ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'อัลไซเมอร์อาการ ภาวะสมองเสื่อม', 'โรคสมองเสื่อม' หรือ 'โรงพยาบาลนครธน'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

ปฏิทิน

  • ปฎิทินชุมชน

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 47 รายการ

  1. โรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกช่วงวัย แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อาการของโรคหัวใจ มักมีสัญญาณเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แต่ก็มีบางคนที่มีอาการคล้าย ๆ กันเช่น กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ ๆ ทรวงอก แต่เมื่อเข้ารับการตรวจแล้วพบว่านั่นไม่ใช่อาการของโรคหัว แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน ที่เข้าข่ายว่าใช่อาการของโรคหัวใจล่ะ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้จากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อให้ได้ทราบว่าอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ที่เป็นอยู่จะเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ เป็นโรคอะไรกันแน่ รีบเช็ก!ด่วน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที สำหรับท่านมีอาการเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก มีความกังวลใจเกี่ยวกับโรคหัวใจต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  2. ปัจจุบันมีโรคร้ายแรงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้เพียงไม่กี่วินาทีหนึ่งในนั้นคือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ตัน บางคนมีอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อาจกำลังสงสัยว่าใช่อาการเส้นเลือดในสมองตีบแตกหรืออุดตัน หรือไม่? เพื่อคลายความสงสัยไปฟังคำตอบจากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธนได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าหญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - การตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain), การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram), การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ หากคุณหรือคนใกล้ชิดอาการแขนขาอ่อนแรง มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุ อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทั้งแพทย์ชำนาญการ บุคลากรทางการแพทย์สหสาขา พร้อมดูแลให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อสอบถามได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  3. อาการปวดหลังเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาการปวดหลังมีหลายระดับความรุนแรง เช่น เริ่มจากแค่ปวดหลังธรรมดาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ทานยาแก้ปวดอาการปวดก็ทุเลาลงได้ บางคนมีอาการปวดหลังรุนแรงร่วมกับแขน-ขา ชา หรือไม่มีแรง และบางคนมีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นมานานรักษาไม่หายเสียที แบบนี้นับว่าอันตรายเพราะ อาจนำไปสู่โรคกระดูกสันหลังได้ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาฝากเกี่ยวกับอาการปวดหลังเรื้อรัง อันตราย อย่ามองข้าม อาการปวดแบบไหน ควรรีบพบแพทย์ด่วน มาฝากกันค่ะ อาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการยืน นั่ง นอน อาชีพการทำงาน โดยคนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังบ้าง ซึ่งลักษณะการปวดหลังเรื้อรังนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่การปวดแบบธรรมดาแต่ไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน แต่ก็มีหลายคนที่อาการปวดหลังเรื้อรังมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการชาตามมา อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ ระบบการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาโดยทันที ปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร โดยปกติอาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบในบุคคลทั่วไปสามารถทุเลาได้เองในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ และมักจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้น หลังจากได้รับการรักษา แต่สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังนั้นจะเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ปวดหลังเป็นๆ หายๆ ปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน หรืออาการปวดหลังดังกล่าวไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังเรื้อรัง ที่มาจากปัญหาของกระดูกสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ปัจจุบันพบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน เกิดจากการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด และหากส่วนเนื้อด้านในปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก ก็จะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดหลังเรื้อรัง หรือปวดหลังร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ กระดูกหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ โดยส่วนมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่อมีการเสื่อมอวัยวะเหล่านี้จะขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมาก ๆ ปวดหลังเรื้อรังแบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยอาการไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น มีอาการปวดหลังร้าวลงขาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง พร้อมทั้งอาจมีอาการขาชา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ปวดขณะเปลี่ยนอิริยาบถ ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้ ให้ภาพคมชัด ละเอียด แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และโรคที่เป็น โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบประคับประคอง - จะเป็นการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังในระยะแรก ด้วยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ๆ การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบไม่ต้องผ่าตัด การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรัง ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวดหลังเรื้อรัง การใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือที่เรียกว่า Radiofrequency Ablation (RFA) ลดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดบริเวณคอและหลังด้วยการใช้ความร้อนที่ได้จากคลื่นความถี่วิทยุจี้ตำแหน่งของข้อต่อกระดูก ข้อต่อเชิงกราน หรือเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของความปวด การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบผ่าตัด จะทำในกรณีรักษาแบบวิธีที่ 1 และ 2 แล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการปวดหลังที่ถึงแม้อาการดูเหมือนปวดหลังธรรมดา แต่อาการปวดหลังเรื้อรังมานานไม่หายเสียที แนะนำว่าไม่ควรละเลยปล่อยไว้นานควรรีบทำการรักษา เพราะหากอาการเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคกระดูกสันหลังรักษายาก ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามไปค่ะ สำหรับใครที่มี ข้อสงสัย มีคำถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดหลังเรื้อรัง-อาการอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
  4. เส้นเอ็น คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เส้นเอ็นจะทำงานหนักทุกครั้งที่เราขยับเขยื้อน หรือทำกิจกรรมที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อนาน ๆ หรือใช้งานบริเวณข้อต่อบ่อย ๆ มีโอกาสที่จะเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้ ซึ่งอาการเส้นเอ็นอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดด้วยกัน เช่น บริเวณ ไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก และส้นเท้า เมื่อเส้นเอ็นอักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก หากอักเสบรุนแรงจะขยับเขยื้อนบริเวณนั้นลำบาก โดยปกติอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อรีบทำการรักษาเบื้องต้นได้ดี แต่ในรายที่เส้นเอ็นอักเสบรุนแรงมีอาการเส้นเอ็นฉีกขาดร่วมด้วย หากปล่อยไว้นานอาการปวดอาจเรื้อรังได้ ดังนั้นหากใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบจากอุบัติเหตุ ปวดมากกว่า 3 วันแล้วยังไม่หาย ควรรีบพบแพทย์ทันที วันนี้เรามีข้อมูลความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับอาการเอ็นอักเสบมาฝากกัน ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกกิจกรรมที่ทำ ไม่เพียงแต่เกิดกับนักกีฬาเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากการที่เส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บที่ซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด กดเจ็บ บริเวณเส้นเอ็น โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากกว่า 3 วัน อาจเกิดภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เส้นเอ็นอักเสบเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) สามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ - จากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น - อุบัติเหตุ ส่วนใหญ่จะได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลันจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และอาจเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นฉีกขาดได้ - การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือผิดท่า ทำให้เอ็นต้องเกร็งตัวตลอดเวลา ก็ทำให้เส้นเอ็นอักเสบได้ เช่น นั่งทำงานผิดท่า นอนผิดท่า - อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย หรือเส้นเอ็นอักเสบได้ง่ายขึ้น อาการของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บนอกข้อ และพบได้บ่อยในบริเวณ เอ็นข้อศอก เอ็นไหล่ เอ็นหัวเข่า และเอ็นร้อยหวาย โดยจะมี อาการปวดตรงที่เกิดเส้นเอ็นอักเสบ โดยจะปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการขยับในข้างที่เป็น มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วยแต่จะไม่บวมในข้อ มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ บางครั้งขยับแล้วเจ็บมาก เนื่องจากมีเอ็นฉีดขาด การวินิจฉัยเส้นเอ็นอักเสบ การวินิจฉัยเส้นเอ็นฉีกขาดนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น กิจกรรมที่ทำก่อนจะมีอาการ ลักษณะของอาการปวด ความถี่และระยะเวลาที่เกิดอาการ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ การตรวจเอกซเรย์ และ การตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาเส้นเอ็นอักเสบ โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ซึ่งการรักษา แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบที่ไม่รุนแรง และยังสามารถขยับท่าทางเคลื่อนไหวได้บ้าง แพทย์จะแนะนำให้พักและดูแลรักษาตนเองด้วยการประคบร้อน หรือเย็น รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ถ้าเป็นมาก ปวดมาก แพทย์อาจพิจารณาใส่เฝือกอ่อนเพื่อให้อวัยวะนั้นได้พัก ลดการขยับ แต่จะใส่ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะได้ไม่เกิดภาวะข้อยึดติด 2.ภาวะเส้นเอ็นอักเสบรุนแรง จากอุบัติเหตุ หรือมีอาการเส้นเอ็นอักเสบต่อเนื่อง และพักมา 2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมาก บวมมาก มีจ้ำเลือดขนาดใหญ่ ขยับข้อได้ลดลง รู้สึกอ่อนแรง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ อาจจะมีภาวะเส้นเอ็นอักเสบจนฉีกขาดได้จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมทั้งแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) การผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เป็นวิธีผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่ขาด หรือสร้างเอ็นใหม่ โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยศัลยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องขนาด 4 มิลลิเมตรส่องเข้าไปดูภายในบริเวณที่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็น ภาพที่ได้จะถูกส่งขึ้นจอภาพที่อยู่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 -1 เซนติเมตร จำนวน 3-4 รู ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีรอยโรคมากน้อยเพียงใด ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) จะมีข้อดีตรงแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อผู้ป่วยจะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น แผลเล็กมาก เกิดรอยแผลเป็นน้อย และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า ยกระดับการระงับความเจ็บปวด หลังจากการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเส้นเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะไม่ต้องเผชิญกับอาการปวดแผลหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย โดยเป็นการใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัด ซึ่งมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง จากจุดเริ่มต้นแค่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบที่ดูเหมือนเล็กน้อย หากเราละเลยปล่อยไว้นานไม่รีบทำการรักษา อาการอักเสบอาจเรื้อรังลุกลามรักษายากก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม สำหรับใครที่มีอาการเส้นเอ็นอักเสบอยู่ มีข้อสงสัย มีคำถามเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเอ็นอักเสบ-ปล่อยไว้นานเรื้อรังอาจรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาดได้
  5. หลายคนสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง ทำไมพบได้บ่อยในเพศชาย โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีรูปร่างอ้วนลงพุง และมีภาวะนอนกรน ยิ่งคนที่สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย อีกทั้งยังมีความเครียดสะสมจากหน้าที่การงาน บางคนมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน พออายุมากขึ้นเริ่มมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ แล้วโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับข้อมูลความรู้พร้อมกันได้เลยค่ะ โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร? - มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า - มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก - มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย - พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด - มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น - มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ - มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว - มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน - มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น - เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง - เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ - ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ - โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ - รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด - โรคอ้วน และภาวะนอนกรน - การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด - ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน - การซักประวัติอาการของผู้ป่วย - การตรวจร่างกายเบื้องต้น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain) การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้ 1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่ - การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง - การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง 2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้ - รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก - ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง - ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ - กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ - หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ อยากย้ำเตือนว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นการตรวจสอบสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน สามารถสอบถามกับทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย
  6. ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่แข่งขันสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกคนใช้ชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด จนอาจหลงลืมมองข้ามไม่ใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตน จนกระทั่งมีอาการของโรครุนแรงแล้วจึงจะเข้ารับการรักษาซึ่งมันอาจจะสายเกินแก้ไขก็ได้ อย่างเช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของหัวใจ อาจเป็นเพราะบางรายไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆจึงไม่ทราบว่าร่างกายตนมีปัญหา แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียน หน้ามืด เป็นต้น ซึ่งอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภัยเงียบเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ไว้เพื่อป้องกัน วันนี้เราได้นำความรู้ดี ๆจากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก ไปทำความรู้จักกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และสาเหตุของโรคพร้อมกันได้เลยค่ะ รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร? หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ? หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ - หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที - หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น - ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที - Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ - หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) 2.การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 4.การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ 5.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในบางรายที่อาการยังเป็นไม่มาก คือ ยังไม่ได้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เกิดอาการของหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด จะมีแค่ใจสั่นๆ เป็นบางเวลา แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือชากาแฟ ควบคุมความเครียดและลดการกังวล 2.การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจจะต้องใช้ยาเพื่อลดอันตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เช่น ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (betablocker) 3.การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา จะกระทำได้โดยการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 – 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น 4.การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่มีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย 5.การฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation หากเราดูแลสุขภาพให้ดีใช้ชีวิดที่สมดุล เช่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยง ก็จะสามารถห่างไกลกับโรคนี้ได้ แต่หากคุณหากพบว่ามีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งความเสี่ยง แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนแต่เนิ่น ๆ กับ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน เพราะที่นี่มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ เรายินดีให้บริการค่ะสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/หัวใจเต้นผิดจังหวะ-ภัยเงียบเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
  7. อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตด้วยกัน แค่คุณพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่เต็มอิ่ม หรือมีความเครียดมาก ๆ ก็ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน แก้ได้โดยเพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายเสียหน่อย อาการปวดหัวจากความเครียดก็จะหายไปเอง แต่หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ปวดหัวเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหต ทำอย่างไรก็ไม่หาย อาจกำลังมีความกังวลใจ เพราะเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากใครที่เป็นเช่นนี้เราไม่อยากให้นิ่งนอนใจ เพราะรู้หรือไม่? หากคุณมีอาการปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง เห็นภาพซ้อน เสี่ยง!! เป็นเนื้องอกในสมองได้เลยนะ วันนี้เรานำความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองอาการเป็นอย่างไร และมีแนวทางวิธีรักษาเนื้องอกในสมองอย่างไรบ้าง มาฝากกัน ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ เนื้องอกในสมองเป็นอย่างไร? เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายแรง หรือ เป็นเนื้องอกแบบเนื้อธรรมดา เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ก้อนเนื้องอกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมอง หรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง จะมีอัตราการเติบโตเร็วและอาจลุกลามหรือกดทับเนื้อเยื่อรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและเป็นอันตรายต่อชีวิต ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง ดังนี้ อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ทำงาน อาการแบบไหนเสี่ยง เนื้องอกในสมอง อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า ค่อยๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน สับสน สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป หูอื้อ วิงเวียน กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ กลืนลำบาก ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน ความบกพร่องทางการพูด ความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทราบอย่างไรว่าเป็น เนื้องอกในสมอง? เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้ นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้ การผ่าตัด หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด โดยนวัตกรรมการผ่าตัดสมองมีดังนี้ การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง รังสีรักษา ใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็งลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี (IRGT) และวิธีการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) วิธีเหล่านี้เพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ทาลายเนื้อเยื่อปกติ เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง อาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นำไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ความสามารถทางสมองและความคิดที่อ่อนแอ, สูญเสียความทรงจำ ปัญหาในการทองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น หรือการพูดเรื่องจากประสาทได้รับความเสียหาย มีอาการชัก, แขนและขาอ่อนแรง, อัมพาตครึ่งล่าง ความผิดปกติทางฮอร์โมน, การรั่วของน้าหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง อาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดการติดเชื้อ ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลาไส้ โรคปอดอักเสบ สำหรับใครที่กำลังมีอาการปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่นี่ จะเข่าข่ายใช่เนื้องอกในสมองหรือไม่ อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับเนื้องอกในสมองเพิ่มเติม ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในสมองภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง
  8. ปัจจุบันการจัดฟันไม่ใช่ทำเพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีสุขภาพของเหงือกและแข็งแรงได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีการจัดฟันร่วมผ่าตัดขากรรไกร ที่สามารถแก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับคนที่มีความต้องการที่จะแก้ไขโครงหน้าหรือจุดที่มีความบกพร่องอยู่ หรือหากคุณกำลังหาข้อมูลในเรื่องการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรก่อน เพื่อตัดสินใจเข้าทำการรักษาและแก้ไขในจุดนี้ เรามีข้อมูลมาแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัดขากรรไกร แก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ ปลอดภัยระดับสากล ต้องที่โรงพยาบาลนครธนเท่านั้น เพราะที่นี่มีศูนย์ทันตกรรมที่ได้มาตรฐานมีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้เลยค่ะ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) คือ การผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกร ร่วมกับการจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นการรักษาที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาโครงสร้างใบหน้าขากรรไกร และ รักษาการสบฟันที่ผิดปกติ โดยผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง ได้แก่ ใบหน้าส่วนกลางสั้น ใบหน้าส่วนกลางยาว คางเบี้ยว คางยื่นยาว หรือ ใบหน้าไม่สมมาตร ซึ่งการจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วย เพื่อให้กระดูกขากรรไกรบนและล่าง อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสม โดยจะเป็นการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างทันตแพทย์ผ่าตัดและทันตแพทย์จัดฟัน โดยทั่วไปจะทำการผ่าตัดเมื่อมีอายุ 20-22 ปีขึ้นไป โดยอาจผ่าตัดที่ขากรรไกรเดียว หรือทั้งสองขากรรไกร และอาจผ่าตัดเสริมที่คางได้ด้วย ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร - ช่วยปรับแก้ไขโครงหน้าที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - แก้ไขเรื่องความผิดปกติของรูปหน้าได้ - ช่วยให้ริมฝีปากสามารถหุบได้สนิท มีส่วนทำให้การออกเสียงได้ดีขึ้น ชัดขึ้น มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น - ช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ) - ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งด้าน การสบฟัน การรับประทานอาหาร การพูด การหายใจ รวมถึง การมีใบหน้าที่สมส่วน สวยงาม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วิธีการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่งการเลือกวิธีในการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของขากรรไกร และดุลยพินิจของทันตแพทย์ และในผู้ป่วยบางรายอาจพิจารณาการผ่าตัดกระดูกคางร่วมด้วย เพื่อแก้ไขใบหน้าส่วนล่างให้มีความสวยงามมากขึ้น ได้แก่ 1.การจัดฟันก่อนแล้วค่อยผ่าตัดขากรรไกร ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันให้เรียงตัวได้เหมาะสมก่อน โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี เพื่อแก้ไขการซ้อนเกและปรับแนวแกนฟัน แต่อาจจะทำให้มีรูปร่างใบหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติมากขึ้นแต่จะเป็นแค่ชั่วคราว ก่อนการได้รับการผ่าตัดขากรรไกร และเมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากอีกครั้ง เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ซึ่งข้อดีของการจัดฟันก่อนทันตแพทย์ผ่าตัดจะสามารถประเมินรูปร่างใบหน้า และการสบฟันของผู้ป่วยได้ง่ายกว่า และวางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม โดยภายหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่การกัดสบฟันเกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน - 2 ปี 2.การผ่าตัดขากรรไกรก่อนและจัดฟันหลังผ่าตัด วิธีนี้จะสามารถลดระยะเวลาขั้นตอนจัดฟันก่อนผ่าตัดได้ 6-12 เดือน และยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะช่วงที่การสบฟันที่ดูผิดปกติมากจากการจัดฟันก่อนผ่าตัด เมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด หลังจากนั้นเมื่อผู้ป่วยหายดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการ การจัดฟัน เพื่อปรับการเรียงฟัน และการสบฟันให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ต้องพิจารณาทำวิธีนี้เป็นกรณีๆ ไป ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกคนเนื่องจากบางครั้ง ต้องจัดตำแหน่งฟันก่อนผ่าตัดอยู่ดี ตัวอย่างเคส การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดขากรรไกร 1.ตรวจประเมินสุขภาพทั่วไป ได้แก่ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพรังสีทรวงอก รวมกับการประเมินความพร้อมในการดมยาสลบ 2.ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมจากแพทย์ประจำตัวก่อนการผ่าตัด 3.ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพให้ดีก่อนวันผ่าตัด หากผู้ป่วยมีไข้ ไอ จาม มีเสมหะ อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป 4.ดูแลสุขอนามัยให้พร้อม ทั้งอาบน้ำ สระผม และจะต้องล้างสีเล็บมือ เล็บเท้าออกก่อนการผ่าตัด 5.1 วันก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องนอนรพ. เพื่อเตรียมความพร้อม และงดน้ำ และอาหาร 8 ชม. ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร ก่อนการผ่าตัดขากรรไกรจะต้องได้รับการดมยาสลบก่อน และทันตแพทย์จะผ่าตัดในช่องปากจึงไม่เกิดแผลเป็นบนใบหน้า ซึ่งจะทำการผ่าตัดเปิดเหงือกด้านใน กรอและเลื่อนกระดูกขากรรไกรให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม และยึดกระดูกด้วยแผ่นโลหะดามกระดูก เพื่อให้กระดูกอยู่นิ่งและเชื่อมติดกัน แล้วจึงใส่สายระบายเลือดและเย็บปิดแผลผ่าตัด การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดขากรรไกร 1.จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล 2.ทันตแพทย์อาจใช้ยางยึดขากรรไกรบนและล่างไว้ด้วยกัน ในกรณีที่กัดฟันไม่ลงหรือฟันไม่สบกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้การกัดสบฟันดีขึ้น ทำให้ไม่สามารถอ้าปากได้ แต่สามารถรับประทานอาหารเหลวได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการกัดสบฟันหลังผ่าตัด 3.ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดอาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำบนใบหน้าซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัด จากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงใกล้เคียงภาวะปกติประมาณ 1 เดือน และจะมีรูปร่างใบหน้าที่คงที่ในระยะเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด 4.ประคบเย็นที่แก้มซ้ายและขวา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นให้ประคบอุ่นต่ออีก 1 สัปดาห์ 5.สามารถเริ่มแปรงฟันได้ในวันที่ 2-3 หลังการผ่าตัด โดยใช้แปรงสีฟันขนาดเล็กขนนิ่ม ของเด็กและควรแปรงอย่างนุ่มนวล ระมัดระวัง อาจใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 6.ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานอาหารเหลว ห้ามเคี้ยวอาหาร เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ 7.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก เช่น เล่นกีฬาที่กระทบกับขากรรไกร 6-8 สัปดาห์ 8.ไหมที่อยู่ในช่องปาก จะนัดมาตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด 9.ต้องมาพบทันตแพทย์ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อตรวจติดตามอาการ จากนั้นจะนัดทุก ๆ 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี 10.ภายหลังการผ่าตัด 9-18 เดือน ทันตแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดถอดแผ่นโลหะดามกระดูกออก สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับโครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว ซึ่งทำให้การเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพต้องการที่จะแก้ไข อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรเพิ่มเติม ทางศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร-แก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าและฟัน
  9. ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกคน แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคสมองเสื่อมเกี่ยวกับระบบสมอง และเป็นโรคที่ไม่มีสัญญานเตือนให้รู้ล่วงหน้า ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูงวัย นอกจากจะต้องหมั่นสังเกตอาการของท่านอยู่เสมอแล้ว ยังต้องแยกให้ออกว่าอาการหลง ๆ ลืม ๆ ที่ผู้สูงวัยเป็นอยู่บ่อย ๆ นั้น เกิดจากความเสื่อมตามวัย หรือท่านเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แล้วโรคอัลไซเมอร์ อาการจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามีความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เพื่อที่คุณจะได้นำมาเช็คลิสต์ความเสี่ยงหลงลืมแบบไหน? กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มาฝาก ไปรับข้อมูลความรู้เพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญให้ระวังการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีข้อสังเกตที่ต้องใช้ความใส่ใจและวิเคราะห์อย่างใกล้ชิด ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์ หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษาการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สาเหตุอาการอัลไซเมอร์ อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่ - ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า - ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น - ระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่าย ๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช็คลิสต์ความเสี่ยงหลงลืมแบบไหน กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ - อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา - สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร - จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า - มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำ ๆ - ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก - มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา - มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว - ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น - ซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล โรคอัลไซเมอร์ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดอย่างไร โรคอัลไซเมอร์ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยความจำถดถอยเท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้แก่ - ด้านการเคลื่อนไหว สมองที่ควบคุมในส่วนความเคลื่อนไหว ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ จะค่อยๆ เสื่อมลง เช่น การรับรู้ ทางหู ตา ประสาทสัมผัส การเดิน สมดุลของร่างกาย - ด้านภาษา ความสามารถในการสื่อสารจะด้อยลง