฮลเลนิก แบงก์ที่คาดว่ามีทรัพย์สินราว 10,000 ล้านยูโร ได้เสนอช่วยเหลือประเทศด้วยการนำสินทรัพย์ออกขาย

 

ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่รัฐสภาของประเทศยูโรโซนผู้ขอความช่วย เหลือ ปฏิเสธเงื่อนไขเพื่อรับความช่วยเหลือจากอียู หลังจากตลอดสามปีที่ผ่านมา รัฐสภาของกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และอิตาลี ต่างต้องยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวดเพื่อรับเงินกู้

 

กระนั้น อียูมีธรรมเนียมในการกดดันให้ประเทศขนาดเล็กๆ โหวตใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

 

มาเรีย เฟกเตอร์ รัฐมนตรีคลังออสเตรียกล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับไซปรัส ทว่า อีซีบีจะไม่อัดฉีดเงินให้พวกแบงก์ไซปรัสอีกต่อไปนับจากวันศุกร์นี้ ยกเว้นสามารถตกลงข้อเสนอเงินกู้กันได้เท่านั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คงต้องคอยดูว่าโมเมนตั้มจากประเทศเล็กๆแบบไซปรัส จะรุนแรงมากมายขนาดไหน นึกถึงวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำเอาหลายประเทศพังตาม(จำได้ว่าเกาหลีใต้หนักมากเหมือนกัน)

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือ คุณwcg คุณJocho คุณmilo คุณหมอเล็ก คุณแมวน้อยและทุกๆท่านมากๆนะคะ :01

ชอบอ่านมากๆค่ะ บทวิเคราะห์ต่างๆที่นำมาโพสให้ ดีมากๆเลยค่ะ

 

ขอสารภาพว่า เมื่อก่อนเวลาฟังคนพูด ก็มักเชื่อเค้าง่ายๆ

ไม่ได้คิดพิจารณาอะไรนัก แต่จากเสียตังมากมายหลายปีก่อน

เดี๋ยวน้ีค่อยๆฝึกถามตัวเองว่า ทำไมเค้าพูดแบบน้ี เพราะ.............

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

เช้าแล้วน้องทองยังไม่ยอมตื่นเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมไม่มีกราฟดูครับตอนนี้ปิดรายวันกราฟ ต่ำกว่าma20 มั้ยครับ ถ้าไม่ถือว่าโอเคครับ

 

สังเกตุถ้าราคาวิ่งเขตโบลิงเจอร์บนหรือเหนือเส้นema20. ถือว่าเทรนขึ้นครับ ราคาวิ่งโซนบนเเล้วมักไม่ลงง่ายๆครับนอกข่าวเเรงจริงๆ

 

อีกตัวนึงคือema9. น่ามีประดับไว้ตัวผมจะเรียกเส้นเลี้ยงครับ มันจะเลี้ยงราคาเราไปเรื่อยๆทั้งขาขึ้นเเละลง :)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • ตอนนี้ไซปรัส ตู้เอทีเอ็มเริ่มเงินหมด แม้ว่าจะมีการกำหนดจำนวนเงินที่ถอนได้ในแต่ละครั้งแล้ว
  • บริษัท ห้างร้าน บางราย ตอนนี้ปฏิเสธที่จะรับบัตรเครดิตแล้ว เพราะกลัวปัญหาเรื่องการรับเงินจากบัตรเครดิตในภายหลัง

http://www.zerohedge...res-europe-ussr

:_cd

 

  • หนึ่งในผลกระทบจากวิกฤตไซปรัสในครั้งนี้คือ ราคาของ "บิทคอยน์" ที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่ ๓๖ เหรียญสหรัฐ ต่อ ๑ บิทคอยน์ จนกลายเป็น ๕๒ เหรียญ ภายในระยะเวลาอันสั้น (แก้ไขครับ ผมไม่ดูสกุลเงินให้ดี จากบทความเป็นสกุลยูโร ไม่ใช่เหรียญสหรัฐ)
  • ซึ่งตอนนี้ ได้มีการโหลดโปรแกรมจัดการ "บิทคอยน์" จากสเปน เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
  • "บิทคอยน์" เป็นสกุลเงินดิจิตอล ที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล ทำให้การผลิต "บิทคอยน์" ยากขึ้นเรื่อยๆเมื่อปริมาณในระบบเพิ่มขึ้น และเงินสกุลนี้ใช้ระบบ พีทูพี ซึ่งไม่มีองค์กรหนึ่งองค์กรใด สามารถควบคุมได้ ขอเพียงแค่มีเน็ต คุณก็สามารถโอนเงินเงินให้คนอื่นได้ไม่ยาก

http://www.zerohedge...run-has-started

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่อจากนี้ไปสถาบันการเงินในกลุ่มยูโรคงเกิดความระส่ำระสายอย่างแน่นอน....

กรณีของไซปรัส...ไม่ว่าจะมีการเก็บภาษีเงินฝากหรือไม่...

จากสิ่งที่เป็นเพียงแค่ความคิดของคนทั่วไป....

มันได้ปลุก...ความคิดนั้น..ออกมาเป็น Government policy ที่ได้มีการโต้เถียงหาข้อสรุปกันในไซปรัสเวลานี้....

