ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

‘เวิลด์แบงก์’วอนจี-20 หวนสู่ทองคำ เป็นหลักอิงแก่อัตราแลกเปลี่ยนโลก

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2553 00:45 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต เซลลิก เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวันจันทร์(8) เรียกร้องชาติสมาชิกกลุ่มประเทศจี-20 ให้ร่วมใจกันนำทองคำกลับมาเป็นหลักอิงให้แก่การความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนภายในระบบการเงินโลก

 

การออกมาเร่งเครื่องในจังหวะที่เหล่าผู้นำของกลุ่มจี-20 ที่ประกอบด้วยชาติพัฒนาแล้วและชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่รายใหญ่ๆ ของโลก จะประชุมสุดยอดกันที่กรุงโซล ในวันพฤหัสบดี(11) และวันศุกร์(12) นี้ อยู่บนความหวังว่า แนวทางดังกล่าวน่าจะช่วยยกเครื่องกลไกหลักของระบบเศรษฐกิจโลก ในยามที่สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศอยู่ในภาวะตึงเครียดรุนแรง ควบคู่การเดินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังโหมเชื้อเพลิงให้เกิดสงครามหั่นค่าเงินในระหว่างประเทศคู่ค้าทั้งปวง

 

เซลลิกบอกว่า โลกต้องการระบบการเงินใหม่ที่จะสามารถสืบทอดระบบ “เบรตตัน วู้ดส์ 2” อันเป็นระบบค่าเงินลอยตัวที่โลกใช้สืบมานับจากปี 1971 โดยในปีนั้นนานาชาติต้องผละออกจากระบบตรึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินแบบตายตัวที่ผูกอยู่กับมาตรฐานทองคำ

 

ระบบใหม่นี้ “มีแนวโน้มที่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องอยู่กับเงินดอลลาร์ เงินยูโร เงินเยน เงินปอนด์ และเงินเหรินหมินบี้ (เงินหยวนของจีน) ทั้งนี้เงินตราของจีนนั้นกำลังเคลื่อนไหวสู่ความเป็นนานาขาติ และจากนั้นก็คงจะตามมาด้วยระบบบัญชีเงินทุนแบบเปิด” ประธานเซลลิกเขียนไว้อย่างนั้น พร้อมกับบอกด้วยว่า

 

“ระบบนี้ยังควรพิจารณานำเอาทองคำมาเป็นจุดอ้างอิงระหว่างประเทศในกรณีที่จะคาดการณ์ในเรื่องเงินเฟ้อ เงินตึงตัว ตลอดจนมูลค่าของสกุลเงินต่างๆ ในอนาคต” เซลลิกบอกและชี้ต่อไปว่า “แม้ว่าตำราต่างๆ อาจมองว่าทองคำเป็นเงินโบราณ แต่ปัจจุบัน ตลาดล้วนแต่ใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์การเงินทางเลือกกันทั้งนั้น”

 

แม้ว่าการตั้งต้นเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คราวนี้ จะต้องใช้เวลามากในการปรับระบบ กระนั้นก็ตาม “เราจำเป็นต้องเริ่มตั้งต้นกันเสียที” เซลลิกเขียน

 

นอกจากนั้น ประธานธนาคารโลกยังเรียกร้องในประเด็นข้างเคียงด้วยว่า จีนจะต้องเร่งสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่สหรัฐฯ จะต้องเร่งลดภาระหนี้ภาครัฐ

 

ข้อตกลงเบรตตัน วู้ด ตัวดั้งเดิม ได้วางกรอบที่มีสหรัฐฯ เป็นตัวนำ ในอันที่จะสร้างเสถียรภาพของระบบการเงินโลกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่เงินดอลลาร์ถูกตรึงอยู่กับทองคำ ตลอดจนมีการควบคุมเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหลของทุน

 

