ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณครับ ยินดีครับ

 

ขอจัดอีกข่าวแล้วกันครับ

PIMCO เผยพอร์ตลงทุนมีสัดส่วนการลงทุนในทองอยู่มากที่สุด

“The largest position in [our] fund is gold, which we think is a very good form of protection against what can go wrong,” said Gudefin in an interview with Fortune published on May 12.

http://uk.ibtimes.com/articles/144859/20110512/gold-pimco-gudefin.htm

 

 

ปล. ผมขีดเส้นใต้ที่เขาบอกว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดหากมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น

ปกติกองทุนทั้งหลายจะคำนึงถึงผลตอบแทนเป็นอันดับแรกนะครับ (เวลาเราอ่านข่าวหรือฟังสัมภาษณ์เขาจะบอกอันนี้น่าลงทุน เพราะผลตอบแทนดีกว่า แนวโน้มดี ฯลฯ)

นั่นหมายความว่าเขาคาดการณ์ว่าจะมี something go wrong แน่ๆครับ

 

ขอบคุณอีกครั้งครับ :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Mexico's Central Bank buys almost 100 tonnes of gold in February, March

 

The central bank of Mexico bought nearly 100 tonnes of gold in February and March,

 

ธนาคารกลางเม็กซิโกซื้อทองเกือบ 100 ตัน ในเดือน กุมภา และมีนา บางข่าวบอกว่าขายดอลล่าด้วย

 

 

http://www.mineweb.com/mineweb/view/mineweb/en/page103855?oid=126382&sn=Detail&pid=102055

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไตรมาสแรกจีนซื้อเข้าไปแล้ว 90.9 ตัน

http://www.kitco.com...GoldDemand.html

 

ไตรมาสแรกธนาคารกลางซื้อเข้าไปแล้ว 129 ตัน

 

 

http://www.cnbc.com/id/43074525

 

40 สัญญาน ที่อาจนำไปสู่การ "ล่มสลาย" ของสหรัฐ

 

 

http://www.cnbc.com/id/43074525

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาเตาที่ 1, 2, 3 Meltdown เรียบร้อยแล้วครับ

(ยังไม่ประกาศเป็นทางการ คงรอจังหวะอะไรซักอย่างก่อนครับ)

 

http://www.zerohedge.com/article/fuel-rods-most-likely-melted-completely-reactors-1-2-and-3-early-hours-crisis-raising-danger

 

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10571853/X10571853.html

 

ผลกระทบต่อทองไม่แน่ใจครับ

แต่คราวก่อนก็มีการหยิบข่าวนี้มาทุกตลาด ทั้งตลาดหุ้น ตลาดโภคภัณฑ์ เซกันไปพักใหญ่ มาครั้งหนึ่งแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้สึกว่า ระยะหลังเป็นกระบวนการสมรู้ร่วมคิดต่อต้านระบบทองคำ หลังจากที่ได้อ่านในนี้

 

อเมริกาชักดาบ การชำระทองคำ จึงหันมาใช้ระบบ SDR

 

แต่ SDR ระยะแรกก็ Gold Standard

 

ต่อมา SDR เป็นกลายร่างเป็น ตะกร้าเงินตราที่มีเงินดอลลาร์หนุนในสัดส่วนมากขึ้นแทน

 

REF: ระบบปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ (International Monetary System)

 

 

 

วิกฤตการณ์ ค.ศ. 1971

สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นไป จากการที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสงครามเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมหาศาล

 

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินของสหรัฐฯทวีความรุนแรงมากขึ้น เงินสำรองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ลดลงจาก $24 พันล้าน เหลือเพียง $11 พันล้าน ( ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 - 1970) นอกจากนี้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนสูงมากถึงกว่า $40 พันล้าน เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในฐานะของเงินสำรองระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงรู้สึกว่าไม่สามารถลดค่าเงินดอลลาร์ลงได้ นโยบายที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาคือ การกระตุ้นการส่งออก ลดกำลังทหารและรายจ่ายอื่นของรัฐบาลในต่างประเทศลง เก็บภาษีสำหรับการซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (ค.ศ. 1963) ภาษีเงินกู้ธนาคารระยะยาวของชาวต่างชาติ (ค.ศ. 1963) และการควบคุมการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งแทรกแซงตลาดล่วงหน้าและตลาดปัจจุบันด้วยการขาย Roosa Bonds

 

