ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

จับตายุโรปช่วยไซปรัส มาตรฐานเข้ม ที่โลกกลัว

  • 19 มีนาคม 2556 เวลา 08:01 น. |

7CBC723F8720434E9597014E7B073E86.jpg

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

กลายเป็นที่จับตามองจากตลาดหุ้นทั่วโลกนับตั้งแต่เริ่มต้นสัปดาห์ในทันที สำหรับความเคลื่อนไหวของวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่คาดว่าจะกลับมาร้อนระอุขึ้นอีก ครั้ง หลังจากที่ไซปรัสได้กลายเป็นประเทศที่ 5 ต่อจากกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน ที่ต้องขอรับเงินช่วยเหลือ 1 หมื่นล้านยูโร (ราว 3.9 แสนล้านบาท) จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

แม้ว่าเงินก้อนดังกล่าวจากอียูและไอเอ็มเอฟจะมีส่วนช่วยให้ไซปรัสไม่ต้อง เสี่ยงเผชิญกับภาวะผิดนัดชำระหนี้ในเดือน พ.ค.นี้ แต่ก็ยังไม่มีใครรู้ได้เลยว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวจะสามารถผ่านความเห็นชอบ จากรัฐสภาหรือไม่ เพราะมีการเลื่อนออกไปแล้วถึง 2 ครั้ง

สาเหตุที่นำไปสู่การเลื่อนการพิจารณาก็คือ ความกังวลว่าเงื่อนไขที่ผูกติดมาพร้อมกับเงินช่วยเหลือของอียูกับไอเอ็มเอ ฟในครั้งนี้นั้น อาจนำไปสู่การคัดค้านของรัฐสภา เนื่องจากเงื่อนไขการแลกรับความช่วยเหลือ 1 หมื่นล้านยูโร ต้องบอกได้คำเดียวสั้นๆ ว่า “อภิมหาโหด” อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ให้ผู้ถือครองเงินฝากธนาคารในประเทศต้องเข้ามามีส่วน ร่วมกับการช่วยแก้ไขวิกฤตหนี้ของชาติที่ส่วนใหญ่เกิดจากภาคธนาคารด้วยการ จ่ายภาษี โดยกำหนดให้ผู้ที่มีเงินฝากต่ำกว่า 1 แสนยูโร โดนชาร์จภาษีที่ 6.75% ส่วนผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 1 แสนยูโรขึ้นไปนั้น จะโดนรีดภาษีที่ 9.9%

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เงื่อนไขดังกล่าวจะได้รับการต่อว่าต่อขานจากนักวิเคราะห์หลาย สำนักว่า อียูกับไอเอ็มเอฟกำลังสร้างเงื่อนไขและจุดชนวนความตื่นตระหนกแก่วิกฤตหนี้ยู โรโซนให้กลับมาร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง ทั้งๆ ที่ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ออกมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ในกรณีเร่งด่วนและ จำเป็น (โอเอ็มที) วิกฤตหนี้ยูโรโซนดูจะผ่อนคลายความกังวลลงไปมาก

เพราะการออกเงื่อนไขรับความช่วยเหลือด้วยการโยนภาระส่วนหนึ่งไปให้ ประชาชนและผู้ถือครองเงินฝากในธนาคารของไซปรัส กำลังนำไปสู่ภาวะความไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงทางการเงินของไซปรัสเอง และยังรวมไปถึงประเทศอื่นๆ ในกลุ่มยูโรโซนด้วย โดยดูได้จากการที่ชาวไซปรัสออกมาแห่ถอนเงินออกจากธนาคารอย่างหนักหลังการออก มาตรการดังกล่าว ขณะที่ตลาดหุ้นในยุโรปเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ดิ่งลงอย่างหนัก ส่วนทางด้านผลตอบแทนพันธบัตรของบางประเทศ อาทิ สเปนและอิตาลี ก็เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจุบันตลาดไม่ได้มองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในไซปรัสตอนนี้ เพียงอย่างเดียวแล้ว หากแต่ได้มองข้ามไปถึงขนาดที่ว่าในอนาคตหากต้องมีประเทศในยูโรโซนต้องขอรับ เงินช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟอีก ประเทศนั้นๆ อาจจะต้องเสี่ยงเดินตามรอยเงื่อนไขสุดหินต่างๆ ซ้ำรอยเหมือนอย่างที่ไซปรัสกำลังจะเผชิญอยู่ในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะในรายของสเปนและอิตาลีนั้น มีความเสี่ยงมาก เพราะลักษณะปัญหาที่เกิดจากหนี้เน่าภาคธนาคารมีความคล้ายคลึงกับไซปรัส

