ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ผมว่าอย่าว่าแต่ยึดทองเลยครับ แค่จะซื้อทองเพิ่มเข้าค้ำเงินบาทเป็นทุนสำรองยังไม่ค่อยแลเลยครับ เที่ยบจำนวนเงินดอลล่าสำรองกับจำนวนทองค้ำเงินบาทมันต่างกันเยอะอยู่นะ :blush: :blush:

 

หรืออาจเป็นแผนของธนาคารแห่งประเทศก็ได้นะครับ :lol: :lol: ซื้อดอลล่าไว้เยอะๆ แล้วรอเวลาดอลล่าล้มเงินบาทจะได้ล้มตามแล้วค่าเงินเราจะได้ถูกแบบไม่ต้องประกาศลดค่าเงินแบบเวียดนาม จะได้ส่งออกดีขึ้น :lol: :lol: :lol: ......อันนี้ผมล้อเล่น

เรื่องเงินทุนสำรองของประเทศไทย ที่ผมเคยรู้มา(อ่านหรือฟังรายการวิทยุน่าจะ3ปีแล้ว) การเอาเงินทุนสำรองไปทำอย่างอื่นมีข้อกำหนดคุมไว้ คงคุมไม่ให้มีใครมาทำไม่ดีกับเงินทุนสำรองของประเทศ การเอาเงินทุนสำรองไปซื้อทองคำทำได้ในอัตราส่วนไม่มากครับ เขาไม่ได้ถือว่าทองคำเป็นเงินตราจริงๆ(หลงผิดไปหมดเลย) ดังนั้นถ้าอยากจะซื้อทองคำเพิ่มขึ้นมากๆ ต้องไปแก้กฎหมายก่อนว่าให้การถือทองคำเป็นทุนสำรองได้ครับ ให้ถือเหมือนว่าทองคำเป็นเงินตราอีกสกุลที่สามารถถือได้มากมาย

การแก้กฎหมายเป็นเรื่องยากมากๆ ดังนั้นถึงวันนี้เราก็น่าจะถือทองคำได้ในอัตราส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับเงินทุนสำรองที่มี ใครขืนซื้อเกินที่กำหนดมาเก็บเป็นเงินทุนสำรองผิดกฎหมายครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องเงินทุนสำรองของประเทศไทย ที่ผมเคยรู้มา(อ่านหรือฟังรายการวิทยุน่าจะ3ปีแล้ว) การเอาเงินทุนสำรองไปทำอย่างอื่นมีข้อกำหนดคุมไว้ คงคุมไม่ให้มีใครมาทำไม่ดีกับเงินทุนสำรองของประเทศ การเอาเงินทุนสำรองไปซื้อทองคำทำได้ในอัตราส่วนไม่มากครับ เขาไม่ได้ถือว่าทองคำเป็นเงินตราจริงๆ(หลงผิดไปหมดเลย) ดังนั้นถ้าอยากจะซื้อทองคำเพิ่มขึ้นมากๆ ต้องไปแก้กฎหมายก่อนว่าให้การถือทองคำเป็นทุนสำรองได้ครับ ให้ถือเหมือนว่าทองคำเป็นเงินตราอีกสกุลที่สามารถถือได้มากมาย

การแก้กฎหมายเป็นเรื่องยากมากๆ ดังนั้นถึงวันนี้เราก็น่าจะถือทองคำได้ในอัตราส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับเงินทุนสำรองที่มี ใครขืนซื้อเกินที่กำหนดมาเก็บเป็นเงินทุนสำรองผิดกฎหมายครับ

 

กระจ่างเลยครับ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่เราผูกค่าเงินเข้ากับดอลล่าซะอีก ถึงเน้นถือดอลล่า แต่ตอนนี้เปลี่ยนความคิดใหม่ ซื้อทองมาเกินสัดส่วนมันผิดกฏหมาย :huh: :huh:

 

งั้นไม่เป็นไร เดี๊ยวสมาชิก thaigold ช่วยกันซื้อแทนละกันครับ ใครสนใจบ้าง :lol: :lol:

