ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

อินเดียซื้อทองเพิ่มขึ้น 500% (MOM) ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาครับ

 

It surged by an absolutely unprecedented 500% in May MoM, and 222% compared to May of 2010, touching on a massive $8.96 billion in imports in the past month. Putting this number in perspective the yearly average Indian imports are about $22 billion: in one month the country will have imported about half its average quota for the year!

 

http://www.zerohedge.com/article/indian-gold-and-silver-imports-surge-stunning-500-may

 

ปล. เงินเฟ้อในอินเดียค่อนข้างสูงมากครับ ดังนั้นคนอินเดียเลยซื้อทองเพื่อรักษาอำนาจซื้อของเงิน ทำให้มีการซื้อทองเพิ่มขึ้นอย่างมากนั่นเองครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านแล้วรีบกดบวกให้คุณเหมียวโจโดยพลัน ++

ได้ความรู้ใหม่เพียบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ปล. มีใครทราบไหมครับว่าเวลาเที่ยงคืนของกรีซ ตลาดอเมริกาปิดหรือยังครับ

 

เอเธนส์ GMT+2 นิวยอร์ค GMT-5 เท่ากับว่าต่างกัน 7 ชั่วโมง

ดังนั้นเที่ยงคืนของกรีซ ตลาดนิวยอร์คปิดแล้วครับ ...ไม่ได้ลุ้นครับ อิอิlaugh.gif

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเธนส์ GMT+2 นิวยอร์ค GMT-5 เท่ากับว่าต่างกัน 7 ชั่วโมง

ดังนั้นเที่ยงคืนของกรีซ ตลาดนิวยอร์คปิดแล้วครับ ...ไม่ได้ลุ้นครับ อิอิlaugh.gif

 

ขอบคุณครับ :) :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากหนังสือแปลไทย Rich Dad's CONSPIRACY of THE RICH หรือ "พ่อรวยเล่าเรื่อง เกมการเงินของคนรวย" ของ คุณโรเบิร์ติ คิโยซากิ เล่าในหน้าที่ 131 ไว้ว่า

 

 

 

 

3. ทองคำของคนโง่

ปธน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (ปี 1933-1945 ยุคเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ตรงกับสมัย ร.7 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น) ได้เรียกร้องให้ชาวอเมริกันส่งมอบทองคำให้รัฐบาล โดยที่รัฐจะคืนกลับมาในรูปเงินกระดาษในอัตรา 20.22 USD/Oz หลังจากนั้นเขาก็ปรับอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 35 USD/Oz

 

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือทุกๆ 20.22 USD/Oz ประชาชนจะถูกโกงไป 15 USD หรือโดนปล้นไป 58 เปอร์เซนต์

 

 

 

 

 

ในปี 1975 (ยุคสงครามเวียดนาม) ปธน. เจอรัล ฟอร์ด ได้กลับมาอนุญาตให้ชาวอเมริกันเป็นเจ้าของทองคำได้อีกครั้ง หลังจากที่ปธน.นิกสันได้ยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์กับทองคำไปเรียบร้อยแล้ว ใครจะไปสนใจเรื่องของทองคำอีกก็ในเมื่อคนที่ควบคุมรัฐบาลและธนาคารของเราสามารถพิมพ์เงินออกมาทันที่ที่ต้องการอยู่แล้ว

 

ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้แค่เงินกระดาษ ชาวอเมริกันส่วนใหญ๋ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าจะไปซื้อเหรียญทองคำ หรือเหรียญเงินได้ที่ไหน หรือทำไมพวกเข้าจึงควรซื้อมันเอาไว้ สิ่งที่พวกเข้ามองเห็นก็มีแต่ตำแหน่งงานที่หดหายไป ราคาบ้านของพวกเขากำลังตกต่ำลง และเงินเก็บเพื่อการเกษียรอายุของพวกเขากำลังสูญหายไปพร้อมๆ กับการตกต่ำลงของตลาดหุ้น ผู้คนที่สิ้นหวังต้องการให้รัฐให้เงินช่วยเหลือพวกเขา นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่ทราบเลยว่ากำลังเลือกให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง แทนที่จะเป็นภาวะเงินฝืด

 

 

 

ใครอ่านแล้ว ไม่กดคะแนนบวก แช่งดอย หรือติดสัญญาGF SV เพี้ยง -_-

 

:o จร๊าก.... คะแนนเราหมดไปแร้วอะ +1ตรงนี้นะคร้า :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
<_< ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ สาระแน่นปึ้กเช่นเคย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์ ต่างประเทศ

จับตา..มะกันเล่นกับไฟขู่ชักดาบปล่อยหนี้สูญ

21 มิถุนายน 2554 เวลา 07:33 น. | เปิดอ่าน 829 | ความคิดเห็น 0

“ผมคิดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ (Default) แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะเลวร้ายมาก และผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเขาจะหยุดเล่นกับไฟเสียที”

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

“ผมคิดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ (Default) แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะเลวร้ายมาก และผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเขาจะหยุดเล่นกับไฟเสียที” รอยเตอร์ส อ้างคำกล่าวของ หลี่เต้ากุย ที่ปรึกษาธนาคารกลางของจีน ซึ่งกล่าวนอกรอบระหว่างการประชุมแห่งหนึ่งที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเร็วๆ นี้

 

เพราะในขณะที่โลกมัวแต่วิตกกับปัญหาหนี้ของกรีซ ที่อาจผิดนัดชำระหนี้จนส่งผลสะเทือนไปทั่วยุโรป โลกคงไม่ทันได้ตระหนัก ไม่รู้ หรือไม่ทันได้คิดว่า มหาอำนาจเบอร์ 1 อย่างสหรัฐ ก็มีคิวที่ต้องจ่ายหนี้เร็วๆ นี้ ในวันที่ 15 ส.ค.เช่นกัน

 

และที่สำคัญ ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น “หนี้สูญ” หรือเกิดการเบี้ยวหนี้ เหมือนกันอีกด้วย