“มาตรการเก็บภาษีจากผู้ฝากเงินในไซปรัสกำลังสร้างปัญหาในเชิงระบบและความ ไม่แน่นอนให้เกิดขึ้นว่า ในอนาคตเงื่อนไขการรับความช่วยเหลือสุดโหดที่ไซปรัสเผชิญอยู่จะถูกนำเอาไป ใช้กับประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนอีกหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อมีประเทศหนึ่งจำเป็นต้องเอ่ยขอรับความช่วยเหลือขึ้นมา” โจอาชิม เฟลส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ สาขาลอนดอน กล่าว

ความเห็นดังกล่าวสอดรับกับทัศนะของ อนาลิซา ปาอาสซา นักวิเคราะห์จากนิวเอจสเตรทจี ที่เผยว่า เงื่อนไขสุดหินที่อียูและไอเอ็มเอฟมอบให้กับไซปรัสนั้นกำลังสร้างความหวาด วิตกไปทั่วทั้งยูโรโซน โดยเฉพาะประเทศที่ประสบปัญหาหนี้อย่างหนัก และกลุ่มประเทศที่คาดว่าอยู่ในข่ายอาจต้องขอรับความช่วยเหลือในอนาคต

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากนิวเอจสเตรทจี ได้เผยอีกด้วยว่า ในอนาคตอันใกล้สิ่งที่ยูโรโซนจะเลี่ยงไม่พ้นก็คือภาวะเงินทุนบางส่วนที่จะ ไหลออก ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ก็จะสูงขึ้นอย่างหลีกหนี ไม่พ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปน อายุ 10 ปี ในช่วงเช้าของวันที่ 18 มี.ค. ที่เพิ่มสูงขึ้น 0.14 จุด มาอยู่ที่ 5.06% ขณะที่อิตาลีขึ้นมา 0.13% มาอยู่ที่ 4.73%

จึงไม่แปลกที่ภาวะดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ต่างพากันดิ่งลงเหวเป็นทิวแถวเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ไม่ว่าจะเป็นนิกเกอิของญี่ปุ่น ฮั่งเส็งของฮ่องกง หรือตลาดหุ้นยุโรป

นอกจากนี้ เงื่อนไขเงินก้อนที่อียูและไอเอ็มเอฟให้กับไซปรัสในลักษณะที่ไม่ใช่ความช่วย เหลือ โดยการให้เงินกู้ก้อนใหญ่แถมยังมีเงื่อนไขรัดเข็มขัดที่่หนักหนาสาหัส ก็เป็นการเริ่มสะท้อนให้เห็นแล้วว่าบรรดาประเทศยักษ์ใหญ่ในยูโรโซน เช่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ เริ่มอยากจะเอาตัวออกห่างจากปัญหาหนี้ยูโรโซนมากยิ่งขึ้น

ดังเห็นได้จากปฏิกิริยาของเยอรมนีที่ประกาศลั่นก่อนที่อียูและไอเอ็มเอ ฟจะเคาะจำนวนเงินช่วยเหลือให้ไซปรัสออกมาว่า เงินที่จะไปให้ความช่วยเหลือไม่ควรเกิน 1 หมื่นล้านยูโร

อีกทั้ง แม้ว่าเยอรมนี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจต่างๆ ของอียูจะพยายามส่งสัญญาณว่าการที่ต้องใช้เงื่อนไขแบบสุดหินก็เพื่อจะ ป้องกันการเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้โอบอุ้มเหล่าเศรษฐีรัสเซียที่นำเงินมาฝาก ไว้ในแบงก์ไซปรัสเป็นจำนวนมากเพื่อฟอกเงิน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เยอรมนีในสายตาของชาวไซปรัสดูดีขึ้นเลย ซ้ำร้ายในความรู้สึกของประชาชนบางส่วนก็รู้สึกว่ากำลังถูกปฏิบัติราวกับเป็น คนละชนชั้น ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนที่ได้รับเงินช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้

