ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

กระทู้แนวซีรีส์ + ดราม่า น่ากลัวอีกเช่นเคย

Venezier The Crazy ::: ตอน "กรีซ กรีซ กรี๊ซซซซซซซซซซซซซซซซ"

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11111532/I11111532.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟมองความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ 26 กันยายน 2554

 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากการติดตามการเบิกจ่ายเงินของกรีซ 8 พันล้านยูโร และการประกาศผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ

 

 

 

มีอีกข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การนำเสนอรายงานการประเมินสภาวะเศรษฐกิจโลกของไอเอ็มเอฟ ซึ่งสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ไอเอ็มเอฟปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงจาก 4.3% ในปีนี้ไปเป็น 4.0% และในปีหน้า ก็ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงจาก 4.5% เป็น 4.0% นอกจากนั้น ยังกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะอันตราย (global economy is in a danger new phase) การใช้คำที่รุนแรงเช่นนี้จะไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก กล่าวคือ แทนที่จะใช้คำว่า "danger" จะเลี่ยงมาใช้คำที่เบากว่า เช่น "concern" หรือ "uncertain" หรือ "downside risk" ก็ได้ แต่ไอเอ็มเอฟคงต้องการส่งสัญญาณเตือนภัยที่ชัดเจนในครั้งนี้

 

ไอเอ็มเอฟบอกว่าการคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลกดังกล่าวนั้นเป็นผลจากการปรับลดการขยายตัวในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก เช่นกรณีของสหรัฐนั้น ได้ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงจาก 2.5% เป็น 1.5% ในปี 2011 และจาก 2.7% เป็น 1.8% ในปี 2012 (จากที่เคยประเมินในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา) สำหรับทวีปยุโรปนั้น ก็ปรับลงจาก 2.0% มาเป็น 1.6% ในปีนี้และจาก 1.7% มาเป็น 1.1% ในปี 2012 การขยายตัวต่ำกว่า 2% นั้นถือได้ว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมากเพราะเศรษฐกิจควรขยายตัว 2% ต่อปีเป็นอย่างต่ำเสมือนกับเครื่องบินที่บินช้าเกินไป (stall speed) ก็อาจตกลงมาได้โดยง่าย

 

การคาดการณ์ที่ไม่สดใสของไอเอ็มเอฟนี้มองได้ว่า ไม่แตกต่างจากการคาดการณ์ ของนักวิเคราะห์ภาคเอกชนมากนัก กล่าวคือไอเอ็มเอฟ อาจเพียงแต่ยอมรับความจริงที่ตลาดรับรู้มาก่อนแล้วก็ได้ แต่ไอเอ็มเอฟก็ได้แถลงข่าวย้ำว่าขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีสมมติฐานสำคัญ 3 ข้อ คือ

 

1. ประเทศยุโรปจะสามารถควบคุมปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซไม่ให้ลุกลามออกไปได้สำเร็จ ประเด็นนี้อาจเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะความรู้สึกของนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นมองว่ากรีซจะต้องเบี้ยวหนี้ในที่สุด แม้ว่ารัฐบาลยุโรปยังจะทำปากแข็งและใจดีสู้เสือก็ตาม ประเด็นที่ตามมา คือ วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซนั้น จะเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบเรียบร้อย (orderly default) หรือไม่ แปลว่าจะควบคุมมิให้การเบี้ยวหนี้ของกรีซไม่ขยายวงออกไปเกินกว่ากรีซและโปรตุเกส ซึ่งตรงนี้ต้องติดตามดูอิตาลี สเปนกับธนาคารฝรั่งเศสว่าจะรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอาไว้ได้มากน้อยเพียงใด

 

2. รัฐบาลสหรัฐ (หมายถึงประธานาธิบดีโอบามากับ ส.ส.พรรครีพับลิกันที่คุมเสียงข้างมากในสภาล่าง) จะต้องหาข้อตกลงร่วมกันด้านนโยบายการคลัง ที่จะส่งผลให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐในระยะสั้น (กล่าวคือ อย่ารัดเข็มขัดทางการคลังมากเกินไปใน 1-2 ปีข้างหน้า) พร้อมไปกับการสร้างวินัยทางการคลัง (เก็บภาษีเพิ่มและลดรายจ่ายลง) ในระยะกลาง (3-5 ปี) ทำให้ตลาดเชื่อมั่นได้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจสหรัฐ จะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ และในระยะยาวก็จะไม่ต้องเผชิญปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกับกรีซในวันนี้ นักวิเคราะห์ที่อนุรักษนิยมจะเปรียบเปรยว่า เสมือนกับอนุญาตให้คนที่ติดเหล้าสามารถดื่มเหล้าต่อไปจะได้อารมณ์ดี และทำงานได้โดยมีข้อตกลงว่าสักวันหนึ่งในอนาคตจะหยุดกินเหล้าได้ก่อนจะตาย ด้วยโรคตับแข็ง โดยข้อตกลงดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือทำให้สามารถไว้ใจได้ว่าคนที่ติดเหล้าจะเลิกเหล้าได้ในอนาคต

 

3. ความหวาดกลัวของตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้จะต้องค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นไม่ย่ำแย่ลงไปอีก ตรงนี้ผู้ที่ติดตามสถานการณ์จะเห็นถึงความผันผวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของตลาด เช่น ในระยะหลังนี้การที่ตลาดหุ้นในยุโรปและอเมริกาปรับตัวขึ้นลง 3-4% ในแต่ละวันไม่ได้เป็นอะไรที่ผิดปกติแต่อย่างใด

 

ไอเอ็มเอฟสรุปว่าหากสมมติฐาน 3 ข้อดังกล่าวไม่เกิดขึ้นดังที่คาด "things could be much worse" กล่าวคือ สถานการณ์จะย่ำแย่ลงไปกว่านี้ได้และยอมรับว่าในขณะที่ความกลัวความไม่แน่นอน (fear of the unknown) นั้นมีอยู่ค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความมั่นใจในผู้กำหนดนโยบายว่าจะสามารถบริหารจัดการปัญหาหนี้สาธารณะได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือไม่ (เพราะพยายามแก้ปัญหามา 2 ปีแล้ว สถานการณ์ก็มีแต่จะทรุดตัวลง) เพราะหากทำไม่สำเร็จก็จะกระทบต่อสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ของยุโรปที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบธนาคารไม่สามารถดำเนินกิจการตามปกติ คือ ปล่อยกู้และเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจได้ กล่าวคือ มีความกลัวว่าการชะงักงันของภาคการเงินอาจจะเกิดขึ้นซ้ำรอยผลกระทบที่ตามมาจากการล่มสลายของเลแมน บราเธอร์ส ในเดือนกันยายนปี 2008 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโลกหดตัวลง 0.7% ในปี 2009 ด้วยเหตุผลนี้ ธนาคารกลางของสหรัฐจึงได้ประกาศความพร้อมที่จะปล่อยกู้เงินดอลลาร์ไม่จำกัดจำนวนให้กับธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสวิสและธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้โลกสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องอย่างรุนแรง (credit crunch) ได้ แต่หากเศรษฐกิจโลกต้องเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 2012 เพราะการดำเนินนโยบายการคลังที่ผิดพลาดในสหรัฐและยุโรป (โดยที่ยุโรปจะเป็นจุดอ่อนมากกว่าอเมริกา) เศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2010 แต่จะเผชิญปัญหาที่ยืดเยื้อและการฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น

 

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียนั้นไอเอ็มเอฟปรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเพียงเล็กน้อยดังเห็นได้ในตาราง

 

จะเห็นได้ว่าอาเซียนโดยรวมนั้นขยายตัวได้ดี และ สำหรับไทยนั้นไอเอ็มเอฟลดการขยายตัวปีนี้ลง แต่ไปเพิ่มในปีหน้าให้ขยายตัวสูงถึง 4.8% ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเฉลี่ยการคาดการณ์ของภาคเอกชนที่ประมาณ 4.5%