ไม่สามารถสื่อสารเป็นประโยค นึกคำศัพท์ไม่ออก - ด้านสมาธิ และการให้ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสมาธิสั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมได้นาน ๆ - ด้านการตีความ เกิดความสับสนในการตีความ เช่น การที่คนเดินเข้ามาใกล้ คิดว่าจะมาทำร้าย - ด้านการตัดสินใจ ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การขับรถ - ด้านความเข้าใจในนามธรรม เกิดความสับสนใจเรื่องของเวลา อดีต ปัจจุบัน ไม่สามารถเข้าใจคำพูดเปรียบเปรยได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดที่จะต้องมาคอยดูแล อาจก่อให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด ความซึมเศร้า หงุดหงิด ต่อผู้ดูแลและอาจทำให้มีปัญหาทางสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ ความแตกต่างระหว่าง โรคอัลไซเมอร์กับ สมองเสื่อม หลายท่านสงสัยว่า โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์ เหมือนกันหรือไม่ โดยมีความสับสนว่าโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวกัน แต่ความจริงแล้วโรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ สำหรับ โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วนซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ ด้านสมาธิ ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน ด้านความจำ ด้านการใช้ภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าสังคม ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะสมองเสื่อม” ประเภทของโรคสมองเสื่อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามสาเหตุ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และ กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง จะรู้ได้อย่างไร อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม? กรณีผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่ง หรือเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอาการเหล่านี้ - ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง - สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร - ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี - บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้ - บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ - บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้ - บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง หากคุณมีผู้ใกล้ชิดที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งจุดเริ่มต้นภาวะโรคสมองเสื่อม ควรได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม กับทางศูนย์สมองและระบบประสาทของโรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคสมองเสื่อมรู้ทันป้องกันได้
  10. “โอ๊ย ๆ ทำไมถึงได้รู้สึกปวดหลังร้าวไปถึงเอวจังเลย” ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินเสียงบ่น ๆ เรื่องการปวดหลัง ปวดเอว ประมาณนี้มาจากผู้สูงวัย ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายก็ทรุดโทรมไปตามวัย แต่ก็มีบางคนที่อายุน้อย ๆ แต่กลับมีอาการปวดหลับบ่อย ๆ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดหลังเรื้อรัง บางคนเคยใช้วิธีรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังนี้ ด้วยการกินยาคลายกล้ามเนื้อ หรือไปนวดเพื่อแก้อาการ แต่อาการปวดหลังก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย เริ่มสงสัยว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่นี่ เป็นแค่การปวดหลังธรรมดา ๆ หรือจะเป็นอาการปวดหลังที่นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือไม่ เพื่อคลายความสงสัย วันนี้เรานำความรู้ดี ๆ จากทางทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เกี่ยวกับอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร? แบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ด่วนไปดูข้อมูลพร้อมกันเลยค่ะ อาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้น ทั้งจากพฤติกรรมการยืน นั่ง นอน อาชีพการทำงาน โดยคนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังบ้าง ซึ่งลักษณะการปวดหลังเรื้อรังนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่การปวดแบบธรรมดาแต่ไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน แต่ก็มีหลายคนที่อาการปวดหลังเรื้อรังมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการชาตามมา อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ ระบบการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาโดยทันที ปวดหลังเรื้อรังเป็นอย่างไร โดยปกติอาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบในบุคคลทั่วไปสามารถทุเลาได้เองในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ และมักจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้น หลังจากได้รับการรักษา แต่สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรั้งนั้นจะเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ปวดหลังเป็นๆ หายๆ ปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน หรืออาการปวดหลังดังกล่าวไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังเรื้อรัง ที่มาจากปัญหาของกระดูกสันหลัง ได้แก่ - หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ปัจจุบันพบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน เกิดจากการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด และหากส่วนเนื้อด้านในปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก ก็จะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย - กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดหลังเรื้อรัง หรือปวดหลังร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ - กระดูกหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ โดยส่วนมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน - โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่อมีการเสื่อมอวัยวะเหล่านี้จะขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมาก ๆ ปวดหลังเรื้อรังแบบไหนอันตราย ควรรีบพบแพทย์ - มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยอาการไม่บรรเทามีแต่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น - มีอาการปวดหลังร้าวลงขาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง พร้อมทั้งอาจมีอาการขาชา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง - ปวดขณะเปลี่ยนอิริยาบถ ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังเรื้อรัง แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไปได้ ให้ภาพคมชัด ละเอียด แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และโรคที่เป็น โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบประคับประคอง - จะเป็นการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังในระยะแรก ด้วยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น ๆ 2.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบไม่ต้องผ่าตัด - การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรัง ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ - การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวดหลังเรื้อรัง - การใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือที่เรียกว่า Radiofrequency Ablation (RFA) ลดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดบริเวณคอและหลังด้วยการใช้ความร้อนที่ได้จากคลื่นความถี่วิทยุจี้ตำแหน่งของข้อต่อกระดูก ข้อต่อเชิงกราน หรือเส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของความปวด 3.การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังแบบผ่าตัด จะทำในกรณีรักษาแบบวิธีที่ 1 และ 2 แล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น - การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว - การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว หรือ TLIF จะรักษาในกรณีที่มีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะยึดตรึงกระดูกสันหลังเข้าด้วยกันผ่านทางแผลผ่าตัดขนาดเล็กบนผิวหนัง โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นำวิถี (O-arm Navigation) เข้ามาช่วยในการผ่าตัด แสดงตำแหน่งต่าง ๆ บริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งทำให้ความแม่นยำในการใส่เครื่องมือเพิ่มมากถึง 99% - การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี (O-arm Navigation) เป็นการฉีดซีเมนต์ผ่านผิวหนัง ผ่านทางแผลเล็ก ๆ ที่มีขนาดราวหลอดกาแฟ เข้าไปเสริมกระดูกส่วนที่หักโดยไม่ต้องยึดสก สำหรับท่านใดที่กำลังรู้สึกทรมานกับอาการปวดหลังอยู่ มีอาการปวด ๆ หาย ๆ นานกว่า 3 เดือน จนกระทั่งมีอาการปวดหลังร้าวลงขา มีอาการชาตามมา และอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดไม่ดีขึ้นเลย หรือมีข้อมูลที่สงสัยอยากสอบถามในทางการรักษาเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน โดยความร่วมมือกับบำรุงราษฎร์เฮลท์เน็ตเวิร์ค มีความพร้อมและมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดหลังเรื้อรัง-อาการอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
  11. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เรียกว่าเป็นโรคยอดฮิตของผู้หญิงเมืองหลวงก็ว่าได้ เนื่องด้วยการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน ส่งผลทำให้สาว ๆ หลายคน ต้องทนกลั้นปัสสาวะกันบ่อย ๆ หรือบางครั้งต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัด ต้องนั่งรถโดยสารสาธารณะเป็นเวลานานมากถึงจะได้เข้าห้องน้ำ และยิ่งหากต้องเจอกับห้องน้ำสาธารณะที่สกปรกด้วยแล้วก็ไม่จะยอมเข้า จึงได้แต่ทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด ซึ่งเป็นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ บ่อย ๆ หรือทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอนั่นเอง สาว ๆ หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริงแล้วมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด วันนี้เรามีความรู้จากทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธน มาฝาก เพื่อที่สาว ๆ จะได้รู้ถึงอันตรายของโรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นนี้กันค่ะ คนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเอาไว้นาน ๆ กลั้นบ่อย ๆ หรือ บางคนปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ต้องทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด นั้นคือสัญญาณว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคนี้หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ถ้าหากทุกคนมองข้ามโรคนี้แล้วปล่อยให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอักเสบของไตเรื้อรัง และยิ่งไปกว่านั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน กลายเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้อีกด้วย กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่อะไร กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ในผู้หญิงจะอยู่หลังกระดูกหัวเหน่าภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูก และผู้ชายจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนัก มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใด ๆ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่นั่งโต๊ะทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยน ทำให้บ่อยครั้งต้องอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือเร่งรีบเบ่งปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่าย ผู้สูงอายุ เนื่องจากสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือในผู้ที่ขาดคนดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างหรือคั่งในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคและแบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ดี สตรีมีครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ และก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาการบ่งบอกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการแสดงที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ค่อยสุด หยด หรือไหลซึมออกมาอีก รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ขณะปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆ ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุดหรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ บางรายมีอาการไข้ร่วมด้วย ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น กลางคืนต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไป การตรวจและวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจปัสสาวะถ้าตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากมีการติดเชื้อแพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ ในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ เช่น มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในไต เป็นต้น การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยทั่วไปการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยากลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น และ ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2.5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง) ป้องกันไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบอย่างไร โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงของโรคลง อาทิ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ควบคุมโรคเบาหวานที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันที เป็นต้น หากคุณต้องการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมศูนย์ศัลยกรรม ของโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  12. ปัญหาเรื่องสุขภาพของท่านชายในช่วงที่มีอายุมากขึ้น หรือประมาณอายุ 45-50 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ระบบบฮอร์โมนในร่างกายท่านชายเริ่มลดลง ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเช่นบริเวณต่อมลูกหมากซึ่งจะค่อย ๆ โตขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของอาการต่อมลูกหมากโต ท่านชายหลายคนอาจมีอาการให้เห็นได้ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยด ๆ บางครั้งมีเลือดปนออกมาในปัสสาวะด้วย ซึ่งเป็นอาการต่อมลูกหมากโตนั่นเอง แน่นอนว่าอาการต่อมลูกหมากโตนี้ สร้างความหนักใจให้กับท่านชายเป็นอย่างมาก และทำให้ท่านชายปัสสาวะได้ลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน สำหรับภาวะต่อมลูกหมากโตนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน วันนี้เราได้นำความรู้จากทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธน ซึ่งมีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคต่อมลูกหมากมาฝากกัน เกี่ยวกับแนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโต ซึ่งจะมีแนวทางรักษาด้วยวิธีแบบไหนบ้างไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีขนาดเท่าผลลิ้นจี่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น หน้าที่สำคัญคือ ผลิตของเหลวเป็นตัวหล่อลื่นและนำส่งเชื้ออสุจิในขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิออกมา โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia) ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่น่าหนักใจของคุณผู้ชายทั้งหลาย โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตจะอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะค่อยๆ โตขึ้น ในช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลง ซึ่งปกติเพศชายเมื่ออายุ 20 ปี จะมีขนาดของต่อมลูกหมาก ประมาณ 20 กรัม แต่จะค่อยๆ โตขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้น เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบ ๆ และซึ่งบางครั้งเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้ อาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่างคือ 1.ลุกขึ้นถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง 2.ปัสสาวะไม่พุ่ง เป็นลำ ไหลช้า หรือไหลๆ หยุดๆ 3.เกิดความรู้สึกว่าการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องวุ่นวายในชีวิตประจำวัน 4.ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีที่ปวดปัสสาวะ 5.ต้องเบ่งหรือรอนานกว่าจะสามารถปัสสาวะออกมาได้ 6.รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ทำให้อยากปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ 7.ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง โรคต่อมลูกหมากโตอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ปัสสาวะไม่ออกเลย ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไตเสื่อมหรือกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต - ตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด - การตรวจต่อมลูกหมากทางท่อทวารหนัก “ดีอาร์อี” (Digital Rectal Examination) เพื่อดูลักษณะผิดปกติและความแน่นของเนื้อต่อมลูกหมาก - ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ - ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ - วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ - อัลตราซาวด์ขนาดต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง - เจาะ PSA เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต สำหรับโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การรักษาจะมุ่งเน้นที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้น โดยมีวิธีการรักษาแบ่งเป็น 3 วิธี ดังนี้ วิธีแรก: ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีการรักษาเริ่มแรกแพทย์จะให้ปรับพฤติกรรมเสียก่อน เช่น ในรายที่เป็นไม่มาก อาจให้ลดการดื่มน้ำลงในช่วงเวลากลางคืน ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ถ้าอาการดีขึ้นไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรักษาด้วยยาต่อไป วิธีที่สอง: การใช้ยา สำหรับการรักษาด้วยยา แพทย์อาจจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้มีลักษณะอ่อนตัวลง (Alpha-Blockers) ซึ่งจะช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน หรือในรายที่เป็นมาก ๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาตามความเหมาะสมแต่ละอาการของแต่ละบุคคล วิธีที่สาม: การผ่าตัด การรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อขูดตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate-TURP) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะจากแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยเครื่องมือแบบขดลวดสำหรับตัดและจี้ด้วยไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตัดและหยุดเลือดออกไปได้พร้อมกัน ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อละเลยการรักษาที่ถูกต้อง - ปัสสาวะไม่ออกทันที หรือค่อยเป็นค่อยไป - ปัสสาวะเป็นเลือดเนื่องจากต่อมลูกหมากบวม - กระเพาะปัสสาวะครากหรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ - การทำงานของไตเสื่อมลง และไตวายได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แพทย์เน้นย้ำคือชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีอาการปัสสาวะผิดปกติก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาในระดับต้นตอสาเหตุ และอย่าละเลยการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมาพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้รักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้คุณภาพชีวิตกลับมาดีขึ้นดังเดิม ดังนั้น หากท่านชายเกิดมีอาการเกี่ยวกับภาวะต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้น ควรรีบตรวจรักษาอย่ารั้งรอทิ้งให้อาการปวดปัสสาวะผิดปรกติเรื้อรังเนิ่นนานเกินไป เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แวะมาคุยปรึกษากับแพทย์หรือมารับการรักษากับทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธนเสียแต่เนิ่น ๆ นะคะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ต่อมลูกหมากโต-ภัยร้ายของชายวัย50ที่ไม่ควรมองข้าม
  13. หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญสุดในร่างกายของคนเรา ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหัวใจเองประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ที่ต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ หากทางเดินในหลอดเลือด ที่มีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจในแต่ละเส้นมีการตีบตันเกิดขึ้น ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยงด้วยเช่นกัน จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ อ่อนแรง ใจสั่น ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที วันนี้ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน เรามีข้อมูลความรู้แบบเจาะลึกถึงอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร? อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ มาฝากกัน เพื่อคุณจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ไว้คอยช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นในสถานการณ์วิกฤตินี้ได้อย่างทันท่วงทีกันค่ะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน - หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 2.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 4.การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ สำหรับผู้มีอาการเจ็บหน้าอก จากภาวะหัวใจขาดเลือดของทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน ซึ่งเป็นประโยชน์มากสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อมีวิกฤตมีภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้น ก่อนจะนำตัวผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ตามขั้นตอนต่อไป ทางโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  14. ในกลุ่มของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับนับเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้คนเกิดการเสียชีวิตสูงที่สุด ถือเป็นอันดับต้น ๆ ก็ว่าได้ เหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดอาจเพราะโรคมะเร็งตับอาการในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการอะไร ซึ่งผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องสังเกตอาการกันเองด้วย เช่น ปวดท้องคล้ายเป็นโรคกระเพาะบ่อย ๆ หรือปวดชายโครงขวา ตัว-ตาเหลือง เสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้ ดังนั้นทุกท่านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น สำหรับโรคมะเร็งตับโรงพยาบาลนครธนเอง มีศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งตับ และมีความพร้อมคอยให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และวันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการ พร้อมวิธีการรักษาโรคมะเร็งตับมาฝากกันค่ะ เพื่อที่ท่านจะได้รู้ว่าอาการเริ่มต้นนั้นจะสงเกตได้อย่างไร และมีอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องระวังบ้าง ไปรับความรู้เพิ่มเติมพร้อมกันได้ตอนนี้เลยค่ะ เมื่อมีอาการของมะเร็งตับเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง ไม่อยากรับประทานอาหาร มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อยบ้าง หรือโรคถุงน้ำดีอักเสบบ้าง จนไม่ทันได้ระวังและปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเมื่อโรคพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย จึงจะสามารถเห็นอาการได้ชัดเจน และในเวลานั้นมักจะสูญเสียโอกาสในการรักษา ขึ้นขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้การตรวจด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมะเร็งตับระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถยืดการมีชีวิตอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้ มะเร็งตับโรคร้ายใกล้ตัว มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.มะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับและพบได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย 2.มะเร็งตับชนิดท่อน้ำดี เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติ สาเหตุมาจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ พบได้บ่อยทางภาคอีสาน รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารดินประสิวที่มีอยู่ในอาหารประเภทหมัก และอาหารจำพวกรมควัน เป็นต้น สาเหตุมะเร็งตับ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับในประเทศไทย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางเลือด การติดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ ทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับก็สามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือกลายเป็นพาหะติดต่อผู้อื่นได้โดยตัวเองไม่มีอาการ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้กลายเป็นมะเร็งตับได้ ได้แก่ - การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน - ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ - สารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง พริกแห้ง กระเทียม ธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งมาจากเชื้อราที่มีสารอะฟลาทอกซิน อาการมะเร็งตับ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับในแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก จนกว่าก้อนมะเร็งจะโตขึ้น และมีอาการแน่นอึดอัดท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย บางรายมีอาการคล้ายกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดชายโครงด้านขวา บริเวณตับ และเมื่อมะเร็งมีก้อนที่โตเพิ่มขึ้นอีก จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโต ท้องบวมขึ้น มีน้ำในช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น - ตัวเหลือง ตาเหลือง - แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ - อ่อนเพลีย - ปวดหรือเสียวชายโครงด้านขวา มีจุกเสียดแน่นท้อง - อาจปวดร้าวไปยังไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา - ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม มีขาบวม - มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ - คลำพบก้อนที่บริเวณตับ การตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ เบื้องต้นจะทำการการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย รวมทั้งการตรวจอื่น ๆ ได้แก่ 1.การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง 2.ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) 3.การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือบางครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัย 4.การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อ (Biopsy) มะเร็งตับกับการรักษา การรักษามะเร็งตับจะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษา ได้แก่ 1.การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ 2.การรักษาด้วยความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุสูง (RFA) โดยคลื่นดังกล่าวจะส่งผ่านเข็มเล็ก ๆ ที่แทงผ่านเข้าไปในก้อนมะเร็งในตับ ซึ่งได้ผลดีในมะเร็งตับที่เล็กกว่า 3 เซนติเมตร 3.วิธีฉีดยาเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าไปยังเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ ซึ่งเราเรียกว่า TACE หรือ TOCE จะใช้รักษามะเร็งตับในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลายๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับ การป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการฉีด ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน เป็นต้น หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังหรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบรอยโรคได้เร็ว ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับลงได้ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/มะเร็งตับ-โรคร้ายใกล้ตัวอันตรายที่ต้องระวัง
  15. คุณเคยมีอาการแบบนี้กันบ้างไหม ? ปวดหัวบ่อย ๆ เมื่อกินยาแก้ปวดอาการปวดหัวก็บรรเทาลงไป แต่หลัง ๆ มาอาการปวดหัวก็มักเป็นบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งที่ตามัว มองเห็นภาพซ้อนกัน หรือมีอาการปวดหัวเรื้อรังมามากกว่า 2 สัปดาห์ และยังปวดหัวต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน ร่วมกับรู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียนบ่อยโดยเฉพาะในตอนเช้า อาการเช่นนี้ทำให้รู้สึกกังวลใจ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากคุณเริ่มสงสัยว่า อาการปวดหัวเรื้อรัง เห็นภาพซ้อน นี่อาจไม่ใช่แค่อาการปวดหัวธรรมดาแน่ จะเสี่ยงต่อโรคเนื้องอกในสมองหรือไม่ ? และหากเป็นโรคนี้แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร ? วันนี้เราได้นำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเนื้องอกในสมอง และวิธีรักษาเนื้องอกในสมองศูนย์สมองและระบบประสาท จากทางโรงพยาบาลนครธนมาฝากกัน เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับโรคนี้กันมากขึ้นกันค่ะ ปวดหัว อาการที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเพียงรับประทานยาแก้ปวดก็หาย แต่หากอาการปวดหัวนั้นกลับเป็นบ่อย จนกลายเป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง แม้ในช่วงที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนเต็มที่ ไม่มีความเครียดหรือมีความกังวลใด ๆ ก็ยังปวด รวมทั้งมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การพูด การได้ยิน การมองเห็น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคเนื้องอกในสมองได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือเป็นมะเร็งสมองได้ เนื้องอกในสมองเป็นอย่างไร? เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1.เนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายแรง หรือ เป็นเนื้องอกแบบเนื้อธรรมดา เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ก้อนเนื้องอกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ 2.เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมอง หรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง จะมีอัตราการเติบโตเร็วและอาจลุกลามหรือกดทับเนื้อเยื่อรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและเป็นอันตรายต่อชีวิต ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง ดังนี้ - อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป - เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง - การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ทำงาน อาการแบบไหนเสี่ยง เนื้องอกในสมอง อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที - ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน - คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า - ค่อยๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน - ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน - สับสน สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป - หูอื้อ วิงเวียน - กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ - กลืนลำบาก - ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน - ความบกพร่องทางการพูด ความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา - ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทราบอย่างไรว่าเป็น เนื้องอกในสมอง? เบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้ นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้ 1.การผ่าตัด หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด 2.รังสีรักษา ใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็งลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี (IRGT) และวิธีการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) วิธีเหล่านี้เพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ทาลายเนื้อเยื่อปกติ 3.เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป นวัตกรรมการผ่าตัดสมอง การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง อาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นำไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต โดยมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ - ความสามารถทางสมองและความคิดที่อ่อนแอ, สูญเสียความทรงจำ - ปัญหาในการทองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น หรือการพูดเรื่องจากประสาทได้รับความเสียหาย - มีอาการชัก, แขนและขาอ่อนแรง, อัมพาตครึ่งล่าง - ความผิดปกติทางฮอร์โมน, การรั่วของน้าหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง - อาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดการติดเชื้อ - ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลาไส้ - โรคปอดอักเสบ หากคุณหรือมีผู้ใกล้ชิดที่กำลังประสบปัญหา มีความกังวลใจเกี่ยวกับมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือมีข้อสงสัยต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์สมองและระบบประสาทของโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในสมองภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง
  16. สำหรับคนที่มีคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุที่คุณกำลังดูแลใกล้ชิดอยู่ คุณเคยสังเกตเห็นพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของพวกท่านกันบ้างไหม ว่าเคยมีอาการแบบนี้บ้างหรือเปล่า เช่น มีอาการสมองเบลอ ๆ หรือมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เป็นบ่อยมาก บางครั้งนึกไม่ออกว่าลืมทำอะไรไป หรือบางครั้งลืมแม้กระทั่งชื่อของคนใกล้ชิดก็ยังนึกไม่ออกเรียกไม่ถูก ทานข้าวพึ่งอิ่มไปก็บอกยังไม่ได้ทาน หรือเรื่องในปัจจุบันก็ลืมง่าย ๆ แต่ท่านมักจดจำเรื่องในอดีตได้ดี เป็นต้น หากมีคุณคงกำลังมีความกังวลใจ หรือสงสัยว่าสภาวะที่ผู้สูงอายุท่านกำลังเป็นอยู่เช่นนี้ จะใช่โรคสมองเสื่อมหรือไม่ หรือเป็นแค่การหลงลืมตามวัยกันแน่ วันนี้เราได้นำความรู้จากทาง ศูนย์สมองและระบบประสาท ของโรงพยาบาลนครธนมาฝากกัน เพื่อให้คุณได้คลายความสงสัยลง และมองเห็น ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะโรคสมองเสื่อมหรือไม่ ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญให้ระวังการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีข้อสังเกตที่ต้องใช้ความใส่ใจและวิเคราะห์อย่างใกล้ชิด ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคอัลไซเมอร์ หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษาการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สาเหตุอาการอัลไซเมอร์ อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่ ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น และระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวการณ์ติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช็คลิสต์ความเสี่ยงหลงลืมแบบไหน กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ - อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา - สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร - จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า - มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำ ๆ - ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก - มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา - มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว - ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น - ซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล โรคอัลไซเมอร์ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดอย่างไร โรคอัลไซเมอร์ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยความจำถดถอยเท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้แก่ - ด้านการเคลื่อนไหว สมองที่ควบคุมในส่วนความเคลื่อนไหว ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ จะค่อย ๆ เสื่อมลง เช่น การรับรู้ ทางหู ตา ประสาทสัมผัส การเดิน สมดุลของร่างกาย - ด้านภาษา ความสามารถในการสื่อสารจะด้อยลง ไม่สามารถสื่อสารเป็นประโยค นึกคำศัพท์ไม่ออก - ด้านสมาธิ และการให้ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสมาธิสั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมได้นาน ๆ - ด้านการตีความ เกิดความสับสนในการตีความ เช่น การที่คนเดินเข้ามาใกล้ คิดว่าจะมาทำร้าย - ด้านการตัดสินใจ ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การขับรถ - ด้านความเข้าใจในนามธรรม เกิดความสับสนใจเรื่องของเวลา อดีต ปัจจุบัน ไม่สามารถเข้าใจคำพูดเปรียบเปรยได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดที่จะต้องมาคอยดูแล อาจก่อให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด ความซึมเศร้า หงุดหงิด ต่อผู้ดูแลและอาจทำให้มีปัญหาทางสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ ความแตกต่างระหว่าง โรคอัลไซเมอร์กับ สมองเสื่อม หลายท่านสงสัยว่า โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์ เหมือนกันหรือไม่ โดยมีความสับสนว่าโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวกัน แต่ความจริงแล้วโรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ สำหรับ โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วนซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ ด้านสมาธิ ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน ด้านความจำ ด้านการใช้ภาษา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าสังคม ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะสมองเสื่อม” ประเภทของโรคสมองเสื่อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามสาเหตุ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และ กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง จะรู้ได้อย่างไร อาการแบบไหนเป็นสมองเสื่อม? กรณีผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่ง หรือเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอาการเหล่านี้ - ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง - สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร - ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี - บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้ - บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ - บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้ - บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง แพทย์วินิจฉัยและรักษาโรคอัลไซเมอร์อย่างไร แพทย์จะมีการซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแลที่สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความสามารถในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง จากนั้นจะเริ่มการทดสอบทางสมอง เพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานประเมินความบกพร่องในการรับรู้เพื่อใช้วินิจฉัยโรค เช่น ให้ทำแบบทดสอบกระดาษหน้าเดียวที่มีคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทักษะสมอง คิดเลข ร่วมกับการตรวจร่างกายและเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม เพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้องว่าผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ และมีสาเหตุจากอะไร โดยการตรวจในห้องปฏิบัติการจะประกอบไปด้วย การตรวจเลือดต่าง ๆ การตรวจภาพสมองด้วยเครื่อง Computed Tomography (CT) หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) ในด้านของการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก โดยผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทหรือเกิดจากโรคอัลไซเมอร์นั้น การรักษาจะประกอบด้วยการให้ยาที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพิ่มความจำและความสามารถของสมอง เป็นต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทนั้น จะเป็นการรักษาสาเหตุของโรคเป็นหลัก ข้อปฏิบัติตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค อาการและอาการแสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้น และการดูแลที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยขั้นตอนแรกให้วางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ถูกต้องเมื่ออยู่ที่บ้าน สิ่งใดก่อให้เกิดอารมณ์หรือความไม่พอใจแก่ผู้ป่วย ควรหาสาเหตุแก้ไขหรือหลีกเลี่ยง จะช่วยลดความเครียดแก่ผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ จัดเตรียมอุปกรณ์ตามลำดับก่อนหลัง กำหนดเวลาอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันที่เคยทำ เป็นต้น ผู้ดูแลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว พาออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นครั้งคราว หรือไปพบปะเพื่อน พร้อมดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายตามสมควร และเพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น ผู้ดูแลควรสังเกตอาการที่ผิดปกติของผู้ป่วย บันทึกพฤติกรรม และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อถึงเวลานัดตรวจโรค ดูแลเรื่องการทานยาให้ครบและสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เช่น อาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้ามากเกินไป พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว หลงผิด เป็นต้น คุณคงพอจะแยกออกกันแล้วใช่ไหมค่ะว่า ข้อแตกต่างระหว่างโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมตามวัยนั้นมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร หากคุณมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ บ่อยหรือมีผู้ใกล้ชิดที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับภาวะโรคสมองเสื่อมและ โรคอัลไซเมอร์ ต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์สมองและระบบประสาทของ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคสมองเสื่อมรู้ทันป้องกันได้
  17. อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่งผลกระทบต่อหลายส่วนในร่างกาย เช่นเกิดอาการที่หลัง จะมีอาการปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง สะโพก และมักปวดร้าวลงขา อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด แต่ถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเกิดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอและร้าวลงแขน มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก และจากพฤติกรรมของเราที่เสี่ยงต่อหมอนรองกระดูก หากเข้าใจจะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ วันนี้เราได้นำความรู้จากทาง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทาง ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการยืน เดิน นอน นั่ง หรือยกของหนักด้วยท่าที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคที่ทำให้หลังพังลงได้ ไปรับความรู้เพิ่มเติมได้เลยค่ะ ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา มักหนีไม่พ้นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งและนอน และท่าทางเหล่านี้มีผลกระทบต่อโครงสร้างร่างกายเป็นอย่างมาก หากมีพฤติกรรมยืน เดิน นอน นั่งทำงานไม่ถูกท่า หรือยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม อาการปวดเมื่อยล้าจากท่าเหล่านี้เมื่อปล่อยไว้นาน ๆ มักเป็นการสะสมความผิดปกติให้กับร่างกาย และก่อทำให้เกิดโรคในที่สุด โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง อย่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เช่นนั้น การตระหนักถึงอิริยาบถที่ถูกต้อง จึงมีส่วนสำคัญให้เราห่างไกลโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ท่าเดิน ท่ายืน ท่าเดินที่ถูกนั้น สังเกตง่ายๆ คือตอนลงน้ำหนักขาด้านไหน กล้ามเนื้อขาด้านนั้นต้องหดตัว ส่วนการยืนที่ถูกวิธีอาจจะต้องฝึกให้มีความคุ้นชิน เริ่มต้นจาก เท้าทั้งสองข้าง กางอยู่ในระดับเดียวกันกับสะโพก ปลายเท้าทั้งสองข้างชี้ไปทางด้านหน้า การลงน้ำหนักให้ลงฝ่าเท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน โดยน้ำหนักจะลงด้านนอกของฝ่าเท้า และเข่าเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แรงกดไปรวมกันที่หลัง ลำตัวยืดตรง ไม่ควรยืนในท่าเดียวนาน ๆ ควรขยับตัวเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ หรือยืนลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน หรือสลับเท้าวางพักเท้าบนโต๊ะเล็ก ๆ ที่สูงประมาณ 1 คืบ หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 1 นิ้ว ท่านั่ง หากเลือกเก้าอี้ได้ ให้เลือกที่เหมาะสมกับสรีระของเรา สามารถปรับระดับสูงต่ำได้ มีที่พักแขน และมีพนักพิง โดยท่านั่งที่ถูกต้องนั้น ต้องให้ก้นชิดกับพนักพิง เวลานั่งเก้าอี้เข่าต้องอยู่ระดับเดียวกันกับสะโพก หรือต้องต่ำกว่าเล็กน้อย เพื่อลดความตึงส่วนล่าง ไม่นั่งก้มตัวหรือเอนตัวไปด้านหลังมากเกินไป เท้าวางกับพื้นพอดีเต็มเท้า ข้อเท้าไม่ตกหรือลอยจากพื้น ยืดลำตัว อาจใช้หมอนรองดันที่เอวเพื่อให้หลังช่วงล่างแอ่นเล็กน้อย และเวลานั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์ ข้อมือต้องอยู่ระดับเดียวกับข้อศอก หากเก้าอี้มีที่พักแขนก็ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อไม่ต้องทำงานหนักมากไป ท่านอน ท่านอนหงายนั้นน้ำหนักตัวเราจะกระจายไปทั้งแผ่นหลัง ไม่มีการกดทับที่ใดเป็นพิเศษ กระดูกสันหลังก็อยู่ในแนวตรง เวลานอนควรมีหมอนเล็ก ๆ รองใต้เข่า เพื่อให้สะโพกงอเล็กน้อย หมอนหนุนศีรษะต้องหนุนตรงคอ ศีรษะต้องอยู่แนวเดียวกันกับลำตัว บางท่านที่มีปัญหาเรื่องการหายใจสามารถนอนตะแคงกอดหมอนข้าง โดยขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอก่ายบนหมอนข้าง ไม่ควรนอนคว่ำ และนอนคุดคู้ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น เสื่อม ทำให้ปวดหลังมากขึ้น ในการลุกจากเตียงไม่ควรลุกขึ้นมาทันที หรือสปริงตัวลุกขึ้นมาตรง ๆ เพราะจะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก อาจทำให้ปวดหลังได้ หากนอนหงายอยู่ให้งอเข่า ตะแคงตัว ใช้ข้อศอกและมือยันตัวขึ้นในขณะที่ห้อยเท้าทั้ง 2 ข้าง ลงจากเตียง พร้อมดันตัวขึ้นมาในท่านั่งตรงได้ โดยให้เท้าวางราบบนพื้นแล้วจึงค่อยลุกยืน ท่ายกหรือย้ายของ การยกของในท่าที่ไม่ถูกต้องและหนักเกินไปเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหลัง เพื่อลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดกับกระดูกสันหลังส่วนล่างได้ ควรยกของหรือก้มให้ถูกท่า ในกรณีที่ของวางอยู่ต่ำกว่าระดับสะโพก ต้องพยายามให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลาที่ยกของ ไม่ควรก้มหลังยกสิ่งของในท่าที่เข่าเหยียดตรงหรือบิดเอี้ยวตัว โดยให้ยืนหลังตรง ขากางออกเล็กน้อย งอเข่า ย่อตัวลงจนกระทั่งมาอยู่ในท่านั่งยอง ๆ จากนั้นหยิบสิ่งของที่ต้องการ ถ้าของนั้นหนักต้องอุ้มของชิ้นนั้นชิดแนบลำตัว และค่อยๆ ลุกขึ้นด้วยกำลังขา โดยให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องถือสิ่งของ 2 ชิ้น ให้ถือข้างละ 1 ชิ้น เพื่อสร้างความสมดุลและไม่ทำให้หลังข้างใดข้างหนึ่งทำงานหนักเกินไป เพียงแค่หันมาใส่ใจท่าเหล่านี้กันสักนิด นอกจากจะช่วยเสริมบุคลิกแล้ว ยังลดอาการปวดเมื่อย และที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกาย ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ก็จะทำให้ห่างไกลโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้อีกด้วย สำหรับผู้มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ยืน-เดิน-นั่ง-นอน-ให้ไกลจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  18. โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งการเสื่อมตามวัยจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น การมีน้ำหนักตัวที่มากเกิน จากกรรมพันธุ์ หรือจากอุบัติเหตุก็เป็นได้ หากผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษา ข้อเข่าเสื่อมก็จะยังคงอาการเสื่อมต่อไป จนมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบัน โดยการผ่าตัดเข่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นอีกทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ใช้ในกรณีที่รักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากขึ้น ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน ดังนั้นเพื่อให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้ว ดูแลตัวเองอย่างไรดี? ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมีคำตอบมาให้ท่านแล้ว ไปทราบถึงแนวทางการดูแลที่ถูกต้องพร้อมกันได้เลยค่ะ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเพิ่มยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ - ประมาณวันที่ 1-2 วัน จะมีการประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัดเพื่อลดบวม ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกบริหารกล้ามเนื้อขา งอขา เหยียดขา ในรายที่สามารถฟื้นตัวได้เร็วจะได้ฝึกยืนลงน้ำหนักและหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด - ประมาณวันที่ 3-5 จะมีการฝึกเดิน ฝึกขึ้น-ลงบันได แนะนำวิธีการฝึกใช้กำลังเข่าและขา โดยนักกายภาพบำบัด หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินได้คล่อง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ - ใน 2 สัปดาห์แรก ควรเดินด้วยไม้ค้ำยันหรือคอกช่วยเดิน เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวกดทับหัวเข่ามากเกินไป และป้องกันการลื่นล้ม โดยควรเดินในระยะสั้นๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทางและเวลาการเดินให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น การดูแลตัวเองเพื่อถนอมข้อเข่าเทียมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้ว ก็ยังคงต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังต่อไปนี้ 1.อิริยาบถในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ ได้แก่ - นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใด ๆ - ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น - การยกหรือแบกของหนักๆ - การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานาน ๆ ขณะนอน เพราะจะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวก และข้อเข่าอาจตึงยึด 2.การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันได ควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได ส้วมเป็นแบบชักโครก ภายในห้องน้ำควรใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายขณะอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการลงไปอาบในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจลื่นล้มได้ง่าย 3.การควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักมากเกินไปเพื่อข้อเข่าเทียมจะได้ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ลดแรงกระแทกที่ข้อเทียม ควรรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เช่น รับประทานข้าวกล้อง ดื่มนมขาดมันเนย ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยและรสชาติไม่หวาน รับประทานเนื้อสัตว์ติดมันให้น้อยที่สุด เช่น ปลาซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเหมาะกับผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด และหวานจัด เลือกรับประทานอาหารนึ่ง ตุ๋น อบ ย่าง แทนอาหารประเภทผัด ทอด และแกงกะทิ ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และงดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ 4.