สาเหตุที่ทำให้ระบบ Bretton Woods สิ้นสุดลง คือ การขาดดุลการชำระเงินอย่างมากและต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลให้ความน่าเชื่อถือในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง ปัจจัยทุนไหลออกนอกประเทศสหรัฐฯ มากขึ้นเมื่อธนาคารกลางในยุโรปบางธนาคารพยายามนำดอลลาร์ที่สำรองไว้บางส่วนมาแลกเป็นทองคำที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ สหรัฐฯจึงต้องสั่งพักการแลกเปลี่ยนไว้ เมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1901 และประกาศใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้า 10% เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทองคำทั้งหมดที่สำรองไว้ ผลจากการขาดดุลการชำระเงินซึ่งสหรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศสหรัฐฯ ลดลง ประกอบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่เป็นที่ต้องการถือครองไว้สำหรับชาวต่างชาติซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ได้สูญเสียไป ระบบ Bretton Woods จึงได้สิ้นสุดลง

 

 

ข้อตกลงสมิทโซเนียน (Smithsonian Agreement)

ความพยายามในการแก้ปัญหาวิกฤตในครั้งนั้นภายใต้ข้อตกลงสมิทโซเนียน เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1971 กำหนดให้

  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯลดลงประมาณ 9% จาก $35 เป็น $38 ต่อทองคำหนึ่งทรอยเอานซ์ ขณะที่เงินบางสกุลปรับค่าขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเยนและเงินมาร์ค
  • อนุญาตให้เงินสกุลต่างๆ เคลื่อนไหวขึ้น-ลง ได้ 2.25%
  • เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้
  • สหรัฐฯ ยกเลิกภาษีนำเข้า 10%

 

 

การตัดสินใจใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (ค.ศ. 1973)

อย่างไรก็ตามการขาดดุลการชำระเงินของสหรัฐฯ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ในปีต่อมาได้เกิดแรงกดดันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์อีกครั้งหนึ่งเป็น $42.22 ต่อทองคำหนึ่งทรอยเอานซ์ หรือลดลง 10% ความรุนแรงของการเก็งกำไรมีอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 อัตราแลกเปลี่ยนจึงลอยตัวเสรี ยกเว้นเมื่อมีการแทรกแซงโดยทางการ และยังคงใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

 

 

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลัง ค.ศ. 1973

นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด และประเทศกำลังพัฒนาประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ภายใต้ข้อตกลงจาไมก้า (Jamaica Accords) ข้อตกลงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 ซึ่งให้สัตยาบันในเดือนเมษายน ค.ศ. 1978 รับรองให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นระบบทางการ อันนำไปสู่การยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำโดยสิ้นเชิง และเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เลือกระบบอัตราแลกเปลี่ยนเอง

 

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-5 ( สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส ) ได้ร่วมประชุมหารือกันที่ Plaza Hotel นิวยอร์ค และออกประกาศของข้อตกลงพลาซา (Plaza Agreement) กดดันให้เงินสกุลหลักๆ มีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลงเรื่อยมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 ได้ประชุมหารือและบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่าข้อตกลงลูฟ ( Louvre Accords ) โดยจะพยายามรักษาค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ ณ ระดับที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

 

 

 

สิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Right: SDRs)

สิทธิถอนเงินพิเศษ หรือ SDRs เป็นสินทรัพย์ที่ IMF ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องในปี ค.ศ. 1970 โดยให้ใช้ SDRs เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศได้ ตามข้อตกลงเริ่มแรกกำหนดให้ SDRs 1 หน่วย มีค่าเท่ากับทองคำหนัก 0.88867 กรัม หรือเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ IMF จัดสรร SDRs ให้กับประเทศต่างๆ ตามสัดส่วนโควตา หลังจากนั้นการแลกเปลี่ยน SDRs สามารถทำได้ระหว่างธนาคารกลางของแต่ละประเทศหรือกับ IMF เอง

 

ปัจจุบัน SDRs คำนวณขึ้นจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเงินของประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการสูงที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา 43% เยอรมนี 19% ญี่ปุ่น 15% อังกฤษ 13% ฝรั่งเศส 10% (ซึ่งเป็นข้อมูลก่อนปี 1999 http://en.wikipedia.org/wiki/Special_Drawing_Rights ) มูลค่าของ SDRs จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ตามสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกของประเทศทั้งห้า นอกจากนี้ IMF ยังกำหนดให้มีการคำนวณดอกเบี้ยสำหรับ SDRs โดยวิธีการถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินตรา 5 สกุลที่ใช้คำนวณ SDRs

