ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

:rolleyes: คุณส้มโอมือ เพลงเพราะัจังเลย ขอบคุณค่ะ

 

ชอบทุกเพลงเลย แก้เครียด ยามคิดตึ้งคุณเสมได้ :wacko:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวเก่า แต่อาจช่วยบางคนเข้าใจระบบเงินยูโรเพิ่มขึ้น

 

เรื่องเงินสกุลยูโร

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

20 มิถุนายน 2554

เมื่อ 6 มิถุนายน ศ. Kenneth Rogoff แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนบทความเกี่ยวกับปัญหาเงินสกุลยูโรลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times

 

ซึ่งผมได้นำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ เพราะเห็นว่ามีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น แต่มีนัยในเชิงวิชาการซึ่งอาจเข้าใจได้ยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ผมจึงได้นำมาเรียบเรียงใหม่ และขยายความในบางส่วน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ

 

 

การจัดตั้งเงินสกุลเดียวสำหรับยุโรปคือเงินยูโรนั้นถือได้ว่าเป็นการทดลองที่สำคัญยิ่ง เพราะหากประสบความสำเร็จ การรวมตัวทางการเงินดังกล่าวก็น่าจะพัฒนาไปสู่การรวมตัวกันในทางการคลัง (fiscal union) กล่าวคือ จะมีระบบเศรษฐกิจที่รวมตัวกันเกือบครบถ้วนเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเก็บภาษีและจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจากรัฐบาลกลาง แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีปัญหาก็เป็นไปได้ว่ามีประเทศที่อ่อนแอ อาจต้องถูกขับออกจากระบบเงินสกุลยูโรก็ได้ สำหรับระบบการเงินระหว่างประเทศนั้นหากเงินสกุลยูโรประสบความสำเร็จ คือ มีประเทศในยุโรปเข้าร่วมใช้เงินสกุลเดียวกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่น่าจะตามมาการเอาเยี่ยงอย่างคือจะเกิดเงินสกุลเดียวในทวีปอเมริกาเหนือและแพร่ขยายไปสู่อเมริกาใต้ ในทำนองเดียวกันประเทศในเอเชียก็น่าจะอยากเอาอย่างเงินยูโร โดยในที่สุด จีนและญี่ปุ่นอาจตกลงที่จะใช้เงินสกุลเดียวกัน ทำให้ประเทศเอเชียอื่นๆ หันมาใช้เงินสกุลเดียวกันก็ได้ กล่าวโดยสรุปคือในกรณีที่เงินยูโรประสบความสำเร็จ ลูกหลานของเราก็จะอยู่ในโลกที่ใช้เงินสกุลหลักเพียง 3-4 สกุล คือ เงินหนึ่งสกุลในทวีปอเมริกา เงินหนึ่งสกุลในทวีปยุโรปและเงินหนึ่งสกุลในทวีปเอเชีย เป็นต้น ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากสภาวะปัจจุบันที่มีเงินเป็นร้อยสกุล

 

 

ทั้งนี้ ในหลักการนั้นการมีเงินน้อยสกุลย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการมีเงินเป็นร้อยสกุล เพราะจะลดต้นทุนในการทำธุรกรรมในหลายมิติ (เช่น นักท่องเที่ยวไปต่างประเทศไม่ต้องเดินไปธนาคารและแลกเงินตราต่างประเทศบ่อยครั้ง) และแน่นอนว่า ยิ่งมีเงินน้อยสกุลก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตของสถาบันการเงินลดลงในเชิงของการลดลงของต้นทุนต่อหน่วย เพราะมีปริมาณการผลิตมากขึ้น (economy of scale) ที่สำคัญ คือ เป็นการลดความเสี่ยงในส่วนของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (เพราะจะมีอัตราแลกเปลี่ยนเพียง 4-5 อัตรา) ทำให้การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจมีความสะดวกขึ้นอย่างมาก ตลอดจนความเสี่ยงที่ลดลงก็น่าจะทำให้การค้าและการลงทุนในกลุ่มเศรษฐกิจที่ใช้เงินสกุลเดียวจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

 

 

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับกรณีของเงินยูโรในปัจจุบัน คือ ประเทศขนาดเล็กที่อยู่ชายขอบของทวีปยุโรป (กรีก โปรตุเกส ฯลฯ) กระตือรือร้นที่จะเขาไปใช้เงินสกุลเดียวกับประเทศใหญ่ (เยอรมนี ฝรั่งเศส) เพราะประเทศเล็กที่ใช้เงินยูโรซึ่งมีการยอมรับสูง ทำให้รัฐบาลของประเทศเล็กสามารถกู้เงินยูโรได้เป็นจำนวนมาก โดยเกือบไม่มีข้อจำกัดโดยจ่ายดอกเบี้ยต่ำ (ในภาวะปกติจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศเยอรมนีเพียง 1-2% ต่อปี) แต่เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยรุนแรงประเทศขนาดเล็กก็เผชิญปัญหาหนี้สาธารณะอย่างฉับพลันและรุนแรง ที่สำคัญคือวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 นั้น มีต้นเหตุมาจากความล่มสลายทางการเงิน (financial meltdown) และการสร้างหนี้มากเกินไป ซึ่งหนังสือของศาสตราจารย์ Rogoff ได้เก็บข้อมูลในอดีตมาสรุปว่าการถดถอยทางเศรษฐกิจที่มีต้นเหตุมาจากวิกฤติทางการเงินและหนี้สินนั้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ยากและการฟื้นตัวจะใช้เวลาที่ยืดเยื้อ เมื่อเป็นเช่นนั้นปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศยุโรปขนาดเล็กจึงจะยืดเยื้อและแก้ไขได้ยาก

 

 

