ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณค่ะคุณwcg คุณMor Lek คุณน้ำใส คุณIamsam มากๆค่ะ

:01 :01 :01

รบกวนถามหน่อยค่ะว่า

ขอทองคืน จะย่ิงทุบราคาลงเพื่อหามาคืนรึป่าวคะ

 

ผมก็สงสัยแบบเดียวกันเลยครับ

ถูกแก้ไข โดย Apollo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณwcg คุณMor Lek คุณน้ำใส คุณIamsam มากๆค่ะ

:01 :01 :01

รบกวนถามหน่อยค่ะว่า

ขอทองคืน จะย่ิงทุบราคาลงเพื่อหามาคืนรึป่าวคะ

 

เป็นไปได้ค่ะ ทุบลงแล้วซื้อส่งคืน แล้วค่อยทำกำไรขาขึ้นอีกที :_cd

 

เอากราฟมาให้ดูเพิ่มเติมค่ะ (ที่เคยติดตามกูรูคนนี้วิเคราะห์ได้ใกล้เคียง 80-90%เลยนะคะ) :57

post-2539-0-24345600-1351995817_thumb.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณwcg คุณMor Lek คุณน้ำใส คุณIamsam มากๆค่ะ

:01 :01 :01

รบกวนถามหน่อยค่ะว่า

ขอทองคืน จะย่ิงทุบราคาลงเพื่อหามาคืนรึป่าวคะ

ผมก็สงสัยแบบเดียวกันเลยครับ

 

ผมขอมองต่่างมุมนิดนึงครับ คือความพยายามทุบราคาทองเพือซื้อส่งคืนนั้นมีแน่ๆครับ แต่ที่สำคัญคือว่าใครจะขายของจริงเท่านั้นเอง ราคากระดาษลงได้ แต่ของจริงไม่มีคนขาย(ขอรับรอง ใครๆก็รู้อยู่ว่าของขาด) ตอนเวเนฯทวงคืน ตอนนั้นมันแค่ 200 ตัน แต่ของเยอรมันมันตั้ง 1500 ตัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณน้ำใส พี่หมอเล็ก คุณ wcg และคุณแซม และอีกหลายท่านค่ะ

 

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลองจินตนาการถึงตอนหลังทุบจบแล้ว หรือ ทุบไม่ลงแล้วดูสิครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณอลัน .. เขาทุบให้พวกเราได้ซื้อของถูกเข้าครับ ไม่ได้ทุบไว้ซื้อเองหรอก

:uu

 

 

คุณน้ำใส .. บทวิเคราะห์ของกูรูที่คุณน้ำใสตามอ่านอยู่ มีให้อ่านฟรีตามเวบหรือเปล่าครับ

ถ้ามีให้อ่านฟรี รบกวนขอลิงค์ด้วยครับ อยากลองไปตามอ่านดูบ้าง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนตัวนะครับ

 

ถ้าทองลงให้มาศึกษากระทู้นี้ เยี่ยมๆๆๆ ข้อมูลเยี่ยมทั้งนั้น เพื่อเป็นกำลังใจเเละเข้าใจพื้นฐานทองจริงๆ

 

เเต่ถ้าทองกำลังBullishควรไปชมอ.ซีขา เอสดีกว่า จะได้ไม่ระเริงไปกับการปั่นราคาระยะสั้นของเจ้ามือ อ.ซีประสบการณ์สูงมากๆครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อ จบการเลือกตั้งในสหรัฐแล้ว ตัวละครที่จะโดดเด่นจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี คงเป็นเรื่องเส้นตายของหน้าผาทางการคลัง ระหว่างจัดการปัญหาคงมีหลายคนทยอยขายหุ้นออกมาก่อนเพื่อดูความชัดเจน ถ้า เคลยร์กันไม่ลงจนถึงสิ้นปีแย่แน่ แต่ถ้าเคลียร์กันลงตัวคนที่ขายไปก่อนก็อาจตกรถ ช่วงนี้คงต้องตามติดเรื่องนี้ครับ

 

Taxmageddon ของคนอเมริกัน

คุณวรวรรณ ธาราภูมิ CEO บลจ. บัวหลวง

23 เมษายน 2555

ย้อน ไปดู 2 เดือนก่อน ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ระดับประมาณ 1,126 จุด ผ่านไปประมาณ 2 เดือนถึงวันศุกร์ก่อน ขึ้นมาเป็น 1,185 จุด หรือขึ้นมากว่า 5%

ในขณะที่ ช่วงเดียวกันนี้ดัชนีพี่ ดาวพงษ์ เอ้ย ดาวโจรของสหรัฐ แทบไม่เปลี่ยนแปลง ย่่าอยู่ที่ประมาณ 13.00 จุด เหมือนเดิม แม้จะมีขึ้นๆ ลงๆ ระหว่างทาง

ยิ่งไม่เปลี่ยน ก็ยิ่งเหมือนเดิม

อะไร ๆ ในอเมริกาเปลี่ยนไปน้อยมาก อย่างผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐรุ่น 10 ปีก็อยู่เท่าเดิมที่ 2% ดอลลาร์/ยูโรก็อยู่ที่ 1.30 เหมือนเดิม

มี แต่ทองค่าที่ราคาเปลี่ยนไป ลดลงจาก 1,730 มาอยู่ที่ 1,640 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากมอง 6 เดือนย้อนหลังก็ไม่เปลี่ยน แต่ถ้าดู 1 ปีย้อนหลังก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1,500 มาอยู่ที่ประมาณ 1,640 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แล้วภาพโดยรวมมันเปลี่ยนไหม มีพัฒนาการไหม

ไม่ ..... ไม่เลย ….