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องเงินทุนสำรองของประเทศไทย ที่ผมเคยรู้มา(อ่านหรือฟังรายการวิทยุน่าจะ3ปีแล้ว) การเอาเงินทุนสำรองไปทำอย่างอื่นมีข้อกำหนดคุมไว้ คงคุมไม่ให้มีใครมาทำไม่ดีกับเงินทุนสำรองของประเทศ การเอาเงินทุนสำรองไปซื้อทองคำทำได้ในอัตราส่วนไม่มากครับ เขาไม่ได้ถือว่าทองคำเป็นเงินตราจริงๆ(หลงผิดไปหมดเลย) ดังนั้นถ้าอยากจะซื้อทองคำเพิ่มขึ้นมากๆ ต้องไปแก้กฎหมายก่อนว่าให้การถือทองคำเป็นทุนสำรองได้ครับ ให้ถือเหมือนว่าทองคำเป็นเงินตราอีกสกุลที่สามารถถือได้มากมาย

การแก้กฎหมายเป็นเรื่องยากมากๆ ดังนั้นถึงวันนี้เราก็น่าจะถือทองคำได้ในอัตราส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับเงินทุนสำรองที่มี ใครขืนซื้อเกินที่กำหนดมาเก็บเป็นเงินทุนสำรองผิดกฎหมายครับ

อ้อ ถึงว่าละ (แอบตำหนิธปท.ไปหลายคำล่ะ อิอิ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ph34r.gifph34r.gifph34r.gif มีแบบที่ซื้อขายแบบไม่ใช่ราคาสมาคมด้วยหรือครับ มันเป็นยังไง รบกวนช่วยอธิบายด้วยครับ อยากรู้

 

ลองดูที่เว็ปนี้นะครับ

 

http://www.bangkokgoldtrade.com/home/index.php

 

แล้วกดดูที่สรุปราคาทองย้อนหลัง ราคาซื้อขายต่างจากสมาคมครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โฉบมาตอบ ครบทุกคำถามแล้วนะครับ ใครสงสัยอะไร ถามทิ้งไว้แล้วมาพูดคุยกันใหม่ครับ

 

ปล. ขอเสียงคนยังกอดทองแน่นๆ หน่อยครับ :lol: 1400$ กว่าแล้ว เอ้า เฮ... :lol:

 

กอดทองแน่นอยู่ แต่ส่วนที่ทำกำไร ม้ดแล่ว จะได้ช้อนซื้อหรือเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ ติดตามต่อปาย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตี้ยอุ้มค่อม

คอลัม คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4280

 

เวลาไปไหนมาไหนมักจะมีหัวข้อที่ผู้คนไต่ถามอยู่เสมอก็คือ เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจ อเมริกาและยุโรปจะเป็นอย่างไร ดอกเบี้ยในตลาดโลกจะขึ้นหรือไม่ ราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร เป็นประเด็นสนทนาที่ผู้คนในวงการธุรกิจถามไถ่กันเป็นนักหนา

 

เวลากลับไปบ้านเวลาว่างก็พยายามนั่งคิดอยู่เสมอ เพราะเวลานี้มีเวลาว่างมาก เพราะเลิกอ่านข่าว เลิกดูข่าว เลิกฟังข่าวมานานแล้ว กลับไปซื้อภาพยนตร์ที่เป็นละครของไทย ญี่ปุ่น และเกาหลี เรื่องยาว ๆ มาดูเป็นที่เบิกบานสำราญใจ แต่สำหรับเรื่องเศรษฐกิจแล้วจะทำอย่างไร ก็ยังผ่านเข้ามาในมโนวิญญาณ ตั้งใจจะไม่สนใจอย่างไรก็ยังเข้ามาในสมอง ต้องเอาไปคิดไตร่ตรองอยู่อย่างตัดไม่ได้ขายไม่ขาด

 