 

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่นั้นไปเอ็มเอฟมองว่า ยังไม่ได้ปรับตัวเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในของตัวเอง เพื่อช่วยปรับความสมดุลของเศรษฐกิจโลกแต่อย่างใด ทั้งนี้ มองว่าเงินหยวนของจีนนั้นยังอ่อนค่าเกินจริงอยู่มาก และหลายประเทศตลาดเกิดใหม่ก็ยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ทั้งนี้ โดยเตือน 7 ประเทศว่าจะต้องมุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะเป็นประเทศที่สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่สูงมาก และราคาสินทรัพย์ (โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และหุ้น) ก็ได้ปรับตัวอย่างก้าวกระโดดได้แก่ประเทศบราซิล โคลัมเบีย ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เปรูและตุรกี ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ

ปฏิรูปประเทศไทย แบบไหน อย่างไร : วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กรุงเทพธุรกิจ 26 กันยายน 2554

 

ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐ มีผลกระทบทั่วโลก เพราะสหรัฐเป็นประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด มีผลิตภัณฑ์มวลรวมราว 20% ของ GDP ของทั้งโลก ทั้งลงทุนและค้าขายกับต่างประเทศมากสหรัฐ ถลุงใช้พลังงานน้ำมัน ถ่านหิน ของตนเองจนเหลือน้อยต้องสั่งเข้ามา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในระยะ 30 ปีหลังแข่งขันสู้ประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้ลดลง สหรัฐยังพึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและผลิตอาหารและยาได้ส่วนหนึ่ง แต่หันไปหารายได้จากภาคบริการ โดยเฉพาะเรื่องการเงินการธนาคารที่มีการขยายตัวมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทำกำไรได้สูงเพิ่มขึ้นมาก แต่ธุรกิจการเงิน คือ ตัวสร้างปัญหาวิกฤติในปัจจุบัน

 

สหรัฐขาดดุลการค้า คือ สั่งเข้ามากกว่าส่งออก แต่อยู่ได้ด้วยการเป็นหนี้ต่างประเทศ ในรูปของการพิมพ์พันธบัตรรัฐบาลมาขายให้ประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐ เช่น จีน ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง (โดยสหรัฐจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำมาก เช่น พันธบัตร 10 ปี จ่ายดอกเบี้ยผู้ถือธนบัตรเพียงปีละ 2.9% เป็นต้น) เงินดอลลาร์ที่ธนาคารกลางของสหรัฐพิมพ์ได้เอง และให้รัฐบาลสหรัฐกู้ได้กลายเป็นเงินสกุลหลักในการลงทุนและการค้าขายทั่วโลก ทำให้ประเทศต่างๆ ถือเงินดอลลาร์เป็นทุนสำรองมากสหรัฐยังสามารถกู้ธนาคารญี่ปุ่นได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเงินออมมาก และอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศอื่น

 

สหรัฐเป็นประเทศที่บริโภคมากกว่าออม นายทุนส่วนน้อย 10% แรกรวยขึ้นมาก แต่คน 90% ถูกกดขี่ค่าจ้างแรงงาน ทำให้รายได้สุทธิคงที่ (หักเงินเฟ้อแล้ว) ของแรงงานส่วนใหญ่ สามารถซื้อสินค้าได้จริงคงที่หรือลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 คนอเมริกัน (ประชากร 306 ล้านคน) อยู่ได้ด้วยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น หนี้ของครัวเรือนอเมริกันโดยเฉลี่ยสูงกว่ารายได้เฉลี่ยราว 2-3 เท่า

 

รัฐบาลสหรัฐขาดดุล ทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ (สั่งเข้ามามากกว่าส่งออก) และ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ (รายจ่ายสูงกว่ารายรับของรัฐบาล) มาอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี 2000-2006 สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้า+บริการ) ถึง 4 ล้านล้าน (4 Trillion) ดอลลาร์ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณประจำปีของภาครัฐราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน การขาดดุลงบประมาณประจำปีของสหรัฐส่วนหนึ่งมาจากการทำตัวเป็นจักรวรรดินิยม ใช้นโยบายปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเมืองของตนด้วยการลงทุนทางทหารอย่างมหาศาล

 

ระบบทุนนิยมสหรัฐเป็นระบบที่นายทุนส่วนน้อยกดขี่แรงงานและผู้บริโภคที่เป็นคนส่วนใหญ่ 2 ต่อ คือ 1. กดค่าจ้างแรงงาน (รวมทั้งส่งเสริมให้แรงงานอพยพมาที่สหรัฐมากขึ้น เพื่อจะได้มีซับพลายแรงงานมากขึ้นและโยกย้ายโรงงานไปจ้างแรงงานราคาต่ำกว่าในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้นและแรงงานขาดอำนาจต่อรอง ต้องยอมรับค่าจ้างที่ต่ำ) และ 2. หากำไรจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการลงทุนด้านการเงิน ยิ่งคนมีรายได้น้อย เครดิตไม่ดี ยิ่งต้องเสียดอกเบี้ยสูงกว่าคนรวย ธุรกิจธนาคาร สถาบันการเงินที่หากำไรจากดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม กำไร และคอมมิชชั่น จากการลงทุนเก็งกำไร จากหุ้น ตราสาร อนุพันธ์ ผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก เมื่อ 30 ปีที่แล้ว วงเงินจากสินเชื่อและตราสารต่างๆ อยู่ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์ ปัจจุบันอยู่ที่ 596 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่ายอดซื้อขายสินค้าจริงทั่วโลก 10 เท่า

 

ปัญหาวิกฤติด้านการเงินการธนาคารในสหรัฐเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคาร สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อบ้านให้ผู้กู้ที่รายได้ต่ำ อย่างหละหลวมและเป็นจำนวนมากเกินไป รวมทั้งยังเอาหนี้เหล่านั้นไปจัดรวมกันแล้วแปลงเป็นสินทรัพย์ ตราสาร ตราสารค้ำประกันหนี้ และผลิตภัณฑ์การเงินประเภทต่างๆ ไปขายต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อได้เงินเอาไปปล่อยกู้เพิ่ม ทำให้มีการปล่อยกู้และการขายต่อตราสารการเงินประเภทต่างๆ รวมกันแล้วมีมูลค่าสูงกว่าสินทรัพย์เดิมหลายเท่ามาก การขายต่อขายกันไปมาในหมู่ธนาคาร สถาบันการเงินและต่างคนต่างก็คิดว่าตนเองเสี่ยงน้อย เพราะขายต่อให้คนอื่น รวมทั้งมีการค้ำประกันเป็นการลดความเสี่ยงของตนแล้ว แต่ถ้าคิดทั้งระบบแล้ว คือ การเพิ่มความเสี่ยงเพราะธนาคาร สถาบันการเงินซื้อและค้ำประกันในหมู่พวกเดียวกันนั่นเอง

 

หลังจากที่สหรัฐเกิดวิกฤตการณ์ประชาชนไม่สามารถผ่อนส่งหนี้บ้านได้ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 2007 ภายในปีเศษๆ ราคาบ้านตกต่ำอย่างมาก ผู้กู้ผ่อนส่ง 13.6 ล้านคน (17.3% ของผู้มีบ้านอยู่ในสหรัฐ) ต้องส่งบ้านที่ตอนต้นปี ค.ศ. 2009 มีมูลค่าต่ำกว่าตอนที่เขาทำสัญญาซื้อราวครึ่งหนึ่ง หลายคนเจอปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก จะขายก็ขาดทุนมาก หรือขายไม่ออกเพราะไม่มีคนซื้อ จะผ่อนส่งต่อ ก็มีปัญหาการชำระหนี้ เพราะบางคนตกงาน รายได้ลด หรือมีปัญหาส่วนตัวอื่นๆ เช่น หย่าร้าง เลิกรากัน ไม่มีคนช่วยผ่อนส่ง

