ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สงสััยจะไม่มีไรเปลี่ยนแปลง มั๊ง ไม่งั้น คุณเสมคงมาบอกแล้วแหละ :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgทองขึ้นๆลงๆผมไม่ไหวหวั่น ถือมาตั้งแต่เขียวแรกไม่กลัวครับ ขอรอ1600ตามใบสั่งอาจารย์เสม

ย่อเก็บครับ เพราะผมเชื่อว่าทองคำชั่วโมงนี้ไม่มีวันตายครับ

ถูกแก้ไข โดย Yai Carmungwed

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ศิษย์พี่เสม กับคุณส้มโอมือไม่ว่างเหรอครับ !10

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสม คะ วันนี้ทอง GF ยังเขียวอยู่มั้ยคะ :rolleyes:

 

ถ้าแดงแล้ว ขอเสียงดัง ๆๆๆ ด้วยนะคะ จะได้ออกไปพร้อมกันค่ะ ขอบคุณค่ะ :wub:

 

 

ขอเสียงด้วยคนคร้า คุณเสม ถ้าแดงแท่งแรกมานะคร้า ขอบคุณคุณเสมและคุณส้มโอมือคร้า 04a97f13.gif 5fc0f220.gif5fc0f220.gif b048a2d2.gif cd08785a.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถือยาวรอ 1600 ตามคุณเสมค่ะ ถ้าว่างก็เข้ามาช่วยชี้แนะบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะคุณเสมและคุณส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgOne thousand six hundred dollars

c5c7ba2a8d2229f122701e500ec82539.gif

ราคานี้ผมไม่ขาย ผมขอรอขายพร้อมอาจารย์เสมครับเพื่อนๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ.เสมคะ set50วันนี้ลงแรงมาก พรุ่งนี้ปิดlong ก่อนหรือถือต่อดีคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาตรการ "ตะกุยน้ำ" รับมือ "QE2"

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4261

 

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve : FED) ประกาศดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) เพิ่มเติม โดยมีแผนจะซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลาร์อีกระลอก ในวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ ความวิตกกังวลเริ่มกลับเข้ามาครอบงำอีกครั้งว่า มาตรการล่าสุดของเฟดอาจนำมาซึ่งกระแสเงินทุนไหลเข้าและแรงกดดันต่อค่าเงินบาทของไทย

 

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้อ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ได้จัดเสวนาเรื่อง "มาตรการ QE2 ของสหรัฐ กับผลกระทบเศรษฐกิจไทย" เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล เศรษฐกรอิสระ อดีตผู้บริหารส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ดร.ศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารกองทุน บลจ.เอ็มเอฟซี ร่วมถ่ายทอดมุมมองต่อแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตอันใกล้ รวมถึงผลกระทบที่จะตามมา และมาตรการที่ประเทศไทยควรนำมาใช้เพื่อรับมือ

 

มูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์ของ QE2 แม้จะน้อยเมื่อเทียบกับวงเงินในรอบแรก ๆ แต่ถามว่าน่ากลัวหรือไม่ ดร.กอบศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงที่เฟดออกมาตรการของ QE1 ก็เป็นตัวเลขไม่สูง ประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์ แต่พอทำจริง ๆ เข้า ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ เพราะเขาเปิดช่องไว้ขยายได้ และครั้งนี้เขาก็เปิดช่องไว้อีก ดังนั้นวงเงินอาจจะมีมูลค่าสูง หรือน้อยกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ก็ได้

 

แต่สิ่งที่จะตามมาคือเงินจะยังไหลเข้าประเทศไทย โดยที่แรงจูงใจในการชักนำเงินทุนเหล่านี้ไม่ใช่ส่วนต่างดอกเบี้ย เพราะเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว ดอกเบี้ยของไทยยังถือว่าต่ำกว่า เหตุผลหลักอยู่ที่นักลงทุนอยากได้กำไรจากค่าเงิน

 

"สังเกตได้จากตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนเริ่มไหลเข้าในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม เพราะก่อนหน้านั้น ธปท.ดูแลค่าเงินได้นิ่งมาก และพอเข้ามาก็ได้กำไรค่าเงินอย่างเดียว 6-7% ภายใน 3 เดือน เทียบผลตอบแทนง่าย ๆ ลงทุนพันธบัตรปีหนึ่งได้เต็มที่ 3% แต่ค่าเงินคืนหนึ่งได้ 5-10 สตางค์ ตีเป็นผลตอบแทนประมาณ 40-80% ต่อปี ชัดเจนว่าเขาอยากได้อะไร"

 

