ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณนะคะแต่ไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าต่อไปทองจะเป็นแบบไหนคะ !45

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณนะคะแต่ไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าต่อไปทองจะเป็นแบบไหนคะ !45

ส่วนตัวผมมองว่าสิ่งที่รัฐบาลอเมริกาทำอยู่ ยิ่งเป็นการขุดฝังดอลลาร์ให้พังเร็วขึ้นครับ ดอลลาร์พังเมื่อไหร่ทองได้พุ่งทะยานแรงๆแน่(ความเชื่อส่วนตัวครับ ไม่ยืนยันผล อาจไปคนละแนวทางกับที่ผมเชื่อก็ได้ครับ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาผักพุ่งแซงทอง รบ.โสมขาวงัดหลากมาตรการแก้ "วิกฤตกิมจิ"

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2553 16:17 น.

 

 

 

 

 

 

กิมจิ อาหารประจำชาติของเกาหลีใต้

 

 

เอเจนซี - ราคาผักกะหล่ำในแดนโสมขาวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อให้อาหารประจำชาติอย่าง "กิมจิ" ยังขึ้นโต๊ะอาหารได้เป็นปกติ

 

ราคาอาหารหลักของประเทศ ที่ทำจากผักกะหล่ำหมักให้มีรสชาติจัดจ้าน พุ่งทะลุเพดานในฤดูร้อนที่ผ่านมา หลังสภาพอากาศอันเลวร้ายส่งผลกระทบต่อผลผลิต ซึ่งทำให้ราคาผักกะหล่ำสูงขึ้นถึง 5 เท่าจากปีก่อนหน้า

 

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ราคาขายปลีกหัวกะหล่ำ 1 หัววทะยานขึ้นไปถึงราว 1 ล้านวอน หรือ 27,000 บาท จนทำให้ถูกขนานนามว่าเป็น "กะหล่ำทอง" ทีเดียว

 

สำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตกิมจินี้ รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้ยกเลิกภาษีผักกาดนำเข้าจากจีน และผักกะหล่ำนำเข้าอื่นๆ ไว้เป็นการชั่วคราว

 

ด้านกระทรวงเกษตรเผยในวันนี้ (19) ว่า มาตรการดังกล่าวได้ผลดี และราคาผักกะหล่ำในตอนนี้ก็ลดลงแล้ว แม้จะยังสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 210% ก็ตาม

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นาข้าว-ไร่ข้าวโพดเสียหายในฟิลิปปินส์ หลัง "เมกี" ถล่ม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2553 17:16 น.

 

 

 

 

 

 

ไต้ฝุ่น "เมกี" ทำลายพื้นที่หลายส่วนทางตอนเหนือของเกาะลูซอนเสียหาย รวมถึงพื้นที่เพาะปลูกข้าวและข้าวโพด

 

 

เอเอฟพี - ซูเปอร์ไต้ฝุ่น "เมกี" ทำลายพื้นที่เพาะปลูกข้าวและข้าวโพดของฟิลิปปินส์เสียหายจำนวนมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสถิติการเกษตรแถลงวันนี้ (19) พร้อมเตือนว่าแดนกาตาล็อกอาจจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น

 

พืชผลดังกล่าวพร้อมเก็บเกี่ยวอยู่แล้วในช่วงที่เมกีเข้าทำลายพื้นที่หลายส่วนทางตอนเหนือของเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะหลักของประเทศเมื่อวันจันทร์ (18) โดยเมกีเป็นไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในรอบ 4 ปี ทางการระบุ

 

มัวรา ลิซารอนโด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสถิติการเกษตร ระบุว่าฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวปริมาณมากที่สุดในโลกอยู่แล้ว อาจต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า ถ้าหากความเสียหายคราวนี้ใหญ่โตมาก

 

ปีที่แล้วฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวน 2.4 ล้านตัน แต่สำนักงานหวังลดการนำเข้าให้เหลือ 1.5 ล้านตันในปี 2011

 

แม้ว่า 3 จังหวัดทางตอนเหนือของประเทศจะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นอยู่เสมอ แต่เมกีเข้ามาในช่วงเวลาที่สำคัญซึ่งกำลังมีการเก็บเกี่ยวครั้งใหญ่ที่สุดของปี

 

"การเกษตรมันก็เป็นแบบนี้แหล่ะ แม้ว่าคุณจะทุ่มเททุกอย่างทั้งเรื่องน้ำและปุ๋ยก็ตาม แต่มันก็ยังต้องพึ่งพิงสภาพอากาศอย่างมาก" ลิซารอนโดระบุ

 

อิสเบลา เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตหุบเขาคากายัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วให้ปริมาณผลผลิตข้าว 13.25 เปอร์เซนต์ และข้าวโพด 24.26 เปอร์เซนต์

 

ศูนย์บริหารและลดการเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติในกรุงมะนิลากล่าวว่า ยังไม่มีการประเมินความเสียหายในพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นเมกี

 

----------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านข่าวนี้แล้วเศร้า2เรื่อง

