ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Nexttonothing

โอกาส "เงิน" (จริงๆ) : ระยะประชิด

โพสต์แนะนำ

ยอดขายเหรียญAmerican Eagle ของเดือนนี้หดหายอย่างมากมาย

http://www.usmint.gov/mint_programs/american_eagles/?action=sales&year=2012#SilverTotals

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยอดขายเหรียญAmerican Eagle ของเดือนนี้หดหายอย่างมากมาย

http://www.usmint.go...12#SilverTotals

 

ถ้าเทียบปีที่แล้วควรขายได้อย่างต่ำก็สองล้านเหรียญ แต่นี้ได้แค่เจ็ดแสน เกิดอะไรขึ้นเนี่ย....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่แนะนำ bullionbourse เพราะเคยซื้อเหรียญทองรูปกระต่ายมาอันนึง แต่ไม่โดนภาษีนำเข้ากับภาษี vat นะครับ

กำลังลุ้นอยู่ครับว่า จะมีค่าส่งเพิ่มเติมหรือเปล่า

เมื่อวานเพิ่งได้รับเหรียญ Canada Maple ที่่สั่งจากพ่อค้าอีเบย์เจ้าประจำ

เฉลี่ยราคารวมค่าส่งแล้ว ตกอยู่ 48 USD ต่อเหรียญ

ถ้าเจ้าที่คุณ ee16053 แนะนำ ไม่มีค่าส่งเพิ่มเติม

ผมย้ายมาซื้อเจ้านี้ประจำเลย เพราะถูกลงไปตั้งเยอะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านบทความ เรื่องศักดิ์ศรีของหุ้นซึ่งมองยากแต่ใครมองออกก็รวย ราคาของโลหะเงินตอนนี้สมศักดิ์ศรีของโลหะเงินมั้ยพิจารณากันเองครับ ใช้จินตนาการว่าอนาคตของโลหะเงินจะเป็นอย่างไรใน 5 ปี 10 ปีหรือยาวกว่านั้น

 

 

ส่วนดอลลาร์ในระยะยาวมองยังไงก็ไม่ไหว ขาดดุลการค้ามากมายยังมองหาทางที่จะไม่ขาดดุลไม่เจอ มีหนี้สินมากมายมหาศาลแล้วยังพิมพ์ดอลลาร์มาอีกมากมาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ศักดิ์ศรีของหุ้น

โลกในมุมมองของ Value Investor : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

 

เวลาที่จะเลือกหุ้นลงทุนนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมมักจะคิดถึงอยู่เสมอก็คือ ความโดดเด่น ความยิ่งใหญ่ และความสำคัญของบริษัท ต่อลูกค้า และต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่มีบริษัทนี้จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคำตอบก็คือ บริษัทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตของคนจำนวนมาก หรือสินค้าหรือบริการเป็นที่ต้องการของคนมากมายในขณะที่หาสินค้าหรือบริการ แบบเดียวกันจากบริษัทอื่นไม่ได้หรือได้ยาก ในกรณีอย่างนี้ ผมก็จะสนใจและอาจจะให้คุณค่าสูง และคำว่าคุณค่าสูงของผมนั้น ผมจะวัดจาก Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งบริษัท

 

ตัวอย่างเช่นบริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการวินโดว์สนั้น สำคัญหรือยิ่งใหญ่ขนาดที่ว่าทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีโปรแกรมนี้มิ ฉะนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อาจจะทำงานอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น มูลค่าหุ้นของไมโครซอฟท์จะต้องสูง “มโหฬาร” เหตุเพราะว่าคนจำนวนเป็นพันล้านทั่วโลกต้องใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน ข้อเท็จจริงก็คือ ครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ หุ้นไมโครซอฟท์เป็นหุ้นที่มี Market Cap. สูงที่สุดในโลก แนวคิดที่ว่ามูลค่าหุ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับความสำคัญของบริษัท ผมขอใช้คำว่า “ศักดิ์ศรี” ของหุ้น นั่นคือ ศักดิ์ศรีของการที่เป็นโปรแกรมที่คนทั่วโลกต้องใช้

 

ลองมาดูอีกบริษัทหนึ่งคือบริษัทแอ๊ปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ของ สตีฟ จ็อบส์ นี่คือบริษัทที่คนทั่วโลกคอยติดตามหาซื้อผลิตภัณฑ์ไฮเทครุ่นใหม่ล่าสุด ทั้งๆ ที่สินค้าของบริษัทไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นแต่มันเป็นสิ่งที่คน “คลั่งไคล้” ศักดิ์ศรีของการเป็นผู้นำนวัตกรรมที่โดดเด่นโดนใจสุดๆ ของคนรุ่นใหม่ทำให้หุ้นของแอปเปิลมีมูลค่าสูงขึ้นมโหฬารและแซงไมโครซอฟท์ไป ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

เรายังเห็นศักดิ์ศรีของหุ้นกูเกิล เว็บไซต์ที่คนทั่วโลกต่างก็เข้าไปค้นหาข้อมูลที่หลากหลายไม่จำกัด หรือเฟซบุ๊คที่คนนับหลายร้อยล้านและกำลังเติบโตต่อไปเรื่อยๆ เข้ามาใช้บริการ เหล่านี้ผมคิดว่าจะต้องมีมูลค่าหุ้นมหาศาล ซึ่งเราไม่สามารถประเมินมูลค่าได้จากตัวเลขกำไรในปัจจุบัน เหตุก็เพราะว่ามันยังขยายตัวไปเรื่อยๆ และยังเป็นช่วงที่บริษัทอาจต้องลงทุนและมีค่าใช้จ่ายมากเพื่อรองรับกับการ ขยายตัวในอนาคต ดังนั้น ถ้าจะคาดการณ์หรือคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมก็อาจจะต้องมองไปข้างหน้าที่ยาว ไกล ดูว่าในที่สุดแล้วจะมีคนกี่คนที่จะเป็นลูกค้าและบริษัทจะมีกำไรเท่าไรซึ่งก็ เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งเราก็อาจจะพบว่าราคาหรือมูลค่าหุ้นในปัจจุบันนั้น ยังน่าจะห่างจากมูลค่าที่น่าจะเป็นในอนาคตอีกมาก พูดง่ายๆ ราคามัน “ไม่สมศักดิ์ศรี” ในฐานะที่เป็น …. และถ้าเราพบหุ้นแบบนี้ การซื้อลงทุนก็อาจจะทำให้เราได้กำไรมหาศาล

 

ธุรกิจจำนวนมากนั้นผลิตสินค้าที่สำคัญมากและเป็นสินค้าที่จำเป็นอย่าง ยิ่งยวดต่อลูกค้าและระบบเศรษฐกิจ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน แต่ถ้ามองในแง่บริษัทแล้ว ความสำคัญก็อาจจะมีไม่มาก เพราะถ้าบริษัทเป็นอะไรไป บริษัทหรือโรงกลั่นอื่นก็ยังผลิตอยู่สามารถทดแทนได้ และแม้ว่าจะทดแทนได้ไม่หมด เราก็ยังสามารถนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ ดังนั้น ศักดิ์ศรีของการเป็นโรงกลั่นในแง่ของหุ้นก็มีไม่มากนัก

