ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

1375295_804848946215379_8983667265246766491_n.jpg

เล่นสงกรานต์ เยี่ยมบ้าน พักผ่อน เดินทางปลอดภัย เมาไม่ขับนะครัช

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10154113_724479387603806_4029307041162262502_n.jpg

สวัสดี deb wann FEE Alan bbeem ข้าวกล้อง เกี้ยมอี๋ ตังเม เด็กสยาม ตู้เย็น น้อย อยากเล่นด้วยคน meng Espreso Magagold

Facebook Google เต้าหู้ มดตะนอย ............. .................

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 เมษายน 2557 07:40:00 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 เม.ย.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยประกอบการของธนาคารรายใหญ่สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถช่วยพยุงตลาดที่ร่วงลงจากแรงเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในระยะนี้ได้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,026.75 จุด ลดลง 143.47 จุด หรือ 0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,815.69 จุด ลดลง 17.39 จุด หรือ 0.95% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,999.73 จุด ลดลง 54.38 จุด หรือ 1.34%

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ในช่วงขาขึ้น ตลอดจนความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับตัวขึ้น 34 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 103.74ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอนขยับลง 13 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 107.33 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) หลังดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้ความต้องการทองคำลดลง เนื่องจากซื้อขายด้วยดอลลาร์สหรัฐ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลง 1.5 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1,319 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับตัวลง 14.5 เซนต์ หรือ 0.72% ปิดที่ 19.946 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ปรับตัวขึ้น 2.50 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,462.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้น 14.50 ดอลลาร์ หรือ 1.8%ปิดที่ 806.80 ดอลลาร์/ออนซ์

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่เมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) ท่ามกลางแรงเทขายหุ้นทั่วโลก

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐสู่ระดับ 1.3886 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3839 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.6745 ดอลลาร์ จากระดับ 1.6788 ดอลลาร์ สำหรับดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.9398 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9425 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนสู่ระดับ 101.58 เยน จากระดับ 101.45 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8753 ฟรังค์ จากระดับ 0.8762 ฟรังค์ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.0962 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.0920 ดอลลาร์แคนาดา

-- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) ตามตลาดหุ้นสหรัฐ หลังผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐปรับตัวลง ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารและเทคโนโลยีปรับตัวลงจากกระแสความกังวลในหมู่นักลงทุนเกี่ยวกับผลประกอบการ

ดัชนี FTSE 100 ปิดลดลง 80.27 จุด หรือ 1.21% ที่ 6,561.70 จุด

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,026.75 จุด ลดลง 143.47 จุด -0.89%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,815.69 จุด ลดลง 17.39 จุด -0.95%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,999.73 จุด ลดลง 54.38 จุด -1.34%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,365.86 จุด ลดลง 47.63 จุด -1.08%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,315.29 จุด ลดลง 139.25 จุด -1.47%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,561.70 จุด ลดลง 80.27 จุด -1.21%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 22,628.96 จุด ลดลง 86.37 จุด -0.38%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,198.22 จุด ลดลง 5.36 จุด -0.17%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,852.66 จุด ลดลง 6.86 จุด -0.37%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,816.58 จุด เพิ่มขึ้น 50.85 จุด +1.07%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,003.64 จุด ลดลง 183.32 จุด -0.79%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,596.96 จุด ลดลง 41.93 จุด -0.63%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,130.54 จุด ลดลง 3.76 จุด -0.18%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,997.44 จุด ลดลง 11.17 จุด -0.56%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 13,960.05 จุด ลดลง 340.07 จุด -2.38%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,428.60 จุด ลดลง 52.20 จุด -0.95%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

(REPEAT) ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ผลประกอบการแบงก์ใหญ่ซบเซา ฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 143.47 จุด

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 เมษายน 2557 07:10:00 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (11 เม.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยประกอบการของธนาคารรายใหญ่สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถช่วยพยุงตลาดที่ร่วงลงจากแรงเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในระยะนี้ได้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,026.75 จุด ลดลง 143.47 จุด หรือ 0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,815.69 จุด ลดลง 17.39 จุด หรือ 0.95% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,999.73 จุด ลดลง 54.38 จุด หรือ 1.34%

ตลาดหุ้นนิวยอร์กไม่สามารถพลิกกลับมาปิดบวกได้เมื่อคืนนี้ เนื่องจากเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ เปิดเผยว่า กำไรไตรมาส 1 ปี 2557 ร่วงลง 19% เนื่องจากรายได้ที่ลดลงจากการซื้อขายตราสารหนี้ โดยกำไรไตรมาสแรกของธนาคารยังออกมาสวนทางกับการคาดการณ์ของตลาด ขณะเดียวกัน เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ คอมพานี ซึ่งธุรกิจรับจำนองรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ได้เผยว่ารายสุทธิไตรมาส 1 ปี 2557 ปรับตัวขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีก่อน สู่ระดับ 5.9 พันล้านดอลลาร์ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่สามารถช่วยพยุงตลาดได้

ทั้งนี้ หุ้นเจพี มอร์แกนปรับตัวลง 3.7% ขณะหุ้นเวลส์ ฟาร์โกขยับขึ้น 0.8% เมื่อวันศุกร์

สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์นี้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 2.4% หลังปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3สัปดาห์ ขณะที่ดัชนี S&P 500 และ ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2555 เมื่อเทียบรายสัปดาห์ โดยลดลง 2.6% และ 3.1% ตลามลำดับ

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลลาร์แข็งค่า ขณะนักลงทุนทั่วโลกเทขายหุ้น

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 12 เมษายน 2557 10:37:03 น.

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ ท่ามกลางแรงเทขายหุ้นทั่วโลก

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐสู่ระดับ 1.3886 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3839 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.6745 ดอลลาร์ จากระดับ 1.6788 ดอลลาร์ สำหรับดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.9398 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9425 ดอลลาร์สหรัฐ

 

 

กระทรวงต่างประเทศรัสเซียชี้วิกฤตยูเครนกำลังเข้าสู่ช่วงอันตราย

ข่าวการเมือง สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 14 เมษายน 2557 08:29:00 น.

กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุเมื่อวันอาทิตย์ว่า สถานการณ์ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครนกำลังอยู่ในช่วงอันตราย

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงและนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนรัสเซียได้ถูกสังหารในระหว่างการบุกจู่โจมของกองกำลังพิเศษยูเครนในเมืองทางตะวันออก ซึ่งกลุ่มมือปืนที่สนับสนุนรัสเซียได้ยึดอาคารที่ทำการของตำรวจและหน่วยงานด้านความมั่นคงในช่วง 1 วันก่อนหน้านั้น

“ทางฝ่ายรัสเซียกำลังนำประเด็นวิกฤตในทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครนเข้าสู่หารืออย่างเร่งด่วนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE)" กระทรวงต่างประเทศรัสเซียระบุในแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง

รัสเซียได้เรียกร้องให้ยุติการใช้กำลังทหารกับประชาชนชาวยูเครน และให้เริ่มการเจรจาระดับประเทศเพื่อให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในเชิงลึกและรวดเร็วในยูเครน

ทั้งนี้ ความวุ่นวายระลอกใหม่ได้ปะทุขึ้นในทางตะวันออกของยูเครนเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อกลุ่มผู้สนับสนุนรัสเซียได้บุกยึดอาคารที่ทำการรัฐบาลหลายแห่งในเมืองโดเน็ตส์ ลูแกนส์ และคาร์คอฟ โดยเรียกร้องให้มีการทำประชามติว่าด้วยการปกครองตนเองและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้นกับรัสเซีย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนสู่ระดับ 101.58 เยน จากระดับ 101.45 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8753 ฟรังค์ จากระดับ 0.8762 ฟรังค์ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.0962 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.0920 ดอลลาร์แคนาดา

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนเม.ย.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ 82.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 80 ในเดือนมี.ค. เนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานได้จุดประกายความหวังว่า เศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวเมื่อช่วงต้นปีจากผลกระทบของสภาพอากาศที่หนาวเย็น

ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐปรับตัวสูงเกินคาดในเดือนมี.ค. ที่ระดับ 0.5% ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากต้นทุนบริการที่พุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี สำหรับการเพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. ถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่แล้ว และเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงไป 0.1% ในเดือนก่อนหน้า อีกทั้งยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.1%

ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือน หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

รายงานการประชุมนโยบายของเฟดประจำวันที่ 18-19 มี.ค.แสดงให้เห็นว่าเฟดจะไม่เร่งรีบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายเห็นพ้องกันที่จะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยประเมินจากสถานการณ์ด้านการจ้างงาน ไม่ใช่ระบุเป้าหมายที่เป็นตัวเลข

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร โทร.02-2535000 อีเมล์: jongdee@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คาดหลังสงกรานต์การเมืองเดือดฉุดหุ้นร่วง นักวิเคราะห์ระบุคาดหลังสงกรานต์การเมืองเดือดฉุดหุ้นร่วง แนะนำนักลงทุนหาจังหวะเก็งกำไรในช่วงสั้น บาทแข็งค่าขึ้น-หุ้นไทยทรงตัว เงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่ หุ้นไทยทรงตัวจากแรงหนุนของนักลงทุนต่างชาติ อิชิตันขายเกลี้ยง เชื่อนักลงทุนเก็บเพิ่ม หุ้นอิชิตันขายวันแรกเกลี้ยง ที่ปรึกษาเชื่อนักลงทุนที่ผิดหวังจองหุ้นจะรอซื้อหุ้นในกระดาน ด้าน "เอส 11 กรุ๊ป" ยื่นไฟลิ่งขายไอพีโอ16 ล้านหุ้น เศรษฐกิจชะลอฉุดสินเชื่อติดลบ ทองขึ้น50บ.ทองแท่งขายออก20,200 ทิศทางราคาทองคำ 11-4-57 vdo.gif พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติซื้อ341ลบ.

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10013811_655230547866065_3883534142858244123_n.jpg

 

 

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 146.49 จุด ผลประกอบการ,ยอดค้าปลีกสดใส

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 06:50:54 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวสูงขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 เม.ย.) จากที่ถูกเทขายติดต่อกันสองวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศการซื้อขายได้ปัจจัยหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดของซิตี้กรุ๊ป และยอดค้าปลีกสหรัฐที่แข็งแกร่ง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 146.49 จุด หรือ 0.91% ปิดที่ 16,173.24 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 14.92 จุด หรือ 0.82% ปิดที่ 1,830.61 จุด ดัชนี NASDAQ บวก 22.96 จุด หรือ 0.57% ปิดที่ 4,022.69 จุด

ดัชนีดาวโจนส์ดีดตัวขึ้นในการเปิดทำการวันแรกของสัปดาห์ เนื่องจากผลประกอบการที่เป็นบวกของซิตี้กรุ๊ปช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ผิดหวังมาก่อนหน้านี้จากการรายงานผลประกอบการของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์

หุ้นซิตี้กรุ๊ปพุ่ง 4.33% แตะ 47.66 ดอลลาร์ หลังจากที่ธนาคารรายใหญ่อันดับสามของสหรัฐรายงานผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.23 ดอลลาร์/หุ้น จากรายได้ 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ด้านเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ คอมพานี ผู้ให้บริการสินเชื่อบ้านรายใหญ่สุดในประเทศ ก็เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดีกว่าการคาดของนักวิเคราะห์เช่นกัน

นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายยังได้แรงหนุนจากยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบหนึ่งปีครึ่ง

อย่างไรก็ตาม หลังดีดตัวสูงขึ้นในช่วงเปิดตลาด แต่ดูเหมือนช่วงขาขึ้นถูกจำกัดในเวลาต่อมา เนื่องจากนักลงทุนลังเลที่จะเข้าซื้อ เพราะต้องการรอดูข้อมูลที่จะเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐมากกว่านี้ โดยธนาคารรายใหญ่อื่นๆของสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ได้แก่ แบงก์ ออฟ อเมริกา ในวันพุธ และมอร์แกน สแตนลีย์ และโกลด์แมน แซคส์ ในวันพฤหัสบดี

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันจันทร์นั้น นอกจากยอดค้าปลีกแล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังรายงานสต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.พ.ที่ปรับตัวขึ้น 0.4% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาด

ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นหลักทั้งสามดัชนีในตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะฟองสบู่ในภาคเทคโนโลยี และฤดูการรายงานผลประกอบการที่เริ่มเปิดฉาก โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกหลังเดินหน้าขึ้นสามสัปดาห์ติดต่อกัน ขณะที่ S&P 500 และ Nasdaq ปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2555

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดดีดขึ้น $8.5 ขณะสถานการณ์ยูเครนตึงเครียด

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 08:04:30 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กพุ่งขึ้นปิดที่ระดับสูงสุดในรอบสามสัปดาห์เมื่อคืนนี้ (14 เม.ย.) เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ทวีความรุนแรงได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดดังกล่าวยังได้ผลักดันราคาพัลลาเดียมให้ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่าสองปีอีกด้วย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้น 8.5 ดอลลาร์ หรือ 0.64% ปิดที่ 1,327.5 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 6.4 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 20.010 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 4.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,467.4 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 4.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 811.50 ดอลลาร์/ออนซ์

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ทองคำตอบสนองนักลงทุนมากที่สุด ตราบใดที่สถานการณ์ในยูเครนยังไม่ยุติหรือคลี่คลาย และกองทัพรัสเซียยังประจำการอยู่ตามแนวชายแดน

มีรายงานว่ากลุ่มติดอาวุธในภาคตะวันออกของยูเครนนั้นไม่สนเส้นตายที่รัฐบาลยูเครนได้ประกาศไว้ว่าหากไม่ปลดอาวุธ ก็จะเผชิญกับปฏิบัติการทางทหาร โดยกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆที่สนับสนุนรัสเซียยังคงเข้ายึดภาคตะวันออกของยูเครน แม้พ้นกำหนดเส้นตายที่รัฐบาลได้ยื่นคำขาดมาแล้วก็ตาม

นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า มีแนวโน้มที่ความขัดแย้งดังกล่าวจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาดต่อไปอีกอย่างน้อยในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะจำกัดแรงขายทองคำของนักลงทุนในระยะใกล้

นอกจากทองคำแล้ว สัญญาพัลลาเดียมก็ดึงดูดนักลงทุนเช่นกัน โดยราคาพัลลาเดียมได้พุ่งขึ้นไปแตะที่ 817 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2554

พัลลาเดียมเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ควบคุมมลพิษในรถยนต์ รัสเซียผลิตพัลลาเดียมได้ 40% ของผลผลิตทั่วโลกในปีที่แล้ว ตามมาด้วยแอฟริกาใต้ที่ 37% ซึ่งเหมืองพัลลาเดียมในแอฟริกาใต้นั้นก็เผชิญกับการผละงานประท้วงมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนม.ค.

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดเพิ่มขึ้น 31 เซนต์ จากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 07:28:34 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 เม.ย.) ภายหลังสถานการณ์ในยูเครนได้ย่ำแย่ลงในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 31 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 104.05 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 1.74 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 109.07 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่ 4 มี.ค.

ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้ปกคลุมบรรยากาศการซื้อขายในตลาดน้ำมันวันจันทร์ โดยรัสเซียได้ขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉินในวันอาทิตย์ หลังจากที่กองกำลังความมั่นคงของยูเครนได้ปะทะกับกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัสเซียในเมืองสลอฟแยนสก์ทางตะวันออกของประเทศ

รัสเซียผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนม.ค. และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อันดับสอง โดยรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติกว่า 70% ให้ยุโรป ผ่านทางยูเครน

สถานการณ์ความไม่แน่นอนในยูเครนจึงถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการซื้อขายในตลาดน้ำมัน เทรดเดอร์หลายรายระบุว่า ความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะหยุดส่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติผ่านยูเครนนั้นได้ช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะน้ำมันดิบเบรนท์

ขณะเดียวกันสถานการณ์ในลิเบียก็เป็นปัจจัยผลักดันราคาน้ำมันดิบเช่นกัน โดยนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ อัล-ทินนี ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันอาทิตย์ โดยให้เหตุผลว่าตนเองและครอบครัวถูกโจมตีเมื่อวันก่อน ซึ่งนับเป็นนายกฯคนที่สองที่ลาออกจากตำแหน่งในรอบหลายเดือน นายอัล-ทินนีกล่าวว่าตนและคณะรัฐมนตรีจะบริหารรัฐบาลต่อไปในฐานะรักษาการจนกว่าจะมีการสรรหานายกฯคนใหม่ขึ้นมาแทน

ลิเบียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ก่อนเกิดสงครามกลางเมืองในปี 2554 สถานการณ์วุ่นวายในประเทศส่งผลให้การผลิตน้ำมันลดลงเหลือแค่หนึ่งในสิบของระดับปกติที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ลิเบียประสบความสำเร็จในการกลับมาเปิดท่าเรือส่งออกน้ำมันหนึ่งแห่ง หลังบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มติดอาวุธ และเตรียมที่จะเปิดท่าเรืออีกหนึ่งแห่ง อย่างไรก็ตาม ท่าเรือขนาดใหญ่กว่าอีกสองแห่งยังถูกกลุ่มกบฏควบคุมอยู่ ซึ่งการที่ไม่มีรัฐบาลมาคอยเจรจา จึงทำให้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่เมื่อไร

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

“นักการเมือง”...เชื้อโรคร้าย... ทำลายทั้ง...ระบบเศรษฐกิจและเครดิตประเทศชาติ...

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 06:00:00 น.

จากสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวาย ทำเศรษฐกิจประเทศไทยล่มจม จนทำให้สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก ต่างส่งสัญญาณเตือนที่จะปรับลดเครดิตประเทศไทยลง หากปัญหาการเมืองยังไม่จบ ยังไร้ซึ่งรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามาบริหารประเทศ จนส่งผลให้เศรษฐกิจร่วงจนติดลบ

เหตุที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างหนักเนื่องจากปัญหาการเมืองนั้น....ก็เพราะว่าจากปัญหาดังกล่าว...ทำให้การลงทุนภาครัฐชะงักงันเพราะไม่สามารถอนุมติงบลงทุนใดๆได้ ทั้งที่เป็นโครงการในปีงบประมาณ และการลงทุนนอกงบประมาณ(โครงการ 2 ล้านล้าน โครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน)....ซึ่งผลกระทบไปถึงการลงทุนภาคเอกชน...ที่ชะลอตัวลงเพราะไม่มีแรงกระตุ้นจากภาครัฐ และกำลังซื้อในประเทศหดลงจนภาคธุรกิจไม่กล้าที่จะขยายการลทุน...

