ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

^_^ คุณส้มโอมือตื่นเช้าจัง อรุณสวัสดิ์และขอบคุณในข่าวสารมาเสริฟกันให้แต่เช้าทุกวัน ขอบคุณมากๆเลยอ่ะ:wub:

 

:) สวัสดีและขอขอบคุณจารย์เสมที่ช่วยแนะนำกราฟแนวทางและคำปรึกษาดีๆที่มีให้กันเสมอ:wub: :Dจารย์เสมกะคุณส้มโอมือจะไปสัมนาที่อุดรรอบนี้ไม๊ อิอิ :P

ผมอยู่กทม.ครับ สัมมนาที่อุดรไม่สะดวกครับ ส่วนน้องเสมได้ข่าวว่าช่วงนี้วุ่นๆอยู่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกษียณแบบชิวๆ ถ้ามีการวางแผนที่ดี ทำไมต้องรีบวางแผนเกษียณตั้งแต่ตอนนี้?

วิโรจน์ ตั้งเจริญ , CFP ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 1 บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

 

ผมคิดว่าคงมีคำถามนี้ แวบ ขึ้นมาในใจของทุกๆ ท่านทันที เพราะหลายท่านยังคิดว่ายังมีเวลาอีกมากกว่าที่จะเกษียณอายุ ยังรู้สึกว่าเร็วเกินไปที่จะวางแผนเกษียณในตอนนี้ นั่นเป็นเพราะว่าท่านยังไม่ทราบว่า เมื่อถึงเวลาที่ท่านเกษียณอายุแล้ว ท่านต้องเตรียมเงินไว้สักเท่าไร ถึงจะพอกับระดับการใช้จ่ายที่ท่านวาดหวังไว้ ท่านจึงยังไม่ลงมือวางแผนเกษียณในวันนี้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ท่านจะไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่ตั้งความหวังไว้ เรามาลองหาทางการวางแผนเพื่อเกษียณแบบชิวๆ กันดูครับ

 

เริ่มต้นอย่างไรดี

 

1. ลองถามตัวเองว่าต้องการเกษียณตอนอายุสักเท่าไร

 

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านจะมีเวลาเก็บออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ

 

2. ประมาณตัวเองซิว่าเราจะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกสักกี่ปีหลังเกษียณ

 

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านต้องใช้เงิน

 

3. ลองถามจินตนาการดูว่า เมื่อถึงวันที่เกษียณแล้ว อยากใช้ชีวิตอย่างไร (แบบชิวๆ) แล้วประเมินดูว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเดือนละเท่าไร ในตอนนี้

 

นั่นคือ จำนวนเงินที่ท่านจะต้องใช้ในแต่ละเดือนตอนเกษียณ แต่เป็นจำนวนเงิน ณ วันนี้วันที่ท่านคิด

 

4. ลองประมาณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อครับ เพราะจำนวนเงินในปัจจุบันที่ท่านต้องการใช้ 100 บาทในวันนี้ จะไม่เท่ากับ 100 บาทในอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า แต่ท่านต้องใช้เงินที่มากกว่า 100 บาทในวันที่ท่านเกษียณอายุ เช่น หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ภายใน 20 ปีข้างหน้า ท่านต้องเตรียมเงินประมาณ 188 บาท จึงจะมีกำลังการใช้จ่ายได้เหมือนการใช้เงิน 100 บาทในปัจจุบัน

 

5. คำนวณดูซิว่าท่านจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายขนาดไหนหลังเกษียณอายุ

 

ตัวอย่างของคนที่อายุ 40 ปี ตั้งใจจะเกษียณเมื่อตอนอายุ 60 ปี โดยคาดว่าจะใช้ชีวิตถึงอายุ 80 ปี ตั้งความหวังไว้ว่าจะใช้จ่ายประมาณเดือนละ 10,000 บาท หลังเกษียณ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี จะต้องเตรียมเงินไว้ใช้ยามเกษียณประมาณเท่ากับ 10,000 บาท คูณจำนวนเดือนที่จะใช้หลังเกษียณ คือ 240 เดือน (20 ปี เท่ากับ 240 เดือน) รวมเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 2.4 ล้านบาท แล้วคำนวณด้วยเงินเฟ้อในอัตรา 3% จะเห็นได้ว่า ทุกๆ 10,000 บาทที่จะใช้ในแต่ละเดือน ท่านจะต้องเตรียมเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท ณ วันที่ท่านเกษียณ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินเป้าหมายของท่าน ที่ท่านต้องมี ณ วันที่ท่านเกษียณอายุนั่นเอง