 

กิจการบางอย่าง เช่น สาธารณูปโภค นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อผู้คนทั้งประเทศและไม่มีบริษัทอื่นมาแทนได้ถ้า บริษัทเป็นอะไรไป แต่กิจการเหล่านั้นก็มักจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลไม่ให้ตั้งราคาสูง บางกิจการถูกบังคับให้ตั้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำ แบบนี้ ศักดิ์ศรีก็มีแต่แปลงให้เป็นราคาหุ้นไม่ได้มากอย่างที่ควรจะเป็น

 

ตัวอย่างของกิจการในเมืองไทยที่ผมเห็นว่าสามารถนำเรื่องของศักดิ์ศรีมาพูด ได้และก็เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วก็คือ หุ้นการบินไทย ย้อนหลังไปเพียงไม่เกิน 2-3 ปีในช่วงที่หุ้นการบินไทยตกต่ำลงเหลือเพียง 7-8 บาทถ้าผมจำไม่ผิด ในช่วงนั้น Market Cap. หรือมูลค่าหุ้นทั้งบริษัทของการบินไทยอยู่ที่หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเท่ากับราคาเครื่องบินโบอิง 747 เพียง 2-3 ลำ แต่ถ้าดูจริงๆ แล้ว ศักดิ์ศรีของการบินไทยคือการเป็นสายการบินแห่งชาติที่คนเกือบครึ่งหนึ่งที่ ต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทยด้วยเครื่องบินต้องใช้บริการ นอกจากนั้นการบินไทยยังถือหุ้นใหญ่โดยรัฐที่มี “ศักดิ์ศรี” ที่จะต้องรักษาบริษัทไว้ ดังนั้น ราคาหรือมูลค่าตลาดของหุ้นการบินไทยในช่วงนั้นจึงดู “ไม่สมศักดิ์ศรี” ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องกำไรขาดทุนหรือฐานะการเงินอะไรทั้งสิ้น เหตุการณ์หลังจากนั้นก็เป็นอย่างที่เห็น หุ้นการบินไทยปรับตัวขึ้นมหาศาลสมกับฐานะหรือศักดิ์ศรีของบริษัทคือกว่าแสน ล้านบาท

 

ลองมาดูบริษัทเอกชนธรรมดาที่สถานะหรือตำแหน่งในตลาดหรือในระบบเศรษฐกิจ “ยิ่งใหญ่” แต่ในช่วงหนึ่งราคาหุ้นหรือมูลค่าตลาดของหุ้น “ไม่สมศักดิ์ศรี” ตัวแรกก็คือ หุ้น CPF ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ฐานะของบริษัทในสังคมการค้าและอุตสาหกรรมทางด้านอาหารนั้นเป็นที่ประจักษ์มา นาน ยอดขายของบริษัทก็สูงเป็นแสนล้านบาทและยังเติบโตไปเรื่อยๆ แต่ย้อนหลังไปเพียง 3-4 ปี มูลค่าหุ้นของบริษัทก็เพียงแค่ 2-3 หมื่นล้านถ้าผมจำไม่ผิด และก็อย่างที่เห็น หุ้น CPF ปรับตัวขึ้นมารับกับศักดิ์ศรีของบริษัทในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารที่ใหญ่ที่ สุดของไทยและอาจจะเติบโตยิ่งใหญ่ในระดับโลกได้ มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองแสนล้านบาท

 

หุ้นอีกตัวหนึ่งซึ่งบังเอิญอยู่ในกลุ่มของ CP เช่นเดียวกันก็คือ หุ้น CPALL ย้อนหลังไปเพียง 3-4 ปีเช่นเดียวกัน ศักดิ์ศรีของบริษัทก็คือ เป็นผู้นำที่โดดเด่นในตลาดสะดวกซื้อที่คนไทยนับวันจะใช้บริการมากขึ้นและใน ที่สุดก็น่าจะทั้งประเทศ สำหรับหลายๆ คนแล้ว การขาดร้าน 7-11 นั้นก็จะเป็นการ “ยุ่งยาก” หรือ “ไม่สะดวก” เอามากๆ แต่ในขณะนั้น หุ้นของ CPALL ซึ่งโดยศักยภาพนั้นน่าจะมียอดขายเป็นแสนล้านบาทขึ้นไปกลับมี Market Cap. เพียง 3-4 หมื่นล้านบาทโดยไม่มีหนี้เงินกู้เลย เป็นไปได้อย่างไรที่กิจการที่คนทั้งประเทศต้องใช้บริการเกือบทุกวันโดยที่หา คู่แข่งแทบไม่ได้จะมีมูลค่าเพียงเท่านั้น และก็อย่างที่เห็น หุ้น CPALL ปรับตัวขึ้นเป็นเกือบสองแสนล้านบาทสมกับศักดิ์ศรีที่ควรจะเป็น

 

การดูว่าราคาหรือมูลค่าหุ้นนั้นสมกับ ศักดิ์ศรีของกิจการหรือไม่เป็นศิลปะอยู่มากทีเดียวเนื่องจากตัวเลขผลการ ดำเนินงานในขณะที่วิเคราะห์นั้นใช้ไม่ได้ หลายครั้งต้องใช้จินตนาการว่าอนาคตของบริษัทจะเป็นอย่างไรใน 5 ปี 10 ปีหรือยาวกว่านั้น การวิเคราะห์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ถ้าทำถูก ผลตอบแทนก็มหาศาล

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้ามองอย่างใจเป็นกลางผมเห็นว่าแร่เงินมันก้ำกึ่ง เพราะถึงแม้ว่าแร่เงินจะเป็นแร่ที่จำเป็นมากในการผลิตสินค้า และเป็นได้ทั้งเครื่องประดับด้วย

 

พูดในแง่เครื่องประดับ ยังไงเสียแร่เงินก็คงสู้ทองไม่ได้ ไม่ใช่พูดในแง่ความหายากของเงินที่ตอนนี้น้อยกว่าทองแล้ว แต่พูดในแง่คุณสมบัติเฉพาะที่เงินยังคงสุ้ทองไม่ได้ ทั้งในแง่ของสีและความสวยงามแบบความนิยมสามัญทั่วไป

 

พูดในแง่สินค้้าโภคภันฑ์ ณ ตอนนี้ผมก็เห็นว่ามันจำเป็นต่ออุตสาหกรรมมากๆ แต่ถ้าวันไหนราคามันสูงเกินไปก็คงจะมีการหาธาตุอย่างอื่่นทดแทน แม้ว่าจะใช้งานได้ไม่ดีเท่าเงินแต่ก็พอจะทดแทนได้ มองไปก็คล้ายๆกับน้ำมันที่หากวันไหนน้ำมันหมดจากโลก พลังงานทดแทนก็จะเข้ามาแทนที่อยู่ดีถึงจะไม่สะดวกเท่าน้ำมันก็เถอะ

 

