ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

อินเดียจะขึ้นภาษีนำเข้าทองเมื่อไหร่ครับ ตอนนี้คนอินเดียก็รีบซื้อทองก่อนภาษีจะขึ้น

 

ที่ขึ้นคราวที่แล้ว ในข่าวระบุไม่ชัดเจน แต่จากที่อ่าน น่าจะประมาณต้น-กลางปีที่แล้ว ขึ้นจากร้อยละ ๒ เป็น ร้อยละ ๔

ส่วนตอนนี้ นักการเมืองทางโน้นเริ่มทำท่าจะขึ้นอีก แต่ยังไม่บอกว่าจะขึ้น และ/หรือ จะขึ้นเมื่อไหร่ครับ

อย่างนี้ต้องทำให้เกิดการกักตุน และยิ่งทำให้ขาดดุลกันไปใหญ่

 

ชาวอินเดียใช้ทองคำเป็นสินสอดตอนแต่งงานเหมือนบ้านเรา

เคยลองเปรยๆเรื่องทองคำกับสาวอินเดียที่แต่งงานแล้ว

เธอบอกว่า มีทองนี่ดีนะ ตอนแต่งงานราคานึง พอต้องใช้เงิน เอามาขาย ได้กำไรตั้งเยอะ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชำแหละแผน ฟิสคัส คลิฟ หนี้พอก จ่ายภาษีหนัก ส่อฉุด ศก.ดิ่ง

 

หลังจากที่ทำเอานักลงทุนทั่วโลกลุ้นกันตัวโก่งจนถึงวินาทีสุดท้าย ในที่สุดสหรัฐก็คลอดแผนหลีกเลี่ยงหน้าผาการคลัง หรือ “ฟิสคัล คลิฟ” ได้สำเร็จ

 

โดย...ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์

หลังสภาผู้แทนราษฎรเมืองลุงแซมมีมติอนุมัติแผนฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา

นับเป็นข่าวดีต้อนรับปีใหม่ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างเฝ้ารอคอยมานาน เห็นได้จากตลาดหุ้นทั่วโลกทั้งในเอเชียและยุโรปที่ต่างทะยานขึ้นขานรับข่าวดีในช่วงเปิดตลาดวันที่ 2 ม.ค. หลังก่อนหน้านี้เกิดความวิตกกังวลว่า สหรัฐอาจล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงจนนำไปสู่การขึ้นภาษี และตัดลดรายจ่ายอัตโนมัติครั้งใหญ่ ที่อาจฉุดเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทันที

แต่หลังจากที่มีการเผยรายละเอียดของแผนแก้ฟิสคัล คลิฟ ความยาวกว่า 157 หน้า ก็เริ่มมีเสียงเตือนหนาหูจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนนักการเมืองสหรัฐ ทั้งจากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน ว่า ในที่สุด แผนดังกล่าวก็อาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณอันมหาศาลของประเทศได้ แถมยังส่อเค้าฉุดให้ปัญหาขาดดุลย่ำแย่ลงอีกด้วยซ้ำ

ปัญหาข้อแรกของแผนเลี่ยงหน้าผาการคลังฉบับนี้ คือ มาตรการด้าน “ภาษี” โดยแม้ประธานาธิบดี บารัก โอบามา จะประสบความสำเร็จในการ “ขึ้นภาษีคนรวย” โดยต่อไปนี้ชาวอเมริกันที่มีรายได้เกิน 4 แสนเหรียญสหรัฐ (ราว 12.4 ล้านบาท) ต่อปี และครอบครัวที่มีรายได้เกิน 4.5 แสนเหรียญสหรัฐ (ราว 13.9 ล้านบาท) ต่อปี จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นที่ระดับ 39.6% จากเดิมที่ระดับ 35% ทว่าข้อตกลงเลี่ยง ฟิสคัล คลิฟ ครั้งนี้กลับไม่ครอบคลุมการยืดอายุมาตรการลดหย่อน “ภาษีเพย์โรล” (Payroll Pax)

ทั้งนี้ ในสหรัฐ ชาวอเมริกันทุกคนที่มีรายได้จะต้องเสียภาษีเพย์โรล ซึ่งก็คือเงินที่หักจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง ทว่าต่างจากภาษีเงินได้ (Income Tax) ตรงที่รัฐจะจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุนสวัสดิการสังคมต่างๆ โดยตรง โดยที่ผ่านมารัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษีชนิดดังกล่าวเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน รวมทั้งกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

ดังนั้น การที่รัฐบาลปล่อยให้มาตรการลดหย่อนภาษีเพย์โรลหมดอายุลง ก็หมายความว่าในช่วงสิ้นเดือน ม.ค.นี้ ชาวอเมริกันที่มีรายได้ทุกคนจะต้องเสียภาษีเพย์โรลเพิ่มขึ้นที่ระดับ 6.2% จากเดิมที่ 4.2% ซึ่งเป็นระดับที่เคยเสียเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย คือ รายได้ชาวอเมริกันลดน้อยลงนั่นเอง!

