ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

Arizona set to OK gold, silver currency

 

Some conservative lawmakers say they fear paper money could become virtually worthless because of federal debt.

 

http://www.usatoday.com/story/news/nation/2013/04/20/arizona-set-to-ok-gold-silver-currency/2100039

ถูกแก้ไข โดย Mosquito

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนนี้สั่งของเขาร้านได้ตลอดหรือเปล่าครับ มีติดขัด/ต้องรอนานผิดปกติ บ้างหรือเปล่า

ตามอ่านเวบนอก เขาบอกว่าของขาดอย่างนั้น อย่างนี้ (แต่มันไม่ชัดว่าขาดเพราะผลิตไม่ทัน

หรือ ขาดเพราะวัตถุดิบขาด) เลยทำให้ยังเห็นภาพไม่ค่อยชัดครับ

....

ทอง แท่ง ติดขัดบ้างบางราย แต่ถือว่าของยังพอหาได้ แต่ตอนราคาลงต่ำสุดๆวันก่อน บางราย ปฏิเสธการขายครับ รับซื้อคืนอย่างเดียว เหตุผลบอกว่า ขัดข้องทางเทคนิค

ทองรูปพรรณ ของขาดตลาดแน่นอนครับ น่าจะทั้งทองแท่งที่นำมาผลิตเริ่มติดขัด และ ผลิตไม่ทัน เพราะขายดีมาหลายเดือนติดกันแล้ว

....

 

ลุงจิมบอกว่าให้คอยจับตาค่าพรีเมี่ยม(ของจริง)ดีๆ ถ้าค่าพรีเมี่ยมยังสูง ในขณะที่ราคาต่ำ, หรือราคาเพิ่มแบบมีความเร่ง แสดงว่าสภาพตลาดทองคำจะเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว

 

http://www.jsmineset.com/2013/04/21/pay-attention-to-gold-premiums/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ wcg ครับ ค่าพรีเมี่ยมนี่ดูจากที่ไหนได้ครับหรือแค่เอาราคาสมาคมลบสป็อตก็คือค่าพรีเมี่ยมครับ :38

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับเพื่อนที่ลุ้นทองอาทิตย์นี้ ผมมองว่าดีดครับ แต่อาจไม่ถึง 1550

จาก 700 - 1900 เหรียญ 50% คือ 1300 เหรียญ พอดี

อย่างไรก็ดี การเทรดระยะสั้นไม่สำคัญเท่าการวางแผนระยะยาวครับ

อย่าเเสียเวลาลุ้นระยะสั้นจนลืมวางแผนระยะยาวนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าของไทย ก็ดูจากเวบไทยโกลด์ เอา สมาคมฯ - Gold965% ก็จะเห็นว่าสมาคมคิดเกินราคาสปอทเท่าไหร่ครับ

 

ส่วนของตปท. ก็ต้องดูตามเวบขายทองออนไลน์ และจากข่าวต่างๆครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอ เพิ่งสังเกตว่าคุณเน็กซ์ เปลี่ยนชื่อกระทู้

 

ยังสงสัยเหมือนกันครับว่าทำไมเยนเปลี่ยนทิศแล้วทองลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลุงจิมบอกว่าให้คอยจับตาค่าพรีเมี่ยม(ของจริง)ดีๆ ถ้าค่าพรีเมี่ยมยังสูง ในขณะที่ราคาต่ำ, หรือราคาเพิ่มแบบมีความเร่ง แสดงว่าสภาพตลาดทองคำจะเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว

 

http://www.jsmineset...-gold-premiums/

 

ตอนนี้ในตลาดเล็กๆพรีเมียมเพียบจริงๆครับ แสดงว่า"ของ"ค่อนข้างหายาก

 

ส่วนในตลาดหลักที่เป็นตลาดกลางและใหญ่โดยเฉพาะฮ่องกง พรีเมียมยังไม่ได้ขึ้นมากจนผิดสังเกตุ แต่ก็ถือว่ามากกว่าปกติครับอยู่พอๆกับตอนที่อยู่ 1800-1850 เลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอ เพิ่งสังเกตว่าคุณเน็กซ์ เปลี่ยนชื่อกระทู้

 

ยังสงสัยเหมือนกันครับว่าทำไมเยนเปลี่ยนทิศแล้วทองลง

 