ส่วนด้านการท่องเที่ยว...แม้ว่าการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แก็ยังไม่เห็นการท่องเที่ยวกับมาฟื้นตัวอย่างที่ควรจะเป็น ผู้ประกอบกิจการด้านโรงแรม และบริการ ต่างก็ยอมรับว่าปี 2557 คงจะลำบาก แม้แต่ในช่วงไฮซีซั่น การจองห้องพักที่เคยเต็มจนล้น กลับลดลงอย่างน่าใจหาย...

ส่วนภาคการส่งออกที่หลายคนฝากความหวังไว้ว่าน่าจะพยุงให้เศรษฐกิจไทยฝ่ามรสุมนี้ไปได้ และทำให้จีดีพีของไทนปี 2557 ไม่ร่วงลงไปติดลบนั้น..ลองเข้าไปดูในไส้ในของตัวเลขการส่งออก 2 เดือนแรก ที่กลับมาเป็นบวกหลังจากติดลบต้อเนื่องมาตังแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน...เอาเข้าจริงแล้วมีตัวเลขบางตัวที่โป่งออกมานั้นคือการส่งออกทองคำ...แต่สินค้าส่งออกหลักๆ ของประเทศอย่างเช่น ข้าว ยางพารา หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ กลับมิได้ขยายตัวมากนัก...จึงไม่ควรวางใจว่าการส่งออกของไทยในปี 2557...จะสวมบทพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยประคองเศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้

จากภาวะอึมครึมทางการเมือง จนทำให้เกิด ความซบเซาของเศรษฐกิจไทยนี่เอง...ทำให้หลายๆ สถาบันการจัดอันดับเริ่มส่งสัญญาณเตือนออกมาแล้วว่า...เครดิตจประเทศไทยจะเป็นอย่างไรจากนี้ไป หากปัญหาภายในประเทศไทยยังไม่จบ...

โดยที่ผ่านมา สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี และฟิทช์ เรทติ้งส์ ต่างคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ BBB+ เช่นเดียวกับบริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส หรือ มูดี้ส์ ได้คงไว้ที่ Baa1 นั่นบ่งบอกว่าธุรกิจในไทยยังคงเป็นที่น่าลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ปัจจัยความน่าเชื่อถือที่ยังยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือ มองว่าประเทศไทยมีสถานะภาคต่างประเทศที่แข็งแกร่ง และมีกรอบนโยบายทางการเงินที่มั่นคง ซึ่งเชื่อว่าจากปัจจัยนี้ทำให้ไทยสามารถรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยยังมีความรอบคอบในการดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ รวมถึงการบริหารการคลัง ความแข็งแกร่งของภาคต่างประเทศที่ยังคงดำรงอยู่แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มถูกกัดกร่อนลง การขาดดุลเริ่มส่งสัญญาณที่ไม่ปกติแล้ว

และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา บริษัท เจแปน เครดิต เรตติ้ง เอเจนซี่ หรือ เจอาร์ซี ซึ่งเป็นบริษัทการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากญี่ปุ่นได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจากมีเสถียรภาพมาเป็นลบ (Negative Outlook) นั่นหมายความว่าทางเจอาร์ซีได้ส่งสัญญาณเตือนเหล่านักลงทุนในระดับหนึ่งแล้วว่าประเทศไทยใกล้เข้าสู่ภาวะวิกฤติ

แม้ว่าเจอาร์ซียังไม่ถือว่ามองในแง่ลบไปซะทีเดียว เพราะยังคงยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A…ต่าใช่ว่าเราจะวางใจได้...

เพราะโอกาสที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือเป็นไปได้สูงมาก จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ ความเสี่ยงต่างๆ ที่ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงอำนาจ และผลประโยชน์ของตัวเอง จนทำให้ประเทศไทยเตรียมพบกับวิกฤติที่เกิดจากคนในผืนแผ่นดินเดียวกันทั้งสิ้น

หนึ่งในเหตุผลที่เจอาร์ซีปรับความน่าเชื่อถือมาเป็นลบคือความขัดแย้งทางการเมือง ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เริ่มประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยได้เรียกร้องให้ถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่กลุ่มผู้ชุมนุมเห็นว่าเป็นการเอื้อให้กับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับเข้ามาในประเทศ

หลังจากนั้นมาทางกลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้ยกระดับมาเป็นขับไล่รัฐบาล จนทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาเพื่อยุติปัญหาต่างๆ แต่นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้รัฐบาลขาดอำนาจทุกอย่างที่มีอยู่ในมือ จนกระทบกับระบบเศรษฐกิจในทุกด้าน

การหมดอำนาจของรัฐบาลในการบริหารประเทศ จนทำให้ขาดนโยบายที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะชะลอตัว รวมถึงการชุมนุมที่ลากยาวมาจนถึงขณะนี้ ทำให้กระทบความเชื่อมันจากชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือแม้กระทั่งภาคการท่องเที่ยวหวังว่าจะเป็นตัวเอกที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่สามารถเป็นได้ดั่งหวัง

การที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมือง นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 เป็นต้นมา ทำให้เศรษฐกิจไทยได้ชะงัก หลังที่ได้ชะลอจากภาวะเศรษฐกิจโลกมาแล้ว จนทำให้อุปสงค์ทั้งในประเทศและนอกประเทศได้หดตัวลงมา

โดยในไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมา การบริโภค และการลงทุนได้หดตัวดิ่งลงมา จนทำให้อัตราการการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมาอย่างเห็นได้ชัด อยู่ที่ 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2556 ขยายตัวอยู่ที่ 2.9% จาก 6.5% ในปี 2555

สิ่งหนึ่งที่บริษัทการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นรายนี้สะท้อนจากการลดเสถียรภาพเป็นลบก็เพื่อเตือนนักลงทุนของญี่ปุ่นเอง หากปัญหาการเมืองที่ส่อลากยาวไปจนครึ่งปีหลัง ก็อาจจะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นเปลี่ยนใจไปลงทุนในตลาดกลุ่มประเทศอื่นแทน

ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือสศค.ได้ออกมาประเมินเศรษฐกิจของไทย โดยได้ประมาณการอัตราการขยายตัวในปี 2557 ไว้ที่ 2.6% ต่อปี แต่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าจะต้องมีรัฐบาลใหม่ได้ในไตรมาสที่ 3 หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะมีการปรับลดประมาณการอีกครั้ง

แต่ถ้าหากการเมืองยังหาข้อยุติไม่ได้จนสิ้นปี การที่ไทยจะไม่มีรัฐบาลไปจนถึงสิ้นปี ทางสศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่มีการขยายตัว หรือมีโอกาสที่จะติดลบได้ในที่สุด ถ้าเป็นอย่างนั้นหากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง หรือติดลบ ยิ่งจะส่งผลให้ไทยจะถูกลดเครดิตอย่างรวดเร็ว

นั่นอาจหมายถึงการลดชั้นเครดิตจะถูกลดฮวบลงมาจนถึงขั้นที่เรียกว่า ตราสารหนี้ขยะ หรือจังค์บอนด์ หรือเปล่านั้น ก็ต้องอยู่กับเกมการเมืองว่าจะยืดเยื้อ หรือมีเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่าที่เป็นอยู่มากน้อยเพียงใด

หากการชุมนุมมีการจลาจล หากมีการใช้อาวุธสงคราม หากมีการนองเลือด เช่นเดียวกับยูเครน ก็อาจจะถูกลดชั้นลงมาได้อย่างรวดเร็วถึงจังค์บอนด์ได้ หรือเท่ากับในระดับ BB หรืออาจจะต่ำกว่า โดยในปัจจุบันไทยอยู่เหนือระดับจังค์บอนด์อยู่ 3 ขั้น

เมื่อถูกลดชั้นจังค์บอนด์จะทำให้ตกอยู่ในภาวะช็อตทางเศรษฐกิจทันที เพราะนั่นคือสัญญาณที่บอกกับประเทศต่างๆ ว่า ไทยไม่น่าลงทุน จะส่งผลให้ทุกสิ่งอย่างจะไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ทั้งจากต่างประเทศ และปัญหาภายในประเทศที่ยังอยู่ในวิกฤติไร้รัฐบาล

แต่ก่อนที่จะถึงวันที่เครดิตของประเทศลงไปต่ำสุดในระดับ”จังค์บอนด์”...ตอนนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณของการไหลออกของเม็ดเงินต่าชาติจากตลาดทุนไทยแล้ว...

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย รายงานว่าในปีนี้คาดว่าเม็ดเงินต่างชาติจะไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยอย่างน้อย 1 แสนล้านบาท หลังจากในช่วงไตรมาสแรกเม็ดเงินต่างชาติไหลออกสุทธิจากตลาดตราสารหนี้ 30,160 ล้านบาท โดยมีสาเหตุมาจากการลดขนาดมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ปรับลดลง ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง และหลังจาก Japan Credit Rating Agency (JCR) ปรับลด Outlook ของไทยจาก Stable เป็น Negative ในวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลไปที่ปัญหาการเมืองที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ในขณะที่ยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นเดือน มี.ค.ปีนี้อยู่ที่ 679,238 ล้านบาท โดยเป็นการถือครองในตราสารหนี้ระยะสั้นประมาณ 16% และตราสารหนี้ระยะยาว 84 %

นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจโตไม่ถึง 2 % หรือไม่เติบโตเลย จากที่คาดว่าจะโตอยู่ที่ระดับ 2.4-2.6% หากปัญหาทางการเมืองไม่สามารถหาทางออกหรือไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลถาวรได้ ภายในครึ่งปีแรก ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจจะมีการปรับตัวโดยการลดการลงทุนชะลอการใช้จ่าย ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจเป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกันทิศทางดอกเบี้ยมีโอกาสจะทรงตัวที่ระดับ 2 % เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศยังไม่ถือว่าสูงมาก และการลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เนื่องจากปัญหาหลักที่กระทบเศรษฐกิจมาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

"การเมืองกระทบกับเศรษฐกิจมาก ซึ่งหากยังไม่มีความแน่นอนหรือไม่จบในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะไม่ขยายตัวหรือขยายตัวได้ไม่ถึง 2 % เพราะตัวเลขในช่วงไตรมาสแรกทุกตัวมีการชะลอลง ทั้งการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งหากในครึ่งปีหลังยังไม่สามารถมีรัฐบาลเพื่อมาใช้จ่ายงบประมาณได้จีดีพีจะมีโอกาสถูกปรับลดลงอย่างแน่นอน" นายบัณฑิต กล่าว

ก้ออย่างที่ทุกคนในประเทศและในโลกนี้มองตรงกันว่า...ปัญหาของเศรฐกิจในปีนี้เกิดจากปัญหาการเมืองเป็นหลัก ปัญหาทังหลายทั้งปวดเกี่ยวพันธโยงใยมากจากปัญการเมือง..ทั้งสิ้น..

ก่อนนี้มีคนเขาพูดเล่นๆ กันสนุกๆ เป็นโจ๊กในวงเพื่อนฝูงว่า...พระเจ้ามอบของขวัญให้ประเทศไทยมากมาย..ทั้งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรที่พรั่งพร้อมหลากหลาย สถานที่ท่องเที่ยวงดงาม พื้นดินที่และที่ตั้งที่ปลอดจากภัยพิบัติ ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ฯลฯ จนทำให้ประเทศอื่นอิจฉาและต่อว่าพระเจ้าว่าลำเอียง...ทำให้พระเจ้าคิดหนักไม่รู้จะทำไงดี..จนท่านนึกออกได้ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ถูกครหาว่าลำเอียง....จึงตัดสินใจปั้นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งโยนลงมานั่นก็คือ”นักการเมือง”...นั่นเอง...

ก่อนหน้านั้นผมฟังแล้วก็ขำๆ สนุกๆ ไปกับเพื่อนฝูง...แต่ตอนนี้ผมชักเริ่มตระหนักแล้วว่าหล่ะ....หรือว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องจริง....

