ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

As it stands now, nowhere in Cyprus accepts credit or debit cards anymore for fear of not being paid, it is CASH ONLY. Businesses have stopped functioning because they cannot pay employees OR pay for the stock they receive because the banks are closed. If the banks remain closed, the economy will be destroyed and STOP COMPLETELY. Looting, robberies and theft are already on the rise. If the banks open now, there will be a massive run on the bank, and the banks will FAIL loosing all of its deposits, also causing an economic crash. TONIGHT there are demonstrations at most street corners and especially at the parliament building (just 2 miles from me)

มีจดหมายจากไซปรัสเขียนมาเล่าว่าการค้าขายตอนนี้ไม่มีทั้งเครดิตและเดบิต ....เงินสดลูกเดียว

ธุรกิจต่างๆต้องหยุดเพราะไม่มีเงินจ่ายลูกจ้าง,จ่ายค่าสินค้าเพราะธนาคารปิด ถ้ายังปิดต่อละก็ตายอย่างเดียว

จี้ ปล้น ฉกชิงวิ่งราวเพิ่มขึ้น ถ้าธนาคารเปิดเมื่อไรเงินก็ต้องไหลออกไม่หยุดแล้วก็ล้มแน่นอน

คืนนี้ก็มีประท้วงตามถนนโดยเฉพาะหน้าตึกรัฐสภา(ห่างจากคนเขียนจดหมาย 2 ไมล์)

http://www.silverdoctors.com/a-letter-from-cyprus-economy-shutting-down-going-cash-only/#more-23810

 

อย่างไรก็ตามเจ้ามือก็ยังคงทำหน้าที่ทุบตามปกติครับ :ghost

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แผนเชือดไก่ ให้ลิงดูอียู ใจกล้าใช้ยาแรง"ไซปรัส"

  • 26 มีนาคม 2556 เวลา 08:28 น.

4DE893F9C7C04B1DAB41F41ECC49BB57.jpg

 

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

ถือเป็นข่าวดีตั้งแต่เริ่มต้นสัปดาห์ไม่น้อย สำหรับการที่รัฐบาลไซปรัสสามารถบรรลุเงื่อนไขใหม่เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ 1 หมื่นล้านยูโร (ราว 3.9 แสนล้านบาท) จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้แบบฉิวเฉียด หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ออกมาขู่ก่อนหน้านี้ว่าจะตัดความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ภาคธนาคารไซปรัส หากยังไม่สามารถบรรลุเงื่อนไขเงินกู้จากอียูและไอเอ็มเอฟได้ทันภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้

เนื่องจากก่อนหน้านั้นรัฐสภาไซปรัสได้ลงมติคัดค้านแผนการรับเงินช่วย เหลืออันแรกไป เพราะประชาชนและนักการเมืองไม่พอใจเงื่อนไขสุดเขี้ยวที่ผูกติดมากับเงินกู้ อย่างมาก โดยเฉพาะแผนการเก็บภาษีเงินฝากของธนาคารต่อผู้ที่มีเงินฝากน้อยกว่า 1 แสนยูโร (ราว 3.9 ล้านบาท) ในประเทศ จนนำไปสู่ภาวะความวุ่นวายในประเทศ โดยเฉพาะการที่ประชาชนออกมาแห่ถอนเงินอย่างหนัก จนทำให้ทางการต้องประกาศวันหยุดราชการตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

แผนความช่วยเหลือที่มาพร้อมกับเงื่อนไขใหม่ที่ไซปรัสตกลงได้ ประกอบไปด้วย การเรียกเก็บภาษีสำหรับผู้มีบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 1 แสนยูโรขึ้นไป ที่อยู่ในธนาคารป๊อปปูลาร์แบงก์ออฟไซปรัส ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ ขณะที่ผู้ที่มีเงินฝากต่ำกว่า 1 แสนยูโร จะได้รับการคุ้มครอง พร้อมกับถูกโอนไปไว้กับธนาคารแบงก์ออฟไซปรัส ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ ไซปรัสยังยอมรับที่จะยุบธนาคารป๊อปปูลาร์แบงก์ออฟไซปรัสลงพร้อมโอนทรัพย์สิน ที่ดีไปไว้ในธนาคารแบงก์ออฟไซปรัสแทน โดยทั้งหมดทำไปเพื่อเร่งระดมเงินทุนให้ได้ 4,200 ล้านยูโร (ราว 1.63 แสนล้านบาท)

แม้ว่าแผนเงินกู้ที่ออกมาดูเหมือนว่าจะเป็นการผ่อนคลายเงื่อนไขหลายอย่าง ลงไป เมื่อเทียบกับเงื่อนไขแรกที่มุ่งไปเก็บภาษีของผู้มีบัญชีเงินฝากทั้งที่ต่ำ กว่า 1 แสนยูโร ที่อัตรา 6.75% และเกินแสนยูโรที่ 9.9% ทว่าหากดูกันตามความเป็นจริงแล้วเงื่อนไขดังกล่าวที่ออกมาล่าสุดนั้นก็ยังถือว่ายังเป็นการจัด “ชุดยาแรง” ของไอเอ็มเอฟที่ให้กับไซปรัสอยู่ดี เพียงแต่เปลี่ยนเป้าหมายในการระดมเงินจากบัญชีเงินฝากของคนทั่วไป ไปสู่การลงโทษในภาคการเงินและธนาคารมากขึ้นเท่านั้น

