ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

หุ้นที่คุณเสมบอกใบ้ ใช่PS หรือเปล่าน้อ

 

 

555 ผมไม่ได้บอกนะครับ เเต่เป็นคนเก่งคนนี้ บอกตั่งหาก

ยังไงเเล้วอย่าลืมวาง Stop loss นะครับ วางที่ Previous low นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ seam888 ครับเงิน us กราฟอยู่หมวดไหนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

man u 1 : 0 arsenal

เกมส์รุกดุดันของปืนใหญ่โดนปิดพื้นที่ทำให้โอกาสเข้าทำประตูน้อยมาก : (

ยังไงก็ตามเชียร์กันต่อไปนะครับเด็กปืน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดราคาข้าวไทยสูงถึง Q1 ปีหน้า-ผลผลิตเพิ่มกว่า 12%

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ธันวาคม 2553 12:27 น.

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าราคาข้าวไทยจะสูงขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีหน้า โดยราคาขายเฉลี่ยช่วงดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยปีนี้ ส่วนราคาส่งออก เฉลี่ยข้าวทุกประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากนั้นต้องรอดูปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังช่วงไตรมาส 2 ซึ่งผลผลิตที่ออกมาจะมีข้าวขาว และข้าวหอมปทุมธานี 1 เป็นหลัก คาดว่าปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 9.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับปีนี้ เนื่องจากมีการปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากภาวะน้ำท่วม

ขณะที่ ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ ผลผลิตข้าวของเวียดนามที่จะกระทบภาวะการแข่งขันในการส่งออกข้าวตลาดโลก ซึ่งข้าวของเวียดนามจะออกสู่ตลาดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ปีหน้า นอกจากนี้คาดว่า เวียดนามจะต่อสัญญาข้อตกลงซื้อขายข้าวกับฟิลิปปินส์ เพิ่มอีก 1.5 ล้านตัน ภายในเดือนมิถุนายน รวมทั้งการตัดสินใจของอินเดียว่า จะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวหรือไม่ เนื่องจากปริมาณสต๊อกข้าวของอินเดียเพิ่มขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

55 มีเท่าไข่มด ขอราคาเดียวกับคุณใหญ่ อิอิ (แท่งนะคะแท่ง GF GS ตามสภาวะอากาศค่ะ )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgอะไรจะเกิด ผมไม่สนใจ เก็บไว้ลุ้นปีหน้าครับ

 

ถือยาวเป็นปีก็เคยมาแล้ว เที่ยวนี้ถือรอ1600กับ2300ครับเพื่อนๆ

อาจารย์เสมไม่โดด แล้วผมจะโดดไปทำไม ไม่ดอยถือสบายๆ รอลูกเดียวครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การดูแลเงินทุนไหลเข้า และอนาคตเศรษฐกิจไทย

อนาคตเศรษฐกิจไทย : กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2553

 

ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ปัญหาสภาพคล่องล้นโลกและเงินทุนไหลเข้า จะเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้กำหนดนโยบายของไทยจะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ

 

ยิ่งเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหาไม่จบ อัตราการว่างงานกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 9.8% คุณ Bernanke ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐออกมายอมรับว่า การอัดฉีดสภาพคล่องรอบที่สองเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอาจใช้เงินมากกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ ดอกเบี้ยต้องต่ำไปอีกระยะหนึ่ง และยุโรปก็กำลังมีวิกฤติทางการเงินในประเทศสมาชิกที่ไม่จบลงง่ายๆ จนธนาคารกลางยุโรปต้องเข้าแทรกแซงช่วยซื้อพันธบัตรของประเทศเหล่านี้ และประกาศไม่ถอนสภาพคล่องคืนไปตามที่ตั้งใจไว้ เรายิ่งต้องให้ความใส่ใจเตรียมการในเรื่องเงินทุนไหลเข้าเป็นพิเศษ

 

มุมมองที่เปลี่ยนไปเรื่องเงินทุนไหลเข้า

 

สิ่งที่ต้องเข้าใจเรื่องเงินทุนไหลเข้า ก็คือ มุมมองของทางการประเทศต่างๆ และ IMF เกี่ยวกับเงินทุนไหลเข้าได้เปลี่ยนมาก เมื่อเทียบกับ 20-30 ปีที่แล้ว

 