จึงกล่าวได้ว่า นี่อาจกลายเป็นอีกหนึ่งรอยร้าวที่ยูโรโซนกำลังเผชิญเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้เยอรมนีในสายตาชาวกรีซก็ตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่มาแล้ว เนื่องจากไปแสดงท่าทีในการกดดันให้รัฐบาลใช้แผนรัดเข็มขัดอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ ปัญหาไซปรัส ประเทศเล็กที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ถึง 0.1% ของยูโรโซนแห่งนี้จึงอาจกลายเป็นชนวนที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

369947_1450051196_1123041612_q.jpg

วรวรรณ ธาราภูมิ ที่น่าสนใจคือ ตั๋วบินจากรัสเซียไปไซปรัส ตอนนี้เต็มทุกที่นั่ง

เพราะเศรษฐีรัสเซีย บินไปเพื่อถอนเงินจ้า

369947_1450051196_1123041612_q.jpg

วรวรรณ ธาราภูมิ ที่ สำคัญคือ ไซปรัส เป็นทีที่มาเฟียรัสเซียรวมถึงนักการเมือง เอาเงินไปฝาก แบบว่าฟอกเงินอ่ะ คล้ายๆ สวิสเซอร์แลนด์ และคล้ายๆ สิงคโปร์ในวันนี้ที่มีคนไทยโดยเฉพาะฝั่งการเมืองกับข้าราชการขี้ฉ้อเอาเงิน ไปแหมะไว้

 

แล้วไซปรัสโดนพวก Troika บังคับ แบบจะปล้นเงินผู้ฝากเฉยเลย คิดหรือว่ามาเฟียจะอยุ่นิ่งๆ

 

งานนี้ ปูติน สู้ตายค่ะ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในการลงมติวันอังคาร(19) มีสมาชิกสภาฯ 36 คน ที่โหวตคัดค้าน 19 รายงดออกเสียง และไม่มีใครยกมือสนับสนุนมาตรการดังกล่าวเลย แม้ก่อนหน้าทางกระทรวงการคลังได้ปรับแก้แผนนี้ ด้วยเสนอยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับผู้ฝากเงินรายย่อย แต่ก็ยังถูกต่อต้านอย่างดุเดือด

จากข่าว ตกลงสมาชิกสภาฯของเขามีแค่55คนเองหรือครับ ถ้าจำนวนผู้โหวตมีน้อยขนาดนี้ มาเฟียรัสเซียซื้อเสียงจ่ายคนละ10-30ล้านยูโร(ซื้อสัก70%ของคะแนนเสียงก็พอ) ก็ไม่โดนยึดเงินแล้ว

ตอนแรกผมงงว่า ทำไมแก้ไขขนาดนี้ยังไม่ผ่าน

แม้ก่อนหน้าทางกระทรวงการคลังได้ปรับแก้แผนนี้ ด้วยเสนอยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับผู้ฝากเงินรายย่อย แต่ก็ยังถูกต่อต้านอย่างดุเดือด

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากที่อ่านๆฟังๆข่าวมา มันทำให้ผมเชื่อจริงๆนะ ว่ากรณีไซปรัสนี้ ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายแน่ๆ

  • รมต.คลัง นิวซีแลนด์ ออกมาสนับสนุนให้ใช้วิธีแบบไซปรัส กรณีที่มีแบงค์เน่าและขึ้นอืดในนิวซีแลนด์
  • เงินของปชช.ที่มีอยู่ในธนาคาร จะโดนดูดออกไปตามจำเป็น เพื่อที่จะอุ้มแบงค์เน่าไม่ให้จมน้ำ

www.voxy.co.nz/politics/national-planning-cyprus-style-solution-greens/5/150410

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

.....

หากจุดใดในระบบเป็นหนี้หลายพันล้าน แล้วเกิดเป็นปัญหากับเจ้าหนี้

 

แล้วใครล่ะ คือเจ้าหนี้ ?

