ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เขียวครับ

 

คุณเสมคิดว่าจะลงต่ำกว่า 1364.30 หรือเปล่าครับ !10

ถูกแก้ไข โดย tum

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

9c08e63f020003cc140171f4094bbeba.jpg

 

มีของถูกกว่าหมื่นเก้าเจ็ด แม่บ้านผมสั่งลุยเต็มที่ครับเพื่อนๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซึ้งมากมาก แทบน้ำตาเล็ด

 

มีคุณยายแก่ชราคนหนึ่ง มีอาชีพขายขนมไทย

แต่ขายได้ไม่ดีนัก เพราะขนมไทย ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าใด

ทุกเช้า จะมีชายหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่ง มาซื้อขนมกับแก

โดยชายหนุ่มจะยื่นเงินให้ยายคนนั้น 20 บาท และหยิบขนมห่อเล็กๆไป๑ห่อ

แล้วเดินหันหลังกลับไปโดยไม่สนใจเงินทอนแม้แต่น้อย

ปล่อยให้หญิงชราจ้องมองตามจนสุดสายตาทุกครั้งไป

ชายหนุ่มคนนั้นทำเช่นนี้มาตลอทุกวันไม่มีขาด

อยู่มาวันหนึ่ง ชายหนุ่มก็ทำเช่นเดิม ยื่นเงินให้ยาย 20 บาท แล้วจะเดินจากไป

แต่คราวนี้ ยายจับแขนชายหนุ่มไว้ แล้วเอ่ยปากว่า "พ่อหนุ่ม"

ชายหนุ่มรีบตอบกลับว่า "ยายครับ ยายไม่ต้องสงสัยหรือเอ่ยถามหรอกครับ

ผมทำแบบนี้ทุกวัน เพราะผมอยากช่วยยายครับ" ชายหนุ่มตอบพลางยิ้มอย่างอ่อนโยน"

 

 

 

 

 

ยายตอบกลับ ว่า

 

 

 

 

 

 

" เปล่า.. ยายจะบอกว่า ขนมยายราคา 25 บาท."

 

เฮ้ออออออออออออออออออออ....

 

สรุป อย่าคิดและตัดสินใจแทนผู้อื่น 55555555555555555555555555555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

$1370 มาเเล้วครับ เมื่อวาน จะมาอีกไหม ต้องรอดูครับ

ขอบคุณค่ะคุณเสม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิวัฒนาการของการเก็งกำไร

โลกในมุมมองของ Value Investor : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

ในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่องยาวนานเป็นตลาดกระทิงนั้น หุ้นที่มักได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักลงทุนรายย่อย ก็คือ "หุ้นเก็งกำไร" หุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้นเก็งกำไรนั้น ผมขอให้คำนิยามอย่างง่ายที่สุด ก็คือ เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายหมุนเวียนสูงมาก เมื่อเทียบกับหุ้นที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดที่เรียกกันว่า Free Float ตัวอย่างเช่น บริษัทมีหุ้นทั้งหมด 1,000 ล้านหุ้น แต่มีหุ้นเพียง 300 ล้านหุ้น ที่อยู่ในมือของคนเล่นหุ้น หรือมีหุ้น Free Float อยู่ 300 ล้านหุ้น ที่เหลือเป็นหุ้นของเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มักจะไม่ขายออกมาในตลาด ถ้าหากหุ้นตัวนี้มีปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันสูงถึง 300 ล้านหุ้น แบบนี้ก็แปลว่าคนที่เล่นหุ้นตัวนี้มีการซื้อขายเร็วมาก กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้วจะซื้อและถือหุ้นเพียงวันเดียวก็ขายแล้ว พวกเขาซื้อเพราะหวังที่จะได้กำไรอย่างรวดเร็ว จากการที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นในวันเดียว คนที่เล่นหุ้นตัวนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่ต้องการถือยาวเพื่อรอกำไร และปันผลที่จะตามมา

 

ปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขนาดไหน จึงจะถือว่าเข้าข่ายเป็นหุ้นเก็งกำไรนั้นผมไม่สามารถบอกได้เพราะมันขึ้นอยู่กับ "ดีกรี" ของการเก็งกำไรของหุ้นตัวนั้น ๆ ถ้าเป็นหุ้น "ตัวเล็ก" มี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นไม่ถึง 10,000 ล้านบาท แต่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นติดอันดับหนึ่งในสิบของตลาดเป็นประจำหรือบางวันเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุดในตลาด แบบนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นหุ้น "เก็งกำไรรุนแรง" และนี่คือ หุ้นที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ สิ่งที่ผมจะพูด ก็คือ ข้อสังเกตของผมที่เคยเห็นหุ้นเก็งกำไรมายาวนานว่ามันมี "วิวัฒนาการ" อย่างไร

 

ประการแรก ที่ผมเห็นและน่าจะเป็นสิ่งที่จะยังอยู่ต่อไปอีกนาน ก็คือ หุ้นเก็งกำไรนั้นมักจะเป็นหุ้นตัวเล็กและ/หรือมี Free Float น้อย นี่เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนและก็คงเปลี่ยนได้ยาก เพราะหุ้นที่ตัวใหญ่ หรือมี Free Float สูงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะ "ไล่ราคา" หรือ "ทำราคา" ให้วิ่งได้เร็วหรือง่าย