ยกตัวอย่างเช่น ชาวอเมริกันที่มีรายได้เฉลี่ย 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ (ราว 1.5 ล้านบาท) ต่อปี จะถูกหักภาษีเพย์โรลราว 80 เหรียญสหรัฐ (ราว 2,480 บาท) ต่อเดือน หรือมากถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 3.1 หมื่นบาท) ต่อปี ซึ่งแน่นอนว่าจะบั่นทอน “กำลังซื้อ” ของชาวอเมริกันอย่างหนัก และกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่งจะเริ่มโงหัวขึ้นได้ไม่นาน

“การขึ้นภาษีจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวอเมริกันทุกชนชั้น ไม่ว่าจะมีรายได้หลักหมื่นหรือหลักล้านก็ตาม เพราะยิ่งรายได้หด การใช้จ่ายก็ลดตาม” โจเอล นารอฟ ประธานบริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจนารอฟในสหรัฐ เตือน

สอดคล้องกับความเห็นของ มาร์ก แซนดี นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก มูดี้ส์ อนาไลติกส์ ที่เตือนว่าการใช้จ่ายที่ลดลงของชาวอเมริกันอาจฉุดการขยายตัวของจีดีพี 0.6% ในปีนี้ ขณะที่ แบรด เดอลอง นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ คาดว่าจะฉุดจีดีพีของประเทศมากถึง 2% พร้อมย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีเพย์โรล จนกว่าอัตราว่างงานของประเทศลดเหลือระดับ 6.5%

เพราะต้องไม่ลืมว่าการบริโภคภายในประเทศนั้นเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% ของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า แผนดังกล่าวยังไร้ซึ่งการปฏิรูประบบภาษี ซึ่งจำเป็นต่อการลดช่องโหว่ในการเก็บภาษี

ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างการแถลงงบประมาณปี 2556 ประธานาธิบดี โอบามา ได้แสดงความต้องการที่จะยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับชาวอเมริกันที่เสียภาษีในอัตรา 28% เพื่อที่ภาครัฐจะได้มีเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้น 5.84 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.1 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปี ทว่าข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนฟิสคัล คลิฟ ครั้งนี้

เช่นเดียวกับขึ้นภาษีเงินปันผลที่ 20% แทนการผูกอัตราภาษีไว้กับอัตราเงินเดือนของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนทุกชนชั้นที่ถือหุ้นบริษัททางอ้อม เช่น ผ่านกองทุนรวม หรือกรมธรรม์ประกัน กว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า

“การขึ้นภาษีเงินปันผลจะส่งผลโดยตรงต่อบรรดาบริษัทที่จ่ายปันผลในอัตราสูง โดยจะทำให้บริษัทเหล่านี้จ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นน้อยลง ไม่ว่าผู้ถือหุ้นจะมีรายได้สูงต่ำเพียงใด” องค์กรด้านภาษีสหรัฐ เตือน

นอกจากปัญหาด้านภาษีแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่นักวิเคราะห์วิตกกังวลมากที่สุดก็คือ เรื่องการตัดลดรายจ่าย ซึ่งล่าสุดเพิ่งถูกชะลอออกไปอีก 2 เดือน

ด้านสำนักงบประมาณรัฐสภาสหรัฐ (ซีบีโอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใด เตือนว่า หากรัฐบาลสหรัฐเดินหน้าแผนหลีกเลี่ยงหน้าผาการคลังดังกล่าว จะมีรายได้จากการเก็บภาษี 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.6 ล้านล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า

ทว่า การตัดลดรายจ่ายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการตัดลดยอดขาดดุลงบประมาณนั้น กลับมีมูลค่าเพียงแค่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.65 แสนล้านบาท) เท่านั้น น้อยกว่าที่รีพับลิกันเสนอก่อนหน้านี้ที่ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 43.4 ล้านล้านบาท) และที่ โอบามา เคยเรียกร้องเอาไว้ที่ 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.6 ล้านล้านบาท)

ทั้งนี้ เพราะหากศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงอย่างละเอียด จะพบว่ารัฐบาลได้ยืดอายุมาตรการลดหย่อนภาษี อาทิ มาตรการลดหย่อนสำหรับผู้มีรายได้น้อย และสำหรับผู้มีบุตร รวมทั้งเงินช่วยเหลือสำหรับคนว่างงาน และเงินอุดหนุนโครงการประกันสุขภาพเมดิแคร์ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อยอื่นๆ