ในอดีต เงินทุนไหลเข้าเป็นสิ่งที่คนชอบ ประเทศต่างๆ อยากได้ และรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างประโยชน์ ทำให้เศรษฐกิจประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทย ซึ่งออมได้ไม่มากพอสำหรับการลงทุน สามารถดึงดูดเอาเม็ดเงินจากต่างประเทศมาใช้ก่อน ไม่ว่าจะผ่านการลงทุนโดยตรง การที่บริษัทและธนาคารพาณิชย์ไปกู้ยืมมาจากต่างประเทศ หรือจากเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของเรา ทำให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนขยายตัวได้ในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการพึ่งพาเงินออมในประเทศเพียงอย่างเดียว

 

แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังเกิดวิกฤติในประเทศต่างๆ ขึ้นบ่อยครั้ง มุมมองดังกล่าวได้เปลี่ยนไป ทุกคนเริ่มมองเงินทุนไหลเข้าด้วยความกังวลใจ โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลเข้าจำนวนมาก ที่จะนำไปสู่ Easy Money และ Easy Credit Culture นำไปสู่วิกฤติในที่สุด

 

ประสบการณ์ในอดีตเป็นบทเรียนเครื่องเตือนใจ ในช่วงปี 1992-1993 เงินจำนวนมากไหลเข้า Mexico เพราะมองว่าอีกไม่นานจะมีสนธิสัญญาการค้าเสรี NAFTA ทำให้ทุกคนเชื่อมั่นใน Mexico แต่ก็จบลงด้วยวิกฤต Mexico ในปี 94 หลังจากนั้น เงินไหลมาที่เอเชียแทน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียได้รับเงินจำนวนมากที่ไหลเข้ามาระหว่างปี 1995-1996 (กรณีของไทยเงินไหลเข้าเราปีละ 2 หมื่นกว่าล้านดอลลาร์) นำไปสู่ความฟุ้งเฟ้อและการลงทุนในโครงการต่างๆ ที่เกินตัว ท้ายสุดจบลงด้วยวิกฤติในปี 1997 ต่อจากนั้น เงินก็ไหลไปบราซิล รัสเซีย อาร์เจนตินา สองประเทศแรกเกิดวิกฤติในปี 1998 ส่วนอาร์เจนตินาประสบกับวิกฤติในปี 2002

 

ครั้นเกิดวิกฤติในเอเชียและละตินอเมริกาแล้ว เงินไม่มีที่ไป ท้ายสุดก็กลับไปสหรัฐ ยุโรป และ ยุโรปตะวันออก ใช้เวลา 6 ปี ในการสะสมความเสี่ยง จนกลายเป็นวิกฤติครั้งสำคัญของโลกที่ส่งผลมาถึงทุกวันนี้ ไม่น่าแปลกใจว่ารอบนี้ทุกคนโดยเฉพาะในเอเชีย จึงกังวลใจว่าเงินที่จะไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก จากสภาพคล่องที่ล้นจากอเมริกาและยุโรป จะนำมาซึ่งวิกฤติรอบใหม่ในภูมิภาคของเรา

 

แล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป

 

สิ่งแรกที่คนนึกถึงในเรื่องการดูแลเงินทุนไหลเข้า คือ การออกมาตรการจำกัดเงินทุนไหลเข้า อย่างที่หลายประเทศ เช่น บราซิล เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย กำลังทำอยู่ เพราะเห็นว่าเมื่อเงินทุนจะไหลเข้ามา ก็ต้องตั้งทำนบกั้น กีดกันเงินดังกล่าว

 

มาตรการที่คนเรียกร้องมีอยู่หลายหลาก ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีเงินทุนที่ไหลเข้ามา ภาษี Tobin Tax การห้ามไม่ให้เงินทุนไหลเข้าหรือลงทุนในตราสารบางประเภท โดยเฉพาะตราสารหนี้ การไม่ให้นำเงินเข้ามาเก็งกำไรโดยฝากไว้เฉยๆ ในสถาบันการเงิน การกำหนดให้เงินทุนที่ไหลเข้ามาจะต้องอยู่นานกว่า 6 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป ในบางกรณี การเก็บภาษีหากออกเร็วกว่าที่กำหนดไว้ (เช่น มาเลเซีย) หรือแม้กระทั่งการนำมาตรการสำรอง 30% ที่เราเคยใช้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ออกมาใช้อีกรอบหนึ่ง แต่อาจจะเก็บเพียง 10% เท่านั้นในรอบนี้

 