หากจะพิจารณาถึงแก่นสารของปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศเล็กในยุโรปนั้นทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอาจสรุปได้เป็น 2 แนวทางคือ 1. การซื้อเวลา (ยืดหนี้) เพื่อรอให้เศรษฐกิจขยายตัวทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีมาใช้หนี้ หรือ 2. การที่ประเทศใหญ่ยอมลดหนี้ให้ประเทศเล็กและนำเอาเงินคงคลังของตนมาชดเชยความเสียหาย (fiscalization of loss) แต่การที่ประเทศใหญ่พะวงหน้าพะวงหลังระหว่างการยืดหนี้และลดหนี้กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือความหวังดีที่จะลดความผันผวนจากการที่มีอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา โดยการจัดตั้งเงินสกุลเดียวกลับสร้างความผันผวนและความวิตกอย่างมากที่เป็นผลมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะไม่ทราบว่านักการเมืองจะตัดสินใจอย่างไร ทำให้ศาสตราจารย์ Rogoff ตั้งข้อสังเกตว่าการต้องเผชิญกับเงินหลายสกุลและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะยากลำบากน้อยกว่าการต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของการเมืองว่าจะเอาอย่างไรกับปัญหาของหนี้สาธารณะและเงินยูโร

 

 

ทั้งนี้หากจะวิเคราะห์ลงไปอีกขั้นหนึ่งก็อาจยกตัวอย่างวิกฤติเศรษฐกิจของไทย (ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ใช้จ่ายเกินตัวจนสร้างหนี้ต่างประเทศมากเกินไป แต่ก็เป็นปัญหาที่มาจากพื้นฐานเดียวกันคือสร้างหนี้สินมากเกินไปนั่นเอง) ซึ่งมีความรุนแรงและได้รับเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ แต่ไทยรับเงินกู้เพียง 17,000 ล้านเหรียญ (กรีกได้เงินช่วยเหลือมากกว่าไทยเกือบ 10 เท่า) ก็สามารถฝ่าวิกฤติได้สำเร็จเพราะสามารถอาศัยการลดค่าเงินบาทเพื่อขับเคลื่อนการส่งออกให้เป็นเครื่องยนต์ หลักในการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและคืนหนี้ได้ในที่สุด แต่กรณีของประเทศกรีก โปรตุเกสและไอร์แลนด์นั้นไม่สามารถลดค่าเงินได้ ตรงกันข้ามต้องยืนยันว่าจะต้องยึดมั่นกับเงินยูโร ทำให้เศรษฐกิจของ 3 ประเทศดังกล่าว ซึ่งเศรษฐกิจขาดความสามารถในการแข่งขัน (weak competitive position) ไม่มีทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเว้นแต่การถูกกดดันให้ลดเงินเดือนและลดเงินเฟ้อจนถึงขั้นที่อาจเกิดเงินฝืด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ศาสตราจารย์ Rogoff เห็นว่าอาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เว้นแต่ว่าเศรษฐกิจของประเทศที่มีปัญหาดังกล่าวจะโชคดีขยายตัวได้ดีเกินคาด แม้จะถูกกดด้วยนโยบายรัดเข็มขัดต่างๆ แต่ในความเป็นจริงนั้นสภาวะหนี้ท่วมตัวจะฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยิ่ง กล่าวโดยสรุปคือประเทศ PIG นั้นกำลังเผชิญปัญหาค่าเงินยูโรที่แข็งเกินไป ดังนั้นแม้จะมีแผนการที่จะกอบกู้ปัญหามาแล้วหนึ่งแผน นักลงทุนก็ยังไม่มั่นใจว่าแผนสองที่จะนำมาทดแทนแผนนึ่งที่ล้มเหลวไปแล้วนั้นจะประสบชะตากรรมอย่างเดียวกันหรือไม่ ในทางกลับกัน แม้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีปัญหานี้สาธารณะที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ายุโรป แต่นักลงทุนกลับไม่ได้แสดงท่าทีเป็นกังวลมากนัก (หากพิจารณาจากค่าเงินและดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่) แม้ว่าสหรัฐยังทำแผนหนึ่งเพื่อจัดการกับปัญหาไม่เสร็จด้วยซ้ำไป ทั้งนี้คงเป็นเพราะสหรัฐสามารถปรับตัวผ่านอัตราแลกเปลี่ยน (เงินดอลลาร์อ่อนค่า) ได้

 

 

ศาสตราจารย์ Rogoff กล่าวตอนท้ายว่าคำถามหลักคือการเมืองของยุโรปโดยเฉพาะประเทศเยอรมันจะสามารถอุปถัมภ์ค้ำจุนเงินยูโรต่อไปได้อีกมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งเกิดขึ้นในระยะหลังนี้ยังยืดเยื้อต่อไปอีกนาน เราจะได้รับคำตอบในเร็ววันนี้ หมายความว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกจะทดสอบความหนักแน่นทางการเมืองของยุโรปจะสนับสนุนให้เงินยูโรอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่ครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทความเก่าหน่อย แต่ยังมีประโยชน์นะ

 

มุมมองของพิมโก้ใน 3-5 ปีข้างหน้า

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2554

เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม บริษัทบริหารจัดการกองทุนพิมโก้ (Pacific Investment Management Company หรือ PIMCO) ของสหรัฐ

 

ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเงินลงทุนรวมเกินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ได้จัดสัมมนา "ระดมสมอง" ประจำปี โดยมีนักวิเคราะห์ของพิมโก้และบุคคลภายนอกที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ที่พิมโก้เชื้อเชิญให้มาร่วมการสัมมนาระดมสมอง ทั้งนี้ หลังจากการประชุมรวมทั้งสิ้น 2 วันก็ได้มีข้อสรุปในการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจและการลุงทุนใน 3-5 ปีข้างหน้า นำสรุปโดย Dr. Mohamed A. El-Erian ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของพิมโก้ ซึ่งผมเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ จึงได้นำมาสรุปให้ได้อ่านกันในครั้งนี้ครับ

