ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

!thk ขอบคุณและสวัสดี คุณส้มโอมือ คุณเสม และทุกๆคนคะ !Hi

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกี่ยวกับราคา "ยางพารา AFET 20101021" เห็นในส่วนนี้คุณเสมก็มีกราฟราคามาด้วย ขอถามว่าเกี่ยวกับราคายางพวกนี้ ช่องทางในการลงทุนนี่เป็นวิธีการไหนหรอครับ เห็นผมลองหาๆพวกกองทุนธนาคารดู แล้วยังหาไม่เจอนะครับ(แต่ก็ยังหาไม่ครบและเริ่มตาลาย)หรือว่าเป็นลักษณะของ ตลาดล่วงหน้าหรอครับ

 

รบกวนผู้รู้ช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอรบกวนสอบถาม ครูเสมครับปกติผมจะเล่นสั้นๆ ดูกราฟ ราย 5นาที 1ชม 4ชม และดูรายวันและอาทิตย์ประกอบ

ผมเจอมาหมดแล้วครับ กำไร ขาดทุน ปล่อยหมู ติดดอย ตกรถ ติดตามระบบของ ครูเสม และ ครูอุ้ยมานานแล้วครับแต่ไม่กล้าถือยาวๆ

ระบบของครูเสมเอามาประยุกต์ใช้เล่นสั้นๆได้ไหมครับ รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

J

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ติดตามคุณเสมมานาน ขอบคุณมากๆครับ

 

อยากให้ช่วยแนะนำ เมื่อวาน ตกใจ ขายไป 100 บ วันนี้มีส่วนต่าง ควรเข้าเต็มหรือ ทยอย ดีกว่าครับ

 

หรือจะรอดูกราฟ รายอาทิตย์ก่อนดีครับ ตอนนี้เป็นสี แดงแล้ว

 

ขอบคุณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกี่ยวกับราคา "ยางพารา AFET 20101021" เห็นในส่วนนี้คุณเสมก็มีกราฟราคามาด้วย ขอถามว่าเกี่ยวกับราคายางพวกนี้ ช่องทางในการลงทุนนี่เป็นวิธีการไหนหรอครับ เห็นผมลองหาๆพวกกองทุนธนาคารดู แล้วยังหาไม่เจอนะครับ(แต่ก็ยังหาไม่ครบและเริ่มตาลาย)หรือว่าเป็นลักษณะของ ตลาดล่วงหน้าหรอครับ

 

รบกวนผู้รู้ช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับ

 

 

จริงๆเเล้ว AFET คือตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าครับ ใน AFET นั้นมียางพารา กับ ข้าว ที่มีคนเทรดกัน

เเต่ ยางพารามี vol มากสุดเเล้วครับ ส่วนกองทุนนั้น ผมไม่ค่อยถนัดเดียวรอ พี่ส้มโอ หรือ พี่ปุณณ์ หรือเพื่อนๆที่

พอมีความรู้ให้คำเเนะนำด้วยครับ

 

สรุป ผมลงทุนใน ตลาดล่วงหน้าครับ AFET

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอรบกวนสอบถาม ครูเสมครับปกติผมจะเล่นสั้นๆ ดูกราฟ ราย 5นาที 1ชม 4ชม และดูรายวันและอาทิตย์ประกอบ

ผมเจอมาหมดแล้วครับ กำไร ขาดทุน ปล่อยหมู ติดดอย ตกรถ ติดตามระบบของ ครูเสม และ ครูอุ้ยมานานแล้วครับแต่ไม่กล้าถือยาวๆ

ระบบของครูเสมเอามาประยุกต์ใช้เล่นสั้นๆได้ไหมครับ รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

J

 

 

จริงๆเเล้ว ระบบนั้นมีเป็น ร้อยเป็นพันระบบครับ อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ระบบอะไรให้เหมาะสมกับนิสัยการเทรดของเราให้มากที่สุด เช่น บางคนชอบเเบบ สั้นๆก็ต้องเลือกระบบที่ sensitive หน่อย เเต่ false จากระบบก็จะเยอะกว่าระบบที่ยาว

 

ส่วนตัวผมชอบใช้ระบบยาวๆหน่อยไม่ค่อย ชอบดูราคาระหว่างวันครับ ชอบหาอะไรทำมากกว่า ดูเเค่เขียวกับเเดงก็พอ วันหนึ่งใช้เวลา ไม่กี่ นาทีในการลงทุน สบายดีครับ

 

ถามว่าเอามาประยุกต์ได้ไหม ตอบว่าได้ครับ ประยุกต์เเล้วเอาระบบที่เราประยุกตื มา back test ย้อนหลัง 5-6 ปี ถ้าในอดีตได้กำไร อนาคตก็ต้องได้กำไรครับ

 

จริงๆเเล้วการเล่นสั้นมากๆต้องเเบบ Intraday ครับ

ให้เงินเราอยู่ในตลาดสั้นที่สุด ต้อวเเม่น fibonacci number กับ wave โดยใช้ RSI เป็นตัวช่วยในการนับ loop ของ wave ที่จะจบครับ สำคัญมากๆๆในส่วนนี้ เล่น Period ที่ยาวมากเท่าไร การปมฝักของลูกกระทิงก็จะสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้นครับ ในตลาดกระทิง จะมี ลูกหมีซ้อนไว้อยู่เสมอครับ เป็นเรื่องปกติของตลาดครับ

 

 

ลองพิจารณาดูเองนะครับ

ถูกแก้ไข โดย seam888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ติดตามคุณเสมมานาน ขอบคุณมากๆครับ

 

อยากให้ช่วยแนะนำ เมื่อวาน ตกใจ ขายไป 100 บ วันนี้มีส่วนต่าง ควรเข้าเต็มหรือ ทยอย ดีกว่าครับ

 

หรือจะรอดูกราฟ รายอาทิตย์ก่อนดีครับ ตอนนี้เป็นสี แดงแล้ว

 

ขอบคุณครับ

 

 

สำหรับทองคำเเท่ง ทะยอยเข้าเรื่อยๆได้เสมอครับ เมื่อเห็นราคามันลงหรือย่อ

เก็บสัก 2 ปีค่อยขายกำไรงามๆๆดีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
จริงๆเเล้วการเล่นสั้นมากๆต้องเเบบ Intraday ครับ

ให้เงินเราอยู่ในตลาดสั้นที่สุด ต้อวเเม่น fibonacci number กับ wave โดยใช้ RSI เป็นตัวช่วยในการนับ loop ของ wave ที่จะจบครับ สำคัญมากๆๆในส่วนนี้ เล่น Period ที่ยาวมากเท่าไร การปมฝักของลูกกระทิงก็จะสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้นครับ ในตลาดกระทิง จะมี ลูกหมีซ้อนไว้อยู่เสมอครับ เป็นเรื่องปกติของตลาดครับ

 

 

ลองพิจารณาดูเองนะครับ

 

 

พวกนี้ไม่ยากเท่าไรนะครับ ขอให้เข้าใจและเอามันไปใช้ให้ถูกต้องก็สามารถทำได้นะครับ ถ้ามีคนสอนให้อีกก็จะเร็วขึ้นครับ ยกเว้นคนที่สอนจะไม่สอนให้หมดนะครับ :rolleyes: ผมว่าคุณเสม คงลืมบอกว่า มันต้องใช้ Indi อีกตัวหนึ่งนะครับ ไม่ได้ใช้แค่นั้นครับ แต่ยังไงการเทรด Intraday ก็ไม่เหมาะกับมือใหม่อยู่ดีครับ