 

คำว่า Default ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ชักดาบเบี้ยวหนี้ทั้งหมด ผิดนัดชำระหนี้ไป 1 วัน หรือหมดหนทางจนต้องปรับโครงสร้างหนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับเขตเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก

 

 

ทั้งที่ทุกวันนี้ สหรัฐมีระดับหนี้สาธารณะพุ่งทะลุทะลวงไปถึง 14.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 430 ล้านล้านบาท) พร้อมงบประมาณขาดดุลที่พุ่งสูงสุดนับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคาดว่าในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. นี้ งบขาดดุลจะพุ่งถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 42 ล้านล้านบาท)

 

ทั้งที่สหรัฐเคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้มาแล้ว 4 ครั้ง และมีความเสี่ยงสูงอีกครั้งในปีนี้ เมื่อฟิทช์ เรทติ้งส์ ขู่ร่ำๆ ว่าจะ “หั่นเครดิต” หรือสิ่งสำคัญที่สหรัฐมีอยู่ในมือมากกว่าเงินสด

 

และทั้งที่ปัญหาการเมืองที่แตกแยกรุนแรงระหว่างฝ่ายค้านรีพับลิกันกับรัฐบาลเดโมแครตในวันนี้ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปทุกที

 

ในวันที่ 4 ส.ค.นี้ สหรัฐถึงกำหนดต้องไถ่ถอนพันธบัตรวงเงิน 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9 แสนล้านบาท) หากรัฐบาลไม่สามารถจ่ายได้เต็มจำนวน ฟิทช์ เรทติ้งส์ จะหั่นเครดิตตราสารหนี้บางประเภทลงเหลือ B+

 

และในวันที่ 15 ส.ค.นี้ สหรัฐต้องจ่ายหนี้จากการจำหน่ายพันธบัตร 2.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.1 แสนล้านบาท) และต้องจ่ายดอกเบี้ยผู้ถือตราสารหนี้งวดนี้อีก 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 แสนล้านบาท) หากเบี้ยวครั้งนี้ สหรัฐจะถูกขึ้นบัญชีดำ “ผิดนัดชำระหนี้ในวงจำกัด” (Restricted Default) และถูกหั่นอันดับเครดิตตราสารหนี้ทุกตัวลงมาอยู่ที่ระดับ B+

 

ทางออกเดียวของสหรัฐในขณะนี้ คือ สภาคองเกรสต้องผ่านกฎหมายภายในเส้นตายกลางเดือน ก.ค.นี้ ยอมปรับเพิ่มเพดานให้รัฐบาลกู้หนี้เพิ่มได้ จากเดิมที่ 14.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เรียกง่ายๆ ได้ว่ากู้หนี้มาโปะหนี้

 

แต่ที่ไม่ง่ายก็คือ การเมืองอเมริกันในวันนี้ไม่ได้ปรองดองกัน แถมยังเล่นการเมืองกันแบบไม่กลัวฉุดประเทศ/หรือโลกดำดิ่งไปด้วย ดังที่จีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เบอร์ 1 ของอเมริกาต้องออกมาเตือนดังๆ ว่า “อย่าเล่นกับไฟ”

 

สส.พรรครีพับลิกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังท้าให้รัฐบาลพรรคเดโมแครต “เบี้ยวหนี้ในเชิงเทคนิค” ด้วยการเลื่อนกำหนดวันชำระหนี้ออกไป โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญหวังกดดันให้รัฐบาลตัดลดงบประมาณรายจ่ายให้เข้มข้นกว่านี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับสมดุลงบประมาณระยะยาว (และให้ตัดงบในโปรเจกต์ของเดโมแครตด้วย)เรียกว่ายอมเสียเครดิต ยอมจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น และยอมทนเห็นความโกลาหลในตลาดทุนโลกในช่วงสั้นๆ โดยเฉพาะการทรุดฮวบของเงินดอลลาร์ เพื่อรักษาพื้นฐานระยะยาวของเศรษฐกิจสหรัฐเอาไว้

 

แต่ทั่วโลกดูจะสมานฉันท์พร้อมใจกันส่งสัญญาณทันทีว่า “ยอมไม่ได้” เพราะผลที่ตามมาจะไม่ใช่แค่ความโกลาหล แต่เป็นหายนะทางเศรษฐกิจที่เกิดเป็นลูกโซ่ราวกับงูกินหาง เพราะทุกวันนี้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศล้วนผูกพันกับสหรัฐหลักๆ 2 ด้านด้วยกัน คือ 1.เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งถือครองตราสารหนี้สหรัฐเอาไว้ และ 2.แบงก์ชาติทั่วโลกต่างก็ถือครองเงินเหรียญสหรัฐเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักของทุนสำรองระหว่างประเทศ

 

จึงไม่น่าแปลกใจที่จีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เบอร์ 1 ถือครองตราสารหนี้สหรัฐไว้กว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 30 ล้านล้านบาท จะต้องส่งเสียงเตือนดังๆ ให้ลูกหนี้ได้รับรู้

 

“ผมกังวลมากถึงความเสี่ยงที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ เพราะจะส่งผลกระทบให้เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงทันที” ที่ปรึกษาธนาคารกลางของจีน กล่าว

 

ขณะที่ เบน เวสต์มอร์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านสินค้าโภคภัณฑ์จากธนาคารกลางออสเตรเลีย ก็กล่าวกับรอยเตอร์สว่า การผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจตามมาอย่างเลวร้ายที่สุด โดยเฉพาะในตอนนี้ที่ดัชนีตัวเลขด้านต่างๆ ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก และปล่อยให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้แม้ในเชิงเทคนิค จึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก

 

เรียกว่าทุกฝ่ายล้วนเห็นถึงหายนะที่จะตามมาตรงกัน ดังนั้นในอีกด้านหนึ่ง ตลาดส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อว่าสหรัฐจะปล่อยให้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น

 

แต่หากภายใน 5-6 สัปดาห์นี้ ยังไม่ได้เห็นวี่แววการผ่านกฎหมายของสภาคองเกรส ถึงเวลานั้นก็อาจได้เห็นสัญญาณเตือนโกลาหลย่อมๆ มาจากตลาดทุนโลก

 

ถึงเวลานั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้...