เหตุผลแรกที่อียูและไอเอ็มเอฟกล้าใช้มาตรการและ เงื่อนไขสุดหินและโหดกับไซปรัส โดยเฉพาะการยอมปล่อยให้แบงก์ใหญ่อันดับสองของประเทศล้มลง รวมไปถึงการยื่นคขาดในการตัดความช่วยเหลือ และมีข่าวลือออกมาว่าถึงขั้นที่อียูเตรียมการจะขับไซปรัสออกจากยูโรโซน ก็คือการคำนวณแล้วว่าผลกระทบของปัญหาไซปรัสที่จะมีต่อยูโรโซนนั้นน้อยมาก

เพราะว่าไซปรัสนั้นมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กมากเพียง 0.2% ของยูโรโซนเท่านั้น ในขณะเดียวกันเม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาในประเทศส่วนใหญ่ก็ล้วนมาจากรัสเซีย เป็นหลัก โดยภาคธนาคารของไซปรัสมีมูลค่าทั้งหมดที่ 6.8 หมื่นล้านยูโร (ราว 2.65ล้านล้านบาท) ขณะที่จำนวนเงินดังกล่าวนั้นมากกว่า 2 หมื่นล้านยูโร (ราว 7.8 แสนล้านบาท) เป็นเงินทุนที่มาจากนักลงทุนรัสเซีย

นอกจากนี้ ทางการไซปรัสยังเผยอีกว่าบัญชีเงินฝากในภาคธนาคารพาณิชย์ทั้งประเทศมาจากนักลงทุนของรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนแล้วมากถึง 20%

ขณะที่เมื่อนำกรณีของไซปรัสไปเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้ และได้รับเงื่อนไขการรับเงินช่วยเหลือที่เข้มงวดน้อยกว่าไซปรัสมากก็จะพบเลย ว่ากรณีของไซปรัสจะถือว่าเล็กน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อดูจากกรณีของกรีซที่ได้รับเงินช่วยไปแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งหลังนั้นกลุ่มเจ้าหนี้ถึงกับต้องยอมสละหนี้ให้ครึ่งหนึ่งมีขนาด เศรษฐกิจใหญ่กว่าไซปรัสมาก โดยคิดเป็น 2% ของยูโรโซน และในขณะเดียวกันผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาล และเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่ที่มาลงทุนในกรีซก็มาจากนักลงทุนที่มาจากกลุ่ม ประเทศยูโรโซนด้วยกันเป็นหลัก เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และเยอรมนี

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อียูและไอเอ็มเอฟไม่ค่อยใส่ใจหรือปฏิบัติกับปัญหาใน ไซปรัสอย่างละมุนละม่อมมากนัก เมื่อเทียบกับกรณีของกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปน ที่ได้เงินช่วยก่อนหน้านี้ เพราะรู้ดีว่าหากไปใช้มาตรการแข็งกร้าวมากก็อาจส่งผลกระทบที่สูงมาก โดยเฉพาะในรายของสเปนนั้นมีขนาดเศรษฐกิใหญ่เป็นอันดับ 4 ของยูโรโซน

นอกเหนือจากนั้นแล้ว การที่อียูและไอเอ็มเอฟเลือกที่จะให้ไซปรัสมีส่วนร่วมในการหาเงินมาช่วยอุด ช่องโหว่ของปัญหาเศรษฐกิจด้วยการเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝาก แทนที่จะให้เงินช่วยพร้อมกับผูกเงื่อนไขปฏิรูปอีกจำนวนหนึ่งเหมือนกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปน ที่ได้ไปก่อนหน้านี้ก็เพราะกลัวว่าเงินที่ถูกนำไปช่วยไซปรัสจะกลายเป็นการไป โอบอุ้มเศรษฐีและนักลงทุนรัสเซียที่เอาเงินมาฟอกในภาคธนาคารไซปรัสไว้

ฉะนั้น แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งจะรู้อยู่เต็มอกว่าหากปล่อยไซปรัสเดินออกจากยูโรโซนจะ ส่งผลกระทบต่อเชิงจิตวิทยาและความเป็นเอกภาพของยูโรโซนอยู่ แต่วิธีการดังกล่าวที่ออกมาก็ถือว่าเหมาะสมที่สุดแล้วในสายตาของอียูที่ถูก บงการและชี้นำทิศทางการเจรจาโดยเยอรมนีและไอเอ็มเอฟ