ช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินสหรัฐ มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโลกประมาณ 10 ล้านดอลลาร์ ไหลมาตลาดเกิดใหม่ (emerging market) ประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ ถ้าเพิ่มเข้ามาอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งยังไงเงินเหล่านี้จะต้องหาที่ไป ซึ่งก็คือไหลมาตลาดเกิดใหม่

 

ถ้าตีว่าครึ่งหนึ่งของ 6 แสนล้านดอลลาร์ มาตลาดเกิดใหม่ และมีคนประเมินอีกว่ามีเงินไหลเข้ามาใน emerging market สูงกว่าเดิมมาก ถ้ามากเป็นเท่าตัวจาก 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับพวกเรานี่คือ สถานการณ์ของ "น้ำท่วม"

 

วิกฤตหลายครั้งเกิดจากเงินที่ไหลเข้ามันท่วมระบบ กลายเป็นความทุกข์ของ emerging market ที่มีเงินไหลเข้ามาแล้ว มาท่วมระบบ การจัดสรรทรัพยากร เลือกปล่อยสินเชื่ออาจจะเลือกให้แบบผิด ๆ ถูก ๆ ถ้าโตทีละ 30% มันเหมือนน้ำท่วมเครื่อง และจบลงที่การเงิน หนี้เสีย สร้างความเปราะบาง เป็นที่มาของความลำบาก ในช่วงต่อไป การเพิ่มเข้ามาอีก 6 แสนล้านจึงเป็นตัวเลขที่มากและน่ากังวล

 

"ผมคิดว่าปัญหาจริง ๆ ไม่ได้อยู่ที่ไม่มีสภาพคล่อง มันมาก เกินพอ มันมีปัญหาที่งบดุล (balance sheet) ซึ่งสหรัฐตอนนี้ยังไม่แก้ ดูจากราคาหุ้นของซิตี้แบงก์จาก 55 ดอลลาร์/หุ้นตอนก่อนวิกฤต ลงไปต่ำกว่า 1 ดอลลาร์/หุ้นช่วงวิกฤต จากนั้นก็ขึ้นมาอยู่ที่ 4 ดอลลาร์/หุ้น และไม่ไปไหนเลย ซึ่งสะท้อนว่าสิ่งที่อยู่ในงบดุลของเขาไม่ดีและกำลังกินทุน"

 

กระแสทุนไหลบ่าที่ยากจะฝืน

 

ในมุมมองของ ดร.กอบศักดิ์ไม่มีใครฟันธงได้ว่า เงินบาทจะไปอยู่ตรงไหน แต่สามารถดูได้ว่าเงื่อนไขอื่น โดยเฉพาะจากเงินดอลลาร์ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ชัดเจนว่า ดอลลาร์อ่อนค่าแน่ เพราะปัญหาในสหรัฐยังไม่จบ และเมื่อเงินหยวนแข็งค่า เงินเอเชียแข็งค่า และเงินทุนก็ไหลเข้า รวมกันแล้วทิศทางที่บาทจะอ่อน ไม่ง่าย และตอนนี้ที่แข็งไปพร้อมกันทั้งภูมิภาคก็ยิ่งยากที่จะดูว่า บาทจะแข็งไปถึงระดับใด

 

"ถ้าเรารู้ว่าดอลลาร์ไปทางไหน ก็จะรู้ว่าบาทจะเป็นอย่างไร" ดร.กอบศักดิ์ตั้งข้อสังเกตไว้ แต่ขณะเดียวกันก็เตือนว่า อย่าไปกังวลเรื่องตัวเลข เพราะตอนนี้เห็นแล้วว่า ดอลลาร์จะอ่อน และจะส่งผลถึงประเทศไทย ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ในขณะนี้คือ ประวิงเวลาให้ ผู้ส่งออกปรับตัวได้

 

"คำถามว่าจะใช้กระสอบทรายไหนที่จะมาช่วยต้านกระแสเงินที่จะไหลเข้ามา จริง ๆ เรื่องนี้น่าสนใจ ผมว่าเราต้องกลับมานั่งคิดว่า ปัญหาครั้งนี้คือปัญหาอะไร ถ้ามันคือปัญหาน้ำท่วม ท่วมเยอะ หรือท่วม 1-2 วันลด วิธีการดีลกับปัญหามันจะแตกต่างกัน"

 

แต่รอบนี้มันท่วมเยอะและนาน ปัญหาที่ตามมามี 3 อย่าง คือ ปัญหาค่าเงิน ปัญหาฟองสบู่ และความเปราะบางที่จะเกิดขึ้นกับภาคธนาคาร ซึ่งเราต้องคิดว่าเราจะทำอะไรกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้บ้าง

 

