ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอโทษครับ ไม่ทราบว่าตอนนี้มันเกิืดอะไรขึ้น(ฟระ) เนี่ยครับ ไหงอยู่ดีๆ ทองมันพุ่งเป็นจรวดแบบนี้นะครับ

 

!_00 !_00 !_00

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้ละ ข่าวม้าเร็วจาก ZeroHedge ครับ

 

http://www.zerohedge.com/news/fed-dove-evans-open-mouth-demands-more-qe-gold-surges-40

 

ขอ QE เพิ่มหน่อยก้าบ!!!!

 

Fed Dove Evans Open Mouth, Demands More QE, Sends Gold Soaring

 

ระวังหมึกขาดตลาดน้า !17

 

"Who would think that all it takes for gold to surge by $40 in under an hour is for the Fed to resume the old song and dance. Yet that is precisely what happened: ever since Chicago Fed president Evans sat down with Steve Liesman to discuss that he would be in favor of more easing, and saying he believes in "room for accommodation" and that we "still need to do more on monetary policy", gold soared from under $1790 to over $1830. And confirming that gold will go far higher is his statement that "Fed policy was not a driver of the commodity price surge." In other words, these buffoons have not learned anything, and the commodity price shock is coming. However, as usual, it will be blamed on speculators. Luckily the CME can hold them in their tracks with a relentless series of margin hikes. Or not. When will the CME finally hike margins on printer toner cartridges?"

 

gold%208.30.jpg

 

 

 

ว่าแต่....ไหนว่าทุบไงฟระ ของถูกหนูละ

!_04 !_04 !_04

 

ลองมาให้เก็บซักนิดก่อนเถ้อะ

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

MOSCOW Aug 30 (Reuters) - London-listed Russian gold producer Polyus Gold International on Tuesday offered to buy back shares from minority shareholders at 1,900 roubles per share, sending the company's shares higher.

 

The company, controlled by businessmen Mikhail Prokhorov and Suleiman Kerimov, said it had offered to buy out over 20 million of its shares.

 

Polyus offered the buyout after its merger with KazakhGold miner. KazakhGold and Polyus Gold completed their combination on July 26, 2011, as a result of which KazakhGold acquired 89.14 percent of Polyus Gold and was renamed Polyus Gold International.

 

The buyout was priced at a premium of 3.7 percent to Polyus' latest share price in Moscow of 1,838 roubles. That represented a gain of 3.8 percent on the session.

 

----------------

 

อันนี้อีกข่าวครับ ส่งราคากันใหญ่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรียนถามคุณ toffee blue ครับ ถ้าสมมุติว่าขณะที่เรายังถือ L ตามระบบอยู่ แล้วเกิดลักษณะของ premium ที่สูงเกินไป เราจะพิจารณาทำ arbitrage อย่างไรครับ ขอบพระคุณครับ

 

อีกนิดนะครับ คุณ toffee blue ที่บอกว่าเวลา premium สูงไม่น่าซื้อ อันนี้หมายความว่าไม่ควรเข้าซื้อเพิ่ม รวมถึงเข้าใหม่ด้วยใช่ไหมครับ ขอบพระคุณครับ

 

 

คือผมเล่นแบบระยะยาวคือถือไปเรื่อยๆ จนหมดสัญญาน่ะครับ ถ้าเป็นผม ผมก็ถือต่อไปเรื่อยๆแหละ แต่ถ้าคุณเห็นว่ากำไรเยอะแล้ว ก็ปิดสัญญาทำกำไรไปก่อนก็ได้

 

ส่วนการทำ arbitrage ที่ผมบอกนี่ผมก็กันเงินออกมาอีกส่วนเลยครับ แล้วไปเปิด S กับพอร์ทอีกบริษัทนึง (เพราะไม่อนุญาตให้เปิดทั้ง L และ S ในซีรี่ย์เดียวกันในพอร์ทเดียวกันได้)วิธีทำก็อธิบายไปแล้วนะครับ

 

ส่วนที่ถามว่า เวลา premium สูงไม่น่าซื้อ อันนี้หมายความว่าไม่ควรเข้าซื้อเพิ่ม รวมถึงเข้าใหม่ด้วยใช่ไหมครับ

 

สำหรับผมแล้วใช่ครับ เพราะหมายความว่าเราซื้อแพงกว่าของจริงไปเยอะ กำไรที่จะได้เมื่อหมดสัญญาก็น้อยลง แถมตอนราคาลงนี่ขาดทุนจาก premium ที่ลดลงเยอะอีกต่างหาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าซื้อไม่ได้นะครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เดี๋ยวจะมาโทษว่าผมทำตกรถไม่ได้นะครับ :lol:

 

ที่ว่ามานี่สำหรับ GF นะครับ ถ้าเป็นทองแท่งแนะนำเหมือนคุณเน็กซ์ ทยอยสะสมได้ทุกราคา ซื้อเพิ่มเมื่อเค้าลดราคาให้ ยังไงระยะยาวก็เป็นขาขึ้นครับ :upstrong:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คือผมเล่นแบบระยะยาวคือถือไปเรื่อยๆ จนหมดสัญญาน่ะครับ ถ้าเป็นผม ผมก็ถือต่อไปเรื่อยๆแหละ แต่ถ้าคุณเห็นว่ากำไรเยอะแล้ว ก็ปิดสัญญาทำกำไรไปก่อนก็ได้

