ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

แสดงว่ายุ่นซื้อมากขึ้นเยอะ(ราคาวันศุกร์) เพราะเยนอ่อนเนื่องจากพิมพ์เพิ่มอีก 117$ B

 

Gold hits its high for this year at 4820 yen per gram (1699.00 per oz) as investors are starting to wonder about Abe's stimulation plan. The government approved 117 billion USA in spending stimulation to kick start their economy.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Announceโฆษกกระทรวงการคลังเขาบอกว่าจะไม่ปั้มเหรียญละ 1 ล้านล้านคร้าบ

 

 

 

Treasury: We won’t mint a platinum coin to sidestep the debt ceiling

 

The Treasury Department will not mint a trillion-dollar platinum coin to get around the debt ceiling. If they did, the Federal Reserve would not accept it.

That’s the bottom line of the statement that Anthony Coley, a spokesman for the Treasury Department, gave me today. “Neither the Treasury Department nor the Federal Reserve believes that the law can or should be used to facilitate the production of platinum coins for the purpose of avoiding an increase in the debt limit,” he said.

 

http://www.washingto...e-debt-ceiling/

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Fed Balance คืออะไรเหรอครับคุณหมอ

 

Joseph Stiglitz เตือน ระวังเงินร้อน

17/09/2009

 

 

คุณ Joseph Stiglitz เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2001 เจ้าของ"ทฤษฎีข้อมูลที่ไม่สมมาตรกัน" (Theory of information Asymmetry) ซึ่งส่งผลให้ตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันคุณ Stiglitz เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยบทความฉบับนี้จะเป็นการวิเคราะห์ของผู้เขียน จากการให้สัมภาษณ์ของคุณ Stiglitz ในประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบายฟื้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และนัยต่อตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของไทย

 

ที่มาของเงินร้อน

สหรัฐ อเมริกาได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ และการขยายงบดุลของธนาคารกลาง (FED) อย่างต่อเนื่อง โดยสหรัฐฯ ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ลงไปสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์คือ 0 – 0.25% ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2551 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึง FED ที่ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินทำให้สินทรัพย์ของ FED เพิ่มขึ้นจากระดับประมาณ 8 แสนล้านเหรียญในปี 2551 มาเป็น 2 ล้านล้านเหรียญในปัจจุบัน (มีเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นในระบบคิดเป็นเงินไทยประมาณ 68 ล้านล้านบาท มากกว่า GDP ของประเทศไทยประมาณ 7 เท่า) สิ่งที่เกิดขึ้นคือเงินจำนวนมหาศาลเหล่านั้นไม่ได้นำไปสู่การปล่อยกู้ใน สหรัฐฯเป็นหลัก แต่กลับไหลไปสู่ภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือภูมิภาคเอเชีย โดยเงินส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนผ่านสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องเช่น หุ้น และพันธบัตร (นับแต่ต้นปีมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้าตลาดหุ้นไทยประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าเงินดังกล่าวมาจากสหรัฐฯ ทั้งหมด)

 

ปัจจัยที่ควรจับตามอง

เมื่อ เงินที่ไหลเข้าตลาดทุนส่วนหนึ่งมาจากเงินที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เมื่อวิกฤตได้ผ่านพ้นไปย่อมเป็นไปได้ที่เงินเหล่านั้นจะต้องไหลกลับไปสู่ แหล่งที่มา เช่นในกรณีของสหรัฐฯ ที่เริ่มมีการวางแผนของการดึงเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบกลับคืนสู่ทางการไป บ้างแล้ว (Exit Strategy) ดังนั้นสิ่ง ที่นักลงทุนไทยควรให้ความสำคัญก็คือ สภาพคล่องของตลาดเงินโลก ซึ่งจะมีผลต่อตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของไทยไม่มากก็น้อย อย่างแน่นอน ผมแนะนำให้ติดตามปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

  1. อัตราดอกเบี้ย London Interbank Offer Rate อายุ 6 เดือน (6-month LIBOR) ซึ่งเป็น indicator สำคัญที่สะท้อนถึงสภาพคล่องของตลาดการเงินของโลก ปัจจบันอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์คือ 0.675% ณ วันที่ 15 กันยายน 2552 หากอัตราดอกเบี้ยตัวนี้ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อใด ย่อมหมายถึงสภาพคล่องที่ลดลง (ดู www.bbalibor.com)
  2. ขนาดของสินทรัพย์ที่ FED ถือครอง (FED Balance Sheet) โดยหาก FED เริ่มลดขนาดของสินทรัพย์ที่ถือครองเมื่อใด ย่อมหมายถึงการดูดสภาพคล่องออกจากระบบ โดยปัจจุบันขนาดสินทรัพย์ที่ FED ถือครองคือประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญ ดังที่ระบุไว้ข้างต้น (ดู www.federalreserve.gov)

ผม เชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลาย ๆ มองว่าอาจเกิดขึ้นในปี 2553 มีโอกาสสูงที่ธนาคารกลางหลาย ๆ แห่งทั่วโลกโดยเฉพาะ FED ที่จะทยอยดึงสภาพคล่องที่ปล่อยไปในระบบกลับคืน ซึ่งผมหวังว่ากระบวนการนั้นจะเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนของบ้านเราอย่างมีนัยสำคัญ แต่เราอยู่บนตลาดที่การคาดการณ์ของนักลงทุนมีผลต่อราคา อาจเป็นไปได้ที่มีการคาดการณ์ถึงสภาพคล่องที่ลดลง และทำให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินได้เช่นกัน สรุปแล้วคือ หากเราลงทุนในสิ่งที่มีความผันผวน สิ่งที่เราควรทำคือติดตามปัจจัยต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญต่อราคานั่นเอง ในโลกของการลงทุน “ยิ่งรู้มากกว่า ก็ยิ่งได้เปรียบ” สวัสดีครับ

คุณสามารถติดตามบทความ คุยกับ “ผู้จัดการกองทุน” โดยคุณ เจษฎา สุขทิศ, CFA และเวบบอร์ดเพื่อ นักลงทุนไทย ได้ใน http://fundmanagertalk.com และติดตามเรื่องการลงทุนแบบทันสถานการณ์ได้ทาง http://twitter.com/FundTalk สวัสดีครับ...

 

 

จากคอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน

โดยนายเจษฎา สุขทิศ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ.อยุธยาจำกัด

ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 17 กันยายน 2552

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ที่เคยอ่านเกี่ยวกับบัญชีมานิดหน่อย จำได้ว่า

 

สินทรัพย์ = หนี้สิน+ ทุน (เมื่อเริ่มคืนหนี้ ปริมาณหนี้ก็ลดลง ปริมาณสินทรัพย์ก็ลดลงตามครับ)

 

เดาว่าBalance sheet คือสิ่งที่แสดง สินทรัพย์= หนี้สิน+ทุน ถ้าเป็นของบริษัทA ก็เป็นBalance sheetของบริษัทA ถ้าเป็นFED ก็เป็นBalance sheet ของFED

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

$$... Operation Twist ทางเลือกสุดท้ายของ Fed ...$$ pmail.gif

เขียนค้างไว้ตั้งแต่วันจันทร์ จน Fed ประกาศเมื่อคืน ถึงกลับมา Review อีกครั้ง หวังว่าคงยังไม่สายไป สำหรับคนที่อยากทำความเข้าใจ Operation Twist และทางเลือกของ Fed ในการกระตุ้นเศรษฐกิจนะครับ :)

 

Bernake ไม่เอา QE3 แล้วหรอ?

จาก มุมมองของโบรกฯต่างชาติ 6 แห่ง (Bank of America, Barclays, Credit Suisse, Deutsche Bank, Morgan Stanley และ RBS) ทุกที่ต่างมองว่า QE3 ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลหลักคือ ผลลัพท์จาก QE2 ต่อภาคเศรษฐกิจโดยตรงนั้นน้อยมาก ทำได้ก็แค่ปั่นตลาดหุ้น และ Commodity ขึ้นมาในระยะสั้นเท่านั้น

 

ไปดูกันหน่อยว่า นักวิเคราะห์แต่ละแห่งหวังอะไรจาก Fed บ้าง

 

• BAML: Purchases likely concentrated in 7- to 10-yr sector

• Barclays: Fed likely to sell $440b of securities maturing in 1-4 yrs, buy $660b in the 5.5- to 30-yr sectors

• Credit Suisse: Fed can buy $360b in the 10-yr sector, matched by sales in the 1- to 3-yr sector, before running into position limits

• Deutsche Bank: Buying likely to be concentrated in 7- to 10-yr sector; Fed has limited ability to buy longer-maturity paper

• FTN: Baseline expectation is $300b of sales of debt maturing in 0.5 to 2.5 years, reinvestment contcentrated in 8- to 30-yr debt

• Morgan Stanley: Fed likely to sell all 0- to 2-yr debt, buy the 8- to 10-yr and 30-yr sectors

• RBS: Fed likely to sell 0- to 3-yr sector, buy mostly 7- to 10-yr sector

 

จะเห็นว่า นักวิเคราะห์จาก 7 สถาบันการเงิน มีถึง 6 แห่ง ที่มองว่า Fed จะขายพันธบัตรระยะสั้น และเพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรระยะยาว การทำเช่นนี้ เรียกเป็นภาษาที่ดูดี เขาเรียกกันว่า “Operation Twist”

 

ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเจอภาวะถดถอยยุคปี 60 สมัยนั้น Kennedy ยังเป็นประธานาธิบดี มาตรการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในช่วงปี 1961-1965 ก็คือ Operation Twist นั้นเป็นวันแรกที่ชาวโลกได้รู้จักกับคำๆนี้

 