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะทุกคนเริ่มผลกระทบจากสภาพคล่องที่ล้นอยู่ในเศรษฐกิจโลก ที่กำลังหาที่ไป และสร้างปัญหารอบใหม่ให้กับระบบการเงินและตลาดทุนโลก ดังจะเห็นได้จากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น เงินบาทและเงินสกุลต่างๆ ที่แข็งขึ้นทำสถิติใหม่ในรอบหลายๆ ปี ราคาสินค้า Commodities ที่ขึ้นลงไปมาจากการเก็งกำไร (โดยเฉพาะฝ้ายจะเห็นชัดมาก เพราะลงไป 30% และปรับขึ้นมา 30% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทองคำ โลหะต่างๆ ที่ปรับสูงขึ้น ทำสถิติใหม่เช่นกัน) ปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ที่เริ่มเห็นได้ในบางประเทศ รวมถึงราคาหุ้นที่กำลังทำ New High

 

แต่ก่อนเราจะเร่งเรียกร้องให้ทางการออกมาตรการเหล่านี้ สิ่งที่ต้องเข้าใจกันก็คือ มาตรการการดูแลเงินทุนไหลเข้า ให้ผลจำกัด ช่วยช่วงสั้นๆ ไม่สามารถช่วยในระยะยาว แม้กระทั่งบราซิล ที่ใช้ยาแรงมาก เรียกเก็บภาษี 6% สำหรับเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตร ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแข็งขึ้นของค่าเงิน Real ได้ (ล่าสุดค่าเงินบราซิลแข็งขึ้น 2% ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา) กรณีของไทย ถ้ายังจำกันได้ ยาแรงของเรา มาตรการ 30% ที่ทำไป ท้ายสุดเงินบาทก็ยังแข็งค่าขึ้นได้ ระหว่างที่ยังใช้มาตรการอยู่ แม้ช่วงต้นๆ จะช่วยให้ค่าเงินอ่อนลงบ้าง

 

รอบนี้ยิ่งยาก เพราะปัญหาอยู่ที่สหรัฐและยุโรป (ไม่ได้อยู่ที่เรา) ค่าเงินสหรัฐกำลังอ่อนค่าลงเทียบกับทุกสกุล ต่อให้ไม่มีเงินไหลเข้าออก ค่าเงินของเราก็แข็งค่าขึ้นอยู่ดี ต่อให้บราซิลทำมาตรการทำนบกั้นน้ำขึ้นภาษีสูงเท่าไร ก็ไม่สามารถช่วยได้ นอกจากนี้ มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้ายังไม่สามารถกั้นคนในประเทศไม่ให้ Take position เรื่องค่าเงินได้

 

ด้วยเหตุนี้ เราไม่ควรไปฝากความหวังทั้งหมดไว้กับมาตรการเหล่านี้ สิ่งที่ต้องเตรียมการก็คือ เข้าใจว่า “เราฝืนไม่ได้ ทั้งเงินไหลเข้า ค่าเงินที่จะแข็งขึ้น” และเร่งเตรียมการรองรับปัญหา

 

หัวใจอยู่ที่การบริหารจัดการดูแลเงินที่ไหลเข้ามา ไม่ให้นำไปสู่ Easy Credit Culture และการสะสมตัวของความเปราะบางในระบบการเงินและธนาคารพาณิชย์ ซึ่งโชคดีที่จากประสบการณ์ของออสเตรเลียและสิงคโปร์เมื่อระหว่างวิกฤติต้มยำกุ้งชี้ว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงินไหลเข้า แต่อยู่ที่ระบบการเงินว่าเข้มแข็งแค่ไหน บริหารความเสี่ยงดีแค่ไหน ทั้งสองประเทศมีเงินไหลเข้าเช่นกัน แต่ทั้งสองมีระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ (กรณีออสเตรเลีย โชคดีที่เคยเกิดวิกฤตแบงก์ในช่วงก่อนหน้า ทำให้ไม่ค่อยกล้าปล่อยสินเชื่อ ทั้งที่เงินไหลเข้า) ไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศเขาก็เซบ้าง ในช่วงสั้นๆ แต่ไม่ล้มลง

 

รอบนี้ ระหว่างที่เงินหลั่งไหลเข้ามาจะเป็นโอกาสของทุกคนในการลงทุน ในการขยายกิจการ แต่ต้องไม่ประมาท อย่าตายใจ อย่าทำอะไรเกินตัวไปมาก เพราะงานเลี้ยงก็มีวันสิ้นสุดเช่นกัน และเราก็ต้องหวังว่าเมื่องานเลี้ยงจบลง เราพร้อมที่จะรับกับโลกใหม่หลังจากนั้น

 