มาตรฐานทองคำนั้นเชื่อกันว่ามาช่วยกางกั้นปัญหาเงินเฟ้อ แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่เปิดทางแก่นโยบายการเงินแบบเน้นความคล่องตัว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อว่าเป็นนโยบายที่จำเป็นต้องใช้ในอันที่จะตอบโต้กับภาวะชะงักงันรุนแรงในทางเศรษฐกิจ

 

ระบบมาตรฐานทองคำถูกโยนทิ้งไปโดยอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐฯ ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นในปี 1971 ขณะที่มูลค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับทองคำนั้น อยู่ในภาวะดิ่งเหว อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ราคาทองคำอยู่ในทิศทางขาขึ้นร้อนแรง เพราะนักลงทุนแห่ไปฝากผีฝากไข้ไว้แบบระยะยาว เพื่อหลีกผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้ออักเสบรุนแรง และปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ ในยามที่มีการสร้างหนี้ภาครัฐไว้อย่างมหาศาล

 

ความเห็นของประธานธนาคารโลก มีออกมาในช่วงที่กระแสก่อตัวของ “สงครามเงินตรา” กำลังเชี่ยวกราก ในเมื่อหลายต่อหลายชาติได้แสดงความไม่พอใจที่ค่าเงินของพวกตนถูกผลักให้แข็งขึ้นอย่างรุนแรง ในช่วงแรกนั้น สหรัฐฯ เร่งเครื่องกดดันจีนให้ปล่อยให้เงินหยวนสะท้อนความเป็นจริงด้วยการยุติการแทรกแซงตลาดเงิน โดยมีการกล่าวหาว่าจีนเล่นขี้โกงในเวทีการค้าโลก ด้วยการทำให้ค่าเงินของตนอ่อนตัวอย่างไม่สมด้วยเหตุผล

 

แต่มาในวันนี้ นานาชาติมองว่า ทางการวอชิงตันเองกลับปล่อยให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าอย่างมากมาย ผ่านมาตรการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น ส่งผลให้สกุลเงินของระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ทั้งปวงต้องแข็งขึ้น พร้อมกับสร้างความเสียหายต่อศักยภาพการแข่งขันในภาคส่งออกของระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้

 

เสียงโวยในระดับนานาชาติหนาหูมากขึ้นเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะทยอยอัดฉีดเงินเข้าระบบ 6 แสนล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนข้างหน้า ซึ่งหมายถึงปัญหาที่ทุบตีชาติต่างๆ ในขณะนี้ จะทวีความรุนแรงยิ่งๆ ขึ้นไป

 

------------------------------------------------------------

555สิ่งที่ผมเกริ่นนำมาบ่อยๆมาหลายปีแล้วเริ่มชัดเจนขึ้น ทองคำอดีตเงินตราอันดับ1ของโลกมาอย่างยาวนาน จะกลับมาทวงตำแหน่งแชมป์คืน แชมป์ปัจจุบันอ่อนปวกเปียกขนาดนี้แต่ทองคำรีเทรินกลับด้วยกำลังมหาศาล แรงขนาดนี้2500เหรียญจะต้านอยู่มั้ยนะ(ผมเดานะ ทางเทคนิคไม่รู้เรื่องเลย)5555

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจจีน ยังมีอะดรีนาลีนอีกแค่ไหน?

ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงและการเงิน boontham.r@ku.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

คำถามที่ผมมักจะได้รับจากนักธุรกิจในตอนนี้ คือ เศรษฐกิจจีนจะยังคงร้อนแรงต่อเนื่องไปอีกนานแค่ไหน จากการที่ประเทศจีนมีอัตราการเจริญเติบโตสูงตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10 ในช่วงที่ประเทศตะวันตกเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าความร้อนแรงดังกล่าวจะไปได้อีกขนาดไหน ในเมื่อมหาอำนาจฝั่งตะวันตกต่างพยายามกดดันจีนผ่านมาตรการในรูปแบบต่างๆ ให้ลดความได้เปรียบทางการค้าและเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ เพื่อจะบรรลุสิ่งที่เรียกกัน ว่า "ความสมดุลทางเศรษฐกิจโลก"

 