ลอง ดูตารางด้านล่าง จะเห็นว่าปัจจุบัน Fed ซื้อพันธบัตรอายุ 4 ปี ถึง 8 ปีไว้ในพอร์ตเยอะสุด ก็เป็นไปตามมาตรการ QE และ QE2 ที่ต้องการกดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางไว้ให้ต่ำ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ผลก็อย่างที่เราเห็นครับ ตัวเลขเศรษฐกิจยังบอกว่า ไม่ฟื้นดีนัก

 

แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 54 23:03:20 I11100391-0.jpg จากคุณ : Mr.Messenger my_flog.gif my_blog.gif เขียนเมื่อ : 22 ก.ย. 54 12:34:28 ความคิดเห็นที่ 1

จากตารางข้างบน ลองดูด้านขวามือ ตรง Summary of UST Coupon Bonds ตรงวงกลมสีแดง Fed Limit จะเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐแทบไม่เหลือวงเงินในการซื้อพันบัตรช่วงอายุ 6-8 ปี แล้ว ซึ่งอาจเป็นปัญหาในอนาคต แต่ในขณะที่ วงเงินสำหรับพันธบัตรอายุ 15-30 ปี (10y Equivalents) ยังมีเหลือค่อนข้างมาก หาก Fed จะก่อหนี้เพิ่มขึ้น อาจเล็งช่วงพันธบัตรอายุ 15 ปีขึ้นไปนี้ล่ะครับ ตรงนี้ล่ะ ที่ Fed เล็งเห็นว่า สามารถทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยเศรษฐกิจอเมริกาทางอ้อมได้

 

ความตั้งใจของ Fed ก็คือ กดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวยาวในตลาดให้ต่ำลงไปอีก ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต้องไม่เปลี่ยนแปลง (เพราะมันต่ำติดดินอยู่แล้ว) เพื่อให้ Spread ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง วิธีการแรก ในการกดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางและระยะยาวให้ต่ำก็คือ QE (Quantitative Easing) คืออัดฉีดเงินเข้าไปซื้อพันธบัตรในช่วงอายุที่เป็นเป้าหมายตรงๆ ซึ่งวิธีนี้ จะเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบ และกดอัตราดอกเบี้ยได้พร้อมกันสองทาง แต่ข้อเสียก็คือ Balance Sheet ของ Fed จะมีหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นๆ และเกิดเงินเฟ้อในระบบจาก Money Supply ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธี นั้นก็คือ Operation Twist

 

Operation Twist ก็คือ การนำเงินที่ได้จากการครบกำหนดของพันธบัตรระยะสั้น ไปลงทุนต่อในพันธบัตรระยะยาว โดยหวังว่า การลดลงของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการกู้ยืมใน เศรษฐกิจ และน่าจะทำให้ผู้บริโภค และผู้กู้มีความคล่องตัวในการปรับโครงสร้างหนี้ อันเนื่องมาจากต้นทุนการกู้ยืมระยะยาวลดต่ำลง

 

ถ้าดูผ่านตลาดพันธบัตรของสหรัฐ ในช่วงกลางเดือน ส.ค. จนถึงตอนนี้ จะเห็นว่า ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปี ของสหรัฐดีดตัวขึ้นแรงอย่างมีนัยสำคัญ (ขึ้นมาที่ระดับเดียวกับตอนที่เกิด Subprime Crisis ปี 2008 ทีเดียว) แสดงว่า ตลาดก็ได้คาดการณ์ว่า Fed จะออกมาตรการอะไรมากดดอกเบี้ยระยะยาวไว้ก่อนหน้าแล้วนั้นเอง แต่ลองคิดดูว่า หาก Fed ไม่ออกมาตรการ หรือ ออกมาตรการที่ตลาดผิดหวัง เงินน่าจะไหลออกจากตราสารหนี้ระยะยาวกลับเข้าตัวระยะสั้น อีกครั้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งตลาดทุน และการช่วยเหลือเศรษฐกิจของสหรัฐเอง I11100391-1.png

จากคุณ : Mr.Messenger my_flog.gif my_blog.gif เขียนเมื่อ : 22 ก.ย. 54 12:37:02 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มีเนื้อหาเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยแต่copyไม่มา สนใจไปอ่านที่http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2011/09/I11100391/I11100391.html

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนถามคุณส้มโอมือ มีความเป็นไปได้สูงมั้ยค่ะที่ Fed จะยกเลิก QE3 และขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปี 56 นี้ค่ะ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงตลาดการลงทุนต้องผันผวนแรงๆๆกันอีกระรอก ราคาทองก็จะถูกกว่านี้อีกใช่มั้ยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผม มองว่าอเมริกาไม่ยอดรัดเข็มขัดครับ รัดเข็มขัดเศรฐกิจอเมริกาจะถดถอยหนัก อเมริกาไม่ยอมเป็นผู้ล้มคนเดียว ล้มคนเดียวอาจโดนคนอื่นแซงโดยได้โดยเฉพาะจีน

 

ถ้าจะพังก็พังกันทั้งโลกเลย พังทั้งโลกพร้อมกันหมด อเมริกาอาจยังคงเป็นเบอร์1ได้

 

ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะยกเลิกQE3ครับ ประธานเฟดคนปัจจุบัน เคยวิจารณ์The Lost Decade ของญี่ปุ่นว่าใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยเกินไปเศรษฐกิจถึงไม่ฟื้น ต้องใช้เงินมากกว่านั้นถึงจะฟื้น(จำนวนเงินที่ญี่ปุ่นใช้ตอนนั้นก็มหาศาลแล้วนะ) จากสิ่งที่ประธานเฟดวิจารณ์เรื่องนี้เขาถึงได้ฉายาว่าเฮอร์ริคอปเตอร์เบน หมายถึงถ้าเกิดเศรษฐกิจหดตัวอย่างหนักเบอร์นันเก้จะขึ้นเฮอร์ริคอปเตอร์แล้วโปรยเงินจำนวมากมายมาให้ชาวอเมริกันใช้

 

ข่าวยกเลิกQE3 ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นข่าวที่จะหลอกให้คนที่ถือทองอยู่ตื่นตระหนก แล้วขายทองออกมาซึ่งกลุ่มนี้จะได้เก็บของครับ

 

ถามจริงนะตอนนี้เศรฐกิจอเมริกาฟื้นแล้วใช่มั้ยถึงหยุดQE3 ซึ่งไม่เห็นว่ามีหลักฐานบ่งบอกว่าฟื้น(ในมุมมองผมนะ) ถ้ายังแล้วหยุดQE3ก็(ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี) ช่วงGreat Depression ช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นแล้ว พอลดมาตรการช่วยเหลือเร็วไปเท่านั้นอาการเดี้ยงอย่างหนักเกิดขึ้นต้องรีบกระตุ้นต่อทันทีถึงประครองได้

 

ข่าวมีทั้งข่าวจริง ข่าวลวง ข่าวหวังผลครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ผมมองว่าสาเหตุจริงๆเกิดจากยุโรปและอเมริกา ขาดดุลการค้าแก่ประเทศอื่นเป็นจำนวนมากและยาวนานจนเกิดวิกฤต ณวันนี้ต้นตอของปัญหายังไม่ได้แก้เลยครับ ปัญหาที่จะต้องแก้อีกเยอะ ลองอ่านสิ่งที่ผมเขียนและที่รวบรวมจากบทความท่านอื่นดูครับ

 

-----Kwang Kisstian

ขออนุญาตินะคะ มีน้องที่ทำงานเขาบอกว่า สกุลเงินยูโร ไม่มีทางล้ม เค้าบอกว่ามีคนออกมาพูดจากสำนักไหนไม่รู้ ก็ไม่รู้อธิบายเขายังไงก็ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ใครช่วยวิเคราะห์หน่อยได้ไหมคะว่าจะล้มหรือไม่ล้มหนอ

--------ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดจากความไม่สมดุลสะสมมาอย่างยาวนาน จนปัญหาของความไม่สมดุลนั้น เกินเลยจุดที่จะแก้ไขมานานแล้ว

1)ประเทศ แถบยุโรปและอเมริกา มีค่าเงินที่แข็งกว่าเอเชียมากมาย ฝั่งตะวันตกทำงานไม่กี่วันได้เงินเท่ากับเราทำทั้งเดือน เมื่อเป็นแบบนี้ประเทศแถบตะวันตกผลิตของต่างๆน้อยมากเพราะซื้อจากเอเชีย ถูกกกว่าผลิตเอง สินค้าที่ประเทศตะวันตกก็ขายเอเชียได้ไม่มากเพราะราคาแพงมาก

1.1)ซื้อ สินค้าจากเอเชียมากมาย แต่ขายไปเอเชียได้น้อยกว่าเยอะ เข้าตำราว่าประเทศตะวันตกใช้จ่ายมากกว่าหา ขาดดุลการค้าตลอด (ครอบครัวไหนใช้จ่ายมากกว่าหาสะสมมา20-30ปี แล้วจะรอดได้ไง)

ประชาธิปไตยถ้าปล่อยให้เป็นประชาธิปไตยสุดโต่ง สุดท้ายก็พินาศ ประชาธิปไตยจ๋าคนที่จะได้รับเลือกคือคนที่เสนอว่าจะให้สวัสดิการต่างๆกับ ประชาชนมากกว่ากัน การให้สวัสดิการมากทำใหใช้จ่ายเกินตัวจนกลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว หลายประเทศในประเทศแถบตะวันตก สวัสดิการดีขนาดไม่ทำงานก็มีเงินช่วยเหลือมากพอที่จะอยู่ได้ จำนวนไม่น้อยจึงเลือกเดินทางมาอยู่แถบเอเชียแบบไม่ต้องทำงาน เดือนๆคอยรับเงินช่วยเหลือแล้วใช้ชีวิตอย่างสบายในเอเชีย(ค่าเงินเขาใหญ่ ขึ้นมากเมื่ออยู่เอเชีย สามารถใช้ชีวิตอย่างบาย) แต่ก็เพิ่มหนี้ของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