ผมว่ามันมองได้สองมุมเลยนะครับแร่เงินนี่ ในแง่เครื่องประดับก็ไม่เชิงว่าจะมีศักดิ์ศรีหรือคุณค่าแบบในวงการเป็นเบอร์หนึ่ง(เพราะเจอทองขัดอยู่) ในแง่สินค้าโภคภัณฑ์ก็ไม่เชิงว่าจะไม่มีอะไรมาทดแทนได้ถึงแม้จะไม่ดีเท่าแร่เงินแต่ก็พอใช้งานแทนได้ระดับหนึ่่ง

 

แต่สิ่งที่พอจะวางใจได้ืคือ กว่าราคาแร่เงินจะสูงจนต้องหาอะไรมาทดแทนการใช้งานมันน่าจะสูงกว่านี้มากจากที่ผมเคยลองถามคุณส้มโอมือผมก็เห็นด้วยว่าน่าจะอยู่หลักครึ่งล้านต่อกิโล(แต่อาจจะต้องรอไปอีกเป็นสิบปีขึ้นไป) ซึ่งหากใครถือทนก็น่าจะเป็นราคาที่ตอนนั้นค่อยปล่อยของออกมาเพื่อเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นต่อไป แต่ถ้าโชดดีทะลุหลักล้านบาทต่อกิโลเหมือนทองคำตอนนี้ ตอนนั้นคงจะมีเศรษฐีใหม่ขึ้นมาอีกเยอะมาก

 

เว้นแต่ว่าหากเมือใดการกำหนดค่าเงินต้องมีพวกแร่เงินแร่ทองมาเป็นประกันในการกำหนดค่าเงินตอนนั้นผมถึงจะเห็นช่องว่าศักดิ์ศรีของแร่ดังกล่าวมันจะประเมินค่าได้ยากแต่ก็น่าจะสูงมากๆในระดับหนึ่ง ถ้าผมจะคิดก็คงจะใช้เกณฑ์การสร้างทองคำหรือเงินด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ว่ามีต้นต้นทุนเท่าไร ตอนนั้นก็คงจะตอบได้ว่าจำนวนเงินที่แท้จริงของทองกับเงินไม่ควรเกินเท่าไร (เห็นว่าเราสามารถสกัดทองคำจากน้ำทะเลได้ แต่ต้องใช้จำนวนมหาศาลกว่าจะได้ทองสักกรัม ซึ่งค่าใช้จ่าย ณ ปัจจุบันนี้มันไม่คุ้มที่จะลงทุน) แต่นั้นก็หมายถึงว่าเราพอจะมีการกำหนดราคาต้นทุนของทองคำในอนาคตได้แล้วหากทองคำหรือเงินถูกขุดจนหมดจนไม่สามารถหาได้แล้วจากการทำเหมืองแร่ แต่ทองที่อยู่ในน้ำทะเลมันแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีวันหมดไปจากโลก !!!

ถูกแก้ไข โดย Waiyakon

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

แต่สิ่งที่พอจะวางใจได้ืคือ กว่าราคาแร่เงินจะสูงจนต้องหาอะไรมาทดแทนการใช้งานมันน่าจะสูงกว่านี้มากจากที่ผมเคยลองถามคุณส้มโอมือผมก็เห็นด้วยว่าน่าจะอยู่หลักครึ่งล้านต่อกิโล

 

อย่าเอาราคาเป็นเป้าหมายเลยครับ ถ้าถึงวันที่ราคาสูงกว่านี้มาก(ราคาไม่โดนกดมากมาย) มีตัวใหม่ที่น่าสนใจกว่าผมก็อาจจะย้ายแล้ว ราคาที่บอกว่าห้าแสนอันนั้นคนรู้จักผมที่เก่งเทคนิคบอกว่า อาจเห็นทอง:เงิน ที่10:1 เงินอาจไป500เหรียญและทองไป5000 ใช้คำว่าอาจจะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจ๊พร เซียนขั้นเทพ ในการเทรดทองคำ

 

 

เห็นโฆษณาตัวนี้แล้ว ฮา มาก ๆ ๆ ค่ะ เลยเอามาฝาก อิอิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พูดในแง่เครื่องประดับ ยังไงเสียแร่เงินก็คงสู้ทองไม่ได้ ไม่ใช่พูดในแง่ความหายากของเงินที่ตอนนี้น้อยกว่าทองแล้ว แต่พูดในแง่คุณสมบัติเฉพาะที่เงินยังคงสุ้ทองไม่ได้ ทั้งในแง่ของสีและความสวยงามแบบความนิยมสามัญทั่วไป

 

พูดในแง่สินค้้าโภคภันฑ์ ณ ตอนนี้ผมก็เห็นว่ามันจำเป็นต่ออุตสาหกรรมมากๆ แต่ถ้าวันไหนราคามันสูงเกินไปก็คงจะมีการหาธาตุอย่างอื่่นทดแทน แม้ว่าจะใช้งานได้ไม่ดีเท่าเงินแต่ก็พอจะทดแทนได้ มองไปก็คล้ายๆกับน้ำมันที่หากวันไหนน้ำมันหมดจากโลก พลังงานทดแทนก็จะเข้ามาแทนที่อยู่ดีถึงจะไม่สะดวกเท่าน้ำมันก็เถอะ

 

ผมว่ามันมองได้สองมุมเลยนะครับแร่เงินนี่ ในแง่เครื่องประดับก็ไม่เชิงว่าจะมีศักดิ์ศรีหรือคุณค่าแบบในวงการเป็นเบอร์หนึ่ง(เพราะเจอทองขัดอยู่) ในแง่สินค้าโภคภัณฑ์ก็ไม่เชิงว่าจะไม่มีอะไรมาทดแทนได้ถึงแม้จะไม่ดีเท่าแร่เงินแต่ก็พอใช้งานแทนได้ระดับหนึ่่ง

 

 

 

 

นึกถึงเรื่องการใช้โลหะเงินเป็นเครื่องประดับ ในเมืองไทยอาจจะน้อยแต่ในต่างประเทศไม่แน่ เลยลองค้นหาข้อมูลแต่ยังไม่มีเวลาวิเคราะห์นะ(ข้อมูลเก่าไปเหมือนกันแล้วจะลองหาใหม่) อาจต้องวิเคราะห์กลับเป็นน้ำหนักโลหะที่ใช้ด้วย

ผมว่าการซื้อทองคำสำหรับเป็นเครื่องประดับน่าจะลดลงมากนะเพราะราคาแพงขึ้นมาก(แต่ผู้ซื้อมองว่าน่าซื้อเพราะทองคำช่วยรักษามูลค่าเงินกระดาษของพวกเขาให้สู้เงินเฟ้อได้) แต่ได้ข่าวมาว่าช่วงนี้เศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาแย่มากทำให้การส่งออกเครื่องประดับเงินไปที่ยุโรปและอเมริกาลดลงเยอะ

 

 

บท​ความ: สภาวะ​การค้า ​การส่งออก ​เครื่องประดับ​เงิน​ไทย

 

 

ข่าว​เศรษฐกิจ RYT9 -- อังคารที่ 18 กรกฎาคม 2549 14:42:58 น.