การออกกำลังกายและเล่นกีฬา ควรออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง เทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้วใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่? โดยทั่วไปภายหลังผ่าเข่า 6 สัปดาห์ จะสามารถเดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้าช่วยพยุง เหยียดหรืองอข้อเข่าได้สุดหรือเกือบสุด และประมาณ 2-6 เดือน ข้อเทียมจะมีความแข็งแรงเสมือนเป็นข้อของผู้ป่วยเอง ทั้งนี้การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และปัจจัยหลายๆ อย่าง ในระยะนี้จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งการนั่ง เดิน ขึ้น-ลงบันได สามารถงอเข่าได้ประมาณ 120-140 องศา ออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อเข่าได้ เช่น เดินเร็ว รำมวยจีน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ตีกอล์ฟ ได้ ขับรถในกรณีที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถ้าใส่ข้อเทียมข้างซ้ายจะขับรถได้เร็วขึ้น ทั้งหมดนั้นคือแนวทางการปฏิบัติตน หลังการผ่าตัดเข่าเทียมที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้เร็วยิ่งขึ้น ทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และสนับสนุนแนวทางสร้างสุขภาพดีให้ข้อเข่า โดยแพทย์ผู้ชำนาญการที่มากประสบการณ์ อีกทั้งทางศูนย์กระดูกข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  19. มีสามีภรรยาหลายคู่ที่มีความพร้อม และอยากมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์แบบครบ พ่อ แม่ ลูก แต่ยังประสบปัญหาการมีลูกยาก หากการเก็บอสุจิและไข่มาผสมกันแบบเด็กหลอดแก้วธรรมดาแล้วยังไม่ได้ผล คงต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วยโดยการนำตัวอสุจิผสมกันกับไข่ให้เห็นกันเพื่อความชัวร์ ซึ่งเป็นอีกวิธีในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่เรียกว่า อิ๊กซี่ (ICSI) การทำอิ๊กซี่ (ICSI) หลายคู่ที่ใช้วิธีนี้แล้วประสบผลสำเร็จ สามารถมีลูกได้สมความตั้งใจ ซึ่งวิธีทำอิ๊กซี่ (ICSI) เป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น วันนี้เรานำความรู้จากทางศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ของโรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับการทำอิ๊กซี่(ICSI) มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น คู่รักหลายคู่ที่คิดจะทำคงต้องการทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ เช่นนั้นไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันเลยค่ะ อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ? การทำอิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic sperm injection) คือ การคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยมีเทคนิคการใช้อสุจิตัวที่แข็งแรงและเคลื่อนที่ดี 1 ตัวดูดเข้าไปในเข็มแก้วเล็ก ๆ แล้วใช้เข็มนั้นเจาะเข้าไปในไข่ฟองเดียวและฉีดอสุจิที่อยู่ในเข็มเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยปฏิสนธิ ในรายที่มีจำนวนอสุจิน้อยมาก หรืออสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปในไข่เองได้ หรืออาจมีความหมายว่า เป็นวิธีการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่นั้นเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้ อิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร ? - ฝ่ายชายมีปัญหาปริมาณอสุจิค่อนข้างน้อย อสุจิไม่สมบูรณ์ และการเคลื่อนที่ผิดปกติรุนแรง - ฝ่ายชายเป็นหมัน หรือทำหมันแล้วแต่อยากมีลูกอีก แต่ยังคงสามารถนำอสุจิออกมาได้โดยการผ่าตัด - ฝ่ายหญิงที่มีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้าไปปฏิสนธิได้ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วธรรมดาแล้วไม่ได้ผล - คู่สมรสที่มีปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่ต้องได้รับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน การทำอิ๊กซี่ (ICSI) มีขั้นตอนดังนี้ 1.การกระตุ้นไข่ หลังจากฝ่ายหญิงมาตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าเหมาะสมกับการทำอิ๊กซี่แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นรังไข่ให้ฟองไข่โตพร้อมกันหลายๆ ใบ จะเริ่มกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน ด้วยการฉีดยาติดต่อกันเฉลี่ยแล้วจะฉีดประมาณ 8-10 วัน เพื่อกระตุ้นให้ไข่โตหลายๆ ใบ ซึ่งมากกว่าจำนวนไข่ที่ตกในแต่ละรอบเดือนตามธรรมชาติ โดยปกติจะต้องการไข่จำนวน 8-15 ใบ 2.ตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ แพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ โดยใช้เครื่อง อัลตราซาวด์ ร่วมกับการประเมินระดับฮอร์โมน โดยการตรวจเลือดทุก 3-4 วัน เมื่อพบว่าขนาดของถุงไข่โตเต็มที่แล้ว แพทย์จะให้ฉีดยาฮอร์โมน ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสมบูรณ์ของฟองไข่ 3.กระบวนการเก็บไข่ หลังจากฟองไข่โตสมบูรณ์แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่ภายใน 34-36 ชั่วโมง ผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่ง แล้วใช้เข็มเล็ก ๆ เจาะไข่ออกมาจากรังไข่ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อได้เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ 4.เก็บอสุจิของฝ่ายชาย โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ จากนั้นน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองอสุจิเพื่อเลือกตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด แล้วนำมาปฏิสนธิกับไข่ในห้องปฏิบัติการ โดยนำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์ โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ หากฝ่ายชายเคยทำหมัน หรือตรวจไม่พบตัวอสุจิ จำเป็นต้องเจาะดูดจาดอัณฑะโดยตรง 5.เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หรือ การเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (BLASTOCYST CULTURE) เมื่อได้ตัวอ่อนแล้ว โดยทั่วไปจะทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3-5 วัน ในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมปัจจัยที่เหมาะสมกับตัวอ่อน ที่ปลอดเชื้อโดยการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้นและแรงดัน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในน้ำยาพิเศษที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนนี้จะเป็นกระบวนการเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายมากที่สุด จนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) คือ ระยะเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีความแข็งแรง แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ทั้งนี้ก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก นักวิทยาศาสตร์จะเลือกตัวอ่อนโดยการสังเกตพัฒนาการของตัวอ่อน และเลือกตัวอ่อนนั้นจะมาตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ หรือ พีจีที (PGT) ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกตัวอ่อนจากผลการตรวจอย่างละเอียดในระดับโครโมโซมและระดับยีน เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่พันธุกรรมผิดปกติออกไป สำหรับการตรวจ PGT จำเป็นต้องมีการตัดและดึงเซลล์ของตัวอ่อนในระยะวันที่ 5 หรือเรียกว่า ระยะบลาสโตซีสท์ ซึ่งในระยะนี้ตัวอ่อนมีเซลล์เป็นร้อยเซลล์หรือมากกว่า จึงสามารถดึงเซลล์ 5-10 เซลล์จากโทรเฟคโตเดิร์ม (trophectoderm) ของตัวอ่อนซึ่งจะเจริญต่อเป็นรก เพื่อนำไปตรวจ การใช้วิธีอิ๊กซี่ร่วมกับการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน จะช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสเลือกตัวอ่อนที่ปลอดภัย หรือโครโมโซมปกติ หรือมีเพียงยีนแฝงเท่านั้นในการย้ายกลับสู่โพรงมดลูก และยังช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ต่อรอบการใส่ตัวอ่อนอีกด้วย 6.ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก การใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก จะทำโดยการใช้หลอดพลาสติกเล็ก ๆ สอดผ่านทางช่องคลอดปากมดลูกและเข้าไปในโพรงมดลูก แล้ววางตัวอ่อนลงไปภายใต้การอัลตราซาวด์ดูตำแหน่งที่เหมาะสม วิธีการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1.รอบสด คือ เมื่อนำไปเลี้ยงตัวอ่อนครบ 3-5 วัน แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกรอบเดียวกับการกระตุ้นไข่ 2.รอบแช่แข็ง คือ เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบถัดไป ซึ่งตัวอ่อนจะสามารถเก็บแช่แข็งไว้ได้นานถึง 5-10 ปี 7.ทั้งนี้การย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือรอบแช่แข็ง แพทย์จะดูความเหมาะสมจากสภาวะของฮอร์โมนและโพรงมดลูกในรอบกระตุ้นไข่ ว่าสามารถใส่ตัวอ่อนกลับได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ต้องการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน จำเป็นต้องแช่แข็งตัวอ่อนระหว่างรอผลโครโมโซม 8.ตรวจการตั้งครรภ์ หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 9-11 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจปัสสาวะเพื่อการตั้งครรภ์เอง เนื่องจากอาจมีความผิดพลาดได้ การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน หลังจากใส่ตัวอ่อนฝ่ายหญิง ควรนอนพักอย่างน้อย 15-20 นาที ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด ไม่ออกกำลังกายหักโหมหรือยกของหนักๆ เพราะอาจมีผลต่อการฝักตัวของตัวอ่อนได้ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติ ต้องเข้าพบแพทย์ทันที การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ถือเป็นเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยากที่มีโอกาสท้องมากที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามอัตราที่จะเกิดความสำเร็จของแต่ละคู่นั้นอาจแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาวะร่างกายและความพร้อมของแต่ละบุคคล หากอายุไม่เกิน 35 ปี ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ถึง 40-50% สำหรับอายุเกิน 35 ปี และตรวจโครโมโซม มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงขึ้น ประมาณ 50-75% สำหรับคู่รักที่สนใจหรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ เรายินดีให้บริการค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/7-ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่-เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยาก
  20. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ฟังดูร้ายแรงก็จริง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ถึงสัญญาณเตือนของโรคได้เร็ว จากการสังเกตอาการ และรีบเข้าทำการรักษาในระยะแรกเริ่ม หากตอนนี้คุณหรือคนที่คุณรู้จัก กำลังมีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับระบบการขับถ่ายอุจจาระอยู่ มีอาการท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปนมากับอุจจาระ ถ่ายสีดำหรือสีดำแดง ถ่ายไม่สุด ปวดลงทวาร อ่อนเพลียหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นอีกแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุก ที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยลงได้ มาดูข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่เกิดการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนจนไม่สามารถควบคุมได้ การเจ็บป่วยระยะแรกจึงอาจเป็นเพียงแค่ก้อนหรือติ่งเนื้องอกธรรมดาในลำไส้ แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้และไม่รีบเข้ารับการรักษา เซลล์ดังกล่าวอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ จึงเป็นแนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เชิงรุกที่สามารถลดอัตราการสูญเสียจากการเจ็บป่วยได้ รู้จักการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) จึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติของภายในลำไส้ใหญ่ โดยการใช้กล้องขนาดเล็กประมาณนิ้วมือ มีความยืดหยุ่นสูง มีลักษณะคล้ายท่อสอดเข้าทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ตรง และตรวจสอบตลอดภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีเลนส์รับภาพ แล้วส่งต่อมาที่จอภาพ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ - มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย - ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ - เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก - มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย - มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย - ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุก ๆ 3-5 ปี วิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สำหรับวิธีการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ผู้ป่วยจะนอนตะแคงข้างหรือนอนหงายในขณะตรวจ โดยแพทย์จะค่อยๆ สอดกล้องเข้าไปในลำไส้ พร้อมตรวจผิวภายในลำไส้อย่างละเอียด การส่องกล้องจะสิ้นสุดเมื่อถอนกล้องออกมา โดยปกติใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที ซึ่งรวมกับเวลาเตรียมตัว การตรวจ กระทั่งออกมาพักฟื้นที่ห้อง รวมแล้วใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถส่องกล้องได้ทั้งลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์จะแนะนำการตรวจวิธีอื่น ๆ ในการตรวจส่วนลำไส้ใหญ่ในส่วนที่ไม่สามารถสอดกล้องเข้าไปได้ กรณีที่ตรวจพบตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มโดยการสอดเครื่องมือขนาดเล็กผ่านกล้องเพื่อเอาชิ้นเนื้อมาตรวจวินิจฉัย โดยชิ้นเนื้อจะเป็นเพียงเยื่อบุผิวขนาดเล็กแค่เพียงพอต่อการวินิจฉัยเท่านั้น ถ้าหากตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyps) ซึ่งก็คือ เยื่อบุลำไส้ที่งอกเติบโตผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ดีไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งติ่งเนื้อจะมีขนาดรูปร่างและชนิดต่าง ๆ กันไป โดยแพทย์จะตัดติ่งเนื้อออกทั้งหมดเพื่อช่วยการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากนั้นนำติ่งเนื้อไปตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยาอีกครั้ง โรคของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ - ระยะแรก มะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้ มีลักษณะเป็นก้อนหรือติ่งเนื้อบริเวณผิวของผนังลำไส้ใหญ่ - ระยะที่สอง มะเร็งเริ่มกระจายสู่ผนังลำไส้ใหญ่ โดยการทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง - ระยะที่สาม มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง - ระยะที่สี่ มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสเลือดไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูกเป็นต้น โดยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ นั่นคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น อาหารประเภทให้ความหวานมันมาก ๆ และทานผักผลไม้น้อยเกินไป อีกทั้งสภาวะแวดล้อมที่หลาย ๆ คนต้องเผชิญ เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออีกปัจจัยอีกหนึ่งคือพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ทั้งยังสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 45 ปี เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางลำไส้ใหญ่มากที่สุด โดยจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ครั้งแรก ส่วนใหญ่มักเป็นระยะลุกลามแล้ว แต่ในปัจจุบันพบว่าการส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมกับการตัดติ่งเนื้อออก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่กว่าครึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารหรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังได้อีกด้วย ผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ในส่วนของผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ อาจรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด หรือง่วงนอนหลังจากทำการตรวจ และอาจมีเลือดออกขณะที่ลำไส้มีการเคลื่อนไหวในช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตามควรรีบพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ - มีไข้ - มีอาการปวดรุนแรง - มีเลือดออกจำนวนมากหรือเลือดออกเป็นก้อน - ร่างกายอ่อนเพลีย - วิงเวียนศีรษะ ทั้งนี้ นอกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงจากการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องส่อง เช่น มีเลือดออก ลำไส้ใหญ่ทะลุ การตอบสนองต่อยาระงับความรู้สึก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ - ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย 3 วันก่อนเข้ารับการตรวจ - งดรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใย - รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวนและเวลา ตามที่แพทย์สั่ง - ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ - คืนวันก่อนตรวจ ให้งดอาหาร และน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจเสร็จ การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ - สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ - ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำจะไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ จึงต้องมีญาติคอยดูแลสังเกตอาการ - ห้ามขับรถหรือทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ แนวทางป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแพทย์แนะนำว่า สำหรับผู้มีความเสี่ยงเนื่องจาก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ และควรเข้ารับการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำแบบรายบุคคลต่อไป โดยเร็ว ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจวินิจฉัยผ่านการส่องกล้อง