สิ่งแรกที่เราจะต้องเข้าใจคือครั้งนี้มันคงยากที่จะฝืน ถ้าเข้าใจจุดนี้ผิด มาตรการก็จะผิด เหมือนติดกระดุมผิดมันก็ผิดทั้งหมด มันจะแก้ปัญหายาก ปัญหาครั้งนี้มันมาจากดอลลาร์เสื่อมค่า ต่อให้ทำยังไงเงินบาทก็ไม่กลับไปเหมือนเดิม ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน ไม่เช่นนั้นจะเรียกร้องผิดและใช้เวลากับสิ่งที่ผิด

 

ตะกุยน้ำให้อยู่รอด

 

ต่อจากนี้สิ่งที่ต้องทำต่อไปจึงไม่ใช่ตั้งกระสอบทราย แต่ต้องตะกุยน้ำ ๆ เรียนรู้ว่าน้ำมาแล้วท่วมแน่ แต่จะตะกุยให้ลอยคอให้อยู่ได้อีก 2 ปี ต่อจากนี้ได้อย่างไร ซึ่งมันมีทางออก 3-4 ประเด็น ที่เราทำได้

 

ประการแรกคือ ซื้อเวลา โดยมีมาตรการดูแลค่าเงิน แต่มาตรการที่จะออกมาคือดูแลให้อยู่ได้อย่างไรแม้เงินบาทจะแข็ง ผู้ส่งออก สภาอุตฯก็ต้องเรียกร้องลักษณะว่า เงินบาทแข็งได้นะ แต่อย่าเร็วเกินไป เมื่อตกลงกันได้แล้วก็ไปทำนโยบาย

 

"ส่วนที่มีเสียงเรียกร้องว่าฝืนได้ไหม ถ้าประเทศอื่นผมว่าเรียกร้องได้ แต่ประเทศไทยเราทำมาหมดแล้ว มาตรการสั่งให้อยู่เกิน 6 เดือนก็สั่งมาแล้ว สั่งห้ามฝากก็สั่งแล้ว สารพัดอย่าง แม้กระทั่งไปยึดเงินเขามา 30% ก็ทำมาแล้ว และบทเรียนคือทำแล้ว ค่าเงิน ก็ยังแข็งภายใต้มาตรการดังกล่าว เพราะปัญหามาจากดอลลาร์เสื่อมค่า"

 

นี่จึงเป็นที่มาว่า มาตรการเหล่านี้ช่วยชั่วคราวและจำกัด ทำไปอย่าไปหวังพึ่ง และอย่าไปฝืนตลาดมากนัก

 

ประการที่ 2 สร้างดีมานด์ในประเทศ เพราะมาตรการดูแลค่าเงินต้นทุนแพงมาก ระหว่างซื้อเวลา ต้องเอาเวลาเหล่านั้นไปทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาทดแทนให้เราอยู่รอดได้ เช่น กระตุ้นการลงทุนในประเทศมากขึ้น อาทิ ในโครงสร้างพื้นฐาน หรือตอนนี้เราก็ส่งออกในเอเชียประมาณ 60-70% ถ้าส่งออกมากขึ้น เราจะผ่าน 2-3 ปีข้างหน้าไปได้

 

ประการที่ 3 ที่ต้องทำหลังจากซื้อเวลาไปแล้วคือปรับตัว คือมาตรการตะกุยน้ำ นอกจากรัฐบาลแล้ว เอกชนก็ต้องตะกุย ช่วยตัวเอง ผมได้คุยกับประธานสภาอุตสาหกรรมฯ บอกว่า ตอนนี้กำลังหาสมาชิกที่ปรับตัวเก่ง ๆ แล้วจะเขียนคู่มือและส่งให้สมาชิกทุกคน ว่าตอนน้ำท่วมฉันจะตะกุยน้ำอย่างไร

 

ประการที่ 4 ปรับกรอบนโยบายเศรษฐกิจให้เอื้อกับการปรับตัวในยุคค่าเงินแข็ง ถ้าแนวคิดตั้งต้นยอมรับว่า ครั้งนี้จะเป็นความท้าทายที่ยาวนาน การคิดที่ถูกต้อง ผมว่าสำคัญมากเลย ถ้าคิดผิดตั้งแต่ต้นว่าฝืนได้ มาตรการก็ผิดไปด้วย

 