มาตรการเหล่านี้จึงไม่ต่างอะไรจาก “รายจ่าย” ที่เพิ่มขึ้นถึง 3.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 10.2 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปี

“ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รัฐบาลตกลงที่จะลดรายจ่ายลง 2 และ 3 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ สำหรับการเก็บภาษีทุกๆ 1 เหรียญสหรัฐ แต่หากเทียบกับสมัยประธานาธิบดี โอบามา สถานการณ์กลับตาลปัตร เนื่องจากรีพับลิกันจะต้องยอมเสียเงินภาษีถึง 41 เหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการตัดลดรายจ่ายลง 1 เหรียญสหรัฐ” ฟอร์บส์ รายงาน

หากเป็นเช่นนั้น ยอดขาดดุลงบประมาณของเมืองลุงแซมจะมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าเดิมถึง 4 เท่า จากระดับ 1.09 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 33.79 ล้านล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2555 ทะลุระดับ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 124 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า

งานนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์บางรายจะออกมายอมรับว่า “รู้อย่างนี้ ยอมตกหน้าผาการคลังดีกว่า” เพราะอย่างน้อยการตกหน้าผาการคลังจะทำให้เกิดการขึ้นภาษีและตัดลดรายจ่ายอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดยอดขาดดุลงบประมาณของประเทศลงกว่าครึ่งที่ระดับ 6.41 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 19.8 ล้านล้านบาท) ในปีนี้ และ 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 310 ล้านล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า

“ไม่เพียงแต่ข้อตกลงครั้งนี้จะฉุดกำลังซื้อของชาวอเมริกันแล้ว ยังไม่ช่วยลดรายจ่ายของภาครัฐ แถมยังจะทำให้หนี้ของประเทศพอกพูนอีกมหาศาล” วอชิงตันโพสต์ ระบุ

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ นักวิเคราะห์ยังชี้ว่าการชะลอการตัดลดรายจ่ายของประเทศออกไปอีก 2 เดือน ส่งผลให้สหรัฐต้องรับมือกับอีก “3 หน้าผาการคลัง” ในปีนี้ ซึ่งประกอบด้วย 1.การเจรจาขยายเพดานหนี้ในช่วงปลายเดือน ก.พ. ซึ่งหากล้มเหลวจะส่งผลให้สหรัฐผิดชำระหนี้ทันที 2.การเจรจาตัดลดรายจ่ายในเดือน มี.ค. และ 3.การเลื่อนพิจารณาอนุมัติงบประมาณของประเทศ ซึ่งจะหมดอายุลงช่วงปลายเดือน มี.ค.นี้

สหรัฐในวันนี้จึงไม่ต่างอะไรจากในช่วงปีที่ผ่านมา ยังคงยืนอยู่ปากเหวหน้าผาการคลังต่อไป และที่สำคัญก็คือ แผนฉบับใหม่ที่ผู้นำสหรัฐยกให้เป็นแผนกู้วิกฤตของประเทศนั้น ก็อาจเป็นตัวการฉุดเศรษฐกิจประเทศสู่ห้วงอันตรายที่น่ากลัว และร้ายแรงยิ่งไปกว่าการตกหน้าผาการคลัง!

 

http://www.posttoday...%B9%88%E0%B8%87

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บังเอิญว่ามีบทความที่ซีโร่เฮดจ์เกี่ยวกับอินเดียพอดี