ถ้าจำกันได้ปัญหาเศรษฐกิจระยะปานกลางคือ 5 ปี และระยะยาวคือ 10 ปีนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญกว่าปัญหาระยะสั้น เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การจะเปลี่ยนทิศทางเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เคยเปรียบเทียบว่าเหมือนเรือเอี้ยมจุ๊นที่บรรทุกทรายเต็มลำเรือ จะจมก็ค่อย ๆ จม และดึงขึ้นได้ยาก จะฉุดขึ้นต้องใช้แรงจากภายนอกมหาศาล เช่นมีการค้นพบวิทยาการผลิตหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้สามารถผูกขาดได้เป็นเวลา 10 ปี รวมทั้งกิจการต่อเนื่อง เหมือนคราวก่อนที่พบเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วนำมาประยุกต์กับกิจการธนาคาร สถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถสร้างกลไกที่ผูกขาดการบริหารเงินออมของทั้งโลกได้ เพราะประดิษฐ์สินค้าทางการเงินออกมาได้ ทำให้สามารถสร้างมาตรฐานต่าง ๆ ที่ทำให้สำนักงานบัญชีและกฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงินในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้บริการทางบัญชี กฎหมายและการเงินให้กับบริษัท ของอเมริกาทั้งสิ้น เท่ากับสหรัฐอเมริกา เข้าผูกขาดตลาดทุนของทั้งโลกไว้ได้

 

หลังจากเกิดวิกฤตการณ์สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ตลาดทุนของอเมริกา ก็พังทลายลง กองทุนอีแร้งหรือกองทุนตรึงมูลค่าที่เขาเรียกว่า Hedge Funds ทั้งหลาย ก็เลยหมดอาชีพ บริษัทผลิตละมุนภัณฑ์ทั้งหลายก็ย้ายไปอยู่อินเดีย กองทุนต่าง ๆ ในอเมริกาก็ไม่กล้าบุ่มบ่ามย่ามใจอย่างแต่ก่อน เพราะธนาคารกลางกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนทำตัวเป็นก้างขวางคอ บางครั้งก็ทำตัวเป็น กองทุนตรึงมูลค่า หรือกองทุนอีแร้งที่คอยตอบโต้กับกองทุนต่าง ๆ ของสหรัฐที่เก็งกำไรค่าเงินดอลลาร์ เงินยูโร เงินเยน รวมทั้งทองคำ นักเก็งกำไรทั้งหลายไม่กล้าทำมาก เพราะถ้าจีนตอบโต้ก็จะขาดทุนมหาศาล และจีนก็จะได้กำไรกลับไปอย่างมาก

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน แร่ธาตุ และสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบ จีนก็เข้าคุมตลาดทั้งในด้านปริมาณและราคา กองทุนเก็งกำไรจะปั่นราคาขึ้นลงก็ลำบากมากขึ้น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เคยสร้างกำไรให้อเมริกาก็หมดโอกาส มีแต่ขาดทุนให้จีนและประเทศอื่นมากขึ้น รายได้จากส่วนนี้ที่เคยเป็นของอเมริกาก็หายไป และยังไม่มีทีท่าว่าจะ กลับคืนมาง่าย ๆ

 

ส่วนที่เป็นสินค้าและบริการอื่น เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม จรวดส่งดาวเทียม เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ก็แข่งขันกับใครไม่ได้เลย และสินค้าของจีนที่ราคาถูกก็พัฒนาคุณภาพขึ้นเรื่อย ๆ กำลังไล่ญี่ปุ่นและเยอรมนีขึ้นมา ตลาดของ อเมริกาไม่ว่าจะเป็นละตินอเมริกา แคนาดา ก็ถูกญี่ปุ่น เยอรมนี และจีนแย่งไปหมด จะเหลือก็แต่ยุโรปที่กองทุนของอเมริกายังทำมาหากินได้ เพราะความเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุน ตลาดเงินของอเมริกากับยุโรปนั้นเชื่อมโยงกันอย่างหนาแน่น สินค้าทางการเงินที่นักการเงินของกองทุนและสถาบันการเงินของอเมริกาคิดขึ้น ก็จะขายในอเมริกาและยุโรปเป็นสำคัญ ความที่ตลาดทุนของอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดทุนที่สำคัญผู้ออมในยุโรปและอเมริกาจึงได้ผลตอบแทนจากธุรกิจการเงินเหล่านี้เป็นจำนวนมาก