ส่วนเหตุผลที่สองคือ อียูและไอเอ็มเอฟต้องการใช้กรณีของไซปรัส เช่น การเก็บภาษีเงินฝาก และปล่อยให้แบงก์ล้มละลาย เป็นอุทาหรณ์เพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนให้รับรู้ถึงภัยอันตรายจากการที่ประเทศหนึ่งๆ ปล่อยปละละเลยให้ภาคธนาคารมีขนาดใหญ่เกินตัว จนยากแก่การควบคุมและจัดการเมื่อมีปัญหาขึ้นมา โดยเฉพาะในกรณีของลักเซมเบิร์กนั้น ที่ปัจจุบันภาคธนาคารมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของประเทศมากถึง 24 เท่าตัว ขณะที่มอลตาและไซปรัสอยู่ที่ 7.8 และ 5 เท่าตัว เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศตามลำดับ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการส่งสัญญาณเตือนด้วยการที่อียูและไอเอ็มเอฟออกมาสวมบทโหด เสมือนว่ากำลังต้องการที่จะ “เชือดไก่ให้ลิงดู” กับไซปรัสนั้นก็มีผลกระทบทางจิตวิทยาไปยังประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนที่กำลังมีปัญหาคล้ายคลึงกับไซปรัสในการมีภาคแบงก์ที่ใหญ่เกินตัว ให้ออกมาเริ่มตระหนักและรับรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขมากขึ้นก่อนจะสายเกินแก้

“ไซปรัสถือเป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าประเทศเล็กจะได้รับการปฏิบัติ อย่างไรถ้าจะต้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือขึ้นมา” เอ็ดวาร์ด ไซคูนา รัฐมนตรีคลังมอลตา กล่าวให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์เทเลกราฟ จากอังกฤษ

นอกจากนี้ แผนการเงื่อนไขที่เข้มงวดจากอียูและไอเอ็มเอฟในครั้งนี้ ก็ยังเป็นการบ่งบอกอีกด้วยว่ากำลังต้องการบีบคั้นและมุ่งลงโทษไปยังกลุ่มภาค การเงินและธนาคารที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาต่างอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายในการตัก ตวงผลประโยชน์ทางการเงินจากไซปรัสที่มีการเก็บภาษีต่ำ

ด้วยเหตุทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมานี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การช่วย เหลือไซปรัสที่ออกมาจึงดูโหดและเข้มงวดกว่ากรณีของประเทศยูโรโซนอื่นๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้

http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/212344/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9-%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไซปรัสเลื่อนเปิดแบงก์พฤหัสฯ ท่าทีบิ๊กยูโรกรุ๊ปฉุดตลาดทั่วโลก blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มีนาคม 2556 22:07 น.

 

 

blank.gif

 

เอเจนซีส์ - ไซปรัสกลับลำ ตัดสินใจปิดแบงก์ต่อจนถึงวันพฤหัสบดี (28) โดยผู้นำประเทศเกาะขนาดเล็กแห่งนี้ยืนยันว่า การควบคุมเงินทุนจะเป็นมาตรการช่วงสั้นๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดทั่วโลกกลับเสียขวัญจากการแสดงความคิดเห็นของประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยู โรโซนที่ว่า กลไกการถ่ายโอนความเสี่ยงจำนวนมากไปให้ผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้นแบงก์ต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบ ตามข้อตกลงล่าสุดของไซปรัสนั้น อาจใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกยูโรโซนทั้งหลายใน อนาคต

 

ธนาคารกลางไซปรัสแถลงแก้ไขใหม่เมื่อคืนวันจันทร์ (25) ว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะยังคงปิดทำการต่อไปจนถึงวันพฤหัสบดี จากที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมงเพิ่งตัดสินใจว่า จะอนุญาตให้แบงก์ทั้งหมดยกเว้น 2 แห่งใหญ่สุดคือแบงก์ ออฟ ไซปรัส (บีโอซี) และไลคี แบงก์ (ป๊อปปูลาร์ แบงก์ ออฟ ไซปรัส) เปิดทำการในวันอังคาร (26) หลังจากหยุดยาวมา 10 วันเพื่อป้องกันการแห่ถอนเงิน

 

รัฐมนตรีคลัง มิเชล ซาร์ริส ตัดสินใจปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ว่าการธนาคารกลางปานิคอส ดิมิเทรียเดส เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบการธนาคารทั้งหมดดำเนินการอย่างราบรื่น

 

วันเดียวกัน ประธานาธิบดีนิคอส อนาสตาเซียเดส แถลงภายหลังเดินทางกลับจากการเจรจากับพวกเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่กรุงบ รัสเซลส์ โดยแสดงความเชื่อมั่นว่า ประเทศชาติจะสามารถยืนด้วยตัวเองได้อีกครั้ง หลังจากสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อรับเงินกู้ฉุกเฉิน 10,0000 ล้านยูโรจากสหภาพยุโรป (อียู) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

 

ในส่วนมาตรการควบคุมเงินทุนนั้น อนาสตาเซียเดสกล่าวว่า จะดำเนินการโดยธนาคารกลาง พร้อมยืนยันว่า มาตรการนี้จะบังคับใช้เพียงช่วงสั้นๆ และค่อยๆ ผ่อนคลายลง

