ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

SET หน้าตาเป็นยังไงบ้างครับ กำลังหาจังหวะเข้าเก็บอยู่เลย

 

ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านข่าวนี้แล้วตกใจครับ ใครขโมยกระทิง!!!!

 

ธนาคารเครดิต สวิส ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองในปีหน้า โดยให้เหตุผลว่า ราคาทอง ซึ่งได้อานิสงค์อย่างชัดเจนจากความผันผวนและการดิ่งลงของตลาดการเงิน มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีก ขณะที่วิกฤติยังคงดำเนินต่อไป

 

นายทอม เคนดอลล์ นักวิเคราะห์ของเครดิต สวิส คาดว่า ราคาทองจะแตะระดับสูงสุดในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า และจะร่วงลงจากระดับสูงสุดในปี 2556

 

เครดิต สวิสคาดว่าราคาทองจะอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ในปีหน้า จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1,540 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

 

ส่วนในปี 2556 คาดว่าราคาทองคำเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,790 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ และ 1,425 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ในปี 2557

 

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/154477/Default.aspx

 

ปล. ผมไม่เชื่อ ว่าใครจะมาขโมยกระทิง กระทิงยังอยู่!!! ทำไมเค้าประเมินต่ำจังครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปล. ผมไม่เชื่อ ว่าใครจะมาขโมยกระทิง กระทิงยังอยู่!!! ทำไมเค้าประเมินต่ำจังครับ

 

ถ้าคิดแบบง่ายๆนะครับ ถ้าธนาคารประเมินว่าทองจะขึ้นอย่างมากมาย ผู้คนก็จะยิ่งพากันถอนเงินไปซื้อทอง ซึ่งผลก็คือ ธนาคารเจ๊งครับbiggrin.gif

ธนาคารต้องทำยังไงก็ได้ให้ทองดูขี้เหร่ น่ากลัว ผันผวน ไม่น่าซื้อ ไม่น่าลงทุนที่สุด tongue.gif

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนนี้จรวดของเราโดน ปตอ. ไม่ทราบฝ่ายสอยร่วงไปแล้ว ขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบิน 1644 :wacko:

 

โอ้ว ใครคนทำฟระเนี่ย

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนนี้จรวดของเราโดน ปตอ. ไม่ทราบฝ่ายสอยร่วงไปแล้ว ขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบิน 1644 :wacko:

 

โอ้ว ใครคนทำฟระเนี่ย

 

 

กร๊ากกกก อ่านแล้วเหมือนตอนเล่น red alert เลยแฮะ :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“แบล็กมันเดย์” สัปดาห์ที่สองกับปรากฏการณ์ “ทองคำสวนกระแส!?”

 

 

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 4 ตุลาคม 2554 15:51 น. Share12

 

 

 

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554 นับเป็นปรากฏการณ์ “วันจันทร์สีดำ” หรือ “แบล็กมันเดย์” สัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน ที่เฮดจ์ฟันด์และกองทุนรวมทั้งหลายในโลก ได้พร้อมใจกันเทขายหุ้น ตราสารน้ำมัน เพื่อคืนหนี้ให้กับธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเอาไปเก็บเป็นเงินสดเอาไว้รองรับการสั่นคลอนและการเปลี่ยนแปลงวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปที่กำลังจะมาถึง

 

เพราะไม่มีใครสงสัยอีกต่อไปแล้วว่า กรีซ ไม่อยู่ในสถานภาพที่จะชำระหนี้ได้ เพราะปัญหาของกรีซนั้นมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ

 

ประการแรก เศรษฐกิจในประเทศกรีซ ใช้จ่ายเกินตัวไปมาก ปรนเปรอข้าราชการและประชาชนด้วยงบประมาณอันมหาศาล มีประชากรไม่มากเพียงแค่ 11 ล้านคน แต่รัฐบาลต้องกู้หนี้ยืมสินมหาศาล จนมีหนี้สาธารณะ 4.54 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 143% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ค่าจ้างในส่วนของภาครัฐสูงขึ้นในทางปฏิบัติถึง 2 เท่าในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีอัตราการว่างงานสูงถึง 16.30%