 

เมื่ออเมริกาทรุดลง อเมริกาก็หวังว่าเมื่อค่าเงินของตนทรุดลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนแล้วจะทำให้อเมริกามีความสามารถในการแข่งขัน แต่การณ์กลับเป็นว่ายิ่งทำให้ยุโรปทรุดหนักลงไปมากกว่า สาเหตุส่วนหนึ่งและเป็นส่วนใหญ่ เพราะค่าเงินยูโรแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์และเงินหยวนของจีน

 

ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นเกินธรรมชาติ ทำให้เศรษฐกิจทั้งยุโรปอ่อนแอลง สถาบันการเงินในยุโรปโดยเฉพาะประเทศที่อ่อนแอ เช่น กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน มีปัญหาและหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดกรีซและไอร์แลนด์ก็ต้องเข้าโครงการของกองทุนยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นโยบายการเงินที่สำคัญคือ อัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ยก็ใช้ไม่ได้ เพราะประเทศต่าง ๆ ไม่มีเงินของตนเอง

 

ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบที่ตั้งราคาเป็นดอลลาร์ แทนที่จะอยู่คงเดิม ก็แข่งขันกันขึ้นราคา ต้นทุนการผลิตซึ่งแข่งขันไม่ได้อยู่แล้วก็แพงขึ้น

 

ค่าเงินยูโรที่เคยแข็งขึ้นก็อ่อนตัวลดค่าลงอย่างรวดเร็ว ค่าเงินดอลลาร์จึงกลับมาแข็งค่าก็ยิ่งซ้ำเติมอเมริกาและยุโรปจึง กลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมไป ดูแล้วคงลำบาก

 

เมื่อประธานาธิบดีอเมริกาประกาศใช้เงิน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ และยุโรปใช้เงิน 8 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวความคิดของสำนักชิคาโก หรือสำนักนโยบายการเงิน กล่าวคือ เอาไปอุ้มสถาบันการเงิน และบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ให้ล้มเท่านั้น ไม่ได้เอาไปลงทุนเพื่อสร้างงาน

 

ไม่เกิดผลอะไรในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เพียงแต่ทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง แต่ดอกเบี้ยระยะยาวไม่ยอมลด เพราะราคาพันธบัตรของอเมริกาและยุโรปที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดอยู่แล้วมีราคาลดลง เป็นเหตุ มาจากการที่รัฐบาลนำพันธบัตรใหม่ออกมาขายเพื่อเอาเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจของอเมริกาและยุโรปมีรวมกันถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ การเพิ่มปริมาณพันธบัตรให้มีมากขึ้น ราคาพันธบัตรเก่าก็ตกผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวก็ขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวแทนที่จะลดลงตามปริมาณเงินที่มากขึ้นกลับไม่ลดลง

 

กองทุนภาคเอกชนไม่เกิด การสร้างงานไม่มี การว่างงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่สถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ที่อุ้มไว้ไม่ล้ม

เมื่อสถานการณ์ไม่ดีขึ้น อเมริกาก็ประกาศมาตรการเพิ่มปริมาณเงินอีก 8 แสนล้านบาท คราวนี้ไม่ทำเหมือนเดิมแต่ทำตรงกันข้าม กล่าวคือ เพื่อให้ดอกเบี้ยระยะยาวลดลง ธนาคารกลางจึงปล่อยเงินให้กระทรวงการคลังกู้เอาไปซื้อพันธบัตรคืนเป็นระลอก ๆ เมื่อกระทรวงการคลังอเมริกาซื้อพันธบัตรคืน ราคาพันธบัตรก็ขึ้น ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวก็ตก ดอกเบี้ยระยะยาวก็คงจะต้องตกเหมือนกัน แต่ปริมาณเงินดอลลาร์ในอเมริกา ในยุโรป และในตลาดโลกก็จะมากขึ้น ทำให้สภาพคล่องมีเพิ่มขึ้น แต่ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับยุโรปกลับแข็งขึ้น สถานการณ์จึงเป็นสถานการณ์ที่แปลก นโยบายครั้งแรกกับครั้งที่สองซึ่งกลับกันก็เลยเหมือนลิงแก้แห