 

ส่วนการทำ arbitrage ที่ผมบอกนี่ผมก็กันเงินออกมาอีกส่วนเลยครับ แล้วไปเปิด S กับพอร์ทอีกบริษัทนึง (เพราะไม่อนุญาตให้เปิดทั้ง L และ S ในซีรี่ย์เดียวกันในพอร์ทเดียวกันได้)วิธีทำก็อธิบายไปแล้วนะครับ

 

ส่วนที่ถามว่า เวลา premium สูงไม่น่าซื้อ อันนี้หมายความว่าไม่ควรเข้าซื้อเพิ่ม รวมถึงเข้าใหม่ด้วยใช่ไหมครับ

 

สำหรับผมแล้วใช่ครับ เพราะหมายความว่าเราซื้อแพงกว่าของจริงไปเยอะ กำไรที่จะได้เมื่อหมดสัญญาก็น้อยลง แถมตอนราคาลงนี่ขาดทุนจาก premium ที่ลดลงเยอะอีกต่างหาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าซื้อไม่ได้นะครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เดี๋ยวจะมาโทษว่าผมทำตกรถไม่ได้นะครับ :lol:

 

ที่ว่ามานี่สำหรับ GF นะครับ ถ้าเป็นทองแท่งแนะนำเหมือนคุณเน็กซ์ ทยอยสะสมได้ทุกราคา ซื้อเพิ่มเมื่อเค้าลดราคาให้ ยังไงระยะยาวก็เป็นขาขึ้นครับ :upstrong:

 

ขอบพระคุณครับ ตอนนี้กำลังศึกษา ครับ ยังไม่ได้สงสนามจริง คาดว่าจะ ลงทั้ง GF สัญญาเล็ก 2 สัญญา และแบ่งอีกส่วนซื้อ ออมทองไปด้วยทุกเดือน (พอดีงบน้อยหน่ะครับ T.T)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

d582d79f.gifไม่รู้จะลาก.... กันก่อนลงหรือปล่าว

 

098eb4a5.gifแต่ถ้ายังไง ลงรอหนูตอนสิ้นเดือนไม่ได้หรือคะem309.gif หนูเตรียมตัวไว้ตอนสิ้นเดือนอะe111de78.giff60952e1.giff60952e1.gifไม่เคยจะทันสักที

 

ถ้าลากอย่างนี้ พรุ่งนี้ จะไปเท่าไหร่ละนี่0eeeff42.gif0eeeff42.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่าจะเป็นว่า ระดับเสี่ยไม่สนใจเรื่องราคาอยู่แล้ว ซื้อแล้วราคาย่อก็แค่ขาดทุนกำไรนิดหน่อยเพราะราคาย่อ ระดับเสี่ยไม่คิดเล็กคิดน้อยกับกำไรแล้ว สะดวกและพร้อมเสี่ยลุยเลย

 

กร๊าก ไม่ใช่แบบน๊าน จริงๆแล้วก็คือรู้ว่ามันเป็นขาขึ้น ยิ่งซื้อช้าก็ยิ่งได้ของแพงต่างหากครับ tongue.gif

 

มีเรื่องเล่าจากร้านทองให้ฟังครับ laugh.gif

อาแปะอาอึ้มตอนทองราคา 2 หมื่นพูดว่า "หมอโบ้ย ค่ะกุ่ย"(ไม่ควรซื้อ แพงเกินไป)แล้วก็ไม่ซื้อ

แต่พอทองขึ้นไป 26900 แล้วลงมา 25000 ทั้งสองรีบไปซื้อทอง แล้วพูดว่า "พีซี่"(ถูกตายห่า) 70bff581.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นอีกหนึ่งคลิปที่ ไม่กล้าแปล laugh.giflaugh.giflaugh.gif

 

Rachel : How do you expect me do grow, if you won't let me blow?

 

b048a2d2.gifb048a2d2.gifb048a2d2.gif

 

ชอบดู Friends มากครับ

 

ตอนนี้ทองลง ทำให้เซ็งๆ ซื้อก่วยเตี๋ยวได้แค่ 400 ชามแบบคุณ leo ว่า

เลยเอาคลิปนอกเรื่องขำๆมาให้คุณ wcg หรือคุณ จอห์นก็ได้นะครับช่วยแปลให้ด้วย อิอิ แก้เซ็ง(ไม่รู้ว่าได้ดูหรือเปล่าหรือดูแล้วลืมไปแล้ว)

จากซีรี่ย์สุดฮิตเรื่องเฟรนด์ ชื่อตอน stealing wind ซึ่งในเรื่องหมายถึงว่าการที่เราถูกใครมากำหนดชีวิตของเรา

เขาต้องการให้เป็น Be your own wind keeper คือกำหนดชีวิตตัวเอง

 

http://www.youtube.com/watch?v=01NEwRnac9g&feature=player_detailpage

 

ปล. ถ้ารกกระทู้ขออภัยครับ เล่นกันสนุกๆแก้เซ็งเท่านั้นเอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อนาคตอเมริกาและยุโรป

คอลัมน์ คนเดินตรอก : ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 

ข่าวเรื่องรัฐสภาสหรัฐอเมริกาเล่นการเมืองก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปลายปีหน้า ก่อให้เกิดข่าวลือว่าสหรัฐจะไม่มีงบประมาณจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล เพราะรัฐสภาไม่ยอมให้ขยายเพดานเงินกู้