ในความเห็นของผม จุดใหญ่ที่น่าจะทำให้ความร้อนแรงหรืออะดรีนาลีนทางเศรษฐกิจของจีน อาจต้องลดลงมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ ได้แก่

 

หนึ่ง การปรับตัวภายในของจีนเอง จากรายงานของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบภายในจีดีพีของจีน จะพบว่าสัดส่วนของการลงทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจากที่เคยมีอยู่ไม่ถึงหนึ่งในสามจนมีขนาดถึงเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่วนการบริโภคมีปริมาณลดลงจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ร้อยละ 45 เหลือเพียงแค่ร้อยละ 36 (รูป 1) ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของจีนในตอนนี้มีอยู่ไม่ถึงหนึ่งในห้าของสหรัฐ ระดับรายได้ดังกล่าวนี้เทียบเคียงได้กับญี่ปุ่นและเกาหลีในช่วงทศวรรษที่ 50 และ 70 ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศขนาดใหญ่อื่นๆ ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ดี ไม่มีประเทศใดที่จะคงสัดส่วนการลงทุนลักษณะดังกล่าวตลอดไปได้ รูปแบบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นไปในลักษณะที่เมื่อปริมาณการลงทุนมีมากเข้า ผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงต่อมาก็จะลดลง ซึ่งจีนเองก็มิอาจหนีวัฏจักรดังกล่าวไปได้ ไม่ช้าก็เร็ว สัดส่วนการบริโภคต้องสูงขึ้นและการลงทุนต่อจีดีพีจะลดลงตามลำดับ โดยรายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า หากจะให้การบริโภคเป็นหัวหอกของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รายได้หลังหักภาษีของประชาชนจีนต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงกว่าการเติบโตของจีดีพี นั่นคือ รายได้หรือเงินเดือนที่ประชาชนได้รับจากนายจ้างต้องสูงกว่าเดิม ซึ่งหมายถึงกำไรของบริษัทต้องลดลง ส่งผลให้ระดับการลงทุนลดลงด้วย

 

สิ่งสำคัญสำหรับจีน คือ จะต้องบริหารอัตราดอกเบี้ยให้การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทั้งสองดำเนินไปด้วยความราบรื่นที่สุด เพราะหากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป การลงทุนก็อาจลดลงรุนแรงกว่าการเพิ่มขึ้นของการบริโภคเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลให้โมเมนตัมการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจสะดุดลงได้ ล่าสุดธนาคารกลางของจีนได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 นอกจากเป็นการหยุดความร้อนแรงในภาคอสังหาริมทรัพย์แล้ว ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

 

สอง การบริหารปัจจัยภายนอกหรือที่เรียกกันว่า ‘สงครามค่าเงิน’ จากบทเรียนของญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 80 ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเติบโตจนถึงขีดสุดก็หยุดการเติบโตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐและจีน พยายามจะเลี่ยงนโยบายอะไรก็ตามที่ญี่ปุ่นดำเนินการในช่วงนั้น ซึ่งปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐ (รูป 2) กำลังเข้าใกล้รูปแบบของญี่ปุ่นในอดีต ทำให้สหรัฐต้องเร่งแก้ไข นอกจากนี้ จากวิกฤติการเงินที่ผ่านมา สหรัฐได้เรียนรู้ว่าการเป็นผู้บริโภคด้วยการก่อหนี้ผ่านตราสารทางการเงินแปลกๆ แล้วขายให้นักลงทุนทั่วโลก โดยมิได้เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เป็นหนทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ณ วันนี้ ความสามารถทางการแข่งขันของสหรัฐตกต่ำลงมากจนตามจีนไม่ทัน วิธีเดียวที่จะทำให้สหรัฐส่งออกได้ คือ การบีบให้จีนขึ้นราคาสินค้าผ่านการแข็งค่าของเงินหยวน

 