 

พอถึงตรงจุดนี้แล้ว ผมคิดว่าหลายท่านคงจะเริ่มเห็นแล้วว่า ถ้าเราไม่วางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ เราอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เราตั้งใจไว้ยามเกษียณอายุ แต่อย่าพึ่งตกใจกับตัวเลขที่คำนวณได้ เพราะว่าท่านยังมีเวลาในการเก็บออมเงิน ขณะที่บางท่านก็มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันอยู่แล้ว เรามาลองทำขั้นตอนที่ 6 กันต่อครับ

 

6. สำรวจแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่านในปัจจุบัน ว่า มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณที่จากแหล่งใดบ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) กองทุนประกันสังคม (เงินบำเหน็จ/เงินบำนาญ กรณีชราภาพ) กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต (แบบสะสมทรัพย์/แบบบำนาญ) เป็นต้น

 

7. คำนวณดูว่าแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่าน ในปัจจุบันมีอยู่แล้วเป็นจำนวนเงินเท่าไร เพื่อประเมินสถานะในปัจจุบัน ว่า มีจำนวนเงินที่เพียงพอกับจำนวนเงินตามเป้าหมายหรือไม่ (ตามข้อ 5) ถ้ายังไม่พอ นั่นเป็นสัญญาณว่า ท่านต้องเริ่มวางแผนเพื่อเกษียณแล้วทันที

 

8. คำนวณหาจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ โดยนำจำนวนเงินเป้าหมายที่ท่านต้องใช้ตามที่คำนวณได้ในข้อที่ 5 หักออกจาก จำนวนเงินที่ได้จากแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันตามข้อ 7 ท่านก็จะได้เป้าหมายในการออมเงินเพื่อเกษียณอายุจากนี้ไป ซึ่งท่านจะมีเวลาการออมเงิน ตามระยะเวลาที่ท่านยัง สามารถหารายได้ก่อนเกษียณอายุ ตามข้อ 1 ครับ

 

แล้วต้องทำอย่างไรต่อ...และมีทางเลือกอะไรบ้าง

 

เมื่อท่านทราบเป้าหมายในการออมเงิน ส่วนที่ยังขาดอยู่ ตามที่คำนวณได้ในข้อ 8 แล้ว ให้เราดำเนินการต่อดังนี้

 

1. จัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีประโยชน์ เพื่อท่านจะได้มีเงินออมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

2. สร้างวินัยในการออมและลงทุนอย่างจริงจัง โดยนึกถึงเป้าหมายการออมเงิน เป็นที่ตั้ง

 

3. ออมอย่างต่อเนื่องในการออมผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) และกองทุนประกันสังคม ที่ท่านมีอยู่

 

4. หาช่องทางการออมและลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวช่วยให้ท่านสามารถออมเงินได้ถึงเป้าหมายที่ท่านวางไว้

 

ทางเลือกในการออมนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การฝากเงิน ไปจนถึงการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านกองทุนรวม โดยท่านต้องศึกษาทางเลือกแต่ทางเลือกนั้น ว่า มีความสอดคล้องกับอายุ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของท่านมากน้อยแค่ไหน และเพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายการเกษียณแบบชิวๆ

 