 

ผู้นำไซปรัสยังประกาศเปิดการสอบสวนคดีอาญาเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบต่อวิกฤตการธนาคารครั้งนี้

556000003849001.JPEG ไซปรัสกลับลำ ตัดสินใจปิดแบงก์ต่อจนถึงวันพฤหัสบดี (28) blank.gif อนาสตาเซียเดสกล่าวว่า เขารู้สึกขมขื่นและผิดหวังกับทัศนคติของเพื่อนสมาชิกบางชาติในยูโรโซน เช่นเดียวกับประชาชนจำนวนมาก ทว่า การถอนตัวจากเขตเงินตราสกุลเดียวไม่ใช่ทางออกสำหรับไซปรัส

 

ข้อตกลงคราวนี้ทำให้ไซปรัสรอดพ้นจากฐานะการเป็นประเทศแรกที่หลุดจาก ยูโรโซน ทว่า ต้องจ่ายในราคาแพงด้วยการปิดกิจการไลคีแบงก์ อันเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ และโอนบัญชีเงินฝากมูลค่าต่ำกว่า 100,000 ยูโรไปยังบีโอซี ที่เป็นแบงก์ยักษ์อันดับ 1 ส่วนบัญชีเงินฝากมูลค่า 100,000 ยูโรขึ้นไปในสองแบงก์ใหญ่สุดนี้จะถูกอายัดชั่วคราว และนำไปเพิ่มทุนให้แก่บีโอซี รวมทั้งสะสางหนี้เสียของไลคี

 

คริสทอส สไตเลียไนเดส โฆษกรัฐบาลไซปรัสกล่าวในวันจันทร์ว่า ผู้ฝากที่มีเงินฝากเกินกว่า 100,000 ยูโรน่าจะขาดทุนไม่เกิน 30% ทว่ารัฐมนตรีคลังซาร์ริส เตือนในการให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซีวันพฤหัสบดีว่า ผู้ฝากเงินรายใหญ่เหล่านี้ ซึ่งจำนวนมากเลยเป็นชาวรัสเซีย อาจจะต้องถูก “แฮร์คัต” ในระดับใกล้ๆ 40%

 

ภายหลังบรรลุข้อตกลง อีซีบีซึ่งก่อนหน้านี้ที่ขู่จะตัดความช่วยเหลือ ได้ประกาศคงการอัดฉีดเงินสดฉุกเฉินให้สองแบงก์ใหญ่ของไซปรัสซึ่งจะมีการผนวก รวมกันและแยกออกเป็น “แบงก์ดี” กับ “แบงก์เลว” กันต่อไป

 

ทั้งนี้ การผนวกแบงก์มีแนวโน้มนำไปสู่การปลดพนักงานจำนวนมากในภาคการธนาคาร ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของไซปรัส และยังคาดว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและผู้บริโภคจะเหือดแห้งลง

 

แฮร์ริส จอร์เจียเดส รัฐมนตรีแรงงานของไซปรัส ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บิลด์ของเยอรมนีฉบับวันอังคาร (26) ว่าคาดว่า ไซปรัสจะเผชิญภาวะถดถอยรุนแรงและอัตราว่างงานพุ่ง พร้อมวิจารณ์ว่า ยูโรกรุ๊ปตัดสินใจผิดพลาดและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

 

ขณะเดียวกัน แทนที่จะซึมซับข่าวดีจากการที่ไซปรัสสามารถตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้ และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้วิกฤตยูโรโซนกลับมาลุกลามอีกครั้ง ปรากฏว่าตลาดการเงินทั่วโลกกลับขวัญหนีดีฝ่อกับการแสดงความคิดเห็นของเจอโรน ดิสเซลโบลม รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ ผู้เป็นประธานของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ในวันจันทร์โดยระบุว่า ข้อตกลงนี้อาจใช้เป็นพื้นฐานการช่วยเหลือสมาชิกยูโรโซนในอนาคต ด้วยการถ่ายโอนความเสี่ยงจำนวนมากไปให้ผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้นเป็นผู้รับ ผิดชอบ

 

“สิ่งที่เราทำล่าสุดคือ การผลักความเสี่ยงกลับไป”

 

ในเวลาต่อมา หลังตลาดทางแถบยุโรปปิดทำการแล้ว สำนักประธานยูโรกรุ๊ปได้ออกคำแถลงชี้แจงว่า ไซปรัสเป็นกรณีเฉพาะที่มีความท้าทายพิเศษ ซึ่งต้องการมาตรการช่วยเหลือตามที่ตกลงกันในวันจันทร์

 

“โปรแกรมการปรับปรุงแก้ไขเศรษฐกิจมหภาคเป็นการพัฒนาขึ้นอย่างเป็น พิเศษตามสถานการณ์ของประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการใช้รูปแบบหรือแม่แบบใดๆ”

 

