ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

'โอบามา'ตีปี๊บภัยตัดงบชี้กระทบทัพเรือ

 

ต่างประเทศ

28 February 2556 - 00:00

 

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เตือนภัยผลกระทบของการตัดงบประมาณโดยอัตโนมัติ 85 พันล้านดอลลาร์ที่จะมีผลวันศุกร์นี้ ระบุกองทัพเรือได้รับผลกระทบเรียบร้อยแล้ว ทั้งการซ่อมบำรุงและการวางกำลัง ขณะหน่วยคนเข้าเมืองเริ่มปล่อยตัวคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วหลายร้อย คนเพื่อประหยัดงบประมาณ

เมื่อวันอังคาร โอบามาเดินทางไปเยือนอู่ต่อเรื่อ นิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง ที่รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติงบประมาณของสหรัฐที่ทำให้การซ่อมบำรุงเรือบรรทุก เครื่องบิน ยูเอสเอสอับราฮัมลิงคอล์น ถูกเลื่อนกำหนดการ ในการปราศรัยตอนหนึ่ง โอบามากล่าวว่า ภัยคุกคามจากการตัดลดงบประมาณได้บีบให้กองทัพเรือต้องยกเลิกกำหนดการวาง กำลัง หรือเลื่อนการซ่อมแซมเรือบรรทุกเครื่องบินแล้วหลายลำ ขณะที่ลำที่กำลังอยู่ระหว่างการสร้างก็อาจจะสร้างไม่เสร็จด้วย

การลดค่าใช้จ่าย 85,000 ล้านดอลลาร์ (2.55 ล้านล้านบาท) ในงบประมาณด้านต่างๆ ซึ่งกำหนดจะมีผลโดยอัตโนมัติวันศุกร์นี้ อาจทำให้รัฐบาลต้องลดระดับการบริการหลายอย่าง เช่นการควบคุมการจราจรทางอากาศ, การพิทักษ์สันติราษฎร์ และการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหาร

"การตัดลดเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ไม่ฉลาด และไม่ยุติธรรม มันเป็นแผลทำร้ายตัวเองที่ไม่ควรเกิดขึ้น" โอบามากล่าวกับคนงานที่อู่ต่อเรือในเมืองนิวพอร์ตนิวส์ โดยกล่าวโทษสมาชิกคองเกรสพรรครีพับลิกันในทีว่าไม่ยอมประนีประนอมและคัดค้าน การหารายได้เพิ่มขึ้นจากการขึ้นภาษีคนรวยเพื่อลดผลกระทบจากการลดค่าใช้จ่าย ภาครัฐ

อีกด้านหนึ่ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรสหรัฐได้เริ่มการปล่อยตัวคนต่างด้าวเข้า เมืองผิดกฎหมายหลายร้อยคนแล้ว อ้างว่าเพื่อประหยัดงบประมาณเตรียมไว้สำหรับการถูกลดงบ การดำเนินการของหน่วยงานนี้ถูกสมาชิกคองเกรสพรรครีพับลิกันโจมตีทันทีว่า เป็นการเล่นการเมืองที่อันตราย

จอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกัน ตำหนิโอบามาด้วยว่า ใช้ "ทหารหญิงและชายเป็นของประกอบฉากการรณรงค์หาเสียงสนับสนุนแผนการขึ้นภาษีของ เขาอีกครั้ง"

ผลสำรวจของรอยเตอร์/อิปซอสเมื่อวันอังคารพบว่า ชาวอเมริกันโทษทั้งตัวประธานาธิบดีและสมาชิกคองเกรสพรรครีพับลิกันพอๆ กันว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤติตัดงบก้อนนี้ โดย 25% โทษรีพับลิกัน, 23% โทษโอบามา และ 5% โทษสมาชิกคองเกรสพรรคเดโมแครต ส่วน 30% โทษทั้งสองฝ่าย

การลดค่าใช้จ่ายโดยอัตโนมัติที่เป็นผลจากข้อตกลงเพิ่มเพดานการกู้หนี้เมื่อ ปี 2554 จะกระทบต่องบประมาณอย่างถ้วนหน้าทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับด้านกลาโหม แต่การตัดงบอาจยุติลงหากการเจรจาต่อรองแก้ปัญหาการคลังเดือนหน้าได้ผลลัพธ์ ที่รัฐบาลสามารถหารายได้ทางอื่นมาทดแทน.- See more at: http://www.thaipost....h.cqfcbOol.dpuf