 

เศรษฐกิจสหรัฐเป็นเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับภาคการค้าและบริการ (ซึ่งรวมทั้งเรื่องการเงิน) สูงกว่าภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งเกษตรมาก หลังเกิดวิกฤติการเงิน ภายในปีกว่าๆ คนอเมริกันตกงานไปแล้ว 3.5 ล้านคน ปี 2007 8 บ้านถูกสถาบันการเงินยึดไปราว 3.8 ล้านหลัง และคาดการณ์ว่าจากเดือนกันยายน 2008-ปี 2012 จะมีการยึดบ้านที่คนกู้ไม่มีเงินจะส่งถึง 6.4 ล้านหลัง เมื่อฟองสบู่แตก บ้านและหุ้นราคาตกต่ำลงราวครึ่งหนึ่ง ทำให้คนมีทรัพย์สินและรายได้ลดลงอย่างฮวบฮาบ ผู้บริโภคกำลังซื้อลดลง ธนาคารยึดไปก็ไม่สามารถขายต่อทำกำไรได้เหมือนในภาวะปกติ ทั้งธุรกิจและประชาชนจึงมีฐานะตกต่ำตามๆ กันเป็นลูกโซ่

 

วิกฤติเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว แม้รัฐบาลจะใช้เงินภาครัฐไปอัดฉีดอุ้มคนรวย คือ ธนาคาร สถาบันการเงิน รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ ธุรกิจบ้านมาก ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาการว่างงานยังสูงในระดับ 16% เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลโอบามา ขอเพิ่มเพดานในการกู้หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ไม่ต้องพักชำระหนี้ โดยเพียงแต่จะลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่าใช้จ่ายทางทหารและสวัสดิการสังคม แต่ ไม่ได้มีโครงการว่าจะหาเงินมาใช้หนี้ได้อย่างไร เพราะนักการเมืองสหรัฐหาเสียงแบบไม่ยอมเพิ่มภาษีคนรวยทำให้บริษัทจัดอันดับเครดิต เอสแอนด์พี ลดอันดับเครดิตของรัฐบาลสหรัฐลง ทำให้รัฐบาลสหรัฐมีต้นทุนในการกู้สูงขึ้น เพราะกลายเป็นลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ความจริงรัฐบาลสหรัฐจะแก้ปัญหาได้ดีกว่านี้ ถ้ากล้าปฏิรูปเก็บภาษีคนรวยมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายทางทหารลงอย่างจริงจัง และช่วยเหลือพัฒนาแรงงานให้มีประสิทธิภาพและรายได้สูงขึ้น

 

ประเทศไทยไม่ควรดำเนินนโยบายอุ้มคนรวยแบบสหรัฐ ควรถือ ทุนสำรองส่วนที่เป็นเงินดอลลาร์ลดลง และควรลดการพึ่งพาการส่งออกลง ปฏิรูปคนและเศรษฐกิจภายในประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นธรรมและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น พึ่งตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจึงจะไม่เกิดปัญหาแบบกรีซและประเทศทุนนิยมอื่นๆ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

oh พี่ใหญ่ มีทองทั้งหมดกี่ร้อยบาทแล้วครับ อยากมี เหมือนพี่ใหญ่ บ้างจังครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธปท. เตรียมเรียก "ผู้ค้าทอง" หารือรอบ 2 หวั่นเป็นช่องทางเก็งกำไรค่าเงิน

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กันยายน 2554 00:53 น. Share

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

ธปท. หวั่นค่าเงินบาทป่วน เตรียมเรียก "ผู้ค้าทอง" ถกรอบ 2 ชี้ นักลงทุนหัวใสเทรดทองคำเป็นช่องทางเก็งกำไรเงินบาท เล็งหามาตรการป้องกัน เพราะยังไม่มีหน่วยงานคุมโดยตรง

 

มีรายงานข่าวว่า ผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แสดงความเป็นห่วงความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ลงทุนในทองคำ ซึ่งปัจจุบันจะอาศัยช่องทางค้าขายทองคำมาเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการซื้อขายทองคำในช่วงหลังเริ่มไม่ได้เป็นการซื้อเพื่อการค้าขายทั่วไปเหมือนในอดีต แต่เป็นการซื้อเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไรกันมากขึ้น

 

นอกจากนี้ การซื้อทองคำในตลาดโลกช่วงหลังก็เริ่มมีผลต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ประกอบกับเกิดปัญหาความผันผวนของราคาทองคำโลกที่สูงมากขึ้น ดังนั้น ธปท.อาจเชิญผู้ประกอบการค้าทองคำมาหารืออีกครั้ง

 

ส่วนการที่ ธปท.เชิญผู้ประกอบการเหล่านี้มาคุยในรอบที่แล้ว ธปท. ระบุว่า เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลดูว่า การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนของนักค้าทองคำ เป็นการซื้อขายเพื่อนำไปซื้อทองคำแล้วมาขายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวหรือไม่ หรือเป็นการซื้อเพื่ออาศัยช่องทางเหล่านี้ในการเก็งกำไรค่าเงินบาทด้วย เพราะที่ผ่านมา ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ดูแลเรื่องเหล่านี้โดยตรง

 

ทั้งนี้ เชื่อว่าสมาคมค้าทองคำน่าจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ผู้นำเข้าทองคำแต่ละรายเมื่อนำเข้าทองคำมาแล้ว ได้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งทาง ธปท.อยู่ระหว่างการขอข้อมูลจากสมาคมค้าทองคำ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“ทองคำ ค่าเงิน หุ้น” บทเรียนอีกครั้งจากการทุบถล่มแล้วช้อนซื้อของ “เฮดจ์ฟันด์!?”

 

 

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 27 กันยายน 2554 14:50 น. Share97

 

 

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยเฉพาะในตลาดทุนนั้นถือได้ว่ามีความผันผวนอย่างหนักและต่อเนื่อง หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน ซึ่งเหล่าเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายได้เข้าไป “ปั่น” ก่อนหน้านี้มาอย่างยาวนาน ต่างก็ได้ถูกเทขายทำกำไรอย่างพร้อมเพรียงกัน

 

การเทขายในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างหนักหน่วงที่ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงเหว ก็ได้ทำให้นักเล่นหุ้นประเภทที่เล่นมาร์จิ้น และเล่นฟิวเจอร์ ต้องถูกบังคับขายตามกฎเกณฑ์ทำให้กองทุนหัวใสเข้าช้อนซื้อตอนที่เหล่าแมลงเม่าไทยต้องเจ๊งระเนนระนาดและทำให้ราคาหุ้นและทองคำดีดตัวกลับ

 

“ทองคำ” ก็เช่นกันได้ถูกกองทุนเฮดจ์ฟันด์เทขายสัญญาทองคำออกมานอกตลาด และทำให้ราคาทองคำทั่วโลกดิ่งลงอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทำให้นักเล่นทองประเภทฟิวเจอร์โกลด์ต้องถูกบังคับขายเจ๊งกันไปอีกจำนวนมากเช่นกัน แม้แต่สมาคมทองคำของไทยก็ฉวยโอกาสกำหนดราคาซื้อขายและค่าธรรมเนียมเกินกว่าปกติจากที่เคยใช้สูตรคำนวณของราคาทองคำตลาดโลกเพื่อกลบผลขาดทุนของตัวเอง

 

แต่การที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่นัดหมายกันทั่วโลกเทขายกันอย่างพร้อมเพรียงกันนั้นไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่เป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจของโลกที่ต้องเผชิญหน้าอยู่ในเวลานี้ก็คือปัญหาหนี้สินอันมโหฬารและปัญหาทางเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่ทำทีว่าจะเป็นลูกโซ่ใหญ่โตกว้างขวางลามปามกระทบไปทุกประเทศทั่วโลก