สถาน​การณ์​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงิน

จากข้อมูลชมรม​ผู้ส่งออก​เครื่องประดับ​เงิน​ไทยพบว่า​ในปัจจุบันมี​ผู้ ผลิต​เครื่องประดับ​เงิน​ในประ​เทศ​ไทย จำนวน​โรงงาน 500 ​แห่ง ​และมี

​แรงงานรวม 80,000 คน อุตสาหกรรม​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย​เพื่อ​การส่งออกมีพัฒนา​การมามากกว่า 20 ปีจนปัจจุบัน​ได้ก้าวขึ้น​เป็นศูนย์กลาง​การ

ผลิต​เครื่องประดับ​เงินที่​ใหญ่ที่สุดรองจากประ​เทศอิตาลี ​โดยมียอด​การส่งออก​เป็นมูลค่า 17,000 ล้านบาท อุตสาหกรรม​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย

emnb_1_370232.gif

​เติบ​โตอย่างรวด​เร็ว​ในช่วง​ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ​และคาดว่ายอด​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย​โดยรวม จะรักษาระดับ​การ​เติบ​โต​ได้ต่อ​ไป​ในปี

2549 ​โดยดู​ได้จากยอด​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงิน​ในระยะ 10 ปี จากปี 2539 - 2548 ดังนี้

ตาราง​แสดงมูลค่า​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงิน​ไทย​ไปยังตลาด​โลก

ระหว่างปี 2539 — 2548

ราย​การสินค้า | มูลค่า​การส่งออก (ล้านบาท)

| 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548

​เครื่องประดับ​เงิน | 5,316 6,906.20 7,935.20 7,909.80 8,258.10 10,944.10 10,581.20 11,449.90 12,810.70 16,917.30

จากข้อมูลสถิติ​การส่งออก​ในปี 2548 ยอด​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย​เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.6 ​และ​เนื่องจากราคาทองมี

​แนว​โน้มจะสูงขึ้นอีก ​จึงคาดว่ายอด​การส่งออก​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย​โดยรวมจะรักษาระดับ​การ ​เติบ​โต​ในปี 2549 ​ทั้งนี้มีสา​เหตุจากปัจจัยสนับสนุน

หลายประ​การ ​ได้​แก่

1. ราคาทองคำที่​เพิ่มสูงขึ้น ​ได้สร้าง​โอกาส​ให้​แก่อุตสาหกรรม​เครื่องประดับ​เงิน กล่าวคือ ​ความต้อง​การ​เครื่องประดับ​เงินมั่นคงขึ้น​ใน

ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 หลังจาก​ได้รับ​แรงกระตุ้นจากราคาทองที่สูงขึ้น ​ผู้ค้าส่ง​และ​ผู้ค้าปลีก​จึงสั่งซื้อ​เครื่องประดับทอง​เข้าร้าน​เป็น จำนวนลดลง

​และสั่งซื้อ​เครื่องประดับ​เงิน​เพิ่มมากขึ้น หากราคาทองคำยังคง​เพิ่มสูงขึ้น​ในปี 2549 ​ก็คาดว่า ยอดจำหน่าย​เครื่องประดับ​เงินจะสูงขึ้นกว่า​เมื่อปี

2548

2. ​แม้ว่าราคา​โลหะ​เงินจะ​เพิ่มขึ้น​ในปี 2548 ​แต่​ก็​ไม่​เพิ่มสูงมากนัก ​เมื่อ​เทียบกับราคาทองคำ ลูกค้าหันมาสั่งซื้อ​เครื่องประดับ​เงินมาก

ขึ้น​เพื่อลดต้นทุน​และ​ความ​เสี่ยง ​ในขณะ​เดียวกัน ลูกค้าบางรายที่คาดว่าราคา​เงินจะ​เพิ่มขึ้นอีก​ในปี 2549 ​ก็สั่งซื้อ​เครื่องประดับ​เงิน​ไป​เ​ก็บ​ไว้​เพิ่มขึ้น​ใน

ช่วงปี 2548 ​เพื่อรอรับ​เทศกาลวันวา​เลน​ไทน์​และวัน​แม่ ​เนื่องจากคาดว่ายอดจำหน่าย​ในยุ​โรปจะ​เพิ่มขึ้น ​และกระ​แส​ความนิยม​เครื่องประดับ​เงินมีอยู่

สูง​ในตลาด

3. ​ผู้ผลิต​เครื่องประดับทองคำของ​ไทยหลายราย​ได้ขยายสาย​การผลิต​ให้หลากหลายมากขึ้น ​โดย​เริ่มหันมาผลิต​เครื่องประดับ​เงินด้วย

​หรือขยายสาย​การผลิต​เครื่องประดับ​เงินที่มีอยู่​เดิม​ให้​ได้รับประ​ โยชน์จาก​ความต้อง​การ​เครื่องประดับ​เงินที่​เพิ่มสูงขึ้น ​ทั้งนี้​เนื่องจากยอดจำหน่าย​เครื่อง

ประดับทอง​เดิม​โตช้าลง

4. ผลตอบ​แทนจาก​การ​เปิดตัว​เครื่องประดับ​เงินคุณภาพสูง รูป​แบบ​แปลก​ใหม่ ​เข้าสู่ตลาด ​และมี​การขยายกำลัง​การผลิตด้วย​การ​ใช้

​เครื่องทุ่น​แรง ​และกรรมวิธี​การผลิตที่ทันสมัย รวม​ถึงมี​ผู้ผลิต ​ผู้ส่งออกบางราย ผลิต​เครื่องประดับ​เงินที่มี​แบรนด์​หรือตราสัญลักษณ์ของตน​เอง ​ทำ​ให้มี

ยอด​การผลิต ​และ​การจำหน่ายสูงขึ้น ​โดย​เฉพาะ​ในยุ​โรปที่​เพิ่มขึ้นอย่างมาก​ในช่วง​ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ​ซึ่งรวม​ถึงตลาดหลัก​ในสหรัฐอ​เมริกา ​เยอรมัน ญี่ปุ่น

อังกฤษ ​และตลาด​ใหม่​แหล่งอื่น ๆ ​ใน​เอ​เชียตะวันออก​เฉียง​ใต้ ​และรัส​เซีย ​ซึ่งกำลังซื้อสูงขึ้น​เช่นกัน

5. จาก​การที่ตลาดต่างประ​เทศมี​แนว​โน้มกลับมาสน​ใจพลอยสีกันอีกครั้ง ​ผู้ผลิต​จึง​ได้ขยายธุรกิจด้าน​การผลักดัน​เครื่องประดับ​เงินที่ประดับ

ด้วยพลอย​เนื้อ​แข็ง พลอย​เนื้ออ่อน ​ซึ่ง​เป็นพลอยสี ส่งผล​ให้​เครื่องประดับ​เงินมีรูป​แบบ​และประ​เภท​ให้ลูกค้า​ได้​เลือก​และ สั่งซื้อ​ได้มากขึ้น

จาก​เหตุผลต่าง ๆ ​เหล่านี้ ส่งผล​ให้ยอด​การจำหน่าย​เครื่องประดับ​เงินของ​ไทย​ในตลาดต่างประ​เทศ มี​แนว​โน้มสูงขึ้น ​ถึง​แม้ว่า​ผู้ผลิต​ไทย