ท่านต้องไม่ลืมที่จะออมเงินเพิ่มผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย นอกจากผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนแล้ว ท่านยังได้รับสิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย (มีภาษีเป็นตัวช่วย) และ อย่านำภาษีที่ได้รับจากการลดหย่อนไปใช้เด็ดขาด แต่แนะนำให้นำภาษีที่ได้รับการลดหย่อน ไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้เงินออมของท่าน ทำงานอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุน RMF ให้ท่านเลือกลงทุนถึง 6 กองทุน ปัจจุบันอยู่ในช่วงการเปิดตัวกองทุนเคแทม โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-Gold RMF) เปิดจองซื้อช่วงตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 ต.ค. 2553

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“ซูเปอร์ไต้ฝุ่นเมกี”

ในช่วงปลายเดือน ก.ย.-ต้น ต.ค.ปีที่แล้ว ไต้ฝุ่นเกดสะหนา กับไต้ฝุ่นป้าหม่า (Parma) ที่พัดเข้ากรุงมะนิลาติดๆ กัน ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในยุคใหม่ และ ยังทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000146375

 

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000146254

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้า คุณส้มโอมือค่ะ และขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแต่เช้าเลยนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาช่วยตอบค่ะ

 

เท่าที่รู้มี K-SET50 ของธนาคารกสิกรค่ะ มูลค่าต่อหน่วยยังไม่แพงมากนัก แก้มก็ลงทุนตัวนี้อยู่

 

ถ้าจะเอาแบบละเอียด คงต้องรอท่านพี่ปุณณ์แล้วล่ะคะ

 

 

หวัดดีค่ะ ปกติเคยเล่นแต่ทองทองแท่งเหมือนกัน อยากทราบหน่อยนะคะว่า SET50 ที่คุณเสมโพสกราฟการลงทุนด้วยระบบไว้นี่ใช้ได้กับ

K-SET50 ได้เลยใช่มั้ยคะ อยากเล่น K-SET50 บ้าง ขอบคุณค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
B) ขอบคุณ คุณส้มโอมือที่ให้ข้อมูลดีๆ มีประโยชน์ ทุกวันนะคะ ติดคามตลอดคะ !gd !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
776b44d35ace1f8f5fb05c2fad2050ca.gifลงให้กระจายเลย555ผมขอเก็บล๊อตสุดท้ายทิ้งยาวรอ1600เลยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกษียณแบบชิวๆ ถ้ามีการวางแผนที่ดี ทำไมต้องรีบวางแผนเกษียณตั้งแต่ตอนนี้?

วิโรจน์ ตั้งเจริญ , CFP ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 1 บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

 

ผมคิดว่าคงมีคำถามนี้ แวบ ขึ้นมาในใจของทุกๆ ท่านทันที เพราะหลายท่านยังคิดว่ายังมีเวลาอีกมากกว่าที่จะเกษียณอายุ ยังรู้สึกว่าเร็วเกินไปที่จะวางแผนเกษียณในตอนนี้ นั่นเป็นเพราะว่าท่านยังไม่ทราบว่า เมื่อถึงเวลาที่ท่านเกษียณอายุแล้ว ท่านต้องเตรียมเงินไว้สักเท่าไร ถึงจะพอกับระดับการใช้จ่ายที่ท่านวาดหวังไว้ ท่านจึงยังไม่ลงมือวางแผนเกษียณในวันนี้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ท่านจะไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่ตั้งความหวังไว้ เรามาลองหาทางการวางแผนเพื่อเกษียณแบบชิวๆ กันดูครับ

 

เริ่มต้นอย่างไรดี

 

1. ลองถามตัวเองว่าต้องการเกษียณตอนอายุสักเท่าไร

 

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านจะมีเวลาเก็บออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ

 

2. ประมาณตัวเองซิว่าเราจะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกสักกี่ปีหลังเกษียณ

 

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านต้องใช้เงิน

 

3. ลองถามจินตนาการดูว่า เมื่อถึงวันที่เกษียณแล้ว อยากใช้ชีวิตอย่างไร (แบบชิวๆ) แล้วประเมินดูว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเดือนละเท่าไร ในตอนนี้

 

นั่นคือ จำนวนเงินที่ท่านจะต้องใช้ในแต่ละเดือนตอนเกษียณ แต่เป็นจำนวนเงิน ณ วันนี้วันที่ท่านคิด

 

4. ลองประมาณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อครับ เพราะจำนวนเงินในปัจจุบันที่ท่านต้องการใช้ 100 บาทในวันนี้ จะไม่เท่ากับ 100 บาทในอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า แต่ท่านต้องใช้เงินที่มากกว่า 100 บาทในวันที่ท่านเกษียณอายุ เช่น หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ภายใน 20 ปีข้างหน้า ท่านต้องเตรียมเงินประมาณ 188 บาท จึงจะมีกำลังการใช้จ่ายได้เหมือนการใช้เงิน 100 บาทในปัจจุบัน

 

5. คำนวณดูซิว่าท่านจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายขนาดไหนหลังเกษียณอายุ

 

ตัวอย่างของคนที่อายุ 40 ปี ตั้งใจจะเกษียณเมื่อตอนอายุ 60 ปี โดยคาดว่าจะใช้ชีวิตถึงอายุ 80 ปี ตั้งความหวังไว้ว่าจะใช้จ่ายประมาณเดือนละ 10,000 บาท หลังเกษียณ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี จะต้องเตรียมเงินไว้ใช้ยามเกษียณประมาณเท่ากับ 10,000 บาท คูณจำนวนเดือนที่จะใช้หลังเกษียณ คือ 240 เดือน (20 ปี เท่ากับ 240 เดือน) รวมเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 2.4 ล้านบาท แล้วคำนวณด้วยเงินเฟ้อในอัตรา 3% จะเห็นได้ว่า ทุกๆ 10,000 บาทที่จะใช้ในแต่ละเดือน ท่านจะต้องเตรียมเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท ณ วันที่ท่านเกษียณ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินเป้าหมายของท่าน ที่ท่านต้องมี ณ วันที่ท่านเกษียณอายุนั่นเอง

 

พอถึงตรงจุดนี้แล้ว ผมคิดว่าหลายท่านคงจะเริ่มเห็นแล้วว่า ถ้าเราไม่วางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ เราอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เราตั้งใจไว้ยามเกษียณอายุ แต่อย่าพึ่งตกใจกับตัวเลขที่คำนวณได้ เพราะว่าท่านยังมีเวลาในการเก็บออมเงิน ขณะที่บางท่านก็มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันอยู่แล้ว เรามาลองทำขั้นตอนที่ 6 กันต่อครับ

 

6. สำรวจแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่านในปัจจุบัน ว่า มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณที่จากแหล่งใดบ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) กองทุนประกันสังคม (เงินบำเหน็จ/เงินบำนาญ กรณีชราภาพ) กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต (แบบสะสมทรัพย์/แบบบำนาญ) เป็นต้น

 

7. คำนวณดูว่าแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่าน ในปัจจุบันมีอยู่แล้วเป็นจำนวนเงินเท่าไร เพื่อประเมินสถานะในปัจจุบัน ว่า มีจำนวนเงินที่เพียงพอกับจำนวนเงินตามเป้าหมายหรือไม่ (ตามข้อ 5) ถ้ายังไม่พอ นั่นเป็นสัญญาณว่า ท่านต้องเริ่มวางแผนเพื่อเกษียณแล้วทันที

 

8. คำนวณหาจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ โดยนำจำนวนเงินเป้าหมายที่ท่านต้องใช้ตามที่คำนวณได้ในข้อที่ 5 หักออกจาก จำนวนเงินที่ได้จากแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันตามข้อ 7 ท่านก็จะได้เป้าหมายในการออมเงินเพื่อเกษียณอายุจากนี้ไป ซึ่งท่านจะมีเวลาการออมเงิน ตามระยะเวลาที่ท่านยัง สามารถหารายได้ก่อนเกษียณอายุ ตามข้อ 1 ครับ

 

แล้วต้องทำอย่างไรต่อ...และมีทางเลือกอะไรบ้าง

 

เมื่อท่านทราบเป้าหมายในการออมเงิน ส่วนที่ยังขาดอยู่ ตามที่คำนวณได้ในข้อ 8 แล้ว ให้เราดำเนินการต่อดังนี้