ถูกแก้ไข โดย Skywalkerz

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีจารย์เสมคุณส้มโอมือ ขอให้มีความสุขกะครอบครัวในช่วงลองวีคเอ็นเน้อ อิอิ

 

 

:lol: :wub: :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงินและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (1)

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

 

สถานการณ์เงินบาทแข็งค่ากลายเป็นประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจขึ้นมา

 

และอาจกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ว่าด้วยการกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนได้ เมื่อบรรดาธุรกิจอุตสาหกรรมส่งออกทั้งหลายที่เดือดร้อนออกมาเคลื่อนไหวยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา โดยเฉพาะข้อเรียกร้องข้อที่ 3 ในทั้งหมด 6 ข้อ ที่ขอให้แบงก์ชาติ และรัฐบาล เร่งหามาตรการฉุกเฉินป้องกันไม่ให้เงินนอกไหลเข้าประเทศเพื่อทำกำไรระยะสั้น เช่น กำหนดระยะเวลาเงินไหลเข้าต้องอยู่ในไทยอย่างน้อย 6 เดือน หากนำกลับก่อนต้องเสียค่าธรรมเนียม

 

ข้อเสนอนี้เป็นแนวทางเดียวกับมาตรการกันสำรอง 30% เข้าข่ายมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital Control) ที่เคยใช้ในปี 2549 แล้วส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาคการเงินพอสมควร แต่อีกด้านหนึ่งก็ช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ประคับประคองภาคการผลิตส่งออกให้ขยายตัวต่อเนื่อง

 

แค่มีเพียงข่าวลือว่า แบงก์ชาติอาจพิจารณาใช้มาตรการในลักษณะดังกล่าว ก็ทำเอาดัชนีตลาดหุ้นร่วงแรงสองวันติดต่อกัน

 

ควรใช้มาตรการในลักษณะนี้หรือยัง ควรใช้เมื่อไรและจะได้ผลในการหยุดยั้งการแข็งค่าได้จริงหรือไม่ นอกจากนั้น คงต้องประเมินผลกระทบข้างเคียงด้วย

 

การใช้มาตรการกันสำรอง 30% เมื่อปลายปี 2549 เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 13% เมื่อเทียบกับปลายปี 2552 แข็งค่าเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินเอเชียด้วยกัน ส่วนสถานการณ์เวลานี้ไม่ได้หนักหนาขนาดนั้นแข็งค่าขึ้นประมาณ 7-8% เมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชียด้วยกัน แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่สาม

 

อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบในวงกว้าง จนมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการในการควบคุม ก็อาจใช้วิธีการเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนของเงินต่างชาติที่เข้ามาลงทุน แต่ควรใช้มาตรการเบาๆ ไปก่อน และเป็นมาตรการที่ไม่ส่งผลกระทบในทางลบ เช่น การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

การเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ หรือสนับสนุนให้มีออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งเร่งการนำเข้าสินค้าที่จำเป็นต่อการลงทุนในช่วงนี้

 

หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ พิจารณาปัจจัยทุนสำรองระหว่างประเทศ สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้เลย ว่า เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่อง จะใช้มาตรการอะไรมาหยุดหรือชะลอการแข็งค่า ก็น่าจะทำให้เกิดผลชั่วคราวเท่านั้น

 

เมื่อนำเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (การผสมผสานกันระหว่างจิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์) จะทำให้เราเข้าใจความมีเหตุมีผลของพฤติกรรมการลงทุนในตลาดการเงิน และพฤติกรรมไร้เหตุผลได้ดีขึ้น และที่สำคัญ พฤติกรรมที่ไร้เหตุผลยังเป็นการไร้เหตุผลที่สามารถคาดการณ์ (Predictably Irrational) ได้อีกด้วย

 

ฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมนักลงทุนแห่กันซื้อหุ้นที่มีราคาแพง หรือเก็งกำไรค่าเงินหรือไม่บริหารความเสี่ยงแม้นรู้ว่ามีโอกาสขาดทุนมหาศาลจากความผันผวนของค่าเงิน

 

ผู้คนมีเหตุผลน้อยกว่าที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักสันนิษฐานเอาไว้มากทีเดียวยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมไร้เหตุผลของเราไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่มีระเบียบแบบแผนที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก

 

ทุกๆ ครั้ง ที่มีความผันผวนของค่าเงิน ไม่ว่าจะอ่อนค่ามากเกินไป หรือแข็งค่ามากเกินไป ล้วนสร้างปัญหาให้กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในระบบเศรษฐกิจเสมอ และเรามักจะออกมาส่งเสียงดังๆ ถึงผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น (ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้และมีเหตุผลมีผล) แต่เรามักแสร้งไม่เข้าใจถึง "กลไกและพลังของตลาดบวกพลังเก็งกำไร" และ "ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ" ว่า มันเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินอย่างแท้จริง ไม่ใช่ใครที่ไหนหรือองค์กรใดจะเอาชนะพลังของตลาดได้ ต่อให้ แบงก์ชาติมีทุนสำรองใช้แทรกแซงตลาดมากกว่านี้สองสามเท่า ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแนวโน้มตลาดได้ยากนัก

 

ลองมาพิจารณา ดุลการชำระเงินกันดูนะครับ

 

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) หมายถึง รายการบันทึกที่แสดงการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ (Economic Transactions) ระหว่างผู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศ (Resident) กับผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ (Non-residents) ในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ธุรกรรมหรือการแลกเปลี่ยนใดๆ ทางเศรษฐกิจจะรวมถึงการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ การโอนเงินตลอดจนสินทรัพย์ทางการเงิน ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน

 

ดุลการชำระเงินเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้นๆ และยังสามารถใช้เปรียบเทียบฐานะทางการเงินกับประเทศอื่นได้

 

ดุลการชำระเงินประกอบด้วยบัญชีต่างๆ ด้วยกัน 5 รายการ คือ

 

1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account)

 

2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Movement Account)

 

3. บัญชีการโอนหรือบริจาค (Transfer Account)

 

4. รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน (Error and Omission)

 

5. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)

 

โดยภาพรวม เรามีดุลการชำระเงินเป็นบวกสะสมมาหลายปีต่อเนื่อง ค่าเงินก็ต้องสะท้อนความเป็นจริงตรงนี้ คือ เงินบาทก็ต้องแข็งค่าขึ้น กระแสเงินทุนระยะสั้นที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทยในช่วงสามสี่เดือนผ่านมา ที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทุนเคลื่อนย้ายเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราเร่งมากกว่าปกติ ค่าเงินสกุลใดๆ ต้องสะท้อนสภาพที่เป็นจริงของดุลการชำระ หากมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผิดธรรมชาติ ในระยะยาวก็จะเกิดปัญหาภาวะไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจและการเงินขึ้นได้

 

ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นรายการบันทึกการซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ

 

1. ส่วนของสินค้าส่งออกนำเข้า (Trade Account) เป็นการบันทึกรายการส่งออกสินค้า (Export) และนำเข้าสินค้า (Import) เป็นบัญชีที่แสดงถึงธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศในโครงสร้างของบัญชีเดินสะพัด การส่งออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขายสินค้าไปยังต่างประเทศ ซึ่งทำให้รายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือเงินไหลเข้าประเทศนั่นเอง ส่วนการนำเข้าโดยการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ย่อมทำให้เราสูญเสียเงินตราต่างประเทศ หรือเท่ากับเงินทุนไหลออกไปนอกประเทศ มูลค่าส่งออก : สินค้าส่งออกคิดราคา f.o.d (Free on Board) คือ มูลค่าสินค้า ณ แหล่งผลิตของผู้ส่งออก