ส่วนสิ่งที่ทางการต้องทำ ก็คือ ติดตามดูแล บริหารจัดการระบบการเงินและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ Easy Money เงินที่จะไหลเข้ามาเหล่านี้นำไปสู่การกู้ยืมที่เกินตัว และสะสมความเสี่ยงในแต่ละภาคเศรษฐกิจ โดยเข้าไปดูแลแต่เนิ่นๆ ให้อุ่นใจว่า การสะสมตัวของความเสี่ยงเกิดขึ้นไม่ได้มาก ซึ่งหลักการสำคัญรอบนี้ก็คือ ถ้าเราจะเลือกนโยบายผิด ก็คงต้องผิดในฝั่งที่เรา Conservative หรือระวังเกินไป เพราะภายใต้ภาวะที่เงินจำนวนมากพร้อมที่จะไหลเข้าเช่นนี้ ถ้าเราละเลย ปัญหาจะเกิดขึ้นแน่ในช่วงต่อไป

 

ตรงนี้ จึงต้องพยายามเข้าใจ หากทางการออกมาตรการเพื่อดูแลภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อให้ทุกคนไม่เสี่ยงจนเกินไป มี Balance sheet ที่ดี และแต่ละคนควรเตรียมการเก็บสะสมเงินทุน สภาพคล่องไว้ เพื่อเพิ่ม Room ให้ตนเอง เพราะเงินที่เตรียมจะไหลเข้าจะทำให้โอกาสการเกิดวิกฤติขึ้นในเอเชียเพิ่มอีกพอสมควร ซึ่งขณะนี้ คงไม่รู้ว่าประเทศไหนจะเกิดปัญหา แต่ที่แน่ๆ ถ้าประเทศไทยเตรียมการไว้ให้ดี เราก็จะผ่านเวลาของความยากลำบากที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ก็ขอเอาใจช่วยครับ

 

หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม หรือเสนอแนะได้ที่ “Blog ดร. กอบ” ที่ www.kobsak.com ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราการว่างงานอังกฤษพุ่งถึง 2.5 ล้านคน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 ธันวาคม 2553 19:29 น.

 

 

 

 

 

 

กราฟอัตราการว่างงานของคนอังกฤษ ปี 2008 - 10

 

 

เอเอฟพี - จำนวนผู้ว่างงานในอังกฤษพุ่งถึงจำนวน 2.5 ล้านคน ข้อมูลจากทางการเปิดเผยออกมาวันนี้ (15) ทั้งนี้ คาดกันว่า เศรษฐกิจเมืองผู้ดีจะมืดมัวยิ่งขึ้น อันเป็นผลจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล

 

ยอดรวมผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 35,000 คน ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม จนแตะระดับ 2.5 ล้านคน สํานักสถิติแห่งชาติอังกฤษ ระบุในคำแถลง นับเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ว่างงานครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

 

สํานักสถิติแห่งชาติอังกฤษ เสริมว่า มีอัตราผู้ว่างงาน 7.9 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ทั้งๆ ที่ช่วง กรกฎาคม-กันยายน มีอัตราผู้ว่างงานเพียง 7.7 เปอร์เซ็นต์

 

อย่างไรก็ตาม จำนวนคนลงทะเบียนอ้างสิทธิผู้ว่างงานกลับลดลง 1,200 คน เมื่อเดือนที่แล้ว เหลือ 1.46 ล้านคน

 

“ผลรวมจำนวนตัวเลขในปัจจุบันเป็นเครื่องชี้วัด ว่า ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในการกู้วิกฤตตลาดแรงงาน แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีจะมีแนวโน้มที่ดีก็ตาม” ชาร์ลส์ เดวิส นักเศรษฐศาสตร์ จาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าว

 

เขาเสริมว่า “แม้ว่าการจ้างงานในภาคส่วนของเอกชน น่าจะเติบโตขึ้นในปี 2011 แต่การจ้างงานในภาครัฐ คงไม่กระเตื้อง ดังนั้น เราคาด ว่า อัตราการว่างงานจะสูงกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2011”

 

อังกฤษกำลังตัดทอนรายจ่ายของภาครัฐ และเพิ่มอัตรการจัดเก็บภาษี ตามแผนการปรับสมดุลงบประมาณ

 

สำนักเพื่อความรับผิดชอบต่องบประมาณ องค์กรอิสระของรัฐบาล คาดการณ์ว่า จะมีคนถูกภาครัฐบอกเลิกจ้างประมาณ 330,000 ตำแหน่ง ในอีก 4 ปีข้างหน้า เป็นผลมาจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...