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่รู้เป็นโชคดี..หรือโชคร้าย ของสหรัฐ - ของโลก ... ที่สหรัฐ มีประธานาธิบดี...ที่พูดเก่ง ...มีเทคนิค ฉลาดพูดมากเลยครับ...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซเจอวิกฤติขาดแคลนยา

 

 

vaja_logo4web.png

 

ชาวกรีซกำลังตื่นตระหนกต่อวิกฤติการณ์ขาดแคลนยาหลายร้อยชนิด ขณะที่บริษัทผลิตยา

ต่าง ๆ ถูกกล่าวหาว่า ระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากได้กำไรน้อย และประสบ

ปัญหาการค้างชำระ

 

กรีซ กำลังเผชิญสถานการณ์ขาดแคลนยาอย่างรุนแรง ขณะที่บริษัทผลิตยาข้ามชาติ ต่าง

ระงับการจัดส่งยาไปยังกรีซ เนื่องจากกรีซกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจและเกิดความวิตก

ว่า ยาของพวกเขาอาจถูกพ่อค้าคนกลาง หวังผลกำไร ด้วยการจัดส่งไปจำหน่ายในประเทศ

อื่นในยุโรป ที่ให้ราคาสูงกว่า

 

หน่วยงานที่กำกับดูแลยาของกรีซ เปิดเผยว่า ยาหลายร้อยชนิด กำลังขาดแคลน และ

สถานการณ์กำลังเลวร้ายลงเรื่อย ๆ รัฐบาลได้ร่างรายชื่อของบริษัทยา 50 แห่ง ที่ถูกระบุ

ว่า ระงับหรือมีแผนระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากราคาต่ำ ปัจจุบัน มียามาก

กว่า 200 ชนิด ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น ที่รวมถึง ยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ ซี และความดันโลหิตสูง , ยาลดคลอเรสเตอรอล , ยารักษาโรคทางจิตเวช ,

ยาปฏิชีวนะ , ยาชา , ยาสลบ และยาปรับภูมิคุ้มกันที่ใช้รักษาโรคลำไส้

 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่กาชาดสวิส ได้ประกาศเมื่อวันอังคารว่า จะตัดการส่งเลือดที่ได้รับบริจาค

ไปให้กรีซ เนื่องจากกรีซจ่ายเงินไม่ตรงเวลา บรรดาร้านขายยาในกรุงเอเธนส์ ต่างบรรยายภาพ

เหตุการณ์ความโกลาหล จากการที่ลูกค้าพากันวิ่งเข้าร้านโน้นออกร้านนี้ เพื่อหาซื้อยาตามใบสั่ง

แพทย์ ที่โรงพยาบาลไม่มีจะจ่ายให้อีกต่อไป รัฐบาลได้ร่างรายชื่อของบริษัทยาชั้นนำของโลก

เช่น ไพเฟอร์ , โรช , ซาโนฟี , แกล็กโซสมิทไคล์น และอัสตร้าเซเนก้า

 

ไพเฟอร์ , โรช และซาโนฟี่ ต่างระบุว่า ที่ยาไม่กี่ชนิดที่ถูกระงับการส่งไปกรีซ ส่วนแกล็กโซสมิท

ไคล์น และอัสตร้าเซเนก้า ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา ด้านศาสตราจารย์ ยานนิส ตวนตัส ประธาน

ของสำนักงานกำกับดูแลยา ขององค์การเวชภัณฑ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า บรรดาบริษัทยาต่าง

ระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากเห็นว่าไม่ทำกำไร และพวกเขาก็เกรงว่า พวกพ่อค้า

คนกลางอาจจะส่งออกยาของพวกเขาไปขายต่อในประเทศที่ร่ำรวย เนื่องจากกรีซได้ชื่อว่า ขาย

ยาราคาถูกที่สุดในบรรดา 22 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

 

ทางสำนักงานกำกับดูแลยา กำลังตรวจสอบบริษัทยา 13 แห่ง ที่ลดการส่งยาให้กรีซ และส่ง

รายชื่อไปให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการปรับเงินต่อไป แต่ไม่มีการเปิดเผยชื่อของ

บริษัททั้ง 13 แห่ง เพียงแต่ระบุว่า เป็นบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่รู้เป็นโชคดี..หรือโชคร้าย ของสหรัฐ - ของโลก ... ที่สหรัฐ มีประธานาธิบดี...ที่พูดเก่ง ...มีเทคนิค ฉลาดพูดมากเลยครับ...