 

ประการที่สอง กรีซล้มเหลวในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันกรีซมีหนี้ต่างประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 5.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั่นหมายถึงว่ามีหนี้ต่างประเทศเป็น 77 เท่าของทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือกรีซขาดดุลการค้าทุกปี ส่งผลทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี โดยปีที่แล้วขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ซึ่งสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2.5 เท่า) นั่นหมายความว่าหากแก้ไขเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศไม่ได้ หรือทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไม่ได้ หรือไม่แยกตัวออกจากยูโร กรีซจะต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปีอีกปีละ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

 

หมายความว่าอย่าว่าแต่หนี้เก่าที่ยังจะคืนได้ยากเลย แม้แต่หนี้ใหม่ก็กำลังก่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่มีความชัดเจนว่าจะหยุดหนี้ได้อย่างไรจากสภาพที่เป็นอยู่

 

กรีซ ไม่สามารถที่จะกู้เงินเองได้โดยผ่านตลาดการเงินอีกต่อไป เพราะไม่มีใครให้กู้แล้ว และหากจะมีใครให้กู้ก็ต้องคิดดอกเบี้ยที่แพงมหาโหด จึงทำให้กรีซต้องขอรับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยได้เงินกู้ไปแล้ว 1.1 แสนล้านยูโร (1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ก็ยังไม่เพียงพอ และกำลังรอขอรับการช่วยเหลืออีก 1.09 แสนล้านยูโร (1.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งก็คงจะไม่พออีกอยู่ดี

 

ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะหากจะรีดภาษี ขายทรัพย์สิน ลดค่าใช้จ่ายโดยการลดข้าราชการลดเงินเดือนก็โดนแรงเสียดทานทางการเมืองสูงทำได้ถึงขีดจำกัดระดับหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเกิดการว่างงานกำลังซื้อย่อมลดลงเศรษฐกิจก็หดตัว ก็ยิ่งส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลง ในขณะที่ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เรื้อรังและแก้ไม่ได้เพราะใช้ค่าเงินยูโรที่ไม่ได้อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญที่จะช่วยกรีซในด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวของกรีซได้

 

การใส่เงินเพิ่มหนี้ให้กับกรีซ จึงเป็นเหมือนการผ่อนเวลาของปัญหาออกไปให้ยาวขึ้นเท่านั้น แต่คงต้องทำใจแล้วว่างานนี้ต้องมีการผิดนัดชำระหนี้หรือการลดหนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

ช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการเสนอให้มีการลดหนี้จากเงินกู้ของภาคเอกชน 20% - 50% ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ทันที เพราะด้านหนึ่งชาติอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้ต่างประเทศที่รอคิวอยู่ก็อยากเอาเยี่ยงอย่างบ้าง ในขณะที่ธนาคารที่ปล่อยกู้ก่อนหน้านี้ก็คงต้องเสียหายได้รับผลกระทบลุกลามไปด้วยจนต้องเป็นเหตุให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเรียกร้องให้มีการเพิ่มทุนธนาคารในยุโรปอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับปัญหาที่กำลังจะตามมา

 

เพราะจริงๆ แล้วสถานภาพที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ว่างงานสูง หนี้สาธารณะสูงนั้น เกิดขึ้นไปทั่วยูโรโซน ทั้งไอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งหากเกิดวิกฤตที่กรีซนอกจากจะกระทบต่อเจ้าหนี้สำคัญอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษแล้ว ปัญหาจะเกิดลุกลามต่อระบบสถาบันการเงินในยุโรปอย่างแน่นอน และจะต้องมีผลกระทบลามไปทั่วโลกด้วย

 

และนี่คือปรากฏการณ์ที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องถูกธนาคารในยุโรปเรียกคืนหนี้มาอุดรูรั่วของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก

 