 

ใคร คือ เจ้าหนี้ที่แท้จริง เมื่อระบบมันเชื่อมโยงกันแบบนี้

 

เจ้าหนี้ตัวจริง ตัวสุดท้าย คือคนที่เป็นเจ้าของธนาคารกลางต่างๆครับ

นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมคนบางกลุ่มถึงพยายามแบบเทหมดหน้าตัก ทำอะไรก็ได้เพื่อไม่ให้แบงค์เน่าๆล้ม

 

แต่บังเอิญว่าเขาเหนียมอาย แทนที่จะบอกว่า ถ้ามันพัง พวกเขาก็เสียหาย หมดทั้งเงิน หมดทั้งอำนาจ

เขาก็จะเก๊กหล่อ ทำหน้าเครียดออกทีวี

แล้วบอกว่า

 

"ถ้าระบบการเงินล้ม/จับผมเข้าคุก/ปล่อยให้แบงค์ล้ม แล้ว

________ (เติมคำในช่องว่าง) จะโกลาหล เราจะปล่อยให้มันเกิดขึ้นไม่ได้"

 

ผมมองว่า ไฟป่าเป็นปรากฏการธรรมชาติ ยังไง

แบงค์ล้ม ก็เป็นปรากฏการธรรมชาติ ยังงั้นละครับ

เพราะระบบ ธนาคารกลางเอกชน ในทุกวันนี้ มันออกแบบมาให้ไม่มีทางอยู่ได้อย่างยั่งยืนอยู่แล้ว

 

เมื่อมันล้มไป ธรรมชาติของมนุษย์ ก็จะหาสิ่งใหม่มาทดแทน ให้การค้ายังดำเนินต่อไปได้ครับ

แรกๆอาจจะมีติดขัดหน่อย แต่เชื่อสิ ด้วย ความโลภ หัวการค้าของมนุษย์แล้ว มันติดขัดไม่นานหรอก

แล้วจะรุ่งกว่าเดิมด้วย ......

 

ปรากฏการธรรมชาติบางอย่าง ทำให้เกิดขึ้นช้าลงได้ แต่ยังไงธรรมชาติก็จะไปตามทางของเขาในที่สุดครับ

 

 

ป.ล. เรื่องที่พิมพ์มา เป็นการมองโลกโดยรวม ไม่เกี่ยวกับประเทศใด รัฐใดเป็นพิเศษ

:Dh

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัด ที่ช่วยชี้ให้เห็นความผิดปกติของการนำเข้า/ส่งออก ทองคำจากเมืองลุงแซม

 

(สรุปความจากสปรอทท์ดอทคอม)

สปรอทท์ วิเคราะห์ตัวเลขทองคำของเมืองลุงแซมตั้งแต่ปี ๑๙๙๑ ถึง ๒๐๑๒ .....

  • จากตัวเลขการผลิต/ใช้งานทองคำในช่วงเวลาดังกล่าว ควรจะมีทองเหลือจากการใช้งานในประเทศ ประมาณ ๑๐๐๐ ตัน
  • จากตัวเลขการนำเข้า/ส่งออกทองคำ ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการส่งทองคำออกนอกประเทศสุทธิ ประมาณ ๕๕๐๐ ตัน
  • ของเหลือ - ส่งออกสุทธิ = ติดลบประมาณ ๔๕๐๐ ตัน

จากการคำนวณคร่าวๆข้างบน แสดงให้เห็นว่า ลุงแซมมีการส่งทองคำออกนอกประเทศ มากกว่าปริมาณที่สามารถส่งออกได้ กว่า ๔๕๐๐ ตัน