 

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/95339/จับตา-มะกันเล่นกับไฟขู่ชักดาบปล่อยหนี้สูญ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

delete

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แกะรอยปริศนาขุมทองยูกันดา

08 มิถุนายน 2554 เวลา 07:46 น. |

นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา สื่อตะวันตกพยายามล้วงตับอุตสาหกรรมเหมืองทองในยูกันดา หลังจากที่ระแคะระคายมาว่า อุตสาหกรรมทองคำในประเทศนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างผิดสังเกต.....

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา สื่อตะวันตกพยายามล้วงตับอุตสาหกรรมเหมืองทองในยูกันดา หลังจากที่ระแคะระคายมาว่า อุตสาหกรรมทองคำในประเทศนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างผิดสังเกต จากที่เคยผลิตทองคำได้เพียง 37 กิโลกรัม เมื่อปี 2536 มูลค่าส่งออกเคยต่ำเพียง 500 เหรียญสหรัฐเท่านั้น

 

ในปีถัดมาทองคำทำรายได้ให้ยูกันดาถึง 73.8 ล้านเหรียญสหรัฐ! จนถึงปี 2550 มูลค่าการส่งออกทองคำขยับขึ้นมากว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

เหตุทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2546 ปีเดียวกับที่กองกำลังต่างชาติที่รุกรานคองโก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกองทัพยูกันดาพร้อมใจกันถอนทหาร ยังผลให้กลุ่มติดอาวุธในคองโกพร้อมใจกันประกาศสงครามขนาดย่อมๆ เพื่อแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่มั่งคั่ง กบฏกลุ่มหนึ่งประกาศก่อตัวเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลกลาง สามารถยึดภาคตะวันออก ซึ่งเป็นขุมทองคำและขุมเพชรในปริมาณและมูลค่ามหาศาล

 

ภาคตะวันออกของคองโกมีพรมแดนประชิดกับภาคตะวันตกและภาคเหนือของยูกันดา

 

สื่อตะวันตกจึงตั้งข้อสังเกตในทางเดียวกันว่า ทองคำจากยูกันดาต้องเป็นทองคำที่ลักลอบมาจากฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏในคองโก พื้นที่ที่ประชาชนถูกเกณฑ์มาติดอาวุธเพื่อสังหารเพื่อนร่วมชาติ และถูกเกณฑ์เป็นแรงงานทาสเพื่อเสาะหาทองคำและเพชรพลอย และลักลอบขายแร่มีค่าเหล่านั้นเพื่อซื้อหายุทธปัจจัย เข่นฆ่ากันต่อไป

 

ทองคำจากคองโกจึงมีฉายาอย่างน่าพรั่นพรึงว่า ทองคำเปื้อนเลือด หรือ Blood Gold เช่นเดียวกับ เพชรโลหิต หรือ Blood Diamond จากประเทศเซียร์รา ลีโอน ซึ่งต่อมาถูกตีแผ่เป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน นำแสดงโดย ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ

 

 

แต่เรื่องราวอันเป็นปริศนาของทองคำสีเลือดจากคองโกถึงยูกันดา มีตัวเอกนำแสดงหลายคน กล่าวกันว่าหนึ่งในนั้นเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยรวมอยู่ด้วย และรวมถึงบุคคลอื่นๆ ทั้งที่เปิดเผย และที่เป็นปริศนาอีกนับไม่ถ้วน ตั้งแต่นักลงทุนจากรัสเซีย ไปจนถึงบุคคลที่ 3 ในดูไบ ซึ่งเคยรับซื้อแร่ทองจากยูกันดา เพื่อสกัดเป็นทองคำบริสุทธิ์ และจัดจำหน่ายต่อไป

 

ทองคำจากยูกันดาไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นทองคำจากคองโกที่มีปัญหา ทั้งยังเป็นปมความขัดแย้งระดับโลก

 

ด้วยความที่ทองคำจากคองโกเป็นทองที่ขุดขึ้นด้วยเลือดเนื้อและความตาย ประชาคมโลกจึงประณามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทองคำเปื้อนเลือด ถึงขนาดที่คณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ (UN) เตือนว่า

 

“ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับทองคำจากยูกันดา ซึ่งส่งมาจากคองโกอีกทอด ถือเป็นผู้มีส่วนร่วมกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง”

 

ด้วยข้อกล่าวหาสาหัสสากรรจ์ถึงเพียงนี้ รัฐบาลยูกันดาและนักธุรกิจในอุตสาหกรรมเหมืองทอง จึงพยายามยืนยันมาโดยตลอดว่า ทองคำจากยูกันดา เป็นผลิตภัณฑ์ Made in Uganda แท้ 100%

 

แหล่งทองคำในยูกันดา จึงกลายเป็นประเด็นครึกโครมอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Times ในอังกฤษเมื่อปลายปี 2552 โดยระบุถึงธุรกิจของตนในต่างแดน ซึ่งรวมถึงการได้รับสัมปทานออกลอตเตอรี่ในยูกันดา และสัมปทานเหมืองทองคำในประเทศเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าได้ทำการสำรวจธุรกิจทองคำในยูกันดาอีกครั้ง เมื่อเดือน ก.พ. ปี 2553

 

เป็นเพราะความไม่กระจ่างของทองคำแห่งกาฬทวีป ทำให้วาจาของอดีตนายกฯ เป็นที่จับตาของชาวโลก โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในคองโกมากเป็นพิเศษ

 

ในประเทศไทย บ้านเกิดอันเป็นที่รักและประเทศที่ต้องการตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม) เรื่องนี้ยังกลายเป็นประเด็นสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน

 

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ก่อนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์จะเริ่มขึ้น ทองคำยูกันดา (หรือทองคำจากคองโก) ยังเป็นวาระที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ติดตามด้วยความระทึกใจจนได้

 

ล่าสุด ทักษิณได้ให้สัมภาษณ์โพสต์ทูเดย์เร็วๆ นี้ ว่า ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองทองใน 5-6 ประเทศ และที่มากที่สุดอยู่ในประเทศยูกันดาถึง 31 เหมือง นอกนั้นอีก 5 ประเทศ มีอย่างละ 1-2 เหมือง รวมมูลค่า 5.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหักส่วนที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลประเทศนั้นๆ แล้ว ก็ยังมีรายได้เหลืออีกนับหมื่นล้าน

 

แต่คำกล่าวข้องต้นยังไม่ชวนให้หูผึ่งได้เท่าคำสัมภาษณ์ถัดๆ มา

 

เพราะเจ้าตัวยังแย้มคีย์เวิร์ดสำคัญอย่างยิ่งยวดด้วยว่า “พอผมไปเปิดอินเทอร์เน็ต คองโกสำรวจแล้วพบว่าสินแร่ที่มีมูลค่าเท่ากับค่าจีดีพีของสหรัฐอเมริกาและยุโรปรวมกัน แต่คนในประเทศแถบนี้ คุณภาพของคนนั้นไม่ได้”

 

แม้คำพูดนี้ไม่ได้ยืนยันว่า ทักษิณดั้นด้นไปใช้ยูกันดาเป็นฐานเพื่อขุดทองสีเลือดจากคองโก หรือรับซื้อทองจากคองโกผ่านยูกันดา ดังที่เป็นกระแสกังขา

 

เพราะการทำเหมืองทองในยูกันดาอาจหมายถึงการขุดสินแร่ทองคำจากสายแร่ทองแนวเดียวกับของคองโก พูดง่ายๆ ก็คือ ทักษิณอาจขุดทองในยูกันดา แต่เจาะเข้าไปเจอสายแร่ที่พาดผ่านจากคองโกเฉียดเข้าไปในพรมแดนของประเทศเพื่อนบ้าน

 

ปัญหาอยู่ที่ว่า กรณีเช่นนั้นมีความเป็นไปได้น้อยเพียงใด? และขุมทองยูกันดามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่? หรือเป็นทองคำเปื้อนเลือดจริงดังข้อกล่าวหา?

 

จากรายงานประจำปี 2551 ของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐ หรือ USGS ทำให้ทราบว่า ยูกันดามีแหล่งทองคำอยู่จริง และเป็นแหล่งทองคำที่มีขนาดมหึมา โดยเฉพาะในพื้นสำรวจในโครงการมาชองกา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศใกล้กับคองโก พบสายแร่ทองคำยาว 3 กิโลเมตร กว้าง 500 เมตร และยังเป็นแร่ทองคำคุณภาพสูง

 

ทางตอนกลางของประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากคองโกเช่นกัน รัฐบาลยูกันดาคาดการณ์ไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2008 ว่า พบแหล่งทองคำในเขตมูเบนดา ประเมินในชั้นต้นคาดว่าจะมีปริมาณมากถึง 500 กิโลกรัม ส่วนในเขตมูโกโนในภาคกลาง พบสายแร่ขนาด 300 X 700 เมตร แต่เขตนี้มีพื้นที่ค่อนไปทางภาคตะวันออก

 

กล่าวโดยสรุป ยูกันดามีทองคำจริงแท้แน่นอน ด้วยการยืนยันจากรัฐบาลยูกันดาเอง และจากรัฐบาลสหรัฐผ่านรายงานของ USGS

 

ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่า ก็คือ นอกเหนือจากพื้นที่ภาคตะวันตกซึ่งติดกับพรมแดนคองโกแล้ว ยูกันดายังพบสายแร่ทองคำในพื้นที่ภาคกลางค่อนไปทางตะวันออก ซึ่งห่างจากคองโกนับร้อยกิโลเมตร

 

แต่เรื่องไม่ได้จบลงแค่นี้

 

นักสิทธิมนุษยชนทั่วโลก รัฐบาลคองโก UN หรือแม้กระทั่งศาลโลก (ICJ) ยังไม่ปักใจเชื่อว่า ทองคำจากยูกันดาขุนมาจากผืนดินของยูกันดาทั้งหมด

 

แน่นอนว่า ช่วงเวลาที่ยูกันดารุกรานคองโก โดยอ้างว่าจะเข้าไปกวาดล้างกลุ่มกบฏที่หลบไปตั้งฐานในประเทศนั้น ยูกันดาได้ทำการปล้นสะดมทองคำ เพชรพลอย แร่สินในดินจากคองโกอย่างมหาศาล ทั้งยังทรมานทรกรรมชาวคองโกอย่างโหดเหี้ยม

 

เรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตได้รับการรับรองจากคำชี้ขาดของ ICJ แล้วว่า เกิดขึ้นจริงและประเทศที่ลงมือต้องรับผิดชอบ

 

แต่การ “ปล้นทอง” ในปัจจุบันกลับไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่ หรือเป็นภาพลักษณ์ด้านลบที่ติดมากับเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว

 

เมื่อปีที่แล้ว ยูกันดาอ้าแขนรับนักลงทุนจากรัสเซียจากบริษัท Victoria Gold Star ให้เข้ามาเปิดโรงงานสกัดแร่ทองคำแห่งแรกของประเทศ ด้วยศักยภาพการผลิตทองคำได้ถึง 10 กิโลกรัมต่อวัน

 

ยูริ โบโกโรดิตสกี กรรมการผู้จัดการของบริษัท Victoria Gold Star ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN ว่า ยูกันดามีแหล่งทองคำอย่างแน่นอน เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2552 แต่เป็นแหล่งทองที่แตกต่างจากคองโกที่มีแหล่งทองคำใกล้พื้นผิวดิน