 

ประการที่สอง ที่ผมเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือมี "วิวัฒนาการ" ของการเก็งกำไรชัดเจน ก็คือ ในอดีตนั้น "สปอนเซอร์" หรือคนที่เป็น "ผู้นำ" ในการเก็งกำไรนั้น มักจะมีเพียงรายเดียวหรือเพียงสองสามรายที่เป็น "รายใหญ่" ที่มีชื่อเสียงในตลาดหุ้น แต่ปัจจุบันนั้น คนที่เป็น "ผู้เล่นหลัก" ในหุ้นเก็งกำไรแต่ละตัวนั้น มักจะมีหลายคนหรืออาจจะเรียกว่า "เล่นกันเป็นกลุ่ม" และมักจะรวมถึงคนที่มี "ชื่อเสียง" ในวงการด้วย

 

ประการที่สาม หุ้นเก็งกำไรในอดีตนั้น มักจะเป็น "หุ้นเน่า" คือ เป็นหุ้นที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่เลวร้าย เพียงแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่อาจจะร้อนแรงและสปอนเซอร์หรือเจ้าของบริษัทที่อาจจะร่วมมือด้วยช่วยกัน "สร้างข่าว" กระตุ้นราคาหุ้นตลอดเวลาพร้อมๆ กับการซื้อขายหุ้นนำเพื่อสร้างราคาหุ้นให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน หุ้นเก็งกำไรนั้น มักจะเป็นหุ้นที่พอมีพื้นฐานอยู่บ้าง แต่จะต้องเป็นกิจการที่มีผลประกอบการไม่แน่นอน มีช่วงเวลาที่เลวร้ายและช่วงเวลาที่ดีมากๆ สลับกันไป และช่วงเวลาที่จะนำหุ้นมาเล่นเก็งกำไร ก็คือ ช่วงที่บริษัทกำลังมีผลประกอบการที่ดีเยี่ยม หรือเป็นช่วงขาขึ้นของบริษัท

 

ประการที่สี่ ในอดีตนั้น การ "โปรโมทหุ้น" เพื่อกระตุ้นราคาหุ้นนั้น มักจะเป็นการ "ปล่อยข่าว" ไปตามห้องค้าแบบ "ปากต่อปาก" หรือบางกรณีก็ผ่านสื่อที่เป็นหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์หุ้นที่ออกเป็นรายวัน แต่ในปัจจุบัน การโปรโมทหุ้นนั้น ทำกันในทุกสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต และทางโทรศัพท์มือถือที่เป็นสื่อสังคมทั้งหลาย และเนื้อหาของสิ่งที่ใช้นั้นก็ไม่ใช่เพียงแต่ "ข่าว" แต่รวมถึงการวิเคราะห์หุ้นแบบลึกซึ้ง "น่าเชื่อถือ" ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ ในปัจจุบัน ผู้บริหารต่างก็ออกมาช่วย "ยืนยัน" กับนักลงทุนโดยตรง ว่า กิจการนั้นกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างโดดเด่น เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากอดีตที่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือเนือยๆ มานาน

ประการที่ห้า ในอดีตนั้น เจ้าของบริษัทมักจะต้อง "เปิดไฟเขียว" หรือเข้าร่วมในกระบวนการเก็งกำไรด้วย แต่ในปัจจุบันนั้น อาจจะไม่จำเป็น ขอเพียงเจ้าของไม่มา "ขัด" ก็พอแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด การที่หุ้นราคาดีมีสภาพคล่องสูง มันก็เป็นผลประโยชน์กับเจ้าของ ดังนั้น เจ้าของก็ไม่อยากทำลายสถานการณ์นั้นอยู่แล้ว

 

ประการที่หก ในอดีต หุ้นเก็งกำไรมากๆ นั้น เมื่อ "หมดรอบ" สปอนเซอร์ หรือรายใหญ่ได้ขายหุ้นทำกำไรไปแล้ว การตกต่ำลงของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมาก เหตุผลคงเป็นเพราะพื้นฐานของหุ้นไม่ดีตั้งแต่เริ่ม ดังนั้น นักเล่นหุ้นต้องรีบขาย "หนีตาย" ก่อนที่ปริมาณการซื้อขายจะหดหายไปเกือบหมด ในปัจจุบันนั้น เนื่องจากหุ้นเก็งกำไรหลายตัว หรือส่วนใหญ่มักมีผลประกอบการที่ยังดีอยู่ แม้ว่าราคาจะวิ่งไปเกินพื้นฐานมาก แต่การที่กำไรยังมีและน่าจะยังดำเนินต่อไประยะหนึ่ง ดังนั้น คนที่ถือหุ้นไว้ก็ยังมีความหวัง ดังนั้น การลดลงของราคาและปริมาณการซื้อขายจึงไม่รุนแรงเท่ากับหุ้นเก็งกำไรในอดีต นอกจากนั้น ระดับราคาที่สูงยังมักจะสามารถดำรงอยู่ยาวกว่าในอดีตมาก

 