 

ในปี ค.ศ. 1978 ประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ทำการตกลงเพื่อปรับระบบการทำงานของกองทุนฯ โดยกำหนดให้ SDRs เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และลดบทบาทของทองคำโดยยกเลิกค่าแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ และยกเลิกการโอนทองคำระหว่างประเทศสมาชิก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แค่ต้นปี ธนาคารกลางแต่ละประเทศซื้อทองเยอะขนาดนี้ แล้วปลายปีจะเหลือให้ซื้อเท่าไหร่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประวัตศาสตร์อัตราแลกเปลี่ยน เงินพดด้วง กับ ทองคำ ยุครัตนโกสินทร์

 

ในรัชกาลที่ 4

เงินพดด้วง(Silver)น้ำหนัก 1 บาท (15 กรับ) จำนวน 16 ก้อนแลกกับ พดด้วงทองคำน้ำหนัก1บาทได้เพียง 1 ก้อน (ข้อมูลจาก ปัญญาไทย)

 

 

 

สมัยรัชกาลที่ 5

ทองคำบาทละ 23 บาท

ในขณะที่มีการผลิตเหรียญกษาปณ์เงิน 1 บาทน้ำหนัก 15 กรัม

(ตรงกับช่วงที่มหาอำนาจอังฤษ ประกาศให้ มีการใช้ มาตรฐานทองคำ ทดแทนมาตรฐานเงิน silver เพราะอังกฤษไม่มีเหมืองเงิน)

 

ข้าวแกง และ ขนม คิดเป็นสตางค์อยู่เลย

 

ต่อมา ทองคำบาทละ 400 เมื่อไหร่ไม่รู้ รู้แต่ก๋วยเตี๋ยวชามละบาท

 

ต่อมา ทองคำบาทละ 4,000 เมื่อไหร่ไม่รู้่อีกเช่นกัน (อยากรู้ไปค้นหาเอาเอง หาเจอแต่ขี้เกียจแปะ) ข้าวแกงจานละ 10 บาท

 

มาบัดนี้ ทองคำบาทละ 20,000 กว่าบาท (ข้างแกง 40-50 ไปแล้ว)

 

เทียบอัตราส่วนค่าขนม ค่าอาหาร ในแต่ละช่วงเวลาพบว่าอัตราส่วนใกล้เคียงกันมาก

 

ระหว่างดัชนีข้าวแกง กับ ทองคำหนึ่งบาทที่ 400 จานต่อ บาททองคำ

 

ไม่เหมือนหุ้น บริษัทเจ๊งเมื่อไหร่ มูลค่าเหุ้นมีค่าเกือบศูนย์บาท

 

นี่ล่ะค่ะ ถึงจะเรียกว่า "ราคาที่แท้จริงของทองคำ"

 

ตอนเราเรียนจบ ทองคำบาทละ 8,000 ข้าวแกงจานละ 20 บาท ไปชวนคุณแม่เปลี่ยนเงินเก็บเป็นทองคำ

คุณแม่ร้อง อ๊าย ทองแพงจะตาย ซื้อเข้าไปได้ยังไง ตอนแม่เรียนจบ ทองบาทละ 400 เอง (ก๋วยเตี๋ยวชามละบาท)

 

หลังจากนั้น เราพากเพียรชวนคุณแม่ซื้อทองอยู่อีกหลายสิบครั้ง คำตอบที่ได้ยินทุกครั้ง คือ "ไม่ซื้อ ทองแพงไปแล้ว"

ตอนทองบาทละ 14,000 แม่เร่งเรายิกๆ ให้เรารีบขายทองที่เราซื้อไว้ พอเห็นเราไม่ยอมขายเอง ก็มีการแอบเอาทองรูปพรรณที่เราฝากไว้เพราะไม่ใส่ไปขายหน้าตาเฉย

พี่สาวก็โดนหางเลขแรงตื๊อ หอบเอาทองที่เราให้ซื้อเก็บไว้ตอนบาทละ 12,300(ข้าวแกงจานละ 30 บาท)ไปขายอีกคนทั้งๆ ที่ไม่ได้ต้องการเงินเลย

 