 

ส่วนทองคำของยูกันดาเป็นแหล่งที่ซ่อนอยู่ในชั้นใต้ดินที่ลึกมาก ทำให้ยากที่จะพบ และถึงหากพบแล้ว ก็ยากที่จะขุดเจาะ ยกเว้นได้อาศัยเงินทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

 

โบโกโรดิตสกี ไม่ได้เปิดเผยว่า ทองคำที่เพิ่งค้นพบมีปริมาณมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้เปรียบเทียบได้ว่า ทองคำของยูกันดามีปริมาณการผลิตสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกที่สูงเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐหรือไม่

 

นักลงทุนจากรัสเซียเพียงแต่ยืนยันว่า นำเข้าทองคำจากคองโกจริง แต่ติดต่อทำสัญญาซื้อขายกับรัฐบาลโดยตรง ไม่ได้ลักลอบซื้อทองจากกลุ่มกบฏในคองโก

 

โบโกโรดิตสกี ยอมรับว่า หลังจากที่รัฐบาลคองโกระงับการส่งออกทองจากภาคตะวันออกเมื่อเดือน ก.ย. 2553 เนื่องจากกลุ่มกบฏเกิดแข็งข้อขึ้นมาอีก ทำให้ทองคำขาดมือไปบ้าง แต่ยังสามารถนำเข้าทองคำจากเคนยา และแทนซาเนียเป็นการทดแทนได้ในอนาคต เนื่องจากทั้งสองประเทศมีแหล่งทองคำอยู่ไม่น้อย

 

จากถ้อยวาจาของนักลงทุนรัสเซียและจากข้อมูลของรัฐบาลยูกันดา สามารถสรุปได้ว่า ยูกันดามีทองคำแน่นอน แต่จะปริมาณมากน้อยเพียงใด ยังไม่เป็นที่ยืนยันแน่ชัด ส่วนกรณีที่มูลค่าส่งออกทองคำสูงจนน่าตกใจ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า มีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน “อย่างถูกกฎหมาย” เพื่อเสริมฐานะของตนให้เป็นศูนย์กลางการสกัดแร่และการค้าทองคำแห่งแอฟริกา

 

ไม่ใช่ศูนย์กลางการค้าทองคำเปื้อนเลือดดังคำกล่าวหาของชาติตะวันตก

 

อ้างจากคำย้ำชัดของนักลงทุนจากรัสเซียที่กล่าวว่า “การปรากฏตัวของโรงงานสกัดแร่ที่นี่ คือข้อโต้แย้งที่หนักแน่นว่าเราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพวกฉ้อโกง”

 

ประเทศนี้ คือแหล่งฟอกทองคำเปื้อนเลือดอย่างแนบเนียนหรือไม่ อาจฟันธงได้ยากจนกว่าสถานการณ์ในแอฟริกาตะวันออกจะสงบราบคาบ แต่ในห้วงเวลานี้ มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนที่สุด

 

ยูกันดากำลังกลายเป็นขุมทองแห่งใหม่ ใจกลางความดำมืดแห่ง “กาฬทวีป”

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/93100/แกะรอยปริศนาขุมทองยูกันดา

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนยุโรปเล่นกับไฟระวัง เชื้อร้าย ทางการเงิน

20 มิถุนายน 2554 เวลา 09:06 น.

ถึงแม้วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซจะสามารถคาดเดาได้ว่าคง “จบสวย” ได้ยาก อีกทั้งโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียคงไม่ใช่ 50-50 อีกต่อไป

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ถึงแม้วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซจะสามารถคาดเดาได้ว่าคง “จบสวย” ได้ยาก อีกทั้งโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียคงไม่ใช่ 50-50 อีกต่อไป แต่สิ่งที่ชวนให้วิตกยิ่งกว่านั้น คือ แนวโน้มที่วิกฤตอาจขยายวงกว้างลุกลามไปถึงประเทศที่หลายคนไม่ได้คาดหวังว่าจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต

 

 

 

เมื่อช่วงต้นปีมีการกะเก็งกันว่านอกจากกรีซแล้ว โปรตุเกส และสเปน จะเป็นเหยื่อของวิกฤตหนี้พอกหางหมูรายต่อไป ซึ่งไม่ผิดจากความเป็นจริงเท่าใดนัก เพราะในเวลาต่อมาโปรตุเกสต้องขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตามที่คาดไว้

 

แต่สิ่งที่เหนือความคาดหมาย คือ โปรตุเกสไม่ใช่รายที่ 2 แต่เป็นรายที่ 3 ต่อจากกรีซ เพราะเหยื่อลำดับต่อมากลับเป็นไอร์แลนด์ อีกทั้งจนถึงขณะนี้สเปนก็ยังไม่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟูแต่อย่างใด

 

อย่างไรก็ตาม การที่สเปน “ยัง” ไม่ขอรับความช่วยเหลือเพื่อพยุงวิกฤตหนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะรอดพ้นจากภาวะล้มละลายอย่างอ่อนๆ เหมือน 3 ประเทศข้างต้น ตรงกันข้าม หากสเปนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกต่อไป อาการอาจสาหัสกว่าประเทศอื่นๆ เสียด้วยซ้ำ เพราะอั้นปัญหามานานแรมปี

 

ล่าสุด แดนกระทิงดุเริ่มแสดงอาการของวิกฤตที่ “ดุ” พอๆ กับเหยื่อ 3 รายอย่างชัดเจนขึ้น เมื่อระดับหนี้สาธารณะช่วงไตรมาสแรกของปีนี้พุ่งขึ้นมาถึง 6.79 แสนล้านยูโร หรือกินสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ถึง 63.6% สูงที่สุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าอัตราเส้นตายที่ EU กำหนดไม่ให้หนี้สูงกว่า GDP เกิน 60%

 

สเปนเป็นอีกรายที่ละสายตาไม่ได้ เพราะแม้แต่รัฐบาลคาดการณ์ว่าอัตราหนี้จะสูงถึง 68.7% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศจะเริ่มดีวันดีคืนจากภาวะถดถอยเมื่อปี 2551 แต่ปัจจัยพื้นฐานยังย่ำแย่ อัตราว่างงานสูงถึง 21.29% หรือสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว เพียงเท่านี้ก็เพียงพอที่จะบั่นทอนความน่าเชื่อถือทางการเงินของสเปนได้ไม่ยาก

 

ปัญหาก็คือ สเปนจะถึงคราวเคราะห์เมื่อใด?