ย้อน ไปในช่วงก่อนสิ้นปีที่รัฐบาลประเทศต่างๆ พยายามเสแสร้งว่าก่าลังแก้ปัญหาให้กรีซ (จ่าที่เราจ้องตาไม่กระพริบไปที่ยุโรปว่ากลุ่มยูโรโซนจะแตกไหม จะแก้ไขอะไรได้ไหม) ก็พบว่ามีคนแก่ยิงตัวตายหน้าสภากรีซเพราะไม่มีแรงประท้วงที่รัฐบาลโดนบีบ บังคับให้ลดเงินเกษียณ ลดสวัสดิการ

ในวันนี้รัฐบาลพวกนี้ก็ยังไม่เปลี่ยน เพราะเพิ่มงานเหมือนเดิมเปี๊ยบอีกอย่างคือ พยายามเสแสร้งว่าก่าลังแก้ปัญหาให้สเปนเพิ่มขึ้นมาอีกแห่ง และจะไม่ใช่แห่งสุดท้าย

เอ ... แต่มีอะไรเปลี่ยนไปเหมือนกันนะ นั่นก็คือ ไม่มีใครเชื่ออีกแล้วว่าปัญหามันจะแก้ได้ แต่รัฐบาลก็จะต้องเสแสร้งว่าก่าลังแก้ไขได้ไปเรื่อยๆ

วันก่อนโน้น Wall Street Journal พาดหัวข่าวตัวโตหราเลยว่า “แผนช่วยเหลือยุโรปก่าลังสะดุด” แม้ในวันนี้จะมีข่าวคล้ายๆ จะดี ที่ IMF จะได้เงินเพิ่มเพื่อเอาไว้ช่วยยุโรปอีกก็ตาม

ที่สะดุดก็เพราะแบงค์ต่างๆ ในสเปนมีสินเชื่อเน่าๆ สูงมากกว่าที่เคยมีในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ปี 1995

โลกน่าจะตื่นขึ้นมารับรู้กันเสียทีว่าการเอาเงินเน่าๆ ใส่ลงไปในระบบตามหลังเงินดีๆ นั้น ….

จุดจบก็คือเราจะไม่มีเงินเหลืออยู่เลย

เอ ... แต่การที่ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB (European central bank) ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยแทบเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ให้แบงค์ต่างๆ ในยุโรปมันน่าจะหยุดปัญหาขาดเงิน หรือปัญหาสภาพคล่องได้นี่ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นล่ะ

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผู้ลงทุนรับรู้ว่าลูกหนี้จะ ได้เงินเพิ่มอีก ด้วยกลไกที่ ECB ให้แบงค์ต่างๆ กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยเกือบจะ 0% แล้วแบงค์ต่างๆ ก็เอาเงินกู้อันนี้ไปปล่อยให้รัฐบาลกู้ต่อ เพราะ ECB ปล่อยกู้รัฐบาลโดยตรงไม่ได้ รัฐบาลก็เลยมีกระแสเงินสดไปใช้หนี้ได้ทันเวลาโดยไม่ต้อง Default

อ้าว มันก็น่าจะท่าให้รัฐบาลถังแตกรอดได้นี่นา ตราบใดที่ยังมีเงินให้กู้แบบนี้เรื่อยๆ ก็ใช่ แต่ ....

Wall Street Journal รายงานว่า “หลังจากแบงค์ต่างๆ เอาเงินกู้ไปปล่อยต่อให้รัฐบาล ผ่านไปพักหนึ่ง แบงค์ในสเปนกับอิตาลีพบว่าจะไม่มีเงินเหลืออีกแล้ว” ท่าไมล่ะ

ก็เพราะแบงค์ต่างๆ มีหนี้เสียมากมายที่แบกมาตั้งแต่ปล่อยกู้เพราะความโลภจนเกิดฟองสบู่แตก จนเกิด Lehman Crisis ไง

จ่า ได้ไหมว่าประเทศแรกที่ปัญหาปะทุคือประเทศไหน เออ ... คงจ่ากันไม่ได้หรอก ปลาทองเรียกญาติกันทั้งนั้น ก็ ไอร์แลนด์ ไง แล้วรัฐบาลก็เข้าไปอุ้มแบงค์ แต่นั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่ท่าให้รัฐแย่ไปด้วย ใช่ รัฐท่าตนเองแท้ๆ เพราะรัฐไม่มีเงินไปอุ้ม ก็เลยต้องไปขอยืมเงินคนอื่นมาปล่อยให้แบงค์ต่างๆ ด้วยอัตราดอกเบี้ยเรี่ยดิน รัฐบาลก็เลยกลายเป็นลูกหนี้ไปด้วย

สิ่งที่ เกิดตามมาก็คือ ผู้ลงทุนเริ่มระแวงว่าประเทศในกลุ่มลูกหมู (PIIGS: Portugal, Ireland, Italy Spain และ Greece) จะเกิดปัญหาคล้ายๆ กัน แล้วไงล่ะ

ก็ประเทศที่เหลือพบว่าเขาก็ก่าลังจะถังแตกเหมือนกันเลยไงล่ะ !!

นั่น ก็คือจุดเริ่มต้นที่ “ธนาคารกลาง” ประเทศต่างๆ เข้ามาเป็นซุปเปอร์แมน แปลงร่างจากธนาคารกลางเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ท่าหน้าที่ปล่อยเงินกู้ ด้วยแนวคิดที่ต้องอุ้มทั้งแบงค์ต่างๆ กับอุ้มรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน

โครงการ LTR (Long-Term Repurchase) ของ ECB (ธนาคารกลางยุโรป) จึงเกิดขึ้น ปัญหาสภาพคล่องถูกแก้ไขไปได้ (ก็พักหนี่งเท่านั้นแหละ วันนี้มันมาอีกแล้ว) ท่าให้ตลาดกระดี๊กระด๊ากันไปช่วงหนึ่ง ซึ่งแผนซุปเปอร์แมนไม่มีอะไรมาก

ไปกว่าประโยคนี้ ….

“ธนาคาร กลาง จะปล่อยกู้ให้แบงค์ต่างๆ โดยต้องมั่นใจว่าแบงค์ที่เอาเงินกู้ดอกเบี้ยต่่าสุดๆ เหล่านั้นไป ต้องปล่อยกู้ต่อให้รัฐ” แค่นี้เองจริงๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนเล้ย

เห็นปัญหาหรือยังล่ะ ว่ามันคืออะไร

นี่ไง โมเดลที่ยุโรปใช้ มันก็คือ โมเดลอเมริกัน ของลุงเบน เบอร์นานเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED นั่นแหละ!!