จะกำลัง​เผชิญกับ​การ​แข่งขันที่รุน​แรงกับคู่​แข่งขัน​ในตลาด​โลก ​เช่น จีน​และอิน​เดีย ​ซึ่งมีต้นทุน​การผลิตที่ต่ำกว่า​ไทย ​แต่​ก็​เป็น​เพียงตลาดระดับล่าง​เท่า

นั้น คู้​แข่งจีนมี​ความสามารถสูง​ใน​การผลิต​เครื่องประดับ​เงินราคาต่ำ ​ในระยะยาว​ผู้ผลิต​ไทยจะ​ไม่สามารถ​แข่งขันกับจีน​ได้​ในด้านต้นทุน​แรงงาน ดังนั้น

​ผู้ผลิต​ไทย​จึงควร​ให้​ความสำคัญกับตลาดระดับบน ด้วย​การยกระดับ​การผลิต​ใน​แง่คุณภาพ ​การออก​แบบ ​และ​การตลาดที่​เดินตามกระ​แส​แฟชั่นอยู่ตลอด

​เวลา

--กรมส่ง​เสริมอุตสาหกรรม--

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ด่าน 33 คงรับไม่อยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.15 จากเดิม 146,862.27 ล้านบาท มาอยู่ที่ 197,022.99 ล้านบาท แต่หากไม่นับรวมทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปและทองคำกึ่งสำเร็จรูปแล้ว มูลค่าการส่งออกที่แท้จริงชะลอตัวลงถึงร้อยละ 17.05 สินค้าเกือบทุกรายการปรับตัวลดลง ขณะที่เครื่องประดับเงินเริ่มปรับตัวเป็นบวกสวนกระแสการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

หากเปรียบเทียบกับเมื่อเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2552 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.79 จากเดิม 118,190.28 ล้านบาท มาอยู่ที่ 181,764.07 ล้านบาท

ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงภาวะที่ค่อนข้างตกต่ำกว่าความคาดหมายต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว เนื่องจากเมื่อช่วงต้นปีสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติได้ประมาณการมูลค่าการส่งออกในปี 2552 ว่าจะติดลบที่ร้อยละ 12.35 หรือคิดเป็นมูลค่า 141,113.06 ล้านบาท

จากการเปิดเผยของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากสถิติการส่งออกสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมพบว่าการส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 53.79 มีมูลค่าสูงถึง 181,764.07 ล้านบาท จัดเป็นสินค้าส่งออกที่ขยับขึ้นจากอันดับที่ 5 หรือ 6 ในปีก่อนๆ มาเป็นอันดับที่ 2 รองจากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ซึ่งถ้าหักทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปซึ่งมีมูลค่าสูง

ถึง 117,801.48 ล้านบาทและเป็นสินค้าที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริงปรากฎว่าเหลือมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่แค่เพียง 63,962.52 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 17.05

เครื่องประดับแท้ซึ่งเป็นสินค่าส่งออกสำคัญรองจากทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่าการส่งออก 38,362.89 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 11.76 การส่งออกเครื่องประดับทองและเครื่องประดับแพลตินัมลดลงร้อยละ 18.57 และ 3.82 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกเครื่องประดับเงินขยายตัวร้อยละ 1.12 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

สินค้ารายการสำคัญในลำดับถัดมาคือ เพชร ด้วยสัดส่วนร้อยละ 6.61 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 33.85 โดยพบว่า เพชรที่ส่งออกส่วนใหญ่ส่วนเพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน (ทับทิม แซฟไฟร์ มรกต) และ พลอยเนื้ออ่อนเจียระไนมีมูลค่าการส่งออกที่ชะลอตัวลงร้อยละ 20.01 , 32.39 และ 13.84 ตามลำดับ

ส่วนสินค้ารายการสำคัญอื่นๆ ได้แก่ พลอยสีหดตัวลงถึงร้อยละ 23.69 ขณะที่เครื่องประดับเทียมขยายตัวร้อยละ 15.97 ส่วนเงินเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 943.09

 

 

 

 

 

การขยายตัวคิดเป็นร้อยละของตลาดส่งออกหลักมีดังนี้คือ สวิตเซอร์แลนด์ (267.69%)

ออสเตรเลีย (32.71%) ฮ่องกง (21.30%) สหรัฐอเมริกา (-33.27%) และเบลเยียม (-11.36%) ทั้งนี้สาเหตุที่ตลาดหลัก 3 อันดับแรกมีอัตราการขยายตัวสูงมากเพราะประเทศเหล่านี้มีการนำเข้าทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปเป็นจำนวนมากจากประเทศไทย ซึ่งหากตัดมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวออกไป อัตราการขยายตัวของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยก็จะติดลบเช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ

การส่งออกของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทุกประเภทมีอัตราการขยายตัวลดลง

ยกเว้น

 

- สินค้าเครื่องประดับอัญมณีเทียม มูลค่า 96.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.04

ตลาดหลัก คือ ลิกเตนสไตน์ มูลค่า 54.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38,164.58

สหรัฐฯ มูลค่า 15.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.34

เยอรมนี มูลค่า 15.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38

- สินค้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่า 3,398.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 168.22

ตลาดหลัก คือ สวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า 1,5904.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 616.87

ออสเตรเลีย มูลค่า 1,049.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 100.82

ฮ่องกง มูลค่า 708.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.10

สินค้าอีกรายการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าในหมวดนี้ คือทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งทางสถาบันวิเคราะห์ว่านับตั้งแต่ปี 2550 ในภาพรวมทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลการเก็งกำไรของบรรดาเฮดฟันด์และทำให้เกิดกระแสลงทุนในทองคำทั่วโลกก่อนที่กระแสดังกล่าวจะแพร่หลายมายังประเทศไทย ปัจจุบันคุณค่าของทองคำแตกต่างจากในอดีต จากเดิมที่ผู้บริโภคนิยมซื้อทองคำในรูปแบบของเครื่องประดับทองอย่างเดียวเปลี่ยนมาเป็นการซื้อทองคำแท่งเพื่อการลงทุน โดยผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ยจะดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

แม้ว่าการส่งออกสินค้าหลักเกือบทุกรายการจะยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ในทางกลับกัน เครื่องประดับเงิน มีแนวโน้มปรับตัวที่ดีขึ้น โดยจะเห็นจากปรากฏการณ์ที่มูลค่าการส่งออกสามารถปรับตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ปกติแล้วเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าไทยที่ยังมีลู่ทางที่ดีท่ามกลางสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะเป็นสินค้าทางเลือกระดับต้นๆ สำหรับผู้บริโภค โดยทั้งปีคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 26,651.31 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.10

 

 

 