แต่เริ่มต้นสัปดาห์นี้มีปรากฏการณ์ “วันจันทร์สีดำครั้งที่ 2” ที่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่แล้วก็คือราคา “ทองคำ” สูงขึ้น สวนทางกับราคา “หุ้น” “น้ำมัน” และ “ค่าเงิน” ซึ่งแม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะสูงขึ้นกลับมาบ้างบางจังหวะในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (ตามลักษณะการช้อนซื้อกลับเข้ามาบางจังหวะ) แต่ก็แตกต่างจากทองคำที่สูงขึ้นในลักษณะที่มั่นคงมากกว่าอย่างชัดเจน

 

สัปดาห์ที่แล้วกองทุนเฮดจ์ฟันด์จะได้เทขายทองคำเหมือนกับ หุ้น เงินตรา และน้ำมันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2554 เป็นวันพิสูจน์ความแข็งแกร่งของราคาทองคำที่ไม่สามารถกดราคาลงให้ต่ำไปมากกว่านี้ได้ซึ่งต่างจากหุ้นและน้ำมัน กองทุนเฮดจ์ฟันด์เม็ดเงินอาจจะหดหายในช่วงเวลานี้เพราะต้องคืนให้ธนาคารในยุโรปเพื่อวิ่งหนีจากการล้มพังทลายลง แต่ก็ยังไม่วายกลับเงินที่เหลือเข้ามาซื้อตลาดทองคำอีกครั้ง

 

เหตุก็เพราะด้านหนึ่งในวงการตลาดทองคำต่างทราบกันดีว่าทองคำในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนมักจะต้องมีการปรับฐานใหญ่ราคาจะลดลงทุกปี และตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤษภาคมในทุกๆ ปีจะเริ่มมีความต้องการในการใช้ทองคำจริงตามฤดูกาล (โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย)

 

ตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลฉลองแต่งงานในอินเดีย ธันวาคมเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ทั่วโลก และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็เป็นช่วงตรุษจีน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทศกาลที่ชาวเอเชียมีความต้องการซื้อทองคำจริงทั้งสิ้น

 

ในขณะอีกด้านหนึ่งเมื่อราคาลดลงต่ำลงมามากกว่า 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ ธนาคารกลางหลายประเทศก็จะเริ่มเข้าซื้อทองคำเก็บเอาไว้เพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เป็นเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่จะต้องด้อยค่าอย่างแน่นอนในทุนสำรองระหว่างประเทศ

 

เพียงแต่ที่ราคาทองคำถูกทุบลงมาได้เพราะก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554 ราคาทองคำ “ขึ้นสูงเร็วเกินไป” (โดยเฉพาะเมื่อเทียบช่วงห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย moving average 14 วัน กับ 200 วัน) จนทำให้สบช่องโอกาสที่มีการเทขายทำกำไรได้และราคาลงมาใกล้ๆ กับ 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ก่อนจะเริ่มดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง

 

 

 

ภาพ : กราฟแสดงค่าราคาทองคำ (สีแดง) กับราคาเฉลี่ย Moving Average 14 วัน (สีน้ำเงิน) กับราคาเฉลี่ย Moving Average 200 วัน (เส้นสีเขียว)

 

 

เพราะ “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์ที่แสดงความมั่งคั่งควบคู่มากับอารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย) ยิ่งไปกว่านั้นชาวเอเชียซึ่งถือว่าในเวลานี้ถือได้ว่าความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะสถานภาพการค้าระหว่างประเทศนั้น ได้ทั้งเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด มากด้วยการลงทุน เป็นภาคการผลิตที่สำคัญของโลก เอเชียทุกวันนี้จึงมีสถานภาพเป็น “เจ้าหนี้” ที่สำคัญของอเมริกาและยุโรป ดังนั้นเมื่อเงินยูโรและดอลลาร์ไร้ความน่าเชื่อถือและด้อยค่าลงทุกวัน ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประเทศต่างๆ จะต้องพิจารณาแปลงสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอย่างอื่นที่น่าไว้วางใจมากกว่าเงินและพันธบัตรสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่กำลังด้อยค่าลง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องหนีไม่พ้น “ทองคำ”

 