มาคุยกันต่อเรื่องอินเดียอีกนิดดีกว่าครับ

  • จากการประมาณการของ เวิรลด์ โกลด์ เคานซิล เขาบอกว่าในอินเดียน่าจะมีทองคำประมาณร้อยละ ๑๐ ของปริมาณทองคำทั้งหมดในโลก
  • ว่ากันว่า ร้อยละ ๖๕ ของทองคำในอินเดีย อยู่ในมือชาวบ้าน ตาสีตาสา ตามต่างจังหวัด
  • มีการประมาณการทองคำสะสมในอินเดีย (ทั้งของธนาคารกลาง และของส่วนตัว) อยู่ที่ ๑๘,๐๐๐ - ๑๙,๐๐๐ เมตริกตัน
  • ในรอบสิบปีที่ผ่านมา อุปสงค์ทองคำของอินเดียอยู่ที่ ๗๐๐-๙๐๐ เมตริกตัน ต่อปี แม้ว่าในระยะเวลาเดียวกัน ราคาทองคำจะขึ้นจาก ๑๓,๓๓๓ รูปี ไปถึง ๘๖,๙๕๘ รูปี/ออนซ์ ก็ตาม
  • ในรอบสี่ปีที่ผ่านมา มีการตึ๊งทองคำในอินเดีย ในปริมาณที่เติบโตร้อยละ ๗๐ ต่อปี
  • ชาวบ้านชาวอินเดียทั่วไป นิยมเก็บทองคำไว้ใช้ในยามยาก ยามฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เจ็บป่วย หรือผลผลิตทางการเกษตรไม่ไปตามเป้า พวกเขาก็จะเอาทองคำที่มีเข้าโรงรับจำนำ หรือใครก็ตามที่ยอมให้กู้เงิน เพื่อเอาเงินสดมาใช้จ่าย โดยไม่ต้องใช้หนังสือแสดงรายได้ สลิปเงินเดือน ฯลฯ
  • เป็นเรื่องปกติที่ชาวอินเดีย จะเอาทองคำเข้าโรงรับจำนำ และไถ่ออกแบบวันต่อวันเพื่อช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตัวเอง
  • วัฒนธรรมในอินเดีย เอาทองคำเข้าโรงตึ๊งกันในอัตราที่มากขึ้นเรื่อยๆแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะสภาพคล่องของทองคำที่สูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ
  • การนำเข้าทองคำของอินเดียจะเพิ่มไปอีกเรื่อยๆในระยะยาว เพราะการคาดการว่าทองคำจะราคาขึ้น และความเป็นสินทรัพย์ชั้นดีที่มีสภาพคล่องสูง

ที่มา : http://www.zerohedge...old-loans-india

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันศุกร์นี้ ตอนแปดโมงครึ่งตามเวลานิวยอร์ค (ศุกร์ สองทุ่มครึ่ง เวลาไทย)

กระทรวงแรงงานจะออกมารายงานตัวเลขการจ้างงาน

 

ที่มา http://anonym.to/?ww...01301_sched.htm

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 24 ธันวาคม 2555 04:00

 

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการเงินและนโยบายการเงิน (1)

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ประเด็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางในหมู่นักลงทุนและนักธุรกิจคือการดำเนิน นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนอย่างยิ่งของประเทศที่เป็นเศรษฐกิจหลักของโลกได้แก่ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น กล่าวโดยรวมคือ

 

1. ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงไปใกล้ศูนย์และให้ คำมั่นสัญญาว่าดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับต่ำดังกล่าวไปอีก 2-3 ปี

 

2. ธนาคารกลางของสหรัฐ อังกฤษและญี่ปุ่นได้พิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อซื้อพันธบัตรระยะยาว แปลว่าธนาคารกลางคุมทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและดอกเบี้ยระยะยาว ส่วนยุโรปนั้นตลาดก็เชื่อมั่นว่าเมื่อใดที่ประเทศ เช่นสเปนขอความช่วยเหลือ ธนาคารกลางก็จะเข้ามาทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในลักษณะเดียวกันคือเข้ามากด ดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำเพื่อช่วยรัฐบาลสเปน

 

3. มีนโยบายผ่อนคลายวินัยทางการเงินอย่างเห็นได้ชัด เช่นในกรณีของธนาคารกลางสหรัฐนั้นได้ตั้งเป้าเงินเฟ้อเอาไว้ที่ 2% มาโดยตลอด แต่หลังจากการประกาศมาตรการผ่อนปรนในเชิงปริมาณ (คิวอี) เมื่อต้นเดือนธันวาคมได้มีท่าทีเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือประกาศว่าจะไม่ปรับดอกเบี้ยขึ้น (จากใกล้ศูนย์ในปัจจุบัน) จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงต่ำกว่า 6.5% (จากประมาณ 8% ในขณะนี้) เว้นแต่เงินเฟ้อที่ธนาคารกลางเองเป็นผู้คาดการณ์ใน 1-2 ปีข้างหน้าจะปรับสูงขึ้นกว่า 2.5% หรือการคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาด (inflationary expectations) ในระยะยาวยังอยู่ที่ระดับต่ำ (well anchored) จะเห็นได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่า “เป้าจริง” คืออัตราการว่างงาน ในขณะที่ “เป้าเดิม” คือเงินเฟ้อนั้นดูจะถูก “เจือจาง” ลงไป เพราะจะเพิ่มขึ้นจาก 2.0% เป็น 2.5% ในระยะ 2 ปีข้างหน้า ส่วนญี่ปุ่นนั้นก็ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังกดดันธนาคารกลางให้ยอม รับเป้าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาที่ 2% หรืออาจจะมากกว่านั้น รวมทั้งต้องการให้พิมพ์เงินเยนออกมาในจำนวนที่ไม่จำกัดเป็นเวลาที่ยาวนาน เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอีกด้วย