 

โดยเฉพาะ “ธนาคาร” ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป หลายแห่งถูกทยอยลดความน่าเชื่อถือลงอย่างพร้อมเพรียงกัน และธนาคารเหล่านี้ก็เป็นแหล่งทุนอันสำคัญที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องขายทำกำไรคืนโดยเร็วเพื่อถือเป็นเงินสดรองรับกับสภาพวิกฤตที่กำลังจะมาถึง

 

เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ก็คือการที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาพิมพ์แบงก์ออกมาเพื่อซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากธนาคาร (QE 1) และเพื่อซื้อแทรกแซงตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา (QE2) ตามมาด้วยมาตรการเทขายพันธบัตรระยะสั้นแล้วมาซื้อพันธบัตรระยะยาวโดยมุ่งหวังจะกดอัตราดอกเบี้ยให้ลดลง (Operation Twist) ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าสหรัฐอเมริกาออกอาวุธทางเศรษฐกิจใกล้หมดแล้ว แต่อัตราการว่างงานก็ยังสูงอยู่ในระดับ 9.1%

 

ซึ่งความจริงแล้วการพิมพ์แบงก์ดอลลาร์สหรัฐอเมริกานั้นก็เหมือนการ “ชักดาบ”เบี้ยวหนี้ทางอ้อม เพราะทำให้หนี้ของสหรัฐฯ ในแต่ละประเทศเป็นเจ้าหนี้อยู่นั้นด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศเจ้าหนี้เหล่านั้น ตรงนี้เองทำให้เหล่าเฮดจ์ฟันด์เห็นโอกาสอันมหาศาลที่จะเร่งแปลงสินทรัพย์ของตัวเองจากดอลลาร์ให้เป็นสินทรัพย์อย่างอื่นในประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

 

มาตรการของสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาแทนที่จะทำให้อัตราว่างงาน กลับเร่งทำให้ธนาคารสหรัฐอเมริกามีเงินเหลือล้นกลับไปลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์มากขึ้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ เข้าซื้อและปั่นหุ้นในประเทศภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย (ที่มีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทจะแข็งและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง) เงินนอกร้อนไหลเข้าประเทศทำให้ราคาหุ้นดีดตัวสูงขึ้นชนิดที่นักการเมืองเอาไปคุยโวกันอย่างสนุกสนานและเอิกเกริก จนไม่มีใครสนใจฟังคำเตือนเรื่องการควบคุมกองทุนจากต่างประเทศที่หวังการลงทุนระยะสั้นแบบตีหัวเข้าบ้านที่จะมาทำให้เศรษฐกิจไทยต้องปั่นป่วน

 

แต่การเทขายระลอกใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำให้แมลงเม่าไทยและแมลงเม่าทั่วโลกตกกลายเป็นเหยื่อของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้สูบความมั่งคั่งของแต่ละประเทศกลับไปโดยได้ทำกำไรจากการเทขายในหุ้น ทองคำ และน้ำมันของตัวเองที่ได้ปั่นเอาไว้แล้ว ยังได้กำไรค่าเงินของแต่ละประเทศกลับไปอีกด้วย (โดยแลกกลับได้เงินดอลลาร์ไปมากขึ้น) โดยไม่ต้องมีการผลิตใดๆ ทั้งสิ้น

 

ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ใช่นักเล่นหุ้นก็อาจจะคิดว่าไม่เดือดร้อนอะไร แต่ในความเป็นจริงการปล่อยให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์เข้าไปเล่นค่าเงินบาทได้ก็คือการทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นถือเป็นการบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันภาคการผลิตไปด้วย ในอีกทางหนึ่งการสูบความมั่งคั่งจากคนในประเทศไทยได้ก็คือ “การสูบกำลังซื้อของคนภายในประเทศ” ให้ลดลงแล้วตกไปอยู่ในมือของชาติอื่นโดยไม่จำเป็น

 

กลยุทธ์ของเฮดจ์ฟันด์ก็คือ “ปั่นขึ้นให้สูงแล้วเทขาย ทุบให้ต่ำแล้วกลับเข้าช้อนซื้อ” ยังคงเป็นวัฏจักรที่จะเกิดขึ้นต่อไปอีกหลายระลอก โดยเฉพาะในสภาวะที่ธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหามาก ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งทำให้เหล่าเฮดจ์ฟันด์เร่งขบวนการสูบความมั่งคั่งจากประเทศต่างๆ ให้เร็วขึ้นเป็น “วันต่อวัน” และปัจจุบันเร็วกว่านั้นเป็น “นาทีต่อนาที” โดยเน้นการทำกำไรจากพวกเล่นหุ้นแบบมาร์จิ้นและฟิวเจอร์ที่ต้องถูกบังคับขายหากราคาต่ำกว่าที่กำหนด เพียงแต่บทเรียนสัปดาห์ที่ผ่านมาน่าจะทำให้นักลงทุนและแมลงเม่าทั่วโลกได้สติมากขึ้น (สักระยะหนึ่ง)

 

แต่ปัญหาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปน่าจะหนักและสาหัสยิ่งกว่าอเมริกา เพราะพิมพ์เงินขึ้นใช้ตามใจชอบไม่ได้เหมือนสหรัฐอเมริกาและยังมีการคานอำนาจระหว่างกันโดยหลายประเทศ

 

แผนภูมิภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงหนี้จากนิวยอร์กไทมส์ที่แสดงผลเมื่อสิ้นปี 2553 ก็จะเห็นได้ว่า กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน ซึ่งถือว่าเป็น 5 ประเทศที่กำลังมีปัญหาธนาคารสั่นคลอนและรัฐบาลหนี้สินท่วมท้นนั้น หากมีปัญหา “ชักดาบ” หรือ “ธนาคารล้ม” ก็จะลามไปยังเจ้าหนี้รายใหญ่ทั้งธนาคารและรัฐบาลของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างแน่นอน

 

 

 

แผนภูมิการเชื่อมโยงหนี้ระหว่างกันของ 5 ประเทศที่เศรษฐกิจสั่นคลอน กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน โดยมีเจ้าหนี้รายใหญ่คือ เยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส

 

 

 

 

ตัวเลขครึ่งปีแรกของปีนี้ กรีซมีหนี้ต่างประเทศ (ทั้งในส่วนของธนาคารและภาครัฐ) เพิ่มขึ้นเป็น 5.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 6.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 77 เท่าของทุนสำรอง), อิตาลี มีหนี้ต่างประเทศรวม 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 1.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 13 เท่าของทุนสำรอง), สเปน มีหนี้ต่างประเทศรวม 1.89 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 3.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 55 เท่าของทุนสำรอง), โปรตุเกส มีหนี้ต่างประเทศรวม 4.98 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 2.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 22 เท่าของทุนสำรอง) , ไอร์แลนด์ มีหนี้ต่างประเทศ 1.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองอยู่เพียง 2.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 54 เท่าของทุนสำรอง)

 

รวมหนี้ต่างประเทศของ 5 ประเทศนี้คือ 5.235 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่ประเทศทั้ง 5 ประเทศเหล่านี้ มีหนี้ต่างประเทศมากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศหลายสิบเท่าตัว และเป็น 5 ประเทศที่ต่างขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทั้งสิ้น เปรียบเสมือนว่า 5 ประเทศนี้มีหนี้สินต่างประเทศมหาศาลมากกว่าสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วค้าขายต่างประเทศยังขาดทุนทุกปีอีกไม่รู้จะเอารายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ไหนมาชำระหนี้ (สถานภาพคล้ายประเทศไทยก่อนปี 2540)

 