สุดท้าย ก็คือ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จสูงในช่วงที่ตลาดบูม มักจะสามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ผลตอบแทนสูงลิ่วเป็นร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ต่อปี และอาจจะหลายปีติดต่อกัน หลายคนกลายเป็น "เทพ" มีชื่อเสียงในวงการเล่นหุ้นและลงทุน สถานการณ์แบบนี้มักจะจบลงเมื่อตลาดหุ้นที่เริ่มกลายเป็น "ฟองสบู่" แตกตัวลงและราคาหุ้นตกต่ำลงอย่างหนักต่อเนื่องยาวนาน ในสถานการณ์แบบนั้น นักเก็งกำไรจำนวนมากต้องขาดทุนและเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะจากการใช้มาร์จินเล่นหุ้น จำนวนมากออกจากตลาดและกลับไป "ทำมาหากิน" อย่างอื่น แต่บางคนที่สามารถหลีกเลี่ยงหายนะ และรักษาความมั่งคั่งที่สะสมไว้ได้กลายเป็น "เสี่ย" ที่จะยังอยู่ในตลาดต่อไป และพร้อมกลับมาอีกเมื่อสถานการณ์ตลาดกลับสู่ภาวะปกติ

 

สำหรับนักเก็งกำไรรายเล็กที่เล่นหุ้น "รายวัน" อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม พวกเขาคอยดูทุกเช้าว่า "เขาเล่นตัวไหน" ในวันนี้ พวกเขาพร้อมซื้อและขายทุกวันและทุกนาที ในยามที่ตลาดหุ้นยังดีและสปอนเซอร์ยังเล่นกันอยู่ พวกเขาก็มักจะมีกำไรติดไม้ติดมือไปบ้าง แต่ในช่วงที่ตลาดกำลังลงและผู้นำทยอย "ถอย" ออกจากตัวหุ้น คนจำนวนมากก็จะขาดทุน โดยรวมแล้ว นักเก็งกำไรรายย่อยก็มักจะขาดทุนโดยเฉพาะเมื่อคิดรวมถึงค่าคอมมิชชั่นที่ต้องเสียไปค่อนข้างมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร นักเก็งกำไรรายย่อยก็จะไม่หนีหายหรือไม่หมดไป เขาพร้อมกลับมาเล่นใหม่ กับหุ้นเก็งกำไรตัวใหม่ กับ "ความหวังใหม่" เหนือสิ่งอื่นใด นี่คงเป็นจิตวิทยาที่ฝังอยู่ในยีนของมนุษย์ นั่นคือ มนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณของการ "เก็งกำไร"

"]--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในตลาดเก็งกำไรมีทั้งช่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวลวงและข่าวจริง สำหรับผมข่าวที่น่ากลัวที่สุดคือการพูดความจริงแต่พูดความจริงไม่หมด พูดถึงแต่ความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการโดยมีเหตุผลที่ดีมากมารองรับ แต่ไม่มีการพูดถึงจุดอ่อนหรือจุดด้อยที่จะทำให้โครงการนั้นไม่ประสพความสำเร็จ ไม่พูดถึงปัญหาหนักที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่[/size]

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคะ คุณเสม ก๊อตเข้าไปแล้วเค โกลด์ ที่ 1382 คะ ที่ลง ก็เก็บอีกคะๆๆ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิวัฒนาการของการเก็งกำไร

โลกในมุมมองของ Value Investor : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

ในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่องยาวนานเป็นตลาดกระทิงนั้น หุ้นที่มักได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักลงทุนรายย่อย ก็คือ "หุ้นเก็งกำไร" หุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้นเก็งกำไรนั้น ผมขอให้คำนิยามอย่างง่ายที่สุด ก็คือ เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายหมุนเวียนสูงมาก เมื่อเทียบกับหุ้นที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดที่เรียกกันว่า Free Float ตัวอย่างเช่น บริษัทมีหุ้นทั้งหมด 1,000 ล้านหุ้น แต่มีหุ้นเพียง 300 ล้านหุ้น ที่อยู่ในมือของคนเล่นหุ้น หรือมีหุ้น Free Float อยู่ 300 ล้านหุ้น ที่เหลือเป็นหุ้นของเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มักจะไม่ขายออกมาในตลาด ถ้าหากหุ้นตัวนี้มีปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันสูงถึง 300 ล้านหุ้น แบบนี้ก็แปลว่าคนที่เล่นหุ้นตัวนี้มีการซื้อขายเร็วมาก กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้วจะซื้อและถือหุ้นเพียงวันเดียวก็ขายแล้ว พวกเขาซื้อเพราะหวังที่จะได้กำไรอย่างรวดเร็ว จากการที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นในวันเดียว คนที่เล่นหุ้นตัวนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่ต้องการถือยาวเพื่อรอกำไร และปันผลที่จะตามมา

 

ปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขนาดไหน จึงจะถือว่าเข้าข่ายเป็นหุ้นเก็งกำไรนั้นผมไม่สามารถบอกได้เพราะมันขึ้นอยู่กับ "ดีกรี" ของการเก็งกำไรของหุ้นตัวนั้น ๆ ถ้าเป็นหุ้น "ตัวเล็ก" มี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นไม่ถึง 10,000 ล้านบาท แต่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นติดอันดับหนึ่งในสิบของตลาดเป็นประจำหรือบางวันเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุดในตลาด แบบนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นหุ้น "เก็งกำไรรุนแรง" และนี่คือ หุ้นที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ สิ่งที่ผมจะพูด ก็คือ ข้อสังเกตของผมที่เคยเห็นหุ้นเก็งกำไรมายาวนานว่ามันมี "วิวัฒนาการ" อย่างไร