ประเทศฝั่งตะวันตกขาดดุลการค้าสะสมให้เอเชียมามากมายเป็น เวลาหลายสิบปี โดยทางเอเชียก็รับเงินกระดาษเขามามากมาย เงินกระดาษก็เหมือนแคชเชียร์เช็คที่ออกโดยธนาคาร เงินกระดาษพวกนี้จะมีความน่าเชื่อถือถ้ารัฐบาลและประเทศของเขาร่ำรวยมี สินทรัพย์หนุนหลัง เมื่อรัฐบาลและประเทศเขาหมดความน่าเชื่อถือและในคลังไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง เงินกระดาษ อะไรจะตามมา

--------สมัยร5 เริ่มมีการพิมพ์เงินกระดาษและจะเริ่มใช้อยู่แล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ร.ศ.112ต้องนำเหรียญเงินเหรียญทองไปถ่ายถอนประเทศจากฝรั่งเศส เป็นเงิน3ล้านบาทในเวลา48ชั่วโมง เงินเกลี้ยงทองพระคลังก็ไม่พอจ่ายโชคดีมีเงินถุงแดงจากองค์ร3มาช่วยได้เยอะ และข้าราชบริพารสนมกำนัลและข้าหลวงช่วยกันคนละเล็กละน้อยจึงรวมได้ครบ3ล้าน บาท

--------ช่วงนั้นองค์ร5ยืดการใช้ธนบัตรไปก่อน เนื้อหาประมาณว่าธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษพิมพ์ตัวเลขราคา ธนบัตรจะมีความน่าเชื่อก็ต่อเมื่อในท้องพระคลังต้องมีเหรียญเงินเหรียญทองสะสมอยู่มากพอ ตอนนี้ท้องพระคลังปราศจากเหรียญเงินเหรียญทองมาหนุนหลังธนบัตร ขืนใช้ต่อไปก็จะนำความไม่น่าเชื่อถือมาสู่ธนบัตรและกลายเป็นจุด จบของธนบัตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เงินถุงแดง มรดกจากรัชกาลที่ ๓ ที่ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ ในเวลาต่อมา เมษายน 24, 2006 Filed under: ความรู้ทั่วไป นานาสาระ — เปรมฤทัย พลศิลป์ @ 10:39 pm

พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเป็นคนเก่งหลายด้าน จนแทบไม่น่าเชื่อว่าคนคนเดียวจะมีคุณสมบัติได้มากมายถึงขนาดนี้ แต่ก็เป็นความจริง ทรงเป็นทั้งกวี นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการทหาร นักการศึกษา ภูมิสถาปนิก อุบาสกผู้ทะนุบำรุงพุทธศาสนา ผู้อุปถัมภ์ศิลปะไทย และเป็นนักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จดีเลิศ อย่างหลังสุดนี้คือ ทรงค้าสำเภา ส่งของไปค้าขายกับเมืองจีนตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชกาลที่ ๒ ถึงขั้นร่ำรวยจนพระราชบิดาทรงเรียกว่า "เจ้าสัว"

สมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่ได้เสด็จออกไปเมืองจีนเอง แต่ทรงมอบให้ขุนนางไทยเชื้อสายจีนที่ไว้วางพระราชหฤทัย ให้จัดการบริหารงานค้าขายให้แทน ขุนนางผู้นั้นก็ได้ทำงานถวายด้วยความซื่อสัตย์ตลอดชีวิต จนบั้นปลายได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเป็น " เจ้าพระยานิกรบดินทร์" ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุล ลูกหลานเจ้าพระยานิกรบดินทร์จึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า " กัลยาณมิตร" ด้วยเหตุที่ต้นสกุลได้รับพระกรุณายกย่องเป็น "มิตรที่ดีงาม" ในรัชกาลที่ ๓ ส่วนเงินกำไรที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯได้มาเป็นเงินส่วนพระองค์นี้ มิได้ทรงใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงใดๆ หรือยกให้พระราชโอรสธิดาตามพระทัยชอบทั้งที่มีสิทธิ์ทำได้ แต่ทรงนำมาใส่ถุงแดงแยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรท ม ส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เพื่อสร้าง และทะนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและภายนอก อีกส่วนหนึ่งก็ทรงยกให้แผ่นดิน มีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง" หมายถึงว่าถ้าต้องเพลี่ยงพล้ำกับข้าศึกศัตรูแล้ว จะได้นำเงินนี้ออกมาใช้กอบกู้บ้านเมือง

พระราชดำรัสนี้น่าประหลาดตรงที่ เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายสิบปี จนถึง ร.ศ. ๑๑๒ ก็เกิดเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อไทยถูกฝรั่งเศสปรับโทษเป็นเงิน ๓ ล้านบาท จนท้องพระคลังมีไม่พอ ก็ได้ ‘ เงินถุงแดง ‘ ส่วนนี้ไปสมทบ ไถ่บ้านเมืองเอาไว้ได้จริงๆ แสดงว่าเงินถุงแดงที่ทรงสะสมไว้ มีจำนวนมากมายทีเดียว

สมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนพระองค์จวบจน วาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อประชวรหนักใกล้เสด็จสวรรคต ก็มิได้ทรงพะวงกับเรื่องอื่นนอกจากความสงบสุขของแผ่นดิน ถึงกับพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้า ไว้เป็นครั้งสุดท้ายว่า "การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว"

น่าประหลาดอีกเช่นกัน ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลในเรื่องนี้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกับเรื่อง ‘ เงินถุงแดง ‘ เพราะ ถ้าเรานึกถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศไทยประสบอยู่ในปัจจุบัน แม้เวลาล่วงเลยหลังจากเสด็จสวรรคตมาแล้วถึง ๑๔๙ ปี พระบรมราโชวาทเรื่องนี้ก็ยังเป็นสิ่งทันสมัย ควรแก่การนำมาทบทวนและเตือนใจคนไทยอีกครั้งหนึ่ง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ

------ ครอบครัวไหนใช้มากว่าหามาเป็นเวลาหลายสิบปี อยู่ได้ด้วยการก่อหนี้จนหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว แถมคนในบ้านยังตกงานกันหลายคน ลอดได้ไง มองเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านแล้วจะรู้ว่าเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่ของยากที่จะเข้าใจ

ถ้าวันนี้ผมมีหนี้1ล้าน คงจ่ายไหวแต่ใช้เวลาหลายปี แต่ถ้าวันนี้ผมมีหนี้10ล้าน จ่ายไงไหวแค่ดอกก็ตายแล้ว หนี้เยอะแบบไม่มีทางจ่ายไหวแล้วคือหนี้สินล้นพ้นตัว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Jeffe Sorakrit Euro ท่าทางไม่ไหว ....USD ก็ไม่น่ารอดครับ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส้ม โอมือ หอมเย็นชื่นใจ

----USD ไม่น่ารอดครับ

1)เศรษฐกิจอเมริกาตอนนี้อยู่ในภาวะหดตัว

2)ข้อ2ยิ่งหนักเพราะมีการประมาณการณ์ว่าตั้งแต่ปี2510-2524เป็นเวลา15ปี ประชากรชาวอเมริกันยุคBabybloomerจะเข้าสู่วัยเกษียณเฉลี่ยวันละ1หมื่นคน เกษียณวันละหมื่นคนทุกวันเป็นเวลา15ปีเท่ากับยอดรวม55ล้านคน

อเมริกามี ประชากรทั้งหมดประมาณ309ล้านคน ดังนั้นคนที่มีอายุ45ถึง60ปีจะมี55ล้านก็ไม่โอเวอร์เกินไป คนอเมริกันเมื่อครบเกษียณอายุจะครองชีพด้วย เงินประกันสังคมและเงินบำนาญอื่นๆ รวมทั้งเงินออมทรัพย์ คนชราที่ขาดแคลน จะได้รับความช่วยเหลือจากโครงการพิเศษ เพื่อสวัสดิการสังคมของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น เช่นเดียวกับประชากรที่มีรายได้ต่ำ

มีการประมาณว่าเงินที่จะต้องจ่าย สำหรับผู้เข้าสู่ภาวะวัยเกษียณของกลุ่มBabybooomerรวมกับภาระ ในส่วนของสวัสดิการรัฐ ที่สัญญาว่าจะจัดสรรให้กับประชาชนมากมาย (Unfunded Liabilities for Social Security)ไม่ว่าจะเป็น

-สวัสดิการรักษาพยาบาล (Medicaid& Medicare)

-สวัสดิการการชดเชยการว่างงาน (Unemployment Benefit) หรือแม้แต่

-คูปองอาหาร (Food Stamp)(43 ล้านคนในอเมริกาขณะนี้ไม่มีความ สามารถแม้แต่จะซื้ออาหาร

ต้องพึ่งพิง Food Stamp จากรัฐ คิดเป็น 14% จากประชากรทั้งประเทศ)

ยอดรวมแล้ว มีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจัดสรรงบประมาณเข้าไปอีก 60 Trillion !! มหาศาลกว่าหนี้สาธารณะของอเมริกา ที่ว่ามากแล้วถึง4เท่า(หนี้สาธารณของอเมริกาประมาณ15ล้านล้านเหรียญ) ปัจจุบันอเมริกาก็ติดลบในแต่ละปีมากมายอยู่แล้ว(คุ้นๆว่า2-3ปีหลังรัฐบาล อเมริกาติดลบปีละประมาณ1ล้านล้านเหรียญ) ต้องมาจ่ายเงินคืนให้คนที่เกษียณอีกวันละหนึ่งหมื่นคน มองไม่ออกเลยอเมริกาจะรอดได้ไง