  • แน่นอนว่ามีตัวแปรที่เราไม่รู้ ไม่สามารถเอามาใส่ในการคำนวณครั้งนี้ได้ นั่นก็คือการซื้อ/ขาย ทองคำของนักลงทุนรายย่อย
  • การที่อุปทานของตลาดทองคำในกองทุนรวม และเหรียญต่างๆ มีสูงมาก เป็นตัวชี้ให้เห็นได้ว่า นักลงทุนรายย่อยนั้นซื้อเข้ามากกว่าขายออกในช่วงเวลาดังกล่าว
  • นั่นหมายความว่า ถ้าเราเอาตัวแปร(นักลงทุนรายย่อย)ใส่ลงไปในสมการ จะยิ่งทำให้ตัวเลขที่มีการส่งออกเกินกำลังของตัวเอง สูงกว่า ๔๕๐๐ ตันขึ้นไปอีก
  • คนที่จะขายทองได้มากขนาดนั้น ก็มีเพียงแค่รัฐบาลลุงแซมเท่านั้น ซึ่งตามบัญชี มีทองในมือกว่า ๘๓๐๐ ตัน (ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ไม่ได้มีการตรวจสอบเทียบกับของจริงมากว่า ๔๐ ปีแล้ว)
  • เดือน ก.ย. ๒๐๑๒ เราได้ออกมาบอกว่า ธนาคารกลางในโลกตะวันตก ได้แอบเอาทองคำออกมาขาย / ปล่อยกู้ แบบเงียบๆ เพื่อเพิ่มปริมาณอุปทานในตลาด และควบคุมราคาทองคำในที่สุด
  • ตัวเลขล่าสุดที่เราเอามาวิเคราะห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้ที่ช่วยยืนยันสมมติฐานนี้

 

http://sprott.com/markets-at-a-glance/do-western-central-banks-have-any-gold-left-part-ii/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากข่าว ตกลงสมาชิกสภาฯของเขามีแค่55คนเองหรือครับ ถ้าจำนวนผู้โหวตมีน้อยขนาดนี้ มาเฟียรัสเซียซื้อเสียงจ่ายคนละ10-30ล้านยูโร(ซื้อสัก70%ของคะแนนเสียงก็พอ) ก็ไม่โดนยึดเงินแล้ว

ตอนแรกผมงงว่า ทำไมแก้ไขขนาดนี้ยังไม่ผ่าน

แม้ก่อนหน้าทางกระทรวงการคลังได้ปรับแก้แผนนี้ ด้วยเสนอยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับผู้ฝากเงินรายย่อย แต่ก็ยังถูกต่อต้านอย่างดุเดือด

 

 

น่ากลัวว่าจากที่ซื้อเสียงนักการเมือง มาเฟียพวกนั้นจะให้ข้อเสนอที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ กับนักการเมืองพวกนั้น (แบบ ดอน คอร์ลีออน ใน ก็อด ฟาเธอร์) มากกว่านะสิครับ

:_02

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใจเย็นๆครับ พูดถึงนายแบงค์ทีไรคุณ wgc เลือดขึ้นหน้า :D

 

การปล่อยให้แบงค์ล้ม คนจะตื่นจากฝันได้ชั่วคนเดียวครับ คนรุ่นถัดมาก็ลืมเพราะความโลภประจำจิต เหมือนอย่างทุกวันนี้ เมื่อเจ้าของแบงค์ที่คุณ wgc พูดถึงล้มไปแล้วจะไม่มีคนใหม่ขึ้นมาเลยหรือครับ?

 

ผมเองไม่ได้มองระบบเศรษฐกิจว่าแยกเป็นส่วนๆ จนใครจะเอาใครเป็นตัวประกันได้ หรือมีใครได้ใครเสีย แต่ระบบมีความเชื่อมโยงแบบระบบนิเวศน์ คนในระบบจึงมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามแต่สถานะ เปรียบเหมือนลงเรือลำเดียวกัน

 

เมื่อเราได้ประโยชน์จากระบบ เราก็มีหน้าที่ที่ต้องทำให้ระบบอยู่รอดได้ด้วยการสนองตอบอย่างถูกต้อง

ยกตัวอย่างที่ใกล้กับตัวผมแล้วกันครับ ในฐานะของผู้บริโภคควรบริโภคพอประมาณ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อุดหนุนผู้ผลิต/บริษัทที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่เอาเปรียบ

 