นั่นแหละปัญหา เพราะมันคือโมเดลที่พยายามแก้หนี้ด้วยการเพิ่มหนี้

ตอน นี้ ผลตอบแทบพันธบัตรรัฐบาลสเปนที่เปิดให้ประมูล ก็พุ่งขึ้นพรวดๆ อีกครั้งจนเกิน 6% ต่อปี แถมด้วยแบงค์พาณิชย์ต่างๆ ของสเปนก็มีฐานะง่อนแง่น อ่อนแอยิ่งกว่าสมัยใดใด

ในเวอร์ชั่นอเมริกัน ลุงเบน ให้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน

ลุงเบนเอาเงินจากไหนไปซื้อล่ะเอ้า ก็ดูรอยหมึกบนมือแกสิ เพียบเลย เพราะ FED พิมพ์แบงค์กงเต็กออกมาให้รัฐบาลกู้

ส่วน เวอร์ชั่นยุโรป ECB ปล่อยเงินกู้ใหแบงค์ต่างๆ แล้วแบงค์เหล่านี้ก็เอาไปปล่อยต่อให้รัฐบาลกรีซ แล้ววันนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็มีหนี้เพิ่มอีกมหาศาลที่เกินก่าลังตนจะหาเงินมาจ่าย คืนได้

แล้วอิตาลีในวันนี้ก็ก่าลังง่อนแง่นด้วยวิธีเดียวกัน

สิ่งที่ เกิดขึ้นในอิตาลีปีที่แล้วก็คือ ไม่มีเงินพอจ่ายหนี้ตามก่าหนด ใกล้จะ Default แล้ว ECB ก็เข้ามาอุ้มด้วยกระบวนการเดียวกัน เพราะอิตาลีก็เหมือนกับกรีซ เหมือนกับลูกหนี้ทั่วไปที่สัญญากับเจ้าหนี้ว่า “ฉันจะใช้สอยอย่างประหยัดค่ะ ปีงบประมาณหน้าฉันจะตัดงบประมาณ

ใช้จ่ายให้ได้ เพื่อให้งบประมาณสมดุลย์ จะได้มีเงินใช้หนี้ที่ยืมมา”

ปีงบประมาณใหม่ใกล้เข้ามาแล้ว แต่เรื่องการท่างบประมาณสมดุลย์ยังอยู่อีกไกล แล้วมาริโอ มอนติ ก็บอกว่า ปีหน้าไง ปีหน้าจะสมดุลย์

เอา เลยเพื่อน มาริโอ มอนติ ใช้เงินต่อ แล้วก็ไปขอยืมอีก แล้วก็บอกเจ้าหนี้ ECB อีกครั้ง และหลายๆ ครั้งว่า ปีหน้าจะใช้งบสมดุลย์ให้ได้

ใช่สิ ปีหน้าของนายมันไม่มีวันมาถึงไง แล้วต้องบอกเพื่อนๆ ที่ ECB ด้วยว่า “อย่าหยุดพิมพ์เงินนะ” เห็นไหม ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย มันจะเป็นวงจรอุบาทว์อย่างนี้ไป

เรื่อยๆ จนกว่ามันจะลากไม่ไหว เข้าใจธรรมชาติของค่าว่า Change ไหม

Change เป็นเรื่องธรรมชาติ มันเกิดขึ้นได้กับทุกสรรพสิ่ง แต่ความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ

ไม่ให้เกิด Change ก็เป็นธรรมชาติของคนเช่นกัน

เรา ถึงเห็นการต่อสู้ที่จะไม่ยอมให้เกิด Change ในช่วงที่ควรเกิดการปรับฐานครั้งใหญ่นี้ อันเป็นการปรับฐานไปสู่ความจริงคือต้องลดหนี้ แต่เราก็พบการดิ้นรนที่จะไม่ Change จากการที่ธนาคารกลางใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% หรือ Reflation (การกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเกิดภาวะจะล่มสลาย ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนเข้าไป เพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายได้) โดยหวังจะหลีกเลี่ยงขั้นตอนการหดตัวของวงจรธุรกิจ ซึ่งที่จริงแล้ว FED ก่าลังดิ้นรนอย่างหนักด้วยการเพิ่มเงินลงไปในโลก ซึ่งเป็นนโยบายที่ผิดพลาด

บางคนอาจถามว่า ท่าไม ลุงเบนถึงอยากแต่จะเพิ่มหนี้นัก ความจริงไม่ใช่อยากเพิ่มหนี้

หรอก แต่สิ่งที่ FED ต่อสู้ก็คือ “Change” ต่างหาก

และเครื่องมือที่ FED มีก็คือ แท่นปั๊มดอลลาร์ กับ เงินกระดาษที่จะเรียกล่วงหน้าว่าแบงค์กงเต็ก

ก็ ได้ แล้วอเมริกาก็จะต้องเจอกับการรัดเข็มขัดอย่างที่ยุโรปเจอ เพราะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีหน้า คนอเมริกันจะพบทั้งการขึ้นภาษีกับการรัดเข็มขัดไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะบีบสหรัฐให้อยู่ในสภาพที่หนังสือพิมพ์ที่นั่นตั้งชื่ออย่างเท่ๆ ว่า “Taxmageddon”

ก็เอามาจากชื่อภาพยนต์เรื่อง Armageddon ที่โลกเกือบจะหายนะ วินาศสันตะโร บวกกับค่าว่า Tax นั่นแหละ เท่ไหมล่ะ แล้วไงล่ะ Let It Be เหรอ

ก็ดู กรีซ สิ คนเกษียณแล้ว กับลูกหนี้หลายคน ยิงตัวตาย เผาตัวตาย เด็กๆ กินไม่พอ หิวโหยตลอดเวลา คนตกงานขู่จะก่อการจราจล

สเปน ก็ไม่น้อยหน้าเท่าไร คนหนุ่มสาวครึ่งหนึ่งไม่มีงานท่า และแบงค์ในสเปนก็ขาดทุนมโหฬารจากหนี้เสีย เลยมีคนร่วม “จุลกฐิน” โดยการลงแขกพังและเผาแบงค์