ทันทีที่ราคาทองคำลงเมื่อเดือนที่แล้ว จีน อินเดีย และตุรกี ซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ซื้อทองสำหรับเครื่องประดับได้ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางของรัสเซีย ธนาคารกลางของโบลิเวีย ธนาคารกลางของโคลัมเบีย ฯลฯ ต่างทยอยสะสมทองคำกันมากขึ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

 

อันที่จริงต้องถือว่า “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์อันสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นศัตรูอันสำคัญของยุโรปและอเมริกาด้วย เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านมา หากธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ซื้อทองคำกันมากๆ ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะขายพันธบัตรเพื่อกู้หนี้ของยุโรปและอเมริกาด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะยากขึ้นไปด้วย เพราะความจริงแล้วทั้งในยุโรปและอเมริกาต่างก็เป็นกลุ่มประเทศที่ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมหาศาลกันทุกปี ถึงอย่างไรธนาคารกลางในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรกู้หนี้เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่มีวันหยุด

 

อาจด้วยเหตุผลนี้ที่ในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจเทขายทองคำต่อเนื่องออกมาเป็นผลทำให้ราคาลดลง เป็นผลทำให้ทำลายบรรยากาศตลาดทองคำอยู่หลายปี ในขณะที่ธนาคารกลางในยุโรปและธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มและชี้นำให้ธนาคารกลางอื่นๆ ทำต้องลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ใน “ข้อตกลงทองคำของธนาคารกลาง” (Central Bank Gold Agreement) ที่ห้ามธนาคารกลางแต่ละประเทศขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศเกินกว่า 400 เมตริกตันต่อปี และห้ามขายเกิน 2,000 เมตริกตันในช่วง 5 ปี ทั้งนี้ถือเป็นการกำหนดมาตรการจำกัดไม่ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งมีทองคำจำนวนมาก) ขายทองคำในทุนสำรองให้กับชาติอื่นๆ (โดยน่าจะมีเป้าหมายเล็งไปที่ชาติในเอเชียที่มีเงินตราต่างประเทศมาก) มากเกินกำหนด อันเสมือนเป็นการบีบให้ชาติต่างๆ (โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย) ต้องกลับมาซื้อพันธบัตรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเอาไว้เป็นสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป จนอเมริกาและยุโรปหนี้สินท่วมท้นอยู่ในขณะนี้

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์ในกรีซที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างหวาดผวาการลุกลามล้มกันเป็นโดมิโน ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องระมัดระวังความเสี่ยงในการถือครองพันธบัตรของธนาคารและรัฐบาลในยุโรปมากขึ้น ยิ่งมีข้อจำกัดการขายทองคำจากข้อตกลงทองคำของธนาคารกลางก็ยิ่งทำให้ยุโรปและอเมริกา (ซึ่งมีทองคำในทุนสำรองมากที่สุด) มีข้อจำกัดที่จะขายทองคำเพื่อเก็บมาเป็นเงินสดด้วยเช่นกัน

 

ในขณะเดียวกัน หากถึงแม้ยุโรปและอเมริกานำทองคำออกมาขายในรอบนี้แล้วจะทำให้ราคาทองคำลดลงก็ตาม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเร่งทำให้ธนาคารกลางในชาติต่างๆ เทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อเข้าไปซื้อทองคำมากขึ้นแทนไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้ความต้องการพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงตามเป็นเงาตามตัว ซึ่งจะเป็นผลทำให้เป็นการบีบให้สหรัฐอเมริกาและยุโรปต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรอบใหม่ให้สูงขึ้น อันจะส่งผลกระทบทำให้เกิดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปชะลอตัวทางเศรษฐกิจหนักขึ้นไปอีก

 

เมื่อเวลานี้ไม่มีธนาคารกลางชาติไหนขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศออกมาอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจึงย่อมเข้าซื้อในตลาดทองคำโดยตรง และเป็นเหตุทำให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นต่อไป (แม้จะมีความผันผวนในระยะสั้นก็ตาม)

 