ในฐานะนักลงทุน ควรจะศึกษาพื้นฐานกิจการก่อนและเลือกลงทุนในบริษัทอย่างข้างต้น และไม่ร่วมในวงจรเก็งกำไร เพราะมันเป็นส่วนสำคัญในการเกิดวิกฤตหนักขึ้นไปอีก และเพื่อป้องกันการเสื่อมค่าของเงิน เราควรเก็บทองไว้(ในถังแซทอย่างคุณหมอเล็กก็ได้)

 

หากเราไม่ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง เราก็เป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤตไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แล้วเราก็จะบ่นว่าต่างๆนานา แต่ตอนเราได้ใช้สินค้าบริการ หรือ ได้กำไรในการเล่นหุ้น จากบริษัทที่ทำธุรกิจเอาเปรียบ เราไม่บ่น

 

(อย่าหาว่าผมยูโทเปียเลยนะครับ เวลาผลแห่งกรรมเกิดไม่ว่ากับใคร มันไม่ยูโทเปียครับ แต่จะเป็นความจริงเสียยิ่งกว่าจริง)

หากเราทำหน้าที่เราแล้ว ยังเห็นว่าระบบไปไม่ไหว เราก็ต้องสละเรือ จะหลีกเลี่ยงวิกฤตเราต้องพึ่งพาระบบให้น้อย พึ่งพาตนเองให้มาก

 

เราลองสมมติบทบาทเป็นนายแบงค์ของคุณ wgc ดูก็ได้ครับ มีเงินมากมายที่ไม่ต้องเหนื่อยยากกับภาระมากมายพอกันที่ต้องแบกรับผูกติดมาด้วยต้องรักษาสถานภาพตัวเอง ฐานะทางสังคม ที่สำคัญคือภาระในการรักษา “เงิน “นั้นเอง บางทีเขาอาจจะอยากสละเรือบ้างก็สละไม่ได้ด้วยภาระดังว่า อิสรภาพทางการเงินไม่ได้อยู่ที่มีเงินมากเพราะเงินมากมาพร้อมภาระ เช่นเดียวกับอำนาจ ชื่อเสียงเกียรติยศ ฯลฯ พระแท้ที่ท่านไม่จับ ไม่ใช้เงินนั่นแหละมีอิสรภาพทางการเงินที่สุดแล้วครับ

 

มองอีกแง่ คนที่ก่อกรรมน่าสงสารครับ เพราะเขากำลังเริ่มกระบวนการชดใช้หนี้ คนที่รับกรรมแล้ว นั่นน่ายินดีกับเขาเพราะเขากำลังจะหมดหนี้ครับถ้าไม่ก่อกรรมเพิ่ม ดูอย่างนายแบงค์ที่กำลังดิ้นไม่ให้แบงค์ล้ม หรือปูตินที่กำลังเดือดอยู่นี่ เขามีความสุขกับการดิ้นรนนั้นหรือครับ ในขณะที่ชาวบ้านอย่างเราจะสละเรือเมื่อไรก็ได้ถ้าใจพร้อม

 

อีกอย่าง แบงค์ล้มเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แบงค์ไม่ล้มก็เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ธรรมชาติมีทั้งคนดีคนเลว กรรมเป็นเครื่องจัดสรรที่เป็นธรรมที่สุด หากเราทำหน้าที่ของเราสมบูรณ์แล้ว เราไม่เดือดร้อนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติใดๆ เพราะมันก็เป็นของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใจเย็นๆครับ พูดถึงนายแบงค์ทีไรคุณ wgc เลือดขึ้นหน้า :D

 

.....

 

:17

 

สมัยก่อนพูดถึงคนพวกนี้แล้วของขึ้นครับ เดี๋ยวนี้เริ่มนิ่งๆแล้ว

เพราะทำใจได้ว่าผมเป็นมด ไม่สามารถเปลี่ยนอะไรด้วยตัวคนเดียวได้ ทำได้อย่างมาก

คือเอาความรู้ความเข้าใจที่มี มาเตรียมตัวเองไว้ให้พร้อมไว้ และบอกต่อคนอื่นบ้าง เท่าที่จะมีคนฟัง

 