อนันตเดช พงษ์พันธุ์

ยศวัศ เกียรตินันท์

 

นักลงทุนมึนปัญหาการเมืองไทย เริ่มทิ้งหุ้นหันกอดเงินสดลดเสี่ยง

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 06:00:00 น.

โบรกฯมองหลังสงกรานต์ตลาดหุ้นผันผวน เพราะฤทธิ์การเมืองที่ยังไร้ทางออก ชี้หากปีนี้ไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาขับเคลื่อน โครงการลงทุนภาครัฐชะงัก เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนเริ่มปรับพอร์ตลดการซื้อหุ้นหันมาถือเงินสดลดความเสี่ยง

นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า หลังวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น จากการตัดสินคดีต่างๆ เช่น การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้อำนาจแทรกแซงการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี และการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล

ทั้งนี้ คาดดัชนีหุ้นในช่วงหลังสงกรานต์ว่าจะแกว่งตัวในกรอบแนวรับที่ 1,330- 1,350จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,400 จุด โดยหากสถานการณ์ชุมนุมไม่เลวร้ายน่าจะขึ้นไปถึง 1,420 จุด แต่หากมีการประทะ หรือเกิดเหตุนองเลือด จะอยู่ที่ 1,300 จุด แต่ไม่ต่ำไปกว่านี้แน่นอนและหากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในปีนี้ จะส่งผลต่อการภาพรวม เศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากขาดผู้นำที่มีอำนาจเต็มในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ส่งผลให้การลงทุนต่างๆของโครงการรัฐหยุดชะงัก

“ตอนนี้การชุมนุมที่เกิดขึ้นก็ถือว่ายังอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง แต่คงต้องดูหลังสงกรานต์ว่าจะเป็นอย่างไร รวมถึงการตัดสินคดีต่างๆของนายกด้วย ยังเชื่อว่าแนวโน้มการตัดสิน จะมีข้อสรุปที่เป็นจุดจบของความยืดเยื้อได้ น่าจะส่งผลดีได้ในระดับหนึ่ง โดยหากเป็นไปในทางที่ดี ก็จะส่งผลดีต่อการลงทุนในตลาดหุ้น และหากเป็นแนวโน้มในทางลบ ก็จะกระทบทางจิตวิทยาของนักลงทุน” นายปริญทร์ กล่าว

นายธวัชชัย อัศวไชยพร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลแบล็ก จำกัดให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่าแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ จะเป็นการผันผวนในแดนบวกหากสถานการณ์ทางการทางการเมืองยังคงดำเนินไปด้วยความสงบ แต่หากเกิดความรุนแรงก็จะเป็นปัจจัยหลักกดดันตลาด นอกจากนี้ยังต้องติดตามเศรษฐกิจภายในประเทศที่จะเป็นปัจจัยกดดันตลาดอีกด้วย

“โดยรวมทิศทางน่าจะเป็นบวก แต่หากยังไร้ข้อยุติในด้านปัญหาทางการเมืองก็ยังคงมีความเสี่ยงพอสมควร ในขณะที่นักลงทุนจะเริ่มหันมาบริหารความเสี่ยง ลดพอร์ตลงทุนในหุ้นลง เน้นถือครองเงินสดมากขึ้น ส่วนเงินทุนต่างชาติไหลเข้าคาดว่ายังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพราะเงินบาทอ่อนค่าจูงใจนักลงทุนพอสมควร ซึ่งกลุ่มหุ้นที่ในปีนี้มีความแข็งแกร่งที่สุดคือกลุ่มธนาคาร” นายธวัชชัย กล่าว

 

“รับจำนำข้าว”เจ๊งแสนล้าน ต้องมีคนรับผิดชอบผลเสียหาย

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 15 เมษายน 2557 06:00:00 น.

โครงการรับจำนำข้าวตันละ “หมื่นห้า” เกิดจากนโยบายหาเสียงของ พรรคเพื่อไทย ที่หลายฝ่ายเรียกว่าเป็น “โครงการประชานิยม” ใช้ช่วงชิงคะแนนเสียงฝ่ายตรงกันข้าม แต่สุดท้ายกลายมาเป็นหอกทิ่มตำตัวเองในที่สุด เมื่อข้าวขายไม่ได้ พบทุจริตเกิดขึ้นฯลฯ

ผลที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำยังคงดำเนินต่อไป ทั้งการค้างจ่ายเงินชาวนาที่ยังเหลืออีกกว่า 9.6 หมื่นล้านบาท การจัดการกับข้าวที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลจำนวนที่เปิดเผยไม่ได้ ข้าวเสื่อมคุณภาพจำนวนอีกหลายหมื่นตัน การระบายข้าวที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องของ กระทรวงพาณิชย์เพื่อนำเงินมาส่งคืนคลัง รวมถึงคดีความมากมายที่ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน

โครงการรับจำนำข้าวที่เพิ่งสิ้นสุดไปนั้น ดำเนินโครงการมาตั้งแต่การรับจะนำข้าวเปลือกนาปี 54/55, 55/56 และ56/57 รวมทั้งสิ้น 3 ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในขณะที่รัฐบาลมีการใช้เม็ดเงินหมุนเวียนไปในโครงการนี้กว่า 5 แสนล้านบาท ทั้งเงินที่ต้องจากให้กับชาวนาในโครงการ ค่าขนส่ง ค่าสีแปร ค่าจัดเก็บดูแลรักษา

ล่าสุดช่วงต้นเดือนเมษายน 2557ทาง กระทรวงพาณิชย์ผู้รับผิดชอบในการจัดการเงินหมุนเวียนโครงการรับจำนำข้าว ได้คืนเงินให้กระทรวงการคลังไปแล้วประมาณ 216,000 ล้านบาท ในขณะที่ต้องนำเงินไปจ่ายให้ชาวนาก็ยังค้างชำระอีกเพียบ อาจเรียกได้ว่าตอนนี้โครงการรับจำนำทำให้รัฐบาลขาดทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท

แหล่งข่าวจาก กระทรวงพาณิชย์ โต้ว่าตัวเลขขาดทุน3แสนล้านคงจะไม่ถูกเสียทีเดียวในการประเมินการขาดทุนของรัฐบาลไว้สูงขนาดนั้น เพราะตอนนี้ในสต็อกของรัฐบาลยังเหลือข้าวอยู่อีกจำนวนมาก ซึ่งไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่คงมีไม่ต่ำกว่า 15 ล้านตัน และทางรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ในช่วงที่เร่งระบายข้าวอย่างหนัก เพื่อนำเงินไปส่งคืนให้กระทรวงการคลังและจ่ายคืนให้กับชาวนา