 

3 ประเด็นหลักข้างต้นนี้ทำให้มองได้ว่า เศรษฐกิจโลกจะมีสภาพคล่องล้นเหลือ “ไปอีกนานหลายปี” ซึ่งในระยะสั้นก็จะทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ “ซื้อง่ายขายคล่อง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความตั้งใจของนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐที่ต้องการให้ประชาชนและนักธุรกิจเพิ่มกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ขอให้ลองนึกภาพดูว่าธนาคารกลางสหรัฐนั้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะ พิมพ์เงินใหม่เดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ (ปีละ 1.02 ล้านล้านดอลลาร์) ไปซื้อพันธบัตรที่มีคุณภาพสูงสุด คือพันธบัตรที่ค้ำประกันโดยอสังหาริมทรัพย์ (mortgage-backed securities) และพันธบัตรรัฐบาลจากมือประชาชน ทำให้ประชาชนต้องนำเงินที่ได้มาจากธนาคารกลางสหรัฐไปลงทุนในส่วนอื่นของ เศรษฐกิจ ซึ่งย่อมจะต้องมีความเสี่ยงมากกว่า MBS และพันธบัตรรัฐบาล

 

บางคนอาจนึกไม่ออกว่าการพิมพ์เงินใหม่เดือนและ 85,000 ล้านดอลลาร์ (โดยไม่บอกว่าจะหยุดพิมพ์เมื่อใด) นั้นเป็นจำนวนมากหรือน้อย ก็ต้องบอกว่าเป็นจำนวนมากมหาศาล กล่าวคือก่อนวิกฤติในปี 2008 นั้นมีเงินดอลลาร์สหรัฐไหลเวียนในระบบประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์ และต่อมาเมื่อเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงในปี 2008-2009 ก็ได้มีการเร่งพิมพ์เงินออกมา ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 8 แสนล้านดอลลาร์มาเป็น 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้ กล่าวคือในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น อาจพูดได้ว่ามาตรการผ่อนปรนทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเฉลี่ย 5 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ใน 2 ปีข้างหน้านั้นปริมาณเงินที่จะพิมพ์ออกมาใหม่จะเพิ่มไปอีก 1 เท่าตัวคือ 1.02 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

 

บางคนอาจสงสัยว่าหากจะมีการพิมพ์เงินใหม่เข้าระบบมากมายถึงขนาดนี้แล้ว เงินดังกล่าวหายไปไหนหมด คำตอบคือเงินที่พิมพ์ออกมาส่วนใหญ่นั้นธนาคารพาณิชย์นำกลับไปฝากที่ธนาคาร กลางสหรัฐเพราะยังได้ดอกเบี้ยเล็กน้อยและที่สำคัญคือธนาคารพาณิชย์ไม่ต้อง การขยายสินเชื่อมากนักเพราะยังขาดความมั่นใจและกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดขึ้น ทำให้ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ดูเสมือนว่าธนาคารกลางสหรัฐจะแสดงความมุ่งมั่นที่จะพิมพ์เงิน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยอมให้เงินท่วมระบบจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ทั้งนี้เพราะได้ “ถลำลึกมาทางนี้และหันกลับไม่ได้แล้ว” เนื่องจากหากพยายามถอยก็คงจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเชื่อมั่น ที่สำคัญคือนายเบอร์นันเก้ ได้เคยตำหนิธนาคารกลางของญี่ปุ่นเอาไว้เมื่อประมาณ 8 ปีก่อนว่ามิได้ดำเนินมาตรการผ่อนปรนทางการเงินอย่างจริงจัง เพียงพอและต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะเงินฝืดและเผชิญปัญหาการฟื้นตัวอย่าง กระท่อนกระแท่นมานานกว่า 10 ปีแล้ว

 

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินของนายเบอร์นันเก้ ซึ่งทำติดต่อกันมานานจะเข้าปีที่ 5 แล้วก็ยังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่องมากนัก กล่าวคือโดยปกติในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวจากสภาวะถดถอยนั้นเศรษฐกิจจะ ขยายตัว 4-5% ต่อปี แต่ในครั้งนี้เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.5-2.5% ต่อปีและในปีนี้เอง นักเศรษฐศาสตร์ก็คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะขยายตัวเพียง 2.0%

 