 

สำหรับญี่ปุ่นเงินเยนแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลเอาไว้ไม่อยู่ แต่ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมญี่ปุ่นจะไม่เหมือนเมื่อครั้งทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เพราะหลังวิกฤตการณ์ค่าเงินเยนเที่ยวนั้น ญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตออกจากญี่ปุ่นไปอเมริกา ยุโรป บราซิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบครั้งนี้จึงน้อยลง แต่ก็คงจะเกิดการย้ายฐานผลิตออกจากญี่ปุ่นอีก แต่ คราวนี้คงไม่ไปอเมริกาและยุโรป คงไปจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกาอีกระลอกหนึ่ง เราควรจะตั้งรับการย้ายฐานการผลิตที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงขึ้น ผลของการที่ค่าเงินเยนแข็งขึ้นครั้งนี้ ผลกระทบต่อญี่ปุ่นจึงวิเคราะห์ได้ยาก เพราะฐานการผลิตของญี่ปุ่นมีกระจายอยู่ทั่วโลก แต่สำนักงานใหญ่ของทุกที่ยังอยู่ที่ญี่ปุ่น

 

การที่สภาพคล่องของดอลลาร์สหรัฐมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 ปีมานี้ จะทำให้ราคาสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งของที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น น้ำมัน ถ่านหิน พลังงานอื่น ๆ ทองคำ ทองแดง เหล็ก อะลูมิเนียม รวมทั้งสินค้าทางด้านเกษตร เช่น ยางพารา อ้อยและน้ำตาล และธัญพืชอื่นที่ใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารมีราคาสูงขึ้น เป็นการปรับราคาครั้งใหญ่ เหมือนกับครั้งที่อเมริกาประกาศ ออกจากมาตรฐานทองคำ เหมือนกับเมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่หนึ่ง ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้นจะยังไม่เดือดร้อน ประเทศที่มีฐานะการแข่งขันสูงกว่าอเมริกาและยุโรปก็จะได้ประโยชน์

การปรับราคาครั้งใหญ่เกิดจากปริมาณเงินหรือปริมาณสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ส่วนการปรับราคาเมื่อตอนเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่หนึ่งก็เกิดจากสภาพคล่องมีจำนวนมากขึ้น อันเนื่องมาจากดอลลาร์สหรัฐออกจากมาตรฐานทองคำแล้ว การเพิ่มปริมาณดอลลาร์สหรัฐทำให้กลุ่มโอเปกขึ้นราคาน้ำมันเพื่อชดเชยการลดลงของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับทองคำ ซึ่ง เมื่อก่อนสหรัฐกำหนดไว้ที่ 36 ดอลลาร์ต่อ 1 ทรอยออนซ์ กลายเป็น 350-400 ดอลลาร์ต่อ 1 ทรอยออนซ์ ต่อจากนั้นก็เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ภาวะเศรษฐกิจของโลกก็เริ่มทรุดลง เพราะการพุ่งขึ้นของดอกเบี้ย การยอมให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อจึงเป็นเรื่องที่ผิด เพราะสาเหตุของเงินเฟ้ออยู่ที่ ค่าเงินดอลลาร์ตก

 

ถ้าราคาน้ำมันและพลังงานยังสูงขึ้นต่อไปเพื่อชดเชยกับค่าเงินดอลลาร์ที่ตกลงไปอีก ภาวะเศรษฐกิจซบเซาแต่มีเงินเฟ้อก็จะเกิดขึ้น จนเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองที่ซ้ำเติมโดยธนาคารกลางสหรัฐ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐ ชื่อ พอล วอล์กเกอร์ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งไม่ได้ผล แต่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและโลกซบเซาอย่างหนักในทศวรรษ ที่ 1980 จนกระทั่งเกิดเทคโนโลยีใหม่ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