ในช่วง 10 ปีมานี้ เครื่องประดับเงินของไทยสามารถยึดครองพื้นที่ทางการตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จในหลายๆ ประเทศ อย่างเช่นในสหภาพยุโรปที่มีส่วนแบ่งตลาดถึงครึ่งหนึ่งหรืออย่างในสหรัฐอเมริกาที่ไทยเป็นผู้นำตลาดมาโดยตลอดก่อนที่จะถูกจีนเบียดแซงไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ล่าสุดไทยสามารถชิงตำแหน่งดังกล่าวกลับมาได้อีกครั้ง เพราะตลาดสหรัฐกลับมาซื้อสินค้าในระดับกลางถึงบนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น ทำให้เครื่องประดับเงินจากจีนที่มีคุณภาพไม่สูงนักกลับมีราคาแพง จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการในตลาดได้ดีเท่ากับสินค้าไทย

อย่างไรก็ตามการที่ทองคำปรับตัวสูงขึ้น จะทำให้มูลค่าการส่งออกทองคำของไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นคือค่าเงินเหรียญสหรัฐ (โดยเฉพาะค่าเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับเงินยูโร) ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 เงินเหรียญสหรัฐมีทิศทางอ่อนค่าลง เนื่องจากราคาทองคำและค่าเงินเหรียญสหรัฐจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นการอ่อนค่าลงของเงินเหรียญสหรัฐจะทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น

นอกจากนี้การซื้อขายทองคำภายในประเทศยังนำไปสู่การส่งออกทองคำของไทยจนไปถึงการลงทุนในตลาดโกลด์ฟิวเจอร์ คาดว่ามูลค่าการส่งออกทองคำตลอดทั้งปี 2552 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 30

เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 1-2 ปีมานี่ โครงสร้างตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือการส่งออกลพอยเนื้อแข็งที่เจียระไนแล้วและเครื่องประดับทอง ไปยัง 3 ตลาดหลักเดิมมีส่วนลดลงตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดใหม่อย่างเช่นรัสเซีย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเร็ตส์และประเทศอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง

กลับมีแนวโน้มเติบโตอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการรุกตลาดใหม่และลดการพึ่งพาตลาดเดิม ขณะที่การส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยยัง 3 ตลาดหลักเดิมยังมีสัดส่วนคงที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะต้องรักษาฐานตลาดเหล่านี้ไว้ให้ได้ ขณะเดียวกันการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับเงินให้สูงยิ่งขึ้นด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม- มิถุนายน 2551 และ 2552

 

รายการ

มูลค่า(ล้านบาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

มค.-มิย.51

มค.-มิย.52

มค.-มิย.51

มค.-มิย.52

1. ทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป

41,080.90

 

117,801.48

 

34.76

 

64.81

 

186.75

 

2. เครื่องประดับแท้

43,476.60

 

38,362.89

 

36.79

 

21.11

 

-11.76

 

2.1 เครื่องประดับเงิน

12,845.63

 

12,989.63

 

10.87

 

7.15

 

1.12

 

2.2 เครื่องประดับทอง

28,304.27

 

23,047.83

 

23.95

 

12.68

 

-18.57

 

2.3 เครื่องประดับแพลตินัม

409.31

 

393.66

 

0.35

 

0.22

 

-3.82

 

2.4 อื่นๆ

1,917.39

 

1,931.59

 

1.62

 

1.06

 

0.74

 

3. เพชร

18,174.95

 

12,022.69

 

15.38

 

6.61

 

-33.85

 

3.1 เพชรก้อน

4,911.78

 

1,411.37

 

4.16

 

0.78

 

-71.27

 

3.2 เพชรเจีระไนแล้ว

13,252.64

 

10,600.72

 

11.21

 

5.83

 

-20.01

 

3.3 อื่นๆ

10.52

 

10.60

 

0.01

 

0.01

 

0.76

 

4. พลอยสี

9,226.34

 

7,040.79

 

7.81

 

3.87

 

-23.69

 

4.1 พลอยก้อน

350.00

 

232.38

 

0.30

 

0.13

 

-33.61

 

4.2 พลอยเนื้อแข็งที่เจียระไนแล้ว

4,525.15

 

3,059.37

 

3.83

 

1.68

 

-32.39

 

4.3 พลอยเนื้อออ่อนที่เจียระไนแล้ว

4,351.19

 

3,749.03

 

3.68

 

2.06

 

-13.84

 

5. เครื่องประดับเทียม

2,892.62

 

3,354.57

 

2.45

 

1.85

 

15.97

 

6. เงิน

116.15

 

1,211.55

 

0.10

 

0.67

 

943.09

 

7. อื่นๆ

3,222.72

 

1,969.92

 

27.3

 

1.08

 

-38.87

 

รวมทั้งสิ้น

118,190.28

 

181,763.89

 

100.00

 

100.00

 

53.79

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ปี 2551 และ 2552

 

ลำดับที่

ประเทศ

มูลค่า(ล้านบาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

 

มค.-มิย.51

มค.-มิย.52

มค.-มิย.51

มค.-มิย.52

1

 

สวิตเซอร์แลนด์

12,993.40

 

59,275.37

 

10.99

 

32.61

 

356.20

 

2

 

ออสเตรเลีย

18,752.07

 

38,623.53

 

15.87

 

21.25

 

105.97

 

3

 

ฮ่องกง

24,462.73

 

36,313.86

 

20.70

 

19.98

 

48.45

 

4

 

สหรัฐอเมริกา

16,580.89

 

11,612.28

 

14.03

 

6.39

 

-29.97

 

5

 

เบลเยียม

4,765.88

 

4,570.24

 

4.03

 

2.51

 

-4.11

 

6

 

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

3,076.99

 

3,557.35

 

2.60

 

1.96

 

15.61

 

7

 

สหราชอาณาจักร

3,699.73

 

3,503.14

 

3.13

 

1.93

 

-5.31

 

8

 

อิตาลี

3,659.32

 

3,220.30

 

3.10

 

1.77

 

-12.00

 

9

 

ญี่ปุ่น

3,526.66

 

2,855.22

 

2.98

 

1.57

 

-19.04

 

10

 

เยอรมนี

3,124.84

 

2,561.27

 

2.64

 

1.41

 

-18.04

 

 

อื่นๆ

23,547.77

 

15,671.33

 

19.92

 

8.62

 

-33.45

 

 

รวม

118,190.28

 

181,763.89

 

100.00

 

100.00

 

53.79

 

 

การลดภาษีและสัญญาณบวกของภาวะเศรษฐกิจโลก

ล่าสุดรัฐบาลได้ทราบถึงปัญหาของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับและให้การสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการปรับวิธีการเก็บภาษี

เสียใหม่ โดยให้ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม พลอยก้อนซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ และให้เปลี่ยนเป็นการเก็บเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 % แทน

รัฐบาลเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้เพราะเป็นภาคการผลิตที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศสูงเป็นอันดับต้นๆ และมีมูลค่าสูงถึงกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีการจ้างแรงงานสูงถึง 1.1 ล้านคน อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 25 % และอีก 75% กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ถือว่ามีส่วนในการสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ

นอกจาก มีแผนการที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลกและส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวแล้ว รัฐบาลยังมองว่าการจัดเก็บภาษีในลักษณะหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ของวัตถุดิบนี้นอกจากจะช่วยอุตสาหกรรมโดยรวมแล้วยังจะทำให้สามารถเก็บภาษีได้สูงกว่าโครงสร้างเดิม เพราะนอกจากภาษีส่วนนี้ไม่สามารถขอคืน และเมื่อผลิตและจำหน่ายแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่ง และยังทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยที่เคยหลบเลี่ยง เข้ามาอยุ่ในระบบภาษีมากขึ้น คาดว่าจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มเป็น 2-3 พันล้านบาทจากเดิมที่มีประมาณ 100 ล้านบาท

เดิมทีการนำเข้าพลอยก้อน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับเดิมจะต้องเสียภาษี 7% ของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งถือว่าเป็นภาษีซื้อ แต่สามารถขอคืนภาษีส่วนนี้ได้ โดยแต่ละปีจะมีภาษีประมาณ 40-50 ล้านบาท และเมื่อมีการนำมาผลิตและขายได้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่ง แต่เท่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการมองว่าเป็นภาระต้นทุน ทำให้มีการหลบเลี่ยงภาษีหรือมีการจ่ายใต้โต๊ะเป็นจำนวนมาก

ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นที่คาดว่าอุตสาหกรรมน่าจะพัฒนาไปในทางที่ดี เพราะเริ่มมีสัญญาณเศรษฐกิจที่ดีทั้งในประเทศเองและต่างประเทศหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดหลักของไทย นอกจากนี้สถาบันวิจัยฯ ได้คาดการไว้ว่าตลอดทั้งปี 2552 การชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกไทยน่าจะลดลงเหลือราว 10-12 % (ไม่รวมทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป) โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญคือเครื่องประดับเงิน

ปัจจุบันการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยมีสัดส่วนราว 30% ของมูลค่าการส่งออกในตลาดโลก และไทยจัดว่าเป็นผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำคัญเป็นอันดับ 14 ของโลก

 

แหล่งที่มาของข้อมูล กลุ่มงานวิเคราะห์สารสนเทศ

- Menucom ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ

- WTA กันยายน 2552

- Manager On Line

- สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและ

เครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

www.depthai.go.th/DEP/DOC/52/52002398.doc

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เครื่องประดับเงิน ดีมานด์ทะลักตลาดไทย/เทศ

 

นับตั้งแต่เศรษฐกิจโลกเริ่มหดตัว (ปลายปี 2551-2552) เครื่องประดับเงิน ยังคงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก แม้ว่าการส่งออกจะมีการชะลอตัวลง บ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อเทียบกับเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะประเภทอื่นๆ แล้วนั้น ส่วนใหญ่การส่งออกจะมีแนวโน้มหดตัว โดยเฉพาะในตลาดนำเข้าหลักอย่าง สหรัฐ และสหภาพยุโรป

 

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น เครื่องประดับ เงินก็ยังคงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแทนเครื่องประดับทอง และเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ มีค่าชนิดอื่นๆ โดยจะเห็นได้จากสัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับเงินในตลาดโลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าชนิด อื่นๆ มีสัดส่วนที่ลดลง โดยมีปัจจัยหนุน ดังนี้

 

ราคาวัตถุดิบโลหะมีค่ามีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาทองคำที่จัดเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเครื่องประดับมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นมาก ถึงแม้ว่าราคาโลหะเงินจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน แต่หากเปรียบเทียบกับราคาทองคำแล้วยังถือว่าถูกกว่ามาก

 

การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลัก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ และสหภาพยุโรป ยังคงมีความเปราะบาง ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่าย และมีเหตุมีผลมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า

 

พฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ และสหภาพยุโรป เนื่องจากเครื่องประดับจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาแพง ผู้บริโภคจึงยังคงมีความระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่าย และมีเหตุมีผลมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเครื่องประดับที่ตัดสินใจซื้อนั้น จะต้องตอบโจทย์ได้ทั้งในเรื่องของราคาที่เหมาะสม และลักษณะของตัวสินค้าที่มีคุณภาพ กล่าวคือ สินค้าจะต้องมีการออกแบบที่ทันสมัย มีความเป็นเอกลักษณ์ หรูหรา มีคุณภาพ แต่ราคาเหมาะสม และเข้ากันได้ดีกับกระแสแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเครื่องประดับเงิน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคในยุคนี้

 

จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า น่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายการส่งออกเครื่องประดับเงินไปยัง ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยศักยภาพ ที่โดดเด่นในด้านงานฝีมือที่มีคุณภาพ ในระดับราคาที่เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในปัจจุบัน กอปรกับการพัฒนาเทคนิคการผลิตและการออกแบบสินค้าให้ทันสมัย และมีความหลากหลายมากขึ้น สามารถใช้งานได้จริง ส่งผลให้คาดว่า เครื่องประดับเงินของไทยยังคงได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง

 

หากพิจารณาจากสัดส่วนในการส่งออกเครื่องประดับทั้งหมดของไทย จะเห็นว่า การส่งออกเครื่องประดับเงินมีแนวโน้มของสัดส่วนในการส่งออกที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการเครื่องประดับเงินในตลาดโลก โดยเฉพาะในตลาดหลักที่สำคัญ ของไทยอย่างสหรัฐ และสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันกว่าร้อยละ 95 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทย ขณะที่การส่งออกเครื่องประดับทองของ ไทยมีแนวโน้มของสัดส่วนในการส่งออกที่ลดลง

 

โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 การส่งออกเครื่องประดับรวมทั้งหมดของ ไทยมีมูลค่า 489.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 (YoY) แบ่งเป็น เครื่องประดับทอง 225.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 (YoY) เครื่องประดับเงิน 225.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 (YoY) และเครื่องประดับโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ 38.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.0 (YoY) สำหรับภาพรวมทั้งปี 2554 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยน่าจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,450-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11-15 (YoY)

 

ทั้งนี้ จากความต้องการเครื่องประดับเงินในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยจะเห็นได้จากในปี 2549 สัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับเงินในตลาดโลกมีประมาณ ร้อยละ 11.9 ของสัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับทั้งหมดในตลาดโลก เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24.1 ในปี 2552 ในขณะที่การนำเข้าเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ มีแนว โน้มลดลงจากสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 88.1 ของสัดส่วนการนำเข้าเครื่องประดับ ทั้งหมดในตลาดโลกในปี 2549 เป็นสัดส่วนร้อยละ 75.9 ในปี 2552 ทำให้ประเทศส่งออกที่สำคัญในตลาดโลกไม่ว่าจะเป็นไทย จีน อินเดีย หรืออิตาลี ต่างเล็งเห็นโอกาส ที่จะขยายการส่งออกสินค้าเครื่องประดับในกลุ่มนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งจากคู่แข่งที่มีศักยภาพในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน และอินเดีย ซึ่งถือเป็นคู่แข่งในตลาดระดับกลาง-ล่าง และคู่แข่งที่ครองตลาดบน อย่างอิตาลี

 

ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน และผลักดันให้เครื่องประดับเงินของไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ทั้งในเรื่องของการออกแบบ มาตรฐานสินค้า ภาพลักษณ์และคุณภาพ ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ปรับตัวเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของตนเองและภาคอุตสาหกรรม

 

http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413352518

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โลหะเงิน….. ขาดตลาดจริงหรือ?