 

- มูลค่านำเข้า : สินค้านำเข้าคิดราคา c.i.f (Cost Insurance and Freight) คือ มูลค่าสินค้าเมื่อถึงมือผู้สั่งซื้อปลายทาง นั่นคือ

 

c.i.f = f.o.b + ค่าระวางและค่าประกันภัยสินค้า

 

ประเทศใดที่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการส่งออกก็จะทำให้ดุลการค้าขาดดุลและถ้าประเทศใดที่มีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศมากกว่าการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะทำให้ดุลการค้าเกินดุล และประเทศที่มีการส่งออกสินค้าเท่ากับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะทำให้ดุลการค้าสมดุล

 

การเปิดเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลเต็มรูปในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) จะส่งผลต่อโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ การค้าขายลงทุนในระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ย่อมทำให้ธุรกรรมในส่วนของภาคบริการ และภาคการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย

 

2. ส่วนของภาคบริการ (Service Account) ได้แก่ รายการต่างๆ ทางด้านการบริการ เช่น บริการทางการเงิน การท่องเที่ยว การบริการทางการศึกษา การบริการทางการแพทย์ การขนส่ง การประกันภัย เป็นต้น

 

หากดุลการค้า และดุลบริการเกินดุล ก็จะทำให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวมเกินดุลและเป็นบวก หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน (ก.ย. 2553) ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนใหญ่ จะมีบางช่วงเท่านั้นเองที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ก็ไม่ได้เป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยน จะช่วยปรับสมดุลผ่านกลไกการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

 

ยังไม่ต้องพิจารณาผลของบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เอาเฉพาะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็ผลักดันให้บาทแข็งค่าอยู่แล้ว หากค่าเงินบาทจะกลับไปอยู่ในระดับ 28-29 บาทต่อดอลลาร์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก และบรรดาผู้ส่งออกควรจะเตรียมรับสถานการณ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะครับ

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

 

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงินและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (2)

 

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

เมื่อวานนี้ (30 ก.ย. 2553) ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตและศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ "ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ทิศทางค่าเงิน และข้อเสนอแนะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน" ผมได้นำเสนอ ข้อเสนอแนะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ไว้ดังนี้

 

1. ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ออกไปก่อน เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าตลาดการเงินอันเป็นผลเพิ่มแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสี่มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าครึ่งปีแรก และอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยในปีหน้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากระดับ 6-7% ในปีนี้ เป็น 4-5% ในปีหน้า แรงกดดันของอัตราเงินเฟ้ออันเป็นผลมาจากความร้อนแรงของอุปสงค์ยังไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าของเศรษฐกิจไทยในช่วงหนึ่งถึงสองไตรมาสข้างหน้า

 

2. ทางการควรใช้มาตรการทางการคลังควบคู่มาตรการการเงินเพื่อชะลอ หรือลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้าด้วยการเร่งรัดในการชำระหนี้ต่างประเทศเร็วขึ้น มากขึ้น พร้อมกับการใช้โอกาสนี้ในการนำเข้าสินค้าประเภททุนและเครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งหลาย ที่ต้องใช้ในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล

 

3. ส่วนการดำเนินการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราผ่านทาง Open Market Operation เมื่อซื้อดอลลาร์และขายเงินบาทเข้าสู่ตลาดแล้ว ไม่ควรดูดเงินบาทกลับคืน ซึ่งจะทำให้ผลของการแทรกแซงมีประสิทธิภาพมากกว่า และชะลอการแข็งค่าได้ดีกว่า แต่อาจส่งผลให้มีแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นบ้าง

 

4. เมื่อเลือกใช้มาตรการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลไกตลาดแล้วแต่ไม่ได้ผลมากนัก หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นสู่ระดับ 27-28 บาทภายในระยะอันสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน) จะเป็นสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการส่งออก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีส่งออกอย่างรุนแรง ทางการควรพิจารณานำมาตรการเก็บภาษีรายได้จากการลงทุนระยะสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน) ในตลาดการเงิน มาใช้ มาตรการดังกล่าว ถือเป็นมาตรการ Capital Control แบบอ่อนๆ

 

5. ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการที่ต้องสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากเช่นในปัจจุบัน ควรมีการนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศบางส่วนออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพต่อระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

 

6. การศึกษาความสำคัญของตัวแปรและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา (หลังลอยตัวค่าเงิน) โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสพบว่า มีตัวแปรหกตัวที่อธิบายความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ถึงร้อยละ 90 โดยไล่เรียงไปตามน้ำหนักความสำคัญดังต่อไปนี้ 1. อัตราส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพี 2. อัตราส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อจีดีพี โดยสองตัวแปรแรกอธิบายการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ดีที่สุด 3. ค่าเงินในภูมิภาค 4. อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพี 5. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 6. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยกับสหรัฐอเมริกา จากการวิจัยและสถิติพบว่า เราควรดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน จึงควรมุ่งไปที่การป้องกันมากกว่าแก้ไข อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นผลจากดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก โดยเฉพาะในภาวะโลกไร้พรมแดนทางการเงิน ที่มักได้รับผลกระทบจากธุรกรรมในบัญชีเงินทุน เนื่องจากธุรกรรมเหล่านี้มีลักษณะเก็งกำไรสูง และแสวงหาส่วนต่างของราคาและหรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย จึงมีปฏิกิริยาต่อการเคลื่อนไหวต่อค่าเงินรุนแรงและรวดเร็ว นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน จึงควรมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง และควรใช้แทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา ด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว

 

7. ควรเริ่มต้นศึกษาการนำเอา Small Moving Band มาใช้แทน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหากระบบนี้ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินในอนาคต (ยังไม่ได้เสนอให้ปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน เสนอให้เตรียมศึกษาไว้ก่อน หากมีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคต)

 

8. ในส่วนของค่าเงินบาท ได้มีการทำคาดการณ์ไว้

 

เราจะพิจารณาต่อจากตอนที่แล้ว ในส่วนของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Account) ภายใต้ภาวะไร้พรมแดนโลกาภิวัตน์ทางด้านการเงิน ประกอบกับการมีนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ทำให้การบันทึกบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายมีความซับซ้อนมากขึ้น บัญชีทุนเคลื่อนย้ายเป็นรายการต่างๆ ในบัญชีที่แสดงการรับและจ่ายของเงินตราต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) และการลงทุนจากต่างประเทศโดยการถือหลักทรัพย์ (Foreign Portfolio Investment) รวมทั้งการลงทุนของเอกชนไทยในต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจเป็นการลงทุนโดยตรง หรือการถือหลักทรัพย์ เพื่อการลงทุนระยะสั้นก็ได้

 

1. การลงทุนภาคเอกชน แบ่งออกเป็นการลงทุนโดยตรงที่เป็นการลงทุนระยะยาวและการลงทุนโดยถือหลักทรัพย์ 2. การลงทุนภาครัฐบาล เป็นการกู้ยืมเงินของรัฐบาล เพื่อนำมาใช้ในโครงการพัฒนาต่างๆ หรือเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกไปนอกประเทศโดยการนำเงินตราต่างประเทศไปซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บัญชีทุนเคลื่อนย้ายนี้จะวัดการไหลของเงินทุน (Funds) นักลงทุนต่างชาติซื้อสินทรัพย์ในไทย นักลงทุนไทยซื้อพันธบัตร หรือซื้อโรงงานในต่างประเทศ ธุรกรรมเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ GNP เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายทรัพย์สินที่มิใช่การผลิตในปัจจุบัน