อเมริกาขยายเพดานหนี้มาหลายรอบแล้ว ไตรมาส3ปีที่แล้วก็ขยายเพดานหนี้อีก ขยายเพดานหนี้ก็ขอกู้เงินเพิ่ม โอบามาคนเดียวสร้างหนี้มากกว่าประธานาธิบดีอีก43คนที่ผ่านมาสร้างอีก คนเดียวชนะยอดของทั้ง43คน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Kwang Kisstian เออ แต่ว่า พวกคนที่ไม่เชื่อเขาก็จะบอกอ่ะ นะคะ ว่า ทางพวกยุโรปเขามีสินค้า ส่งออก แพง เขาก็เลยมีกำไร เช่น บางคนบอกว่า ดอลล่าร์ ไม่ล่มหรอก เพราะมี Iphone เกี่ยวกันมั้ย 555

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ

------เดี๋ยวcopyความเห็นคุณNEXTมาให้ คุณNEXTตอบเรื่องนี้ได้ดีมาก ข้อเขียนคุณnextครับ(สุดยอดกูรู)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

บทความของคุณ NEXTTONOTHING

บ่อยครั้งที่ผมพูดถึงเรื่องพวกนี้ เคยมีเพื่อนถามผมว่า สหรัฐอเมริกาที่แสนจะยิ่งใหญ่ มีบริษัทชั้นนำอย่าง Appleที่ผลิต IPhone-IPad , บริษัท Google , หรือแม้กระทั่ง Microsoft ของ บิลเกต

จะล่มสลายได้ยังไง? ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อ แต่ความจริงก็คือ

 

ทั้งสามบริษัทรวมกันแล้ว สร้างรายได้ภาษีให้กับรัฐประมาณ ปีละ 12 Billion

ในขณะที่ การขาดดุลงบประมาณ (Budget deficit) ของรัฐบาลโอบาม่า นั้นอยู่ที่ประมาณ 1.29 Trillion !!!! นั่นเท่ากับว่า

สหรัฐต้องการบริษัทอย่าง Apple อีก 107.5 บริษัท Google อีก 107.5 บริษัทและ Microsoft อีก 107.5 บริษัท ถึงจะสร้างรายได้ให้พอเพียงกับการถลุงเงินเล่นของรัฐบาลทีนี้ทำไม ในเมื่อมันแย่ซะขนาดนั้น อะไรที่ทำให้สหรัฐยังไม่ล่ม ?? คำตอบก็คือ “ดอลล่าห์”ครับ

ดอลล่าห์เป็นเงินสกุลพิเศษ มีพลังอำนาจเหนือเงินทุกสกุลบนโลก เพราะมันคือ “World’s Reserved Currency” นอกจากจะมีตำแหน่งเป็นเงินสกุลหลักของโลก ยังได้สิทธิ์พิเศษคือ “พิมพ์ได้ไม่อั้น” อีกด้วย?????

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แต่ทั่วโลกก็ยอมรับและเชื่อถือระบบนี้กันมานาน

ธนาคารกลางทั่วโลกล้วนมีทุนสำรองส่วนหนึ่งเป็นดอลล่าห์ เงินดอลล่าห์ไปที่ไหนประเทศไหนใครก็รับ นี่คือสิ่งที่ยังค้ำไม่ให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐล่มสลายลงไปต่อหน้าต่อตา

แต่ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป .... ด้วยภาระหนี้สินและวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น บีบให้ สหรัฐต้อง พิมพ์ พิมพ์ และก็ พิมพ์ เพื่อความอยู่รอด แต่การทำแบบนี้ก็เป็นการทำให้ความน่าเชื่อถือของ ดอลล่าห์ นั้นค่อยๆเสื่อมลงๆ ไปตามลำดับ

สิ่งเดียวที่ทำให้ระบบเงินกระดาษ (Fiat Currency) คงอยู่ได้ ก็คือ “ความเชื่อถือ”

วันใดที่ความเชื่อถือหายไปจาก ดอลล่าห์ เมื่อนั้นดอลล่าห์ก็จะมีค่าไม่ต่างจากกระดาษ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

Pavirisa Homprasert

---- เพื่อนที่จบดอกเตอร์จากเยอรมันทำ วิจัยเรื่องยุโรปมาตลอด ตอนนี้เป็นอาจารย์ที่เกษตร พูดสั้นๆว่า ยูโรไม่รอดอยู่แล้ว เดี๋ยวมีทยอย exit euro ทีละประเทศ คนที่เยอรมันเริ่มไม่พอใจแล้วตอนนี้ต้องไปช่วยประเทศอื่น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ ผู้ว่าคนเหล็กอาร์โนสอบตก แพ้การเลือกตั้งให้กับคุณปู่ท่านนึง ที่เรียกว่าคุณปู่เพราะท่านเคยเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อ28-30ปีที่ แล้ว คุณปู่ชนะด้วยประเด็นว่า สมัยผมเป็นผู้ว่าเมื่อ28-30ปีที่แล้ว(ส้มโอจำตัวเลขไม่ได้) แคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีเงินสะสมมากที่สุดของสหรัฐ แต่ดูตอนนี้ซิแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีหนี้สินมากเป็นอันดับ1 เลือกผมซิแล้วผมจะพยายามปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆเพื่อให้เรากลับไปเป็น เหมือน28ปีที่แล้ว 555คุณปู่เล่นง่ายๆแบบนี้ก็ชนะแล้ว

---บรรพบุรุษคนอเมริกัน สร้างประเทศจนเป็นมหาอำนาจ เป็นประเทศที่มั่งคั่งมีเงินสะสมมากมาย แต่ลูกหลานยุคหลังเอาแต่เสวยสุขเปลี่ยนจากประเทศที่มั่นคั่ง กลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากที่สุดของโลกแล้ว ชะตากรรมที่เลวร้ายกำลังคืบคลานเข้าสู่อเมริกันชนในอีกไม่นาน coming soon

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะยกเลิกQE3ครับ ประธานเฟดคนปัจจุบัน เคยวิจารณ์The Lost Decade ของญี่ปุ่นว่าใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยเกินไปเศรษฐกิจถึงไม่ฟื้น ต้องใช้เงินมากกว่านั้นถึงจะฟื้น(จำนวนเงินที่ญี่ปุ่นใช้ตอนนั้นก็มหาศาลแล้วนะ) จากสิ่งที่ประธานเฟดวิจารณ์เรื่องนี้เขาถึงได้ฉายาว่าเฮอร์ริคอปเตอร์เบน หมายถึงถ้าเกิดเศรษฐกิจหดตัวอย่างหนักเบอร์นันเก้จะขึ้นเฮอร์ริคอปเตอร์แล้วโปรยเงินจำนวมากมายมาให้ชาวอเมริกันใช้

 

ข่าวยกเลิกQE3 ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นข่าวที่จะหลอกให้คนที่ถือทองอยู่ตื่นตระหนก แล้วขายทองออกมาซึ่งกลุ่มนี้จะได้เก็บของครับ

 

ถามจริงนะตอนนี้เศรฐกิจอเมริกาฟื้นแล้วใช่มั้ยถึงหยุดQE3 ซึ่งไม่เห็นว่ามีหลักฐานบ่งบอกว่าฟื้น(ในมุมมองผมนะ) ถ้ายังแล้วหยุดQE3ก็(ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี) ช่วงGreat Depression ช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นแล้ว พอลดมาตรการช่วยเหลือเร็วไปเท่านั้นอาการเดี้ยงอย่างหนักเกิดขึ้นต้องรีบกระตุ้นต่อทันทีถึงประครองได้

 

ข่าวมีทั้งข่าวจริง ข่าวลวง ข่าวหวังผลครับ

ขอบพระคุณค่ะ มีความหวังว่าปลายปีเราน่าจะได้เห็น 1800 เหรียญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Seam Arsenal23 ชั่วโมงที่แล้ว

 

วิเคราะห์ GCG2013 20130114-20130118

ทองคำ น่าสนใจมากๆหลังจากที่บอกไว้ จะจบ correction ประมาณต้นเดือน มค week นี้ราคาจะเฉลยเเล้วว่าจะขึ้นครั้งใหญ่ หรือว่ายังลงไม่จบ ถ้าราคาปิด สามารถยืนเหนือ ราคา $1676 จะเป็นการขึ้นครั้งใหญ่ของทองคำ เเต่ถ้า ราคาปิดต่ำกว่า1645 ราคาทองจะยังลงต่ออีก

 

โดย ส่วนตัวมองว่าราคาน่าจะจบเเล้ว จาก การ corection ที่เป็น Zigzag corection 5-3-5 ตามธรรมชาติของ major wave 2 เเล้วเกิดสัญญาณ bullish divergence เเละ ธรรมชาติการลงของ major wave 2 ใน next degree grand cycle wave 3 ราคาจะลงไม่ลึกมักจะประมาณที่ fibonacci 61.8% ซึ่งก็ถึงเเล้ว เเละระยะเวลาของการขึ้น major wave 1 ลง major wave 2 ก็พอเหมาะพอดี

 

สำหรับผมเปิด L สัก 30% ถ้าผิดพลาดอย่างไร Stop loss ที่ใกล้ๆ 1645 เเต่ถ้าถูกทางรอบนี้วิ่งยาวเเน่นอน

 

252082_487563207956931_684718180_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก. ตอนที่ 3 (9 มกราคม 2556)

 

และเมื่อช่วงต้นปี 2013 ช่วงสัปดาห์แรกมีสัญญาณการปรับตัวขึ้นของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาอีกไม่นานนี้ และประกอบกับ ประธานของ FED ได้ออกมาประการว่าจะคงการใช้มาตรการ QE ถึงปลายปี 2013 และจะมีแนวโน้มการกลับมาของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เองจะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรประเภทระยะกลางและระยะยาวของสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มขาดทุนจาก ราคาของตราสาร(Mark to Market) จะมีผลที่ตามมา 2 ประการด้วยกันคือ

1.การขาดทุนของผู้ถือกองทุนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาจากการ Mark to Market.

