ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

วันนี้ ผมพึ่งซื้อทองหยิบฝอยทองมากินครับ ร้านป้านงค์ บางปะกง

ถ้าไปอีกก็จะซื้ออีกครับ อร่อยจังเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีพ่อเเม่พี่น้องทุกท่านหลังจากที่หายหน้าหายตาไปนานเพราะไม่ค่อยว่างครับ เลยไม่ค่อยได้เข้ามาเเวะเวียนบ่อยๆ

 

ทุกท่านคงสงสัยทองจะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ต้องรอดูเอาเองเเระครับ เเต่ในใจลึกๆผมอยากให้ย่อมาสัก $1300 เพื่อที่จะเสริมกำลังในการ ขึ้นไปหาเป้าหมายเเรกตาม $1600 ในปีหน้านี้ ตอนนี้ทองย่อเมื่อไรให้เก็บเข้า portfolio เป็นทองคำเเท่งนะครับ ไม่ใช่ GF ง่ายๆเลย ย่อมาซื้อ เก็บไว้ปีหน้ากำไรงามๆตามความพอใจ ก็ขายเอากำไร ผมซื้อไว้หลายเดือนเเล้ว ยังไม่ขายเลยครับ เดียวราคาย่อมาจะเก็บเพิ่มอีกครับ ตอนนี้ระบบเขียวอยู่ครับ สำหรับทองคำเเท่ง การเล่นตามระบบนั้นผมเเนะนำที่ถูกต้องเลยนะครับ

เข้าระบบอะไรให้ออกระบบนั้น อย่าเข้าระบบหนึ่ง เเล้วไปออกอีกระบบหนึ่ง ไม่ถูกต้องเเน่นอน จิตวิทยาสำคัญที่สุด ปีนี้ถือว่ากำไรมากมายจริงๆ ทั้ง ทองคำ ,S.50 future , ยางพารา AFET เป็นขาขึ้นหมดครับ ปีหน้า ฟันธง สินค้า commotity จะขึ้นหมด

รวมถึงสินค้าเกษตรต่างๆ ใครมีหนทางเข้าสู่ตลาด สากลได้ เเล้วเล่นตามระบบ ชาตินี้ก็ได้มีเงินใช้ เเบบ พอเพียงเเล้วครับ

 

SET index กำลังมาทดสอบ 1,000 จุด ไม่นานคงผ่านเเล้วไปทดสอบ 1,200-1,250 ครับ

น้ำมันจะเขย่าเเถวนี้ให้คนตกใจเล่น เเล้วจะวิ่งไปที่ $90 ตามด้วย $105

ยางพาราจะขึ้นตามน้ำมัน ตอนนี้กำลังอยู่ subwave 4 คงคืนกำไรให้กับตลาดหน่อย จากนั้นจะไปที่ 130 ใจเย็นๆครับอย่าเพิ่ง take profit รอให้ระบบที่เราเลือกใช้เเดงเสียก่อน ค่อยขายทำกำไร

 

ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น การเข้าเเต่ละครั้งต้องมี stop loss ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้ายังอยากเล่นหุ้นอยู่ ต้องมี stop loss เสมอครับ

 

จงใช้สิติในการลงทุน จงอย่าใช้อารมณ์ในการลงทุนเพราะจะเปลื่ยนการลงทุนเป็นการพนันทันทีครับ

 

ขอบคุณมากๆๆๆครับ คุณเสม ขอตามระบบกำไรแบบพอเพียงครับ ทองแท่งยังกอดไว้แน่นๆๆเหมือนเดิมครับ ลงมาก็เก็บเพิ่มอีกครับผม

post-929-008922200 1287663864.gif

post-929-038062100 1287663921.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเล่น spread margin คือการวางเงินประกันทั้ง 2 ฝั่งเเต่คนละเดือนกัน พูดง่ายๆคือ เปิด position ทั้ง 2 ฝั่งเพื่อยันไว้ให้อีก ขาขาดทุนน้อยลง