 

รัฐบาลกลางสหรัฐได้ออกพันธบัตรกู้เงินจากประชาชนและชาวโลก ทั้งที่เป็นธนาคารกลาง สถาบันการเงิน บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก จนไม่มีเงินมาชำระดอกเบี้ยและเงินต้น เพราะรัฐบาลสหรัฐใช้วิธีกู้หนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่า รวมทั้งเอามากินเอามาใช้ในส่วนที่รายได้มีไม่พอจ่าย

 

อเมริกาก็เหมือนกับครอบครัวพระยาที่มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะสมาชิกในครอบครัวไม่มีฝีมือ สู้บ้านอื่นเขาไม่ได้เพราะเป็นครอบครัวที่ร่ำรวยมานาน เลยเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ สู้เถ้าแก่ทั้งหลายที่อยู่ห้องแถวหน้าบ้านไม่ได้ ลูกหลานเถ้าแก่ห้องแถวขยันทำงาน ฝีมือก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำมาค้าขายกำไรทุกปี ลูกหลานมีการศึกษาไม่เหมือนรุ่นอากง อาม่า หอบเสื่อผืนหมอนใบมาทำงาน

 

บัดนี้ บ้านพระยาก็มากู้หนี้ยืมสิน เอาทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นใบหุ้น พันธบัตรโรงงาน เรือกสวนไร่นามาจำนองกับ เถ้าแก่ห้องแถวที่เคยยากจนและถูกผู้คนที่บ้านพระยาดูหมิ่นมาตลอด

 

ขณะเดียวกัน สมาชิกในบ้านพระยาก็จมไม่ลง ยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอยู่เหมือนเดิม หัวหน้าครอบครัวก็ไม่เข้มงวดให้สมาชิกในบ้านทำงานให้หนักขึ้น หา รายได้ให้มากขึ้น ลดรายจ่ายลง ลดภาระความเป็นอยู่ในครอบครัวให้ฟุ่มเฟือยน้อยลง ยอมทำงานหนักขึ้น และรับค่าจ้างน้อยลง แต่กลับยอมว่างงานไม่ทำอะไรมากขึ้นเรี่อย ๆ

 

พระยาหัวหน้าครอบครัวก็ใช้วิธีกู้หนี้ใหม่ ส่วนหนึ่งเอามาใช้ต้นและดอกเบี้ย ส่วนหนึ่งเอามาอุดส่วนที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ หนี้สินมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่จะเท่าเดิมหรือน้อยลงกว่าเดิม

 

เมื่อแม่บ้านหรือรัฐสภาประกาศว่าจะไม่ให้พ่อบ้านกู้หนี้ยืมสินมากขึ้น หรือเพิ่มเพดานเงินกู้ให้พ่อบ้าน เจ้าหนี้ทั้งหลายก็แตกตื่นเตรียมมาทวงหนี้กันยกใหญ่ ราคาทรัพย์สินของบ้านพระยาจึงตกระเนระนาด

 

ที่จริงแล้วรัฐสภาอเมริกาไม่มีทางเลือก อย่างไรเสียก็ต้องอนุมัติ รัฐบัญญัติเพิ่มเพดานเงินกู้ให้รัฐบาลสหรัฐ ธนาคารกลางก็ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25 เปอร์เซ็นต์ไปอีก 2 ปี

 

เมื่อรัฐสภาเล่นการเมือง ว่ารัฐสภาอาจจะไม่อนุมัติเมื่อครบกำหนด 2 ปี สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ คือบริษัทมาตรฐานและยากจน (S&P) ก็ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศลงทันที บริษัทจัดอันดับอื่น ๆ แม้ยังไม่ลดก็เตรียมจะลดอันดับของอเมริกาลง

 

เมื่อเครดิตของประเทศลดลง ก็มีกฎอยู่ว่าเครดิตของทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้น จะมีสูงกว่าเครดิตของประเทศไม่ได้ บรรดาทรัพย์สินทางการเงินที่สืบเนื่องมาจากราคาของสังหาริมทรัพย์และอสังหา ริมทรัพย์ ราคาก็ลดลงทันที รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐด้วย

 

ผลของการลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอเมริกาต่อราคาของทรัพย์สินและค่าเงินดอลลาร์จะมีผลอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจของอเมริกา ซึ่งพอประมวลคร่าว ๆ ได้ดังนี้

 

ผลต่อราคาทรัพย์สมบัติที่สะสมมากว่า 300 ปีที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "wealth" กล่าวคือทรัพย์สินทุกอย่างที่คนอเมริกันถืออยู่ราคาลดลงเหมือนกับเวลาที่ดัชนีตลาดหุ้นตก เรามักจะนึกถึงมูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นลดลงเท่านั้นเท่านี้แสนล้าน

ชาวอเมริกันทุกคนจะรู้สึกว่าตนเองจนลง ไม่ใช่เฉพาะคนว่างงานเท่านั้นที่รู้สึกว่าตนจนลง

 

เมื่อคนอเมริกันทั้งหมดรู้สึกว่าตนจนลงผลก็คือ ประชาชนจะลดการใช้จ่ายทั้งที่เป็นการใช้จ่ายเพื่อกินเพื่ออยู่และการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลง

 