 

 

1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ เป็นการฟื้นตัวแบบกระท่อนกระแท่น (hobbled) และ "ช้า" ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว แต่ "รวดเร็ว" ในส่วนของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ พิมโก้เชื่อว่าการฟื้นตัว "สองความเร็ว" นี้ จะดำเนินต่อไปใน 3-5 ปีข้างหน้า โดยเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัว 2% ต่อปี ในขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่จะขยายตัว 6% ต่อปี

 

 

2. ประเทศพัฒนาแล้วพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของตนให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 ปี โดยวิธีการที่ผิดปกติ คือ รัฐเข้าไป "อุ้ม" หนี้สินของกลุ่มต่างๆ ทำให้สถานะทางการคลังของภาครัฐอ่อนแอลง หนี้สาธารณะของประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่มจี 20 เพิ่มขึ้นจาก 80% ของจีดีพีในปี 2007 มาเป็น 110% ของจีดีพีในปี 2010 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 125% ของจีดีพีในปี 2015

 

 

3. วิธีการ "ผิดปกติ" อีกส่วนหนึ่ง คือ การตั้งใจปั่นราคาสินทรัพย์ (explicit initiative to boost asset prices) โดยคาดหวังว่าเมื่อประชาชนรู้สึกตัวว่าร่ำรวยมากขึ้น จากราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้น ก็จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คิวอีหนึ่ง และคิวอีสองของสหรัฐ) ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้ดำเนินนโยบาย ที่ต้องการให้ราคา "สินทรัพย์ที่ปลอดภัย (safe asset)" ปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ได้ทำให้ราคา "สินทรัพย์เสี่ยง (risky asset)" เช่น น้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์ ปรับตัวขึ้นเช่นกัน

 

 

4. แต่ประเด็นปัญหาหลักของโลกในครั้งนี้ คือ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วที่บกพร่อง (structural impairment) กล่าวคือ การสร้างหนี้เป็นจำนวนมากทั้งในยุโรปและอเมริกาในช่วง 2002-2008 และข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้สินดังกล่าวยังคงอยู่ไม่ได้ลดลง มีแต่การโอนหนี้สินจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐ ปัญหานี้จะเห็นได้จากการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศกลุ่ม PIGS ซึ่งเริ่มก่อตัวปีที่แล้ว ทั้งนี้ แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศใหญ่ในยุโรปและไอเอ็มเอฟแต่ปัญหาก็ยังไม่ผ่อนคลาย เพราะเน้นการยืดหนี้ (ไม่ลดเงินต้น) แทนที่จะประนอมหนี้ (debt restructuring) ซึ่งจะต้องมีส่วนของการลดมูลหนี้

 

 

5. ในขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่มีปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง (well anchored) แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาในการจัดการเงินทุนที่ไหลเข้ามาจำนวนมาก ประเทศพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เพราะต้องแบกภาระหนี้สินที่นับวันจะเพิ่มขึ้น แม้แต่ประเทศสหรัฐเองซึ่งปัญหาหนี้สาธารณะนั้น กล่าวได้ว่ามีไฟเตือนเป็นไฟเหลืองออกมาแล้ว (ยังไม่ใช่ไฟแดง เช่น ประเทศ PIGS) ทั้งนี้ สหรัฐอาจ "ได้คิด" เช่น เมื่อ 60 ปีที่แล้ว เมื่อสหภาพโซเวียตยิงดาวเทียม sputnik สำเร็จ ทำให้สหรัฐตื่นตัวและเกิดฉันทามติในการรวบรวมพลังของชาติในการแข่งกับสหภาพโซเวียตในด้านเทคโนโลยี การทหาร เศรษฐกิจ ฯลฯ จนกระทั่งมีชัยชนะได้ในที่สุด ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าสหรัฐอาจมีจุดเปลี่ยนแบบ "sputnik moment" อีกก็เป็นได้ ซึ่งจะเป็นพัฒนาการที่ดีเกินคาดสำหรับพิมโก้ แต่ก็อาจมีพัฒนาการในทางตรงกันข้ามซึ่งเป็นประเด็นเสี่ยงที่นักลงทุนจะต้องระมัดระวังอย่างมาก

 

 

6. พิมโก้เชื่อว่าปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่มจี 20 จะเป็นภาระที่หนักหน่วง ทำให้รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วพยายามใช้นโยบายที่จะกดดันดอกเบี้ยจริงให้ต่ำกว่าศูนย์ (negative real interest rate) เพื่อลดภาระบริหารหนี้สาธารณะจนกระทั่งพูดได้ว่าเป็นการกดขี่ระบบการเงิน (financial repression) โดยผลที่จะตามมา คือ การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่จะสูงกว่าที่คาดการณ์กันในขณะนี้

 

 

7. พิมโก้เป็นห่วงว่านักการเมืองและผู้บริหารนโยบายในประเทศพัฒนาแล้ว จะไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ทั้งนี้ ปัญหาที่ว่าคือปัญหาในเชิงของงบดุล (balance sheet) ซึ่งมีหนี้สินที่นับวันจะพอกพูนขึ้น โดยเกรงว่าจะมีความเชื่อผิดๆ ว่าประเทศของตนมั่นคง หรือเชื่อว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป (gradualism) โดยในที่สุด อาจแก้ปัญหาโดยการซื้อเวลา (kicking the can down the road) ซึ่งจะกลายเป็นการแก้ปัญหาแบบ "มั่ว" (muddle-through) ทำให้เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนตามไปด้วย

 

 