 

ในสายตาของผู้คร่ำหวอดในวงการการเงินและเศรษฐกิจของยุโรป อาจคาดเดาไว้ในใจแล้วว่า ไม่ช้าก็เร็วอาจต้องมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือสเปนอย่างแน่นอน กรณีนี้ไม่นับว่าเหนือความคาดหมาย หรือเหลือบ่ากว่าแรง เพราะคาดเดาได้อยู่แล้ว

 

ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ จะไม่ใช่แค่สเปนแค่รายเดียวเท่านั้น ในบัญชีรายชื่อเหยื่อของวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

มีปัจจัยหลายประการที่บ่งชี้ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปกำลังลุกลามรวดเร็วไม่แพ้เชื้ออีโคไล และความพยายามกอบกู้วิกฤตกำลังมาถึงทางตัน

 

ปัจจัยที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ความไม่ลงรอยระหว่างรัฐบาลประเทศต่างๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขความช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรีซ

 

นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เกิล แห่งเยอรมนี ยินยอมที่จะไม่บังคับในฐานะนายทุนช่วยเหลือรายใหญ่ ให้รัฐบาลกรีซต้องเลื่อนกำหนดการปล่อยพันธบัตรออกขาย ซึ่งถือเป็นการยุติความไม่ลงรอยของสมาชิก EU ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 สัปดาห์ จนสามารถเดินหน้าให้ความช่วยเหลือกรีซในลำดับต่อไปได้ และทำให้เงินยูโรกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง

 

ท่าทียินยอมของเยอรมนีในฐานะมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ของภูมิภาค เป็นไปเพื่อยุติภาวะสุญญากาศเท่านั้น และทำไปเพื่อยุติข้อครหาที่ว่าเยอรมนีทำตัวประหนึ่งจระเข้ขวางคลอง

 

แท้จริงแล้ว เยอรมนีกังวลอย่างที่สุดว่าเรื่องจะไม่จบแบบนี้

 

จนแล้วจนรอด นายกรัฐมนตรีของเยอรมนียังแสดงความกังวลใจอย่างเปิดเผยว่า หนี้สินของกรีซมีวี่แววจะกลายเป็นหนี้เสีย สิ่งที่จะติดตามมาคือ โรคระบาดทางการเงินที่แพร่สะพัดไปทั่วภูมิภาค

 

ไม่แต่ แมร์เกิล เท่านั้นที่รู้สึกหวั่นใจอย่างเห็นได้ชัด

 

ฌอง โคลด ชุงเกอร์ ประธานกลุ่มยูโรโซน เตือนว่า การที่จะโยนให้เจ้าหนี้ของประเทศในยุโรปต้องมาร่วมแบกรับกับมาตรการช่วยเหลือประเทศต่างๆ นั้น รังแต่จะนำความวิบัติมาให้ เพราะผลที่จะตามมาคือ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินจะยิ่งมีปฏิกิริยาด้านลบต่อยุโรป พากันตบเท้าปรับลดระดับเครดิตครั้งใหญ่เพื่อพิทักษ์นักลงทุน

 

หายนะที่จะตามมาคือ เสถียรภาพทางการเงินการคลังของยุโรปจะเข้าขั้นวิกฤต ปัญหาหนี้สาธารณะจะแพร่ไปเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง ดังที่ ชุงเกอร์ เตือนว่า “เรากำลังเล่นกับไฟ”

 

ที่สำคัญ คือ ชุงเกอร์ แย้มว่าเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตหนี้อาจเป็นอิตาลีและเบลเยียม ซึ่งมีอัตราหนี้สาธารณะที่สูงมากในอันดับที่ 8 และ 10 ของโลก หรือมากกว่าไอร์แลนด์และโปรตุเกส ในอันดับที่ 11 และ 14 ด้วยซ้ำ

 

โดยเฉพาะอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ G7 หากเกิดอะไรไม่คาดฝันขึ้นมา ผลพวงที่จะตามมายิ่งเลวร้ายกว่ากรีซ ไอร์แลนด์ หรือโปรตุเกสรวมกันหลายเท่า

 

ล่าสุด Moody’s Investors Service ฮึ่มๆ จะหั่นเครดิตของอิตาลีลง อ้างว่าเศรษฐกิจโตอย่างอืดอาด แต่หนี้สินกลับพอกพูน อีกทั้งต้นทุนการกู้ยืมยิ่งสูงขึ้น โดยสรุปก็คือ อิตาลีกำลังเข้าทางเดียวกับกรีซ และอีก 3 ชาติที่อาการกำลังร่อแร่

 

นี่คือสัญญาณอันตราย “ถึงแก่ชีวิต” ที่ไม่ต่างจากเชื้อร้ายอีโคไลที่กำลังระบาดเหมือนไฟลามทุ่งไปทั่วยุโรป

 

หากความวัวยังไม่ทันหายจากกรีซ “ความตาย” กลับกำลังมาเยือนอีกหลายประเทศร่วมภูมิภาค

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/95148/เตือนยุโรปเล่นกับไฟระวัง-เชื้อร้าย-ทางการเงิน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินเฟ้อจีนติดจรวด ราคาอาหารโลกสะเทือน