ผลของการที่คนอเมริกันทั้งประเทศรู้สึกทางจิตวิทยาว่าตนเองจนลง เพราะทรัพย์สมบัติ (wealth) ของตนมีมูลค่าลดลงก็มีผลทำให้เศรษฐกิจหดตัว การว่างงานก็จะยิ่งมากขึ้น โอกาสของการฟื้นตัวของอเมริกาก็จะยิ่งห่างไกลมากขึ้น

 

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะประกาศยืนอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้อีก 2 ปี แต่ดอกเบี้ยพันธบัตรใหม่ของรัฐบาล

 

อเมริกาก็คงต้องขึ้น พันธบัตรเก่าราคาก็ต้องตกเพราะเครดิตถูกจัดให้อยู่ในอันดับต่ำลง

 

แม้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะยังคงซบเซาต่อไป ธนาคารหาคนกู้ไปลงทุนไม่ได้ แต่ดอกเบี้ยก็น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลของการอุตส่าห์เพิ่มปริมาณเงินถึงสองครั้งสองหนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็หมดไป ยุโรปคงจะได้รับผลของการลดเครดิตมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เพราะอเมริกาเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป

 

มีการวิเคราะห์กันไปถึงว่า การตกต่ำทางเศรษฐกิจรอบสองของอเมริกา และยุโรปครั้งนี้ จะทำให้เศรษฐกิจโลกทั้งหมดตกต่ำลงไปด้วย จนกลายเป็นเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก

 

สถานการณ์คงไม่เลวร้ายน่ากลัวสำหรับชาวโลกขนาดนั้น เหตุเพราะในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ความสำคัญของอเมริกาและยุโรปต่อเศรษฐกิจโลกได้ ลดลงไปอย่างมาก ดูอย่างประเทศไทย ตลาดอเมริกาและยุโรปเคยเป็นตลาด ส่งออกที่สำคัญของไทย ทั้งสองตลาดรวมกันเคยนำเข้าสินค้าและบริการของเราคิดเป็นร้อยละ 45-50 ของการส่งออกของเรา เดี๋ยวนี้ทั้งสองตลาดรวมกันมีเพียงร้อยละ 20-25 เท่านั้นเอง

 

ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาและยุโรปไม่ขยายตัวเลย แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน หรือที่เรียกว่า BRIC ขยายตัวในอัตราที่สูงอยู่พอสมควร การขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็คงพอจะพยุงเศรษฐกิจของโลกไว้ อย่างน้อยก็ไม่ถึงกับขั้นหดตัว เหมือนกับคราวที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ "Great Depression" เมื่อปี พ.ศ. 2473 แต่ก็คงไม่ดีเท่า 4-5 ปีที่ผ่านมา

 

ผลของการที่คนอเมริกันและยุโรป รู้สึกว่าตนจนลง ทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนอเมริกันและยุโรปลดลง น่าจะทำให้ราคาพลังงานลดลง ราคาน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก ทองแดง และอื่น ๆ น่าจะลดลง เพราะความต้องการพลังงานในอเมริกาและยุโรปน่าจะลดลง แต่ไม่น่าจะลดลงอย่างฮวบฮาบเหมือนในปี 2529-2530 เพราะขณะที่ประชาชน ในอเมริกาและยุโรปรู้สึกจนลง คนในประเทศ BRIC ก็กำลังรู้สึกว่าตน รวยขึ้น เพราะรายได้ของตนสูงขึ้น การใช้จ่ายโดยทั่วไปและการใช้พลังงานก็คงมากขึ้นด้วย แต่คงไม่มากขึ้นเท่ากับการ ลดลงของการใช้พลังงานในอเมริกาและยุโรป ยอดรวมสุทธิของการใช้พลังงานของโลกน่าจะลดลง ดังนั้นราคาพลังงานน่าจะลดลง ราคาพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันที่ผ่านมาเกินกว่า 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลน่าจะเป็นราคาสูงสุดแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นราคาโลหะ แร่ธาตุ ยกเว้นทองคำก็น่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ส่วนราคาทองคำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทองคำไม่ได้เป็นโลหะเท่านั้น แต่เป็นเงินตราระหว่างประเทศ และเป็นเครื่องมือในการออมชนิดหนึ่งด้วย เมื่อเงินดอลลาร์และเงินยูโรราคาตก ทองคำราคาก็คงจะขึ้นต่อไป

 

ราคาพลังงานแร่ธาตุต่าง ๆ น่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ต่อไปนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ก็น่าจะเป็นขาลง เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เป็นขาลง ความกดดันเรื่องเงินเฟ้อของโลกก็น่าจะเป็นขาลงตามไปด้วย

 

ผลของการลดอันดับเครดิตของ อเมริกาและยุโรป ซึ่งเริ่มไปหลายประเทศในยุโรปแล้ว น่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของโลกในระยะยาวกล่าวคือ จะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆ และของโลกมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่อเมริกาพูดอยู่ตลอด

 

โครงสร้างทางการค้าระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก ยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นไปตามกระบวนการที่อเมริกาต้องการ ที่อเมริกาต้องการก็คือประเทศต่าง ๆ ต้องซื้อของอเมริกาและยุโรปเพิ่มขึ้น โดยให้ค่าเงินเอเชียแพงขึ้น อเมริกาและยุโรปจะได้ไม่จนลง แต่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ อเมริกาและยุโรปจะซื้อของหรือนำเข้าน้อยลง หรืออย่างน้อยก็ชะลอลงเพราะคนอเมริกันและยุโรปคิดว่าตนจนลง เพราะมูลค่าทรัพย์สมบัติกับรายได้ลดลง การว่างงานมากขึ้น