บางคนอาจมองว่าเมื่อการพิมพ์เงินยังไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจก็ยังไม่น่าห่วงอะไร และหากธนาคารกลางสหรัฐจะทำเช่นนี้ต่อไปก็ไม่น่าจะมีข้อเสียอะไร แนวคิดดังกล่าวมักจะเป็นทัศนะของนักลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ซึ่งพึงพอใจกับการที่สภาพคล่องส่วนเกินจะช่วยทำให้ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น กล่าวคือเป็นนโยบายการเงินที่ทำให้นักลงทุนมีแต่ได้ไม่มีข้อเสียอย่างน้อยใน ระยะสั้น

 

คำถามต่อไปคือนโยบายดังกล่าวนั้นมีข้อเสียหรือไม่ คำตอบคือมีแต่เสียงส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วมองว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่ผมมองว่าข้อเสียยังไม่ปรากฏมากนักในขณะนี้ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่ามีโอกาสที่จะส่งผลที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ซึ่งผมจะเขียนถึงในครั้งหน้าครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 31 ธันวาคม 2555 04:00

การเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ทางการเงินและนโยบายการเงิน (2)

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ครั้งที่แล้วผมสรุป ว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในเชิงปริมาณอย่างมาก ซึ่งได้เกิดขึ้นใน 4 ปีที่ผ่านมาและจะต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า

 

โดยธนาคารกลางของประเทศ ที่เป็นเศรษฐกิจหลักของโลกนั้นดูเสมือนว่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการ พยายามทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยดูเสมือนว่าจะไม่มีข้อเสียหรือปัจจุบันยังไม่เห็นข้อเสีย ตรงกันข้ามดูเสมือนว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยง เพราะในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมาก เช่นการซื้อหุ้นนั้นจะมีแต่กำไรไม่มีการขาดทุน

ข้อเสียของนโยบายผ่อนคลายในเชิงปริมาณบวก กับการกดดอกเบี้ยระยะสั้นใกล้ ศูนย์เป็นเวลายาวนาน ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงมาก อาจเป็นเพราะมองว่าเศรษฐกิจยังไม่ค่อยฟื้นเลยจะต้องไปพะวงกับข้อเสียไปทำไม นอกจากนั้นนโยบายดังกล่าวเป็นประโยชน์กับนักลงทุนเพราะทำให้ราคาสินทรัพย์ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ได้กำไร ในขณะที่เงินเฟ้อก็ยังไม่ได้ปรับสูงขึ้น กล่าวคือยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้ใคร แต่หากจะมองหาข้อเสียของนโยบายดังกล่าวก็อาจสรุปได้ดังนี้

1. ดอกเบี้ยที่ถูกกดลงให้ต่ำทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อผู้ ออม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยรายได้จากดอกเบี้ยและไม่มีรายได้จากเงิน เดือน

2. ไม่ส่งเสริมให้ภาครัฐมีวินัยทางการคลัง ผมเชื่อว่าหากดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับปกติในสหรัฐ (กล่าวคือดอกเบี้ยระยะสั้นประมาณ 3% ดอกเบี้ยระยะยาวประมาณ 5%) นักการเมืองสหรัฐจะสามารถหาทางออกจากปัญหาการคลังได้อย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามในสภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งรัฐบาลสหรัฐต้องจ่ายดอกเบี้ยต่ำมาก (คำนวณคร่าวๆ ได้ว่ารัฐบาลสหรัฐจ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณ 1.7%) ย่อมทำให้รัฐบาลสหรัฐไม่เห็นถึงความสำคัญที่จะลดรายจ่ายและลดการขาดดุลอย่าง เร่งรีบเพราะปัจจุบันกู้ได้ที่ต้นทุนต่ำมาก

3. การกดดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยการเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด ทำให้ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ หมายความว่าปกติแล้วหากตลาดมีความเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อก็จะส่งสัญญาณโดย การขายพันธบัตรระยะยาว ทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในสภาวะปัจจุบันซึ่งธนาคารกลางสหรัฐเข้ามาซื้อทั้งพันธบัตรรัฐบาลและ พันธบัตร MBS ทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวถูกควบคุมอยู่และไม่สามารถส่งสัญญาณอะไรได้เลย (โดยคงจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แทน)

4. ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีภาวะเศรษฐกิจปกติต้องเผชิญกับปัญหาเงินทุนไหล เข้า และ/หรือฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ เช่น ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือการถอนตัว ออกจากมาตรการผ่อนปรนในเชิง ปริมาณและเมื่อต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจเกิดความผันผวนขึ้นได้อย่างมากหากเหตุการณ์เกิดขึ้นตามขั้นตอนที่จะ กล่าวดังต่อไปนี้ (อย่างไรก็ดีในปัจจุบันคงจะยังไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้ เพราะเสียงส่วนใหญ่เชื่อว่ายังเหลือเวลาที่เศรษฐกิจจะยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในสภาวะที่สภาพคล่องท่วมระบบต่อไปได้อีกประมาณ 2 ปี)