“เผามันเลยพี่น้องงงง ... เผา ... อะไรเกิดขึ้น ผมจะรับผิดชอบเอง”

ใน อเมริกา แม้จะมีคนโดดน้่าตายเพราะหนี้สินล้นพ้นตัว ตกงาน แม้จะมีม็อบ Occupy นั่น Occupy นี่ ตั้งแต่กันยายนปีก่อนมาจนถึงวันนี้ แต่ก็ยังรอดความรุนแรงแบบกรีซกับสเปนมาได้

ถ้าสภาคองเกรสผิดสัญญาที่จะให้รัฐบาลรัดเข็มขัด ตามเงื่อนไขยอมขยายเพดานหนี้ที่

ตกลง กันไว้ในตอนประธานาธิบดี ZerO_bama ขอในเดือนสิงหาคมปีก่อน (ท่าเหมือนที่ มาริโอ มอนติ แห่งกรีซ ที่ผิดค่าสัญญา) หากอเมริกาไม่ท่าตามที่รับปากคือต้องรัดเข็มขัดให้งบประมาณสมดุลย์ และให้หนี้ลด การปรับฐานครั้งใหญ่หรือ The Great Correction เมื่อจะเกิดขึ้นเพราะลากกันไปด้วยหนี้มหึมาแบบนี้ไม่ไหว (อันเป็น Change ที่ต้องเกิดโดยธรรมชาติ) ก็จะรุนแรง กว้างไกล และลงลึก

และเมื่อรัฐบาลไม่สามารถท่าแผนรัดเข็มขัดได้ อีโต้สับงบประมาณก็จะหล่นลงมาที่รายจ่ายรัฐ

ใช่ ต้นเดือนมกราคมปีหน้า อัตราภาษีได้ถูกวางไว้แล้วว่าต้องขึ้น การลดงบรายจ่ายโดยอัตโนมัติในปีหน้าก็จะเกิดขึ้น เพื่อให้ยอดหนี้ลดลงตามแผนที่เสนอและตามที่ได้สัญญาไว้ต่อคองเกรส

ในครั้งที่ขอขยายเพดานหนี้สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปีก่อน

แต่รัฐบาลอเมริกันก็เลือกที่จะผลัดวันประกันพรุ่ง เลื่อนปัญหาออกไปก่อน

นอก จากนี้ ในปีหน้า การลดภาษีในโครงการ Bush/Obama Tax Cuts จะครบก่าหนด (เดิมเรียก Bush tax Cut แต่เมื่อครบก่าหนดในปีก่อน ZerO_bama ให้ขยายต่อไปอีกปี ก็เลยเรียกชื่อควบ

อะไรจะเกิดขึ้นล่ะ หาก “Taxmagedon” เกิดขึ้นตามก่าหนดโดยรัฐบาลไม่เบี้ยว ไม่ผลัดวันประกันพรุ่งเลื่อนปัญหาออกไปอีก

“กูรู้” ผู้เชี่ยวชาญเขาบอกว่า GDP สหรัฐจะหดลงไป 3% อ้าว .... เฮ้ย มันก็ติดลบน่ะสิ

เออใช่ แล้วมันจะฟื้นได้ไงวะ ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้น ไม่มี หนีไม่พ้น อะดิ

อัตราว่างงานล่ะ พุ่งขึ้นดิ

ราคาบ้านล่ะ ดิ่งลงดิ

อ้าว..เฮ้ย ... แล้ว ซุปเปอร์แมนเบน จะยอมเหรอ ไม่ยอมหรอก ไม่มีวัน เพราะสภาคองเกรสก็จะเลื่อนปัญหาออกไปอีก แล้วปัญหาจะพอกหางหมูไปเรื่อยๆ ใหญ่ขึ้นทุกที แก้ยากขึ้นทุกวัน แม้ภาษีคงขึ้นบ้างแต่จะไม่มากเท่าที่ควรจะต้องขึ้น งบรายจ่ายจะถูกตัดบ้างแต่จะไม่มากพอ แค่ตัดขอบขนมปังออกบางๆ เท่านั้นแหละ ไม่ซีเรียสอะไร

หุ้นก็น่าจะดิ่งเหวในตอนนั้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในเดือนสิงหา คมปี 2553 และดิ่งลงอีกครั้งอีกในกันยายน 2554 แล้ว FED ของลุงเบนก็จะได้ออก QE อีกครั้ง เพื่อต่อสู้กับ Change ที่ควรต้องปล่อยให้เกิด เพื่อให้ล้างบางของเน่าๆ ออกไปให้หมด แล้วการเติบโตจากการเกิดใหม่จะได้มีขึ้นเสียทีโดยไม่ผิดธรรมชาติ

ไม่ อย่างนั้นแล้ว ถ้าเกิด Change ขึ้นมาวันไหน หรือเกิดการปรับฐานใหญ่จริงๆ ในวันไหน มันคงเกิดบนศพลุงเบนและรัฐบาลแหงๆ อืม คงจะน่าดูนะ แน่น้อน !!

 

 

วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 04:00

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน"

ปัญหานโยบายการคลังของสหรัฐ

เมื่อ พูดถึงปัญหา นโยบายการคลังเรามักจะนึกถึงประเทศในกลุ่มผู้ใช้เงินยูโร โดยเฉพาะกรีกซึ่งยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสม เพื่อสานต่อนโยบายรัดเข็มขัด

ทาง การคลังเพื่อแลกกับ เงินช่วยเหลือจาก Troika (ไอเอ็มเอฟ+สหภาพยุโรป+ธนาคารกลางยุโรป) ได้ ขณะนี้หลายฝ่ายจึงก่าลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่ากรีกจะต้องเลือกตั้ง อีกหรือไม่และหากเลือกตั้งอีกครั้งประชาชนจะ “เสียงแตก” หรือจะมอบอ่านาจให้ตั้งรัฐบาลผสมที่จะสานต่อนโยบายเดิมหรือไม่ ฝ่ายที่มองโลกในแง่ดีเชื่อว่าประชาชนกรีก 70% ต้องการจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรเช่นปัจจุบัน แม้จะต้องเผชิญกับความตกต่่าทางเศรษฐกิจที่ต้องแลกมากับการต้องรัดเข็มขัด ทาง การคลังเพิ่มขึ้นไปอีก