พอราคาทองมาถึงบาทละ 16,000-17,000 เราเข้าซื้อเพิ่มอีก แม่เริ่มว่า เราโง่ ปล่อยให้ทองแท่งนอนแน่นิ่งอยู่ในเซฟ ได้กำไรบาทละเกือบ 5,000 ดันไม่ขาย กลับไปซื้อเพิ่มอีก (ที่จริงเราขายตั๋ว 965 เล่นรอบอยู่บ้าง แต่ไม่ขายพอร์ตหลัก)

แม่ว่า "เดี๋ยวทองตกลงไปถึงบาทละ หกเจ็ดพันแล้วจะรู้สึก"

 

สงสัยแม่คงได้อ่านหนังสือ "ลับเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง"

:lol: :lol: :lol:

แซวเล่นขำๆ นะคะ

 

เราชวนคุณแม่ซื้อทองสำเร็จตอนที่ทองบาทละ 19,400 ข้าวแกงจานละ 40-50 บาท

แล้วแม่ก็บ่นว่า ทองนี่ก็แพงเอาๆ ตอน 19,000 ก็ว่าแพงจะตายแล้วนะ ยังจะขึ้นไป 22,000 อีก

"รู้งี้ ตอนเริ่มทำงานซื้อเก็บๆ ไว้ก็ดีหรอก ทองบาทละ 400 เอง" :D

 

+1 ให้คุณเหมียวโจ กับความรู้เรื่อง Rattanakosin Gold/Silver Ratio และ ดัชนีข้าวแกง 400 จานต่อบาททอง อันศักดิ์สิทธิ์

แอบหวังว่า Rattanakosin Gold/Silver Ratio=16 จะกลับมาเป็นจริงอีกครั้ง หลังจากเราเข้าตุน silver ได้เต็มพอร์ตแล้ว

ถูกแก้ไข โดย ทัมจัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เท่่าที่สืบค้นมา สมัยก่อนหน้านั้น เฉพาะบางพื้นที่ในสยามประเทศแถวเชียงแสนที่มีัทองคำเยอะ

 

มีการกำหนด ทองคำเนื้อเก้า(บริสุทธิ์สูง เนื้อทองสีแสด) น้ำหนัก 1 บาท ราคา 9 บาท !45

 

 

 

หลังจากเจอกับระบบ Gold Standard จากที่ปรึกษาชาวอังกฤษหลอกปั่นหัว

 

จากทองคำบาทละ 6-9 กลายมาเป็นบาทละ 21 !!!

 

 

อ่านไปก็ตาแฉะ เรื่องค่าเงินบาทสมัย ร.5 มักถูกที่ปรึกษาฝรั่งอังกฤษจูง !45

 

โดยอิงจาก เหรียญทองคำ 1 pound เป็นมาตรฐาน

 

1 pound = 19.619 g.

1 baht = 15.244 g.

 

ระยะหลังมีการตรากำหนด

 

โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศกำหนด

 

"ค่าทองคำ" ของเงิน 1 บาทให้มีค่าเท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก 55.8 เซนติกรัม

 

ดังนั้นทองคำ น.น. 1 บาท (15.224 กรัม) = 15.224g/0.558g = ปัดเศษเป็น => 28 บาทเหรียญเงิน Silver

 

ไปอ่านได้ใน !45

 

การลดค่าเงินบาทในอดีตของไทย การลดค่าเงินคือการถูกทำโทษ

นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2527)

ถูกแก้ไข โดย Meaw_Joe

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้สึกคุ้นๆ ว่าเมืองไทยก็มีเหมืองทองคำอยู่นะคะ ถ้าได้ยินมาไม่ผิดคนที่เป็นเจ้าของคือ ออสเตรเลีย :angry: บ้านเราขายทุกอย่างค่ะ นักการเมืองขี้โกงแก้กฏหมายให้ต่างชาติได้ประโยชน์ แม้กระทั่งที่ดินทำกิน ตอนนี้ไปดูตามต่างจังหวัด แหล่งปลูกข้าวหลายแห่งเป็นของต่างชาติ แต่คนไทยถูกจ้างให้ปลูกแล้วส่งข้าวกลับไปประเทศเค้า เห็นแล้วเศร้าใจค่ะ ง่ายๆ ตอนนี้แบงค์ใหญ่ๆ เป็นของต่างชาติหมดแล้วมั๊ง เค้าถือหุ้นเยอะ ปตท เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ต่างชาติก็ถือหุ้นเยอะ หลายคนดีใจว่าหุ้นไทยมีนักลงทุนต่างชาติ(เอากระดาษ)เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะ bluechip หารู้ไม่ว่าโดน take over พวกเราเลยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารแพง ใช้น้ำมันแพง ทั้งที่อ่าวไทยก็มีน้ำมัน มีกาซธรรมชาติอยู่ เฮ้อ.... :(