 

2.การลดมูลค่าลงของพันธบัตรสหรัฐอเมริกาที่ถือครองโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ(จะเป็นผลให้เงินสกุลที่มีทิศทางตรงข้ามกับเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและธนาคารกลางเข้าแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์เพิ่มขึ้น)

 

สิ่งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของนักลงทุนและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund) มาสู่ตลาด Emerging Bond. แต่ลักษณะการเข้ามาลงทุนเป็นแบบการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าการเข้ามาลงทุนจากผลตอบแทนในพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางของแต่ละประเทศนั้นมีแนวโน้มการรับมือด้วยการปรับพอร์ตโฟลิโอ ด้วยการลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มาเป็นถือครองสกุลเงินอื่นที่สำคัญ และมีการเข้าถือทองคำเพิ่มขึ้น

 

มีการตั้งคำถามว่าแนวโน้มราคาทองคำเป็นอย่างไร ลักษณะของการซื้อ-ขาย ,ลงทุน หรือ เก็งกำไรในทองคำนั้นมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ การซื้อ-ขายในทองคำ และการซื้อขายตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future)

ซึ่งผู้เล่นในตลาดทองคำมี 3 กลุ่มใหญ่คือ

 

1.นักลงทุนรายย่อย ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่มากในปัจจุบัน

 

2.ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ

 

3. กองทุนต่างๆและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund)

 

ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้เล่นขนาดใหญ่จำนวนมากทำให้ไม่มีผู้ควบคุมตลาดได้อย่างแท้จริง แต่ขนาดของทองคำเมื่อเทียบกับตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future) มีขนาดต่างกัน 1:10-12 เท่า

 

ข้อมูลจากตลาด CME รายงานประจำสัปดาห์เมื่อ 3 เดือนก่อนแจ้งว่า นักลงทุนสถาบัน ( 8 ธนาคารใหญ่ของโลก ) ถือสถานะ Short ล่วงหน้าเป็นปริมาณ 58% ของสัญญา Gold Future ที่ซื้อขายในตลาด Comex ถ้าหากราคาทองคำปรับขึ้นจะทำให้ 8 ธนาคารนี้ขาดทุนมหาศาล จึงต้องกดราคาหรือเทขายออกมาเพื่อให้สามารถปิดสถานะ Short ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการปรับตัวลงของราคาทองคำครั้งนี้ทำให้สถานะ Short ของ 8 ธนาคารลดลงเหลือ 54% เป็นการปิดสถานะในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงเวลา 6เดือนที่ผ่านมา ทำให้มองได้ว่า ทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นรอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่สูงอีกครั้งหนึ่งในไม่ช้านี้ (ไม่ใช่ว่าราคาทองขึ้นเพราะ Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ วันต่อมา ราคาทองลงก็ออกมาบอกว่า Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ(ไม่ได้เขียนผิด)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขำๆจากเบลารุส

 

http://www.youtube.com/watch?v=RgAcHeL1dro

 

ต้นเรื่องมาจาก ซีโร่เฮดจ์ :

เมื่อ พ.ค. ๒๐๑๑ รัฐบาลเบลารุสประกาศลดค่าเงินร้อยละ ๕๐

 

******************************

 

คำคมจากทวิตเตอร์ ของจิม ริกเคิรดส

 

- การที่เฟดจะออกมาเตือนเรื่องสงครามค่าเงินนั้น

เทียบได้กับการที่ผู้ก่อการร้ายที่ส่งระเบิดมาให้คุณ

ออกมาเตือนให้คุณไปเปิดตู้จดหมายหน้าบ้าน

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซ.....กรณีศึกษาของการอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2556 11:12 น.

 

 

blank.gif

กรีซประเทศต้นแบบของประชาธิปไตยแห่งแรกของโลก และประเทศแห่งความสวยงามของธรรมชาติและร่องรอยอารยะธรรมทางประวัติศาสตร์ ปี 2011 ได้ทำให้ ผู้คนทั้งโลกได้ไห้ความสำคัญและจับจ้องมายังประเทศแห่งนี้ มีอะไรเกิดขึ้น

โศกนาฏกรรมใหม่ทางประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้น นาย เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้ให้การต่อคณะกรรมาธิการการเงินและการธนาคารของสหรัฐอเมริกาว่า Goldman Sachs Investment Bank.และกลุ่มบริษัทใน Wall Street. มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าเป็นต้นตอของการก่อเกิดวิกฤตทางการเงินในประเทศกรีซ(New York Times,14 Feb.2010) พฤติกรรมที่น่าสงสัยคือ การร่วมมือกับรัฐบาลของกรีซหลายๆสมัยในการตกแต่งบัญชีทางการเงินของประเทศ

ช่วงก่อนทศวรรษที่ 90 ประเทศกรีซมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศเยอรมันประมาณ 10% ประชาชนชาวกรีกส่วนใหญ่ไม่หนี้ ไม่มีบัตรเครดิต มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราที่ต่ำมาก ด้วยเหตุนี้ผู้นำประเทศกรีซได้มองเห็นความเจริญเติบโตประเทศในยุโรปหลายๆประเทศโดยเฉพาะประเทศเยอรมัน เมื่อมีการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในยุโรปจนนำไปสู่การใช้เงินตราสกุลเดียวก็คือ “เงินยูโร” โดยมีเศรษฐกิจของเยอรมันเป็นศูนย์กลางของยูโรโซน ผู้นำประเทศกรีซจึงมองเห็นโอกาสครั้งสำคัญนี้ในการเข้าร่วมในยูโรโซน แต่การจะเข้าร่วมได้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการเป็นอย่างดี และ Goldman Sachs ก็มองเห็นโอกาสนี้เช่นกัน

ช่วงหลังปี 1990 กรีซได้ดำเนินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการเข้าเป็นสมาชิกของยูโรโซนด้วยการควบคุมการก่อหนี้จนเกินตัวคือ การขาดดุลงบประมาณไม่เกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(GDP) ,เงินเฟ้อให้อยู่ระดับเดียวกับประเทศเยอรมัน ซึ่งไม่ง่ายสำหรับประเทศกรีซ จึงต้องมีการสร้างหรือตกแต่งบัญชีของประเทศขึ้น เช่น การนำเอาเงินสวัสดิการการเกษียณอายุออกจากงบบัญชี การตรึงราคาสาธารณูปโภค (น้ำประปา ไฟฟ้า) การนำสินค้าราคาแพงออกจากการคำนวณเงินเฟ้อแล้วเอาสินค้าที่ราคาถูกกว่าเข้ามาคำนวณแทน

ในที่สุดปี 2001 กรีซก็ประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมยูโรโซนและสามารถใช้เงินสกุลยูโร สามารถสร้างหนี้ได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเท่ากับประเทศอื่นในยูโรโซน โดยที่ต้องควบคุมการขาดดุลไม่ให้เกิน 3% ของ GDP ประกอบกับการที่ Investment Bank. อย่าง Goldman Sachs ได้ให้คำปรึกษาเรื่องของการตกแต่งบัญชี งบประมาณของประเทศ เช่น การนำรายได้ในอนาคตมาคำนวณรายได้ในปัจจุบันเช่น ค่าทางด่วน ค่าสนามบิน ค่าบริการท่าเรือ

การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายเท่า เพื่อให้ได้รับความนิยมทางการเมือง และทำให้มีการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดจนประชาชนเข้าใจว่าเศรษฐกิจดีจากการเข้าร่วมในยูโรโซน

การปล่อยสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และง่ายต่อการให้สินเชื่อโดยเฉพาะผู้ขอกู้ที่มีความใกล้ชิดกับนักการเมือง หรือข้าราชการ จนเป็นผลทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยจาก เช่น รถยนต์หรูจากเยอรมันและอิตาลี สินค้าแบรนด์เนม จากฝรั่งเศส เข้ามาเป็นจำนวนมาก(ซึ่งมาก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ)

Gary D.Cohn ประธานของ Goldman Sachs. ให้ให้การกับคณะกรรมาธิการการคลังของอังกฤษว่า บริษัทได้จัดหาเงินกู้ให้กับรัฐบาลกรีซโดยทำเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ(Currency Swap) แทนสัญญาเงินกู้ ซึ่งสามารถช่วยให้รัฐบาลกรีซปกปิดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณและการเป็นหนี้ต่างประเทศ พร้อมกันนี้ Goldman Sachs ได้ออกตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่สามารถประกันการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและชำระเงินต้นได้ทีเรียกว่า ตราสารCDS.ออกขายในตลาดทางการเงิน(หากรัฐบาลกรีซผิดนัดชำระหนี้หรืออัตราดอกเบี้ยผู้ถือ CDS.ฝั่งรับประกันจะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทน) ซึ่งทำให้ตราสารหนี้ของรัฐบาลกรีซอยู่ในระดับ Investment Grade. ทำให้นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่สามารถเข้าลงทุนได้

ในเดือนตุลาคม ปี 2009 เมื่ออำนาจเปลี่ยนขั้ว พรรคอนุรักษนิยมแพ้การเลือกตั้ง พรรคสังคมนิยมขึ้นเป็นรัฐบาลใหม่ ได้ค้นพบว่า เงินที่มีอยู่นั้นน้อยกว่าความเป็นจริงทางบัญชี และหนี้สินที่มีอยู่นั้นมหาศาลถึง สามแสนล้านยูโร ซึ่งมีขนาดสูงกว่า GDPของประเทศที่มีอยู่ประมาณ สองแสนแปดหมื่นล้านยูโร จึงได้ตัดสินใจประกาศความจริงให้โลกรู้ จนเป็นผลให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในยูโร

ผลที่ตามมาคือ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของกรีซ โดยพันธบัตรอายุ 2 ปีให้ผลตอบแทนสูงสุดในตลาดพันธบัตรประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ และพันธบัตรอายุ 10 ปีให้ผลตอบแทนสูงสุดในตลาดพันธบัตรประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ ในปี 2012 จนเจ้าหนี้ต้องยอม แฮร์คัท หนี้จำนวน หนึ่งแสนล้านยูโร สภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปีแล้วทำให้เศรษฐกิจมีขนาดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้น ASE เคยมี ดัชนีสูงสุดที่เกือบ 6,000จุดก่อนปี 2008 ตกลงสู่ระดับ ต่ำกว่า 500 จุดกลางปี 2012 หมายความว่า ดัชนีลดลงกว่า 90%

การล้มทางเศรษฐกิจครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการล้มจากวินัยทางการคลังที่มีการก่อหนี้ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยทั้งรัฐบาลและประชาชน จนทำให้มีคนตกงานมากเป็นประวัติการณ์สูงโดยเฉลี่ยมากว่า 23% โดยเฉพาะคนอายุต่ำกว่า 25ปี ตกงานกว่า 50% และสูงสุดใน Q4 2012 ถึง 26.3% ประเทศก็ยังคงใช้จ่ายอย่างมากอยู่ไม่สามารถรัดเข็มขัดได้อย่างที่ EUและ IMF ได้ออกกฎไว้ โดยกรีซเองก็จับ เยอรมันและฝรั่งเศสเป็นตัวประกันทางเศรษฐกิจที่ยังต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการขู่ว่าจะออกจากยูโรโซนซึ่งจะทำให้ไม่ต้องรับผิดชอบเงินช่วยเหลือจำนวนกว่า สองแสนห้าหมื่นล้านยูโร โดยประมาณ

รัฐบาลประกาศขายทรัพย์สินของชาติทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ การไฟฟ้า ธนาคาร รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง โรงพยาบาล รวมถึงประกาศขาย หมู่เกาะท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ประชาชนต้องอยู่อย่างอดอยาก เอาสินค้าฟุ่มเฟือยที่เคยซื้อไว้มากมายออกมาขายเพื่อดำรงชีพ ประชาชนจ่ายภาษี VAT สูงถึง 26% แต่ปัจจุบันปรับลดลงมาอยู่ที่ 24% ยกเลิกสวัสดิการที่เคยให้ทั้งหมด และยังมีแนวโน้มการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

Goldman sachs ได้ประโยชน์มหาศาลจากการเป็นที่ปรึกษาการทำให้ประเทศล้มลายทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ ค่าที่ปรึกษากว่า 300 ล้านเหรียญ กำไรจากการเก็งกำไรฝั่งการผิดชำระหนี้ ราคาตราสาร CDSที่มีมูลค่า 70-75 USD ในช่วงแรกของการออกตราสาร และสูงขึ้นไปถึง 24,000USD ตอนสิ้นสุดการชำระหนี้ หลังจากที่มีการ แฮร์คัท หนี้ครั้งใหญ่ ในเดือน มีนาคม 2012 Goldman Sachs ก็ได้ออกตราสาร CDSชุดใหม่ ในราคา 75 USD และราคาขึ้นไปสูงสุดที่ราคาประมาณ 18,000 USD ต่อหนึ่งสัญญา การลงทุนในการล้มลายทางเศรษฐกิจนั้นสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล

สิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นที่ประเทศกรีซในโมเดลนี้ได้นำมาใช้กันมากขึ้นในส่วนต่างของโลกหากเราต้องการเข้าครอบครองเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งก็สามารถทำได้โดยสร้างเศรษฐกิจฟองสบู่ให้ประชาชนใช้จ่ายและก่อหนี้โดยไม่ยั้งคิดให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมทำให้ประเทศเป็นหนี้จากการก่อหนี้ที่ขาดวินัยทางการคลังตกแต่งบัญชีการเป็นหนี้และทำให้ประเทศจัดเก็บรายได้ให้น้อยลงด้วยการลดภาษีเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ปล่อยให้ประเทศล้มละลายจากนั้นก็เอาเงินที่ไซ่ฟ่อนออกจากระบบจากการคอรัปชั่นและการค้าสิ่งผิดกฎหมายเข้ามาบีบซื้อกิจการและทรัพยากรในประเทศในราคาถูกอาจจะลด 90%เหมือนกรีซจากนั้นก็ขึ้นภาษีจากประชาชนเพื่อมาชำระหนี้การทำกำไรขาขึ้นจากเศรษฐกิจฟองสบู่และก็ทำกำไรในขาลงจากการล้มละลายทางเศรษฐกิจของประเทศประวัติศาสตร์เกิดซ้ำตลอดเวลาเสียแต่ว่าปัญญาของคนในประเทศนั้นๆน้อยจนเกินกว่าจะมองเห็น

จนในที่สุดก็จะอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี

T.Thammasak.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 1 (03/01/56) blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 14:12 น.

 

 

blank.gif

นายเดวิด โคทอค ประธานกรรมการบริษัท คัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์ส กล่าวผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า "ความขัดแย้งเรื่องงบรายจ่ายจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ และการโต้แย้งกันในเรื่องนี้จะยากลำบากกว่าในช่วงที่ผ่านมา"

 

ตลาดหุ้นเคยดิ่งลงอย่าง รุนแรงในช่วงที่เกิดความขัดแย้งเรื่องเพดานหนี้ในปี 2011 โดยถึงแม้ร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ผ่านความเห็นชอบในสภาคองเกรสในเวลาต่อมา แต่ตลาดหุ้นก็ยังคงดิ่งลงในช่วงนั้นโดยถูกกดดันจากการที่นักลงทุนไม่มีความ เชื่อมั่นในความสามารถทางการทำงานของนักการเมืองสหรัฐ โดยพิจารณาจากการที่สภาคองเกรสเกือบจะทำให้สหรัฐผิดนัดชำระหนี้ในขณะนั้น

 

จะเห็นได้ว่าทันที่การผ่าน กฎหมายตลาดเงินและตลาดทุน เริ่มต้นตั้งแต่ การปรับขึ้นอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นฮ่องกง,เกาหลีใต้,และตลาดแทบอาเซียน ไปจนถึง ตลาดหุ้นยุโรปที่เปิดในช่วงบ่ายที่ปรับขึ้นกว่า 3% สุดท้ายที่ตลาดหุ้นในแถบ อมริกาเอง ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมันและทองคำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นการคลายความกังวลในเบื้องต้น

ตลาดเงินของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่(Emerging Market) ได้แข็งค่าขึ้นทันที่สะท้อนให้เห็นว่าเงินได้เคลื่อนย้ายเข้ามาอย่างเป็นทาง การหลังจากที่ทยอยเคลื่อนย้ายมาตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน เป็นต้นมา (สังเกตจากค่าเงินที่แข็งขึ้นมาถึงประมาณ 30.4 บาทต่อดอลล่าร์ในวันที่ 2 มกราคม )

แต่สิ่งสำคัญหลังจากการแก้ ปัญหาก็คือ “ปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหา” จากการขยายเพดานหนี้สาธารณะอาจจะมีผลถึงการสูญเสียสถานะ AAA และการแก้ปัญหาจากมาตรการ ของ FED คือ มาตรการ QE 1,2และ3 ทำให้ปริมาณเงินในระบบมีปริมาณที่สูงเป็นประวัติศาสตร์ทำให้เกิดการเก็งกำไร ในตลาดตราสารทางการเงิน สุดท้าย การคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในระดับต่ำคือ 0 - 0.5% จะทำให้มีโอกาสเกิดอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงกลับมาซึ่งจะมีผลที่รุนแรงจากการ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต และจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญจนถึงขั้นผลกระทบที่รุนแรง

 

จากเหตุข้างต้นจึงเป็น สาเหตุที่เงินทุนไหลมาสู่เอเชียแปซิฟิก เพราะยังมีศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง,มีชนชั้นกลางที่มี กำลังการซื้อมากที่สุด และมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งอาหาร,แหล่งแร่ และที่สำคัญที่สุดคือกำลังจะเป็นแหล่งพลังงานแห่งใหม่ของโลก จะเห็นได้จากการกลับตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญเช่น ประเทศจีน ,เกาหลีใต้ ,สิงคโปร์ ,อินโดนิเชีย และอินเดีย

 

การเชื่อมต่อการเดินทางและ การขนส่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในระบบรางที่มีการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคเช่น ทางรถไฟสาย ยูเรเซีย ที่เริ่มต้นจาก ปักกิ่ง-มอสโก-ลอนดอน เป็นรถไฟความเร็วสูง หรือเส้นทางจาก มณฑล ยูนาน สู่พม่า ,ลาว,ไทย,มาเลเซีย ถึง สิงคโปร์

การเกิดขึ้นของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจพิเศษเช่น อาเซียน +3และ อาเซียน +6 เป็นต้น

 

การกลับตัวของเศรษฐกิจ อันดับ 2 ของโลกอย่างประเทศ จีน กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นจำนวนมาและจากการที่ตลาดหุ้นของประเทศจีน คือตลาดหุ้น เซี่ยงไฮ้ และตลาดหุ้น ฮ่องกง ในปีที่ผ่านมามีการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย และตลาดมี PE เพียง 11-12 เท่า ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆในโลกถือว่ายังถูกมาก และยังมีการอัดฉีดการสร้างสาธารณูโภคพื้นฐานยิ่งเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญจะ เห็นได้จากการเข้าแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางฮ่องกงตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา

 

T.Thammasak.

 

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 2 (04/01/56) blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มกราคม 2556 11:32 น.

 

 

blank.gif

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก.ตอนที่ 2(4 มกราคม 2556)

การเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิกครั้งนี้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเป็นระบบที่แบ่งได้ 3 ลักษณะคือ

 

1.การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก

 

2.การเคลื่อนย้ายของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผูกขาดด้วย ระบบ,กฎหมาย และนวัตกรรม

 

3.การเคลื่อนย้ายของอำนาจทั้งในรูปแบบของ Smart Power.และ Hard Power.