“เฮดจ์ฟันด์” อาจจะโจมตีทุบหุ้นและตราสารน้ำมันทั่วโลกเพื่อให้คนมาสนใจพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปมากขึ้นได้ แต่การทุบราคาทองคำโดยมีธนาคารกลางทั่วโลกที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมหาศาลทยอยรับซื้อมาสะสมในสถานการณ์วิกฤตของโลกเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเฮดจ์ฟันด์ในยามนี้

 

ทำให้หวนนึกถึง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้เทศน์กำชับหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ว่าให้แปลงเงินบริจาคทั้งหมดให้เป็น “ทองคำ” เก็บเอาไว้ในคลังหลวงให้เป็นสมบัติของชาติที่มั่นคงต่อไป ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ว่า

 

“ทองคำเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดเพื่อเป็นหลักสมบัติประกันชาติไทยของเรา เมื่อมีทองคำมากแล้ว การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมใช้อีกก็ยังได้อีก ตามปริมาณของทองคำที่มีมากน้อยในคลัง นี่ยังมีส่วนได้อีกนะ เราจึงต้อเสาะแสวงหาทองคำมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเลย ให้เป็นอันดับหนึ่ง เรียกว่าทองคำนี้เป็นสมบัติคงคลังว่างั้นเถอะ ให้เหลืองอร่ามอยู่ในคลังหลวงของเราแล้วสง่างามองอาจกล้าหาญ ถ้ามีทองคำอยู่ในคลัง ถ้าไม่มีนี้ไม่องอาจนะ ล่อแหลมต่ออันตรายได้ง่ายๆ ถ้ามีทองคำคงคลังแล้วก็แน่นหนามั่นคง”

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านข่าวนี้แล้วตกใจครับ ใครขโมยกระทิง!!!!

 

ธนาคารเครดิต สวิส ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองในปีหน้า โดยให้เหตุผลว่า ราคาทอง ซึ่งได้อานิสงค์อย่างชัดเจนจากความผันผวนและการดิ่งลงของตลาดการเงิน มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีก ขณะที่วิกฤติยังคงดำเนินต่อไป

 

นายทอม เคนดอลล์ นักวิเคราะห์ของเครดิต สวิส คาดว่า ราคาทองจะแตะระดับสูงสุดในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า และจะร่วงลงจากระดับสูงสุดในปี 2556

 

เครดิต สวิสคาดว่าราคาทองจะอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ในปีหน้า จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1,540 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

 

ส่วนในปี 2556 คาดว่าราคาทองคำเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,790 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ และ 1,425 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ในปี 2557

 

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/154477/Default.aspx

 

ปล. ผมไม่เชื่อ ว่าใครจะมาขโมยกระทิง กระทิงยังอยู่!!! ทำไมเค้าประเมินต่ำจังครับ

 

ข่าวนี้จะทำให้นักลงทุนตกใจขาย physical กัน ส่วนตลาดลอนดอยจะเข้าฉวยโอกาสซื้อของถูกไว้ทั้งหมดอ่ะนะ :mad:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

come to say hi from malaysia ka...gold shop here is pretty quiet na ka..^^

เที่ยวให้สนุกนะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอาแนวรับแนวต้านใหญ่กราฟเดือนมาฝากครับ เผื่อจะมีประโยชน์

 

tntsr.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หรือว่าพรุ่งนี้มันจะกลับมาอยู่ที่เดิมแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นกัน :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หรือว่าพรุ่งนี้มันจะกลับมาอยู่ที่เดิมแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นกัน :lol:

 

ขอให้สมพรปากนะครับท่าน สาธุ Up Up Up

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมคิดว่ามันกำลังทดสอบระหว่าง R1 กับ S1 อยู่ครับ จากภาพตอนนี้กราฟอยู่ใต้ Pivot ยังอันตรายครับ พ้น Pivot ไปถึงจะเริ่มดูดีขึ้นครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เย้ เค้าลดราคามาให้ซื้อแล้วคะ

 

พรุ่งนี้ราคามาถึง (เท่ากับที่เงินกระดาษมี)

 

จัดไปเลย

 

ขอบคุณคะ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...