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:D :D :D :D

สวัสดีครับ คุณแน๊ก และ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

 

น่าดีใจจังเลยครับที่ เพื่อนๆพยายามหาสาเหตุ หาเหตุผล มาสนับสนุน การลงของทองและ แร่เงิน

 

บ้างก็ตกใจ(เพราะอยู่ดอย) บ้างก็ดีใจ(เพราะจะได้ของถูก) นานาจิตตัง

 

สติครับ พยายามมีสติไว้ แล้ว มาดูว่า เราลงทุนแบบไหน ระยะสั้น กลาง ยาว

 

เมื่อมีสติ ก็จะสามารถ จัดการกับวิธีการลงทุนของเราได้ถูกต้อง ว่าควรทำอย่างไร

 

เล่นระยะสั้น ทำอย่างไร ระยะกลาง ทำอย่างไร ระยะยาว ทำอย่างไร

 

เมื่อมีสติ เราก็จะมั่นใจการลงทุนของเรา ไม่ ว๊อกแว๊ก ทำตามวิธีที่เรา กำหนดไว้

 

 

มันเป็นเรื่อง ธรรมชาติ ราคาย่อมมีขึ้น - มีลง ขอให้เรามี สติ

 

 

สติ สติ สติ สติ สติ สติ สติ สติ สติ สติ

 

ขอให้สมหวังร่ำรวยทุกคนครับ

 

 

:P :P :P :P :P :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เส้นเดียวครับถ้าไม่มี newlow เส้นนี้ใช่เลย

post-3250-019948400 1305857807.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทความนี้น่าสนใจครับ

บอกว่าโป๊งเหน่งน่าจะยังไม่ใช้ QE 3 เพราะต้องการให้ ตลาดหุ้นล่มอีกครั้งก่อน เมื่อตลาดล่ม จะลากราคาคอมโมลงมาด้วย

ทำให้ดูเหมือนว่ากดภาวะเงินเฟ้อลงได้ เมื่อลงได้ที่แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะช่วยตลาดหุ้น โดยการทำ QE 3 โดยไม่ถูกด่า

555 ถ้ามีแผนแบบนี้ละก็ หมู่เฮารัดเข็มขัดที่นั่งให้แน่นๆ เตรียมตัวเจอรถไปเหาะตีลังกาcool.gif

http://www.zerohedge...e-another-crash

 

 

ของคุณจิมมี่ครับ

Jimmy Siri ขา L ที่รอดูคือที่ $1507 แล้วไปต่อที่ $1515-$1520 ตามลำดับ แต่ดูเหมือนเวลาใกล้จะหมดแล้วครับ คิดซะว่า Option ปิดวันสุดท้าย 25 ต้องหัก เสาร์-อาทิตย์ออก จึงเหลือจริงๆเพียงวันนี้ คือวันศุกร์-จันทร์-อังคาร

 

ลองคิดว่าคืนนี้ออกได้ทั้งหัวและก้อยครับ แต่ผมให้น้ำหนักไปทางลงมากกว่า เพราะการทุบคืนนี้ขณะที่ตลาดอื่นๆปิดหมดแล้ว ง่ายกว่าที่จะไปทุบวันจันทร์-อังคาร ที่ยังเป็นวันทำการ ที่มีขาช้อนรออยู่

 

อย่าชะล่าใจครับ ว่าเค้าทุบไม่ค่อยลง นั่นก็เพราะเค้ายังไม่ทุบนั่นเอง ก่อนที่ Silver จะถูกทุบลงไปกองแน่นิ่งในรอบที่ผ่านมา กราฟสวยกว่าทองคำตอนนี้เยอะครับ ตอนนั้นผมก็อ่านได้แบบนี้เลยว่าทุบไม่ลง 555+ .....สุดท้าย ถ้าเค้าจะเอาให้ลง เดี๋ยวเค้าหาวิธีให้เราเองครับ ส่วนเราเตรียมพร้อมรับมือ รออ่านทิศทางแล้วทำกำไรดีกว่า :)

 