8. ในส่วนของการลงทุนนั้น พิมโก้เตือนว่าต้องเข้าใจว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคตน่าจะไม่สูงมากนัก เพราะราคาสินทรัพย์ได้ถูก "ปั่น" ขึ้นมามากแล้ว (ได้มีการนำเอาผลตอบแทนในอนาคตมายังปัจจุบันมากแล้ว - investor as a group have borrowed returns from the future) ทั้งนี้ จะต้องยึดหลักการว่ารัฐบาล (ประเทศพัฒนาแล้ว) จะกดดอกเบี้ย (ทำให้พันธบัตรไม่น่าลงทุน) และนักลงทุนจะต้องป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แสวงหาความได้เปรียบของประเทศและบริษัทที่มีงบดุลแข็งแรง ตลอดจนโอกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกันของกลุ่มต่างๆ

 

 

9. การลงทุนในบริษัท (ทั้งหุ้นและพันธบัตร) นั้น จะต้องดูศักยภาพในการเติบโต (เพิ่มยอดขาย) มีสภาพคล่องและเงินสดตลอดจนการมีงบดุลที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ บริษัทในประเทศพัฒนาแล้วที่อยู่ในข่ายพิจารณาควรจะเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทั่วโลก (tradable goods) มากกว่าบริษัทที่ค้าขายภายในประเทศ (non-tradable) สำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศขยายตัวดีกว่าการส่งออก-นำเข้า จึงควรพิจารณาบริษัทที่อยู่ในข่ายที่เป็น non-tradable sector

 

 

10. ควรลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอุปทานที่จำกัดและใช้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (เช่น น้ำมันและทองคำ) รวมทั้งการลงทุนในเงินสกุลของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคง (โดยเฉพาะการดูงบดุลของภาคประชาชน ภาครัฐบาล และภาคบริษัท) และควรเป็นประเทศที่มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า-ออกค่อนข้างจะไร้ประสิทธิผล ทั้งนี้ ในระยะยาวนั้นนักลงทุนในประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาน่าที่จะลดการลงทุนในประเทศของตน และหันมาลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เพราะปัจจุบันมีสัดส่วนของการลงทุนในตลาดเกิดใหม่เพียง 2-3% ในขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่นั้นปัจจุบันมีจีดีพีเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของจีดีพีโลก นอกจากนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่นั้น คิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงจะต้องเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ให้สมดุลกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นครับ

 

สำหรับข้อ10ประเทศไหนหว่าคุ้นๆจัง

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 04:44ไพบูลย์ นลินทรางกูร

The Fundamental View ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ทิสโก้

ความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติดูดีขึ้น

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

วันนี้ขอเขียนถึง Corporate Roadshow ที่ Paris และ London ที่ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปกับ 7 บริษัทจดทะเบียนของไทยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

สวัสดีครับ วันนี้ผมขอเขียนถึง Corporate Roadshow ที่ Paris และ London ที่ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปกับ 7 บริษัทจดทะเบียนของไทยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอข้อมูลด้านการลงทุนให้กับผู้จัดการกองทุนที่ประจำอยู่ที่นั่น บังเอิญเป็นช่วงหลังเลือกตั้งพอดี เลยมีคำถามเกี่ยวกับการเมืองค่อนข้างมากเป็นพิเศษ ผมจะพยายามสรุปเนื้อหาสำคัญๆ ที่ผมได้รับจาก Roadshow ในครั้งนี้ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับทราบถึงมุมมองของนักลงทุนในสองเมืองที่ถือได้ว่ามีเม็ดเงินภายใต้การบริหารมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

 

 

ก่อนอื่นผมขออนุญาตทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของนักลงทุนที่อยู่ใน London และ Paris ซึ่งค่อนข้างที่จะแตกต่างกันพอสมควร ที่ London จะมีกองทุนประเภทที่บริหารเงินลงทุนในตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets และในตลาดเอเชีย เยอะกว่าใน Paris มาก เพราะ London ถือเป็นศูนย์กลางการเงินโลกที่สำคัญ จึงมีกองทุนหลากหลายประเภทตั้งอยู่ที่นั่น โดยเฉพาะกองทุนประเภท Hedge Funds ก็จะมีอยู่มากมาย เป็นรองก็เพียงแต่ใน New York ซึ่งจะมี Hedge Funds มากกว่า

 

 

ส่วนที่ Paris นั้น จะเน้นการลงทุนใน Europe และในตลาดพัฒนาแล้ว หรือ Developed Markets เป็นส่วนใหญ่ กองทุนประเภท Global Funds จึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ใน Paris จะมีผู้จัดการกองทุนที่เป็น Asian Specialists น้อยกว่าใน London บริษัทที่จะไปทำ Roadshow ใน Paris ได้ จึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ (Market Cap ≥ US$ 5,000 ล้าน) และมีปริมาณการซื้อขายต่อวันสูงกว่า US$ 5 ล้าน ส่วนที่ London นั้น บริษัทที่มีขนาดเล็กกว่า แต่มีเรื่องราว และ growth outlook ที่น่าสนใจ ก็ยังมีโอกาสไปทำ Roadshow ได้

 

 

ประเด็นสำคัญที่ผมได้รับจาก Roadshow ครั้งนี้ มีดังนี้

 

 

ข้อ 1 : กองทุนใน Paris มีความสนใจในตลาดหุ้นไทยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจัยหลักน่าจะมาจากการเลือกตั้งที่สงบเรียบร้อย และผลการเลือกตั้งที่เป็นลักษณะ landslide victory เราอยู่ที่นั่นกันเพียง 1 วัน แต่บางบริษัทได้พบกับกองทุนถึง 5-6 กองทุนด้วยกัน ซึ่งถือว่าเยอะพอสมควรสำหรับบริษัทจากประเทศไทย ปกติบริษัทไทยจะมี meeting กับกองทุนใน Paris โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 กองทุนเท่านั้น เนื่องจากกองทุนประเภทที่ลงทุนในเอเชียมีจำนวนน้อยอย่างที่กล่าวมาแล้ว และตลาดหุ้นไทยยังมีขนาดเล็ก