 

outright margin คือการวางเงินประกัน ฝั่งเดียว เล่นขาเดียวเท่านั้น

 

ไม่เเนะนำให้เล่น spread เด็ดขาดยังไงก็เจ๊งครับ การเล่นที่ถูกทางคือ มี stop loss เท่านั้น

ขอบคุณมากครับคุณเสม รบกวนอีกนิดครับ พอดีผมเพิ่งศึกษาเรื่องนี้ตามคุณเสมแนะนำครับ มีข้อไม่เข้าใจครับ คือมี 7สัญญาหรือ 7 เดือน เราจะเลือกถือเริ่มเดือนไหนก้ได้ไช่ไม๊ครับ เช่นเราซื้อเดือนนี้แต่ระบบยังไม่สั่งให้ขาย เราควรถือสัญญาอันไหนครับ หรืเลือกถือเดือนที่ไกลที่สุด

และอีกเรื่องครับ จะหาระบบ trend following ที่คุณเสมใช้ได้ที่ไหนครับ

ขอบคุณมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ผมเพิ่งจะซื้อทองคำไปครับ คุณใหญ่ ถ้าย่อมาอีกจะซื้ออีกครับ

555ไม่ได้นัดหมาย แต่วันนี้พี่ซื้อทองเพิ่มเหมือนกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอขอบคุณSeam888มากครับ พรุ่งนี้ตามเก็บทองด้วยคนครับ set50 ผมถือเต็มมือแล้วครับ คุณSeam888 ไม่ค่อยว่างไมเป็นไรครับ เข้ามาตอนที่สำคัญๆก็ดีใจแล้วครับ !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
776b44d35ace1f8f5fb05c2fad2050ca.gifวันนี้ผมส่งม้าเร็วไปร้านคุณฮั่ว เก็บมาสองก้อนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอถามคุณเสมควรซื้อแท่งสักกี่เปอร์เซนต์ดี ถ้ามีเงิน100 ควรซื้อประมาณไหนดี :D :) :P !01 !01

 

 

ตอนนี้ผมใส่ไป 80% เเล้วสำหรับ portfolio ทองคำนะครับมีหลายราคา กะว่าอีก 20 % รอ $1300 ถ้ามานะไม่มาก็จะซื้อ ตอนราคาสูงๆๆเลยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากครับคุณเสม รบกวนอีกนิดครับ พอดีผมเพิ่งศึกษาเรื่องนี้ตามคุณเสมแนะนำครับ มีข้อไม่เข้าใจครับ คือมี 7สัญญาหรือ 7 เดือน เราจะเลือกถือเริ่มเดือนไหนก้ได้ไช่ไม๊ครับ เช่นเราซื้อเดือนนี้แต่ระบบยังไม่สั่งให้ขาย เราควรถือสัญญาอันไหนครับ หรืเลือกถือเดือนที่ไกลที่สุด

และอีกเรื่องครับ จะหาระบบ trend following ที่คุณเสมใช้ได้ที่ไหนครับ

ขอบคุณมากครับ

 

สัญญาของ AFET ยางพาราจะเป็น สัญญาเเบบ 7 เดือนคือ ให้เล่นเดือนไกลสุด เพราะจะมี OI มากสุดหรือ สภาพคล่องมากสุดครับ ถ้าเดือนใกล้จะเป็นของเจ้ามือที่มีของ (ยางพาราจริงๆ) ที่เค้าเล่นกัน เพราะจะมีการส่งมอบ ยางพารากันจริงๆเมื่อถึงวันส่งมอบครับ ให้เล่นเดือนไกลๆ เช่น port ของผมตอนนี้ก็ถือ ยาง สัญญา เดือน เมษา อยู่ครับ

ถ้ายังไม่เเดงก็ไม่ขายครับ ปล่อยให้ระบบทำงานไปเรื่อยๆตอนนี้ยางเล่นกันหนักมาก บางวันวิ่งชนเพดานเลย บางวันก็ดิ่งลงนรก ใครใจไม่เเข๊งเเนะนำไปเล่นทองเเท่งก่อนดีกว่าครับ