ทางการสหรัฐจึงเตรียมจะออกนโยบายเงินแบบผ่อนคลายครั้งใหญ่ อาทิเช่น QE2 เพื่อฉุดให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง (นั่นคือ เงินหยวนแข็งค่าขึ้น) นอกจากนี้ ยังส่งผลกระตุ้นให้อุปสงค์ภายในประเทศของจีนสูงขึ้น เพื่อชดเชยกับการส่งออกสุทธิของจีนที่ลดลงจากนโยบายดังกล่าว

 

ล่าสุด ดร.อดัม โพเซน สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ ได้ออกโรงช่วยเชียร์แบบอ้อมๆ ให้ประเทศกำลังพัฒนาดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ แน่นอนว่า จีนก็คงไม่อยากผิดพลาดซ้ำรอยญี่ปุ่น จึงพยายามจะไม่ดำเนินการมาตรการดังกล่าว ด้วยการผลักภาระให้ระดับราคาของอเมริกาลดลงผ่านมาตรการค่าเงินที่อ่อนของตนเอง

 

เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็จ้องรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ประเทศที่เป็นฝ่ายรุกอย่างสหรัฐซึ่งสามารถปั๊มเงินเข้าสู่สมรภูมิค่าเงิน ย่อมได้เปรียบกว่า เนื่องจากหากผลิตเงินเข้าสู่เศรษฐกิจโลกมากๆ กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีน จะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ ทำให้ราคาสินค้าที่จะส่งออกแพงขึ้น ในขณะที่ฝ่ายรับอย่างจีนนั้น สามารถตอบโต้ได้ด้วยการขึ้นค่าเงิน การแทรกแซงด้วยการซื้อดอลลาร์ และการควบคุมกระแสเข้าออกของเงินทุน แต่จะเห็นได้ว่าทางเลือกทุกทางล้วนมีข้อจำกัด แม้สามารถทำได้แต่คงไม่ตลอด โดยเฉพาะทางออกสุดท้ายนั้น ย่อมจะกระเทือนต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

และนี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ชี้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะยังเติบโตต่อไปได้หรือไม่ โดยหากการบริหารจัดการปัจจัยภายนอกของจีนไม่ดีพอ ย่อมจะส่งผลให้การส่งออกของจีนลดลงมาก เกิดผลเสียต่อกระบวนการปรับตัวของเศรษฐกิจจากการลงทุนมาสู่การบริโภคให้มีอันต้องสะดุดลง เนื่องจากการบริโภคมิสามารถเพิ่มขึ้นมาได้ หากภาคเอกชนของจีนไม่สามารถส่งออกได้ดีเหมือนเดิม ย่อมมีผลให้รายได้ของบริษัทลดลง และไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างได้ในที่สุด

 

ทว่าผลลัพธ์ที่จบแบบบานปลายเช่นนี้ ย่อมมิใช่สิ่งที่สหรัฐพึงปรารถนา เนื่องจากเศรษฐกิจของตนเองต้องพลอยเจ็บตัวแบบสะบักสะบอมไม่น้อยเช่นกัน การเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งทางสายกลางร่วมกันจึงน่าจะเกิดขึ้นในการประชุมจี 20 ที่กรุงโซล สัปดาห์หน้า คำถาม ก็คือ สองบิ๊กทางเศรษฐกิจโลกซึ่งดำเนินนโยบายแบบที่เหมือนกับเส้นขนาน จะปรับท่าทีเข้าหากันด้วยกุศโลบายและบรรทัดฐานใด อีกทั้ง ณ จุดไหนถึงจะเรียกได้ว่าเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

 

คงต้องมารอดูว่าระหว่าง อะดรีนาลีนของเศรษฐกิจจีน และสเตอรอยด์ทางการเงินของสหรัฐ อย่างไหนจะมาแรงกว่ากัน

 

------------------------------------------------------------------------------

-------ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ-------[/size]

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณบทความดีๆของคุณส้มโอมือนะครับ

!01 !01 !01 !gd !gd !gd !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอ.. ตอนนี้ GF ถือว่าตกรถหรือยังคะเนี่ย.. !38

 

ตกไปเเล้วครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขาย HMPRO ตามระบบไปด้วยแล้วค่ะ :wacko: ตามมา 2 ไม้แล้ว อิอิ ขาดทุนทั้งสองเลย...