แต่พอหันมาดู 3 ประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของ 5 ประเทศเหล่านี้ก็มีปัญหาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดย ฝรั่งเศส มีหนี้ต่างประเทศ 4.698 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.82 แสนล้านเหรียญ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 26 เท่าของทุนสำรอง) ส่วนอังกฤษหนักสุดมีหนี้ต่างประเทศ 8.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 1.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 79 เท่าของทุนสำรอง) และทั้ง 2 ประเทศนี้ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทุกปีเช่นกัน

 

ส่วนเยอรมนีดูฐานะดีกว่าเพื่อนในกลุ่มนี้ เป็นประเทศที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 1.62 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีทองคำมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีอยู่ประมาณ 3.4 พันตัน แต่ก็ยังมีหนี้ต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนรวมสูงถึง 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 2.31 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศเป็น 20 เท่าของทุนสำรอง)

 

การล้มละลายของยุโรปครั้งนี้จึงย่อมต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแต่ว่าจะดิ่งลงแรงขนาดไหน ขึ้นอยู่กับ “หนี้ระยะสั้น” ของแต่ละประเทศนั้นถูกทวงคืนเร็วมากน้อยแค่ไหน และปรับโครงสร้างหนี้ยืดระยะยาวออกไปได้หรือไม่ เพราะยิ่งออกพันธบัตรกู้เงินตราต่างประเทศออกมามากในยามที่ทั่วโลกเห็นสภาพนี้แล้ว ถ้าไม่ถูกโก่งราคาอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างหนักก็อาจจะหมดหนทางกู้ ผลก็คือการ “ชักดาบ” เบี้ยวหนี้ หรือบีบเจ้าหนี้ให้ “ลด-ยืดหนี้” หรืออาจถึงขั้นไม่ชำระหนี้เอาดื้อๆ ซึ่งผลร้ายจะทำให้ธนาคารหลายแห่งโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่นั้นได้รับผลกระทบลามเป็นลูกโซ่ไปเป็นจำนวนมาก

 

และหากความเสียหายของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลลามไปถึงภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะถ้าเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาถดถอยกำลังซื้อหดตัวก็เท่ากับตลาดส่งออกของทั่วโลกย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่เว้นแม้แต่จีนและประเทศไทย

 

การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในยุโรปและอเมริกาในช่วงนี้ และการเข้าออกเร็วขึ้นของเฮดจ์ฟันด์จึงเป็นเพียง “ยอดภูเขา” ของน้ำแข็งที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการออกมาเท่านั้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ระบุว่าทางรอดของธนาคารในยุโรปต้องเพิ่มทุนสูงถึง 4.6 แสนล้านยูโร (6.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารหลายแห่งในยุโรปเรียกเงินคืนบางส่วนจากเฮดจ์ฟันด์เพื่อมาพยุงฐานะและเพิ่มทุนให้กับธนาคารในยุโรป

ทั้งนี้ นางคริสตี ลาการ์ด กรรมการผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ยอมรับเมื่อการประชุมวันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่กรุงวอชิงตันว่า “ศักยภาพการปล่อยกู้ของเราที่มีมูลค่าเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์เป็นตัวเลขที่พอดีสำหรับเศรษฐกิจทุกวันนี้ แต่อาจจะไม่พอหากเกิดวิกฤตการเงินรุนแรงในประเทศต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟในเวลาเร่งด่วน”

 

แปลว่าหากมีเงินไม่พอก็มีโอกาสที่ไอเอ็มเอฟ อาจจะเทขายทองคำบางส่วนจากที่มีอยู่ 2,800 ตันออกมาได้อีก

ประเทศไทยจึงต้องเตรียมตัวรับกับสภาพวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทัน รัฐบาลควรต้องพิจารณาถึงการจัดการกับขบวนการสูบความมั่งคั่งของเฮดจ์ฟันด์ และควรสร้างเสริมอุปนิสัยให้กับคนไทยรู้จักการออมและการประหยัดใช้เงินอย่างมีเหตุผล และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อเตรียมเงินสำรองเอาไว้รองรับวิกฤตที่กำลังจะมาถึง ไม่ใช่เน้นแต่ส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนสร้างหนี้เร่งใช้จ่ายเพื่อหวังการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวเพื่อ “ใช้เป็นตัวเลข” ที่จะได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ขาดดุลกันได้มากขึ้น

 

ท่ามกลางเศรษฐกิจทุนนิยมสุดขั้วกำลังทำร้ายและทำลายตัวเองอยู่ในขณะนี้ ปรากฏการณ์นี้ยิ่งเป็นการยืนยันในพระอัจฉริยภาพอีกครั้งหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะทำให้ผู้นำไปปฏิบัตินั้นสามารถอยู่รอดได้ในยามวิกฤต

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000122856

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ยุโรปดิ้นหนีตาย รับมือวิกฤตกรีซหนี้เน่า

28 กันยายน 2554 เวลา 07:40 น. | เปิดอ่าน 719 | ความคิดเห็น 0

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

กลายเป็นอภิมหากาพย์ที่หาทางจบได้ยากเสียแล้วสำหรับปัญหาหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรป จนสถานการณ์เดินหน้าเข้าสู่วิกฤตเต็มขั้น เมื่อนักวิเคราะห์หลายฝ่ายเริ่มเสียงแข็งแล้วว่า กรีซมีสิทธิผิดนัดชำระหนี้แน่นอน

 

แม้ว่าผู้นำหลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป(อียู) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสาหลักอย่าง เยอรมนี จะยืนยันหนักแน่นว่าไม่มีทางปล่อยให้กรีซล้มละลายแน่นอน แต่ความแน่นอนที่เริ่มชัดเจน ส่งผลให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ทั่วยุโรปออกอาการหนาวๆ ร้อนๆ จนต้องรีบเตรียมหามาตรการมารองรับเป็นการด่วน

 

ทั้งการลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ และการเพิ่มระดมเงินทุนของธนาคาร โดยไม่วายลืมอ้อนวอนขอความเห็นใจให้อียูยื่นมือเข้ามาช่วยด้วยเช่นกัน

 

นอกจากนี้ จากความตึงเครียดในตลาดการเงินของภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หุ้นของธนาคารทั่วยุโรปปรับตัวลดลงฮวบแบบระนาว จนไม่สามารถระดมทุนเข้าธนาคารได้โดยง่าย

 

ทั้งนี้ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (The Institute of International Finance - IIF) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากธนาคารหลักๆ ทั่วโลก ระบุว่า เพื่อให้ธนาคารมีกันชนแข็งแกร่งที่สามารถรับแรงกระแทกจากการล้มของหนี้กรีซ อียู และรัฐบาลประเทศต่างๆ จำต้องหามาตรการหรือกลไกใดๆ ก็ตามมาล้อมคอกธนาคารเอาไว้ พร้อมๆ กับหาทางเพิ่มทุนสำรองของธนาคารให้แข็งแกร่งพอ

 

 

ดังนั้น การเพิ่มจำนวนเงินในกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอสเอฟเอส) ให้ได้ถึงประมาณ 3 ล้านล้านยูโร จากเดิมที่มีอยู่เพียง 4.4 แสนล้านยูโร จึงได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากธนาคาร เนื่องจากถือเป็นมาตรการล้อมคอกที่สำคัญที่ช่วยไม่ให้การเบี้ยวหนี้ของกรีซไปฉุดกระชากลากถูธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในภูมิภาค

 

อีกทั้งยังถือเป็นหลักประกันที่สำคัญให้บรรดาธนาคารทั้งหลายได้อุ่นใจว่า จะมีเงินทุนเพียงพอที่จะชดเชยในส่วนที่เสียไปจากการผิดนัดชำระหนี้ พร้อมๆ กับที่สามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้โดยเร็ว เพราะธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