เพราะ ถ้า คุมใจตัวเองไม่อยู่ พลาดเเบบหมดตัวเเน่นอนครับ ผมรับรองได้

 

เเนะนำให้ศึกษาให้มากๆๆครับ AFET เป็นตลาดไม่ใหญ่มาก OI ยังน้อยครับบางครั้งมี Limit down เราออกไม่ได้ก็มีครับ

ลองดูนะครับ ที่ www.chaloke.com ศึกษาได้เลยครับ

 

กองทุน = เด็กอนุบาล

หุ้น = เด็กประถม

Future = เด็กมัธยม

Option = เด็กมหาลัย

Intraday = เด็ก ป.โท

 

ลองคิดดูนะครับ เราใช้เวลาเรียนหนังสือกันกี่ปี ถ้าโดดข้ามชั้นมามีเเต่หมดตัวเเน่นอน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก้าวต่อไปที่สำคัญของธนาคารกลางสหรัฐ

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

ขณะนี้ มีการถกเถียงกันมากเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นเสนอมาตรการต่างๆ โดยหลายหน่วยงานซึ่งผมเห็นว่ายังเป็นการมองปัญหาในมิติเดียว อีกมิติหนึ่งที่สำคัญกว่าในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต คือ การประเมินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ และหากมองปัญหาค่าเงินบาทในมิตินี้ ก็จะเห็นว่าประเด็นของปัญหา คือ การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ ไม่ใช่การแข็งค่าของเงินบาท

 

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอื่นๆ จึงสมัครใจกันนำเอาเงินสหรัฐมาใช้เป็นเงินสกุลหลักในการทำการค้า-ขายของโลก โดยปัจจุบันการทำธุรกรรมระหว่างประเทศนั้นประมาณ 3 ใน 4 ทำโดยใช้เงินดอลลาร์ บทบาทดังกล่าวของเงินดอลลาร์มิได้เกิดขึ้น เพราะการเรียกร้องจากประเทศสหรัฐ และไม่เคยมีการทำความตกลงระหว่างประเทศ ที่กำหนดให้ประเทศต่างๆ ต้องใช้เงินดอลลาร์ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ดังนั้น บทบาทของเงินดอลลาร์ในบทบาทการเป็นเงินสกุลหลักของโลก จึงเป็นบทบาทที่สหรัฐได้รับโดยไม่ได้ร้องขอ แต่แน่นอนว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับสหรัฐ เพราะธนาคารกลางสหรัฐสามารถพิมพ์กระดาษออกมาซื้อสินค้าได้ทั่วโลกเสมือนกับการมีอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจที่น่าอิจฉาอย่างยิ่ง

 

แต่อภิสิทธิ์ดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งความรับผิดชอบพร้อมไปด้วย กล่าวคือ ธนาคารกลางสหรัฐนั้น นอกจากจะมีบทบาทในการดำเนินนโยบายการเงินให้กับประเทศอเมริกาแล้ว ยังเป็นธนาคารกลางที่ต้องรับผิดชอบในฐานะธนาคารกลางของโลก ปัญหาของผมในขณะนี้ คือ บทบาทในการเป็นธนาคารกลางของสหรัฐกับบทบาทในการเป็นธนาคารกลางของโลกนั้น เริ่มมีความขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น หมายความว่า ในขณะนี้ เศรษฐกิจสหรัฐยังคงตกต่ำและการฟื้นตัวไม่มั่นคง ดังนั้น แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะกดดอกเบี้ยลงใกล้ศูนย์ และพิมพ์เงินเข้าไปซื้อพันธบัตรต่างๆ (เพื่ออุ้มราคาสินทรัพย์ไม่ให้ลดลงช่วยธนาคารในการเผชิญปัญหาหนี้เสีย) มูลค่า 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวเพียง 1.5-2.0% และการว่างงานสูงถึง 10% ทำให้ประชาชนผ่อนบ้านต่อไม่ได้ ผลที่ตามมา คือ ธนาคารอ่อนแอไม่กล้าปล่อยกู้เพิ่ม ในขณะที่ธุรกิจแม้ว่ามีกำไรก็ไม่กล้าลงทุนและจ้างงาน เพราะเกรงว่าจะไม่มีกำลังซื้อมารองรับ จึงมองได้ว่ารอบนี้เศรษฐกิจสหรัฐอาจฟื้นแล้วฟุบหรือซึมยาว ในขณะที่ฝ่ายบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีโอบามา ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังได้ เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนทางการเมือง โดยประธานาธิบดีโอบามาสูญเสียความนิยมลงไปมาก ทำให้พรรคเดโมแครตน่าจะสูญเสียเสียงข้างมากในสภาล่างหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 พฤศจิกายน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็ยิ่งจะทำให้การขับเคลื่อนนโยบายการคลังยิ่งทำได้ยากยิ่งขึ้น