แม้ว่ากรีกจะเป็นประเทศเล็กแต่หากต้องถูกออก จากกลุ่มผู้ใช้เงินสกุลยูโร ก็เกรงว่าจะท่าให้เกิดการความกังวลว่าประเทศอื่นๆ เช่น โปรตุเกสและสเปนก็อาจต้องตกอยู่ในสภาวะเดียวกับกรีกเป็นรายต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของยุโรปและเศรษฐกิจโลก

หลาย คนอาจมองว่าสหรัฐมีความแตกต่างจากยุโรปเพราะ ไม่มีปัญหาความขัดแย้ง ทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ตรงกันข้ามผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐนายเบอร์นันเก้ตอกย้่าเสมอว่าหาก เศรษฐกิจ สะดุดตัวลงเมื่อใด เขาก็พร้อมที่จะพิมพ์เงินใส่เข้าไปในระบบเพิ่ม โดยมาตรการที่นักลงทุนเฝ้ารอคอยอยู่คือการพิมพ์เงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลรอบ ที่ 3 (QE3) ซึ่งผลในทางปฏิบัติคือกดดอกเบี้ยระยะสั้นและดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่่าติดดิน เพื่อให้รัฐบาลกู้เงินเพิ่มได้อย่างสะดวก (ในช่วง 4 ปีของรัฐบาลโอบามา รัฐบาลกลางสหรัฐขาดดุลงบประมาณปี

ละ 8-10% ของจีดีพี)

นอกจากนั้นนาย เบอร์นันเก้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าการกดดอกเบี้ยให้ต่่าติดดิน ทั้งระบบนั้นเพื่อกดดันให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนต่่าจากการลงทุนใน สินทรัพย์ ที่ปลอดภัย (เช่นพันธบัตร

รัฐบาล) จนต้องหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่นการซื้อหุ้นและการเก็งก่าไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยนายเบอร์นันเก้มองว่านโยบายการเงินที่สุดโต่งเช่นนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจ สหรัฐฟื้นตัวได้ ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวและแข็งแกร่งขึ้นแล้ว สหรัฐก็จะมีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะในโอกาสต่อไป (อีก 2-3 ปีข้างหน้า)

นโยบาย “ซื้อเวลา” และ "กระตุ้นก่อน-จ่ายทีหลัง" นี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับนโยบายของยุโรปที่ถูกก่ากับโดยนายกรัฐมนตรีแอ งเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนีที่ยึดหลักการ “ไม่ซื้อเวลา” และ “ต้องรัดเข็มขัด+ปฏิรูปเศรษฐกิจทันที” เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือเป็นงวดๆ จึงเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าเมื่อเวลาผ่านไปสัก 10 ปีแล้วน่าจะสามารถมองย้อนหลังกลับมาดูได้ว่าแนวคิดของฝ่ายใดถูกต้องระหว่าง ยุโรปกับสหรัฐ

แต่การด่าเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐนั้นก็ใช่ว่าจะ ราบรื่นไปทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ดีวันดีคืนเริ่มอ่อนตัวลง (เช่น การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเพียง 115,000 ต่าแหน่ง เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 160,000 ต่าแหน่ง)

แต่นักลงทุน (ในตลาดหุ้น) บ่นว่าตัวเลขไม่ดีมากแต่ก็ไม่ย่่าแย่จนจะท่าให้นายเบอร์นันเก้ต้องประกาศใช้ QE3 ออกมากระตุ้น จึงก่าเนิดศัพท์ใหม่ “bad Goldilocks” กล่าวคือนิทานเรื่อง Goldilocks นั้นสะท้อนความรู้สึกของเด็กผู้หญิงที่หลงป่าและเข้าไปพักพิงในบ้านของครอบ ครัวหมีและพบว่าทุกอย่างของลูกหมีนั้นมีความพอดีคือไม่แข็งเกินไปหรืออ่อน เกินไปและไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป จึงน่ามาสู่ค่าศัพท์ที่ใช้กันในหมู่นักลงทุนว่าหากเศรษฐกิจมีลักษณะ Goldilocks ก็หมายความว่าเป็นเศรษฐกิจที่มีความพอดีไม่ร้อนแรงเกินไปจนต้องเป็นห่วงว่า ธนาคารกลางจะปรับดอกเบี้ยขึ้น แต่ก็ไม่เย็นเกินไปคือเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวอย่างเชื่องช้าจนกระทั่งท่ามาหา กินฝืดเคือง แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าและกระท่อนกระแท่น นักลงทุนก็มุ่งหวังแต่จะให้นายเบอร์นันเก้จ่ายยาโด๊ป กระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นจึงเกิดการรอคอยให้ตัวเลขเศรษฐกิจย่่าแย่จน กระทั่งนายเบอร์นันเก้ต้องยอมออกมาตรการ QE3 จึงเกิดส่านวนใหม่คือ bad Goldilocks หมายความว่าเศรษฐกิจไม่ร้อนแต่ก็ไม่เย็นชาเพียงพอที่จะกระตุ้นให้นายเบอร์ นันเก้ออกมาตรการกระตุ้น ถือได้ว่าเป็นยุคใหม่ที่นายธนาคารกลางถูกมองว่าเป็นเจ้ามือตลาดหุ้นทั่วโลก