 

ไม่ว่าจะเป็นการให้กู้ยืมเพิ่มเติม หรือให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของภูมิภาคมีการเติบโตต่อไป อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาหนี้ในระยะยาวได้

 

เพราะต้องไม่ลืมว่า ถ้าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ มีการเติบโต รัฐบาลของประเทศก็จะสามารถลดการขาดดุลงบประมาณ และมีเงินมาจ่ายหนี้สินที่ค้างคาไว้ในที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงล่าสุดของกลุ่มอียูที่มีขึ้น กลับไม่ได้ทำให้ใจชื้นมากขึ้นเท่าไรนัก เพราะรายละเอียดของขั้นตอนวิธีการยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ยิ่งเมื่อวูล์ฟกัง ชูเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี มีท่าทีชัดเจนว่าเยอรมนีจะยังไม่พิจารณาเพิ่มเงินในกองทุน ก็ยิ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ต้องดิ้นรนหาทางรอดกันแบบจ้าละหวั่น

 

เหตุผลสำคัญที่ทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์เกิดอาการจิตตกหวาดผวาอย่างหนักถ้าหากว่ากรีซชักดาบก็เนื่องมาจากธนาคารเหล่านี้ถือเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ เพราะไม่ว่ากรีซจะเบี้ยวหนี้แบบมีการจัดการที่เป็นระบบ โดยธนาคารอาจได้รับเงินคืนมาส่วนหนึ่งของจำนวนเต็มที่ให้กรีซกู้ยืมไป หรือกรีซเบี้ยวไปเลยโดยไม่ได้รับเงินคืนแม้แต่เหรียญเดียว ทางเลือกของธนาคารกรณีที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ก็มีแต่ทำให้ธนาคารและบรรดาผู้ถือหุ้นมีแต่เสียกับเสีย

 

และอาจร้ายแรงเทียบชั้นหรืออาจสาหัสกว่ากรณีวิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ส ที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐ เมื่อปี 2551

 

ทั้งนี้ สิ่งที่บรรดาธนาคารทั่วยุโรปหวาดหวั่นกันมากที่สุดหากว่ากรีซเกิดชักดาบหนี้ของตนเองที่มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.4 แสนล้านยูโรขึ้นมาจริงๆ ก็คือ การแห่เทขายพันธบัตรในกลุ่มประเทศยูโรโซนทั้งหมด จนทำให้เกิดความโกลาหลในตลาดการเงินของภูมิภาคครั้งใหญ่

 

เพราะการเทขายมหาศาลอาจส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนไม่มากพอถึงขั้นต้องล้มละลายปิดกิจการเอาได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งกลับมองว่า การมองว่ากรีซต้องล้มละลายเบี้ยวหนี้แน่นอนออกจะเป็นการคาดการณ์ที่ร้ายแรงเกินไป และท่าทีของธนาคารที่ต้องเตรียมตัวเป็นเรื่องที่สมควรต้องกระทำอยู่แล้ว เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีแผนสำรอง

 

ดังนั้น การมองว่าธนาคารเตรียมตัวเพราะเชื่อว่ากรีซต้องผิดนัดชำระหนี้แน่ๆ จึงเป็นอะไรที่สุดโต่งเกินไป

 

แม้ว่ากรีซมีอันต้องผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาจริงๆ การที่ธนาคารมีแผนสำรองมารองรับก็ถือเป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน

 

อันเดรีย ชมิตส์ ประธานธนาคารบีดีบีของเยอรมนี กล่าวว่า กรณีดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่อียูสามารถจัดการรับมือได้ แม้ว่าอาจจะต้องหมายถึงการยอมรับว่ามูลค่าของทรัพย์สินอาจต้องลดลงมากกว่า 21% ตามที่เคยกำหนดไว้

 

แต่ถ้าหากว่า ธนาคารไม่มีแผนสำรองรับมือกับกรณีที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ และเกิดล้มละลาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นการล่มของธนาคารจะหนักหนาสาหัสมากกว่าการที่กรีซเบี้ยวหนี้

 

และปัญหาภาคการเงินการธนาคารที่เกิดขึ้นจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในภูมิภาคยุโรป

 

เพราะต้องไม่ลืมว่า นอกจากธนาคารพาณิชย์ที่ถือพันธบัตรกรีซจะเป็นธนาคารในยุโรปแล้ว ยังมีธนาคารจากประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐและญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย

 

ในฐานะหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลกรีซมากที่สุดประเทศหนึ่ง สหรัฐ ดูจะไหวตัวได้ทันเร็วกว่าเพื่อน

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซนทวีความร้อนแรง บรรดากองทุนทั้งหลายโดยเฉพาะจากฟากสหรัฐ ต่างมองว่าสถานะของธนาคารทั่วยุโรปกำลังยืนหมิ่นเหม่อยู่บนปากเหว ส่งผลให้เกิดมหกรรมขนทุนหนีโดยบรรดากองทุนการเงินของสหรัฐได้ทยอยดึงเงินเหรียญออกจากธนาคารยุโรปมากขึ้น นับตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา

 

ข้อมูลจากฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า ธนาคารในยุโรปที่ได้รับผลกระทบหนักมากที่สุดจากปัญหาทุนไหลออกนี้ ก็คือธนาคารพาณิชย์ของฝรั่งเศส โดยในช่วงระหว่างวันที่ 30 ก.ค. -30 ส.ค. เงินเหรียญสหรัฐลดลงไป 19% และลดลงมากถึง 34% ในช่วงสิ้นสุดเดือน พ.ค. ถึงเดือน ส.ค.

 

ขณะที่ในภาพรวมกองทุนชั้นนำสิบอันดับแรกของสหรัฐได้ลดการลงทุนในธนาคารทั่วยุโรปลง 8% นับตั้งแต่เดือน ก.ค. ส่งผลให้ระหว่างช่วงเดือน พ.ค. ถึงเดือน ส.ค. ธนาคารพาณิชย์ทั่วยุโรปต้องสูญเงินเหรียญสหรัฐไปถึง 27% ในกองทุนรวม ซึ่งสถานการณ์ทุนไหลออกนี้ยังมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไปอีกระยะหนึ่งด้วย

 

แม้ว่ากองทุนของสหรัฐจะยังคงมีการลงทุนในธนาคารยุโรปอยู่มากถึง 42.1% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินรวมคร่าวๆ ก็ประมาณ 2.85 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่จำนวนดังกล่าว ตามสถิติที่ฟิทช์ได้เก็บข้อมูลไว้ระบุว่า เป็นจำนวนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ติดตามสำรวจในเดือน ก.ค. 2549

 

ตัวเลขข้างต้น จึงเป็นเสมือนหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ความน่าเชื่อถือของบรรดาธนาคารในยุโรปมีเหลืออยู่น้อยเพียงไร และเป็นข้อพิสูจน์ว่า ขนาดยังไม่มีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น สถานะทุนสำรองของบรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในยุโรปยังย่ำแย่ได้ขนาดนี้ แล้วถ้าหากกรีซต้องผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น

 

นอกจากนี้ ปัญหาที่จะตามมาหลังจากที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ก็คือว่า ถ้ากรีซทำได้ ทำไมประเทศอื่นที่มีหนี้หนักหนากว่า อย่างไอร์แลนด์และโปรตุเกสจะทำไม่ได้เช่นกัน จนซ้ำเติมและสร้างความปั่นป่วนให้กับเจ้าหนี้อย่างธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายทั่วยุโรป

 

เมื่อถึงเวลานั้น นักลงทุน หรือลูกค้าของธนาคารคงอดรนทนไม่ไหว ขาดความเชื่อมั่น ดาหน้าเข้ามาแห่ถอนเงินจนธนาคารขาดสภาพคล่อง และต้องล้มละลายไปตามๆ กัน