1)ภัยธรรมชาติที่เกิดกับประชาชนฟิลิปปินส์

2)ภัยไม่ธรรมชาติจากมหามิตร ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่นำข้าวมากเป็นอันดับ1ของโลก อดีตฟิลิปปินส์และไทยเป็นคู่แข่งที่สูสีกับไทยในการส่งข้าวออก ตอนนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพันธ์ข้าวระดับโลกของฝรั่ง สนใจมาตั้งหน่วยงานของเขาในไทยหรือฟิลิปปินส์

(สองประเทศนี้ส่งออกข้าวมาก) ข้ออ้างการมาตั้งก็คือเพื่อพัฒนาพันธ์ข้าวให้ดีขึ้นไปอีก สุดท้ายโชคดีของประเทศไทยที่เขาเลือกฟิลิปปินส์

เพราะหลังจากที่หน่วยงานนั้นไปตั้งในฟิลิปปินส์ ไม่รู้ว่าพัฒนากันแบบไหนฟิลิปปินส์จากประเทศที่ส่งออกข้าวอันดับต้นๆ เริ่มปลูกข้าวได้น้อยลงเรื่อยๆจนกระทั่งไม่พอกิน และปัจจุบันเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดของโลก

ภัยจากธรรมชาติกับภัยจากมิตรที่ประสงค์ร้าย อะไรสร้างความเสียหายมากกว่ากัน สำหรับผมแล้วมิตรที่ประสงค์ร้ายน่ากลัวสุดๆ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ อจ เสม และ ส้มโอมือ มากครับ ตามอ่าน แต่ไม่ค่อยได้เข้ามาคุย.......... !01 !01 !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ ตามอ่านผลงานของคุณส้มโอมือครับ

!01 !01 !01 !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงครามอัตราแลกเปลี่ยน

Money Pro : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ CFPTM กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

ตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นมา ค่าเงินสกุลของประเทศในตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ Developed Markets โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

 

การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินโดยทั่วไปแล้ว ก็มีปัจจัยหลักๆ ทางเศรษฐกิจเป็นตัวสนับสนุน ตามที่ดิฉันเคยเขียนไปแล้ว และก็คงไม่เป็นอะไร หากการแข็งค่าหรือการอ่อนค่านั้นค่อยๆ เกิดขึ้น ปัญหาตอนนี้ ก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของประเทศในตลาดเกิดใหม่ แข็งค่ากว่าที่ทุกคนคาดคิด และเร็วเกินกว่าที่ผู้ส่งออกจะปรับตัวได้ทัน

 

ปัจจัยที่ผลักดันการแข็งค่าอย่างมากของเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่สกุลหลัก (ยกเว้นเงินเยน) เกิดจาก "ความกลัว" เป็นหลัก ผู้ถือเงินหรือมีการลงทุนในสกุลเงินโดยเฉพาะดอลลาร์ต่างพยายามดิ้นรน เพื่อรักษาค่าของสินทรัพย์ของตนให้อย่างน้อยๆ ก็ไม่ด้อยค่าลง ด้วยการย้ายไปอยู่ในสกุลเงินที่เชื่อว่าจะแข็งค่ากว่า

 

การย้ายนี้ หากเป็นจำนวนน้อยๆ ก็จะไม่เกิดผลข้างเคียงอะไร แต่หากมีจำนวนมากก็อาจจะทำให้เกิดความปั่นป่วน สภาพคล่องหดหายไปจากระบบการเงินในประเทศหนึ่ง และไปโผล่ในอีกประเทศหนึ่ง ทำให้สภาพคล่องล้นเหลือ

 

นอกจากนี้ เงินก็เหมือนสินค้าอื่นๆ ทั่วไป คือ เมื่อมีความต้องการเงินสกุลใดมาก ค่าของเงินสกุลนั้นก็จะแข็งขึ้น และเมื่อมีการเทขายเงินสกุลใดมาก ค่าของเงินสกุลนั้นก็จะอ่อนลง

 

ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก (โดยเปรียบเทียบ) ก็มักจะรับมือกับกระแสเงินไหลเข้า หรือไหลออกอย่างรวดเร็ว ได้ไม่มาก

 

รัฐมนตรีคลังของบราซิล เป็นคนแรกที่ออกมาพูดถึงคำว่า "สงครามอัตราแลกเปลี่ยน" เมื่อปลายเดือนกันยายน โดยเตือนว่าจะมีการทำสงครามอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการพยายามฝืนไม่ให้ค่าเงินสกุลของตัวเองแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในการค้า

 