นอก จากปัญหา bad Goldilocks แล้วนักลงทุนก็ก่าลังเพิ่มความกังวลว่านักการเมืองสหรัฐอาจไม่สามารถหาข้อ ตกลงกันเรื่องมาตรการภาษีต่างๆ ภายในสิ้นปีนี้ ท่าให้ประชาชนต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเพราะมาตรการลดภาษีชั่วคราวจะหมดอายุ ลง โดยประชาชนต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น 470,000 ล้านดอลลาร์ มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานอื่นๆ ที่จะหมดอายุลงอีก 100,000 ล้านดอลลาร์และการลดรายจ่ายภาครัฐตามเงื่อนไขที่ก่าหนดเอาไว้ในปีก่อนอีก 150,000 ล้านดอลลาร์ หากนักการเมืองสหรัฐไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างรวดเร็วหลังการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นลงในเดือนพฤศจิกายนนี้ ท่าให้ไม่สามารถผ่านกฎหมายเพื่อขยายเวลามาตรการต่างๆ ข้างต้น ประชาชนสหรัฐจะต้องเผชิญกับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นและการใช้จ่ายของภาครัฐที่ ลดลงสูงถึง 720,000 ล้านดอลลาร์หรือ 4.6% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจสหรัฐที่จะขยาย ตัว 2% หากมีการช่วยเหลือด้านภาษีและรายจ่ายต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ท่าให้เปรียบเปรยประเด็นด้านการคลังดังกล่าวว่าเป็น fiscal cliff หรือความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจตกหน้าผาทางการคลังได้ในปี 2013 หากนักการเมืองสหรัฐไม่สามารถด่าเนินการได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่ความเห็นยังแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่านักการเมืองจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ในที่ สุด เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจ แต่อีกฝ่ายกลัวว่าความแบ่งแยกทางการเมืองของสหรัฐที่นับวันจะท่าให้เกิดความ ชะงักงันในการด่าเนินนโยบาย (gridlock) ได้เพิ่มความเสี่ยงอย่างมากว่านักการเมืองจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทัน ท่วงทีคือต้องปล่อยให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นก่อนจึงจะลงมือแก้ ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง

ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดคือการวิเคราะห์ ของนาย Donald Luskin ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนของ Trend Macrolytics ที่ปรากฏใน Wall Street Journal (7 พฤษภาคม 2012) โดยนาย Luskin ฟันธงว่าการไม่ต่ออายุภาษีเงินปันผล และภาษีก่าไรจากสินทรัพย์ เช่น หุ้นและพันธบัตร (capital gain tax) อาจท่าให้ราคาหุ้นต้องปรับตัวลง 30% โดยยกตัวอย่างหุ้น ก. ที่ปัจจุบันราคา 100 ดอลลาร์และจ่ายเงินปันผล 10 ดอลลาร์ต่อปีท่าให้ผู้ถือหุ้นมีผลตอบแทน 8.50 ดอลลาร์หลังหักภาษี 15% แต่เมื่อพ้นปีนี้ไปแล้วภาษีเงินปันผลจะเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 39.6% ตามเดิม นอกจากนั้นประธานาธิบดีโอบามายังจะเก็บภาษีเงินปันผลเพิ่มอีก 3.8% เพื่อน่าเงินไปใช้จ่ายในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ท่าให้ภาษีเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็น 43.3% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2013 เป็นต้นไป

นัก ลงทุนที่ถือหุ้น ก. ที่เคยได้รับปันผล 8.50 ดอลลาร์ต่อปีจะลดลงเหลือเพียง 5.66 ดอลลาร์ต่อปี หากนักลงทุนยังต้องการผลตอบแทนในอัตราเท่าเดิม สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นคือราคาหุ้นจะ ต้องปรับตัวลงจาก 100 ดอลลาร์เหลือ 66.6 ดอลลาร์ (หรือลดลง 33.4%) เงินปันผลที่ได้รับ (5.66 ดอลลาร์หลังเสียภาษี) จึงจะคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 8.5% ของราคาหุ้น จริงอยู่ผู้ถือหุ้นบางประเภท เช่น กองทุนส่ารองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินปันผลและผู้ถือหุ้นบางคนก็อาจไม่ ได้เน้นการถือหุ้นเพื่อรับเงินปันผล นอกจากนั้นอัตราภาษีดังกล่าวยังเป็นอัตราภาษีที่จะเก็บจากคนรวย ดังนั้นคนที่มีรายได้น้อยจะไม่ต้องเสียภาษีเงินปันผลที่อัตราสูงดังกล่าว แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าคนที่ถือหุ้นจ่านวนมากคือคนรวยและมีความเป็นไปได้ น้อยมากที่ประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตจะยอมต่ออายุมาตรการลดภาษีเงิน ปันผลที่จะให้ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกับคนที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว

ในท่านอง เดียวกันอัตราภาษีที่เก็บจากราคาหุ้นและพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่ม ขึ้น (capital gains tax) จะเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 23.8% ซึ่งนาย Luskin ค่านวณว่าจะท่าให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งปัจจุบันให้ผลตอบแทน 2% จะต้องได้รับผลกระทบคือราคาพันธบัตรจะต้องปรับตัวลดลงประมาณ 12-15% เพื่อให้ผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้ผลตอบแทนหลังภาษีเท่าเดิม

กล่าว โดยสรุปคือประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินปันผลและภาษีก่าไรจากราคาหุ้นและ พันธบัตรที่จะปรับเพิ่มขึ้นในปี 2013 นั้น แม้จะเห็นได้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นและราคาพันธบัตร แต่ไม่น่าจะมีนักการเมืองสหรัฐคนใดจะยื่นมือเข้ามาต่อสู้เพื่อขยายเวลาการลด ภาษีดังกล่าวต่อไปอีก เพราะการลดภาษีดังกล่าวมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวยอย่าง ชัดเจนครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช็อก! เกาหลีใต้หนี้ท่วมหัว แตะระดับ 233.8% ของจีดีพี ต้นเหตุเพราะรบ.ทุ่มงบกระตุ้นศก.-ภาคปชช.กู้กระหน่ำ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2555 17:09 น.