ทว่า ถึงตอนนั้นตลาดหุ้นและค่าเงินยูโรก็ถูกสอยร่วงไปแล้ว ตลาดหุ้นนิวยอร์กหนีไม่พ้นขาลงนี้เช่นกัน แม้ค่าเงินยูโรกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในการซื้อขายคืนวันจันทร์ที่นิวยอร์ก ภายหลังไซปรัสประกาศเลื่อนการเปิดแบงก์ แต่สำหรับตลาดเอเชียในวันอังคาร ยังคงอยู่ในภาวะอึมครึม หลายตลาดใหญ่ เช่น โตเกียว, ซิดนีย์ ดัชนีหุ้นตกลงไปเล็กน้อย

 

ทางด้าน มันนีคอร์ป นักวิเคราะห์ค่าเงินตราในยุโรป ระบุว่า คำพูดแบบเลอะเทอะไม่ระมัดระวังของ ดิสเซลโบลม เป็นเหตุให้มูลค่าของพวกบริษัทภาคการเงินในยูโรโซนหดหายไปถึง 13,000 ล้านยูโรภายในเวลาเพียงวันเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

6 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

27 มีนาคม 2556

 

General News

----------------

 

• ECB ระบุว่า วิกฤตธนาคารในไซปรัสเป็นกรณีพิเศษที่ไม่ควรถือเป็นแม่แบบสำหรับการช่วย เหลือประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ประสบปัญหา แต่เป็นสิ่งที่ย้ำความจำเป็นในการปรับปรุงกฎระเบียบธนาคาร โดยการให้ ECB ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลที่เป็นอิสระ ภายใต้แผนการตั้งสหภาพ ธ.ยุโรป

 

• ยอดปล่อยสินเชื่อของเจ้าหนี้ต่างชาติให้แก่ไซปรัสมีมูลค่ารวมสูงเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ระบุว่า เจ้าหนี้ต่างชาติ (ยกเว้นรัสเซีย) มีสินเชื่อคงค้าง 5.92 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ มูดี้ส์ ประเมินว่า ธ.รัสเซีย ได้ปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทรัสเซียที่ตั้งอยู่ในไซปรัสราว 3-4 หมื่นล้านดอลลาร์

 

• IMF เตือนว่า ธ.กลางหลายแห่งอาจมีอำนาจมากเกินไปเนื่องจากได้รับอำนาจใหม่ในการกำกับดูแลในวงกว้าง และมีสถานะเป็นอิสระจากปัจจัยทางการเมือง โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้รับการขยายบทบาทออกไปในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเกิดวิกฤติภาคธนาคารและวิกฤติหนี้สิน ทำให้มีบทบาทในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และภาคการเงินเพิ่มเติม

 

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน มี.ค.อ่อนตัวลงต่ำกว่าคาดการณ์มาอยู่ที่ 59.7 จุด จากเดือน ก.พ. ที่ 68 จุด เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณและการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อมุมมองในเชิงลบของชาวอเมริกันที่มีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน

 

• เบน เบอร์นันเก้ ชี้ว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของ FED ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม แม้ว่าจะมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกประสานเชื่อมต่อกัน ทำให้ทั้งโลกได้รับประโยชน์จากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้น

 

• BRICS (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เตรียมจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อลดการพึ่งพาธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และหวังว่าจะสามารถถ่วงดุลอำนาจตะวันตกในเศรษฐกิจโลกด้วยการเพิ่มกลไกในการแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

• ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น ประกาศว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2% ภายใน 2 ปี และขยายวงเงินซื้อหลักทรัพย์โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

• การูด้า สายการบินรายใหญ่อันดับ 1 ของอินโดนีเซีย ลงทุนขยายฝูงบินราว 35.2 ล้านล้านรูเปียห์ (3.6 พันล้านดอลลาร์) เพื่อรองรับการเปิดเสรีน่านฟ้าภูมิภาคอาเซียนในปี 2015 ตามแผนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยจะซื้อแอร์บัส A330-300 จำนวน 11 ลำ และโบอิ้งอีก 18 ลำ ซึ่งจะทยอยส่งมอบจนถึงปี 2015

 

• ธปท. อาจเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP) ในปีนี้จากเดิม 4.9% เนื่องจากการอุปโภคบริโภคและการลงทุนในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ประกอบกับสภาพแวดล้อมทาง การเงินและอัตราดอกเบี้ยเอื้ออำนวยจึงจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

 

• ครม. ปรับเพิ่มอัตราเหมาจ่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2557 เป็น 2,955.91 บาท/คน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้าอีก 200.31 บาท/คน นอกจากนี้ ยังอนุมัติงบประมาณสำหรับให้บริการผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV วงเงิน 2,950 ล้านบาท ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง 5,233 ล้านบาท รักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคปอด และผู้ติดสารเสพติด อีก 1,330 ล้านบาท

 

 

Equity Market

---------------

 