 

ประการแรก ที่ผมเห็นและน่าจะเป็นสิ่งที่จะยังอยู่ต่อไปอีกนาน ก็คือ หุ้นเก็งกำไรนั้นมักจะเป็นหุ้นตัวเล็กและ/หรือมี Free Float น้อย นี่เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนและก็คงเปลี่ยนได้ยาก เพราะหุ้นที่ตัวใหญ่ หรือมี Free Float สูงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะ "ไล่ราคา" หรือ "ทำราคา" ให้วิ่งได้เร็วหรือง่าย

 

ประการที่สอง ที่ผมเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือมี "วิวัฒนาการ" ของการเก็งกำไรชัดเจน ก็คือ ในอดีตนั้น "สปอนเซอร์" หรือคนที่เป็น "ผู้นำ" ในการเก็งกำไรนั้น มักจะมีเพียงรายเดียวหรือเพียงสองสามรายที่เป็น "รายใหญ่" ที่มีชื่อเสียงในตลาดหุ้น แต่ปัจจุบันนั้น คนที่เป็น "ผู้เล่นหลัก" ในหุ้นเก็งกำไรแต่ละตัวนั้น มักจะมีหลายคนหรืออาจจะเรียกว่า "เล่นกันเป็นกลุ่ม" และมักจะรวมถึงคนที่มี "ชื่อเสียง" ในวงการด้วย

 

ประการที่สาม หุ้นเก็งกำไรในอดีตนั้น มักจะเป็น "หุ้นเน่า" คือ เป็นหุ้นที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่เลวร้าย เพียงแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่อาจจะร้อนแรงและสปอนเซอร์หรือเจ้าของบริษัทที่อาจจะร่วมมือด้วยช่วยกัน "สร้างข่าว" กระตุ้นราคาหุ้นตลอดเวลาพร้อมๆ กับการซื้อขายหุ้นนำเพื่อสร้างราคาหุ้นให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน หุ้นเก็งกำไรนั้น มักจะเป็นหุ้นที่พอมีพื้นฐานอยู่บ้าง แต่จะต้องเป็นกิจการที่มีผลประกอบการไม่แน่นอน มีช่วงเวลาที่เลวร้ายและช่วงเวลาที่ดีมากๆ สลับกันไป และช่วงเวลาที่จะนำหุ้นมาเล่นเก็งกำไร ก็คือ ช่วงที่บริษัทกำลังมีผลประกอบการที่ดีเยี่ยม หรือเป็นช่วงขาขึ้นของบริษัท

 

ประการที่สี่ ในอดีตนั้น การ "โปรโมทหุ้น" เพื่อกระตุ้นราคาหุ้นนั้น มักจะเป็นการ "ปล่อยข่าว" ไปตามห้องค้าแบบ "ปากต่อปาก" หรือบางกรณีก็ผ่านสื่อที่เป็นหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์หุ้นที่ออกเป็นรายวัน แต่ในปัจจุบัน การโปรโมทหุ้นนั้น ทำกันในทุกสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต และทางโทรศัพท์มือถือที่เป็นสื่อสังคมทั้งหลาย และเนื้อหาของสิ่งที่ใช้นั้นก็ไม่ใช่เพียงแต่ "ข่าว" แต่รวมถึงการวิเคราะห์หุ้นแบบลึกซึ้ง "น่าเชื่อถือ" ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ ในปัจจุบัน ผู้บริหารต่างก็ออกมาช่วย "ยืนยัน" กับนักลงทุนโดยตรง ว่า กิจการนั้นกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างโดดเด่น เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากอดีตที่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือเนือยๆ มานาน

ประการที่ห้า ในอดีตนั้น เจ้าของบริษัทมักจะต้อง "เปิดไฟเขียว" หรือเข้าร่วมในกระบวนการเก็งกำไรด้วย แต่ในปัจจุบันนั้น อาจจะไม่จำเป็น ขอเพียงเจ้าของไม่มา "ขัด" ก็พอแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด การที่หุ้นราคาดีมีสภาพคล่องสูง มันก็เป็นผลประโยชน์กับเจ้าของ ดังนั้น เจ้าของก็ไม่อยากทำลายสถานการณ์นั้นอยู่แล้ว

 

ประการที่หก ในอดีต หุ้นเก็งกำไรมากๆ นั้น เมื่อ "หมดรอบ" สปอนเซอร์ หรือรายใหญ่ได้ขายหุ้นทำกำไรไปแล้ว การตกต่ำลงของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมาก เหตุผลคงเป็นเพราะพื้นฐานของหุ้นไม่ดีตั้งแต่เริ่ม ดังนั้น นักเล่นหุ้นต้องรีบขาย "หนีตาย" ก่อนที่ปริมาณการซื้อขายจะหดหายไปเกือบหมด ในปัจจุบันนั้น เนื่องจากหุ้นเก็งกำไรหลายตัว หรือส่วนใหญ่มักมีผลประกอบการที่ยังดีอยู่ แม้ว่าราคาจะวิ่งไปเกินพื้นฐานมาก แต่การที่กำไรยังมีและน่าจะยังดำเนินต่อไประยะหนึ่ง ดังนั้น คนที่ถือหุ้นไว้ก็ยังมีความหวัง ดังนั้น การลดลงของราคาและปริมาณการซื้อขายจึงไม่รุนแรงเท่ากับหุ้นเก็งกำไรในอดีต นอกจากนั้น ระดับราคาที่สูงยังมักจะสามารถดำรงอยู่ยาวกว่าในอดีตมาก