 

 

ดังนั้น การที่กองทุนใน Paris เริ่มสนใจบริษัทไทยมากขึ้นถือ เป็นสัญญาณที่ดีมาก และน่าจะหมายถึงกองทุนที่อยู่ในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์กลางการเงินโลกอย่าง New York หรือ Hong Kong ก็น่าจะสนใจตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเช่นกัน รอบนี้กองทุนใน Paris จะให้ความสนใจกับ domestic consumption plays มากเป็นพิเศษ โดยมองว่าการจับจ่ายใช้สอยในประเทศน่าจะเพิ่มขึ้นมากภายหลังจากที่รัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศ

 

 

ข้อ 2 : นักลงทุนใน London เอง ก็ให้ความสนใจกับตลาดหุ้นไทยมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนการเลือกตั้งค่อนข้างมาก และที่น่าสนใจ คือ มีกองทุนที่ยังไม่มีหุ้นไทยอยู่ใน portfolio เลยหรือมีเพียงเล็กน้อยมาร่วมใน Roadshow ครั้งนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพผมขอยกตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่ง ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร บริษัทนี้เดินทางไปทำ Roadshow ในต่างประเทศเป็นประจำ และมีผู้ถือหุ้นที่เป็นกองทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ ในจำนวน 15 กองทุน ที่บริษัทแห่งนี้ได้พบภายใน 2 วัน มีเพียงกองทุนเดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ถือหุ้นปัจจุบัน นอกนั้นเป็นกองทุนที่ยังไม่ได้ถือหุ้นทั้งหมด

 

 

นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ดีว่า ตลาดหุ้นไทยเริ่มเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศในวงกว้าง และยังมีผู้บริหารระดับสูงของกองทุนขนาดใหญ่ๆ หลายแห่งมาร่วมใน Roadshow ครั้งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งปกติแล้วคนระดับนี้จะเข้ารับฟังข้อมูลจากบริษัทที่มาจากตลาดหุ้นขนาดใหญ่ เช่น China, India หรือ Brazil เท่านั้น ผมมองว่าถ้าเขาไม่สนใจที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจริงๆ คงไม่เสียเวลามารับฟังข้อมูลจากบริษัทไทยในรอบนี้อย่างแน่นอน

 

 

ข้อ 3 : นักลงทุนทั้งใน Paris และ London ยังคงเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง และสอบถามถึงความน่าจะเป็นในอนาคตค่อนข้างมาก ทุกคนยังจำเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อปีที่แล้วได้ดี และพยายามให้ผมประเมินถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก แต่ scenario ที่ผมมองว่านักลงทุนเหล่านี้ใช้เป็นสมมติฐานในการตัดสินใจในรอบนี้ ก็คือ การเมืองไทยน่าจะสงบนิ่งไปได้อย่างน้อยๆ อีกประมาณ 9-12 เดือนนับจากนี้ ซึ่งก็น่าจะเพียงพอให้เขาสามารถเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้มากพอสมควร

 

 

กล่าวโดยสรุป ผมเชื่อว่าเม็ดเงินจากต่างชาติพร้อมที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย และจะไหลเข้ามามากยิ่งขึ้น ถ้ารัฐบาลสามารถจัดตั้งขึ้น โดยประกอบไปด้วยคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ มีความรู้ความเข้าใจในกระทรวงที่ตัวเองต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญๆ เช่น คลัง พาณิชย์ อุตสาหกรรม พลังงาน ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่เน้นประชานิยมเกินไปจนทำให้เสียวินัยทางการคลัง (fiscal discipline) เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (competitive advantages) ให้กับภาคธุรกิจเอกชน ไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

ที่สำคัญที่สุดไม่ทำอะไรที่จะนำไปสู่การแตกแยกของสังคม ถ้าเป็นเช่นนี้จริง เราจะไม่เห็นเพียงเม็ดเงินที่อยู่ในกองทุนประเภท Emerging Markets หรือ Asia ex. Japan ที่จะไหลเข้ามาเท่านั้น แต่น่าจะมีเม็ดเงินจากกองทุนประเภท Global Funds และ Global Emerging Markets เข้ามาสมทบด้วย ซึ่งก็ จะช่วยทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ใน Bull Market Cycle ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง

 

 

พบกันใหม่เดือนหน้าครับ สวัสดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

copyมาจากเวปchaloke

 

มือใหม่ไม่รู้จะเริ่มยังไง เขียวแดงอะไร...เชิญทางนี้

เพื่อติดตามสอบถาม รายละเอียด ความคืบหน้าต่างๆ

ตอบกระทู้ 40 โพสต์ • หน้า 1 จากทั้งหมด 2 • 1, 2

รายงานในข้อความตอบกลับพร้อมอ้างอิง มือใหม่ไม่รู้จะเริ่มยังไง เขียวแดงอะไร...เชิญทางนี้

โดย LuckyBot » 03 พ.ค. 2010 15:13

 

 

บทความนี้ ขอเขียน แบบ สั้นๆ นะครับ

 

ตามที่ส่วนตัวพอจะได้เรียนรู้มา อยากจะตอบแทนทานนี้ ให้รับกันต่อๆไป

....ผิด ตก ยก เว้น นะครับ

 

 

เบื้องต้น..ต้องจำ..หัวใจของแนวทาง CDC

 

 

 

1. ที่นี่ เน้นเทรดตามระบบ ถ้าเขียวแท่งแรก=ซื้อ ถ้า แดงแท่งแรก=ขาย ทำตามทุกไม้ ห้ามแหกกฎ