• SET Index ปิดที่ 1,544.03 จุด เพิ่มขึ้น 20.08 จุด หรือ +1.32% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 60,786.95 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 668 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวกต่อเนื่องหลังจากตลาดฯ ปรับฐานลงแรงเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นผลจากนักลงทุนคลายความกังวลจากปัจจัยต่างประเทศ และมั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมากขึ้น

 

• ตลท. จะเพิ่มหลักประกันในบัญชีเงินสดเป็นไม่ต่ำกว่า 20% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ หลังจากหารือกับโบรกเกอร์ซึ่งเห็นด้วย เพื่อช่วยให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น และป้องกันความเสี่ยงในเรื่องการชำระราคา

 

Fixed Income Market

------------------------

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง -0.03% ถึง 0.00% สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 20.4 ปี มูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท

 

Gold Corner

-------------

 

IMF รายงานว่า ธ.กลางหลายๆ ประเทศยังคงซื้อทองคำเพิ่มในทุนสำรองเดือน ก.พ. โดยรัสเซียผู้ถือครองทองคำรายใหญ่ที่สุดอันดับที่ 8 ของโลกได้เพิ่มทุนสำรองทองคำขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สู่ระดับ 976.952 ตัน ขณะที่ตุรกีได้เพิ่มการสำรองทองคำเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับ 375.731 ตัน

 

ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการถือครองทองคำของ ธ.กลางต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนานั้น จะเป็นแรงหนุนต่อราคาทองในระยะยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สองสามประเด็นที่น่าสนใจคือ

  • ปธน.ไซปรัสคนนี้พึ่งได้รับเลือกตั้งมาไม่นาน แถมตอนหาเสียง แกประกาศนโยบายไว้ดิบดี ว่าจะไม่มีการปล้นเงินจากประชาชนแบบนี้
  • การเลี่ยงบาลีเพื่อที่จะได้ไม่ต้องผ่านสภาไซปรัสก็คือ : ผู้ฝากเงิน = ผู้ลงทุนในธนาคาร = ต้องลำบากด้วยกัน : แปลกแฮะ ลุงทุนยังไงธนาคารได้กำไร แต่ "นักลงทุน" ไม่เห็นได้กำไรด้วย แต่เวลาเจ๊ง ก็บังคับให้ "นักลงทุน" ช่วยลงขันอุ้ม
  • ก่อนหน้านี้ไม่นาน ธนาคารต่างๆในไซปรัส ได้ผ่านการทดสอบ "สเตรส เทสท์" ตามที่ข้อตกลงใหม่ที่มาเฟียเขาให้ทดสอบกันทั่วโลก ได้อย่างไม่มีปัญหา -- ผ่านการทดสอบ แต่ก็ยังล้มไม่เป็นท่า ถ้าแบบทดสอบไม่ห่วย ข้อมูลที่เอาไปใส่ในการทดสอบก็ห่วย ... เป็นไปได้อยู่สองกรณีเท่านั้น

อีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องก็คือ

  • เจพี มอร์ออน เชส ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือโดยหน่วยงานกำกับการเงินของรัฐบาลลุงแซม โดยข้อมูลระดับความน่าเชื่อถือที่ออกโดยหน่วยงานนี้ เป็นความลับ ที่จะเปิดเผยกับคนในรัฐบาล และธนาคารเท่านั้น
  • เหตผลของการปิดข้อมูลต่อสาธารณะก็คือ หน่วยงานเขากลัวว่า ถ้ารายงานเป็นสาธารณะ แบงค์ก็จะให้ข้อมูลหลอกๆ เพื่อที่จะได้ดูดีต่อสาธารณะ // ถ้าไม่เปิดเผย ก็น่าจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่า
  • ผลก็คือ คนสุดท้ายที่รู้ว่าสถาบันการเงินเน่าไม่เน่า ก็คือประชาชนนั่นเอง -- ส่วนพวก "วงใน" ทั้งหลายนี่หนีตายไปก่อนเรือจะล่มตั้งนานแล้ว (แบบเดียวกับข่าวที่คุณหมอเอามาฝากว่า ตั้งแต่ก่อน จนถึงช่วงที่นโยบายปล้นประชาชนในไซปรัส ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ พวกวงในรู้ตัว ขนเงินออกกันไปตั้งเยอะแล้ว)

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ -- ตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน : อย่าได้หวังว่าคนที่คุณคิดว่าเขามีหน้าที่ดูแลคุณ จะดูแลคุณจริงๆ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announce เรื่องจากคำบอกเล่าของลุงจิม...

*รู้หรือไม่ว่าตลอดเวลาที่ธนาคารที่ไซปรัสปิด มี 1 ธนาคารใหญ่ที่เปิดตลอดสำหรับลูกค้าใหญ่ :uu

*เชื่อกันหรือว่าผู้ฝากรายใหญ่ของรัสเซียจะทำแต่เพียงล้วงกระเป๋าเกาไข่ โดยไม่ถอนเงิน :gvme

Do you know that one major bank was open for the entire period of Cyprus Bank closures for major clients?