 

สุดท้าย ก็คือ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จสูงในช่วงที่ตลาดบูม มักจะสามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ผลตอบแทนสูงลิ่วเป็นร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ต่อปี และอาจจะหลายปีติดต่อกัน หลายคนกลายเป็น "เทพ" มีชื่อเสียงในวงการเล่นหุ้นและลงทุน สถานการณ์แบบนี้มักจะจบลงเมื่อตลาดหุ้นที่เริ่มกลายเป็น "ฟองสบู่" แตกตัวลงและราคาหุ้นตกต่ำลงอย่างหนักต่อเนื่องยาวนาน ในสถานการณ์แบบนั้น นักเก็งกำไรจำนวนมากต้องขาดทุนและเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะจากการใช้มาร์จินเล่นหุ้น จำนวนมากออกจากตลาดและกลับไป "ทำมาหากิน" อย่างอื่น แต่บางคนที่สามารถหลีกเลี่ยงหายนะ และรักษาความมั่งคั่งที่สะสมไว้ได้กลายเป็น "เสี่ย" ที่จะยังอยู่ในตลาดต่อไป และพร้อมกลับมาอีกเมื่อสถานการณ์ตลาดกลับสู่ภาวะปกติ

 

สำหรับนักเก็งกำไรรายเล็กที่เล่นหุ้น "รายวัน" อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม พวกเขาคอยดูทุกเช้าว่า "เขาเล่นตัวไหน" ในวันนี้ พวกเขาพร้อมซื้อและขายทุกวันและทุกนาที ในยามที่ตลาดหุ้นยังดีและสปอนเซอร์ยังเล่นกันอยู่ พวกเขาก็มักจะมีกำไรติดไม้ติดมือไปบ้าง แต่ในช่วงที่ตลาดกำลังลงและผู้นำทยอย "ถอย" ออกจากตัวหุ้น คนจำนวนมากก็จะขาดทุน โดยรวมแล้ว นักเก็งกำไรรายย่อยก็มักจะขาดทุนโดยเฉพาะเมื่อคิดรวมถึงค่าคอมมิชชั่นที่ต้องเสียไปค่อนข้างมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร นักเก็งกำไรรายย่อยก็จะไม่หนีหายหรือไม่หมดไป เขาพร้อมกลับมาเล่นใหม่ กับหุ้นเก็งกำไรตัวใหม่ กับ "ความหวังใหม่" เหนือสิ่งอื่นใด นี่คงเป็นจิตวิทยาที่ฝังอยู่ในยีนของมนุษย์ นั่นคือ มนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณของการ "เก็งกำไร"

"]--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในตลาดเก็งกำไรมีทั้งช่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวลวงและข่าวจริง สำหรับผมข่าวที่น่ากลัวที่สุดคือการพูดความจริงแต่พูดความจริงไม่หมด พูดถึงแต่ความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการโดยมีเหตุผลที่ดีมากมารองรับ แต่ไม่มีการพูดถึงจุดอ่อนหรือจุดด้อยที่จะทำให้โครงการนั้นไม่ประสพความสำเร็จ ไม่พูดถึงปัญหาหนักที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่[/size]

 

 

!gd !gd !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Class Action ดีอย่างไรต่อผู้ลงทุน?

ก.ล.ต. คู่คิดนักลงทุน : จารุพรรณ อินทรรุ่ง สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. info@sec.or.th กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

หากคุณลงทุนในหุ้นบริษัทแห่งหนึ่ง วันดีคืนร้าย (อีกแล้วค่ะ) บริษัทถูกตรวจพบว่ามีการตกแต่งงบการเงินให้ยอดขายสูงกว่าความเป็นจริง เมื่อข่าวแพร่ออกมา ราคาหุ้นที่เคยสูงถึง 124 บาท รูดลงเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่ 0.47 บาท คุณจะทำอย่างไรคะ ตีอกชกหัวตัวเอง นั่งจิบน้ำใบบัวบกแก้ช้ำใน หรือบอกว่าไม่มีทางที่เรื่องสมมติอย่างนี้จะเป็นจริง (เพราะถ้าเกิดขึ้นจริง คุณคงรีบชิงขายตั้งแต่ราคาหล่นมาที่ 120 บาทแล้ว)

 

แต่นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของบริษัท Nortel Networks ในแคนาดา ซึ่งทำธุรกิจจัดหาอุปกรณ์ใยแก้วนำแสงที่ใช้กับระบบอินเทอร์เน็ตค่ะ ในช่วงปี 2000 บริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งประสบภาวะล้มละลาย พลอยส่งผลให้ยอดขายของ Nortel หดหายไปด้วย บริษัทจึงได้ตกแต่งตัวเลขให้เห็นว่ายังมียอดขายสินค้าอยู่ หลังความจริงปรากฏ ราคาหุ้นลดลงดังตัวเลขที่ดิฉันยกมาข้างต้น (เพียงแต่สกุลเงินที่แท้จริง คือ ดอลลาร์มิใช่บาทค่ะ) ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายมูลค่าสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์