 

2. พอร์ตฟิวเจอร์หนึ่งสัญญา ต้องวางเงิน 6เท่า ของ MM

สมมติ S50M10 ใส่เงิน3แสน ซื้อขายได้หนึ่งสัญญา ,จะเล่น5สัญญา ต้องวางเงินไป1.5ล้านนะ

 

3.ส่วนพอร์ตหุ้น ถ้ามี 1ล้าน ซื้อขายจริง 7-8 แสนห้ามเกินนี้ (70-80%ของเงินที่มี)แบ่งซื้อ10ตัวขึ้นไป โดยกระจายแยกsector

 

4. ใช้กราฟรายวัน เท่านั้น ใช้เวลาวันละ 15นาที โหลดข้อมูลพร้อมดูเขียวแดง แล้วเคาะซื้อขายตามสัญญาณ ก่อนตลาดปิด 15นาที

 

5. ต้องเปิดโปรแกรมเป็น..โหลดข้อมูลเอง..เปิดดูเขียวแดง ง่ายๆ ทำให้เป็นนะ...ทำทุกวัน

 

6.เขียนกฎการ ซื้อขาย ให้ชัดเจน แล้วทำตามเป๊ะๆ

(จะโหลดข้อมูล 16.15 น.ทุกวัน..เปิดดูแล้ว..เคาะซื้อขายทันที),(เคาะเลย ไม่ตั้งรอ),(ถ้าพลาด ลืม จะซื้อ ATO วันถัดไป),(คีย์ผิด โยนออกทันที),(เพิ่ม/ลดเงิน ปีละครั้ง)

 

7.ต้องทำตามเขียวแดง อย่างเข้มข้น ซ้ายหัน ขวาหัน เหมือนทหาร ไม่ลังเล ไม่คิด ไม่ต้องรู้ข่าว ไม่ต้องเขียนโปรแกรม

 

8.ต้องทำตามเขียวแดงอย่างน้อย 1ปี ถึงจะเห็นผล ไม่ใช่สองเดือนขาดทุน..แล้วเลิก...ปกติมากที่จะขาดทุนก่อน แล้วหลังๆ กำไรมาเอง แปลกแต่จริง...ยิ่งรู้น้อย ยิ่งดี...มีกำไรแน่นอน

 

9.มีครู มีโค้ช มีกลุ่ม หาผู้ที่ตามระบบได้แล้ว ขอเค้าให้ช่วยสอน ..คุณจะทำตามได้ มีกำไรได้ เร็วกว่า+แน่นอนกว่า ..การเดินคนเดียว

 

. . . . . . . . . . . .

 

ประเด็นวันนี้ จะขยายความข้อ 5. วิธีทำง่ายๆ

 

===================================================

…..ก่อนไปต่อ โอนเงินสนับสนุน +กดเปลี่ยนสีเป็นสมาชิกสนุบสนุนให้สำเร็จก่อนนะ.....

http://www.chaloke.com/register/member.html

 

กดเปลี่ยนสีเป็นสมาชิกสนับสนุน ตามนี้

viewtopic.php?f=21&t=252

 

(ไม่สนับสนุนก็ได้ ก็มีแจกฟรี แต่ต้องทำเองเป็น และมีเวลาว่าง ซึ่งผมเองไม่ผ่านทั้งสองอย่าง)

===================================================

 

 

มา...ขยายต่อ ข้อ 5 จะดูเขียวแดงได้ จากไหน ทำยังไง

...มันต้องมี 4 อย่าง นี้

 

 

1) MetaStock version 8 Pro(ต้องโปร) เอาไว้ดูกราฟ มันมีลิขสิทธิ์ ต้องซื้อ ถ้าเห็นเพื่อนใช้ ลองถามเค้าดูว่าหาจากไหน

 

2) สูตร Expert Advisor ตัวบอกเขียวแดง..ที่เจอบ่อยๆเรียกกันว่า PnT 1.10 หาได้ฟรีๆ ในเวบนี้ กดหากระทู้ รวมสูตรMeta

 

3) ข้อมูลตั้งต้นตลาดต่างๆ SET, TFEX,AFET, TOCOM ต้องมีตั้งต้นก่อน เป็นราคาย้อนหลังหลายๆปี ไปโหลดทางนี้ http://www.chaloke.com/data/downloadinformation.html

(อย่าลืมเปลี่ยนชื่อ Folder ด้วย เหลือแต่คำว่า "SET" "TFEX" เดี๋ยว โหลดของใหม่ไม่เข้า)

 

4)The Stock downloader ตัวดึงราคาซื้อขาย รายวัน ไปโหลดทางนี้ http://www.chaloke.com/data/program-download.html

 

 

มาดู ลำดับการติดตั้งโปรแกรม

 

1.ลง “dotnetfx.exe” Microsoft Dot Net (ราว23MB) (หาโหลดฟรี ใน google)

2.ลง MetaStock Pro

3.ลง สูตร Expert Advisor (ตัววาดสีเขียวแดง)

 

4.ลง The Stock downloader

5.ลงข้อมูลตั้งต้น ใน C:\MetaStock Data

 

6.ลองเปิดกราฟ หุ้น 2-3ตัวดู

7.ลองใส่เขียวแดง คือใส่ Expert Advisor

 

8.ลองโหลดข้อมูลวันล่าสุด (ต้องต่อ Internet ไว้ด้วยนะ ข้อนี้)

 

9.ถ้า8ข้อ ผ่านหมด ก็คือ ใช้ได้แล้ว

----------------------------------------------------------------------

อ่านแล้วสงสัยลองถามเพื่อนๆดูนะ หรือลองตามไปอ่านกระทู้นี้ดูครับ สำหรับผมตอบไม่ได้ครับ

http://www.chaloke.com/distribution/viewtopic.php?f=26&t=539

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอาจริงหรอ!! ปืนไม่แคร์เสียนาสรี่ฟรี!ยันให้อยู่จนหมดสัญญา