  21. ภาวะข้อไหล่ติด มักพบได้บ่อยในวัยกลางคน-ผู้สูงวัย เมื่อมีอาการไหล่ติด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สวมเสื้อไม่ถนัด เอื้อมมือหรือยกแขนไม่ขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื้อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง หรือมักเกิดจากการทำกิจกรรมแบบเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมเป็นระยะเวลานาน หรือการเคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดการเสียดสี และอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ในผู้สูงอายุจะยิ่งมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป หากตอนนี้คุณกำลังมีอาการปวดไหล่ ยกแขนไม่สุด รูดซิบหลังเสื้อไม่ได้ เริ่มสงสัยว่าจะเสี่ยงข้อไหล่ติดหรือไม่ วันนี้เรานำความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อช่วยคุณรับมือเมื่อมีอาการไหล่ติดเกิดขึ้น และได้เรียนรู้ถึงวิธีเช็คความเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ อาการข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่กลับเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วิธีสังเกตอาการคือจะมีอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่เคลื่อนไหวแขน เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด อ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อไม่ได้ หากผู้สูงอายุมีอาการเหล่านี้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ควรตั้งข้อสงสัยว่าอาจประสบปัญหาภาวะข้อไหล่ติดอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุ ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ เป็นอย่างไร ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) เป็นภาวะที่ทำให้มีอาการปวดไหล่และไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุดพิสัยข้อ ไม่ว่าจะขยับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยขยับให้ สาเหตุเกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง การใช้งานซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน หรือท่าทางที่เคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ความเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป รวมไปถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ที่มีภาวะการเสื่อมของร่างกายกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อของไหล่ ภาวะหัวไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดได้จากการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การถูกกระแทก นอกจากจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ภาวะหัวไหล่ติดยังมักเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ไทรอยด์ และความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรคหรือจุดที่ปอด อีกด้วย อาการของภาวะข้อไหล่ติด มี 3 ระยะ ได้แก่ - ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดมากตอนกลางคืนจนรบกวนการนอน การเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆ ลดลง - ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะแรกเริ่มลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก - ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนถึง 2 ปี ทั้งนี้ อาการไหล่ติดสามารถเกิดได้เพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่มักเป็นแขนข้างที่ไม่ถนัด หากปล่อยไว้นานวันเข้า อาจพัฒนากลายเป็นหัวไหล่แข็ง และขยับแขนอย่างอิสระไม่ได้อย่างถาวร จนอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายถุงหุ้มไหล่ เพื่อให้แขนกลับมาทำงานได้ตามปกติ เช็คความเสี่ยง...ข้อไหล่ติด หากใครมีอาการปวดจากการกระทำดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ - เอื้อมหยิบของด้านหลังไม่ได้ ไม่สามารถไขว้แขนไป ข้างหลังได้ - เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด - เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อ หรือติดตะขอชุดชั้นในไม่ได้ - เอื้อมไปล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก - ออกแรงผลักเปิดประตูหนักๆ ไม่ได้ - ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก - ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ้าทางศีรษะไม่ได้ - มีอาการปวดร้าวลงบริเวณต้นแขน หิ้วของหนักหยิบจับทำงานลำบาก ผู้สูงอายุสามารถหยุดหรือปรับขนาดการใช้ยาเองได้หรือไม่ ผู้สูงอายุไม่ควรหยุดยา หรือปรับขนาดการใช้ยาเอง เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา ลดประสิทธิภาพของยาจนไม่ได้ผลการรักษา ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น ยาลดความดันโลหิตที่รับประทานต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หากหยุดยาเองทันทีอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปรับขนาดยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ การตรวจและรักษาข้อไหล่ติด แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ (X-Ray) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อแยกโรคอื่นๆ ออกไปตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ด้านการรักษาข้อไหล่ติดนั้น แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย คือ การลดความเจ็บปวด เพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว และการกลับมาใช้งานข้อไหล่ในการทำกิจวัตรประจำวัน ดังนี้ - ระยะปวด การรักษาเน้นลดอาการปวดและการอักเสบ อาจให้ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ - ระยะข้อติด การรักษาจะเน้นการเพิ่มพิสัยข้อ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้เองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน โดยก่อนการดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน หลังดัดข้อไหล่แล้วอาจใช้แผ่นความเย็นประคบป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาทำกายภาพบำบัดโดยการใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนต่าง ๆ และการดัดข้อไหล่โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น - ระยะฟื้นตัว จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ภาวะข้อไหล่ติด รักษาด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง หากทำการรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ดีขึ้น และสาเหตุของอาการนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อไหล่ โดยการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องส่องข้อไหล่ คือ การผ่าตัดโดยเจาะรูที่ไหล่ 3-4 รู รูละประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร เพื่อใส่เครื่องมือเข้าไป นั่นก็คือกล้องขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ที่จะนำภาพภายในข้อออกมาแสดงบนจอภาพ และแพทย์ทำการตกแต่ง ตัดเยื่อหุ้มข้อ ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง หรือเครื่องมือพิเศษ ข้อดีการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อไหล่ ทำให้สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขพยาธิสภาพได้ดี แผลมีขนาดเล็ก เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า สามารถทำกายภาพได้เร็วขึ้นช่วยให้ฟื้นตัวเร็วและช่วยลดระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล อาการข้อไหล่ติด สามารถรักษาได้ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใช่ช่วงแรก ๆ ก็สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจน หากท่านกำลังมีภาวะข้อไหล่ติด มีความกังวลใจ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุและหาแนวทางรักษา ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ-ปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
  22. โรคฮิตของคนหนุ่มสาววัยทำงานที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ที่มักจะเป็นกัน นอกจากปวดหลังแล้ว หนึ่งในนั้นก็คืออาการปวดคอ บางคนใช้วิธีทำท่ากายบริหารต้นคอเช่น ก้ม เงยศีรษะช้า ๆ กลับมาหน้าตรง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งท่ากายบริหาร ที่ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของคอและ เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและข้อต่อของคอให้แข็งแรงขึ้น บางคนทำท่าบริหารแล้วช่วยลดอาการปวดคอลงได้ แต่หากเพื่อน ๆ คนไหนมีอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนอยู่เป็นประจำทำอย่างไรก็ไม่หาย เลือกทำมาแล้วทุกวิธีการ ทั้งนวด ทั้งประคบร้อน ประคบเย็น ร่วมกับกินยาแก้ปวด อาการปวดคอก็ยังไม่ดีขึ้น ยังมีอาการปวดคอร่วมกับปวดหลังส่วนบนเช่นนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยทิ้งไว้ให้อาการเรื้อรัง เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้ ! เพื่อคลายข้อสงสัยให้เพื่อน ๆ เรามีข้อมูลดี ๆ จากทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาฝาก ไปรับข้อมูลความรู้เพิ่มเติมพร้อมกันได้เลยค่ะ อาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน เป็นอาการที่พบได้บ่อยและสร้างปัญหาให้แก่คนส่วนใหญ่ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเคยมีประวัติการ ปวดอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดจากท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ และโรค เกี่ยวกับกระดูกที่ทำให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนได้ สาเหตุของอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน - อาการบาดเจ็บหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด - การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป - ข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม - หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท วิธีดูแลและบรรเทาอาการปวดคอด้วยตนเองเบื้องต้น - พยายามนั่งหลังตรง - ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ - นวดเบาๆ บริเวณที่มีอาการปวด - ประคบร้อน หรือเย็น - รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ปวดคอแบบไหนควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ถึงแม้ว่าอาการปวดอาจต้องใช้เวลากว่าอาการจะทุเลาลง แต่บางครั้งก็อาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดคอไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถทนได้จนรบกวนกิจวัติประจำวัน (ลุก นั่ง ยืน เดิน) - มีอาการปวดรุนแรง ปวดรุนแรงแบบฉับพลัน แบบไม่ปกติ - อาการปวดไม่หายขาดมานานกว่า 3 เดือน - อาการปวดคอร่วมกับ อาการปวดร้าวลงแขน แขนชาหรืออ่อนแรง - มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาเกร็งแข็ง - มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ ระยะเวลา พร้อมทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ และ/หรือตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รวมถึงวัดการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยมีแนวทางการรักษาประกอบด้วย การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ 1.การรักษาแบบประคับประคอง การรับประทานยา การนอนพัก การให้ออกกำลังกายแบบใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่คอ มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น 2.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เป็นยาที่ผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา ฉีดเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังหรือใกล้กับบริเวณที่มีอาการปวด จะช่วยลดความปวดจากการอักเสบ และช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน ทั้งนี้การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนด้วยวิธีนี้จะให้ประสิทธิผลดีที่สุดเมื่อทำร่วมกับกายภาพบำบัด หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อหลังและคอ สำหรับผู้ป่วยที่อาการปวดบรรเทาลงมากแล้ว การรักษาเพิ่มเติมหรือการผ่าตัดอาจไม่จำเป็นก็ได้ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยการผ่าตัด ได้แก่ 1.การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า รักษาโรคหรือภาวะหมอนรองกระดูกต้นคอเลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือทับไขสันหลังหรือหมอนรองกระดูกต้นคอที่เสื่อม ร่วมกับมีกระดูกงอกกดทับเส้นประสาท 2.การเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนคอ การที่นำหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดออก และนำหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปแทนที่ นอกจากนี้ศัลยแพทย์สามารถตัดกระดูกส่วนที่งอกออกมา และขยายพื้นที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทและรากประสาท 3.การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) เป็นการผ่าตัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ โรคโพรงประสาทตีบแคบ โดยการสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดซึ่งมีขนาดเพียง 7.9 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของเอ็นโดสโคปจะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก มั่นใจในมาตรฐานศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน โรงพยาบาลนครธน ร่วมมือกับ “บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก” ให้บริการเฉพาะทางสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง โดยทีมแพทย์และพยาบาลชำนาญเฉพาะทาง พร้อมด้วย เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope อันทันสมัย ในราคาเข้าถึงได้ รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ของบำรุงราษฎร์ที่เรียกว่า บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิรก์ คือการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ บุคลากรที่มีประสบการณ์เทคโนโลยีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ได้สั่งสมมากว่า 40 ปี มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลนครธน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ทันสมัยเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมได้รับการรักษาในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ หากเพื่อน ๆ กำลังมีอาการปวดคอ หรือปวดหลังส่วนบน แล้วมีความกังวลใจ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเรื้อรังรักษายาก ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/อย่าปล่อยให้อาการปวดคอ-ปวดหลังส่วนบน-เป็นปัญหากวนใจ
  23. โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มักมาพร้อมกับอาการปวดเข่าปวดข้อ ส่งผลทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่โรคข้อเข่าเสื่อมพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุอาจเกิดมาจากหลายประการด้วยกัน ซึ่งได้สะสมความเสื่อมมาเป็นเวลานาน หรือการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยรุ่น ซึ่งอาการปวดเข่ามีความแตกต่างกันออกไป ปวดมากบ้างน้อยบ้างตามความรุนแรง แต่ก็มีบางท่านมีอายุยังไม่ถึง40 ปี แต่มีอาการเริ่มปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ พอหยุดพักการใช้เข่า อาการปวดเข่าก็ทุเลาลง แต่เมื่อกลับมาใช้ข้อเข่าใหม่ อาการปวดเข่าก็กลับมาอีก อาการปวดเข่าไม่หายขาดสักที แถมภายหลังอาการปวดเข่ามากขึ้นจนนอนไม่หลับ เริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากท่านสงสัยว่าอาการปวดเข่าที่ท่านเป็นอยู่นี้จะใช่โรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่? และหากเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วจะมีแนวทางรักษาอย่างไร? วันนี้ทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมีคำตอบมาให้ท่านแล้วค่ะ อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และควรให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ผลที่ตามมาคือ การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวดเข่า ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นวิธีสากลที่ได้รับการยอมรับว่าผลการรักษาดีที่สุด ทำให้หายปวดเข่า ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รู้ได้อย่างไร อาการปวดเข่าแบบไหน ที่แสดงว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 40 ปี พบมากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มักเป็นทั้ง 2 ข้าง เมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมอีกใน 11 ปีต่อมา อาการในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง อาการปวดเข่าจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยแบ่งสาเหตุได้ 2 แบบ ดังนี้ ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย มีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง และกรรมพันธุ์ ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้น การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ข้อเข่า โดยฟิล์มที่ปรากฏจะมองเห็นช่องว่างแคบ ๆ ระหว่างข้อเข่าด้านบนและข้อเข่าด้านล่าง แสดงให้เห็นว่ามีการสึกหรอของกระดูกอ่อน นอกจากนี้แพทย์จะซักประวัติอาการปวดเข่า ประวัติคนในครอบครัว ประวัติการบาดเจ็บข้อเข่า และวัดความสามารถในการงอและเหยียดข้อเข่า การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม รักษาโดยไม่ใช้ยา ช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ได้แก่ การประคับประคองด้วยการลดแรงกดที่ข้อเข่า ร่วมกับการทำให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข้า การควบคุมน้ำหนักตัว และการบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รักษาโดยการใช้ยา อยู่ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์ เช่น ยาทาเฉพาะที่ ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ เจลพริก (Capsaicin) ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปของยารับประทานและยาฉีด ซึ่งช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดี และยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น รักษาโดยวิธีการผ่าตัด การส่องกล้องข้อเข่า เพื่อตรวจสภาพและล้างภายในข้อ เป็นการรักษาที่น่าจะได้ผลดี ในกลุ่มที่มีเศษขรุขระเล็กน้อยที่เป็นสาเหตุของอาการปวดขัดในข้อ ใช้รักษาภาวะเข่าเสื่อมในระยะแรกเท่านั้น ในกรณีที่ข้อเสื่อมมากหรือรุนแรง แนะนำให้เปลี่ยนผิวข้อแทน การผ่าตัดปรับแนวข้อ ในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ โดยแก้ไขแนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อยังดีอยู่ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีสากลที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด นั่นคือ ทำให้หายปวดเข่า ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - มีอาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม จัดเป็นการผ่าตัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดทรมาน สามารถกลับมาเดินได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ สามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ออกกำลังกายหรือท่องเที่ยวได้ รวมถึงรูปร่างของข้อเข่าดูสวยงามขึ้น หากท่านกำลังมีอาการปวดเข่าปวดข้อ เป็นมานานอาการปวดไม่หายขาดสักที แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุ ไม่ควรปล่อยให้ปวดเรื้อรังนานเกินไป ควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้โดยเร็ว ทางศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่าบ่อย-ลุกนั่งเดินเจ็บ-สัญญาณโรคข้อเข่าเสื่อม