ตอนนี้ทุกคนชี้นิ้วไปที่สหรัฐอเมริกา ว่า กลัวเศรษฐกิจถดถอยมากเกินไป จนจะออกมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอีกก้อนใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพคล่องส่วนเกิน และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ก็ต้องยืดระยะเวลาออกไป ถึงปลายปีหน้า จึงเกิดความคาดหมายว่าค่าเงินดอลลาร์จะยิ่งอ่อนค่าลงไปอีก เงินจึงไหลออกจากสกุลเงินดอลลาร์ คือ หนีร้อนหวังจะไปพึ่งเย็นในสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะจะได้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าแล้ว ค่าเงินยังแข็งขึ้นอีกด้วย แต่ตลาดเกิดใหม่ในตอนนี้ไม่เหมือนเดิม คือ เริ่มมีปากมีเสียงมากขึ้น และผู้บริหารของประเทศในตลาดเกิดใหม่ก็ไม่ยอมนั่งอยู่เฉยๆ เป็นฝ่ายตั้งรับเงินที่ไหลบ่าเข้ามาอยู่ฝ่ายเดียว

 

ฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็ชี้นิ้วไปที่จีน ว่า การที่จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งที่สุดในโลกในปัจจุบัน ทำเงินหยวนให้อ่อนค่ากว่าที่ควรจะเป็น (และยิ่งอ่อนค่าใหญ่ เพราะผูกติดกับเงินดอลลาร์) ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการค้าโลก (สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบดุลการค้ามากถึงเกือบ 4% ของจีดีพีเลยทีเดียว ในไตรมาสสองที่ผ่านมา)

 

มาตรการที่ธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่ นำมาใช้เพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินต่างประเทศ มีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำไปก็ไม่ค่อยได้ผลค่ะ เพราะเงินที่จะหนีร้อนนั้นมีจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว หากดูในรูปของกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่างเดียว แต่ละสัปดาห์มีเงินไหลเข้ากองทุนพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ประมาณกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ต่อเนื่องกว่า 3 สัปดาห์แล้ว รวมเป็นเงินกว่า 3,870 ล้านดอลลาร์ และยังไหลเข้ากองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่อีก 2,650 ล้านดอลลาร์ และกองทุนตลาดเงินของตลาดเกิดใหม่อีก 1,900 ล้านดอลลาร์ และเงินส่วนใหญ่ก็ไหลเข้ามาในเอเชียค่ะ โดยใน 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินไหลเข้ากองทุนหุ้นเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่นถึง 5,300 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

 

มาตรการที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ ในรอบนี้ บราซิลเป็นผู้เริ่มก่อนค่ะ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2552 และมีหลายประเทศทยอยออกมาตรการมา แต่เท่าที่สังเกต ยังไม่มีมาตรการไหนได้ผลอย่างชะงัด ยิ่งไอเอ็มเอฟออกมาคาดการณ์เศรษฐกิจตอกย้ำความเชื่อของผู้ลงทุนเหล่านี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาก้าวหน้า จะเติบโตเฉลี่ย 2.7% ในปีนี้ และ 2.2% ในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศในตลาดเกิดใหม่ จะเติบโต 7.1% ในปีนี้ และ 6.4% ในปีหน้า

 

สิ่งที่ตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นมีสองแนวทาง คือ หากประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดี และค่าเงินอยู่ในแนวโน้มแข็งขึ้น ทนทานต่อการไหลบ่าของเงินที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นได้ โดยไม่ออกมาตรการใดๆ มาสกัดกั้นการไหลของเงินเหล่านี้ ประมาณ 1 ปี เพื่อให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาค่อยๆ ฟื้นตัว และเฟดเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยและดึงเงินไหลกลับ เศรษฐกิจของโลกในปลายปี 2554 ก็จะเป็นปกติ

 

แต่ถ้าประเทศต่างๆ เหล่านี้ทนไม่ไหว และออกมาตรการสกัดกั้นเงินไหลเข้า เศรษฐกิจของสหรัฐก็จะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเป็นปกติ เราก็จะวนเวียนอยู่กับการไหลไปไหลมาของเงิน และก่อให้เกิดความสั่นคลอนต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและการค้าโลกแบบนี้ค่ะ

 

แต่ยังมี ทางออกที่สาม ซึ่งหากสหรัฐอเมริการับฟัง ก็อาจจะช่วยไม่ให้เกิดสงครามอัตราแลกเปลี่ยนได้ คือ สหรัฐอเมริกาต้องไม่อัดฉีดเงินเข้ามาในระบบมากเกินไป ไม่ควรกลัวเศรษฐกิจไม่ฟื้นมากเกินไป และจีนต้องยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นอีก ระบบการเงินการค้าของโลกก็อาจจะเข้าสู่ความสมดุล โดยไม่มีสงครามอัตราแลกเปลี่ยน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
776b44d35ace1f8f5fb05c2fad2050ca.gifใครกลัวขายทิ้งครับ ผมไม่กลัวย่อซื้อเพิ่มครับแล้วรอ1600เลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงครามอัตราแลกเปลี่ยน ก็เป็นยุทธวิธีใหม่ ที่เขาคิดขึ้นได้เรื่อยๆๆๆๆๆ เพื่อความ

เจริญของส่วนตัว ไม่ห่วงประเทศเล็กๆทั้งหลาย ว่าจะเป็นอย่างไร ขอให้อยู่รอดก็พอแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...