 

ส่วนที่หลายคนคิดว่าเงินดอลลาร์จะมีมูลค่าลดลงจนหมดความน่าเชื่อถือ กลายเป็นเศษกระดาษ ไม่น่าจะต้องกลัวขนาดนั้น เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีเงินตราสกุลใดที่เป็นที่ยอมรับและมีปริมาณมากพอที่ชาวโลกจะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ใช้เป็นเครื่องวัดมูลค่าของทรัพย์สิน ใช้เป็นสำรองเพื่อความมั่นคงในอนาคต และใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร เมื่อความต้องการยังมีเหลือ เฟือ แม้อุปทานของดอลลาร์จะเพิ่มขึ้น ราคาก็จะลดลงแต่ไม่หมดค่าหรือเลิกใช้หันไปใช้เงินสกุลอื่นแทน อย่างน้อยก็อีก 10-15 ปีข้างหน้า

 

การที่เครดิตของอเมริกาและยุโรป ถูกจัดให้ต่ำลง ผลต่อโลกจึงมีกว้างขวางกว่าที่เขียน ๆ กันในสื่อมวลชน ตะวันตกเป็นอันมาก น่าจะเป็นผลดีต่อชาวโลกในระยะยาว แต่ก็คงจะเป็นประสบการณ์ ที่เจ็บปวดสำหรับอเมริกาและยุโรป

 

จำได้เมื่อตอนเราเกิดต้มยำกุ้ง รมต. คลังของอเมริกามาปาฐกถาที่สถาบันศศินทร์ สอนให้เราอดทน "กัดลูกปืน" หรือ "bite the bullet"

 

บัดนี้ อเมริกาและยุโรปต้อง "กัดลูกปืน" บ้างแล้ว เพื่ออนาคตตนเองของชาวโลก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นอีกหนึ่งคลิปที่ ไม่กล้าแปล laugh.giflaugh.giflaugh.gif

 

Rachel : How do you expect me do grow, if you won't let me blow?

 

 

ชอบดู Friends มากครับ

 

 

:lol: :lol: ก๊าก :lol: :lol:

 

เรื่องนี้ผมยังไม่มีโอกาสได้ดูจริงจังซักที

 

พอดีผมเป็นแฟน CSI กับหมอ House ครับ :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:lol: :lol: ก๊าก :lol: :lol:

 

เรื่องนี้ผมยังไม่มีโอกาสได้ดูจริงจังซักที

 

พอดีผมเป็นแฟน CSI กับหมอ House ครับ :D

 

555 รีบไปหามาดูเลยครับ ภาษาดีๆแบบคุณจอห์นรับรองสนุกสาหัสเลยtongue.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจโลก จะแย่แค่ไหน

เศรษฐศาสตร์บัณฑิต : ดร.บัณฑิต นิจถาวร bandid.econ@gmail.com กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554

 

ช่วงสามอาทิตย์นี้ ผมเขียนเรื่องเศรษฐกิจโลกมากหน่อย เพราะว่าสถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างอ่อนไหว และต้องยอมรับว่าไม่น่าไว้วางใจ

 

ล่าสุด อาทิตย์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นก็ปรับตัวลดลง ทั้งในเอเชีย ยุโรป ละตินอเมริกา และสหรัฐ สาเหตุสำคัญ ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าความห่วงใยในปัญหาหนี้ยุโรป โดยเฉพาะหลังการประชุมผู้นำสองประเทศหลัก คือ ฝรั่งเศส และ เยอรมนี เมื่อวันอังคารที่แล้ว ที่การประชุมไม่ได้ให้อะไรเพิ่มเติมกับตลาดว่า นโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรปจะไปต่ออย่างไร อีกสาเหตุหนึ่งก็คือตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของทั้งสหรัฐและเยอรมนี ที่ออกมาไม่ค่อยดี ทำให้ มีคำถามว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งหรือไม่ แต่ที่สำคัญ อาการที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงพร้อมกัน ทำให้ชัดเจนว่า ความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกขณะนี้มีสูง และความไม่แน่นอนสำคัญก็คือ ความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบาย ที่ทำให้นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่า ทางการจะมีความสามารถหรือมีพื้นที่ทางนโยบายพอ ที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่มีอยู่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ และปัญหาหนี้ในยุโรป

 

โดยปกติ เมื่อเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะชะลอ หรือเข้าสู่ภาวะถดถอย ทางการหรือภาครัฐสามารถใช้เครื่องมือด้านนโยบาย อย่างน้อยสี่ด้าน ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านแรก ก็คือ การกระตุ้นโดยการใช้จ่ายของภาครัฐ ผ่านนโยบายการคลัง ด้านที่สอง ก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชน ผ่านนโยบายการเงิน ด้านที่สาม ก็คือ การกระตุ้นผ่านการส่งออก โดยอาศัยค่าเงินที่อ่อน และด้านที่สี่ ก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการบริโภคและลงทุน โดยสร้างความมั่นใจในแนวทางและความตั้งใจที่ทางการจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มาตรการทั้งสี่ด้านนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก เมื่อปี 2008-2009 พิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถมีผลใช้ได้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