15 มิถุนายน 2554 เวลา 09:28 น. | เปิดอ่าน 1,234 | ความคิดเห็น 3

สิ่งหนึ่งที่รบกวนจิตใจของชาวโลกมาโดยตลอด คือ จะหาเลี้ยงปากท้องของชาวโลกอย่างไร

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

สิ่งหนึ่งที่รบกวนจิตใจของชาวโลกมาโดยตลอด คือ จะหาเลี้ยงปากท้องของชาวโลกอย่างไร เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกวันในอัตราส่วนที่รวดเร็ว และคาดว่าโลกขนาดย่อมๆ ใบนี้จะมีประชากรถึง 7,000 ล้านคน ภายในปี 2555 หากไม่มีปัจจัยลบใดๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง

 

ไม่ต้องมองถึงระดับโลก แค่มองที่วงแคบเฉพาะในเอเชีย ยิ่งทำให้กังวลและกังขา เพราะภูมิภาคนี้โอบล้อมด้วยประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก นั่นคือจีนและอินเดีย

 

ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศมีศักยภาพและพลวัตด้านเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่พึ่งของนานาประเทศในภูมิภาค หรือแม้กระทั่งในโลกตะวันตก แต่ยังมีสิ่งที่ “รบกวนจิตใจ” ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อฉุกคิดว่าจำนวนประชากรจีนและอินเดียยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งการผลิตอาหารภายในอาจไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงทั้งสองประเทศ ยังผลให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากอย่าง 2 ประเทศนี้

 

 

วันนี้ปัญหาเริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้น เมื่อผลผลิตด้านอาหารเริ่มไล่ตามจำนวนประชากรที่อัตราการบริโภคไม่ทัน ยังผลให้ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นภัยคุกคามระยะยาวของจีนและอินเดีย

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งมีความเปราะบางกับปัญหาเงินเฟ้อในระดับที่สูงมาก

 

ล่าสุด ตัวเลขเงินเฟ้อของจีนช่วงเดือน พ.ค. พุ่งขึ้นมาถึง 5.5% สูงกว่าเส้นตายที่วางไว้ที่ 4% สำหรับปีนี้ และนับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2551 ซึ่งสูงถึง 6.3% ในช่วงเวลาเดียวกับที่โลกเผชิญกับวิกฤตอาหารแพงรอบแรกของทศวรรษที่ 2000 และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ราคาน้ำมันสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เนื่องจากราคาอาหารแพงยืดเยื้อ และผลผลิตภาคเกษตรเสียหายอย่างหนักจากภาวะแห้งแล้งที่ลุกลามในพื้นที่กว่าครึ่งประเทศ

 

แต่สิ่งที่รัฐบาลจีนลงมือทำเป็นอย่างแรก พร้อมๆ กับที่เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อ คือ ประกาศให้ธนาคารเพิ่มระดับทุนสำรองขึ้นอีก 0.50% เพื่อจำกัดการปล่อยเงินกู้ เนื่องจากการปล่อยให้สภาพคล่องในระบบมากเกินไป ทำให้ต้นทุนของผู้บริโภคสูงขึ้นตามไปด้วย

 

จากตัวเลขเงินเฟ้อและคำสั่งเพิ่มทุนสำรองล่าสุด ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจีนพร้อมที่จะใช้มาตรการการเงินที่รัดกุมขึ้นไปอีก เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาในเชิงเทคนิค มิใช่การแก้ไขที่ต้นตอ คือ เพิ่มผลผลิตอาหารก็ตาม

 

ท่าทีเช่นนี้ทำให้มองได้ว่ารัฐบาลจีนอาจยังอับจนหนทางที่จะแก้ไขวิกฤตแห้งแล้งทั่วประเทศ และยิ่งอับจนกับการกดราคาสินค้าให้ผู้บริโภคสามารถพอแบกรับได้โดยไม่รู้สึกไม่พอใจ

 

แม้การขึ้นทุนสำรองเป็นวิธีแก้เงินเฟ้ออย่างหนึ่ง แต่จุดประสงค์แรกที่จีนนำวิธีนี้มาใช้ ก็เพื่อชะลอการปล่อยเงินกู้เข้าตลาดอสังหาริมทรัพย์ ป้องกันมิให้เกิดภาวะฟองสบู่แตก และช่วยเสริมความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินในธนาคาร ว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับระบบการเงินจีน ธนาคารจะยังมีเงินสำรองพอที่จะพยุงตนเองได้ มิใช่ล้มระเนระนาดเหมือนที่สหรัฐ

 

เช่นเดียวกัน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ในสถานการณ์ที่บีบคั้นเช่นนี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือน มิ.ย. ซึ่งจะนับเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว

 

อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยยังไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุเช่นกัน ดีไม่ดีจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจของประชาชนมากขึ้นไปอีก จากที่ขณะนี้กลุ่มที่ออกมาประท้วงรัฐบาลเป็นระดับแรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้จ่ายซื้อหาอาหารเป็นหลัก แต่ในไม่ช้ารัฐบาลจีนอาจต้องรับมือกับผู้ประท้วงจากกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองที่ไม่อาจแบกรับดอกเบี้ยสูงลิ่ว จนหมดหวังที่จะมีบ้านหรือห้องเล็กๆ ไว้คุ้มหัวสักหลัง

 

ขณะนี้เกิดการประท้วงขึ้นเป็นหย่อมๆ ทั่วจีน (จากการรายงานของสื่อตะวันตก) ไล่มาตั้งแต่การประท้วงในเขตมองโกเลียเมื่อช่วงกลางเดือน พ.ค. การประท้วงที่มณฑลฝูเจี้ยนในเดือนเดียวกัน การประท้วงที่ลี่ฉวนช่วงกลางเดือนนี้ และเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เกิดการประท้วงที่เทียนจิน และล่าสุดคือการประท้วงที่เมืองเจิงเฉิง มณฑลกวางตุ้ง

 

