ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

พบน้ำยาเคลือบทำพิษทำลายภาพวาด “แวนโก๊ะห์”

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2555 17:01 น.

 

 

555000012022401.JPEG

 

ภาพวาดดอกไม้ในแจกันสีน้ำเงินของแวนโก๊ะที่ถูกน้ำยาเคลือบทำลายและสร้างตำหนิเล็กๆ โดยเปลี่ยยนสีเหลืองที่สดใสของภาพ

(ในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ 2 กรอบ) เป็นสีน้ำตาลแดง (บีบีซีนิวส์)

 

blank.gif

นักวิจัยสังเกตพบผลกระทบทางเคมีในภาพวาดดอกไม้ในแจกันของ “แวนโก๊ะห์” แสดงตำหนิที่ทำให้สี

เหลืองของภาพต้องมัวหมอง หลังใช้รังสีเอ็กซ์ตรวจสอบองค์ประกอบภาพ แม้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในวงกว้าง แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้เก็บรักษาผลงานศิลปะ

 

รายงานบีบีซีนิวส์ ระบุว่า ชั้นน้ำยาเคลือบที่ทาภายหลังเพื่อปกป้องภาพวาด “ดอกไม้ในแจกันสีน้ำเงิน” ( Flowers In A Blue Vase) ของ วินเซนต์ แวนโก๊ะห์ (Vincent Van Gogh) ได้เปลี่ยนสีเหลืองของภาพวาดให้กลายเป็นน้ำตาลแดง โดยนักวิจัยได้ใช้รังสีเอกซ์ความเข้มสูงเพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาพ และได้พบสารประกอบ “ออกซาเลต” (oxalate) ในภาพซึ่งเป็นตัวการที่เปลี่ยนให้ภาพวาดมีสีเพี้ยนไปจากเดิม แล้วยังพบด้วยว่าอะตอมจากภาพต้นฉบับนั้นปนเข้าไปในชั้นนำยาเคลือบ

 

การศึกษาภาพของแวนโก๊ะห์ได้ถูกรายงานลงในวารสารอะนาไลติคัลเคมิสทรี (Analytical Chemistry) แต่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการใช้รังสีเอกซ์เพื่อศึกษาภาพวาดของแวนโก๊ะห์ โดยเมื่อปี 2011 วารสารวิจัยเล่มเดียวกันนี้เคยตีพิมพ์ผลงานการศึกษาภาพวาดของศิลปินดังโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์ป (University of Antwerp) ในเนเธอร์แลนด์ ที่นำโดยโคน แจนส์เซนส์ (Koen Janssens) ซึ่งพบว่า เม็ดสีของสีเหลืองในภาพเสื่อมสภาพลงเมื่อมีเม็ดสีที่มีองค์ประกอบของแคดเมียมเกิดขึ้น

 

สำหรับงานใหม่ที่ศึกษาภาพวาดของแวนโกะห์นี้ เริ่มขึ้นระหว่างการบำบัดรักษาภาพวาดในปี 2009 เมื่อผู้ดูแลรักษาภาพ พบว่า สีเหลืองในภาพวาดฟลาเวอร์สอินอะบลูเวสได้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมีรอยแตกลาย โดยสีเหลืองดังกล่าวมาจากสีเหลืองแคดเมียมซึ่งปกติจะซีดและสดใสน้อยลงไปตามอายุภาพที่มากขึ้น

 

จากนั้นทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน จึงได้ใช้ตัวอย่างเล็กๆ จากภาพวาดไปศึกษาด้วยเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ขนาดใหญ่ในสถาบันอีเอสอาร์เอฟ (ESRF) ที่ฝรั่งเศส และที่สถาบันเดซี (Desy) ที่เยอรมนี ซึ่งทั้ง 2 สถาบันมีเครื่องเร่งอนุภาคที่เร่งอิเล็กตรอนแล้วให้รังสีเอกซ์เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งวนรอบในเครื่องเร่งอนุภาค

555000012022402.JPEG

 

แคดเมียมออกซิเลตในชั้นระหว่างน้ำยาเคลือบและสีวาดบนภาพวาดของแวนโก๊ะห์ ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่นักวิจัย (บีบีซีนิวส์)

blank.gif วัตถุประสงค์ที่ทีมวิจัยใช้เครื่องกำเนิดรังสีเอ็กซ์ศึกษาภาพวาดของแวนโก๊ะห์นั้น ไม่ใช่เพียงเพื่อตรวจสอบว่ามีอะตอมหรือโมเลกุลอะไรอยู่ในตัวอย่างภาพวาด แต่ยังเพื่อหาโครงสร้างที่แม่นยำในชั้นระหว่างสีวาดดั้งเดิมกับน้ำยาเคลือบ และพวกเขาก็ต้องตกใจเมื่อพบสารประกอบ “แคดเมียมออกซาเลต” (cadmium oxalate) ที่เป็นสาเหตุของสีน้ำตาลซีดจาง