แต่เทียบกับสถานการณ์ปี 2008-2009 พื้นที่ด้านนโยบายที่สหรัฐและประเทศในยุโรปมีขณะนี้ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด คือ พื้นที่ด้านนโยบายทั้งสี่ด้าน มีน้อย หรือแทบจะไม่มีเลย

 

ในด้านนโยบายการคลัง ปัญหาหนี้สาธารณะทั้งในสหรัฐ และยุโรป ทำให้ทางการมีข้อจำกัดที่จะใช้การใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มเติมเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะจะหมายถึงการก่อหนี้ที่มากขึ้น ดังนั้น ปัญหาหนี้สาธารณะที่มีอยู่ ทำให้การใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สามารถทำได้คล่องตัวและมาก เหมือนที่ผ่านมา

 

ด้านนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐขณะนี้ต่ำจนใกล้ศูนย์ ขณะที่ในยุโรป อัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ต่ำมาก ทำให้ทั้งในสหรัฐ และยุโรป ไม่มีพื้นที่ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก ทางเดียวที่จะทำได้เพิ่มเติมก็คือ การอัดฉีดเงินเข้าระบบ โดยทำมาตรการแบบ QE (ซื้อตราสารหนี้โดยธนาคารกลาง) ซึ่งในกรณีของสหรัฐ มาตรการ QE ที่ได้ทำไปสองครั้ง ก็ไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ตรงกันข้ามมาตรการ QE2 ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ว่า สร้างผลกระทบข้างเคียงต่อประเทศอื่นๆ ในรูปของเงินทุนไหลเข้า และ การเก็งกำไรในราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ดังนั้น สหรัฐคงต้องพิจารณาการใช้ QE3 อย่างระมัดระวัง ซึ่งผมเองคิดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ ยังไม่ควรทำ อย่างน้อยปีนี้ และควรรอดูตัวเลขเศรษฐกิจให้ชัดเจนก่อน

 

ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน การส่งออกเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยค่าเงินที่อ่อน แต่ขณะนี้จากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ทำให้ทุกประเทศอยากให้ค่าเงินของตนอ่อน เพราะจะช่วยการส่งออก หรือไม่อยากให้ค่าเงินแข็งค่าจนเกินปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้นหลายประเทศจึงได้เข้าแทรกแซง เพื่อป้องกันไม่ให้เงินสกุลของตนแข็งค่ามากหรือเร็วเกินไป การแทรกแซงนี้ทำให้ทั้งเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินยูโร ไม่สามารถอ่อนค่าลงได้มาก ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป

 

ใน ด้านความเชื่อมั่น วิธีเรียกความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในสหรัฐและยุโรปให้กลับมาเร็วที่สุด ก็คือ การมีแผนการแก้ไขปัญหาหนี้ที่จริงจังและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อตลาดว่า ปัญหาหนี้สาธารณะทั้งในสหรัฐ และยุโรป จะสามารถแก้ไขได้ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดขณะนี้ แต่ถ้าความคืบหน้าในเรื่องนี้ไม่มี ความไม่แน่นอนในตลาดก็จะมีอยู่ต่อไป ทำให้ตลาดการเงินจะผันผวนเหมือนที่ผ่านมา แต่อย่างที่เขียนไว้เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว การแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะทั้งในสหรัฐ และยุโรป ณ จุดนี้ไม่ใช่ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นปัญหาทางการเมือง ว่านักการเมืองจะตกลงกันอย่างไร ที่จะผลักดันการแก้ไขปัญหาที่น่าเชื่อถือ และจริงจังให้เกิดขึ้น

 

ข้อจำกัดด้านนโยบายทั้งสี่ด้านนี้ ทำให้ตลาดการเงินขณะนี้ ขาดความมั่นใจว่า ภาคทางการจะมีพื้นที่นโยบายมากพอที่จะแก้ไขปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาหนี้ที่มีอยู่ การปรับลดตัวเลขประมาณการ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของ Morgan Stanley เมื่ออาทิตย์ที่แล้วและของสำนักอื่นๆ ที่จะตามมา ก็สะท้อนความไม่มั่นใจของตลาดในเรื่องนี้

 

คำถามที่ตามมา ก็คือ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น และเศรษฐกิจโลก จะแย่แค่ไหน

 

คำตอบที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของทางการว่าจะเดินต่ออย่างไร ในการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งในสหรัฐ และยุโรป และความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาจะต้องอาศัยความร่วมมือของประเทศอื่นๆ ที่จะเข้าช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีหนี้ และประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ คือ ประเทศที่ลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ และพันธบัตรยุโรป

 

ในกรณีของปัญหาหนี้ยุโรป ภาระการแก้ไข จะตกอยู่กับประเทศที่เข้มแข็งที่สุดในสหภาพยุโรปคือ เยอรมนี ว่าจะเดินต่ออย่างไร รัฐบาลเยอรมนีขณะนี้ มาถึงจุดสำคัญที่ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับภาระการเข้าช่วยเหลือประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีหนี้สูงมากกว่าที่ทำอยู่ขณะนี้หรือไม่ ซึ่งการตัดสินใจนี้จะมีผลอย่างสำคัญต่ออนาคตของระบบอัตราแลกเปลี่ยนยูโร และต่อการคงอยู่ของสหภาพเศรษฐกิจยุโรป

 