ปูเสื่อ ต้มมาม่ารออ่านบทความคุณเน็กซ์แล้วละครับ :)

 

ตอนนี้ในตลาดเล็กๆพรีเมียมเพียบจริงๆครับ แสดงว่า"ของ"ค่อนข้างหายาก

 

ส่วนในตลาดหลักที่เป็นตลาดกลางและใหญ่โดยเฉพาะฮ่องกง พรีเมียมยังไม่ได้ขึ้นมากจนผิดสังเกตุ แต่ก็ถือว่ามากกว่าปกติครับอยู่พอๆกับตอนที่อยู่ 1800-1850 เลย

 

ไม่แน่ครับ ถ้าตลาดเล็กๆ เขาอาจจะไม่ค่อยอยากปล่อยของที่ซื้อเข้ามาแพง แล้วขายขาดทุนเข้าเนื้อมาก เลยใช้วิธีขึ้นค่าพรีเมี่ยม

ต้องรอสักสองสามอาทิตย์ ให้ของในสต๊อกโดนล้างออกไปก่อน คราวนี้สั่งของล็อตใหม่เข้ามา น่าจะพอเห็นว่าเป็นอย่างไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเพิ่มเติมข้อมูลหน่อยนะครับ

 

ช่วงการปรับฐานของทองปี 1974 และต้นปี 1980 นั้น ดาวโจนส์ก็ปรับฐานเช่นกัน

 

ปัจจุบัน ทองปรับฐาน แต่ดาวยังไม่ปรับฐาน จึงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากในอดีต ทั้ง 2 คราว พอร์ทหุ้นก็ไม่ควรประมาทนะครับ

 

ปล. ดูจากกราฟระยะยาวที่ไม่ค่อยละเอียด ใครมีกราฟแบบละเอียดๆ บ้างครับ

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดเล็กนี่ผมหมายถึงตลาดที่ซื้อขายแล้วเจอปัญหาจุกจิกน่ะครับ เช่นภาษีนำเข้า การส่งมอบ ขั้นตอนการซื้อขาย ฯลฯ เช่น ญี่ปุ่น ยุโรปบางประเทศ รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยนะครับ (^ ^) คือ ตลาดพวกนี้วอลลุ่มซื้อขายจะเยอะ แต่การรับของมีขั้นตอนวุ่นวาย เลยไม่รุ้ว่าซื้อขายแล้วรับมอบรึเปล่า ผมเลยเหมาเรียกว่าเป็นตลาดเล็ก

 

อย่างเมืองไทยผมถือว่าเป็นตลาดหลักทองคำได้เลยล่ะครับ เพราะซื้อง่ายขายคล่องมากๆ นอกจากไทยในเอเชียที่เป็นตลาดหลักๆก็จะเป็น สิงคโปร์ ฮ่องกง สามประเทศนี้จะไม่ค่อยมีพรีเมียมของราคาและเป็นตลาดส่งมอบหลัก

 

ความเห็นส่วนตัวผมว่าพรีเมียมพวกนี้อยุ่ที่ความพอใจกับความต้องการสินค้าในตลาดมากกว่าครับ แต่ลักษณะที่คุณ wcg บอกก็อาจจะเกิดขึ้นได้เหมือนกันครับ

ถูกแก้ไข โดย หมีน้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนนี้...ค่ากำเหน็จทองคำ...ค่าแรงเพิ่มอีกหนึ่งเท่าตัว....จาก..ห้า-หกร้อย เป็น พันสอง....หาสร้อยยาก...เพราะทองแท่ง...ให้ช่างหาซื้อยาก...ซื้อทองต้องจ่ายสด ทำให้การค้ามีสดุดกันบ้าง...ต้องเห็นของ จ่ายสด ทำให้ขาดการสดวก...เรื่องเครดิตชั่วคราว...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ไม่ได้ไปไหนเลยเอากราฟมาร่วมกันวิจารณ์

 

จริงๆผมก็ไม่ชอบคาดเดาราคาครับ เพราะตั้งเเต่มาศึกษาจากthaigoldที่นี่ก็มีวินัยมาตลอด เเต่อย่างว่าครับ เมื่อเราฝืนระเบียบ ฝืนตลาดด้วยอารมณ์ บวกความมั่นใจที่ชนะมาบ่อย ความเสียหายจึงเกิดขึ้น

 

18Wrlg.png

 