เอาเป็นว่า เรื่องปล่อยให้ระบบการเงินพัง/ไม่พัง เล่นเกม/ไม่เล่นเกม นี่

ผมยอมรับว่าผมมีประเด็นที่เห็นตรง และไม่ตรงกันกับคุณไมโลก็แล้วกันครับ

ออกนอกเรื่องทองคำกันมาหลายกิโลเลย

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่ากลัวว่าจากที่ซื้อเสียงนักการเมือง มาเฟียพวกนั้นจะให้ข้อเสนอที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ กับนักการเมืองพวกนั้น (แบบ ดอน คอร์ลีออน ใน ก็อด ฟาเธอร์) มากกว่านะสิครับ

:_02

 

เห็นด้วยครับ ผมว่านักการเมืองไซปรัสหลายคนเป็นคนของเขาครับ(เขาถึงกล้านำเงินมาไว้ที่นี่เยอะมากๆ เพราะเขามีนักการเมืองหลายคนเป็นลูกน้องเขา)

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นด้วยครับ ผมว่านักการเมืองไซปรัสหลายคนเป็นคนของเขาครับ(เขาถึงกล้านำเงินมาไว้ที่นี่เยอะมากๆ เพราะเขามีนักการเมืองหลายคนเป็นลูกน้องเขา)

 

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม...ธนาคารในไซปรัสเปิดทำการขึ้นมาปั่นป่วนแน่ครับ.....

ต่อให้ยับยั้งการเก็บภาษีสำเร็จ...ประชาชนและผู้ฝากเงินก็คงจะต้องแห่กันถอนเงินกันเกลี้ยงแน่...

เพราะคงไม่มีใครอยากเสี่ยงกับการที่เงินของตัวเองโดนยึดหรอก....

และต่อให้ยึดตามที่ประกาศมา...เงินก็ยังคงโดนถอนจนหมดแน่....

เพราะในระบบเงินฝากตั้งแต่อดีต...จนปัจจุบัน...ยังไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

และเชื่อว่าเหตุการณ์นี้...จะสร้างความวุ่นวายให้แก่ระบบการเงินของโลกไปอีกนานแน่...

 

ในอดีต...แบงค์เจ๊ง...ล้มละลาย เกิดขึ้นมามากมายหลายครั้ง...

รัฐเข้ามาอุ้มบ้าง...ไม่อุ้มบ้าง...ก็ว่ากันไป

ผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ ก็รับรู้...กันบ้างตามสมควร...

 

แต่ อ้รูปแบบที่อยู่ๆ...รัฐออกมายึดเงินผู้ฝากเสียเอง...ยังไม่เคยมีมาในระบบการเงินครับ...

ซึ่งโมเดลนี้...ถ้ามีการเริ่ม...อีกไม่นานคงมีผู้ตามละครับ...

คราวนี้ล่ะ...ระบบการเงินเละแน่...

การค้าและการลงทุน ( รวมถึงระบบเงินฝาก) อยู่ได้เพราะเครดิตและความเชื่อถือครับ...

ถ้ามันไร้ความน่าเชื่อถือละก็....ใช้วิธีคุณหมอเล็กดีกว่าครับ....

ใส่ถัง...ฝังดิน อย่างน้อยแม้ไม่ได้ดอก...แต่เงินต้นก็ยังอยู่ครบครับ.....555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นให้ความคิดเห็นกัน ฟังเเล้ว :Wt :_02

 

รอง ไก่ ต กับ ประธานเเบงค์ประเทศ ไม่อยากให้บาทอ่อน อยากให้เป็นไปตามกลไก เมื่อสองอาทิตย์ก่อนยังอัดท่านน้ำประสานทองอยู่เลยเรื่องอะไรไม่ต้องบอก

 

ในงานสัมมนาเเห่งหนึ่ง เจ้าสัว ไก่ต้ม บอกว่า บอกว่าเราอาจจะเกิดฟองสบู่หากเศรษฐกิจยังร้อนเเรงเเบบนี้ โดยเฉพาะอสังหา ฟังเเล้วเศร้า ท่านกะเบรคความมั่งคั่งรายย่อยใช่มั้ยเนี่ย มันก็ถูกส่วนหนึ่งเเหล่ะ เเต่ผมฟังโดยรวมเเล้ว .... ท่านคงคิดว่า ชาวไทยเอ๋ย มามะ มาทำงานให้ข้ารวยรวยรวยมากกว่านี้เหอะ ไม่ต้องคิด ทำตามข้าอย่างเดียว :_02