 

1. จัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีประโยชน์ เพื่อท่านจะได้มีเงินออมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

2. สร้างวินัยในการออมและลงทุนอย่างจริงจัง โดยนึกถึงเป้าหมายการออมเงิน เป็นที่ตั้ง

 

3. ออมอย่างต่อเนื่องในการออมผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) และกองทุนประกันสังคม ที่ท่านมีอยู่

 

4. หาช่องทางการออมและลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวช่วยให้ท่านสามารถออมเงินได้ถึงเป้าหมายที่ท่านวางไว้

 

ทางเลือกในการออมนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การฝากเงิน ไปจนถึงการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านกองทุนรวม โดยท่านต้องศึกษาทางเลือกแต่ทางเลือกนั้น ว่า มีความสอดคล้องกับอายุ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของท่านมากน้อยแค่ไหน และเพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายการเกษียณแบบชิวๆ

 

ท่านต้องไม่ลืมที่จะออมเงินเพิ่มผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย นอกจากผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนแล้ว ท่านยังได้รับสิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย (มีภาษีเป็นตัวช่วย) และ อย่านำภาษีที่ได้รับจากการลดหย่อนไปใช้เด็ดขาด แต่แนะนำให้นำภาษีที่ได้รับการลดหย่อน ไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้เงินออมของท่าน ทำงานอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุน RMF ให้ท่านเลือกลงทุนถึง 6 กองทุน ปัจจุบันอยู่ในช่วงการเปิดตัวกองทุนเคแทม โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-Gold RMF) เปิดจองซื้อช่วงตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 ต.ค. 2553

 

ขอบคุณมากครับ บทความนี้มีประโยชน์จริงๆ .. แต่ถ้ามองว่า คุณวิโรจน์ประเมินอัตราเงินเฟ้อต่ำไป ถ้าเปลี่ยนเป็น 4% - 5% ต่อปีจะเป็นอย่างไร

( แต่จำนวนเงินเก็บที่ผมคำนวณได้ต่างจากคุณวิโรจน์ ถ้า 3% ตามเงื่อนไขคุณวิโรจน์ = 5,823,706 / 4% = 7,829,692 / และ 5% = 10,528,058) ….. ผลที่ได้น่ากลัวจริงๆ!!! (สำหรับคนที่มีรายได้อย่างผม)

 

----------------------------------------------------------------

ผมคำนวณโดย [เอารายจ่ายรายปีในแต่ละปี] บวก [รายจ่ายปีต่อไปคูณ103% - 105%] .. บวกไปเรื่อยๆ40ครั้ง(80ลบ40) .. แล้วเอาไปลบจาก .. [รายจ่ายรายปีในแต่ละปี] บวก [รายจ่ายปีต่อไปคูณ103% - 105% ที่บวกกันตั่งแต่ครั้งที่20ถึง40...(คืออายุ60-80)] .. ได้ผลเป็นเงินเก็บที่ควรมีตอนอายุ60ที่จะใช้ได้ไปจนถึงอายุ80ครับ (ไม่รู้คิดถูกรึเปล่า)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณส้มโอมือยังเก็บกองทุน China Equity Fund ของ TMBAM อยู่รึเปล่าคับ ตอนนี้พุ่งไปหยุดแถวๆ Fibo 200% ของคลื่นก่อนหน้าแล้วครับ ^_^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณส้มโอมือยังเก็บกองทุน China Equity Fund ของ TMBAM อยู่รึเปล่าคับ ตอนนี้พุ่งไปหยุดแถวๆ Fibo 200% ของคลื่นก่อนหน้าแล้วครับ ^_^

ไม่ได้ถือแล้วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อฝรั่ง take profit

กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

และคำถามที่ทุกคนอยากรู้ แต่ไม่มีใครรู้ก็คือเมื่อไร และฝรั่งในที่นี้ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะพวกตาน้ำข้าวผมทอง แต่จะเป็นชาติไหนก็ได้ที่ขนเงินเข้ามา แล้วก็ผลักให้หุ้นไทยอยู่ที่ระดับนี้ และเงินบาทที่มีค่าแข็งในระดับนี้ ความสัมพันธ์กันของปัจจัยต่างๆ และความสลับซับซ้อนของปัญหาจะนำมาเสนอให้ท่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ในคราวนี้ครับ