 

1. การเคลื่อนย้ายของทุนจากฝั่งตะวันตก

 

การเคลื่อนย้ายของทุนใน ปัจจุบันนี้แตกต่างจากอดีตที่การเคลื่อนย้ายมี”ช่วงระยะเวลา”เข้ามาเกี่ยว ข้อง(เช่นการโอนเงินไปยังต่างประเทศเช่น อเมริกาอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์)

แต่ในปัจจุบันนี้ช่วง”ระยะเวลา”กลายเป็น “ศูนย์”จากการเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดนทำให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายหรือไหลเวียน ไปมาทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง(Money never sleep.)

ภายใต้ข้อตกลงที่ชื่อว่า ฉันทามติ วอชิงตัน (Washington Consensus) ที่บังคับให้ทุกประเทศต้องเปิดเสรีทางการเงิน จึงมีผลทำให้การไหลเข้า-ออกของทุนในแต่ละประเทศกำลัง

จะเป็นไปอย่างเสรี โดยมีศูนย์กลางทางการเงินอยู่ที่ นิวยอร์ก-ลอนดอน-ซูริก-สิงคโปร์-ฮ่องกง ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิงคโปร์และฮ่องกงคือศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายของทุนเข้าสู่ประเทศต่างๆ

ในแต่ละภูมิภาคเช่น สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายเข้าออกในแทบภูมิภาคอาเซียน ทุนที่เคลื่อนย้ายมีความเป็นอิสระที่จะเข้าซื้อ-ขายใน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ตลาดเงินหรือ

อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดอนุพันธ์หรือตราสารอ้างอิง ตลาดสินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งการลงทุนคือการเข้ามาเก็งกำไรในแต่ละตลาด ที่ไม่เหมือนในอดีตที่การลงทุนคือการเข้า

มาเปิดกิจการและเปิดโรงงานการผลิต

 

การเคลื่อนย้ายในช่วงปลาย ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาด พันธบัตร จนต้องบีบให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีความจำเป็นต้อง

ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเช่นใน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไทย อินเดีย เกาหลีใต้ และที่สำคัญคือประเทศจีน ที่ในปีที่ผ่านมามีการลดถึง2ครั้งในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นาน จนเป็นผลการกระ

ตุ้นที่ดีของเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเพียง 2 วันทำการหลังปีใหม่กระแสการไหลยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเงิน แปโซแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี

 

 

การที่ทุนไหลเข้าประเทศจีน โดยตรงนั้นยังค่อนข้างมีกฎเกณฑ์ข้อจำกัดที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีช่องโว่คือ การซื้อตราสารอ้างอิง ADR ในตลาดหุ้นนิวยอร์กผ่านการซื้อโดยตรงหรือ

ซื้อผ่านกองทุน ETF หรือ การไหลเข้าตลาดหุ้นจีน(ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้) ผ่าน กองทุน ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงเช่น กองทุน ETF -X ISHARES A 50 .etc. ที่ช่วงปลายปีที่

ผ่านมามีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางของฮ่องกง ต้องออกมาสู่กับการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนหลายครั้งตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา

และการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง และสิงคโปร์ ปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 200% ในรอบ 3 ปีนั้น ก็เป็นการเข้าเก็งกำไรในนวัตกรรมทางการเงินที่เรียกว่า “กองทุน

อสังหาริมทรัพย์”(Property Fund) กองที่มีความโดดเด่นเช่น Link Reit.เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นในตลาดหุ้นฮ่องกง ปรับราคาจาก 26 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ใน

ช่วงเวลา1 ปีที่ผ่านมา หรือจากระดับราคา 18 HKD สู่ระดับสู่สุดที่ 43 HKD ในช่วงเวลา3 ปี ยังไม่รวมผลตอบแทนจากเงินปันผล.

 

 

T.Thammasak.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 3 (09/01/56) blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มกราคม 2556 11:32 น.

 

 

blank.gif

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก.ตอนที่ 3 (9 มกราคม 2556)

 

และเมื่อ ช่วงต้นปี 2013 ช่วงสัปดาห์แรกมีสัญญาณการปรับตัวขึ้นของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาอีก ไม่นานนี้ และประกอบกับ ประธานของ FED ได้ออกมาประการว่าจะคงการใช้มาตรการ QE ถึงปลายปี 2013 และจะมีแนวโน้มการกลับมาของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุนี้เองจะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรประเภทระยะกลางและระยะยาวของสหรัฐ อเมริกามีแนวโน้มขาดทุนจาก ราคาของตราสาร(Mark to Market) จะมีผลที่ตามมา 2 ประการด้วยกันคือ

1.การขาดทุนของผู้ถือกองทุนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาจากการ Mark to Market.

 

2.การลดมูลค่าลงของพันธบัตรสหรัฐอเมริกาที่ถือครอง โดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ(จะเป็นผลให้ เงินสกุลที่มีทิศทางตรงข้ามกับเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและธนาคารกลางเข้าแทรก แซงด้วยการเข้าซื้อดอลลาร์เพิ่มขึ้น)

 

สิ่งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้ม การเคลื่อนย้ายของนักลงทุนและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund) มาสู่ตลาด Emerging Bond. แต่ลักษณะการเข้ามาลงทุนเป็นแบบการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าการเข้า มาลงทุนจากผลตอบแทนในพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางของแต่ละประเทศนั้นมีแนวโน้มการรับมือด้วยการปรับพอร์ตโฟลิโอ ด้วยการลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มาเป็นถือครองสกุลเงินอื่นที่สำคัญ และมีการเข้าถือทองคำเพิ่มขึ้น

 

มีการตั้งคำถามว่าแนวโน้ม ราคาทองคำเป็นอย่างไร ลักษณะของการซื้อ-ขาย ,ลงทุน หรือ เก็งกำไรในทองคำนั้นมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ การซื้อ-ขายในทองคำ และการซื้อขายตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future)

ซึ่งผู้เล่นในตลาดทองคำมี 3 กลุ่มใหญ่คือ

 

1.นักลงทุนรายย่อย ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่มากในปัจจุบัน

 

2.ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ

 

3. กองทุนต่างๆและกองทุนประกันความเสี่ยง(Hedge Fund)

 

ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้เล่นขนาดใหญ่จำนวนมากทำให้ไม่มีผู้ควบคุมตลาด ได้อย่างแท้จริง แต่ขนาดของทองคำเมื่อเทียบกับตราสารล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาทองคำ(Gold Future) มีขนาดต่างกัน 1:10-12 เท่า

 

ข้อมูลจากตลาด CME รายงานประจำ สัปดาห์เมื่อ 3 เดือนก่อนแจ้งว่า นักลงทุนสถาบัน ( 8 ธนาคารใหญ่ของโลก ) ถือสถานะ Short ล่วงหน้าเป็นปริมาณ 58% ของสัญญา Gold Future ที่ซื้อขายในตลาด Comex ถ้าหากราคาทองคำปรับขึ้นจะทำให้ 8 ธนาคารนี้ขาดทุนมหาศาล จึงต้องกดราคาหรือเทขายออกมาเพื่อให้สามารถปิดสถานะ Short ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการปรับตัวลงของราคาทองคำครั้งนี้ทำให้สถานะ Short ของ 8 ธนาคารลดลงเหลือ 54% เป็นการปิดสถานะในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงเวลา 6เดือนที่ผ่านมา ทำให้มองได้ว่า ทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นรอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นราคาที่สูงอีกครั้งหนึ่งในไม่ช้านี้ (ไม่ใช่ว่าราคาทองขึ้นเพราะ Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ วันต่อมา ราคาทองลงก็ออกมาบอกว่า Fiscal cliff เจรจาสำเร็จ(ไม่ได้เขียนผิด)

 

 

T.Thammasak.

 

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 4 (10/01/56) blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มกราคม 2556 11:19 น.

 

 

blank.gif

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก.ตอนที่ 4 (10 มกราคม 2556)

 

2. การเคลื่อนย้ายของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผูกขาดด้วย ระบบ, กฎหมาย และนวัตกรรม

การเคลื่อนย้ายของทุนที่ สำคัญอีกกรณีคือการเคลื่อนย้ายเข้ามาผูกขาดการทำธุรกิจของทุนในระดับโลกและ ทุนท้องถิ่นที่มีศักยภาพทางการเงินที่สูง การเคลื่อนย้ายทุนของโลกขนาดใหญ่เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์เพื่อลดต้นทุนการผลิตจึงเคลื่อนย้ายฐานการผลิตเข้ามายัง ภูมิภาค แต่มีข้อน่าสังเกตคือ การสร้างฐานการผลิตนั้นจะเป็นการผลิตในเมนหลัก และจะจ้างผู้ผลิตท้องถิ่นเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้ หากในอนาคตต้นทุนการผลิตหรือกฎเกณฑ์ที่เคยได้ประโยชน์นั้นเปลี่ยนไปก็สามารถ ย้ายฐานไปยังประเทศอื่นๆที่อุตสาหกรรมตนเองได้รับประโยชน์ที่ดีกว่าแทน ซึ่งการมาตั้งฐานการผลิตหากมองดูเผินๆแล้วอาจจะได้ประโยชน์ในช่วงการผลิต เช่นมีการจ้างการผลิต และการจ้างงาน แต่หากมองให้ลึกๆแล้วประเทศกลับไม่ได้ประโยชน์มากเท่าที่ควรจะได้รับเช่น การพัฒนาศักยภาพของแรงงาน การสร้างอุตสาหกรรมที่ถาวร