อันนี้เป็นกราฟสมัยตลาดbearนะครับ เส้นเเดงema150 น้ำเงินema200 กลางปี1999 ขึ้นผิดปรกติไปร่วม40%ใน3weeks

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรงจำนำในเมืองต่างๆของอินเดีย

http://th.cybo.com/C/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2/

ลองกดเลือกไปที่มุมไบ รายชื่อโรงรับจำนำในเมืองนี้มีรายชื่อยาวถึง20หน้า มากมายจริงๆ

http://th.cybo.com/IN/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9A/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3/?d=c

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศก.โลกพิการ เติบโตไร้สมดุล ภาคผลิต/จ้างงานแย่ ฟองสบู่พุ่ง

  • 22 เมษายน 2556 เวลา 08:20 น.

E69A8E93F939450BB35730AE918DF04E.jpg

 

 

โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

กลายเป็นประเด็นที่ต้องกลับมาจับตามองกันอีกครั้งสำหรับภาวะความเคลื่อน ไหวเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ออกมาตัดลดแนวโน้มการขยายตัวจีดีพีในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.3% ลดลงจากเดิมที่ 3.5%

พร้อมกันนี้ ไอเอ็มเอฟยังได้เตือนอีกว่าการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตที่ไม่สมดุลกันของโลก กำลังสั่นคลอนการฟื้นตัวในระยะยาว เห็นได้จากการที่ยุโรปกับญี่ปุ่นที่ยังจมอยู่กับภาวะถดถอยอยู่ สหรัฐที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวอย่างเต็มที่และเอเชียที่แม้หลายประเทศจะเกิด การชะลอตัวลง แต่โดยภาพรวมก็ถือว่ามีการขยายตัวที่ร้อนแรงกว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ในโลก ซึ่งภาวะดังกล่าวเรียกได้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในตอนนี้กำลังดำเนินไปคนละทิศคน ละทาง ไร้จุดหมายปลายทางอย่างสิ้นเชิง

คำเตือนของไอเอ็มเอฟที่ออกมานั้น ถือว่าสะท้อนปัญหาภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เป็นไปอย่างไม่สมดุลได้อย่างแจ่มชัดที่สุด

เพราะการที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่น ยังจมอยู่ในภาวะย่ำแย่และทำท่าว่าจะยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ใน เร็วๆ นี้ แน่นอนว่าการใช้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดต่างๆ ก็ยังคงจะเดินต่อไป โดยเหล่านักวิเคราะห์และสื่อมวลชนหลายสำนักคาดการณ์ว่าในอีกไม่ช้านี้ ทางธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) น่าจะออกมาตัดลดดอกเบี้ยลงจากที่ระดับ 0.75% อย่างแน่นอน เนื่องจากสถานการณ์ในยุโรปส่อแววว่าจะย่ำแย่อีกครั้ง จากปัญหาในไซปรัสและการเมืองในอิตาลี

ดังนั้น ภูมิภาคเอเชียรวมไปถึงกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีการเติบโตอย่างร้อน แรงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ของโลก จึงมีแนวโน้มว่าจะต้องแบกรับผลจากเงินทุนร้อนของประเทศพัฒนาแล้วต่อไปอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวเปรียบเสมือนกองฟางที่กำลังเข้ามาเร่งสุมไฟภาวะฟองสบู่ และภาวะการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาคมากยิ่งขึ้นไปอีก จนนำไปสู่ภาวะสงครามค่าเงินอย่างเต็มรูปแบบในที่สุด เห็นได้จากการที่หลายประเทศออกมาตรการแทรกแซงค่าเงินให้เห็นบ้างแล้ว เช่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ สัญญาณที่บ่งบอกและสะท้อนถึงความผิดปกติพิกลพิการของเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็คือ ความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพราะทั้งๆ ที่หลายประเทศต่างก็มีการเร่งงัดมาตรการและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาหลาย ระลอกติดต่อกันแล้ว เช่น สหรัฐ ที่มีการใช้นโยบายเข้าซื้อสินทรัพย์ (คิวอี) มาแล้วถึง 3 ครั้ง และตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 00.25% มาหลายปี ขณะที่ยุโรปเองก็ใช้มาตรการอัดฉีดเงินสินเชื่อเข้าระบบขนานใหญ่ (แอลทีอาร์โอ) ถึง 2 ครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