 

ดร.แจนส์เซนส์ บอกทางบีบีซีนิวส์ ว่า ในชั้นที่สัมผัสกับน้ำยาเคลือบและสีวาดนั้น พบแคดเมียมออกซเลตเป็นชั้นบางๆ ระดับไมโครเมตร ซึ่งหากไม่ใช้เทคนิควิเคราะห์ด้วยรังสีเอกซ์พลังงานสูงจะไม่สามารถพบชั้นบางๆ นี้ได้ และไม่มีทางได้เห็นว่ามีออกซิเลตอยู่ในภาพ

 

สำหรับสารประกอบออกซิเลตนั้น เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในผลงานที่เก่ามากๆ และเกิดจากเม็ดสีหลากหลายชนิด แต่เป็นครั้งแรกที่พบแคดเมียมอยู่ในรูปออกซิเลตภายในชั้นน้ำยาเคลือบ ซึ่งเป็นวิธีเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้นมาภายหลัง โดย ดร.แจนส์เซนส์ กล่าวว่า แวนโก๊ะห์ไม่ชอบทาน้ำยาเคลือบภาพวาดของเขา แต่ชอบให้ผลงานเหล่านั้นคงลักษณะหยาบๆ

 

หากแต่ปรากฏว่า หลังเขาเสียชีวิตแล้วภาพวาดเหล่านั้นก็หลุดไปอยู่ในตลาดงานศิลปะ และกลายเป็นของสะสมทั้งของส่วนตัวและของส่วนรวม และผู้เก็บรักษาแต่ละรายเคลือบรักษางานเหล่านั้นเพราะทำเป็นปกติ ซึ่งทำให้ภาพวาดบางส่วนของแวนโก๊ะห์ถูกเคลือบรักษาและได้สร้างปัญหากวนใจแก่ผู้เก็บรักษางานศิลปะ ซึ่งปรารถนาที่จะปกป้องการเสื่อมสภาพของภาพวาด โดยไม่เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต้นฉบับ

blank.gif

 

555000012022403.JPEG

 

ช้ินส่วนเล็กๆ จากภาพวาดของแวนโก๊ะห์ที่แทบจะมองไม่เห็นด้วยตาถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยรังสีเอกซ์เพื่อหาองค์ประกอบของภาพสี (บีบีซีนิวส์) blank.gif ปฏิกิริยาเคมีบางส่วนนี้ อาจทำให้ภาพวาดที่ใช้สีเหลืองอื่นๆ ของแวนโก๊ะห์ และศิลปิคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับน้ำยาเคลือบทุกชนิด และตอนนี้ภาพวาดที่ดีที่สุดของแวนโก๊ะห์ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แวนโก๊ะห์ (Van Gogh Museum) ในเนเธอร์แลนด์ ยังคงปลอดภัยดี

 

ด้าน เอลลา เฮนดริกส์ (Ella Hendriks) หัวหน้าทีมเก็บรักษาของพิพิธภัณฑ์แวนโก๊ะห์ กล่าวว่า เธอไม่ได้เตรียมรับมือว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหาในวงกว้างสำหรับการเก็บรวบรวมงานศิลปะ และจะปล่อยให้เป็นประวัติศาสตร์ของการเก็บรักษาต่อ แต่ก็เป็นเรื่องดีที่จะได้ระมัดระวังโกาสที่จะเกิดปัญหาเดียวกันนี้ในภาพวาดอื่นๆ และข้อมูลนี้ก็มีคุณค่าสำหรับผู้อนุรักษ์งานศิลปะที่จะได้เข้าใจถึงสภาพของภาพวาด และเลือกสิ่งที่ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ภาพวาดเหล่านั้นไว้

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทุกชีวิตต้องก้าวต่อ แม้ล้มบ้าง ก็ต้องลุกขึ้นสู้ต่อไป เพราะเรายังมีคนที่เรารักและห่วงใย เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ (ชีวิตมีค่า มีธรรมะ รู้สติ รู้เท่าทัน รู้ตื่น เบิกบาน)

 

ขอบคุณค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรรมะอินเทรนด์ ธรรมะออนไลน์

พวกเธอ

จงภิรมย์ในความไม่ประมาทเถิด

จงเพียรตามดูจิตของตน

จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลส

เหมือนหนึ่งช้างตกหล่มถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชีวิตมีค่า จงเห็นมุมที่ดีของชีวิต