 

อาร์เซน่อล ไม่สนแม้ต้องเสีย ซามีร์ นาสรี่ มิดฟิลด์เลือดเฟร้นช์ ออกไปจากทีมแบบฟรีๆ ในซีซั่นหน้า หลัง ปีเตอร์ ฮิลล์-วู้ด บิ๊กบอส "เดอะ กันเนอร์ส" ออกมายันเองว่าจะอยู่กับทีมต่อไปจนถึงสัญญาหมดในปีหน้า โดยไม่สนว่าจะมีการต่อสัญญาหรือไม่ บอกพร้อมเสี่ยงไม่ว่าสุดท้ายแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร

 

"ปืนใหญ่" อาร์เซน่อล ทีมดังแห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เตรียมตัวเสี่ยงที่จะเสีย ซามีร์ นาสรี่ กองกลางทีมชาติฝรั่งเศส ออกไปจากถิ่น เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม แบบไม่มีค่าตัว ด้วยการรั้งตัวให้อยู่กับทีมต่อไปในฤดูกาลหน้า ก่อนสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อจบซีซั่น 2011-12

 

ปีเตอร์ ฮิลล์-วู้ด ประธานสโมสร "เดอะ กันเนอร์ส" กล่าวถึง นาสรี่ วัย 24 ปี ที่ตกเป็นเป้าหมายของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อยากได้ตัวไปร่วมทีมว่า "มันมีความเป็นไปได้ที่พวกเราจะเสียเขาออกไปแบบไม่มีค่าตัว แต่พวกเราก็เตรียมที่จะรับความเสี่ยง"

 

ทั้งนี้ บอร์ดบริหาร "เจ้าปืนโต" ให้การสนับสนุน อาร์แซน เวนเกอร์ ผู้จัดการทีมชาวเมืองน้ำหอม อย่างเต็มที่ด้วยการเก็บนักเตะตัวหลักทุกรายให้อยู่กับทีมต่อไปในซีซั่นหน้า แม้จะมีข่าวว่า เชส ฟาเบรกาส มิดฟิลด์กัปตันทีมชาวสเปน อาจเตรียมย้ายไปร่วมทีม บาร์เซโลน่า ในเร็ววันนี้ก็ตามที

 

ที่มา : gunnerthailand

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET : เขียว (SL = 1,062.39)

 

S50 : เขียว (SL = 740.60)

 

GC : เขียว (SL = 1,482.60)

 

SI : เขียว (SL = 38.9470)

 

AFET : เขียว (SL = 136.85)

 

TOCOM : เขียว (SL = 363.20)

 

เช่นเคยนะครับ รบกวนผู้มีประสบตรวจสอบให้เพื่อน ๆ อีกครั้งนะครับ เพราะต้องเรียนเพื่อน ๆ นักลงทุนตรง ๆ ว่า

ที่ผ่านมาที่ได้ระบบนี้มา ก็อาศัยดูแค่ " สี " เท่านั้นในการตัดสินใจลงทุนในแต่ละครั้ง ประสบการณ์ในการดูกราฟเทคนิคนี้ยังน้อยนิดครับกำลังศึกษา และเรียนรู้อยู่

ผิด ถูก อย่างไร ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

 

ในที่นี้ตัวที่ไม่แน่ใจ คือ GC ครับ เพราะตั้งแต่วันที่ 19 - 22 EOD ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก จึงทำให้เห็นเป็นเส้นตรงไม่เกิด bottom peak ชัดเจนเหมือน SI ที่ SL เลื่อนขึ้นมาแล้วครับ

รบกวนผู้มีประสบการณ์ชี้แนะด้วยครับ :lol: :lol:

 

ขอขอบพระคุณมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:rolleyes: :rolleyes:

 

ขอบคุณ คุณHenry และ คุณส้มโอมือ มากนะค่ะ

 

สำหรับ น้ำใจในการมา up dated ให้พวกเรา

 

ขอบคุณสำหรับน้ำใจและการแบ่งปัน :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทั่วโลก'ระทึก'ใกล้เส้นตาย2สค.USยัง'ร้าว'แผนขยายเพดานเงินกู้

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2554 00:26 น.

 

 

 

 

 

เอเจนซี - บรรดาผู้วางนโยบายของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างอยู่ในอาการตามลุ้นด้วยใจเต้นระทึกเมื่อวันจันทร์(25) ภายหลังรัฐสภาอเมริกันและทำเนียบขาวยังไม่สามารถผ่าทางตันเพื่อตกลงกันให้ได้ในเรื่องการขยายเพดานเงินกู้ของประเทศ ขณะที่เหลือเวลาเพียงแค่ 8 วันก่อนจะถึงวันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งหวั่นวิตกกันว่าถึงตอนนั้นรัฐบาลสหรัฐฯอาจจำเป็นต้องผิดนัดชำระหนี้ อันจะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงินทั่วโลก

 

ในเอเชียซึ่งถือครองตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้รวมกันแล้วเกือบๆ 3 ล้านล้านดอลลาร์ จึงถือว่ามีผลประโยชน์ผูกพันอย่างล้ำลึก และปรารถนาอย่างยิ่งให้เหล่านักการเมืองในวอชิงตันหาหนทางประนีประนอมที่ใช้การได้ ขณะที่พวกผู้วางนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยคาดหมายว่า พวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯจะตกลงกันได้ในนาทีสุดท้ายเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดวิกฤต

 