 

 

blank.gif 555000014217101.JPEG blank.gif เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ยอดรวมหนี้สาธารณะทั้งภาครัฐและเอกชนของเกาหลีใต้ พุ่งสูงแตะระดับ 2,962ล้านล้านวอน เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อกระตุ้นการเติบโตทาง เศรษฐกิจ รวมถึงหนี้สินของภาคครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น

 

รายงานของสำนักข่าวยอนฮัประบุว่า ยอดรวมหนี้สาธารณะของประเทศ ซึ่งคิดรวมหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชนล่าสุดนับถึงเมื่อเดือนมิถุนายนที่ ผ่านมา ได้พุ่งแตะระดับ 2,962ล้านล้านวอน (ราว 83.5ล้านล้านบาท) ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงกว่าเมื่อสิ้นปี 2011 ที่ยอดหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ที่ 2,859 ล้านล้านวอน (ราว80.6 ล้านล้านบาท) และหากพิจารณาเปรียบเทียบกับจีดีพีของเกาหลีใต้แล้ว จะพบว่า สัดส่วนของหนี้สาธารณะล่าสุดได้เพิ่มจำนวนเป็นกว่า “233.8 เปอร์เซ็นต์” ของจีดีพีของประเทศ

 

รายงานของสื่อดังแดนโสมขาวระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจเป็น เพราะมาตรการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลของรัฐบาลเกาหลีใต้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกเมื่อปี ค.ศ.2008 ขณะเดียวกันต้นทุนการกู้ยืมในตลาดภายในประเทศที่ต่ำ ยังกลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ชาวเกาหลีใต้กู้ยืมเงินจำนวนมากขึ้นตลอดหลายปี ที่ผ่านมา จนยอดหนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูง

 

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน “มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส” สถาบันจัดอันดับเครดิต เรตติงชื่อก้องโลกออกโรงเตือนว่า ระดับของหนี้สินภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ได้ก้าวเข้าสู่ “ระดับอันตราย” และมีความเปราะบางอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินในประเทศ หากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงขาลง

555000014217102.JPEG blank.gif

555000014217103.JPEG blank.gif

555000014217104.JPEG blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณอลัน .. เขาทุบให้พวกเราได้ซื้อของถูกเข้าครับ ไม่ได้ทุบไว้ซื้อเองหรอก

:uu

 

 

คุณน้ำใส .. บทวิเคราะห์ของกูรูที่คุณน้ำใสตามอ่านอยู่ มีให้อ่านฟรีตามเวบหรือเปล่าครับ

ถ้ามีให้อ่านฟรี รบกวนขอลิงค์ด้วยครับ อยากลองไปตามอ่านดูบ้าง

 

จัดให้ค่ะ ตามนี้เลย รายละเอียดจะอยู่ประมาณหน้า5-6 ค่ะ

http://stockcharts.com/public/1178409

 

update อีกนิด ให้ขา Bมาด้วย แต่เค้าให้พิจารณาซื้้อ(น่าจะแท่ง)ในช่วง 1620-1700 ค่ะ

post-2539-0-43164400-1352093103_thumb.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวลาทองลงๆก็เอากราฟมาให้ดูเล่นแก้เซ็ง 555 :bye

 

4.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง

 

6 พฤศจิกายน 2555

 

General News

 

• จำนวนผู้ขอสวัสดิการกรณีว่างงานของสเปนเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 2.7% มาอยู่ที่ 4.83 ล้านราย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังเศรษฐกิจยังไม่พ้นจากภาวะถดถอย ทำให้คาดว่า อัตราการว่างงานของสเปนอาจเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ หลังจากอยู่ที่ระดับ 25% ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

 

• กรีซ เตรียมเสนอร่างกฎหมายลดการขาดดุลงบประมาณปี 2013-2014 ต่อสภาผู้แท

นรา ษฎร ขณะที่สหภาพแรงงานด้านสาธารณะ คนขับแท็กซี่ การขนส่งสาธารณะ และนักหนังสือพิมพ์ หยุดงานประท้วงเป็นเวลา 3 วัน เพื่อต่อต้านแผนดังกล่าว โดยร่างกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยการขึ้นภาษี และการลดรายจ่ายภาครัฐ ราว 13.5 พันล้านยูโร

 

• กรีซและโปรตุเกส ขอคำแนะนำทางเทคนิคจาก ธ.โลก เพื่อให้ฟื้นตัวจากวิกฤติการคลัง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องขอคำแนะนำจาก ธ.โลก โดยทั้ง 2 ประเทศต่างจำเป็นต้องปฏิรูปประเทศและลดงบรายจ่ายครั้งใหญ่ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจาก IMF และ EU

 

• G20 เรียกร้องให้สหรัฐหลีกเลี่ยงภาวะ Fiscal Cliff' หรือ ลดการขาดดุลงบประมาณลงมากเกินไป หลังจากมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะสิ้นสุดลงในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ยุโรป ทั้งนี้ สหรัฐมีแผนเก็บภาษีเพิ่มราว 607 พันล้านดอลลาร์ และจะตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงในเดือน ม.ค.หากไม่มีการทบทวนโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

 

• GDP อินโดนีเซียไตรมาส 3 ขยายตัว 6.17% หลังการบริโภคในประเทศและการลงทุนขยายตัวได้ดี ช่วยชดเชยการชะลอตัวของภาคส่งออก โดย GDP อินโดนีเซียขยายตัวสูงกว่า 6% มา8 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้ลดความจำเป็นที่ ธ.กลางอินโดนีเซีย จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง

 

• 6 ชาติสมาชิกอียู (สเปน นอร์เวย์ โปแลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก บัลแกเรีย) สั่งระงับการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทย เนื่องจากสินค้าไม่ได้มาตรฐานและพบสารตกค้างปนเปื้อน เช่น แอนฟาโค และสารฮิตามีน

 

• ธปท. เผยว่า หาก มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน ได้รับเลือกเป็นประธานนาธิบดี อาจมีผลต่อนโยบายด้านต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา และตลาดเงินคงได้รับผลกระทบด้วย

 

• นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเชียยุโรป (อาเซม) ว่าได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยประเทศในกลุ่มเอเชียต่างเชื่อมั่นว่ายุโรปจะแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ได้ แต่ทั้ง 2 ภูมิภาคต้องร่วมมือกันสร้างความแข็งแรงเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาสมดุล ทางเศรษฐกิจ ขณะที่ยุโรปต้องการเห็นความร่วมมือด้านการค้าเสรี เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน

 

Equity Market

 