สรุปได้ว่าการฟื้นเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น ต้องพึ่งพานโยบายการเงินเพียงด้านเดียว นโยบายการคลังแทบจะพึ่งไม่ได้ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสหรัฐเป็นหลัก สำหรับปัญหาและความต้องการของเศรษฐกิจโลกนั้นย่อมต้องเป็นเรื่องรอง ทั้งนี้ อาจต้องยอมรับว่ากลุ่มประเทศยุโรปและประเทศญี่ปุ่นก็เผชิญปัญหา "ไม่ฟื้นและกลัวฟุบ" เช่นเดียวกับสหรัฐ จึงทำให้นโยบายการเงินที่เหมาะสมสำหรับสหรัฐก็เหมาะสมสำหรับญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งหากรวมกันประมาณ 60% ของจีดีพีโลก สรุปได้ว่านโยบายของโลกน่าจะผ่อนคลายอย่างมาก ทำให้ดอกเบี้ยโลกที่ต่ำใกล้ศูนย์นั้นจะอยู่กับเราอีกยาวนาน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าประเทศเล็กที่พยายามปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ (เช่นประเทศไทย) เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินของประเทศที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นไทยต้องเผชิญปัญหาการแข็งค่าของเงินอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ธนาคารกลางสหรัฐดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

หากมองในมิติดังกล่าวปรากฏการณ์ ที่น่าจะสำคัญต่อแนวโน้มค่าเงินบาท (เทียบกับเงินดอลลาร์) คือ สุนทรพจน์ของนาย William Dudley ประธานธนาคารกลางสหรัฐสาขานิวยอร์ก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม สรุปได้ว่าแม้เขาจะไม่กลัวเศรษฐกิจสหรัฐจะฟุบลง แต่สภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งจีดีพีขยายตัวเพียง 1.5-2.0% และการว่างงานสูงเช่นปัจจุบัน (คนตกงาน 9.6%) ก็จะเป็นสภาวการณ์ที่ยอมรับไม่ได้ (unacceptable) ดังนั้น นักลงทุนจึงเริ่มคาดการณ์กันหนาหูว่า การเพิ่มมาตรการทางการเงินให้เข้มข้นขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างเกือบแน่นอน โดยน่าจะมีการประกาศมาตรการใหม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (FOMC) ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ทั้งนี้ นักลงทุนเปรียบเทียบคำพูดของนาย Dudley กับแถลงการณ์ของ FOMC ครั้งล่าสุดเมื่อ 21 กันยายน ซึ่งเพียงพูดว่าพร้อมจะมีมาตรการช่วยเหลือหากมีความจำเป็น (if necessary) กล่าวคือ FOMC พูดเสมือนว่าหากเศรษฐกิจทรุดลงจึงจะต้องมีมาตรการเพิ่ม แต่นาย Dudley พูดว่าหากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นจากปัจจุบันจะต้องออกมาตรการเพิ่ม เพราะสภาวการณ์ขณะนี้ยอมรับไม่ได้