 

ก็ได้แต่หวังว่าเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเพราะการเพิ่มปริมาณเงินอย่างมโหฬารครั้งนี้ อเมริกาคงไม่เบาปัญญาอย่างคราวที่แล้ว ที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอย่างบ้าเลือดในสมัยประธานาธิบดีรีแกน ปล่อยให้ ธปท.ขึ้นไปประเทศเดียวเถิด

 

อนาคตของอเมริกาและยุโรปยังคงมืดมนหนักต่อไป

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐกับเศรษฐกิจโลก

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

 

ครั้งที่แล้ว ผมนำเอาบทความของ Jim Quinn มาแปลสรุปซึ่งมีสาระ คือ การกู้เงิน (สร้างภาระหนี้สินให้ลูกหลานในอนาคต) กับการพิมพ์เงินดอลลาร์ ออกมาเป็นจำนวนมากของสหรัฐ (รัฐบาล+ธนาคารกลาง) นั้นดูจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 9.7 ล้านล้านดอลลาร์ ในเดือนกันยายน 2008 (ก่อนวิกฤติ) มาเป็น 13.9 ล้านล้านดอลลาร์ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2010 (เพิ่มขึ้น 4.2 ล้านล้านดอลลาร์) ในขณะที่จีดีพีจริงของสหรัฐแทบจะไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเลยในช่วงดังกล่าว แต่หลายฝ่ายจะติงว่าเป็นการสกัดไม่ได้เศรษฐกิจล่มสลาย และหากไม่ดำเนินการดังกล่าวเศรษฐกิจก็อาจจะตกต่ำลงอย่างมากก็เป็นได้ ตรงนี้น่าจะเป็นความจริงเพราะกรณีของไทยนั้นไอเอ็มเอฟสั่งให้เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มและปรับขึ้นดอกเบี้ย (จากการลดปริมาณเงินและปิดสถาบันการเงิน) เป็น 20% ผลที่ตามมา คือ เศรษฐกิจไทยหดตัวลด 10% (จากที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าจีดีพีจะขยายตัว 3%) ถือได้ว่าสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างมาก แต่จะเห็นได้ว่าการกินยาขนานหนักของไทยนั้นแก้ปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวได้อย่างชะงักงัน เพราะไทยเปลี่ยนจากประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ใช้จ่ายเกินตัว) 8% ของจีดีพีในปี 1996 มาเป็นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ลดการใช้จ่ายเพื่อคืนหนี้ต่างประเทศ) 10% ของจีดีพีต่อปีใน 1997-1998 และยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องมาเกือบทุกปีจนกระทั่งทุกวันนี้ กล่าวคือ นิสัยการใช้จ่ายเกินตัวหายเป็นปลิดทิ้ง แต่กรณีของสหรัฐนั้นทางการสหรัฐโดยเฉพาะนายเบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐเน้นว่าสหรัฐมีปัญหาการว่างงานสูง ตัวเลขล่าสุดเดือนธันวาคม มีอัตราการว่างงาน 9.5% จากระดับปกติที่ 6% แสดงว่ามีการผลิตจริงต่ำกว่ากำลังการผลิต ดังนั้น สหรัฐจึงจะไม่มีทางมีปัญหาเงินเฟ้อและจำต้องใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอย่างไม่ลดละ และไม่มีใครเถียงสหรัฐในประเด็นนี้ แต่ผมขอมองในอีกมุมหนึ่งว่าสหรัฐยังไม่ได้แก้ปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว เห็นได้จากสัดส่วนการบริโภคสูงถึง 70% ของจีดีพี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ยังสร้างหนี้สินกับต่างประเทศ) ประมาณ 3.5% ของจีดีพีต่อปี ที่สำคัญ คือ กฎหมายลดภาษีแบบลดแลกแจกแถมที่เพิ่งผ่านสภาในปลายปีที่ผ่านมานั้น ก็สะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองสหรัฐทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างแข่งกันลดภาษีให้ประชาชน โดยการรักษาวินัยทางการคลังและลดการใช้จ่ายเกินตัวนั้นให้พักเอาไว้ก่อน ซึ่งเมอร์ริล ลินช์ มองว่าแนวทางดังกล่าวน่าจะดำเนินอย่างต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้าเพราะปีหน้าจะเป็นปีเลือกตั้งประธานาธิบดี ทำให้ไม่มีนักการเมืองคนใดต้องการ ทำให้ประชาชนเคืองโดยการเสนอเพิ่มภาษีหรือลดการจ่ายของรัฐ