Do you really believe in the months leading up to this that the Russian depositors just sat there calmly waiting for largess from the IMF and did not withdraw the balance of their accounts as the account stood?

http://www.jsmineset...ews-today-1490

 

ไม่มีใครรู้ว่าเงินถูกถอนออกไปมากเท่าไร แต่ผลลัพท์ก็คือเงินที่คาดว่าจะยึดได้ก็ต้องน้อยลงไป เงินที่จะต้องได้รับการเยียวยาก็จะต้องมากขึ้น

 

Russian Withdrawals Quantified As Cyprus Central Bank Set To Expand Emergency Credit By Up To €3 Billion

 

Remember: this is just a feeler by the Cyprus Central Bank in direction Frankfurt - the last thing Cyprus wants is to expose just how big the full liquidity hole is resulting from the stealthy Russian deposit outflows. We expect when all is said and done, the full incremental bailout needs to rise in the double digits.

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ปากว่า ตาขยิบ"

  • แองเกลา เมอร์เคล ให้สัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ :
    "..... ธนาคารจะต้องรับผิดชอบตัวเอง นั่นคือสิ่งที่เราพูดมาตลอด เราไม่ต้องการให้ประชาชนผู้เสียภาษีต้องมาอุ้มธนาคาร ธนาคารจะต้องช่วยตัวเอง ...."

:19

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่าสนใจนะครับ

 

เติมน้ำมันราคา 1 กรัม

 

รองเท้ากีฬาราคา 2 กรัม

 

มื้อนี้เช็คบิล 1 กรัม

 

............. และอื่นๆ

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=0cNwaA5sNr8

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คนแรก........(ฮ่า)

 

สวัดดีครับคุณเน็ก

 

ไม่เจอซะนาน คิดถึงจัง

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากถามคุณ Next ว่ากรณีไซปรัส พวกขาใหญ่(นายธนาคาร)เขาต้องการอะไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับคุณเน็กซ์

 

อยากได้ "บัตรทอง" ใบนี้มานานละ พึ่งเคยเห็นการสาธิตการใช้งานแบบชัดๆเป็นครั้งแรก เยี่ยมจริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แค่เห็นคุณNEXT มาเยี่ยมบ้างก็ดีใจแล้วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

5 ชั่วโมงที่แล้ว

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

28 มีนาคม 2556

----------------

 

General News

 

• ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนย่ำแย่ลงในเดือนมี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากมุมมองเชิงลบเพิ่มขึ้นมากจากกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งเคยช่วยให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวผ่านการส่งออก อีกทั้ง โรงงานต่างๆ ยังได้ปรับลดการประเมินผลการดำเนินงานในอดีต และยอดสั่งซื้อสินค้าลงอย่างเห็นได้ชัด

 

• ชาวไซปรัสหลายพันคนได้ออกมาประท้วงตามท้องถนนในกรุงนิโกเซียเพื่อต่อต้านมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เนื่องจากกังวลว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไซปรัสตกต่ำ และทำให้ชาวไซปรัสหลายคนต้องตกงาน ทางด้านผู้นำยุโรปกล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในครั้งนี้ช่วยสกัดกั้นการล้มละลายของประเทศชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจส่งผลให้ไซปรัสต้องถอนตัวออกจากยูโรโซน

 

• ธนาคารกลางสเปนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสเปนจะหดตัวอีก 1.5% ในปีนี้ อันเป็นผลจากความต้องการภายในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่าแรงที่ลดลง อัตราว่างงาน และราคาสินค้าที่สูงขึ้น

 

• IMF แถลงว่า ภาคธนาคารของอิตาลีมีการดำรงเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง แต่ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนาน และจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี

 

• ผลสำรวจความคิดเห็นชาวอเมริกันโดยแกลลัพ พบว่า ความกังวลสูงสุดในปีนี้ยังคงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ (68%) ซึ่งติดอันดับมาตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่ ความวิตกที่รองลงมาได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง/การขาดดุล (61%) สุขอนามัย (59%) และราคาเชื้อเพลิง (55%)

 

• สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ในเดือนก.พ. หดตัวลง 0.4% จากเดือนม.ค. แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งสัญญาณว่าผู้มีศักยภาพในการซื้อบ้านมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาสู่ตลาดที่อยู่อาศัยอีกครั้ง และยอดขายบ้านมือสองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนจากนี้

 

• สัดส่วนหนี้เสียของธนาคารรายใหญ่ของจีนปรับตัวลดลงในปี 2555 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างเชื่องช้าที่สุดในรอบ 13 ปี โดยสัดส่วนหนี้เสียของอากริคัลเจอรัล แบงก์ ออฟ ไชน่า ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่สุดอันดับ 3 ของจีน ปรับตัวลดง 1.33% จากปี 2554 ที่ระดับ 1.55% ขณะที่สัดส่วนหนี้เสียของแบงก์ ออฟ ไชน่า ธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ลดลงมาอยู่ที่ 0.95% จากระดับ 1%

 