การที่นักการเมือง 2 ฝ่ายในสหรัฐฯ นั่นคือ ทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตที่ครองเสียงข้างในวุฒิสภา กับพรรครีพับลิกันที่คุมสภาผู้แทนราษฎร ยังคงใช้ท่าทีแบบไม่ค่อยยอมลดราวาศอกอยู่จนบัดนี้ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวานนี้พากันหล่นวูบ และผลักดันให้เม็ดเงินลงทุนวิ่งเข้าไปหาแหล่งหลบภัยชั้นดีอย่างทองคำและเงินฟรังก์สวิส จึงเป็นการยุติอารมณ์ผ่อนคลายช่วงสั้นๆ ในตลาดที่บังเกิดขึ้นภายหลังสหภาพยุโรป(อียู)และไอเอ็มเอฟตกลงกันได้ในวันศุกร์(22)ในเรื่องแพกเกจเงินกู้ก้อนที่สองเพื่อช่วยกรีซไม่ให้ตกอยู่ในภาวะผิดนัดชำระหนี้

 

แม้ตลาดการเงินวานนี้ยังไม่ถึงขั้นแสดงสัญญาณการเทขายอย่างตื่นตระหนก แต่ในเมื่อเหลือเวลาอีกเพียง 8 วัน ก่อนจะถึงวันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งกระทรวงการคลังสหรัฐฯประมาณการว่าตนเองจะตกอยู่ในภาวะเหลือเงินไม่พอที่จะชำระหนี้สินทุกๆ ก้อนที่ถึงกำหนด ดังนั้นระดับของความวิตกกังวลจึงกำลังเพิ่มขึ้นทุกที

 

“พวกที่รับผิดชอบโดยตรงเรื่องการดำเนินงานด้านทุนสำรอง ต้องหงุดหงิดปวดหัวกว่าเมื่อก่อนแน่ๆ แต่ยังไม่มีใครหรอกที่คิดว่าอเมริกันจะเลือกหนทางฆ่าตัวตายทั้งที่พวกเขามีทางออกที่รู้ดีกันอยู่แล้ว” เจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งของธนาคารกลางเกาหลีใต้กล่าวโดยขอให้สงวนนาม

 

ขณะที่เยอรมนีซึ่งเพิ่งลงแรงผลักดันแพกเกจปล่อยกู้กรีซก้อนที่สองจนสำเร็จมาหยกๆ ก็ออกมาแสดงความคาดหมายว่า สหรัฐฯจะเพิ่มเพดานการก่อหนี้ของรัฐบาลก่อนจะถึงเส้นตาย

 

“เรา … กำลังติดตามการอภิปรายถกเถียงในอเมริกาด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และเรายังคงมีความมั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถหาทางประนีประนอมกันได้” คริสตอฟ สตีกมานส์ โฆษกรัฐบาลเยอรมนีกล่าวกับผู้สื่อข่าว

 

ทว่าก็มีผู้วางนโยบายของหลายประเทศที่ไม่ค่อยอยากทำตัวสงบเสงี่ยม และพูดจาโผงผางตรงไปตรงมามากกว่านี้

 

“เรื่องที่ถือเป็นตลกร้ายของสถานการณ์ในขณะนี้ … ก็คือ ภัยคุกคามใหญ่โตที่สุดของระบบการเงินโลก กลับมาจากพวกเพี้ยนๆ ฝ่ายขวาไม่กี่คนในรัฐสภาอเมริกัน แทนที่จะมาจากยูโรโซน” วินซ์ เคเบิล รัฐมนตรีของรัฐบาลอังกฤษกล่าวเหน็บแนมในวันอาทิตย์(24)

 

ช่องทางในการเพิ่มเพดานการก่อหนี้ที่ทำเนียบขาวและรัฐสภาสหรัฐฯพยายามทำกันอยู่ในตอนนี้ จำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภา ทว่าฝ่ายรีพับลิกันเรียกร้องว่า จะยินยอมในขยายเพดานก่อหนี้ ก็ต่อเมื่อฝ่ายรัฐบาลเดโมแครตยินยอมทำข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการตัดลดการขาดดุลงบประมาณอันมหาศาล ทั้งนี้รีพับลิกันซึ่งเวลานี้พวกอนุรักษนิยมสุดโต่ง “ที ปาร์ตี้” มีอิทธิพลอย่างสูง ต้องการให้ลดการขาดดุลงบประมาณ ด้วยการตัดลดรายจ่ายโดยเฉพาะในเรื่องโครงการสวัสดิการผู้สูงอายุและประกันสุขภาพ โดยที่ไม่ยินยอมให้ขึ้นภาษีหารายได้เลย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และพวกผู้นำเดโมแครต แม้ยอมอ่อนข้อในเรื่องการตัดลดรายจ่ายด้านโครงการสวัสดิการให้บ้าง แต่ก็เห็นว่าควรต้องมีการขึ้นภาษีที่เก็บจากพวกคนรวยด้วย

อย่างไรก็ดี ภายหลังการเจรจากันอย่างตึงเครียดระคนอาฆาตแค้น โดยที่มีการชี้นิ้วกล่าวหากันและพยายามทำแต้มเรียกคะแนนจากผู้ออกเสียงไม่ขาดสาย นักการเมืองในวอชิงตันทั้งสองฝ่ายก็ดูจะยิ่งห่างไกลกันในการประนีประนอมกัน

 

เวลานี้ทั้งสองฝ่ายต่างกำลังพยายามจัดทำแผนลดการขาดดุลงบประมาณของตนเองขึ้นมาแข่งขันกัน จึงทำให้บรรยากาศแห่งความแตกแยกดูหนักหนาสาหัส

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากคะคุณส้มโอมือ มาแต่เช้ามืดเลยอ่ะ :lol:

คุณเสมวันไหนว่างมาทักทายกันบ้างนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณข่าวสารดีๆจากคุณส้มโอมือคับผม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...