ดังนั้น จึงเสมือนกับการเดิมพันว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐซึ่งส่วนใหญ่เน้นการลดภาษีชั่วคราว ให้ประชาชนมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นนั้นจะกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนและจ้างงานอันจะนำไปสู่การกอบกู้เศรษฐกิจให้ขยายตัวสูง 4-5% ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า และทำให้การว่างงานลดลง ขณะเดียวกัน การขยายตัวที่สูงของเศรษฐกิจสหรัฐก็จะช่วยให้สถานะทางการคลังของรัฐบาลสหรัฐดีขึ้น ทำให้อาจสามารถนำเสนอมาตรการเพื่อเพิ่มวินัยทางการคลังได้ โดยประชาชนจะยอมรับการปรับเพิ่มภาษีและลดรายจ่ายของรัฐ เพราะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นแล้ว

 

ปัญหา คือ ตัวเลขการจ้างงานและการว่างงานของสหรัฐล่าสุดนั้น สะท้อนปัญหาว่าปีที่แล้วนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบสุดกู่นั้นช่วยให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านตำแหน่ง ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐควรต้องสร้างงานเกือบ 2 ล้านตำแหน่ง จึงจะทำให้อัตราการว่างงานค่อยๆ ลดลง ทำให้นายเบอร์นันเก้ยอมรับกับวุฒิสภาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าการฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของสหรัฐนั้น ทำให้จะต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี อัตราการว่างงานจึงจะลดลงกลับไประดับปกติที่ 6% แต่ตัวเลขที่ประกาศออกมาล่าสุดในเดือนธันวาคม 2010 นั้น มีนัยสำคัญในรายละเอียด คือ คนที่เลิกหางานทำมีมากถึง 260,000 คน ทำให้ตัวเลขอัตราว่างงานลดลง นอกจากนั้น คนที่ว่างงานนาน 6 เดือนหรือมากกว่านั้นมีจำนวนมากถึง 6.4 ล้านคน หมายความว่า คนกลุ่มนี้น่าจะขาดทักษะที่จะหางานทำได้ ในขณะที่สัดส่วนของคนที่อยากทำงานเต็มเวลาแต่ต้องทำงานน้อยกว่านั้นยังมีสัดส่วนสูงถึง 16.7% ความหมาย คือ ปัญหาการว่างงานน่าจะเป็นปัญหาโครงสร้างอยู่มาก (คือ คนไม่เหมาะกับงาน) ดังนั้น มาตรการการเงินและการคลังที่พยายามกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงอาจไม่ได้ทำให้การจ้างงานกระเตื้องมากขึ้น แต่จะออกไปในรูปของการเร่งการบริโภคที่ต้องนำเข้าสินค้าต่างประเทศ กล่าวคือ อาจทำให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น ไม่ได้ทำให้จีดีพีสหรัฐฟื้นตัวเร็วหรืออีกนัยหนึ่ง คือ รัฐบาลสหรัฐกู้เงินต่างชาติมาเพื่อให้ประชาชนสหรัฐซื้อสินค้าต่างชาติมาบริโภคนั่นเอง

 

ตัวอย่างเช่น นักวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย คือ Yuging Xing และ Neal Delert พบว่า iphone ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเท่ากับ 179 ดอลลาร์นั้น สามารถแยกแยะการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากชิ้นส่วนที่ผลิตจากประเทศต่างๆ ดังนี้

 

ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลี จีน สหรัฐ อื่นๆ

 

100% 34% 17% 13% 3.6% 5.4% 27%

 