• สถาบันวิจัยฮุนไดเปิดเผยว่า เกาหลีใต้ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 11 ล้านล้านวอน (1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.5% ในปีนี้ ขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ (BOK) ได้กำหนดเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 2.8%

 

• ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ก่อนที่คณะบริหารของรัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดี ปัก กึน-ฮเย จะดำเนินมาตรการกระตุ้นด้านการคลัง

 

• Fitch rating ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์ขึ้นสู่สถานะที่ลงทุนได้ “BBB-“ จาก BB+ และให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ

 

• รัฐบาลพม่าอนุญาตให้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันใหม่เพิ่มอีก 8 ฉบับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ทำให้พม่ามีหนังสือพิมพ์รายวันใหม่รวมทั้งสิ้น 16 ฉบับ ปิดฉาก 50 ปีแห่งการผูกขาดหนังสือพิมพ์รายวันโดยภาครัฐ

 

• นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุว่า รัฐบาลมีความพอใจกับภาวะตลาดหุ้นไทย และเงินบาทในขณะนี้ ซึ่งกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากมีความผันผวนมากในช่วงที่ผ่านมา พร้อมระบุด้วยว่า รัฐบาลต้องการจะเห็นตลาดหุ้นไทย และเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ

 

• นิด้า เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลสามารถใช้แนวทางดึงภาคเอกชนที่มีความพร้อมและศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน โดยอาศัยกลไกตลาดทุน ที่ภาคเอกชนสามารถจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะไม่ให้สูงเกินไป

 

• กกต.มีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ประกาศรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

Equity Market

 

• SET Index บวกแรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ปิดที่ 1,560.87 จุด เพิ่มขึ้น 16.84 จุด หรือ +1.09% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 67,501 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,219 ล้านบาท โดยการปรับขึ้นในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี ประกอบกับมีแรงซื้อของทริกเกอร์ฟันด์ในช่วงนี้ด้วย

 

• ลิปเปอร์รายงานว่า กองทุน ตปท. ที่เน้นการลงทุนในหุ้นไทยดึงดูดเงินลงทุนได้ 550 ล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. ถือเป็นปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2550 ขณะที่ในปีนี้ กองทุนต่างชาติที่เน้นลงทุนในหุ้นอินโดนีเซียและมาเลเซียมียอดเงินไหลออก 477 ล้านดอลลาร์ แต่กองทุนหุ้นไทยกลับดึงดูดเงินลงทุนได้ 929 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงเกือบเป็น 3 เท่าของยอดเงินลงทุนไหลเข้าทั้งหมดในปีที่แล้ว

 

Fixed Income Market

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง -0.03% ถึง -0.01%

 

• กระทรวงการคลัง จะเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาล ในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 56 รวม 1.45 แสนล้านบาท ซึ่งมีอายุ 4 / 6 / 8 / 10 / 14 / 15 / 19 / 24 / 28 และ 48 ปี เพื่อการบริหารหนี้ในปีงบประมาณ 56 และเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้

 

• สศค. วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่ต้นปี 56 จนถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อตราสารหนี้สุทธิประมาณ 85,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.6 จากปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของไทยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศในอาเซียน ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนาม สะท้อนได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยอายุ 10 ปีเฉลี่ย 3.5% ขณะที่ของอินโดนีเซียและเวียดนามเฉลี่ย 5.5% และ 9.3% ตามลำดับ

 

Guru Corner

 

Mark Faber

 

“หนี้ภาครัฐของสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2007 ถึงกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์ และมีงบประมาณขาดดุลในปีนี้ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแม้จะดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในวันนี้เพราะธนาคารกลางสหรัฐคอยพิมพ์แบงค์ออกมาช่วย แต่ในวันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นปัญหาหนักยิ่ง เพราะธนาคารกลางไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ตลอดไป

 

สิ่งที่ประเทศตะวันตกทำไปคือเพิ่มการบริโภคผ่านหนี้สินภาคครัวเรือนมาตลอด 20 ปี และผ่านหนี้สินภาครัฐในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหนี้ภาคครัวเรือนกับภาครัฐล้วนแล้วแต่เป็นพัฒนาการที่อันตรายยิ่ง เพราะว่าเป็นการดึงเงินในอนาคตมาเพื่อบริโภคในวันนี้ และจะไม่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนในระยะยาว

 

ถ้าอยากจะทำให้หุ้นและสินทรัพย์มีราคาสูงขึ้น ก็ให้พิมพ์เงินใส่ระบบไปเรื่อยๆ ซึ่งนั่นเป็นเพียงภาพลวงของความมั่งคั่ง การผลักดันราคาสินทรัพย์อย่างนั้นไม่ใช่วิธีสร้างความมั่งคั่งให้กับชาติ ความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ได้ด้วยการจ้างงาน การผลิต การลงทุนในโรงงาน ในนวัตกรรมต่างๆ และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา กับการวิจัยและพัฒนา ความมั่งคังของชาติไม่ได้มาจากการเก็งกำไร และการบริโภค

 

(แทน)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...