ขณะที่ สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัทซีพี อินเตอร์เทรด จำกัด กล่าวก่อนหน้านี้ว่า “โครงการรับจำนำข้าวมีทั้งจุดดี และจุดด้อย หากรัฐบาลไม่ว่าจะชุดใดก็ตามต้องการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อ ก็ควรที่จะปรับปรุงวิธีการ และดูแลข้าวในระบบให้มีความเหมาะสม โดยต้องมีการควบคุมทั้งคุณภาพและปริมาณ เช่น เลือกโซนเพาะปลูกข้าวที่เหมาะสม เนื่องจากบางพื้นที่ไม่เหมาะเป็นแหล่งปลูกข้าวก็คนตัดออกไป หรืออาจมีการสร้างอุตสาหกรรมที่เข้าจะมาช่วยดูดซับข้าวซึ่งต้องมีมาตรการมา เป็นต้น”

เมื่อไม่มีโครงการรับจำนำข้าวแล้วเราควรมีวิธีการช่วยเหลือชาวนาอย่างไร แน่นอนว่ามีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการค้า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวและเศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่การศึกษาของประเทศ หลายรายออกมาเสนอวิธีการต่างๆในการช่วยเหลือชานนา เช่นการอุดหนุนเงินให้ชาวนาโดยตรง เหมือนที่จ่ายเงินอุดหนุนยางพารา การแทรกแซงตลาด แต่ต้องไม่กระทบต่อราคาข้าว การจ่ายเงินช่วยเหลือตามราคาตลาด ซึ่งวิธีดังกล่าวที่เสนอออกมาก็ต้องมีทั้งจุดดีและจุดเสียในตัวเอง ซึ่งการที่ผู้ใช้หรือรัฐบาลจะเลือกวิธีการใดการหนึ่งมาใช้ หรือนำหลายๆวิธีการมาบูรณาการก็ควรมีการศึกษาและค่อยๆปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และต้องเรียนรู้การใช้ข้อดีของแต่ละวิธีด้วย

“โดยสรุปหากจะพูดให้ถูกต้องแล้ว ความจริงโครงการรับจำนำข้าวอาจไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาที่แท้จริงกลับอยู่ที่ผู้นำตัวโครงการนี้มาใช้ ในแต่ละโครงการย่อมมีส่วนดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะบริหารจัดการไปในทิศทางใดมากกว่า”

ส่วนในอนาคตโครงการรับจำนำข้าวจะเป็นเช่นไร รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อไปจะจัดการกับปัญหาข้าวเสื่อมสภาพ ผลการขาดทุนอย่างไร ยังไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ที่แน่ๆงานนี้ต้องมีคนรับผิดชอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

อัมพิกา ศรีโพธา รายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูเอ็นหนุนเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "ยูเอ็น"ระบุโลกต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และโรงไฟฟ้าที่มีระบบตรวจจับอนุภาคมลภาวะเพิ่มขึ้น 3 เท่า 'เปอโยต์ ซีตรอง'เน้นตลาดจีน-อาเซียน เปอโยต์ ซีตรอง เผยกลยุทธฟื้นยอดขาย เน้นทำตลาดรถยนต์ในจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่นพึ่งเกม-การ์ตูนโปรโมทกองทัพ กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการทำประชาสัมพันธ์เชิงรุก สาธารณชนเพิ่มความนิยมในทหาร เตรียมปรับรูปแบบสู่กองทัพปกป้องประเทศ ซาอุดีฯอัดงบทหารสูงสุดอันดับ 4 ของโลก ลอยแพ'โกตี๋'ทางที่ต้องเลือก 'ทักษิณ'มั่นใจไม่มีรัฐประหาร คปท.จัดพิธีรดน้ำดำหัวแกนนำอาวุโส

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทแข็งค่าขึ้น-หุ้นไทยทรงตัว

โดย : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

news_img_575342_1.jpg

ตลาดเงินระยะสั้นและตลาดตราสารหนี้

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่อง โดยมีการตัดจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบธนาคารในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกใช้เงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) อยู่ที่ 1.90% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repo) ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน อยู่ที่ 2.00% เท่ากับสัปดาห์ก่อนเช่นกัน

ทั้งนี้ ตลาดการเงินไทยจะปิดทำการในวัน 14-15 เม.ย. 2557 เนื่องในวันชดเชยวันสงกรานต์ โดยคาดว่า ระหว่างวันที่ 16-18 เม.ย. 2557 จะมีสภาพคล่องไหลกลับสู่ระบบหลังวันหยุดยาว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์และเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ รวมทั้งจะมีการตัดจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินน่าจะยังทรงตัวต่อเนื่องใกล้ระดับ 2.00%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.21% ในวันศุกร์ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 3.28% ในสัปดาห์ก่อน ตลาดพันธบัตรไทยปิดทำการในวันจันทร์ โดยหลังจากเปิดทำการ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี ปิดที่ระดับ 2.65% ในวันพฤหัสบดีปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับระดับ 2.72% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุน รวมทั้ง ปัจจัยหนุนจากถ้อยแถลงของเฟดที่บ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอาจจะไม่ได้เกิดเร็วขึ้นอย่างที่นักลงทุนกังวล

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ใกล้ 32.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามแรงซื้อคืนจากนักลงทุน หลังการชุมนุมของหลายกลุ่มการเมืองผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุรุนแรง นอกจากนี้ เงินบาทและสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ยังได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากเงินทุนไหลเข้า และทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ หลังรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สะท้อนว่า จังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ในปีหน้า ยังคงไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ตามการปรับโพสิชั่นของนักลงทุนก่อนช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ

ในวันศุกร์ (11 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.26 เทียบกับระดับ 32.52 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 เม.ย.)