 

1. บัญชีการโอนหรือบริจาค เป็นบัญชีเกี่ยวกับเงินที่ช่วยเหลือ หรือเงินที่ให้เปล่าทั้งในระดับรัฐบาลหรือเอกชนโดยผู้รับไม่ต้องตอบแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ การช่วยเหลือนี้ อาจอยู่ในรูปของสินค้า บริการ เงินตราต่างประเทศ ของขวัญ หรือสิ่งอื่น เช่น การที่ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศอินโดจีนทางด้านการพัฒนา เป็นต้น การโอนโดยภาคเอกชน (Rf) และการโอนโดยรัฐบาลให้นำมาคำนวณในบัญชีดุลการชำระเงินด้วย

 

GNP = C + I + (X-M) = C + S + T + Rf

 

เงินโอนของรัฐบาลให้แก่คนต่างชาติจะรวมอยู่ในรายรับภาษี (T) ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บ แต่มิได้ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตในปัจจุบัน หรือคืนกลับไปเป็นรายได้ของประเทศในรูปของการใช้จ่ายเป็นเงินโอน ดอกเบี้ยหรือเงินบริจาค

 

2. รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน บางประเทศจะมีระบบข้อมูลที่ดีและการบันทึกรายการมีมาตรฐานสูง ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนก็จะต่ำ สำหรับประเทศไทยความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนยังมีอยู่พอสมควรอันเป็นผลมาจากระบบฐานข้อมูลและการบันทึกรายการ ส่วนใหญ่รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน เป็นรายการที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเก็บรวบรวมตัวเลข ซึ่งมีปัญหายุ่งยากมากนับตั้งแต่ตัวเลขมูลค่าสินค้าเข้าและออก การตีราคาสินค้าในแง่ของดุลการชำระเงินบางครั้งมีความแตกต่างจากการตีราคาสินค้าในแง่ของการประเมินภาษีศุลกากรจนถึงมูลค่าสินค้าที่ลักลอบนำเข้าและส่งออกโดยไม่ผ่านศุลกากร ซึ่งไม่ได้นำมาบวกในดุลการค้า หรือถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าที่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องตามกฎหมายก็อาจจะเก็บตัวเลขไม่ครบถ้วน สำหรับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายก็มีตัวเลขคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในบางบริษัทไม่เปิดเผยตัวเลขการลงทุนโดยตรงที่แท้จริง ด้วยเหตุผลเรื่องความลับทางการค้าหรือประเด็นเรื่องภาษี การจะประมาณการขึ้นเองทำได้ยากโดยเฉพาะรายการโอนเงิน และบริจาคของเอกชนไม่สามารถหาตัวเลขได้

 

ทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ สิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Rights หรือ SDR) บัญชีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินที่มีอยู่ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก

 

ดุลการชำระเงินจำนวนเกินดุล (Balance of Payment Surplus : B) จึงเท่ากับ การส่งออกสุทธิ (Net Export) หักด้วยทุนทรัพย์ส่วนบุคคลไหลออก (Net Private Capital Outflow : F) และลบด้วยเงินโอนให้แก่ชาวต่างชาติ (Transfers to foreigner : R) เราสามารถเขียนในรูปสมการได้ดังนี้

 

B = (X-M) - F - R

 

ส่วนกระบวนการปรับตัวของดุลการชำระเงินนั้น จะเกี่ยวข้องกับตัวแปร และปัจจัยหลากหลาย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของหน่วยทางเศรษฐกิจ นักลงทุนและผู้คนทั้งหลายในระบบการเงินด้วย เมื่อหลายปีก่อน นักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์สัญชาติสหรัฐอเมริกาสองท่าน คือ ศาสตราจารย์แดเนียล คาห์เนมาน แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และศาสตราจารย์เวอร์นอน แอล สมิธ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ได้รับรางวัลโนเบลในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ซึ่งองค์ความรู้บางส่วน สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมของผู้คนในโลกการเงินได้ระดับหนึ่ง

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

 

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงิน และเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (3)

 

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

ก่อนหน้าที่ศาสตราจารย์แดเนียล และศาสตราจารย์เวอร์นอนได้รางวัลจากงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม มีนักวิชาการอเมริกันสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการวิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลที่ไม่สมส่วนหรือไม่สมมาตร โดยการอ้างอิงถึงความเป็นจริงที่ว่า ผู้เล่นบางรายในตลาดมีข้อมูลเหนือกว่าผู้อื่น ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกัน การทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินและตลาดหุ้นจากข้อมูลภายในจึงเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะที่สร้างปัญหาต่อธรรมาภิบาลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ คือ การดักซื้อดักขายก่อน ดักลงทุน ทิ้งการลงทุน ก่อนนโยบายที่มีผลกระทบในทางบวกหรือทางลบออกมา พฤติกรรมดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ไม่ได้ล่วงรู้มาตรการหรือนโยบายล่วงหน้า

 

นี่จึงเป็น สิ่งที่ตอกย้ำหลักแห่งความสุจริต และหลักแห่งความไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ว่ามีความจำเป็นเพียงใดสำหรับผู้กำหนดนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ที่ออกมาแล้วมีผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบต่อกลุ่มคนต่างๆ แตกต่างกันไป

 

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากงานวิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลที่ไม่สมมาตร ล้วนทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกอย่าง โจเซฟ อี สติกลิตซ์ ตอนนี้ก็สอนหนังสืออยู่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย จอร์จ เอ อาเคอร์ลอฟ สอนอยู่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กเลย์ และอีกท่านหนึ่ง ศาสตราจารย์ไมเคิล สเปนซ์ แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

 

ดร.แดเนียล คาห์เนมาน และ ดร.เวอร์นอน แอล สมิธ ได้ร่วมกันสร้างทฤษฎีผสมผสานระหว่างความคิดของคนปกติที่ดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล รวมทั้งการศึกษาพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล ทฤษฎีนี้พยายามอธิบายเหตุผลที่ผู้คนทั่วไปมีทางเลือกทางเศรษฐศาสตร์ท่ามกลางความไม่แน่นอนไม่แน่ใจ

 

สำหรับ โนเบลเศรษฐศาสตร์ปีนี้ ก็เป็นผลงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ตลาดด้วยเครื่องมือ Search Friction เจ้าของรางวัลเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันสองท่าน และชาวไซปรัสหนึ่งท่าน

 

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มาตรการลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทของทางการที่ออกมาล่าสุดไม่ได้มีผลในการยับยั้งเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าเก็งกำไรเลย เพราะเม็ดเงินที่ถูกเก็บภาษีในตลาดตราสารหนี้ก็ย้ายมาที่ตลาดหุ้นแทน อันเป็นพฤติกรรมปกติของ Speculators ทั้งหลาย เงินบาทจึงยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องแม้นมีการใช้มาตรการชะลอ Capital Inflows แล้วก็ตาม

 

ส่วน มาตรการส่งเสริม Capital Outflows เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนที่ใช้เงินสกุลต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ทันทีและมีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ ขนาดของการเบิกจ่ายก็ยังมีขนาดเล็กมากประมาณ ห้าหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินแล้ว เปรียบเหมือนรูรั่วเล็กๆ ของอ่างน้ำขนาดใหญ่ที่มีฝนห่าใหญ่ตกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรเสีย ระดับน้ำย่อมไม่ลดลง