• ราคาหุ้นพานาโซนิกลดลงกว่า 40% ในปีนี้ หลังบริษัทคาดว่าในปีบัญชี 2012 สิ้นสุดเดือนมีนาคมปีหน้าจะขาดทุน 9.5 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้นทุนจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ และความต้องเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง ขณะที่ S&P ได้ลดอันดับความน่าเชื่อพานาโซนิกลง 2 อันดับจาก A- มาอยู่ที่ BBB โดยมีมุมมอง “มีเสถียรภาพ”

• ฮุนได มอเตอร์ และ เกีย มอเตอร์ส คอร์ป ยอมรับว่าได้โฆษณาเกินจริงเกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันของรถยนต์บางรุ่น ส่งผลให้ราคาหุ้นเกียและฮุนไดดิ่งลง 7% และ 8% ตามลำดับเมื่อวานนี้ เพราะนักลงทุนกังวลว่าอาจทำให้มีการฟ้องร้อง รวมทั้งการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกค้า

 

• SET Index ปิดที่ 1,306.70 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด หรือ 0.01% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 29,744 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 510 ล้านบาท โดยดัชนี SET แกว่งตัวในกรอบแคบๆหลังจากนักลงทุนชะลอการลงทุน เพื่อรอผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่าหากโอบามาได้กลับมาเป็น ปธน.อีกครั้ง นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐจะเป็นไปในทิศทางเดิม ไม่ได้ชะลอตัวเพื่อรอนโยบายเศรษฐกิจใหม่

 

• ตลท. ระบุว่า ไม่ได้มีมาตรการให้หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงินกับบริษัทไร่ส้ม และนายสรยุทธ สุทัศนจินดา เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต.โดยตรง

 

Fixed Income Market

 

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วงระหว่าง -0.01% ถึง 0.01% และในวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท.อายุ 1/3/6 เดือน มูลค่า 83,000 ล้านบาท

 

Guru Corner

 

• Marc Faber “ความต่างมันอยู่ที่ว่า สเปน กับ กรีซ พิมพ์เงินได้จำกัด ในขณะที่สหรัฐ พิมพ์ดอลลาร์ออกมาเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อเมริกันดิ่งเหวได้ในอนาคต แต่ภายใน 2-3 เดือนนี้ผมคิดว่าดอลลาร์อเมริกันจะแข็งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับยูโร ซึ่งไม่ใช่เพราะจะมีอะไรที่ดีเป็นพิเศษเกิดขึ้นในอเมริกา แต่เป็นเพราะยุโรปจะย่ำแย่ลงไปอีกต่างหาก” (หมายถึงหนี้ของสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ไม่ได้ดีกว่า กรีซ หรือ สเปน เท่าใดเลย โดยเฉพาะถ้ารวมส่วนสวัสดิการสังคมที่เป็น Unfunded Liabilities เข้าไว้ด้วย แต่กรีซ กับ สเปน ลำบากกว่ามาก เพราะไม่สามารถพิมพ์เงินออกมาได้อย่างไม่จำกัดอย่างสหรัฐ)

 

• Richard Koo (Nomura) “นโยบายของ Barack Obama ที่ทำไปแล้วเป็นการตอบสนองที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ Recession ในสหรัฐ“

 

• Paul Krugman “Poll ต่างๆ ในสหรัฐต่างเสียเวลามากมายในการปั่นตัวเลขว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี เพราะจะทำอย่างไร มันก็เปลี่ยนความจริงที่จะปรากฏออกมาไม่ได้

 

“เรา กำลังอยู่ในยุคมืดของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค คำว่ายุคมืดนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นยุคโบร่ำโบราณ หรือป่าเถื่อน แต่สิ่งที่ทำให้ยุคมืดต้องมืดก็คือความรู้จำนวนมากสิ้นสลายหายไป เหมือนที่วิชาความรู้หลายแขนงในยุคโรมันกับกรีซถูกละเลยจนลืมเลือนไปในยุค ต่อมาซึ่งเป็นยุคของอาณาจักรบาร์บาเรียน

 

และนั่นคือสิ่งที่ เกิดขึ้นกับนักเศรษฐศาสตร์มืออาชีพในวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์มหภาคกำลังขาดความเข้าใจพื้นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค มันไม่ใช่แค่อุปสงค์ อุปทาน บวก สมการเชิงปริมาณเท่านั้น นี่คือความรู้ที่หายไปแล้วของนักเศรษฐศาสตร์”

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เหตุผลที่ต้องซื้อทองเพราะใครๆก็พากันทิ้งดอลล์

 

Jim Sinclair’s Commentary

This is the change in dollar settlement function and the decline of the dollar as the Reserve currency of choice, now the reserve currency by default.

1. February 2012, China and Japan ink a deal to do bilateral trade without the US dollar. The second and third largest economies in the world now trade without the dollar.

2. Sept 7, 2012, China and Russia begin trade without the American dollar. Russia announces that it will sell China all the crude oil it needs.

3. China and Brazil begin trading without the US dollar.

4. China and Australia ink a deal to trade without the dollar.

5. India and Japan began bilateral trade without the use of the dollar, the largest currency swap of 2012.

6. India and China are buying oil from Iran but because of UN and US trade sanctions they are not allowed to use the US dollar. So to bypass the dollar they are trading in Gold.

7. Iran and Russia have begun to sell oil without the use of the dollar.

8. China and Chile to trade without the use of the US dollar.

9. China and UAEA to trade without the US dollar.

10. China and Africa (Africa Standard Bank) have said they will handle any transactions necessary between China and Africa. Right at this moment China is the #1 supplier of goods to Africa.

11. April 5th 2012, BRICS come together and decide they are going to do trade amongst themselves without the US dollar. 43% of the world’s population are in these countries, 18% of the world GDP and 53% of the global financial capitol are now not using the dollar.

12. Sept 7th 2012, China and Germany sign a deal to trade and not use the USA dollar.

13. Sept 6th 2012, China announces that any country wishing to sell crude oil can now do so using the Yuan the next day Sept 7, 2012, and it will not use the American dollar.

14. August 2012, China and Taiwan ink a deal to do trade in cross channel trade.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...