๐ สักวันหนึ่งเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวขึ้นและธนาคารจะเริ่มปล่อยกู้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนเพราะต้อง ไม่ลืมว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ธนาคารกลางสหรัฐจะอัดสภาพคล่อง (พิมพ์เงิน) เข้าระบบคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1/3 ของจีดีพี เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเพียง 1/12 ถึง 1/10 ของจีดีพี

๐ หากตลาดเริ่มกลัวปัญหาเงินเฟ้อก็จะเริ่มมีการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา ซึ่งหากธนาคารกลางต้องการลดปริมาณเงินในระบบก็จะต้องหยุดพิมพ์เงินออกมาซื้อ หรืออาจต้องขายของเก่าออกมาด้วย ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าจะมีการขายพันธบัตรออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางกับรัฐบาลและบริษัทที่ออกตราสารหนี้และกองทุน ที่เป็นเจ้าของตราสารหนี้

๐ ในทางตรงกันข้ามหากธนาคารกลางสหรัฐเกรงว่าจะเกิดปัญหาข้างต้นก็อาจจะยัง พิมพ์เงินเพื่อซื้อพันธบัตรต่อไป แม้ว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแล้ว ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนตั้งคำถามเกี่ยวกับความมีวินัยทางการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ ซึ่งหากนักลงทุนขาดความมั่นใจในความสามารถและความมุ่งมั่นของธนาคารกลางที่ จะควบคุมเงินเฟ้อก็อาจจะเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเร่งขายพันธบัตรออกไปเป็น จำนวนมาก

๐ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดจะเป็นกรณีที่รัฐบาลสหรัฐยังไม่ได้แก้ปัญหาการขาดวินัย ทางการคลัง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเกิน 100% ของจีดีพีและยังขาดดุลงบประมาณ 6-7% ของจีดีพี แต่ธนาคารกลางสหรัฐถูกกดดันโดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยและยกเลิกการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในสภาวการณ์ดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐจะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 1% ของจีดีพีสำหรับทุก 1% ที่ดอกเบี้ยต้องปรับตัวขึ้น เช่นปัจจุบันดอกเบี้ยพันธบัตร 2 ปีของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% แต่หากต้องปรับกลับไปที่ระดับปกติคือ 3% ก็แปลว่ารัฐบาลสหรัฐอาจจะต้องขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 2% ของจีดีพีจากภาวะดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น (เพราะยังมีพันธบัตรเก่าที่ยังไม่หมดอายุ) นอกจากนั้นการที่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้พันธบัตรที่ธนาคารกลางสหรัฐ ถืออยู่หลายล้านล้านดอลลาร์เกิดภาวะขาดทุนอย่างมากเป็นภาระให้รัฐบาลสหรัฐ ต้องหางบประมาณมาเพิ่มทุนให้กับธนาคารกลางอีกด้วย ในกรณีดังกล่าวสหรัฐจะเสี่ยงกับการถูกลดลำดับความน่าเชื่อถืออีกด้วย

หากมีข้อกังวลและความเสี่ยงมากมายเช่นนี้ แล้ว คำถามคือทำไมจึงดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างไม่ลดละ? คำตอบหนึ่งคือ อาจหลวมตัวมาไกลเกินกว่าจะถอนตัว แต่อีกคำตอบหนึ่งคือแนวคิดของนาย เบอร์นันเก้และ “แก๊งเอ็มไอที” ตามที่ปรากฏในบทวิเคราะห์ของ WSJ เชื่อว่า Inside the risky bets made by the biggest central banks

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่มาของการทุบ :_cd

 

The news that sparked the downdraft in gold and silver occurred after the release of the FOMC minutes where we see major divisions among the Fed Presidents and Governors. Many want to end QE NOW!!!

 

http://harveyorgan.b...-on-fiscal.html

 

แต่ลุงจิมบอกว่า QE มันเลิกไม่ได้หร็อกเพราะเลิกเมื่อไรก็ล้มเมื่อนั้นแหละ :uu

 

There is no practical way that QE can cease here or in Euroland without a total and final collapse of the financial system. Just go back to the IMF report on OTC derivatives I posted this morning. If QE ceases, the US bond market collapses and the Fed must debt monetize all required debt, which means if QE stops, it starts up again immediately and in a crisis mode.