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกอย่างคือการประเมินประมวลข้อมูลจากสถานการณ์ในปัจจุบัน บรรดาธนาคารพาณิชย์ในยุโรปคงได้แต่เตรียมการรับมือให้ดีที่สุดรอรับสึนามิการเงินที่เตรียมกระแทกฝั่งในเร็วๆ นี้เท่านั้นเอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : แดง (closing price > 1,652.50 ระบบเขียว)

 

SI : แดง (closing price > 31.54 ระบบเขียว)

 

SET : แดง (closing price > 946.62 ระบบเขียว)

 

S50 : แดง (closing price > 662.00 ระบบเขียว)

 

AFET : แดง (closing price > 133.35 ระบบเขียว)

 

TOCOM : แดง (closing price > 318.40 ระบบเขียว)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียรลีก คืนวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554

 

18.45 น. เอฟเวอร์ตัน - ลิเวอร์พูล ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. แมนฯ ยูไนเต็ด - นอริช ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. แบล็คเบิร์น - แมนฯ ซิตี้ ทรูสปอร์ต 3(103)

21.00 น. แอสตัน วิลล่า - วีแกน ทรูสปอร์ต 6(106)

21.00 น. วูล์ฟแฮมป์ตัน - นิวคาสเซิ่ล ทรูสปอร์ต 5(105)

21.00 น. ซันเดอร์แลนด์ - เวสต์บรอมวิช ทรูสเปเชียล 161

 

พรีเมียรลีก คืนวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

 

19.30 น. โบลตัน - เชลซี ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. ฟูแล่ม - ควีนส์ปาร์ค ทรูสปอร์ต 2(102)

22.00 น. สเปอร์ส - อาร์เซน่อล ทรูสปอร์ต 1(101)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GC : แดง (closing price > 1,652.50 ระบบเขียว)

 

SI : แดง (closing price > 31.54 ระบบเขียว)

 

SET : แดง (closing price > 946.62 ระบบเขียว)

 

S50 : แดง (closing price > 662.00 ระบบเขียว)

 

AFET : แดง (closing price > 133.35 ระบบเขียว)

 

TOCOM : แดง (closing price > 318.40 ระบบเขียว)

 

ขอบคุณครับ รบกวนช่วย Update เรื่อยๆนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“แบลคมันเดย์” เพิ่งเริ่มต้นและยังต้องมาอีกหลายระลอก

 

 

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 30 กันยายน 2554 17:57 น. Share5

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

ณ บ้านพระอาทิตย์

โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

 

ปรากฏการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ตลาดหุ้น ทองคำ น้ำมัน และค่าเงิน ทั่วโลกลดมูลค่าพร้อมๆกันและหลังจากนั้นเกิดการช้อนซื้อครั้งใหญ่ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะต้องมาถึงอย่างแน่นอนแล้ว จนเรียกกันว่าเป็น “วันจันทร์สีดำ”หรือ “แบล็คมันเดย์”

 

และสิ่งที่เกิดขึ้นวันจันทร์ที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัย 2 ประการคือ

 

ประการแรก ธนาคารหลายแห่งทั้งในยุโรปและอเมริกา ทยอยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า กรีซ อาจจะพักชำระหนี้หรือ “ชักดาบ” ลดหนี้อันมหาศาลของตัวเองและจะส่งผลเสียหายต่อธนาคารในยุโรป อันเป็นแหล่งเงินทุนของเฮดจ์ฟันด์ไปด้วย

 

เมื่อธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกาถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จึงเกิดการสั่นคลอนอย่างหนัก และทำให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งปล่อยกู้ให้กับ เฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้ไปเข้าไปปั่นราคาในตลาด หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงินแต่ละประเทศ จำเป็นต้องเรียกเงินคืนอย่างเร่งด่วน เพื่อสำรองเงินสดเอาไว้ในมือทั้งเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่ถอนเงินออกจากธนาคาร และเตรียมความพร้อมสำหรับการที่ต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน

 

ประการที่สอง เฮดจ์ฟันด์เมื่อถูกธนาคาร “เริ่ม” ทวงหนี้ระลอกแรก นอกจากจะต้องเทขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือเพื่อคืนหนี้ธนาคารแล้ว ยังถือโอกาสทำกำไรด้วยการผสมโรงเทขายมากกว่าเงินที่ต้องคืนให้กับธนาคารในยุโรป ด้านหนึ่งเพื่อทำกำไรสูบความมั่งคั่งในแต่ละประเทศ อีกด้านหนึ่งทุบเพื่อกดราคาสินทรัพย์ทั่วโลกให้ต่ำ ทั้งหุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน และเข้าช้อนซื้อเตรียมทำกำไรแบบนี้อีกหลายระลอก

 

ที่ว่าปรากฏการณ์แบบ “แบลคมันเดย์” ยังจะต้องเกิดขึ้นอีกหลายระลอกนั้น ก็เพราะเหตุว่าการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในยุโรป “จะต้องเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง” เพราะในขณะนี้แม้ยังไม่มีใครชักดาบจริงๆ แต่ก็เล็งเห็นได้แล้วว่าจะต้องเกิดการ "ลดหนี้” และ “ยืดหนี้” เกิดขึ้นอย่างแน่นอนในยุโรปหลายแห่ง

 

4.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คือตัวเลขเบื้องต้นที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปต้องเร่งเพิ่มทุนด้วยเม็ดเงินดังกล่าว ซึ่งถือว่าไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ ในภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

 

ปัญหาหลักสำคัญในเวลานี้ก็คือยุโรปและอเมริกากลายเป็นประเทศสูญเสียความสามารถการแข่งขันด้านการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชีย จึงล้วนแล้วแต่เสียดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปีให้กับภูมิภาคเอเชีย จนเงินตราในทุนสำรองระหว่างประเทศได้หดหาย จึงแก้ปัญหาด้วยการที่รัฐบาลแต่ละประเทศออกพันธบัตรกู้เงินต่างประเทศจนกระทั่งหนี้สินล้นพ้นตัว

 

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง แสดนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (แปลว่า:บริษัทมาตรฐานและยากจน) และ มูดีส์ (แปลว่า:บริษัทขี้หงุดหงิด) ต่างเป็นตัวการสำคัญที่ปรนเปรอตราสารในยุโรปและอเมริกาจัดอันดับว่าน่าเชื่อถือมาก ทำให้กู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด และเมื่อโลกตื่นขึ้นมาพร้อมๆกันจึงทำให้ยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญหน้ากับชีวิตจริงว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเหล่านนี้จึงหนีไม่พ้นต้องมาปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงในภายหลัง

 

แต่วิกฤติของโลกครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลายเท่าตัวนัก และตัวเลขหนึ่งที่เห็นสัญญาณนี้ก็คือ ตัวเลขสัดส่วนระหว่าง “หนี้ต่างประเทศ” กับ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ”

 

ประเทศไทยที่ระบุว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตต้มยำกุ้งลามไปทั้งภูมิภาคเอเชียในปี 2540 นั้น ก่อนหน้านั้น 1 ปี (พ.ศ.2539) ไทยมีหนี้ต่างประเทศทั้งของรัฐและเอกชนรวม 108,742 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 38,724 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2.8 เท่า จึงถูกโจมตีค่าเงินถอนหนี้ระยะสั้นอย่างเร่งด่วน จนแทบหมดทุนสำรองระหว่างประเทศ ยอมลอยค่าเงินบาท แก้ไขกฎหมายเอื้อประโยชน์ต่างชาติมาสูบและปล้นสินทรัพย์ในประเทศไทย

 

ขนาดประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศ 1 แสนกว่าล้านเหรียญ และมีหนี้มากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.8 เท่าตัว ยังเกิดวิกฤติลามไปทั่วภูมิภาคได้ แต่คราวนี้ปัญหาใหญ่กว่าและเลวร้ายกว่าปี 2540 หลายสิบเท่าตัว

 

เมื่อเทียบตัวเลขสัดส่วนหนี้ต่างประเทศกับทุนสำรองระหว่างประเทศของแต่ละประเทศในยุโรปรอบนี้ ก็จะพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้ กรีซมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 77 เท่าตัว, อังกฤษมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 79 เท่าตัว, สเปน มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 55 เท่าตัว, ไอร์แลนด์ มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 54 เท่าตัว, ฝรั่งเศส มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 26 เท่าตัว, โปรตุเกส มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 22 เท่าตัว, เยอรมนี มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 20 เท่าตัว, อิตาลี มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 13 เท่าตัว

 

หนี้ต่างประเทศของ 8 ประเทศข้างต้นนั้นรวมกันแล้วสูงถึง 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ!