 

ผมเขียนบทความนี้ในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม (เดือนที่หลายท่านบอกว่าเป็นตุลาอาถรรพ์) ทางฝ่ายบ้านเมือง ทั้งทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน เพิ่งจะผลัดเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบไปได้เพียงหนึ่งวัน ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนเก่าเพิ่งหมดหน้าที่ไปหมาดๆ และผมก็เชื่อว่าท่านคงจะ "โล่งอก" จริงๆ จากการพ้นหน้าที่ดังกล่าว เพราะว่ามรสุมลูกสุดท้ายที่โจมตีท่านเรื่องค่าเงินบาทมันหนักหน่วงมากในเดือนสุดท้ายของการทำงานของท่าน เมื่อศุกร์ที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีหุ้น SET อยู่ที่ประมาณ 975 จุด และค่าของเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 30.25 บาท/ดอลลาร์ จำตัวเลข 2 ตัวนี้ไว้ให้ดี เพราะผมเชื่อว่าไม่นานเกินรอ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

ค่าเงินบาทที่ 30.25 บาท นี้อยู่ในระดับแข็งค่าที่สุดอย่างน้อยที่สุดภายใน 10 ปีที่ผ่านมา (สถิติแน่นอนยังไม่ได้เช็คสอบ ต้องขอประทานโทษด้วย) แข็งยิ่งกว่าตอนแบงก์ชาติประกาศใช้มาตรการ 30% เพื่อ "discourage" เงินทุนไหลเข้าตอนปี 2549 เสียอีก หากเราจะตัดทอนเองที่ตอนต้นปี 2553 นี้ ปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาประมาณเกือบ 10% ผมคงไม่ต้องนำมากล่าวอีกว่าเราแข็งกว่าหรือแข็งพอกันกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา หรือผลกระทบทางด้านการแข่งขันการส่งออกของเรา เพราะมีคนพูดไปมากแล้วนะครับ

 

ทางด้านตลาดหุ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเราที่ระดับนี้ เราไม่ได้เห็นมานานแล้วหลายปี หากเราจะตัดทอนจุดต่ำสุดในช่วงเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี 2551 ที่ดัชนีอยู่ประมาณ 400 จุด หรือต่ำกว่านิดหน่อย ตลาดหุ้นไทยก็สูงขึ้นมามากกว่า 100% ติดอันดับต้นๆ ของเอเชีย/แปซิฟิก หรือหากจะตัดตอนเอาตอนต้นปี 2553 นี้ หุ้นไทยก็ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 30%

 

ทางด้านตลาดตราสารหนี้ หากเราจะนับเอาอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีเป็นเกณฑ์ ก็มีการปรับตัวมาค่อนข้างมาก คือ มีอัตราลดลงจากต้นปีที่ ประมาณ 3.7% มาเหลือ 2.6% ในปัจจุบัน ท่ามกลางการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของทางการ ที่อาจนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยทางการที่สูงขึ้น

 

เราเองคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวการณ์ดังกล่าวได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียรวมถึงเมืองไทยของเรานี้ด้วย กลไกของบรรดาฝรั่งนักเก็งกำไร ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจ ก็นำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นบาท แล้วก็มาซื้อสินทรัพย์ในกรณีนี้ ก็คือ หุ้นและตราสารหนี้ หากเราเอาเกณฑ์นี้เป็นตัวตั้ง และมา สมมติว่าฝรั่งเริ่มทำอย่างนี้ เมื่อมกราคม 2553

 

จะเห็นว่ากำไรมาพอควรแล้ว และหากจะนับถอยหลังไปช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 อันเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติในอเมริกา (จำ Lehman เจ๊งได้มั้ยครับ) หากบรรดานักเก็งกำไรยัง hold positions คงจะได้กำไรอยู่ในกระเป๋ามากกว่านี้เยอะ