รอดูช่วงพักเบรคของฮ่องกงวันนี้ครับ ถ้าเค้าดึงลงให้แดงได้ นั่นก็เป็นสัญญานตัวนึงให้ระวังครับ แล้วถ้ายิ่งดึง "วืด" ลงไปเลยลึกๆ แล้วฮ่องกงกลับมาช้อนขึ้น ใส่รองเท้าแล้วเตรียมเผ่นได้เลยคร๊าบบบ ผมอาจจะวิ่งนำไปก่อนแล้ว ...555

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้สึกคุ้นๆ ว่าเมืองไทยก็มีเหมืองทองคำอยู่นะคะ ถ้าได้ยินมาไม่ผิดคนที่เป็นเจ้าของคือ ออสเตรเลีย :angry: บ้านเราขายทุกอย่างค่ะ นักการเมืองขี้โกงแก้กฏหมายให้ต่างชาติได้ประโยชน์ แม้กระทั่งที่ดินทำกิน ตอนนี้ไปดูตามต่างจังหวัด แหล่งปลูกข้าวหลายแห่งเป็นของต่างชาติ แต่คนไทยถูกจ้างให้ปลูกแล้วส่งข้าวกลับไปประเทศเค้า เห็นแล้วเศร้าใจค่ะ ง่ายๆ ตอนนี้แบงค์ใหญ่ๆ เป็นของต่างชาติหมดแล้วมั๊ง เค้าถือหุ้นเยอะ ปตท เอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ต่างชาติก็ถือหุ้นเยอะ หลายคนดีใจว่าหุ้นไทยมีนักลงทุนต่างชาติ(เอากระดาษ)เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะ bluechip หารู้ไม่ว่าโดน take over พวกเราเลยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารแพง ใช้น้ำมันแพง ทั้งที่อ่าวไทยก็มีน้ำมัน มีกาซธรรมชาติอยู่ เฮ้อ.... :(

 

 

โดน :mad:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลิ้่งค์จากเว็บ Zerohedge ครับ เป็นบทความเรื่อง Game Over

http://www.docstoc.com/docs/79962731/2011-05-Game-Over-_China_

 

เนื้อหาโดยรวมมองว่าหมดรอบ..... ของการขึ้นสำหรับทุกอย่างครับ

หุ้นจะลง

commodities ทุกตัวจะลง

 

เขามองตรงข้ามกับเราโดยสิ้นเชิงครับ (พักหลังมาเห็นบทความทำนองนี้มากขึ้นจริงๆ)

เขามองว่าโอกาศเกิด Inflation รุนแรงนั้นน้อยมาก แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดคือ deflation (ราคาของถูกลง) และ depression หรือถดถอยอย่างรุนแรง

โดยวิเคราะห์จากปัญหาที่กำลังเกิดในสหรัฐตอนนี้ เช่นเรื่องหนี้สิน การจ้างงาน ที่มีปัญหาจะทำให้กำลังซื้อหายไปทั้งระบบ

การอัดฉีดเงินของ Fed ก็ดูเหมือนจะเพิ่ม inflation เพราะคนเชื่ออย่างนั้น แต่ความจริงปริมาณเงินในระบบไม่ได้เพิ่ม :unsure: :unsure: เพราะอัตราการปล่อยกู้อยู่ในระดับต่ำ

อีกทั้งมีกราฟความสัมพันธ์หลายอัน ที่แสดงถึงแนวโน้มว่ามีโอกาสที่การวิ่งขึ้นของ commodity รอบนี้จบรอบแล้วเหมือนกันครับ

ปัญหาหนี้สินของสหรัฐ เขาก็มองว่าไม่เป็นปัญหา เพราะความสามารถในการพิมพ์เงินขึ้นมาใช้จากอากาศของสหรัฐนั่นเอง

ฯลฯ

 

มีอีกเยอะเลยครับ อยากให้อ่านกันเยอะๆ และ มาช่วยถกกันครับ

ดูเหมือนว่าเขามีหลักการมาอธิบายแย้งกับความเชื่อของเราได้มากทีเดียวครับ

 

ด้วยความรู้ที่คืนอาจารย์ไปแทบหมดแล้วของผม มีหลายประเด็นเหมือนกันที่อ่านแล้วยังงงๆ !45 !45

อยากรบกวนคุณ next ช่วยดู และ comment ให้ด้วยครับ !01 !01

ถูกแก้ไข โดย JohnCM

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...