 

นาย Dudley ยังยกตัวอย่างมาตรการที่น่าจะนำมาใช้ด้วย เช่น เสนอให้ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาอีก 5 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพื่อกดดอกเบี้ยระยะกลางและระยะยาวลงไปอีก (นอกจากการลดดอกเบี้ยระยะสั้นเหลือ 0-0.25%) ซึ่งเมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องการกดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีให้สหรัฐให้ลงจากปัจจุบัน 2.5% เหลือ 1.75% ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกู้เงินได้ถูกลง และช่วยให้เอกชนทุกคนกู้ได้ถูกลงเช่นกัน แต่หากดอกเบี้ยของสหรัฐปรับลดลงอีก ก็น่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยได้อีกมาก เพราะธนาคารกลางสหรัฐนั้นสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาในจำนวนที่ไม่จำกัด เพื่อฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐ อีกมาตรการหนึ่งที่นาย Dudley พูดถึง คือ การตั้งเป้าเงินเฟ้อ เพราะปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ จึงเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาอีกมากเพียงพอ เพื่อทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงเป้าที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ เงินเฟ้อคือการทำให้เงินเสื่อมค่า ดังนั้น นาย Dudley กำลังเสนอให้ธนาคารกลางสหรัฐตั้งใจทำให้เงินดอลลาร์เสื่อมค่า ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นการทำให้ความน่าเชื่อถือในเงินดอลลาร์เสื่อมถอยลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สำหรับประเทศไทยนั้นหากจุดยืนของนาย Dudley ถูกนำมาเป็นจุดยืนของ FOMC ก็อาจกระตุ้นให้เงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียและไทยอีกรอบใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน หลังธนาคารกลางสหรัฐออกมาตรการใหม่ ที่นักลงทุนเรียกว่า Quantitative Easing 2 หรือ QE2 ประเด็นสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึง คือ นาย Dudley มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และ FOMC มีเอกภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งนักลงทุนกำลังพยายามประเมินอย่างขะมักเขม้น นาย Dudley นั้นนอกจากนั้นจะเป็นประธานของธนาคารกลางสหรัฐสาขานิวยอร์กแล้ว ยังดำรงตำแหน่งรองประธานธนาคารกลางอีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีการประเมินว่านาย Dudley มีความสนิทสนมกับนายเบอร์นันเก้ จึงเป็นเสมือนตัวแทน (proxy) ของนายเบอร์นันเก้ ซึ่งการออกมากล่าวสุนทรพจน์ดังกล่าว จึงอาจเป็นการทดสอบการตอบสนองของตลาดการเงินก็ได้ อย่างไรก็ดี มีสมาชิก FOMC 2-3 คนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำ QE2 เพราะเห็นว่าปัญหาการไม่ฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น เป็นผลมาจากนโยบายการคลังที่ขาดความชัดเจน ตลอดจนการออกกฎเกณฑ์ควบคุมธุรกิจมากเกินไป ดังนั้น กลุ่มนี้จึงเห็นว่าการออกมาตรการ QE2 จะไม่ส่งผลในเชิงบวกมากนัก (เสมือนกับการจูงม้ามาที่แม่น้ำแต่หากม้าไม่อยากดื่มน้ำก็จะไม่ยอมดื่มอยู่ดี) ตรงกันข้ามการดำเนินการนโยบายดังกล่าว จะเป็นการสร้างเงินเฟ้อและทำให้เงินดอลลาร์เสื่อมศักยภาพในระยะยาว แต่จากการอ่านรายงานข่าวต่างๆ นั้น ดูเสมือนว่านายเบอร์นันเก้จะเป็นผู้ทุบโต๊ะให้ออก QE2 ในที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อเงินสกุลต่างๆ ในเอเชีย และค่าเงินบาทต่อไปครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...