 

http://www.jsmineset...tion-to-end-qe/

 

 

ข่าวอื่นๆแถมก็คือกรีซต้องการความช่วยเหลืออีกแล้วเพราะหนี้เน่าของธนาคารพุ่งไปที่ 24% ซึ่งเท่ากับ 55 billion euros แต่ทาง EUเตรียมเงินไว้ช่วยแค่ 50 billion euros เท่านั้น ...ไม่เดี้ยงก็ต้องพิมพ์เงินรอบใหม่ หุหุ

 

In other news, we see that Greece will be in need of another bailout as they just released its non performing loans at the banks and it increased to 24% or 55 billion euros. The EU set aside only 50 billion euros so already they are short.

 

Happy New Year Germany: Greece Needs A New Bailout

 

http://www.zerohedge.com/news/2013-01-02/happy-new-year-germany-greece-needs-new-bailout

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก่อนที่จะพูดถึงสิ่งที่ต้องการ

ควรชื่นชมอย่างจริงใจ กับสิ่งที่มีอยู่

ก่อนที่สิ่งนั้นจะสูญสลายไป

 

*เอธาน แดเนียล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คืนนี้จะมีตัวเลขสถิติการจ้างงานออกมาอีก จะมีทุบลงอีกไหมหนอ ...... ^_^

 

 

อินดี้ของพวกเรามาแล้วครับ ท่านนายกฯออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาทองคำตามนี้

  • ทองคำปี ๕๖ สวิง เตือนระวังข่าวมั่ว
  • แนวโน้มราคาทองคำปีนี้จะผันผวนรุนแรง
  • ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับราคาจะไม่ใช่เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐ และยุโรปอีกแล้ว แต่จะเป็นข่าวอื่นๆ
  • แนวโน้มราคาทองคำปีนี้ คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบที่กว้างมาก ซึ่งบางช่วงอาจจะลงมาต่ำถึง ๑๕๐๐ และมีโอกาสสูงไปในระดับที่มากกว่า ๑๙๔๐

ที่มา : นสพ.โพสท์ทูเดย์ หน้าบี๓ / ๓ ม.ค. ๕๖

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเพื่อนๆทุกท่าน เห็นราคาแล้วรู้สึกเซ็งเหลือเกิน ไม่รู้มีใครรู้สึกเหมือนผมเหรอเปล่าตอนนี้? คิวอีสาม--ลง คิวอีสี่--ลง ฟิสคัลคริฟ--ลง พ้นฟิสคัลคริฟ(เลื่อนไป) ก็ยัง--ลง มันจะลงอะไรกันนักกันหนาเนี่ยยย.... พักหลังเนี่ย สวนกระแสตลอดเลย ทั้งน้องทองคำ และน้องเงิน...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาต้นทุนของทองปีนี้ประมาณเท่าไหร่ครับ 1600 ได้มั้ยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเพื่อนๆทุกท่าน เห็นราคาแล้วรู้สึกเซ็งเหลือเกิน ไม่รู้มีใครรู้สึกเหมือนผมเหรอเปล่าตอนนี้? คิวอีสาม--ลง คิวอีสี่--ลง ฟิสคัลคริฟ--ลง พ้นฟิสคัลคริฟ(เลื่อนไป) ก็ยัง--ลง มันจะลงอะไรกันนักกันหนาเนี่ยยย.... พักหลังเนี่ย สวนกระแสตลอดเลย ทั้งน้องทองคำ และน้องเงิน...

 

คุณ Li

 

ผมไม่รู้จะเซ็ง หรือดีใจดี... ไอ้กองหลังๆที่ซื้อ มันก็ดอยสูงขึ้นๆ

แต่ไอ้ที่ดีใจหน่อย ก็คือกระสุนนัดสุดท้ายที่เหลือตั้งแต่ปีที่แล้วยังไม่ได้ยิง

กำลังซุ่มดูอยู่ว่าจะยิงตอนไหนดี

 

นี่พึ่งคุยกับญาติ เขาบอกว่า เชื่อสิ คิวอีเท่าไหร่ก็ไม่มีผลกับราคาทองคำหรอก

ดูปีที่ผ่านมาสิ ไม่เห็นจะขึ้นเลย มีทั้งคิวอีสาม คิวอีสี่, พวกมาเฟียการเงินไม่ปล่อยให้ทองคำขึ้นหรอก ฯลฯ

 

ไม่รู้จะตอบยังไง ได้แต่บอกว่ารอดูยาวๆก็แล้วกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปีนี้ไม่ขึ้น ปีหน้าก็ต้องขึ้น ปีหน้าไม่ขึ้น ปีต่อไปก็ต้องขึ้น (เลียนแบบอ.นิเวศน์์)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...