 

คำถามที่ทุกคนอยากรู้คำตอบ ก็คือ ทำไมเขายังไม่ take profit ล่ะ แล้วเขาจะ take profit เมื่อไร คำตอบของคำถามแรก ก็คือ บรรดา fund manager ต่างๆ เขายังไม่รู้ว่าเมื่อ take profit แล้วจะเอาเงินได้มาไป reinvest อะไรที่ไหน เมื่ออเมริกาก็ยังไม่ดี อียู ก็ร่อแร่ ญี่ปุ่นก็ซึมมาเป็น 10 ปีแล้ว ส่วนคำตอบของคำถามที่ 2 หาตอบได้ถูกยากครับ แล้วหากบรรดาต่างชาติ take profit อะไรจะเกิดขึ้น ผมเชื่อว่าจะเป็นอย่างนี้ครับ

 

1. ค่าเงินบาทจะกลับไปอ่อนลง พร้อมกับการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนในพันธบัตร สิ่งที่น่ากลัวและน่าเป็นห่วง ก็คือ ความรวดเร็วและลักษณะการเปลี่ยนแปลง จะมีระเบียบ (orderly move) มากแค่ไหน เพราะภายใต้กลไกในปัจจุบันของตลาดทั้งสอง คือ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดตราสารหนี้ ยังไม่ได้รับการทดสอบที่แท้จริงที่จะสามารถ "ทนทาน" กับการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ไหลออกอย่างรวดเร็ว (ถ้าเกิดขึ้น) ได้แค่ไหน การแทรกแซงของทางการผ่านกลไกดังกล่าวจะต้องทำให้สำเร็จ เพราะหากไม่สามารถชะลอได้ จะมีผลแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ตามมาทั้งราคาน้ำมัน ราคาทอง การไถ่ถอนกองทุนแบบตื่นตระหนก

 

2. หุ้นไทยคงจะปรับตัวลง แต่ตลาดหลักทรัพย์เคยผ่านเหตุการณ์ประมาณนี้มาหลายหน กลไกหยุดยั้ง (Circuit Breaker) เองได้รับการทดสอบมาแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ตลาดขาลง ก็คือ ขาลง และส่วนใหญ่ผู้ตกเป็นเหยื่อ ก็คือ นักลงทุนรายย่อยเป็นส่วนใหญ่ ผมลองดู Chart ของ Set index แล้วก็รู้สึกเสียว เพราะลักษณะเหมือน Chart ของน้ำมันดิบที่ราคาสูงขึ้นอย่างบ้าเลือด เมื่อไม่กี่ปีก่อน ก็เลยไม่อยากเห็นหุ้นไทยหล่นตุ๊บลงมาเหมือนน้ำมันดิบ

 

ข้อแนะนำของผม ก็คือ ผมแนะให้ท่าน take profit ก่อนฝรั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป จะทยอยทำ หรือทำทีเดียวก็สุดแล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนตราสารหนี้ ดอลลาร์ หากไม่ได้ซื้อ (ทั้งๆ ที่ต้องซื้อตามภาระ) ก็ควรจะดูได้แล้ว สิ่งที่ผมจะไม่ทำ ก็คือ ไล่ซื้อหุ้น ขายดอลลาร์แบบเกินความจำเป็น และซื้อกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น เมื่อ take profit แล้ว จะนำเงินไปทำอะไรก็ตามใจเถิดครับ เพราะปัญหาของคนมีตังค์แล้วไม่รู้จะใช้มันอย่างไร ผมไม่ถนัดครับ สุดท้ายก็อยากจะฝากให้ทางการมีการซักซ้อม หรือมีแผนฉุกเฉิน (BCP) ทางตลาดเงินไว้ด้วย ควรเรียกบรรดา Primary Dealers มาพบบ่อยๆ ก็จะดี

 

ผมส่วนตัวแล้ว ผมมีความเป็นห่วงเรื่องช่องทางการแทรกแซง เพื่อ Calm down ตลาด และเรื่อง timely actions เป็นอย่างมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...