คนที่มีสถานภาพการเงินที่เป็นเดบิต ณ.เวลานี้....อยู่ไม่สุขอย่างแน่นอน

 

ซึ่งก็หนีไม่พ้น....สภาพการณ์นี้บรรดาลูกหมู...ทั้งหลายก็คงคิดได้ว่า....กรูก็คงไม่แคล้ว..ไม่สักวันใดก็วันหนึ่ง

การระดมแห่ถอนเงินคงจะเกิดขึ้นอีกไม่นานต่อจากนี้...เพราะไม่มีหลักประกันใดว่า...เรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง

สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเข้าใจ ก็คือ...

คนตะวันตกส่วนใหญ่....จะมีอัตตาในตัวเองสูงมาก...

การเชื่อมั่นในตัวเองและการเคารพสิทธิผู้อื่น ( เนื่องมาจากตรรกะ ก็คือ อยากให้ผู้อื่นเคารพสิทธิตนเอง)....สูงมาก

สิ่งที่รัฐพูด...พวกนี้มักจะมีข้อโต้แย้งอยู่ในใจตลอด....แต่ก็ยังยอมทำตามกฎเพราะเนื่องจากเป็นมติ....

แต่ถ้าหากสิ่งใด....ทำให้ตัวเองต้องได้รับผลกระทบอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินและเงินทอง...

เชื่อได้ว่า....ต้องเป็นประเด็นต่อสู้กันทางสังคมอย่างแน่นอน....

 

สิ่งสำคัญอื่นใด...ณ.เวลานี้ สถาบันการเงินทั้งหลาย...

ซึ่งแต่เดิมในความคิดของคนทั่วไป (อาจจะทั่วโลก..ด้วยซ้ำไป) คิดว่าพวกนี้แหละที่เอาเปรียบพวกเขา...

การรณรงค์ต่อต้านการโอบอุ้มสถาบันทางการเงินเกิดขึ้นทั่วทุกหย่อม ทั่วโลก...

ต้องได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัสแน่นอน.....

 

เชื่อได้ว่า...ถ้าพวกเราสมาชิกในกลุ่มไทยโกลด์อยู่ในกลุ่มประเทศลูกหมู...

สิ่งที่เราจะหวาดวิตก กันมากที่สุดก็คือ....ไอ้วิกฤตแบบไซปรัส...มันจะเกิดขึ้นกับเราไหมหนอ

ก็คงจะต้องมีสมาชิกจำนวนหนึ่ง ..หรืออาจจำนวนมาก คิดว่า..

ถ้าจะเอาเงินมาเก็บใส่ถังแชท...อย่างคุณหมอเล็กน่าจะอุ่นใจและปลอดภัยกว่ามั้ง

ส่ิงที่จะเกิดขึ้นก็คือ...มันคงจะมีการแห่กันไปถอนเงินมาเก็บไว้กับตัวเอง

อย่างน้อยก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 10 - 20 % ของผู้ฝากเงินทั้งหมด...

 

แค่นี้ก็ปั่นป่วนละครับ....

เพราะเงินในระบบสถาบันการเงิน ณ.วันนี้มันหมุนด้วยจำนวนรอบ...มากกว่าตัวเงินเยอะครับ...

ใครที่ทำธุรกิจอยู่จะทราบได้....

ยอดเงินที่หมุนอยู่ในบัญชี statement เราทุกวันนี้มันมากกว่าตัวเงินสดที่เรามีอยู่หลายเท่าตัว..

การที่ประชาชนแห่ไปถอนเงินออกจากสถาบันการเงิน แค่ 10 - 20 % จะส่งผลกระทบมหาศาลแก่ระบบ...

ซึ่งจะกลายเป็นตัว catalysts ทำให้ปัญหาของระบบสถาบันการเงินประทุ...ออกมาเร็วยิ่งขึ้น

 

ไอ้ CDS เนี๊ยะ..อีกไม่นาน น่าจะเป็นศัพท์ที่พวกเราจดจำกันไปอีกนาน....

ถามผม...ผมก็คงคิดว่า...ไอ้นี่แหละน่าจะอธิบาย.. ว่าไอ้ปรมาณูทางระบบการเงินมันเป็นอย่างไร....

ถูกแก้ไข โดย แมวน้อย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมไม่มีกราฟดูครับตอนนี้ปิดรายวันกราฟ ต่ำกว่าma20 มั้ยครับ ถ้าไม่ถือว่าโอเคครับ

 

สังเกตุถ้าราคาวิ่งเขตโบลิงเจอร์บนหรือเหนือเส้นema20. ถือว่าเทรนขึ้นครับ ราคาวิ่งโซนบนเเล้วมักไม่ลงง่ายๆครับนอกข่าวเเรงจริงๆ

 

อีกตัวนึงคือema9. น่ามีประดับไว้ตัวผมจะเรียกเส้นเลี้ยงครับ มันจะเลี้ยงราคาเราไปเรื่อยๆทั้งขาขึ้นเเละลง :)

ตอบคุณJocho รายวันปิดเหนือma20 ,ema20และema9ค่ะ แล้วก็กราฟวิ่งขึ้นจากbbกลางขึ้นไแตะbbบนค่ะ

แหะๆ ไม่รู้ตอบถูกรึเปล่า ลองหัดดูค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...