 

ส่วนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ผ่านช่องทางการทำ Forward และเพิ่มสภาพคล่องผ่านธนาคารของรัฐ เป็นเรื่องของการบรรเทาผลกระทบต่อ SMEs จากเงินบาทแข็งค่าซึ่งเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการ แต่ต้องตระหนักว่า มาตรการเหล่านี้มีต้นทุน

 

ผู้ประกอบการแต่ละฝ่ายต่างมีความคาดหวังต่อทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้ส่งออกอยากให้บาทอ่อนเพื่อให้การแข่งขันด้านราคาดีขึ้น ผู้นำเข้าย่อมต้องการบาทแข็งเพื่อซื้อของได้ถูกลง ทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกย่อมต้องการเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่นักเก็งกำไร สถาบันการเงินในส่วนของการค้าเงิน ย่อมได้ประโยชน์จากการผันผวนและสามารถทำกำไรได้จากภาวะดังกล่าว

 

ในสภาวะปกติ การเคลื่อนไหวของค่าเงินจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเป็นไปตามกลไกตลาดหากไม่มีการเก็งกำไรมากเกินขนาด แต่การเก็งกำไรก็เป็นเรื่องปกติในโลกเศรษฐกิจที่ต้องสามารถจัดการให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยรวม กลไกตลาดก็จะทำงานได้ดี

 

กระบวนการปรับตัวตามกลไกตลาดในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน มี 2 กลไก หลัก คือ กลไกด้านราคา (Price Mechanism) และกลไกด้านรายได้ (Income Mechanism)

 

1. กลไกด้านราคา

 

กลไกด้านราคานี้จะทำงานโดยอาศัยปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยและระดับราคาสินค้าภายในประเทศหรืออัตราเงินเฟ้อ ในกรณีของประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินตราต่างประเทศจะไหลออกไปสู่ประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุล เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการ ถ้าไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาลของประเทศขาดดุลจะทำให้ปริมาณเงินในประเทศขาดดุลลดลง (เงินไหลออก) ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงด้วย เพื่อชดเชยการขาดดุลการชำระเงินและสกัดกั้นมิให้เงินตราต่างประเทศไหลออกไปต่างประเทศมากก็จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น เงินตราต่างประเทศของประเทศที่ขาดดุลก็เพิ่มขึ้นส่งผลให้การขาดดุลการชำระเงินลดลงและเข้าสู่ภาวะดุลการชำระเงินสมดุล ในทางตรงกันข้ามกรณีของประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลจะมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามามากจากดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก เนื่องจากประเทศเกินดุลการชำระเงินมีการส่งออกสินค้าและบริการมากกว่าการนำเข้าสินค้าและบริการทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นซึ่งจะไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่เกินดุลลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเกินดุลลดลงก็จะทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศลดลง การเกินดุลการชำระเงินก็จะลดลงจนทำให้ดุลการชำระเงินเข้าสู่สมดุล

 

ส่วนกลไกด้านราคาสินค้าภายในประเทศจะทำงานโดยผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในสินค้ากรณีของประเทศที่ขาดดุลการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศก็จะไหลออกจากประเทศขาดดุลไปสู่ประเทศเกินดุลเพื่อไปชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการทำให้ปริมาณเงินในประเทศขาดดุลลดลงก็จะไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนลดลง และรายได้ประชาชาติก็จะลดลงด้วย เมื่อประชาชนมีรายได้ลดลงก็พยายามลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศจนส่งผลให้การขาดดุลการชำระเงินและเข้าสู่สมดุล ส่วนประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุล ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นและประชาชนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติสูงขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะมีการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้การเกินดุลการชำระเงินลดลง และเข้าสู่ภาวะสมดุล

 

สำหรับกลไกด้านรายได้ จะขอกล่าวในตอนต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงินและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (1)

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

 

สถานการณ์เงินบาทแข็งค่ากลายเป็นประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจขึ้นมา

 

และอาจกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ว่าด้วยการกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนได้ เมื่อบรรดาธุรกิจอุตสาหกรรมส่งออกทั้งหลายที่เดือดร้อนออกมาเคลื่อนไหวยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา โดยเฉพาะข้อเรียกร้องข้อที่ 3 ในทั้งหมด 6 ข้อ ที่ขอให้แบงก์ชาติ และรัฐบาล เร่งหามาตรการฉุกเฉินป้องกันไม่ให้เงินนอกไหลเข้าประเทศเพื่อทำกำไรระยะสั้น เช่น กำหนดระยะเวลาเงินไหลเข้าต้องอยู่ในไทยอย่างน้อย 6 เดือน หากนำกลับก่อนต้องเสียค่าธรรมเนียม

 

ข้อเสนอนี้เป็นแนวทางเดียวกับมาตรการกันสำรอง 30% เข้าข่ายมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital Control) ที่เคยใช้ในปี 2549 แล้วส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาคการเงินพอสมควร แต่อีกด้านหนึ่งก็ช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ประคับประคองภาคการผลิตส่งออกให้ขยายตัวต่อเนื่อง

 

แค่มีเพียงข่าวลือว่า แบงก์ชาติอาจพิจารณาใช้มาตรการในลักษณะดังกล่าว ก็ทำเอาดัชนีตลาดหุ้นร่วงแรงสองวันติดต่อกัน

 

ควรใช้มาตรการในลักษณะนี้หรือยัง ควรใช้เมื่อไรและจะได้ผลในการหยุดยั้งการแข็งค่าได้จริงหรือไม่ นอกจากนั้น คงต้องประเมินผลกระทบข้างเคียงด้วย

 

การใช้มาตรการกันสำรอง 30% เมื่อปลายปี 2549 เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 13% เมื่อเทียบกับปลายปี 2552 แข็งค่าเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินเอเชียด้วยกัน ส่วนสถานการณ์เวลานี้ไม่ได้หนักหนาขนาดนั้นแข็งค่าขึ้นประมาณ 7-8% เมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชียด้วยกัน แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่สาม

 

อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบในวงกว้าง จนมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการในการควบคุม ก็อาจใช้วิธีการเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนของเงินต่างชาติที่เข้ามาลงทุน แต่ควรใช้มาตรการเบาๆ ไปก่อน และเป็นมาตรการที่ไม่ส่งผลกระทบในทางลบ เช่น การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

การเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ หรือสนับสนุนให้มีออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งเร่งการนำเข้าสินค้าที่จำเป็นต่อการลงทุนในช่วงนี้

 

หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ พิจารณาปัจจัยทุนสำรองระหว่างประเทศ สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้เลย ว่า เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่อง จะใช้มาตรการอะไรมาหยุดหรือชะลอการแข็งค่า ก็น่าจะทำให้เกิดผลชั่วคราวเท่านั้น

 

เมื่อนำเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (การผสมผสานกันระหว่างจิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์) จะทำให้เราเข้าใจความมีเหตุมีผลของพฤติกรรมการลงทุนในตลาดการเงิน และพฤติกรรมไร้เหตุผลได้ดีขึ้น และที่สำคัญ พฤติกรรมที่ไร้เหตุผลยังเป็นการไร้เหตุผลที่สามารถคาดการณ์ (Predictably Irrational) ได้อีกด้วย

 

ฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมนักลงทุนแห่กันซื้อหุ้นที่มีราคาแพง หรือเก็งกำไรค่าเงินหรือไม่บริหารความเสี่ยงแม้นรู้ว่ามีโอกาสขาดทุนมหาศาลจากความผันผวนของค่าเงิน