 

ภาวนาว่าตอนจบ อย่ายันเยินมากมายก็แล้วกัน สงสารคนแก่และเด็ก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวนาว่าตอนจบ อย่ายันเยินมากมายก็แล้วกัน สงสารคนแก่และเด็ก

 

เขาแซวกันแบบนี้แล้วครับสำหรับคนแก่

 

clip_image001_thumb15.jpg

 

127546_600_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เลือกตั้งอิตาลีสะเทือนยุโรปเขย่าเสถียรภาพ ปลุกวิกฤตหนี้ยุโรป

  • 01 มีนาคม 2556 เวลา 08:01 น. |

505B1D7CE26C48F39B8FEAD83B5782FF.jpg

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

กลุ้มใจไปตามๆ กัน เมื่อผลการเลือกตั้งทั่วไปของอิตาลีเมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่า ไม่มีผู้สมัครจากพรรคใดเข้าตากรรมการถูกใจประชาชนจนยอมเทคะแนนให้สามารถจัด ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เลย

เพราะการกระทำดังกล่าวไม่เพียงแสดงให้เห็นปัญหาการไร้เสถียรภาพทางการ เมืองภายในของอิตาลีเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นความไม่พอใจอย่างชัดเจนกับแนวทางรัดเข็มขัดเพื่อแก้ ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคของสหภาพยุโรป (อียู) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

กระทั่ง ทำให้บรรดานักลงทุนทั่วโลกอดปริวิตกและกังขาไม่ได้ว่า วิกฤตหนี้ของยุโรป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน (ยูโรโซน) จะเดินมาถึงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกครั้ง

และอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้วิกฤตหนี้สาธารณะหวนกลับมา จนถึงขั้นที่ทำให้ยูโรโซนต้องเผชิญกับความเสี่ยงล่มสลายอีกระลอก เนื่องจากสถานการณ์คราวนี้มีผลกระทบต่อมาตรการจัดการหนี้สาธารณะของอีซีบี

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่ากว่าวิกฤตหนี้ยูโรโซนจะยอมอยู่ในความสงบให้นักลงทุนทั่วโลกเบา ใจได้นั้น อีซีบีภายใต้การนำของ มาริโอ ดรากี ประธานคนปัจจุบันต้องงัดสารพัดมาตรการตามที่ลั่นวาจาไว้ว่าจะทำทุกอย่าง เพื่อปกป้องสกุลเงินยูโรเอาไว้ ซึ่งรวมถึงการใช้เครื่องมือล่าสุดอย่างการทุ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ของประเทศที่มีปัญหาหนี้สินในยูโรโซนแบบเปิดกว้างโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมอยู่ในระดับต่ำ

นักวิเคราะห์แทบจะทุกสำนักต่างเห็นพ้องต้องกันว่า โครงการดังกล่าวของอีซีบีได้ช่วยให้นักลงทุนทั่วโลกคลายความวิตกต่อยูโรโซน รวมถึงยุโรปโดยรวมได้อย่างดี เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวแม้ไม่ได้ช่วยแก้ที่ต้นตอวิกฤต แต่ก็เป็นเสมือนยาแรงขนานดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลาม

อย่างไรก็ตาม การที่อีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาได้ย่อมมีข้อแลกเปลี่ยน โดยหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญก็คือการที่รัฐบาลประเทศนั้นๆ ต้องจัดการกับการขาดดุลมหาศาลด้วยการรัดเข็มขัดตัดลดรายจ่ายอย่างเข้มงวด

และอิตาลีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ 3 ของภูมิภาคยุโรปก็หนีไม่พ้นเงื่อนไขนี้เช่นเดียวกัน โดยแม้สถานการณ์ของอิตาลีจะไม่ได้หนักหนาสาหัสเท่ากับกรีซจนต้องยื่นเรื่อง ขอเงินช่วยเหลือ แต่ในช่วง 2 ปีที่ต้องร่วมหัวจมท้ายกับอียู อิตาลีได้ประกาศใช้แผนรัดเข็มขัด พร้อมแก้ไขกฎหมายภาษี เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้อีซีบีเข้ามาสนับสนุนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี จนทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีซึ่งเคยทำสถิติสูงสุด และแตะระดับที่ 6.19% ในเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ค่อยๆ ปรับลงมาอยู่ที่ราว 4% ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ระบุว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลนายกรัฐมนตรี ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี และรัฐบาลนายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ อยู่ในสภาพสั่นคลอนเพราะประชาชนไม่พอใจ ก็คือการยอมใช้มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล

เนื่องจากท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีการเติบโตแบบติดลบ การกระตุ้นจากภาครัฐคือตัวช่วยที่สำคัญที่สุด

ทว่า นอกจากจะไม่เอามาใช้แล้ว รัฐบาลกลับตัดลดสวัสดิการ ปลดคนงาน ลดค่ารักษาพยาบาล จนเรียกได้ว่ากระเทือนชีวิตความเป็นอยู่ของคนอิตาลีกันทั่วหน้า และทำให้การประท้วงต่อต้านรัฐบาลกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน

รัสเซลล์ ซิลเบอร์สตัน ประธานโกลบอล อินเทอร์เรส เรทส์ของอินเวสต์เทค แอสเซ็ท แมเนจเมนท์ กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ของอิตาลีก็คือการประท้วงต่อต้านแผนรัดเข็มขัดของ ทั้งรัฐบาลกับอีซีบี ซึ่งแสดงท่าทีอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะช่วยประเทศสมาชิกที่มีปัญหา หนี้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นๆ เอ่ยปากขอความช่วยเหลือ พร้อมยอมรับเงื่อนไขของอีซีบีเท่านั้น

และกลายเป็นบททดสอบสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรสำคัญระหว่างอียูกับ ประเทศสมาชิกอย่างอิตาลี โดยอีฟส์ บอนสัน ประธานบริหารการลงทุนจากพิคเท็ต เวลธ์ แมเนจเมนต์ อธิบายผ่านรอยเตอร์สว่า อีซีบีอาจจำกัดการสนับสนุนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีได้ ขณะเดียวกันการที่อิตาลีไม่มีรัฐบาลที่แข็งแกร่ง ย่อมทำให้มีอุปสรรคความยุ่งยากต่างๆ ในการทำข้อตกลงร่วมมือในด้านต่างๆ กับเจ้าหน้าที่ยุโรปส่วนกลางทั้งหมด

ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างเทขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึง ไมค์ ริดเดลล์ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ในสังกัดเอ็มแอนด์จี อินเวสต์เมนต์ ที่ระบุว่า จัดการเทขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีที่ถือครองไว้ทั้งหมดแล้วตั้งแต่ช่วงกลาง เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆ ในยุโรป เนื่องจากเกรงว่า สถานการณ์ขณะนี้มีสิทธิเลวร้ายลงทุกเมื่อ

ด้านเอียน สตีเลย์ ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนของเจพี มอร์แกน แอสเซ็ท แมเนจเมนต์ ถึงกับคาดการณ์ว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีน่าจะดีดตัวเกิน 5% ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้และส่งผลให้ต้นทุนกู้ยืมของรัฐบาลอิตาลีสูง ขึ้นอีกครั้งอย่างแน่นอน เห็นได้จากการประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา

เพราะแม้กระทรวงการคลังอิตาลีสามารถเดินหน้าขายพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีมูลค่ารวมราว 4,000 ล้านยูโรตามแผนที่วางไว้ แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 4.83% สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 5 ปีมูลค่า 2,500 ล้านยูโร ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.59% จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 2.94% เช่นเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น 6 เดือนที่เห็นได้ชัดว่าอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นจากการซื้อขายครั้งก่อน

กลายเป็นสถานการณ์ที่ทำให้นักวิเคราะห์เห็นตรงกันว่า อิตาลีประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคยุโรปยังคงต้องพึ่งพาแรงสนับสนุนจากอีซีบี

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเห็นว่า การต่อต้านแผนรัดเข็มขัดของอิตาลีอาจไม่ส่งผลตามที่คาดกันไว้มากนัก เพราะที่ผ่านมาทั่วโลกได้ประจักษ์แล้วว่า มาตรการอีซีบีช่วยเสริมสภาพคล่องในภูมิภาคเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ดุลบัญชีของธนาคารทั่วยุโรปกลับมาสมดุลอีกครั้ง ยืนยันได้จากการที่ส่วนใหญ่สามารถจ่ายหนี้ฉุกเฉินที่กู้ยืมมาคืนได้