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (14-18 เม.ย.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.15-32.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนเม.ย. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาคอุตสาหกรรม การเริ่มสร้างบ้านและการขออนุญาตก่อสร้างเดือนมี.ค. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิ สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจจับตาการประกาศตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 1/57 ของจีน (16 เม.ย.) ด้วยเช่นกัน

เงินยูโรแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินยูโรปรับตัวขึ้นโดยมีแรงหนุนจากมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนจาก IMF ขณะที่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ยังคงตอกย้ำว่า ECB ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการผ่อนคลายในทันทีเพื่อสกัดการปรับตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ เงินยูโรเพิ่มช่วงบวกได้อย่างต่อเนื่องในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังรายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดบ่งชี้ว่า จังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เร็ว นอกจากนี้ ข่าวการกลับมาเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรีซเป็นครั้งแรก ก็เป็นปัจจัยบวกของเงินยูโรในช่วงปลายสัปดาห์เช่นกัน

เงินเยนแข็งค่าขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่แทบจะไม่สะท้อนสัญญาณของการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมในระยะสั้น (แม้ญี่ปุ่นจะมีการปรับขึ้นภาษีการบริโภคไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา) ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายหลังรายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟด เงินเยนแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องในฐานะสกุลเงินปลอดภัยในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน

ในวันศุกร์ (11 เม.ย.) เงินยูโรอยู่ที่ 1.3888 เทียบกับ 1.3702 ดอลลาร์ฯ ต่อ ยูโรในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 เม.ย.) ส่วนเงินเยนอยู่ที่ 101.40 เทียบกับ 103.28 เยนต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า

ตลาดทุน

ดัชนี SET ทรงตัวจากแรงหนุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,389.16 จุด ลดลง 0.20% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 20.96% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 24,038.70 ล้านบาท โดย นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 402.73 จุด เพิ่มขึ้น 1.32% จากสัปดาห์ก่อน

ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงในวันอังคารจากแรงขายทำกำไร หลังจากที่ดัชนีไม่สามารถผ่านระดับ 1,400 จุดได้ ก่อนที่จะปรับขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร ก่อนถึงวันประกาศจ่ายปันผล (XD) ท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นแกว่งตัวในกรอบแคบในวันศุกร์ก่อนปิดทำการเนื่องในเทศกาลสงกรานต์

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 16-18 เม.ย. 2557 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับขึ้น จากแรงหนุนของการไหลเข้าของเงินทุน ขณะที่ตลาดคงจะให้น้ำหนักกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ยอดค้าปลีก เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาผู้บริโภค และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้ง การรายงาน GDP ไตรมาส 1/57 ของจีน ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,334 และ 1,364 จุดขณะที่ แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,400 และ 1,420 จุด ตามลำดับ

ดัชนี DJIA ปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไร ก่อนการเปิดเผยผลประกอบการณ์ไตรมาส 1/57 โดยเมื่อวันพฤหัสบดี ดัชนี DJIA ปิดที่ 16,170.22 จุด ลดลง 1.48% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลงในวันจันทร์ โดยมีแรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ก่อนที่จะปรับฟื้นตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีแรงซื้อหุ้นกลับ รวมทั้ง การเปิดเผยรายงานการประชุมจากธนาคารกลางสหรัฐฯที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มการสนับสนุนเศรษฐกิจมากกว่าที่นักลงทุนคาดไว้ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับร่วงลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนลดการถือครองหุ้นก่อนการเปิดเผยผลประกอบการณ์ไตรมาส 1/57

ดัชนี Nikkei ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากค่าเงินเยนที่กลับมาแข็งค่า โดยเมื่อวันศุกร์ ดัชนี Nikkei ปิดที่ 13,960.05 จุด ลดลง 7.33% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร ความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขการส่งออกที่อ่อนแอของจีน รวมทั้ง การแข็งค่าของเงินเยน หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่ายังคงไม่มีการพิจารณาถึงมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในขณะนี้

Tags : ตลาดเงินตลาดตราสารหนี้

กรมอุตุฯเตือนไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานพยากรณ์อากาศประจำวันที่ 15 เมษายน 2557 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04.00 น. บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงวันที่ 15-16 เมษายน 2557 ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนยังคงต้องระวังอันตรายจากลักษณะอากาศดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

Money Wise งานสัมมนาทิศทางการลงทุนจากเอเชียเหนือ "NowTV26" 14-4-57 คาดหลังสงกรานต์การเมืองเดือดฉุดหุ้นร่วง นักวิเคราะห์ระบุคาดหลังสงกรานต์การเมืองเดือดฉุดหุ้นร่วง แนะนำนักลงทุนหาจังหวะเก็งกำไรในช่วงสั้น บาทแข็งค่าขึ้น-หุ้นไทยทรงตัว เงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่ หุ้นไทยทรงตัวจากแรงหนุนของนักลงทุนต่างชาติ อิชิตันขายเกลี้ยง เชื่อนักลงทุนเก็บเพิ่ม หุ้นอิชิตันขายวันแรกเกลี้ยง ที่ปรึกษาเชื่อนักลงทุนที่ผิดหวังจองหุ้นจะรอซื้อหุ้นในกระดาน ด้าน "เอส 11 กรุ๊ป" ยื่นไฟลิ่งขายไอพีโอ16 ล้านหุ้น เศรษฐกิจชะลอฉุดสินเชื่อติดลบ ทองขึ้น50บ.ทองแท่งขายออก20,200 ทิศทางราคาทองคำ 11-4-57 vdo.gif พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติซื้อ341ลบ.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

blank.gif 557000004352122.JPEG

 

“สุเทพ” นำ กปปส.รดน้ำดำหัว “วสิษฐ-ระพี” - “หลวงปู่ฯ” ร่วมเจริญพระพุทธมนต์

กปปส.จัดสงกรานต์วันสุดท้าย “สุเทพ” นำมวลชนรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ “วสิษฐ-ระพี-ชัย-ปรีชา” ด้าน “หลวงปู่พุทธะอิสระ” ตามสมทบเจริญพระพุทธมนต์

หนี้ครัวเรือนพุ่งสัญญาณ NPL เพิ่ม แบงก์หยุดปล่อยกู้สกัดวิกฤตลาม - iBiz - Manager Online

 

 

“กลุ่มที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ และหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่เกิดจากบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน...

 

MANAGER.CO.TH

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...