 

8 ประเทศนี้มีอาการเหมือนกันคือ มีหนี้ต่างประเทศมากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศนับหลายสิบเท่าตัว และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทุกปี (ยกเว้นเยอรมนี) เปรียบเสมือนคนมีหนี้สินต่างประเทศล้นพ้นตัวแต่ไม่มีความสามารถในการค้าขายต่างประเทศที่จะไปชำระหนี้สินอันมหาศาลได้ทุกปี

 

ซ้ำร้ายกว่านั้นรัฐบาลในประเทศเหล่านี้ก็มีภาระค่าสวัสดิการที่ต้องดูแลประชาชนจำนวนมหาศาลขาดดุลงบประมาณและต้องกู้หนี้ยืมสินจนก่อให้เกิดหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง และยังมีอัตราการว่างงานในประเทศอยู่ในระดับสูง ได้แก่ กรีซ มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 143% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่มีการว่างงานสูงถึง 16.30% , อิตาลี มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 119% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 8%, ไอร์แลนด์มีหนี้สาธารณะ 96.7% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 14.3% , โปรตุเกสมีหนี้สาธารณะ 93% ของGDP มีอัตราการว่างงาน 12.10%, เยอรมนีมีหนี้สาธารณะ 83% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 7%, ฝรั่งเศสมีหนี้สาธารณะ 82% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 9.60%, อังกฤษมีหนี้สาธารณะ 76% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 7.90%, สเปนมีหนี้สาธารณะ 60%ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 20.89%

 

ปัจจัยชี้ขาดว่าจะพังวันไหนก็คือ “หนี้ระยะสั้น” ของแต่ละประเทศว่าจะถูกทวงคืนเร็วแค่ไหน และสามารถกู้หนี้ใหม่มาคืนหนี้เก่าได้ทันหรือไม่เท่านั้น และหากยังแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ได้ การปล่อยกู้ก้อนใหม่ก็เสมือนการสร้าง “แชร์ลูกโซ่”ให้ขยายใหญ่โตมากขึ้นรอวันระเบิดข้างหน้า

 

ยุโรปมีเงินทุนสำรองสำหรับรองรับระบบเงินยูโรโดยมีประเทศต่างๆได้ลงขันเป็นสมาชิกมีอยู่ทั้งสิ้น 8.86 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่เป็นเงินที่อยู่เป็นสินทรัพย์ของธนาคารกลางของยุโรปเพียง 7.914 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มีเงินที่จะรับวิกฤตของโลกได้เพียงแค่ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่น่าจะมีเงินเพียงพอที่จะไปรับมือกับวิกฤติหนี้ของยุโรปในเวลานี้

 

ทั่วโลกจึงประเมินและทำใจแล้วว่าจะต้องเกิดการ “ลดหนี้” และ “ยืดหนี้” ทั้งในกรีซและอีกหลายแห่งในยุโรป เพียงแต่ว่าจะหาทางอย่างไรให้ธนาคารในยุโรปไม่ล้ม เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ที่ธุรกิจจะทยอยล้มไปด้วย (โดยหวังเอาเงินของประเทศและประชาชนในยุโรปไปอุ้ม)

 

การรีดภาษีจากประชาชน, ขายรัฐวิสาหกิจและทรัพย์สินของรัฐ, ลดตัดค่าใช้จ่ายและสวัสดิการของประชาชนและตัดงบประมาณภาครัฐ คือสูตรที่เจ้าหนี้จะต้องบังคับต่อไปเพื่อหาเงินมาคืนหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ใช้ชีวิตสบายและมีสวัสดิการในชีวิตมาอย่างยาวนาน ต่างจากคนในภูมิภาคเอเชียที่ปากกัดตีนถีบและมีความอดทนมากกว่า

 

และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารในยุโรปและอเมริกาจะต้องเรียกเงินคืนจากเฮดจ์ฟันด์อีกหลายระลอก และทำให้เหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นต้องเทขายสินทรัพย์ต่างประเทศแล้วช้อนซื้อเป็นวัฏจักรอีกไม่กี่รอบก่อนวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้จะระเบิดขึ้น เพียงแต่ช่วงเวลานี้สายชนวนระเบิดได้ถูกจุดและสั้นลงทุกที ทำให้เหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องเร่งทำงานเข้าออกหลายระลอกวันต่อวัน นานทีต่อนาที เพื่อเร่งทำกำไร สร้างความผันผวนในราคา หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงินไปทั่วโลก โดยมองแมลงเม่าทั่วโลกเป็นเหยื่อในการสูบความมั่งคั่งให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

 

และที่แน่ๆ ก็คือค่าเงินยูโรจะต้องอ่อนค่าหนัก ธนาคารกลางในแต่ละประเทศก็คงไว้ใจถือพันธบัตรและทรัพย์สินดอลลาร์สหรัฐและยูโรไม่ได้ เพียงแต่ใครจะไวเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือได้เร็วและมากกว่ากัน

 

เอเชียในวันนี้มีความมั่งคั่งยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป เราอาจได้เห็นโอกาสกลับด้านที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียบางประเทศเข้าไปซื้อสินทรัพย์ ในยุโรปราคาถูกๆ (อย่างมียุทธศาสตร์) หลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตกแล้ว

 

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 82,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.85 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศคิดเป็น 44% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ) เกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีที่แล้วถึง 12,290 ล้านเหรียญสหรัฐ มีหนี้สาธารณะประมาณ 43% และมีอัตราการว่างงานเพียงแค่ 0.44% โดยภาพรวมยังถือว่าประเทศไทยยังอยู่ในสถานภาพที่ดีกว่าอีกหลายประเทศในโลก

 

แต่การล่มสลายของทุนนิยมสุดขั้วของอเมริกาและยุโรปย่อมกระทบต่อภาคธุรกิจในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะภาคการส่งออกและภาคธนาคาร) รัฐบาลควรต้องพิจารณาบริหารจัดการกับ “ทุนเฮดจ์ฟันด์”ที่ฉวยโอกาสปั่นแล้วทุบ-ทุบแล้วปั่น ทำกำไรระยะสั้นเพื่อสูบความมั่งคั่งจากคนในชาติอย่างเร่งด่วน อีกทั้งรัฐบาลก็ถือว่ามาถูกทางแล้วในการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศมากกว่าภายนอกประเทศ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นพึงต้องคำนึงในการกระตุ้นให้คนมีเงินและเศรษฐีต้องใช้จ่ายและลงทุนเพื่อสร้างให้มาก และกระตุ้นให้คนจนให้รู้จักการออม ประหยัดใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและระมัดระวังไม่ก่อหนี้เกินตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์กับภาวะวิกฤติของโลกที่กำลังจะมาในอีกไม่นานนี้

 

และสำคัญที่สุดก็คือกระตุ้นเตือนจิตสำนึกในปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้คนไทยได้รู้จัก เข้าใจ และนำไปปฏิบัติ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่จะทำให้ประเทศไทยได้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...