 

ต่อมาผู้ถือหุ้นของ Nortel นับแสน ๆ รายทั้งในอเมริกาและแคนาดาที่ถือหุ้นระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2000 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2001 และระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2003 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2004 ก็ได้รับเงินเยียวยาความเสียหายจากการที่มูลค่าหุ้นลดลง เนื่องจากข้อมูลงบการเงินไม่ถูกต้องถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการยื่นฟ้องตามกฎหมาย Class Action ค่ะ

 

อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่า Class Action คืออะไร

 

รู้จักกฎหมาย Class Action

 

Class Action หรือการดำเนินคดีแบบกลุ่ม คือ การฟ้องร้องของผู้เสียหาย ซึ่งอาจจะเป็นเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม ฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ โดยผลของคำตัดสิน หรือคำพิพากษานั้นจะมีไปถึงผู้เสียหายรายอื่นที่อยู่ภายใต้ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเดียวกัน และมีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเหมือนกันด้วย (หรือเรียกว่าอยู่ใน class เดียวกันค่ะ อย่างกรณี Nortel ที่ยกมาข้างต้น มี 2 class โดย class หนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในช่วงปี 2000-2001 ส่วนอีก class หนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในช่วงปี 2003-2004)

 

ปัจจุบัน Class Action เป็นกฎหมายที่มีใช้อยู่ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ โดยเกือบครึ่งของคดี Class Action ทั้งหมด เป็นการฟ้องที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ส่วนที่เหลือเป็นคดีที่ปน ๆ กันระหว่างคดีคุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมค่ะ

 

ตัวอย่างของการดำเนินคดีแบบ Class Action ที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย คือ เรื่อง Erin Brockovich ค่ะ ยังจำกันได้ไหมคะ เรื่องราวของหม้ายสาวลูกสามที่จบการศึกษาเพียงแค่มัธยม แต่ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้เธอจำต้องไปของานทำในสำนักงานทนายความแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอได้พบกับหลักฐานสำคัญในการช่วยชาวเมืองฮิกค์ลี่ย์ เรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายจากกรณีน้ำปนเปื้อนสารพิษที่ถูกปล่อยมาจากโรงงานผลิตก๊าซและไฟฟ้าของบริษัท พีจี แอนด์ อี บริษัทยักษ์ใหญ่ รายหนึ่งในอเมริกา ซึ่งคดีนี้มีผู้เสียหายหกร้อยกว่าราย ในที่สุด บริษัทต้องยินยอมจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายทั้งหมด 333 ล้านดอลลาร์ค่ะ

 

ประโยชน์ของ Class Action ต่อผู้ลงทุน

 

ข้อดีของการฟ้องคดีแบบ Class Action นั้นที่เห็นได้ชัดเจน คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เมื่อเทียบกับการดำเนินคดีที่ต่างคนต่างฟ้องคดีเองค่ะ เพราะหากผู้เสียหายแต่ละรายไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเอง มักจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง จนอาจไม่คุ้มกับค่าชดเชยที่จะได้รับหากชนะคดี นอกจากนั้น Class Action ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ช่วยให้มีการเยียวยาสิทธิของผู้เสียหายได้เป็นจำนวนมาก ในคราวเดียวกัน อย่างผู้เสียหายรายย่อยไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีเอง แต่ก็ได้รับการเยียวยาสิทธิด้วย ในฐานะของสมาชิกกลุ่มที่มีการฟ้องคดีแบบ Class Action ค่ะ และหากสมาชิกกลุ่มไม่อยากร่วมลงเรือลำเดียวกันแล้ว ประสงค์จะแยกตัวออกไปฟ้องคดีเอง ก็สามารถทำได้นะคะ โดยแจ้งความประสงค์ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด (แต่จะขอกลับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอีกไม่ได้แล้วนะคะ)

 

สำหรับผู้ลงทุน Class Action น่าจะเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนรายย่อยสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่กระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล ตกแต่งงบการเงิน หรือฟ้องร้องบุคคลที่สร้างราคาหรือเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่ทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย เช่น กรณีตัวอย่างที่อื้อฉาวที่สุดในโลก คือ บริษัท Enron ของอเมริกา ซึ่งผู้บริหารมีการไซฟ่อนถ่ายเทผลประโยชน์ และตกแต่งงบการเงินนั้น มูลค่าความเสียหายที่บริษัทต้องจ่ายชดเชยให้กับผู้ถือหุ้นสูงถึง 7.2 พันล้านดอลลาร์ ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของคดี Class Action ทีเดียวค่ะ

 