นักวิเคราะห์บางส่วนยังมองอีกว่า สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายจนน่าวิตก โดย ทริสเทน คูเปอร์ นักวิเคราะห์จากฟิเดลลิตี เวิล์ดไวด์ อินเวสต์เมนต์ อธิบายว่า เมื่ออิตาลีสามารถจัดการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาได้สำเร็จ รัฐบาลดังกล่าวน่าจะขาดเสถียรภาพและไร้ศักยภาพในการทำงานอยู่สักระยะ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีต้องวุ่นวายกับเรื่องการเมือง ทำให้ไม่มีเวลาไปเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ด้านนักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าการที่ผลลัพธ์การ เลือกตั้งของอิตาลีไม่เลวร้ายอย่างที่กลัวกันเป็นเพราะเริ่มเห็นสัญญาณ ทางบวกเกิดขึ้นภายในบรรยากาศเศรษฐกิจโลกปี 2556 และความเชื่อที่ว่าปัญหาวิกฤตยูโรโซนผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุดแล้ว รวมถึงการที่ดุลบัญชีของอีซีบีปรับตัวหดลดลงจนช่วยให้ธนาคารกลางยุโรปมี อาวุธรับมือวิกฤตหนี้สาธารณะในมือเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การที่นักลงทุนส่วนใหญ่วิ่งหนีออกจากตลาดยูโรโซน ยังถือเป็นโอกาสสำคัญท่ามกลางวิกฤตของธุรกิจกิจการต่างๆ ที่จะสร้างกลยุทธ์และจุดยืนภายในตลาดให้แข็งแกร่ง โดย จีออร์นาโด ลอมบาร์โด ประธานฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) ของไพโอเนียร์ อินเวสต์เมนต์ ประจำเมืองมิลาน กล่าวว่า ควันหลงที่ตามมาไม่จำเป็นต้องเป็นผลลัพธ์ที่เลวร้ายเสมอไป

กระนั้น ไม่ว่าผลสุดท้ายของอิตาลีจะเป็นเช่นไร แต่การที่แดนมักกะโรนีแห่งนี้ต้องเผชิญปัญหากับการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งมี หน้าที่บริหารปกครองประเทศ ก็เพียงพอที่จะทำให้นักลงทุนทั่วโลกอยู่ในอาการวิตกกังวล

เพราะเมื่อหนึ่งในรัฐบาลชาติสมาชิกสำคัญในยูโรโซนอย่างอิตาลี ไม่ยอมเดินตามแนวทางรัดเข็มขัดของอีซีบีเพื่อฟื้นจากวิกฤตการเงินและ เศรษฐกิจของภูมิภาค คำว่า “ล้ม” และ “ล่ม” ย่อมต้องอยู่ในข้อควรระวังลำดับต้นๆ สำหรับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในยุโรปต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลุงจิม

  • สำหรับราคาทองที่หล่นเรื่อยๆ** ในตอนนี้ จะหยุดลงอย่างเร็วที่สุด ในวันที่ ๒๘ ก.พ. และอย่างช้าที่สุดในวันที่ ๒๗ มี.ค. (วันเกิดลุงเอง)
  • หลังจากนั้นทองจะเปลี่ยนมาอยู่ในขาขึ้น และไปถึงอย่างน้อย ๓๕๐๐ เหรียญสหรัฐ

http://www.jsmineset...-this-reaction/

 

** ลุงจิมอธิบายเพิ่มเติมว่ากรอบเวลาที่ลุงว่าไว้ = แรงกดดันราคาทองคำ

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอถามเล่น ๆ นะครับคิดว่า โซรอส กำลังว่าแผนอะไรอยู่อ่ะ :38

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

.....