 

ผู้คนมีเหตุผลน้อยกว่าที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักสันนิษฐานเอาไว้มากทีเดียวยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมไร้เหตุผลของเราไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่มีระเบียบแบบแผนที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก

 

ทุกๆ ครั้ง ที่มีความผันผวนของค่าเงิน ไม่ว่าจะอ่อนค่ามากเกินไป หรือแข็งค่ามากเกินไป ล้วนสร้างปัญหาให้กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในระบบเศรษฐกิจเสมอ และเรามักจะออกมาส่งเสียงดังๆ ถึงผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น (ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้และมีเหตุผลมีผล) แต่เรามักแสร้งไม่เข้าใจถึง "กลไกและพลังของตลาดบวกพลังเก็งกำไร" และ "ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ" ว่า มันเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินอย่างแท้จริง ไม่ใช่ใครที่ไหนหรือองค์กรใดจะเอาชนะพลังของตลาดได้ ต่อให้ แบงก์ชาติมีทุนสำรองใช้แทรกแซงตลาดมากกว่านี้สองสามเท่า ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแนวโน้มตลาดได้ยากนัก

 

ลองมาพิจารณา ดุลการชำระเงินกันดูนะครับ

 

ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) หมายถึง รายการบันทึกที่แสดงการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ (Economic Transactions) ระหว่างผู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศ (Resident) กับผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ (Non-residents) ในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ธุรกรรมหรือการแลกเปลี่ยนใดๆ ทางเศรษฐกิจจะรวมถึงการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ การโอนเงินตลอดจนสินทรัพย์ทางการเงิน ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน

 

ดุลการชำระเงินเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้นๆ และยังสามารถใช้เปรียบเทียบฐานะทางการเงินกับประเทศอื่นได้

 

ดุลการชำระเงินประกอบด้วยบัญชีต่างๆ ด้วยกัน 5 รายการ คือ

 

1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account)

 

2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Movement Account)

 

3. บัญชีการโอนหรือบริจาค (Transfer Account)

 

4. รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน (Error and Omission)

 

5. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)

 

โดยภาพรวม เรามีดุลการชำระเงินเป็นบวกสะสมมาหลายปีต่อเนื่อง ค่าเงินก็ต้องสะท้อนความเป็นจริงตรงนี้ คือ เงินบาทก็ต้องแข็งค่าขึ้น กระแสเงินทุนระยะสั้นที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทยในช่วงสามสี่เดือนผ่านมา ที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทุนเคลื่อนย้ายเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราเร่งมากกว่าปกติ ค่าเงินสกุลใดๆ ต้องสะท้อนสภาพที่เป็นจริงของดุลการชำระ หากมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผิดธรรมชาติ ในระยะยาวก็จะเกิดปัญหาภาวะไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจและการเงินขึ้นได้

 

ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นรายการบันทึกการซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ

 

1. ส่วนของสินค้าส่งออกนำเข้า (Trade Account) เป็นการบันทึกรายการส่งออกสินค้า (Export) และนำเข้าสินค้า (Import) เป็นบัญชีที่แสดงถึงธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศในโครงสร้างของบัญชีเดินสะพัด การส่งออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขายสินค้าไปยังต่างประเทศ ซึ่งทำให้รายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือเงินไหลเข้าประเทศนั่นเอง ส่วนการนำเข้าโดยการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ย่อมทำให้เราสูญเสียเงินตราต่างประเทศ หรือเท่ากับเงินทุนไหลออกไปนอกประเทศ มูลค่าส่งออก : สินค้าส่งออกคิดราคา f.o.d (Free on Board) คือ มูลค่าสินค้า ณ แหล่งผลิตของผู้ส่งออก

 

- มูลค่านำเข้า : สินค้านำเข้าคิดราคา c.i.f (Cost Insurance and Freight) คือ มูลค่าสินค้าเมื่อถึงมือผู้สั่งซื้อปลายทาง นั่นคือ

 

c.i.f = f.o.b + ค่าระวางและค่าประกันภัยสินค้า

 

ประเทศใดที่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการส่งออกก็จะทำให้ดุลการค้าขาดดุลและถ้าประเทศใดที่มีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศมากกว่าการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะทำให้ดุลการค้าเกินดุล และประเทศที่มีการส่งออกสินค้าเท่ากับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะทำให้ดุลการค้าสมดุล

 

การเปิดเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลเต็มรูปในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) จะส่งผลต่อโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ การค้าขายลงทุนในระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ย่อมทำให้ธุรกรรมในส่วนของภาคบริการ และภาคการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย

 

2. ส่วนของภาคบริการ (Service Account) ได้แก่ รายการต่างๆ ทางด้านการบริการ เช่น บริการทางการเงิน การท่องเที่ยว การบริการทางการศึกษา การบริการทางการแพทย์ การขนส่ง การประกันภัย เป็นต้น

 

หากดุลการค้า และดุลบริการเกินดุล ก็จะทำให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวมเกินดุลและเป็นบวก หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน (ก.ย. 2553) ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนใหญ่ จะมีบางช่วงเท่านั้นเองที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ก็ไม่ได้เป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยน จะช่วยปรับสมดุลผ่านกลไกการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

 

ยังไม่ต้องพิจารณาผลของบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เอาเฉพาะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็ผลักดันให้บาทแข็งค่าอยู่แล้ว หากค่าเงินบาทจะกลับไปอยู่ในระดับ 28-29 บาทต่อดอลลาร์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก และบรรดาผู้ส่งออกควรจะเตรียมรับสถานการณ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะครับ

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

 

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงินและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (2)

 

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

เมื่อวานนี้ (30 ก.ย. 2553) ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตและศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ "ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ทิศทางค่าเงิน และข้อเสนอแนะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน" ผมได้นำเสนอ ข้อเสนอแนะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ไว้ดังนี้

 

1. ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ออกไปก่อน เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าตลาดการเงินอันเป็นผลเพิ่มแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสี่มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าครึ่งปีแรก และอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยในปีหน้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากระดับ 6-7% ในปีนี้ เป็น 4-5% ในปีหน้า แรงกดดันของอัตราเงินเฟ้ออันเป็นผลมาจากความร้อนแรงของอุปสงค์ยังไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าของเศรษฐกิจไทยในช่วงหนึ่งถึงสองไตรมาสข้างหน้า

 

2. ทางการควรใช้มาตรการทางการคลังควบคู่มาตรการการเงินเพื่อชะลอ หรือลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้าด้วยการเร่งรัดในการชำระหนี้ต่างประเทศเร็วขึ้น มากขึ้น พร้อมกับการใช้โอกาสนี้ในการนำเข้าสินค้าประเภททุนและเครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งหลาย ที่ต้องใช้ในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล

 

3. ส่วนการดำเนินการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราผ่านทาง Open Market Operation เมื่อซื้อดอลลาร์และขายเงินบาทเข้าสู่ตลาดแล้ว ไม่ควรดูดเงินบาทกลับคืน ซึ่งจะทำให้ผลของการแทรกแซงมีประสิทธิภาพมากกว่า และชะลอการแข็งค่าได้ดีกว่า แต่อาจส่งผลให้มีแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นบ้าง

 