 

เมษายน 6, 2011 by admin

Filed under: ข่าวและเทคโนโลยี (News & Technology)

Paul-Walker.png

Paul Walker, CEO GFMS the world's foremost precious metals consultancy

ผลผลิตของเหมืองโลหะเงินใหม่ๆคาดการณ์ ว่าจะทำได้ 800 ล้านออนส์ในปี 2011 จากเดิมที่ผลิตได้ 740 ล้านออนส์ในปี 2010 รักษาปริมาณให้มากพอกับความต้องการจากทั่วโลก

“เราคาดการณ์ ว่าจะมีความยอดการผลิตการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน (ในผลผลิตของเหมืองใหม่ๆ) ในปีนี้” Paul Walker, GFM’s chief executive officer กล่าวว่า “ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณโลหะเงินมีเพียงพอกับความต้องการ”

Silver-Price-2.png

Graph illustrate silver price in period of 40 years by courtesy of Bloomberg

Walker กล่าวว่าความต้องการทั้งหมดจะอยู่ที่ 885ล้านออนส์ในปี 2011 เพิ่มขึ้น 18% หรือเพิ่มขึ้น 139 ล้านออนส์นับจากปี 2009 ในฃณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง 13% หรือ 90 ล้านออนส์นับจากปี 2009 ในช่วงเดียวกัน ทำให้เห็นว่ามีความขาดแคลนบ้างเล็กน้อยที่จะสนองต่อความต้องการ Walker กล่าวว่า “แต่มันก็ไม่มีเหตุอันควรที่จะไปกังวลว่าการผลิตจะขาดแคลน”

การที่ความต้องการทางอุตสาหกรรมโลหะ เงินมีการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง จากสถิติการขายเหรียญเงินของสหรัฐฯ มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากในการแลกเปลี่ยน silver=backed exchange trade funds และแหล่งที่มีความต้องการจากบริษัทที่ทำเหมืองได้ยืมโลหะเงินสำหรับ hedge programme เมื่อเร็วๆนี้ได้ถึงจุดที่จะต้องหยุดชงักในทางปฎิบัต สิ่งนี้เป็นสาเหตุการให้เกิดการกักตุน ที่ซึ่งราคือซื้อเงินสดโลหะเงินที่จัดส่งในระสั้นๆ จะมีราคาสูงกว่าราคาโลหะเงินที่จัดส่งให้ในอนาคต

“มันเป็นผลกระทบต่อเนื่องที่เป็น ธรรมชาติสำหรับด้านดีของสินค้าที่มีความต้องการของตลาด สินค้าในสต๊อกของ ETFs จำนวนมากได้หมดลง และกระแสการลงทุนได้ป็นตัวผลักดันให้ราคาสูงขึ้น แต่ผมจะไม่ให้ความสำคัญในแง่กระแสกักตุนนี้มากนักดังที่บางกลุ่มต้องการหยุด มันลง” Walker กล่าว “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ยังมีโลหะเงินจำนวนมากที่เก็บสต๊อกในมือใครบางกลุ่ม มัรนอยู่ที่ว่าคนเหล่านั้นมีความยินดีที่จะปล่อยเข้าสู่ตลาดเมื่อใด?” Walker กล่าวเสริมว่า “สถานะการณ์เช่นนี้จะคงอยู่อีกระยะหนึ่ง แต่ผมเชื่อว่ามันจะไม่คงอยู่อีกนานมากนัก”

มีดีลเลอร์ลหะมีค่าบางท่านกล่าวว่า การกักตุนโลหะเงินมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับตลาดการขายโลหะเงินล่วงหน้าของผู้ ผลิต กับ hedging ที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตได้รับประกันราคาในผลผลิตอนาคต มีแนวโน้มทำให้ราคาขายในตลาดส่งโลหะเงินในระยะสั้นๆในปัจจุบันถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งตามประเพณีแล้ว ผู้ทำเหมืองเงินก็นิยมที่จะใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า (forward hedging) ในการที่จะล็อกราคาสินค้าของตน “ซึ่งกลับกับวิธีการของการค้าทอง ในตลาดโลหะเงิน พ่อค้ามีปีชญาในการทำการค้าในตลาดการค้าสินค้าล่วงหน้า โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น non-primary producers ผู้ซึ่งไม่มีต้นทุนที่ไปลงทุนในการสร้างฐานการผลิต ที่เป็น byproduct ของการทำเหมือง” Walker กล่าว

Walker กล่าวว่า “ราคาโลหะเงิน อยู่ที่ปรมาณ $35 ต่อออนส์เป็นราคาที่น่าจะดึงดูดนักลงทุนที่เป็นกลุ่ม hedging” และก็เป็นราคาที่ผู้ผลิตยินดีที่จะปล่อยขายในทันที

ราคาโลหะเงินได้ทำสถิติสูงสุดในรอบ 31 ปี Walker กล่าวว่าราคาโดยเฉลี่ยตลอดปี 2011 น่าจะอยู่ที่ราคา 40-50% สูงกว่าราคาเฉลี่ยในปี 2010 อย่างไรก็ตามก็จัดได้ว่ามันยังอยู่ในราคาที่ต่ำกว่าราคา $ 50 ต่อออนส์ที่รักษาระดับนี้ตลอดเดือนมกราคม ในปี 1980

Silver-Price-1.png

Value of the Gold ETFs VS Silver ETFs

“ราคาโลหะเงินจะไต่ระดับจาก $35…..$$40 เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ในปีนี้ ถ้าทองยังทำราคาขาขึ้นได้ดีสม่ำเสมอ มันก็จะกดดันให้ราคาโลหะเงินสูงตามไปด้วย แต่คำถามที่ตามมาก็คือ เหตุการณ์เช่นนี้จะลากยาวไปอีกนานแค่ใหน?” Walker กล่าว

Silver-Price-3.png

Graph illustrate demand of silver in China rosen clearly sharp

“อุตสาหกรรมทั่วโลกต้องการโลหะเงินที่ 440ล้านออนส์ในปี 2010 และถูคาดการณ์ว่าจะเพิ่มถึง 500ล้านออนส์ในปีนี้“ Walker กล่าว GFMS ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบที่ปริมาณความต้องการในประเทศจีนในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนมีการเติบโตที่คาดว่ายังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น “สิ่งหนึ่งที่เราเฝ้าดูอยู่อย่างจดจ่อคือเรื่องราวการต้องการโลหะเงินของ ตลาดในจีน – ตลาดในจีนมีความต้องการที่สูงกว่าที่เราประมาณการเล็กน้อย” Walker กล่าว การนำเข้าของจีนซึ่งรวมไปถึงผงโลหะเงิน โลหะเงิน และกึ่งโลหะเงิน ได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิกและอุตสาหกรรมทั่วไป เพียงสามปีหลังยอดการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น จีนนำเข้าโลหะเงิน 3,584 ตันในปี 2010

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...