จะเห็นได้ว่าการผลิต iphone นั้นใช้มูลค่าเพิ่ม (รวมทั้งการจ้างงานในสหรัฐ) เพียง 5.4% หรือไม่ถึง 10 ดอลลาร์ แต่มูลค่าเพิ่มของจีนนั้นอาจสูงกว่า 3.6% เพราะชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตของเกาหลีใต้ เยอรมนี ญี่ปุ่นและสหรัฐนั้น ส่วนหนึ่งอาจทำมาจากประเทศจีน และจีนจะเป็นผู้ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ออกมาเป็น iphone โดยสมบูรณ์ จริงอยู่ iphone นั้น ราคาขายจะอยู่ที่ 500-600 ดอลลาร์ แปลว่าบริษัทแอ๊ปเปิ้ลได้กำไรเครื่องละกว่า 300 ดอลลาร์ แต่กำไรดังกล่าวจะไม่ได้เพิ่มการจ้างงานหรือกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐมากนัก หากไม่ถูกนำไปลงทุนหรือจ่ายออกเป็นเงินปันผลของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้น การกระตุ้นให้คนสหรัฐใช้เงินมากๆ เพื่อซื้อ iphone น่าจะทำให้ผู้ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ลและบริษัทต่างประเทศได้ผลประโยชน์มากกว่าคนงานสหรัฐ ตราบใดที่การกระจายการผลิต iphone ไปทั่วโลกเป็นการลดต้นทุนเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตในสหรัฐ แม้ว่าบริษัทสหรัฐจะเป็นผู้ประดิษฐ์สินค้าที่เป็นที่นิยมอย่างมากดังกล่าว

 

ดังนั้น การโหมกระตุ้นจีดีพีโดนนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้นอาจไม่ให้ผลดังที่คาดหมายก็ได้ และอาจทำให้รัฐบาลสหรัฐเผชิญปัญหาหนี้สาธารณะซึ่งในทัศนะของนายอลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (ในการสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal วันที่ 8 ม.ค.) นั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (คือ รัฐบาลสหรัฐกู้เงินเพิ่มไม่ได้) สูงพอที่เขาจะแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐปรับเพิ่มภาษีทันทีและรัฐบาลสหรัฐจะต้องรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างแน่นอนเพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะทำก่อนเกิดวิกฤติตลาดพันธบัตรหรือทำหลังเกิดวิกฤติเท่านั้น เขาสรุปว่า สหรัฐมีโอกาสที่จะไม่เจอปัญหาดังกล่าวใน 2-3 ปีข้างหน้า แต่โอกาสที่ว่านี้สูงกว่า 50% ไม่มากนัก เรื่องการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของสหรัฐ จึงเป็นเรื่องที่ผมจะต้องขอเขียนต่อในสัปดาห์หน้าครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขออนุญาต ดันหน่อย happy.gif

การ upgrade มีปัญหานิดหน่อยนะครับ

 

เลยต้อง restore ข้อมูลเก่า เมื่อคืนราว 21.30น. กลับเข้าไป

 

ดังนั้น ใครโพสต์อะไรหลังเวลา 21.30น.เมื่อคืนเป็นต้นมา ก็จะหายไปบ้าง ต้องขออภัยด้วยครับ blush.gif

พี่ๆ ขา... น้องเล็กฝากดันกระทู้เฮียกัมนิ๊ดนะคะ อิอิ (เมื่อคืนหนูล่ะตกใจหมดเลยนึกว่าโดนแบน แฮะแฮะ)

 

พักนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาหาคุณเน็กซ์เลย (ขอโทษค่ะหนูติดเพื่อน) แต่ยังตามผลงานตลอดนะคะ . จากแฟนพันธุ์แท้คุณเน็กซ์ !10

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับทุกท่าน

 

ผมว่าเอาทองมาใส่กล่องช็อคโกเลตแช่ช่องฟรีซดีกว่าครับ

(แต่อย่าให้ลูกเห็นล่ะ เดี๋ยวกัดไม่เข้าจะเอาไปโยนทิ้ง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...