4. เมื่อเลือกใช้มาตรการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลไกตลาดแล้วแต่ไม่ได้ผลมากนัก หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นสู่ระดับ 27-28 บาทภายในระยะอันสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน) จะเป็นสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการส่งออก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีส่งออกอย่างรุนแรง ทางการควรพิจารณานำมาตรการเก็บภาษีรายได้จากการลงทุนระยะสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน) ในตลาดการเงิน มาใช้ มาตรการดังกล่าว ถือเป็นมาตรการ Capital Control แบบอ่อนๆ

 

5. ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการที่ต้องสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากเช่นในปัจจุบัน ควรมีการนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศบางส่วนออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพต่อระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

 

6. การศึกษาความสำคัญของตัวแปรและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา (หลังลอยตัวค่าเงิน) โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสพบว่า มีตัวแปรหกตัวที่อธิบายความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ถึงร้อยละ 90 โดยไล่เรียงไปตามน้ำหนักความสำคัญดังต่อไปนี้ 1. อัตราส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพี 2. อัตราส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อจีดีพี โดยสองตัวแปรแรกอธิบายการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ดีที่สุด 3. ค่าเงินในภูมิภาค 4. อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพี 5. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 6. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยกับสหรัฐอเมริกา จากการวิจัยและสถิติพบว่า เราควรดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน จึงควรมุ่งไปที่การป้องกันมากกว่าแก้ไข อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นผลจากดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก โดยเฉพาะในภาวะโลกไร้พรมแดนทางการเงิน ที่มักได้รับผลกระทบจากธุรกรรมในบัญชีเงินทุน เนื่องจากธุรกรรมเหล่านี้มีลักษณะเก็งกำไรสูง และแสวงหาส่วนต่างของราคาและหรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย จึงมีปฏิกิริยาต่อการเคลื่อนไหวต่อค่าเงินรุนแรงและรวดเร็ว นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน จึงควรมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง และควรใช้แทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา ด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว

 

7. ควรเริ่มต้นศึกษาการนำเอา Small Moving Band มาใช้แทน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหากระบบนี้ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินในอนาคต (ยังไม่ได้เสนอให้ปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน เสนอให้เตรียมศึกษาไว้ก่อน หากมีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคต)

 

8. ในส่วนของค่าเงินบาท ได้มีการทำคาดการณ์ไว้

 

เราจะพิจารณาต่อจากตอนที่แล้ว ในส่วนของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Account) ภายใต้ภาวะไร้พรมแดนโลกาภิวัตน์ทางด้านการเงิน ประกอบกับการมีนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ทำให้การบันทึกบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายมีความซับซ้อนมากขึ้น บัญชีทุนเคลื่อนย้ายเป็นรายการต่างๆ ในบัญชีที่แสดงการรับและจ่ายของเงินตราต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) และการลงทุนจากต่างประเทศโดยการถือหลักทรัพย์ (Foreign Portfolio Investment) รวมทั้งการลงทุนของเอกชนไทยในต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจเป็นการลงทุนโดยตรง หรือการถือหลักทรัพย์ เพื่อการลงทุนระยะสั้นก็ได้

 

1. การลงทุนภาคเอกชน แบ่งออกเป็นการลงทุนโดยตรงที่เป็นการลงทุนระยะยาวและการลงทุนโดยถือหลักทรัพย์ 2. การลงทุนภาครัฐบาล เป็นการกู้ยืมเงินของรัฐบาล เพื่อนำมาใช้ในโครงการพัฒนาต่างๆ หรือเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกไปนอกประเทศโดยการนำเงินตราต่างประเทศไปซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บัญชีทุนเคลื่อนย้ายนี้จะวัดการไหลของเงินทุน (Funds) นักลงทุนต่างชาติซื้อสินทรัพย์ในไทย นักลงทุนไทยซื้อพันธบัตร หรือซื้อโรงงานในต่างประเทศ ธุรกรรมเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ GNP เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายทรัพย์สินที่มิใช่การผลิตในปัจจุบัน

 

1. บัญชีการโอนหรือบริจาค เป็นบัญชีเกี่ยวกับเงินที่ช่วยเหลือ หรือเงินที่ให้เปล่าทั้งในระดับรัฐบาลหรือเอกชนโดยผู้รับไม่ต้องตอบแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ การช่วยเหลือนี้ อาจอยู่ในรูปของสินค้า บริการ เงินตราต่างประเทศ ของขวัญ หรือสิ่งอื่น เช่น การที่ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศอินโดจีนทางด้านการพัฒนา เป็นต้น การโอนโดยภาคเอกชน (Rf) และการโอนโดยรัฐบาลให้นำมาคำนวณในบัญชีดุลการชำระเงินด้วย

 

GNP = C + I + (X-M) = C + S + T + Rf

 

เงินโอนของรัฐบาลให้แก่คนต่างชาติจะรวมอยู่ในรายรับภาษี (T) ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บ แต่มิได้ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตในปัจจุบัน หรือคืนกลับไปเป็นรายได้ของประเทศในรูปของการใช้จ่ายเป็นเงินโอน ดอกเบี้ยหรือเงินบริจาค

 

2. รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน บางประเทศจะมีระบบข้อมูลที่ดีและการบันทึกรายการมีมาตรฐานสูง ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนก็จะต่ำ สำหรับประเทศไทยความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนยังมีอยู่พอสมควรอันเป็นผลมาจากระบบฐานข้อมูลและการบันทึกรายการ ส่วนใหญ่รายการผิดพลาดและคลาดเคลื่อน เป็นรายการที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเก็บรวบรวมตัวเลข ซึ่งมีปัญหายุ่งยากมากนับตั้งแต่ตัวเลขมูลค่าสินค้าเข้าและออก การตีราคาสินค้าในแง่ของดุลการชำระเงินบางครั้งมีความแตกต่างจากการตีราคาสินค้าในแง่ของการประเมินภาษีศุลกากรจนถึงมูลค่าสินค้าที่ลักลอบนำเข้าและส่งออกโดยไม่ผ่านศุลกากร ซึ่งไม่ได้นำมาบวกในดุลการค้า หรือถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าที่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องตามกฎหมายก็อาจจะเก็บตัวเลขไม่ครบถ้วน สำหรับบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายก็มีตัวเลขคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในบางบริษัทไม่เปิดเผยตัวเลขการลงทุนโดยตรงที่แท้จริง ด้วยเหตุผลเรื่องความลับทางการค้าหรือประเด็นเรื่องภาษี การจะประมาณการขึ้นเองทำได้ยากโดยเฉพาะรายการโอนเงิน และบริจาคของเอกชนไม่สามารถหาตัวเลขได้

 

ทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ทองคำ สิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Rights หรือ SDR) บัญชีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินที่มีอยู่ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก

 

ดุลการชำระเงินจำนวนเกินดุล (Balance of Payment Surplus : B) จึงเท่ากับ การส่งออกสุทธิ (Net Export) หักด้วยทุนทรัพย์ส่วนบุคคลไหลออก (Net Private Capital Outflow : F) และลบด้วยเงินโอนให้แก่ชาวต่างชาติ (Transfers to foreigner : R) เราสามารถเขียนในรูปสมการได้ดังนี้

 

B = (X-M) - F - R

 

ส่วนกระบวนการปรับตัวของดุลการชำระเงินนั้น จะเกี่ยวข้องกับตัวแปร และปัจจัยหลากหลาย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของหน่วยทางเศรษฐกิจ นักลงทุนและผู้คนทั้งหลายในระบบการเงินด้วย เมื่อหลายปีก่อน นักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์สัญชาติสหรัฐอเมริกาสองท่าน คือ ศาสตราจารย์แดเนียล คาห์เนมาน แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และศาสตราจารย์เวอร์นอน แอล สมิธ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ได้รับรางวัลโนเบลในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ซึ่งองค์ความรู้บางส่วน สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมของผู้คนในโลกการเงินได้ระดับหนึ่ง