เนื่องจากเม็ดเงินจากการกระตุ้นได้แห่แหนเข้าไปกองและลงทุนอยู่ในภาค สินทรัพย์และตลาดหุ้นเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ภาคเศรษฐกิจจริง เช่น การจ้างงาน ภาคการผลิต กลับไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควร เห็นได้จากอัตราการจ้างงานในยุโรปและสหรัฐที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่การเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะรายย่อย (เอสเอ็มอี) กลับเป็นไปอย่างยากลำบาก

ไม่เพียงเท่านั้น สัญญาณที่บ่งชี้ว่าการกระตุ้นที่เกิดขึ้นนั้นเกิดความล้มเหลวในเชิงโครง สร้างอย่างสิ้นเชิงก็คือ แนวโน้มการที่หลายประเทศกำลังจะเดินหน้าเข้าสู่ภาวะเงินฝืด แทนที่จะเป็นเงินเฟ้ออย่างที่หลายฝ่ายกำลังกังวลกันไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะสหรัฐ ที่ตัวเลขดัชนีรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นมาตรการวัดเงินเฟ้อที่สำคัญในปีที่แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1.3% ขณะที่เป้าหมายอยู่ที่ 2%

ตัวเลขที่บ่งบอกถึงเงินเฟ้อที่ลดลงกำลังสะท้อนว่าภาคการบริโภค การจ้างงาน และการผลิตในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกกำลังมี ปัญหาอย่างหนัก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการใช้มาตรการอัดฉีดขนาดใหญ่ของเฟด ทั้งมาตรการคิวอีเดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 0-0.25% น่าจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปอย่างน้อยที่ 23%

นอกจากนี้ ปัจจัยของภาวะเงินฝืดยังถูกขับดันจากแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศที่คาดว่าจะ มีการกีดกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังเห็นได้จากผลสำรวจนักธุรกิจระดับผู้บริหาร 3,000 คน ใน 25 ประเทศ โดยบริษัท เจเนอรัล อีเลคทริค (จีอี) เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 71% ของผู้บริหารต่างต้องการให้รัฐบาลออกกฎปกป้องธุรกิจของประเทศ

ขณะที่องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ระบุเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า แนวโน้มการค้าทั่วโลกในปีนี้จะลดลงมาเหลืออยู่ที่ 3.3% จากเดิม 4.5% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกำลังทำให้หลายประเทศหันมาใช้มาตรการปก ป้องตลาดภายใน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของตนเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่ไอเอ็มเอฟรวมไปถึงบรรดาประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก 20 ประเทศ (จี20) จะออกมาเรียกร้องให้ทั่วโลกหันมาร่วมมือกันดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาที่ราก ฐานให้มากกว่านี้ และการแก้ปัญหาก็ควรจะต้องมองไปถึงการแก้ปัญหาในภาคเศรษฐกิจจริง เช่น การจ้างงานและภาคการผลิตมากขึ้น เพราะการแก้ปัญหาผ่านการใช้มาตรการกระตุ้นอัดฉีดนั้น ก็มีแต่จะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ ซึ่งเป็นการเติบโตที่กลวงเปล่าเท่านั้น

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟ ก็ยังย้ำด้วยว่า การเติบโตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถเดินไปอย่างมั่นคงเลย หากว่าการเติบโตยังเป็นไปคนละทิศคนละทาง ดังนั้นทุกประเทศจึงต้องใส่ใจกับการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของตนเอง เพื่อปูทางไปสู่การเดินเครื่องการเติบโตให้เป็นไปอย่างสมดุลกัน

ฉะนั้น หากปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขขึ้นมาอย่างจริงจัง แน่นอนว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในระยะยาวจะต้องเดินหน้าเข้าสู่ภาวะยากลำบาก อย่างแน่นอน เพราะในฟากประเทศพัฒนาแล้วก็จะเจอกับการถดถอยและการฟื้นตัวที่เบาบาง ส่วนเอเชียและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก็ไม่สามารถพึ่งพาได้ เพราะได้เดินหน้าเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตกและลัทธิการกีดกันทางการค้า ที่เกิดจากปัญหาสงครามค่าเงินไปแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พึ่งสังเกตุ คุณ Next เปลี่ยนชื่อกระทู้จาก Mania phase เป็น Panic Sell

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...