  24. วัยทำงานหลาย ๆ คน ที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจ้องโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ คงต้องเคยมีประสบการณ์อาการปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดหลังส่วนบนกันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย บางคนมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไปนวดบำบัด หรือกินยาแก้ปวดเดี๋ยวสักพักก็ดีขึ้น แต่บางคนปวดคอ ปวดหลัง จนเรื้อรัง ปวดผ่านมาเป็นเดือนแล้วยังไม่ดีขึ้นเลย อาการปวดคอ ปวดหลัง ยิ่งกลับมากขึ้น ไม่ว่าจะลุก ยืน นอน นั่งก็ปวดไปหมด จนเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อไขข้อข้องใจเรื่องนี้ ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ ถึงเรื่องอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดหลังส่วนบน ว่าอาการปวดแบบนี้สาเหตุเกิดจากโรคอะไร? หรืออาการปวดแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่คุณต้องรีบรักษาโดยด่วน! ก่อนที่อาการจะเรื้อรังจนรักษายาก มาดูกันค่ะ อาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน เป็นอาการที่พบได้บ่อยและสร้างปัญหาให้แก่คนส่วนใหญ่ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเคยมีประวัติการ ปวดอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดจากท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ และโรค เกี่ยวกับกระดูกที่ทำให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนได้ สาเหตุของอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน - อาการบาดเจ็บหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด - การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป - ข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม - หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท วิธีดูแลและบรรเทาอาการปวดคอด้วยตนเองเบื้องต้น - พยายามนั่งหลังตรง - ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ - นวดเบาๆ บริเวณที่มีอาการปวด - ประคบร้อน หรือเย็น - รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ปวดคอแบบไหนควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ถึงแม้ว่าอาการปวดอาจต้องใช้เวลากว่าอาการจะทุเลาลง แต่บางครั้งก็อาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดคอไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถทนได้จนรบกวนกิจวัติประจำวัน (ลุก นั่ง ยืน เดิน) - มีอาการปวดรุนแรง ปวดรุนแรงแบบฉับพลัน แบบไม่ปกติ - อาการปวดไม่หายขาดมานานกว่า 3 เดือน - อาการปวดคอร่วมกับ อาการปวดร้าวลงแขน แขนชาหรืออ่อนแรง - มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาเกร็งแข็ง - มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ ระยะเวลา พร้อมทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ และ/หรือตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รวมถึงวัดการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยมีแนวทางการรักษาประกอบด้วย การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ 1.การรักษาแบบประคับประคอง การรับประทานยา การนอนพัก การให้ออกกำลังกายแบบใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่คอ มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น 2.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เป็นยาที่ผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา ฉีดเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังหรือใกล้กับบริเวณที่มีอาการปวด จะช่วยลดความปวดจากการอักเสบ และช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน ทั้งนี้การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนด้วยวิธีนี้จะให้ประสิทธิผลดีที่สุดเมื่อทำร่วมกับกายภาพบำบัด หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อหลังและคอ สำหรับผู้ป่วยที่อาการปวดบรรเทาลงมากแล้ว การรักษาเพิ่มเติมหรือการผ่าตัดอาจไม่จำเป็นก็ได้ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยการผ่าตัด ได้แก่ 1.การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า รักษาโรคหรือภาวะหมอนรองกระดูกต้นคอเลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือทับไขสันหลังหรือหมอนรองกระดูกต้นคอที่เสื่อม ร่วมกับมีกระดูกงอกกดทับเส้นประสาท 2.การเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนคอ การที่นำหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดออก และนำหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปแทนที่ นอกจากนี้ศัลยแพทย์สามารถตัดกระดูกส่วนที่งอกออกมา และขยายพื้นที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทและรากประสาท 3.การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) เป็นการผ่าตัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ โรคโพรงประสาทตีบแคบ โดยการสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดซึ่งมีขนาดเพียง 7.9 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของเอ็นโดสโคปจะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก มั่นใจในมาตรฐานศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน โรงพยาบาลนครธน ร่วมมือกับ “บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก” ให้บริการเฉพาะทางสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง โดยทีมแพทย์และพยาบาลชำนาญเฉพาะทาง พร้อมด้วย เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope อันทันสมัย ในราคาเข้าถึงได้ รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ของบำรุงราษฎร์ที่เรียกว่า บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิรก์ คือการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ บุคลากรที่มีประสบการณ์เทคโนโลยีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ได้สั่งสมมากว่า 40 ปี มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลนครธน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ทันสมัยเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมได้รับการรักษาในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ หากท่านกำลังมีอาการปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดหลังส่วนบนอยู่ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุ หากปล่อยให้ปวดเรื้อรังไปนานเข้า อาจจะส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต ควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้โดยเร็ว ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/อย่าปล่อยให้อาการปวดคอ-ปวดหลังส่วนบน-เป็นปัญหากวนใจ
  25. ปัญหาสุขภาพร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ซึ่งมนุษย์เรามิอาจหลีกเลี่ยงได้ ยิ่งพออายุมากขึ้นสารพัดโรคก็เริ่มถามหา การปวดหลังก็เช่นกัน เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว บางครั้งก็ทำให้คนนั้นได้รับความทุกข์ทรมานกับการปวดเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ละอาการก็จะแตกต่างกันออกไป บางคนมีอาการปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ บางคนปวดหลังร้าวลงขาหรือปวดร้าวลงแขน และปวดบริเวณอื่น ๆ ร่วมด้วยยิ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด และวิตกกังวลใจ จนทำให้อาการปวดโดยรวมยิ่งแย่หนักกว่าเดิม บทความนี้เรานำข้อมูลความรู้จากศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมาให้ความรู้กันค่ะ เมื่อมีอาการปวดหลัง หลายคนเลือกที่จะเมินเฉยกับอาการปวดนี้ หรือแค่หายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการ ข้อสังเกตสำคัญหากปวดหลังร่วมกับอาการร้าวลงขาหรือปวดคอร้าวลงแขน และปวดบริเวณอื่น ๆ ร่วมด้วย คงไม่ใช่แค่อาการปวดหลังธรรมดา เพราะอาการปวดหลังในแต่ละแบบนั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายหรือโรคต่าง ๆ ได้ อาการปวดหลังแบบไหน บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง ปวดหลังแบบกว้างๆ ก้มหรือแอ่นหลังไม่ได้ – โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน โรคนี้ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เป็นที่กล้ามเนื้อหลังโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลัง การเล่นกีฬาอย่างหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบอักเสบเฉียบพลันทันที โดยอาการที่พบจะปวดเกร็งหลัง ปวดตึงหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา รู้สึกปวดหลังแบบกว้างๆ ระบุตำแหน่งชัดเจนไม่ได้ รวมทั้งอาการยังคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา ปวดหลังร้าวลงขา ไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด – โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากเจลในหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือรากประสาท ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่งทำงานอยู่ในท่านั่งเดิมเป็นเวลานาน แล้วไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมถึงความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยจะมีอาการมีอาการปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดขณะไอ จาม รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการชา ขาอ่อนแรง มีอาการผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะและ อุจจาระ มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง เป็นต้น ปวดหลังแบบขัดๆ ภายในข้อ ปวดลึก ปวดเสียว – โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังทรุดตัว จากข้อต่อ Facet joint ที่ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เกิดเสื่อมลง เป็นผลให้ข้อกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างอยู่ชิดกันมากเกินไป หากเป็นในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเมื่อใดที่ข้อต่อนั้นเสื่อมสภาพลงมากจนทำให้กระดูกสันหลังทรุดตัวลงเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการปวดหลัง เมื่อใช้มือกดไปที่ข้อกระดูกสันหลังตรง ๆ จะรู้สึกปวดลึก ปวดเสียว และรู้สึกขัดๆ ภายในข้อ สามารถชี้ระบุตำแหน่งได้ชัดเจน หลังแข็งก้มหลังได้น้อยลง บางครั้งอาจเกิดกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้ ปวดหลังส่วนล่าง ปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา – โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม อุบัติเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลังโดยตรงจนทำให้ข้อเคลื่อน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่ทำงานต้องก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ และอาจเกิดจากติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น วัณโรคกระดูกหลัง เป็นต้น โดยมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดมากเมื่อยืนหรือเดิน ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากจะมี อาการปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา แต่ถ้ากระดูกเคลื่อนไปโดนเส้นประสาทจะมีอาการขาชา และขาอ่อนแรงร่วมด้วย ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง – โรคไต โรคนิ่ว โรคที่เกิดจากความผิดปกติภายใน เช่น โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น จนทำให้มีอาการปวดหลังบริเวณเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการปัสสาวะขุ่น แสบ ขัด มีไข้ นอกจากนี้โรคกระเพาะ ลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็ส่งให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณนี้เช่นกัน แต่โรคเหล่านี้มักจะมีอาการปวดท้องควบคู่กันด้วย เจาะลึกถึงปัญหาการรักษาอาการปวดหลังอย่างตรงจุด ขั้นตอนรักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ ของศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน แพทย์จะเลือกการผ่าตัดเป็นวิธีการสุดท้าย โดยจะใช้แนวทางการรักษาด้านอื่น ๆ ก่อนการผ่าตัดเสมอ (ยกเว้นในรายที่แพทย์พิจารณาว่ามีอาการรุนแรง) โดยพิจารณาแนวทางการรักษา เป็น 3 รูปแบบ 1.การรักษาแบบประคับประคอง โดยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีที่ 2 และ 3 2.การรักษากระดูกสันหลังแบบไม่ต้องผ่าตัด - การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการปวด ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ - การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อบำบัดปวดข้อต่อฟาเซ็ต ทำให้ลดการส่งสัญญาณปวดและลดอาการปวด - การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวด 3.การรักษากระดูกสันหลังแบบผ่าตัด - การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาแบบ “Minimally Invasive Spine Surgery” ที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง - การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า รักษาโรคหรือภาวะหมอนรองกระดูกต้นคอเลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือทับไขสันหลังหรือหมอนรองกระดูกต้นคอที่เสื่อม ร่วมกับมีกระดูกงอกกดทับเส้นประสาท - การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอเทียม ผ่าตัดโดยใช้กล้องไมโครสโคปเพื่อนำหมอนรองกระดูกต้นคอ ที่เคลื่อนทับเส้นประสาทอออก แล้วแทนที่ด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังต้นคอเทียม - การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังระดับเอวแบบผ่านทางรูออกเส้นประสาท พร้อมกับนำหมอนรองกระดูกออกทั้งหมดแล้วใส่หมอนรองกระดูกเทียม ใส่สกรูยึดระหว่างข้อและเศษกระดูก เพื่อให้เกิดการเชื่อมของกระดูก - การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี เป็นการฉีดซีเมนต์ผ่านผิวหนัง ผ่านทางแผลเล็ก ๆ ที่มีขนาดราวหลอดกาแฟ เข้าไปเสริมกระดูกส่วนที่หักโดยไม่ต้องยึดสกรู รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ของบำรุงราษฎร์ที่เรียกว่า บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิรก์ คือการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ บุคลากรที่มีประสบการณ์เทคโนโลยีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ได้สั่งสมมากว่า 40 ปี มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลนครธน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ทันสมัยเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมได้รับการรักษาในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ เมื่อมีอาการปวด ไม่ว่าปวดแบบธรรมดาหรือปวดแบบรุนแรง ก็ไม่ควรปล่อยไว้ให้เนิ่นนาน ควรรีบทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ ทางศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทุกด้านพร้อมให้บริการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพให้กับคุณ เริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านค่ะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/อย่ามองข้ามอาการปวดหลัง-อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกโรค
×
×
  • สร้างใหม่...