มูลเหตุหลักของการประท้วงเหล่านี้แตกต่างกันออกไป แต่มูลเหตุรองที่สื่อต่างประเทศมักเอ่ยถึง คือ ความไม่พอใจของประชาชนต่อมาตรฐานการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการประท้วงของแรงงานอพยพที่เมืองเจิงเฉิง เกี่ยวข้องกับราคาอาหารแพงโดยตรงไม่มากก็น้อย

 

หากเมียงมองไปตลาดสดในจีน จะพบว่าราคาเนื้อหมูอันเป็นเสมือนดัชนีชี้วัดราคาอาหารทั้งหมดในจีน ล่าสุดจากการสำรวจเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. มีราคาถึงกว่า 16 หยวนโดยเฉลี่ย หรือปรับขึ้นมาแล้วถึง 43.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

 

สูงที่สุดในรอบ 3 ปี และสูงยิ่งกว่าเมื่อช่วงวิกฤตราคาอาหารโลกรอบแรกเมื่อปี 2551 ด้วยซ้ำ!

 

จากการประเมินของนักเศรษฐศาสตร์จีน หากราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้น 20% จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกถึง 0.6%

 

ไม่ใช่แต่ผู้บริโภคเท่านั้นที่รับเคราะห์ แม้แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูยังมีรายได้จากการขายหมูเพียงตัวละ 400 หยวน หรือต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2551

 

หากสถานการณ์ของการเลี้ยงหมูยังเลวร้ายถึงเพียงนี้ การเพาะปลูกอาหารประเภทอื่นๆ ยิ่งเลวร้าย เพราะบัดนี้ยังไม่มีวี่แววว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหาแห้งแล้งได้สำเร็จ

 

ดังจะเห็นได้ว่าราคาผักสดพุ่งขึ้นมาถึง 18.84% ภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. ทั้งที่ราคาเคยต่ำเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือน เม.ย. ส่วนราคาข้าวแพงขึ้นตามสัดส่วนที่นาที่ถูกภาวะแห้งแล้งทำลาย จนกระทั่งเมื่อเดือน เม.ย. จีนต้องสั่งนำเข้าข้าวเพิ่มเติมจากเวียดนาม

 

จีนยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อชะลอราคาสินค้าในตลาด ทั้งๆ ที่ปัญหาเหล่านี้เป็นมูลเหตุโดยตรงของปัญหาเงินเฟ้อ และต้นตอของความไม่พอใจของประชาชน

 

ดีร้ายประการใด หากวิกฤตในจีนเลวร้ายลง อาจกระทบมาถึงปริมาณอาหารในตลาดโลก เนื่องจากจีนมีความจำเป็นต้องนำเข้าอาหารเพิ่มเติมในปริมาณที่สูงมาก

 

ในอดีตประชากรส่วนใหญ่ของจีนและอินเดียยังมีฐานะไม่ดีนัก จึงไม่อาจเข้าถึงอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ แต่วันนี้สภาพเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเปลี่ยนไป มีฐานะที่มั่งคั่งขึ้น ทำให้สามารถเลือกกินเลือกใช้ได้มากขึ้น รสนิยมการบริโภคแบบเดิมที่นิยมอาหารจำพวกพืชผักเป็นหลัก จึงเปลี่ยนเป็นเน้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากขึ้น

 

ปัญหาก็คือ การทำปศุสัตว์เป็นการลงทุนสูง และกินพื้นที่ด้านการเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกข้าว อันเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด

 

แม้แต่นายกรัฐมนตรี เวินเจียเป่า ยังรณรงค์ให้ประชาชน “กินผักสัปดาห์ละวัน” เมื่อปี 2553 แต่ยังไม่มีผลสำเร็จที่ชัดเจน

 

กระนั้นก็ตาม จะโทษว่าเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะสาเหตุใหญ่อีกประการ คือ จีนต้องสูญเสียพื้นที่เกษตรและปศุสัตว์อย่างมหาศาล

 

ประเมินกันว่า หากจีนนำเข้าธัญพืชจากตลาดโลกเพียงแค่ 5% ของสัดส่วนที่เคยผลิตได้ภายในประเทศ จะยังผลให้ราคาธัญพืชในตลาดโลกพุ่งพรวดเหมือนติดจรวด และกระตุ้นการนำเข้าไปทั่วทุกหนแห่ง เพราะความตื่นตระหนก

 

ยิ่งราคาอาหารสูงเป็นประวัติการณ์ ชาวโลกยิ่งมีเหตุผลให้กังวลกับปัญหาเงินเฟ้อในจีน

 

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/94301/เงินเฟ้อจีนติดจรวด-ราคาอาหารโลกสะเทือน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐบาลกรีซรอดมติไม่ไว้วางใจอย่างฉิวเฉียด

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2554 05:42 น.

 

 

 

 

 

เสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรีซเมื่อกลางดึกวันอังคาร(21) ลงมติไว้วางใจรัฐบาล ชัยชนะครั้งสำคัญของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ที่กำลังพยายามผ่านมาตรการรัดเข็มขัดอันสำคัญสำหรับรับเงินช่วยเหลือรอบใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลาย

 

ด้วยชัยชนะของพรรครัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจเกินครึ่งหนึ่งมาหวุดหวิดแค่ 5 เสียง 155 ต่อ 143 เปิดทางให้นายกรัฐมนตรีปาปันเดรอู เดินหน้าแผนปฏิรูปตามข้อกำหนดรับเงินช่วยเหลือของไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณ ส้มโอมือสำหรับข่าวครับ

 

กรีซผ่านด่านแรกไปอย่างฉิวเฉียด

ยังเหลือด่านหินอีกหลายด่าน ติดตามต่อไปครับ

 


  •  
  • Representatives from "troika" of EU, IMF and European Central Bank in Athens for talks through June 22
  • European Union summit meeting in Brussels on June 23-24
  • Parliamentary vote on more austerity steps tentatively set for June 28
  • Main labour unions to launch 48-hour strike on day of austerity vote

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...