รัฐบาลก็ต้องมานั่งคิดในเรื่อง เช่น ให้เงินบาทไปลงทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น คิดเรื่องการปรับแรงงานให้ออกจากเซ็กเตอร์ที่ตกงานไปที่มีงานทำ นี่คือมาตรการปรับตัว ตะกุยน้ำ ตัวอย่างที่ดี ญี่ปุ่นเคยอยู่ 300 เยน/ ดอลลาร์ และมาอยู่ 124 เยน/ดอลลาร์ ในไม่กี่ปีให้หลัง ก็ยังอยู่ได้ หน้าที่เราคือไปเรียนรู้ว่าเขาอยู่รอดกันมากได้อย่างไร และนำมาตรการที่เขานำมาทำกับคนไทย

 

ประการสุดท้าย ที่สำคัญคือต้องดูแลภาคธนาคารให้ดี เช่น การทำ Macro Prudential ที่เงินไหลเข้าไปตรงไหนก็ให้ห้ามเป็น จุด ๆ เก็บกวาดตรงนั้น เพราะสุดท้ายโจทย์ทั้งหมดอยู่ที่ว่าเรา ทำภาคธนาคารให้เข้มแข็งอยู่ได้หรือไม่

 

นี่คือตัวอย่างว่า ไม่ใช่มีเงินไหลเข้ามาแล้วจะต้องเกิดวิกฤต แต่มันเป็นโจทย์ว่าเราจะบริหารเงินไหลเข้าอย่างไรไม่ให้สร้างความลำบาก ไม่ให้น้ำที่ขังอยู่ "เน่า" ถ้าทำได้จะดีตั้งแต่มาตรการแรก ซื้อเวลา ถัดมาซื้อห่วงยางให้ลอยคออยู่ได้ สุดท้ายคือทำอย่างไรที่ทำให้น้ำนั้นไม่นำไปสู่สิ่งเน่าเสียในระบบ นี่คือมาตการตะกุยน้ำ ถ้าเตรียมการดี เราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้

 

ขณะที่ ดร.ศุภกรมองว่า การปรับตัวของเศรษฐกิจมีเครื่องมือมากมาย อาทิ ฟอร์เวิร์ด นอกจากมาตรการป้องกันสกัดกั้นระยะสั้นแบบเบา ๆ แล้ว เราควรมีแนวโน้มการจูงใจให้นักลงทุนออกไปซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา หรือที่อื่น ๆ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ เช่น การออกไปตั้งโรงงานในต่างประเทศก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เพราะการที่ของเขาถูกมาก ทำให้เขามีการเทกโอเวอร์กันเองมากมาย

 

"การสกัดผมอยากให้ทำแบบเบา ๆ ผมเชื่อว่าการสกัดกั้นเป็นอะไรที่เป็นการฝืน ถ้าทำก็ต้องคิดดี ๆ ดูว่าจะใช้มาตรการอะไร แต่เราควรหาลู่ทางของเราเองด้วย อาทิ การปรับตัวของเราเอง เพราะค่าเงินที่แข็ง แข็งทั้งภูมิภาค และเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ค่าเงินแข็งหรือไม่ เม็ดเงินที่ท่วมระบบ เราควรนำเงินไปลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีค่าเงินถูกกว่าเราหรือไม่"

 

"ความจริงข้อหนึ่งคือขั้วการฟื้นตัวอยู่ที่เอเชีย ขั้วแห่งการผลักโลกอยู่ที่เอเชีย ผมคิดว่าเราควรมองว่าไม่ใช่แค่บาทแข็ง แต่สกุลเงินทั้งหลายในเอเชียแข็งเหมือนกันหมด อย่างออสเตรเลียดอลลาร์แข็งกว่าเรา และเขาพึ่งส่งออกเหมือนกัน วอนเกาหลีใต้ก็แข็งเหมือนกัน ดังนั้นผลกระทบจากอเมริกาที่ค่าเงินดอลลาร์เสื่อมค่า ฉะนั้นเราต้องเรียนรู้และปรับตัวที่จะอยู่กับมัน มาตรการอะไรต่าง ๆ ที่จะทำ ผมเชื่อว่าเป็นเพียงแค่ชะลอไม่ให้เกิดขึ้นเร็วนัก เพราะบาทต้องแข็งเหมือนสกุลเงินอื่น ๆ ดังนั้นควรมองหาช่องทางอื่น ๆ ไม่ว่าการลงทุนในประเทศ การบริโภคในประเทศ เราต้องปรับตัว ใช้จังหวะที่เม็ดเงินถูก ๆ แบบนี้ และเป็นช่องทางให้ไทยผ่านเม็ดเงินเหล่านี้ไปยังเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน เพราะเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับภาวะเช่นนี้อีก 2 ปีข้างหน้า"

 

จึงเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้เราผ่านพ้นความผันผวนดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

หน้า 2

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรูณสวัสดิ์คุณส้มโอมือ จารย์เสม

 

 

 

T211010_07C_r.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...