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

 

ทิศทางเงินบาทมุมมองจากดุลการชำระเงิน และเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (3)

 

อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

ก่อนหน้าที่ศาสตราจารย์แดเนียล และศาสตราจารย์เวอร์นอนได้รางวัลจากงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม มีนักวิชาการอเมริกันสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการวิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลที่ไม่สมส่วนหรือไม่สมมาตร โดยการอ้างอิงถึงความเป็นจริงที่ว่า ผู้เล่นบางรายในตลาดมีข้อมูลเหนือกว่าผู้อื่น ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกัน การทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินและตลาดหุ้นจากข้อมูลภายในจึงเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะที่สร้างปัญหาต่อธรรมาภิบาลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ คือ การดักซื้อดักขายก่อน ดักลงทุน ทิ้งการลงทุน ก่อนนโยบายที่มีผลกระทบในทางบวกหรือทางลบออกมา พฤติกรรมดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ไม่ได้ล่วงรู้มาตรการหรือนโยบายล่วงหน้า

 

นี่จึงเป็น สิ่งที่ตอกย้ำหลักแห่งความสุจริต และหลักแห่งความไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ว่ามีความจำเป็นเพียงใดสำหรับผู้กำหนดนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ที่ออกมาแล้วมีผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบต่อกลุ่มคนต่างๆ แตกต่างกันไป

 

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากงานวิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลที่ไม่สมมาตร ล้วนทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกอย่าง โจเซฟ อี สติกลิตซ์ ตอนนี้ก็สอนหนังสืออยู่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย จอร์จ เอ อาเคอร์ลอฟ สอนอยู่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กเลย์ และอีกท่านหนึ่ง ศาสตราจารย์ไมเคิล สเปนซ์ แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

 

ดร.แดเนียล คาห์เนมาน และ ดร.เวอร์นอน แอล สมิธ ได้ร่วมกันสร้างทฤษฎีผสมผสานระหว่างความคิดของคนปกติที่ดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล รวมทั้งการศึกษาพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล ทฤษฎีนี้พยายามอธิบายเหตุผลที่ผู้คนทั่วไปมีทางเลือกทางเศรษฐศาสตร์ท่ามกลางความไม่แน่นอนไม่แน่ใจ

 

สำหรับ โนเบลเศรษฐศาสตร์ปีนี้ ก็เป็นผลงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ตลาดด้วยเครื่องมือ Search Friction เจ้าของรางวัลเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันสองท่าน และชาวไซปรัสหนึ่งท่าน

 

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มาตรการลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทของทางการที่ออกมาล่าสุดไม่ได้มีผลในการยับยั้งเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าเก็งกำไรเลย เพราะเม็ดเงินที่ถูกเก็บภาษีในตลาดตราสารหนี้ก็ย้ายมาที่ตลาดหุ้นแทน อันเป็นพฤติกรรมปกติของ Speculators ทั้งหลาย เงินบาทจึงยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องแม้นมีการใช้มาตรการชะลอ Capital Inflows แล้วก็ตาม

 

ส่วน มาตรการส่งเสริม Capital Outflows เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนที่ใช้เงินสกุลต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ทันทีและมีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ ขนาดของการเบิกจ่ายก็ยังมีขนาดเล็กมากประมาณ ห้าหมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินแล้ว เปรียบเหมือนรูรั่วเล็กๆ ของอ่างน้ำขนาดใหญ่ที่มีฝนห่าใหญ่ตกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรเสีย ระดับน้ำย่อมไม่ลดลง

 

ส่วนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ผ่านช่องทางการทำ Forward และเพิ่มสภาพคล่องผ่านธนาคารของรัฐ เป็นเรื่องของการบรรเทาผลกระทบต่อ SMEs จากเงินบาทแข็งค่าซึ่งเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการ แต่ต้องตระหนักว่า มาตรการเหล่านี้มีต้นทุน

 

ผู้ประกอบการแต่ละฝ่ายต่างมีความคาดหวังต่อทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้ส่งออกอยากให้บาทอ่อนเพื่อให้การแข่งขันด้านราคาดีขึ้น ผู้นำเข้าย่อมต้องการบาทแข็งเพื่อซื้อของได้ถูกลง ทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกย่อมต้องการเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่นักเก็งกำไร สถาบันการเงินในส่วนของการค้าเงิน ย่อมได้ประโยชน์จากการผันผวนและสามารถทำกำไรได้จากภาวะดังกล่าว

 

ในสภาวะปกติ การเคลื่อนไหวของค่าเงินจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเป็นไปตามกลไกตลาดหากไม่มีการเก็งกำไรมากเกินขนาด แต่การเก็งกำไรก็เป็นเรื่องปกติในโลกเศรษฐกิจที่ต้องสามารถจัดการให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยรวม กลไกตลาดก็จะทำงานได้ดี

 

กระบวนการปรับตัวตามกลไกตลาดในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน มี 2 กลไก หลัก คือ กลไกด้านราคา (Price Mechanism) และกลไกด้านรายได้ (Income Mechanism)

 

1. กลไกด้านราคา

 

กลไกด้านราคานี้จะทำงานโดยอาศัยปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยและระดับราคาสินค้าภายในประเทศหรืออัตราเงินเฟ้อ ในกรณีของประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินตราต่างประเทศจะไหลออกไปสู่ประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุล เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการ ถ้าไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาลของประเทศขาดดุลจะทำให้ปริมาณเงินในประเทศขาดดุลลดลง (เงินไหลออก) ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงด้วย เพื่อชดเชยการขาดดุลการชำระเงินและสกัดกั้นมิให้เงินตราต่างประเทศไหลออกไปต่างประเทศมากก็จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น เงินตราต่างประเทศของประเทศที่ขาดดุลก็เพิ่มขึ้นส่งผลให้การขาดดุลการชำระเงินลดลงและเข้าสู่ภาวะดุลการชำระเงินสมดุล ในทางตรงกันข้ามกรณีของประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลจะมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามามากจากดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก เนื่องจากประเทศเกินดุลการชำระเงินมีการส่งออกสินค้าและบริการมากกว่าการนำเข้าสินค้าและบริการทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นซึ่งจะไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่เกินดุลลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเกินดุลลดลงก็จะทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศลดลง การเกินดุลการชำระเงินก็จะลดลงจนทำให้ดุลการชำระเงินเข้าสู่สมดุล

 

ส่วนกลไกด้านราคาสินค้าภายในประเทศจะทำงานโดยผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในสินค้ากรณีของประเทศที่ขาดดุลการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศก็จะไหลออกจากประเทศขาดดุลไปสู่ประเทศเกินดุลเพื่อไปชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการทำให้ปริมาณเงินในประเทศขาดดุลลดลงก็จะไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนลดลง และรายได้ประชาชาติก็จะลดลงด้วย เมื่อประชาชนมีรายได้ลดลงก็พยายามลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศจนส่งผลให้การขาดดุลการชำระเงินและเข้าสู่สมดุล ส่วนประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุล ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นและประชาชนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติสูงขึ้น เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะมีการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้การเกินดุลการชำระเงินลดลง และเข้าสู่ภาวะสมดุล

 

สำหรับกลไกด้านรายได้ จะขอกล่าวในตอนต่อไป

!thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...