ในกรณีของสหรัฐ เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดก็คือ จีน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้ของสหรัฐ จำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือจากจีนในการแก้ไขปัญหา ในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ในพันธบัตรสหรัฐ และในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ ในกรณีที่สหรัฐจำเป็นต้องใช้การส่งออก เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงไม่แปลกใจ ที่รองประธานาธิบดี Joe Biden ต้องไปจีน เพื่อ “กระชับ” ความสัมพันธ์ในการร่วมมือของสองประเทศทางเศรษฐกิจ

 

ดังนั้น เศรษฐกิจโลก จะแย่แค่ไหน คงต้องติดตามนโยบายของทางการที่จะออกมา รวมถึงความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น

 

วันนี้ขอแค่นี้ก่อน พบกันใหม่วันจันทร์หน้าครับ

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

เศรษฐกิจโลก จะแย่แค่ไหน (ภาคสอง)

เศรษฐศาสตร์บัณฑิต : ดร.บัณฑิต นิจถาวร bandid.econ@gmail.com กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2554

 

วันนี้ขอเขียนเรื่องเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง เพราะมีคำถามเข้ามามาก อาทิตย์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโลกดูผันผวนน้อยลง

 

ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีข่าวหรือข้อมูลใหม่ ที่ทำให้ตลาดกังวล แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะตลาดมุ่งความสนใจไปที่การสัมมนาที่ Jackson Hole รัฐ Wyoming ประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงปลายอาทิตย์ ที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ มีคิวต้องพูด ตลาดจึงอยากรู้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะการใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติม เพราะธนาคารกลางสหรัฐ ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจ

 

จากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐพูด เมื่อวันศุกร์ ก็ชัดเจนว่า ธนาคารกลางสหรัฐยอมรับเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวต่ำกว่าคาด แต่จะยังไม่ทำมาตรการการเงินเพิ่มเติมในชั้นนี้ อย่างน้อยจนถึงการประชุมเดือนกันยายน ซึ่งผมเห็นด้วย เพราะสิ่งที่เศรษฐกิจสหรัฐต้องการมากที่สุดขณะนี้ ไม่ใช่สภาพคล่องเพิ่มเติม แต่เป็นการขยายตัวของกำลังซื้อและการใช้จ่ายในประเทศ ที่ยังไม่เข้มแข็ง เพราะปัญหาการว่างงานที่สูง ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ยังไม่ดีขึ้น แรงกระตุ้นทางการคลังที่ลดลง และปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ภาครัฐ ประธานธนาคารกลางสหรัฐพูดชัดเจนว่า นโยบายการเงินมีข้อจำกัดที่จะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่ก็พร้อมที่จะทำมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเศรษฐกิจ

 

ดังนั้น จากนี้ไป ตลาดการเงินโลกคงจะต้องอยู่กับความไม่แน่นอนด้านนโยบายไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งมาตรการการเงินในสหรัฐ และการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสหรัฐ และยุโรปว่าจะเดินต่ออย่างไร ความไม่แน่นอนนี้ ทำให้ตลาดการเงินจะผันผวน และความสนใจของนักลงทุนจะมุ่งไปที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะออกมา ซึ่งการตอบรับของตลาดต่อข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินโลกปรับเปลี่ยนขึ้นลงเป็นช่วงๆ

 

แต่เมื่อนโยบายยังไม่มีอะไรใหม่ สภาพเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐและยุโรปก็คงจะค่อนข้างอึมครึม ทำให้เสถียรภาพตลาดการเงินโลกช่วงจากนี้ไป ก็จะขึ้นอยู่อย่างสำคัญกับความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ และต่อความสามารถของทางการที่จะแก้ไขปัญหา และคำถาม ที่ผมถูกถามมากในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็คือ วิกฤติโลกรอบสองจะเกิดหรือไม่ และถ้าเกิด เศรษฐกิจไทยจะรับมือได้หรือไม่ วันนี้จึงอยากเขียนเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้พวกเรากังวลกันเกินไป

 

ต้องยอมรับว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกขณะนี้ ไม่น่าวางใจ และเป็นสถานการณ์ที่มีโอกาสพลิกผันสูง ด้านนโยบาย ทางการโดยเฉพาะรัฐบาลประเทศอุตสาหกรรมหลัก คงพยายามเต็มที่ที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤติรอบสองเกิดขึ้น แต่ตลาดการเงินเอง ก็ต้องการเห็นนโยบายที่ชัดเจน และเข้มแข็งมากพอที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดการเงินจะกดดันผู้ทำนโยบายต่อไปในเรื่องนี้ ในรูปของสถานการณ์ตลาดการเงินโลกที่อาจเลวร้ายลง หรือผันผวนมากขึ้น ซึ่งทางการก็ต้องพยายามบริหารจัดการ พร้อมเร่งผลักดันนโยบายออกมา เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของตลาด ถ้าวิกฤติรอบสองจะเกิด ก็คงเป็นเพราะตลาดหมดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ และต่อนโยบาย ดังนั้น การรักษาความเชื่อมั่นจึงสำคัญที่สุดขณะนี้

 