 

เป็นธรรมดาขณะที่มีเกิด ย่อมมีจาก

 

หัวเราะ-สมหวัง ร่ำไห้ กังวล-เป็นทุกข์

 

มุมต่างของโลกในช่วงขณะ ย่อมเป็นสัจธรรม

 

PostToday

ช็อก!จระเข้ลากครูฝึกลงไปกินในทะเลสาบ http://bit.ly/NB23GO

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทุกชีวิตต้องก้าวต่อ แม้ล้มบ้าง ก็ต้องลุกขึ้นสู้ต่อไป เพราะเรายังมีคนที่เรารักและห่วงใย เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ (ชีวิตมีค่า มีธรรมะ รู้สติ รู้เท่าทัน รู้ตื่น เบิกบาน)

 

ขอบคุณค่ะ

ดีจ้า nice ขอบคุณนะคะ

ทานตะวัน หันหน้าสู้ แจ่มใส

ไม่หันหนีหลบปัญหาใดๆ

ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนใจ

ไม่ท้อ เป็นหนึ่งมหัศจรรย์ กำลังใจ

เป็นดอกไม้ สุดหรรษา ตะวันยิ้ม

155124_471416356232468_1650386219_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผุดกระจกไฮเทคเชื่อมโลกออนไลน์

  • 19 กันยายน 2555 เวลา 12:40 น.

 

เปิดตัวกระจกสุดไฮเทคเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่ส่งตรงข้อมูลจากโลกออนไลน์ขึ้นไปบนหน้ากระจก

8E425E89A071447096DD53F399DACFF5.jpg

สมาร์ตโฟนอาจเป็นอุปกรณ์ที่กำลังจะ “เชย” ไปเสียแล้วสำหรับการติดต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต เพราะปัจจุบันไม่ว่าจะอุปกรณ์อะไรก็ล้วนถูกนำมาเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นหรือทีวี

ในเร็วๆ นี้ คุณผู้หญิงยังสามารถเสริมสวยหน้ากระจกไป ดูตารางงานไป หรือเช็กสภาพอากาศก่อนออกจากบ้านที่หน้ากระจกไปพร้อมๆ กันได้ด้วย

แน่นอนว่าอุปกรณ์ที่ว่านี้ไม่ใช่กระจกวิเศษจากนิทานเรื่องสโนว์ไวต์ แต่เป็นกระจกสุดไฮเทค “ไซเบอร์เทกซ์เจอร์ มิร์เรอร์” ซึ่งมาพร้อมกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และทำให้ผู้ใช้ได้รู้ข้อมูลมากกว่าแค่ใครงามเลิศที่สุดในปฐพี

กระจกยังมีเซ็นเซอร์แพด ที่ช่วยให้ส่องได้ละเอียดชนิดทุกรูขุมขนและรอยตีนกา และประเมินอายุของผิวหน้า เพื่อให้คุณผู้หญิงสามารถบริหารใบหน้าให้คงความอ่อนเยาว์อีกด้วย

จนถึงขณะนี้ บริษัท เจมส์ ลอว์ ไซเบอร์เทกซ์เจอร์ สามารถจำหน่ายกระจกพิเศษได้แล้วราว 500 ชิ้น ตั้งแต่ในจีน อินเดีย ไปจนถึงอังกฤษ ซึ่งมีลูกค้าตั้งแต่เศรษฐินีไปจนถึงโรงแรมและซาลอนผมชั้นนำ

กระจกอินเทอร์เน็ตรุ่นนี้สนนราคาที่ชิ้นละ 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 57 ล้านบาท) โดยเริ่มพัฒนาแอพพลิเคชันนี้มาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ทางบริษัทระบุว่าสินค้าดังกล่าวยังถือเป็นนวัตกรรมนำร่อง และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกราว 2–3 ปี กว่าจะเริ่มฮิตติดตลาดทั่วไป

ถ้าจะให้ฮิตจริงสงสัยต้องลดราคา 90%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

308250_409543609101428_780520547_n.jpg

Steven James Steve

จินตนาการ แรงบันดาลใจ งดงาม

พลังใจที่แผ่กระจาย ละลอกคลื่นพริ้วพราย

โอบละออไอ ทั่วฟ้ากว้าง

สัมผัส อ่อนละเอียด เนียนเนาในสำนึกใส

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

399d9b033766467b9cae4934c27536b2_90.jpg

 

คลิปน่ารัก!"กอริลลา"จ้องหนอน

 

คลิปน่ารัก ลิงกอริลลาในสวนสัตว์ในแคนาดา จ้องหนอนบนลูกกรง ก่อนเพื่อนอีกตัวจะเข้ามาร่วมวงด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...