ในส่วนความคืบหน้าการนำกฎหมาย Class Action มาใช้ในบ้านเรา ขอเล่าอย่างนี้ค่ะ แรกเริ่มนั้น ก.ล.ต. ตั้งใจเสนอร่างกฎหมายนี้เพื่อการฟ้องเฉพาะในคดีเกี่ยวกับหลักทรัพย์เท่านั้นค่ะ แต่ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นควรให้ร่างกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงคดีประเภทอื่นด้วย เช่น ยา บุหรี่ เหล้า โรงงานปล่อยน้ำเสีย โดยได้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่ง ครม. ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาค่ะ ขั้นตอนต่อไป คือ รอเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้า Class Action มีผลบังคับใช้ในบ้านเราเมื่อใด คงได้มีโอกาสมาเล่าสู่กันฟังกับคุณ ๆ อีกครั้งนะค

***บทความนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนแก่สาธารณชนเท่านั้น

 

ในการจะนำข้อมูลไปอ้างอิง ควรตรวจสอบความถูกต้อง และเป็นปัจจุบันของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย***

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสมคะ รบกวนวิเคราะห์ยูโรให้ด้วยคะ ว่าจากนี้จนปีใหม่เนี่๊ยะ ยังเป็นขาลงชิมิคะ สองวันมานี่ เจอวิ่งๆลงๆ เลยได้ค่ากับข้าว ไม่เท่าไหร่คะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Class Action ดีอย่างไรต่อผู้ลงทุน?

ก.ล.ต. คู่คิดนักลงทุน : จารุพรรณ อินทรรุ่ง สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. info@sec.or.th กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 

หากคุณลงทุนในหุ้นบริษัทแห่งหนึ่ง วันดีคืนร้าย (อีกแล้วค่ะ) บริษัทถูกตรวจพบว่ามีการตกแต่งงบการเงินให้ยอดขายสูงกว่าความเป็นจริง เมื่อข่าวแพร่ออกมา ราคาหุ้นที่เคยสูงถึง 124 บาท รูดลงเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่ 0.47 บาท คุณจะทำอย่างไรคะ ตีอกชกหัวตัวเอง นั่งจิบน้ำใบบัวบกแก้ช้ำใน หรือบอกว่าไม่มีทางที่เรื่องสมมติอย่างนี้จะเป็นจริง (เพราะถ้าเกิดขึ้นจริง คุณคงรีบชิงขายตั้งแต่ราคาหล่นมาที่ 120 บาทแล้ว)

 

แต่นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของบริษัท Nortel Networks ในแคนาดา ซึ่งทำธุรกิจจัดหาอุปกรณ์ใยแก้วนำแสงที่ใช้กับระบบอินเทอร์เน็ตค่ะ ในช่วงปี 2000 บริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งประสบภาวะล้มละลาย พลอยส่งผลให้ยอดขายของ Nortel หดหายไปด้วย บริษัทจึงได้ตกแต่งตัวเลขให้เห็นว่ายังมียอดขายสินค้าอยู่ หลังความจริงปรากฏ ราคาหุ้นลดลงดังตัวเลขที่ดิฉันยกมาข้างต้น (เพียงแต่สกุลเงินที่แท้จริง คือ ดอลลาร์มิใช่บาทค่ะ) ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายมูลค่าสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์

 

ต่อมาผู้ถือหุ้นของ Nortel นับแสน ๆ รายทั้งในอเมริกาและแคนาดาที่ถือหุ้นระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2000 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2001 และระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2003 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2004 ก็ได้รับเงินเยียวยาความเสียหายจากการที่มูลค่าหุ้นลดลง เนื่องจากข้อมูลงบการเงินไม่ถูกต้องถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการยื่นฟ้องตามกฎหมาย Class Action ค่ะ

 

อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่า Class Action คืออะไร

 

รู้จักกฎหมาย Class Action

 

Class Action หรือการดำเนินคดีแบบกลุ่ม คือ การฟ้องร้องของผู้เสียหาย ซึ่งอาจจะเป็นเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม ฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ โดยผลของคำตัดสิน หรือคำพิพากษานั้นจะมีไปถึงผู้เสียหายรายอื่นที่อยู่ภายใต้ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเดียวกัน และมีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเหมือนกันด้วย (หรือเรียกว่าอยู่ใน class เดียวกันค่ะ อย่างกรณี Nortel ที่ยกมาข้างต้น มี 2 class โดย class หนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในช่วงปี 2000-2001 ส่วนอีก class หนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในช่วงปี 2003-2004)

 

ปัจจุบัน Class Action เป็นกฎหมายที่มีใช้อยู่ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ โดยเกือบครึ่งของคดี Class Action ทั้งหมด เป็นการฟ้องที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ส่วนที่เหลือเป็นคดีที่ปน ๆ กันระหว่างคดีคุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมค่ะ

 

ตัวอย่างของการดำเนินคดีแบบ Class Action ที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย คือ เรื่อง Erin Brockovich ค่ะ ยังจำกันได้ไหมคะ เรื่องราวของหม้ายสาวลูกสามที่จบการศึกษาเพียงแค่มัธยม แต่ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้เธอจำต้องไปของานทำในสำนักงานทนายความแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอได้พบกับหลักฐานสำคัญในการช่วยชาวเมืองฮิกค์ลี่ย์ เรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายจากกรณีน้ำปนเปื้อนสารพิษที่ถูกปล่อยมาจากโรงงานผลิตก๊าซและไฟฟ้าของบริษัท พีจี แอนด์ อี บริษัทยักษ์ใหญ่ รายหนึ่งในอเมริกา ซึ่งคดีนี้มีผู้เสียหายหกร้อยกว่าราย ในที่สุด บริษัทต้องยินยอมจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายทั้งหมด 333 ล้านดอลลาร์ค่ะ