ในส่วนของ เศรษฐกิจไทย กรณีที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกเลวร้ายลง ผมเชื่อและมั่นใจในความสามารถของเศรษฐกิจที่จะปรับตัวรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เหมือนในช่วงวิกฤตbเศรษฐกิจโลกรอบแรกช่วงปี 2551-2552 ทำให้ผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย จะไม่รุนแรงมาก ความสามารถนี้มาจากปัจจัยพื้นฐาน และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจที่เรามีขณะนี้ ในสี่ด้าน ที่จะช่วยเรา

 

ด้านแรก ก็คือ พื้นฐานของเศรษฐกิจไทยขณะนี้ เป็นเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว และอยู่ในพื้นที่หรือภูมิภาคเอเชียที่กำลังขยายตัว ขับเคลื่อนโดยทั้งการส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งอันหลังได้ประโยชน์จากสภาพคล่องที่มีมาก สินเชื่อที่ขยายตัว ความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดี และนโยบายการคลังของภาครัฐ ที่จะใช้จ่ายเพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้จะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจสามารถเดินต่อได้ ถึงแม้การส่งออกจะถูกกระทบ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป แต่ที่สำคัญ การค้าระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกันเอง ขณะนี้ ได้ขยายตัวมาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัญหาในสหรัฐ และยุโรป ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูง จะช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทย ขณะที่ระดับหนี้ต่างประเทศที่ไม่สูง และทุนสำรองทางการที่มีเพียงพอ ก็จะช่วยเศรษฐกิจให้สามารถปรับตัวต่อความผันผวนของภาวะเงินทุนต่างประเทศ โดยไม่สร้างปัญหารุนแรงต่อสภาพคล่องในประเทศ

 

ด้านที่สอง ก็คือ สถาบันการเงินในประเทศเองก็เข้มแข็ง มีกำไรสูง และมีเงินกองทุนเพียงพอ ธนาคารพาณิชย์ไทยใช้เงินฝากเป็นฐานในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การกู้เงินจากตลาดต่างประเทศ ทำให้ภาวะตึงตัวของสภาพคล่องในต่างประเทศ (ซึ่งมักจะเกิดในกรณีที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาเชิงวิกฤติ) จะไม่เป็นข้อจำกัดต่อการทำธุรกิจของสถาบันการเงินในประเทศ ดังนั้น สถาบันการเงินจะสามารถช่วยเศรษฐกิจได้ในการปรับตัว

 

ด้านที่สาม ก็คือ กลไกราคาในประเทศที่ปรับตัวตามภาวะตลาด โดยเฉพาะราคาสำคัญ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นที่จะปรับตัวต่อผลกระทบจากภายนอก ช่วงปี 2550-2552 ที่มีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกรุนแรง ความยืดหยุ่นนี้ก็ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถปรับตัวต่อผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ ดังนั้น ความยืดหยุ่นนี้จะต้องรักษาไว้ และทางการจะต้องไม่แทรกแซงกลไกการปรับตัวของเศรษฐกิจ การควบคุมราคาสินค้าในประเทศ ควรยกเลิก หรือทำน้อยที่สุด เฉพาะเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเป้าหมายที่รายได้ต่ำ และที่จำเป็นต้องช่วยเหลือจริงๆ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคเอกชน และเศรษฐกิจ

 

ด้านที่สี่ ก็คือ พื้นที่นโยบาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลัง ที่ขณะนี้เรายังมีอยู่พอ ที่จะเป็นเครื่องมือรองรับผลกระทบจากวิกฤติรอบสองถ้าเกิดขึ้น ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ปรับขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 อัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติอยู่ที่ประมาณร้อยละ 41 นี้ คือ พื้นที่นโยบายที่มีอยู่ ที่สามารถใช้ชดเชยผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่มีวินัย ในช่วงที่ความไม่แน่นอนมีสูงจึงสำคัญ เพื่อรักษาพื้นที่นโยบายไว้ ใช้ในเวลาที่จำเป็น

 

จุดแข็งเหล่านี้ เป็นปัจจัยบวกที่เศรษฐกิจไทยมีขณะนี้ แต่เราต้องไม่ประมาท เพราะความเข้มแข็งเหล่านี้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้

 

วันนี้ขอแค่นี้ก่อน พบกันใหม่วันจันทร์หน้าครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กร๊าก ไม่ใช่แบบน๊าน จริงๆแล้วก็คือรู้ว่ามันเป็นขาขึ้น ยิ่งซื้อช้าก็ยิ่งได้ของแพงต่างหากครับ tongue.gif

 

มีเรื่องเล่าจากร้านทองให้ฟังครับ laugh.gif

อาแปะอาอึ้มตอนทองราคา 2 หมื่นพูดว่า "หมอโบ้ย ค่ะกุ่ย"(ไม่ควรซื้อ แพงเกินไป)แล้วก็ไม่ซื้อ

แต่พอทองขึ้นไป 26900 แล้วลงมา 25000 ทั้งสองรีบไปซื้อทอง แล้วพูดว่า "พีซี่"(ถูกตายห่า) 70bff581.gif

ตลกจังอ่ะ55555!!!!!!!!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

555 รีบไปหามาดูเลยครับ ภาษาดีๆแบบคุณจอห์นรับรองสนุกสาหัสเลยtongue.gif

 

ครับ ไว้จะหาทางหามาดูให้ได้ ได้ยินคนพูดถึงกันมากเหมือนกันครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำไมจู่ๆมันติดจรวดล่ะเนี่ย ใครรู้บ้างงงง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...