 

คุณเสมได้ส่อง IRPC, TMB บ้างรึเปล่าค่ะ เห็นวันศุกร์ระบบปิดเขียวแรก น่าสนใจมั้ยค่ะ ขอความคิดเห็น

 

ผมไม่ได้ส่อง 2 ตัวนี้อะครับ หลักการเล่นหุ้นของผม

ผมจะจัด port หุ้นเเล้วเลือกหุ้นตสใต้องการครับ เเล้วซื้อ ขายเเต่หุ้นที่เลือกไว้เท่านั้น ตัวอื่นที่ไม่เลือกก็จะไม่เล่นครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาไม่น่ามาเยือนเอเชียช่วงปีใหม่ของอินเดียเลย ปี 2010 เลยไม่เหมือนปี 2008 ที่ราคาทองขยับขึ้น

แถมทั้งอาทิตย์นี้ป้วนเปี้ยนอยู่แถวเอเชียเสียด้วย ทำเหมือนเอาใจคนเอเชีย ไม่ให้เกิดค่าเงินเอเชียแข็ง ถ้าคะแนนเสียงจะดีๆๆๆๆ อยู่ เศรษฐกิจดีๆๆ อยู่

ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทองขึ้น แต่นี่ คะแนนเสียงไม่ดี จำนวน สส. ก็โดนพรรคอีกพรรคยึดครองเสียงข้างมาก ทำคะแนนยังไงก็ไม่ขึ้น เลยทำให้ทั้ง

อาทิตย์นี้ ราคาทองตกอยู่ในภวังค์ว่ายวนเวียนวน เซ็งเป็ดจริงๆๆๆๆ

 

เป้าหมายเด็กๆๆที่ $1600

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมไม่ได้ส่อง 2 ตัวนี้อะครับ หลักการเล่นหุ้นของผม

ผมจะจัด port หุ้นเเล้วเลือกหุ้นตสใต้องการครับ เเล้วซื้อ ขายเเต่หุ้นที่เลือกไว้เท่านั้น ตัวอื่นที่ไม่เลือกก็จะไม่เล่นครับ

 

คุณเสมมีหลักการเลือกตัวหุ้นยังงัยค่ะ เช่น สมมุติ ต้องการลงทุนในหุ้นสัก 500,000 ควรลงทุนในหุ้นสักกี่ตัว และเลือกตัวหุ้นตัวไหน

ขอบคุณค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีจ้าเสี่ย มาให้อุ่นใจกันแต่เช้าขอแซวสักหน่อย

ขอบใจนะจ๊ะสำหรับข้อมูล

ปล. ไม่รู้เสี่ยจำพี่แดงได้ไหม พี่แดงเปลี่ยน login ไม่ได้ post หาสะนาน

อากาศหนาว ๆ ดูแลสุขภาพด้วยจ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ

รอผู้วิเคราะห์ผีเสื้อกราฟน้ำมันครับ :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สอบถามคุณเสมค่ะ

 

ถ้าหุ้นโฮมโปร เขียวบ้องแรกมาอีกไร ช่วยบอกด้วยนะคะ

 

ขอบคุณมากค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสมคะ

 

จะซื้อทองแท่งตอนนี้ ดีไหมคะหรือว่าน่าจะมีย่อแล้วค่อยซื้อคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสมมีหลักการเลือกตัวหุ้นยังงัยค่ะ เช่น สมมุติ ต้องการลงทุนในหุ้นสัก 500,000 ควรลงทุนในหุ้นสักกี่ตัว และเลือกตัวหุ้นตัวไหน

ขอบคุณค่ะ

 

เอาเเบบง่ายๆเลยนะครับ

เป็นผมจะเลือกเล่น สัก 10 ตัว ตัวละ 50,000 ครับ เลือกหุ้นใน SET50 อะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...