 

สุดท้ายไกล้ตัวอาเเปะนายก รอ1500 ให้ชลอการซื้อก่อนดูสถาณการณ์ อย่างว่าเเหล่ะ ครับ " มาขายผม(อาเเปะ) 22000 เเล้วค่อยมาเอาไปอีกที25000 ความมั่งคั่งจะเกิดกับท่านครับ " :033

 

ผมไม่อยากรู้มากครับ เเต่ผมเห็นท่านให้ข้อคิดสัมภาษณ์ออกมา พวกท่านคิดอะไรอยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นให้ความคิดเห็นกัน ฟังเเล้ว :Wt :_02

 

รอง ไก่ ต กับ ประธานเเบงค์ประเทศ ไม่อยากให้บาทอ่อน อยากให้เป็นไปตามกลไก เมื่อสองอาทิตย์ก่อนยังอัดท่านน้ำประสานทองอยู่เลยเรื่องอะไรไม่ต้องบอก

 

ในงานสัมมนาเเห่งหนึ่ง เจ้าสัว ไก่ต้ม บอกว่า บอกว่าเราอาจจะเกิดฟองสบู่หากเศรษฐกิจยังร้อนเเรงเเบบนี้ โดยเฉพาะอสังหา ฟังเเล้วเศร้า ท่านกะเบรคความมั่งคั่งรายย่อยใช่มั้ยเนี่ย มันก็ถูกส่วนหนึ่งเเหล่ะ เเต่ผมฟังโดยรวมเเล้ว .... ท่านคงคิดว่า ชาวไทยเอ๋ย มามะ มาทำงานให้ข้ารวยรวยรวยมากกว่านี้เหอะ ไม่ต้องคิด ทำตามข้าอย่างเดียว :_02

 

สุดท้ายไกล้ตัวอาเเปะนายก รอ1500 ให้ชลอการซื้อก่อนดูสถาณการณ์ อย่างว่าเเหล่ะ ครับ " มาขายผม(อาเเปะ) 22000 เเล้วค่อยมาเอาไปอีกที25000 ความมั่งคั่งจะเกิดกับท่านครับ " :033

 

ผมไม่อยากรู้มากครับ เเต่ผมเห็นท่านให้ข้อคิดสัมภาษณ์ออกมา พวกท่านคิดอะไรอยู่

 

มันอยู่ที่ว่า...คนได้รับข้อมูลและข่าวสารแล้ว

 

สามารถวิเคราะห์...และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับมาได้...แค่ไหน และอย่างไร...

คุณภาพของระบบการศึกษามันอยู่ตรงนี้แหละครับ....

 

ผมมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติหลายคน....ไอสคูลก็มี คอลเลจก็เยอะ....

แต่การศึกษาเขามีคุณภาพครับ....ระบบการคิด การวิเคราะห์ ของเขา...มีตรรกะ และเหตุผลรองรับ....

ไม่เหมือนการศึกษาของเรา...บางคนการศึกษาสูงเสียเปล่าระบบความคิดและการเชื่อมโยงหลักการ และเหตุผลไม่มีเลย...

ถ้าเกิดแบบนี้แล้วอะไรจะเกิดขึ้นตามมา...เชื่อมโยงไม่ถูก...

ใครเขาวิเคราะห์อะไรให้ฟัง...ถ้าเชื่อถือ เลื่อมใสเขาหน่อย...ก็เชื่อจนหมดใจเลยครับ.....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณหลายๆค่ะ คุณส้มโอฯ คุณwcg คุณmilo คุณJocho คุณหมอเลผ็ก และขาประจำทุกท่าน ที่คอยให้ความรู้อย่างสมำ่เสมอค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักการเมืองคงไม่กล้าโหวตให้เก็บภาษีเงินฝากตัวเอง และประชาชน เสียฐานเสียครับ ประชานิยมก็โหวตผ่าน ไม่สนใจหรอกว่าดีไม่ดี ขอแค่ได้รับเลือกพอ เห็นๆกันอยู่ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...