 

ประโยชน์ของ Class Action ต่อผู้ลงทุน

 

ข้อดีของการฟ้องคดีแบบ Class Action นั้นที่เห็นได้ชัดเจน คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เมื่อเทียบกับการดำเนินคดีที่ต่างคนต่างฟ้องคดีเองค่ะ เพราะหากผู้เสียหายแต่ละรายไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเอง มักจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง จนอาจไม่คุ้มกับค่าชดเชยที่จะได้รับหากชนะคดี นอกจากนั้น Class Action ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ช่วยให้มีการเยียวยาสิทธิของผู้เสียหายได้เป็นจำนวนมาก ในคราวเดียวกัน อย่างผู้เสียหายรายย่อยไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีเอง แต่ก็ได้รับการเยียวยาสิทธิด้วย ในฐานะของสมาชิกกลุ่มที่มีการฟ้องคดีแบบ Class Action ค่ะ และหากสมาชิกกลุ่มไม่อยากร่วมลงเรือลำเดียวกันแล้ว ประสงค์จะแยกตัวออกไปฟ้องคดีเอง ก็สามารถทำได้นะคะ โดยแจ้งความประสงค์ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด (แต่จะขอกลับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอีกไม่ได้แล้วนะคะ)

 

สำหรับผู้ลงทุน Class Action น่าจะเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนรายย่อยสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่กระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล ตกแต่งงบการเงิน หรือฟ้องร้องบุคคลที่สร้างราคาหรือเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่ทำให้ผู้ลงทุนเสียหาย เช่น กรณีตัวอย่างที่อื้อฉาวที่สุดในโลก คือ บริษัท Enron ของอเมริกา ซึ่งผู้บริหารมีการไซฟ่อนถ่ายเทผลประโยชน์ และตกแต่งงบการเงินนั้น มูลค่าความเสียหายที่บริษัทต้องจ่ายชดเชยให้กับผู้ถือหุ้นสูงถึง 7.2 พันล้านดอลลาร์ ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของคดี Class Action ทีเดียวค่ะ

 

ในส่วนความคืบหน้าการนำกฎหมาย Class Action มาใช้ในบ้านเรา ขอเล่าอย่างนี้ค่ะ แรกเริ่มนั้น ก.ล.ต. ตั้งใจเสนอร่างกฎหมายนี้เพื่อการฟ้องเฉพาะในคดีเกี่ยวกับหลักทรัพย์เท่านั้นค่ะ แต่ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นควรให้ร่างกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงคดีประเภทอื่นด้วย เช่น ยา บุหรี่ เหล้า โรงงานปล่อยน้ำเสีย โดยได้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่ง ครม. ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาค่ะ ขั้นตอนต่อไป คือ รอเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้า Class Action มีผลบังคับใช้ในบ้านเราเมื่อใด คงได้มีโอกาสมาเล่าสู่กันฟังกับคุณ ๆ อีกครั้งนะค

***บทความนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนแก่สาธารณชนเท่านั้น

 

ในการจะนำข้อมูลไปอ้างอิง ควรตรวจสอบความถูกต้อง และเป็นปัจจุบันของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย***

 

 

ผมว่าถ้าเป็นบ้านเราก็ต้องใช้เวลาในการดำเนินคดีไ่มต่ำกว่า 15-20 ปี(จากกรณีศึกษาหลายๆคดีที่ผ่านมา) และได้เงินชดเชยในระดับแค่หลักหมื่นบาทต่อคน

 

สรุปซื้อทองต่อไปดีกว่า >_< ไม่เครียร์ด ไม่ยิ่งยาก ไม่งอแง ไม่ร้องไห้....อ่วนเอาๆ

 

ขอบคุณคุณส้มโอที่เอาข่้าวมาฝากเสมอครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคะ คุณเสม ก๊อตเข้าไปแล้วเค โกลด์ ที่ 1382 คะ ที่ลง ก็เก็บอีกคะๆๆ :wub:

:) miss k ก็เข้า k gold ที่1382 เหมือนกันค่ะ

ดีใจจังมีเพื่อนแล้วววววววว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนประกาศอัตราเงินเฟ้อ พ.ย.พุ่ง 5.1% ทำลายสถิติรอบ 28 เดือน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 ธันวาคม 2553 15:33 น.

 

 

 

 

 

อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนของจีน เพิ่มสูงถึง 5.1% ทำลายสถิติในรอบ 28 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทอาหารถึง 11.7% นักวิเคราห์ชี้ว่า การที่รัฐบาลจีนตัดสินใจประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในวันเสาร์ เพราะต้องการให้ตลาดการเงินมีเวลาประเมินผลกระทบจากข่าวดังกล่าวในช่วงสุดสัปดาห์ นักวิเคราะห์ยังชี้ว่า สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นติดอันดับนี้เป็นผลมาจากการเงินที่มาจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารที่กำลังเดินสะพัดอย่างหนัก จนทำให้จีนฟื้นตัวจากผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกได้อย่างรวดเร็ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...