ด้วยเหตุนี้ประเทศอย่าง จีน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย จึงได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นของตัวเองขึ้นมา และที่หน้าสนใจคือในประเทศจีนกำลังพัฒนา รถยนต์พลังงานทางเลือกขึ้นมาเช่น รถยนต์ที่ใช้แก็ส CNG หรือ NGV ขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างที่บริษัท BYD ได้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นมาทั้ง รถยนต์ขนาดเล็ก รถโดยสารขนาดใหญ่ ไปจนถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่ ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมได้แล้วในขณะนี้

ทุนค้าปลีก สิ่งสำคัญที่ถือว่าเป็นหัวใจของการบริโภคคือ ช่องทางการจัดจำหน่ายหรือการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค การควบคุมช่องทางการจัดจำหน่ายได้นั้นจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตได้ มากขึ้น จึงทำให้ทุนค้าปลีกทั้งในระดับประเทศและระดับโลกเข้ามาลงทุนในช่องทางการจัด จำหน่ายสุดท้ายเช่น ห้างค้าปลีก และมินิมาร์ค

การลงทุนของกิจการเหล่านี้ เริ่มจากการลงทุนในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ มินิมาร์ค ก่อน โดยใช้ข้อได้เปรียบทางกฎหมายและเงินทุนที่มีความสามารถในการระดมทุนที่มีต้น ทุนทางการเงินที่ต่ำ ทำให้มีความได้เปรียบสูง หลังจากนั้นก็เร่งเดินหน้าขยายกิจการโดยใช้นโยบายราคาเข้ามาทำลายผู้ค้าราย ย่อยเดิมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมาสามารถต่อสู้ในนโยบายราคาต่ำได้เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อที่แตกต่าง กันอย่างสิ้นเชิง

เมื่อกิจการได้ขยายจนมี ขนาดใหญ่และทำลายรายย่อยท้องถิ่นลงไปแล้วก็จะเหลือคู่แข่งรายใหญ่กันเอง จำนวนน้อยรายแล้ว ก็จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินเข้ามาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร เช่น การใช้ระบบฐานของมูลโดยให้ลูกค้าสมัครบัตรสมาชิก ทำให้ฐานข้อมูลของพฤติกรรมของผู้บริโภคมีปริมาณมหาศาลหลายร้อยข้อมูล เช่น รายได้ ,ความถี่ในการซื้อสินค้า,ชนิดของสินค้า,สาขาที่ซื้อประจำ,ปริมาณในการ ซื้อ,การชำระเงิน ฯลฯ การควบคุมระบบคลังสินค้า

 

ส่วนของการใช้นวัตกรรมทาง การเงินก็จะใช้หลายกรณีเช่นการระดมทุนผ่านตลาดทุน การสร้างผู้ถือหุ้นผ่านนอมินีเพื่อเลี่ยงกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ และที่สำคัญคือการทำให้บริษัทกำไรลดลงแต่เคลื่อนย้ายกำไรไปยังส่วนต่างๆของ ธุรกิจที่เห็นได้ชัดคือ การนำกำไรกลับโดยผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์(Property Fund) แนวความคิดคือ ตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ขึ้นแล้วระดมสินทรัพย์ให้มีขนาดใหญ่พอเข้ากฎเกณฑ์ ที่ขายให้นักลงทุนต่างชาติได้ เมื่อตั้งขึ้นก็ให้นักลงทุนต่างชาติที่เป็นนอมินีเข้ามาลงทุน ซึ่งการลงทุนจะมีลักษณะแบบ การกู้มาลงทุน( leverage) ซึ่งดอกเบี้ยในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกามีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพียง 0.5% มาลงทุนโดยได้รับเงินปันผล เฉลี่ย5-8% (นักลงทุนต่างชาติจะไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย) และได้ Capital Gain ที่สูงขึ้น เมื่อไป ลงบัญชีก็จะมีกำไรจากการลงทุน และธุรกิจก็ขึ้นค่าเช่า ทำให้ศูนย์การค้ามีกำไรที่ลดลงจากค่าเช่าที่แพงขึ้น (ทำให้ไม่เสียภาษี 30% ปัจจุบัน 23%)

 

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิก ตอนที่ 5 ตอนจบ (11/01/56) blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มกราคม 2556 12:07 น.

 

 

blank.gif

เมื่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายสู่เอเชียแปซิฟิกตอนที่ 5 ตอนจบ

 

3. การเคลื่อนย้ายของอำนาจทั้งในรูปแบบของ Smart Power.และ Hard Power.

หลังจาก ที่ประเทศจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO มีผลทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียง 10 ปี สามารถก้าวขึ้นสู่ขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกสร้างความวิตกกังวลกับประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจและมหาอำนาจทางการทหาร จากการเจริญเติบโตและการขยายอิทธิพลเข้าสู่ประเทศต่างแบบมิตรที่ดีทางการค้า และความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกัน และการขยายความร่วมมือต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจยังภูมิภาคต่างเช่น ยุโรป,แอฟริกา และอเมริกาใต้ เห็นได้จากการเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆแบบความร่วมมือในการพัฒนา เช่น การร่วมมือกับกลุ่มประเทศในยุโรปในการสร้างเส้นทางรถไฟ ที่เป็นทางรถไฟความเร็วสูงโดยเริ่มต้นจาก ปักกิ่ง ปลายทาง ลอนดอน โดยประมาณการเวลาเดินทางเพียง 2 วัน เส้นทางเดินทางนี้เรียกว่าเป็นเส้นทางสายไหม เส้นทางใหม่เพราะนอกจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแล้ว ยังมีเส้นทางรถไฟขนส่ง คู่ขนานด้วยท่อส่งแก็สและน้ำมัน ที่ผ่านประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ เพื่อขนส่งน้ำมันเข้ามาสู่แหล่งอุสาหกรรมทางภาคตะวันออก

การร่วมมือทางเศรษฐกิจ อื่นๆอีกเช่น การร่วมมือทางการแลกเปลี่ยนทางการเงิน ก่อนหน้านี้เงินสกุลต่างๆจะแลกเปลี่ยนกันจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์แล้ว ถึงจะเปลี่ยนเป็นสกุลอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากข้อตกลงระหว่าง จีนกับรัสเซีย ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันโดยไม่มีเงินดอลลาร์เป็นตัวกลาง การแลกเงินหยวนโดยตรงนั้นก็กระจายออกไปยังประเทศต่างในแถบอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บางประเทศในตะวันออกกลาง และที่สำคัญ เงินหยวน กำลังเป็นทุนสำรองของธนาคารกลางในหลายๆประเทศร่วมทั้งประเทศไทยด้วย ประเทศสิงคโปร์ก็กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางกลางการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวน ผ่านธนาคารแบงก์ ออฟ ไชน่า สาขาสิงคโปร์

จึงมีผลทำให้ความสำคัญของ เงินดอลลาร์เริ่มลดความสำคัญลงในหลายส่วนของโลก และจากการที่ประเทศต่างๆได้ปรับท่าทีทางเศรษฐกิจและเริ่มมีการสร้างเขตการ ค้าต่างๆขึ้นโดยไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมอยู่ในกลุ่ม ซึ่งสร้างความสั่นคลอนในอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึง สถานการณ์ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นและมองเห็นจุดอ่อนของการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศจีนคือ ประเทศจีนไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง จึงร่วมมือกับอุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นผู้สนับสนุนใหญ่ของพรรคการเมืองที่มี อำนาจขณะนั้นคือ พรรครีพับลิกัน ปั่นราคาน้ำมันขึ้นมาจาก ราคา 18-20 เหรียญต่อบาร์เรล ขึ้นไปถึงระดับราคา 140 เหรียญ แต่ผลกระทบที่ร้ายแรงกับตกอยู่กับสหรัฐอเมริกาเองในวิกฤติการณ์ทางการเงินปี 2008

แต่เนื่องจากการที่ภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก เป็นเขตเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตสูงที่สุด มีการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงที่สุด มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ จึงทำให้สหรัฐอเมริกามีความต้องการเข้ามามีอิทธิพลทั้งทางการเมืองและ เศรษฐกิจ จึงได้มีการประกาศเพิ่มกำลังทหารเข้ามาในภูมิภาค และส่งกองทัพเรือขนาดใหญ่มาประจำยังน่านน้ำสำคัญเช่น เวียดนาม อ่าวไทย ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น

และให้การทูตอยู่เบื้อง หลังการสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อแทรกตัวเข้าไปได้ผลประโยชน์จาก ความขัดแย้งนั้น เช่นกรณีการพิพาทในหมู่เกาะสแปรรี่ ระหว่าง จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน การขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเรื่องหมู่เกาะ เตียวหยู ความขัดแย้งของไทย กับกัมพูชา โดยมีผลประโยชน์ทางพลังงานอยู่เบื้องหลัง

ร่วมไปถึงการเจรจาผลโยชน์ ทางทรัพยากรและการค้าของกลุ่มทุน มาสู่นักการเมืองให้ออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์หรือละเว้นกฎหมายบางข้อ ติดสินบนผู้นำกองทัพให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากว่าผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งจะใช้ไม่ได้ในหลายประเทศที่ประชาชนในประเทศตระหนักถึงความเป็นชนชาติ แต่ใช้ได้กับประเทศที่ประชาชนไร้ซิ่งจิตสำนึกและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

 

โดยสรุปได้ว่า การเคลื่อนย้ายของทุนจะมีการเคลื่อนย้ายที่เป็นระบบประสานสอดคล้องในการเดิน เกม เราเองจึงต้องมีองค์ความรู้ที่มากพอเพื่อที่จะรับมือกระแสทุนและผลประโยชน์ มหาศาลจากทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นนี้ให้ได้และอย่างไรใน การรับมือในอนาคต

 

 

T.Thammasak.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...