 

127546_600_thumb.jpg

 

เรื่องอายุเกษียณในเมืองลุงแซม และหลายๆประเทศ เป็นประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกัน

 

ในเมืองลุงแซม อายุเกษียณ จะเป็นจุดที่ผู้สูงวัยจะได้รับเงินเลี้ยงดู และประกันสุขภาพจากกองทุนประกันสังคมที่ถูกบังคับให้แบ่งเงินไปใส่กองทุนนี้ตั้งแต่เขาเริ่มทำงาน

 

ถ้าให้เดา ก็น่าจะเป็นเพราะผู้ดูแลกองทุนประกันสังคมเขาเอาเงินไป ถลุง ลงทุน จนเรือหายหมดแล้ว + ระบบประกันสังคม เป็นพีระมิดสคีมอย่างหนึ่ง --- ผู้สูงอายุจำนวนมากที่กำลังจะเกษียณจะทำให้ระบบพังลงได้ง่ายๆ เลยใช้วิธีเพิ่มอายุเกษียณโดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เพื่อเตะกระป๋องไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายเงินออกจากกองทุนเร็วเกินไป

 

ผู้สูงอายุบางคนที่ตั้งความหวัง (ตามที่มีคนสัญญากับเขาไว้ตอนเขาเริ่มทำงาน) ว่าจะเกษียณอายุ อยู่สบายๆ เลยต้องผิดแผน ทำงานเพิ่มอีกไปเรื่อยๆ เพื่อรอให้มีสิทธิ์รับสวัสดิการ

 

ถ้าเงินเก็บของผู้สูงอายุอยู่ในหุ้น และกองทุน และตลาดหุ้นดันพังตอนที่ถึงอายุเกษียณอีก ** คราวนี้ก็คงต้องทำงานจนหมดแรงทำไม่ไหว ..... :(

 

** เมื่อตอนวิกฤตเบอร์เกอร์ ผู้สูงอายุที่เกษียณไปแล้วบางคน ก็ต้องกลับมาทำงาน เพราะเงินหายไปกับตลาดหุ้น และตลาดอสังหาฯ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มะกันดิ่งสู่ตัดงบอัตโนมัติ หลังโอบามาถกผู้นำสภาไร้ทางออก blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 02:50 น.

 

 

blank.gif

 

เอเจนซี - รัฐบาลสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์(1) ดิ่งสู่มาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมอย่างอัตโนมัติ ซึ่งอาจฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังประธานาธิบดีบารัค โอบามาและเหล่าผู้นำสภาคองเกส ที่ยังคงปักหลักปกป้องจุดยืนของตนเอง ล้มเหลวในการค้นหาแผนออกมาตรการอื่นๆ มาใช้แทนมาตรการนี้

 

มาตรการที่ไร้ความยืดหยุ่นหรือมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ (ซีเควสเตอร์ sequester) เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายในปี 2011 ที่มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขวิกฤติการคลังในปีนั้น อย่างไรก็ดี ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันต่างก็ไม่ชื่นชอบมาตรการนี้ เพราะมันจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ แต่วิธีเดียวที่สามารถหลีกเลี่ยง ซีเควสเตอร์ นี้ได้ต้องมาจากข้อตกลงระหว่างสภาคองเกสและทำเนียบขาว

 

อย่างไรก็ดีตามหลังการหารือที่ทำเนียบขาวในวันศุกร์(1) ทั้งสองฝ่ายคงปักหลักปกป้องจุดยืนของตนเอง นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงที่หน่วยงานต่างๆของรัฐบาล จะถูกตัดงบประมาณรายจ่ายอย่างเหมารวมทั่วทุกภาคส่วน 85,000 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม

 

พรรคเดโมแครตทำนายว่าการตัดงบประมาณรายจ่ายจะส่งผลกระทบเร็วๆนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรทางอากาศที่จะล่าช้า ลูกจ้างของรัฐหลายแสนคนถูกพักงาน รวมถึงสร้างความยุ่งเหยิงแก่ด้านการศึกษาและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

556000002725101.JPEG โอบามาแถลงหลังจาก หารือกับเหล่าผู้นำสภาคองเกสจากทั้งรีพับลิกันและเดโมแครต โดยยอมรับว่ารัฐบาลกำลังดิ่งมุ่งหน้าสู่มาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ blank.gif แม้ความสาหัสอย่างเต็มรูปแบบของมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ จะมีกรอบเวลาอยู่ที่ 7 เดือน แต่สภาคองเกรสสามารถหยุดยั้งมันได้ทุกเมื่อ หากว่าทั้งสองพรรคสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

 

ขณะที่ โอบามา ก็ไม่ถึงขั้นทุรนทุรายต่องบประมาณที่จะถูกตัดทอนลงไป "แม้มาตรการตัดลดงบประมาณมีผลบังคับใช้ ชาวบ้านทุกหัวระแหงของประเทศแห่งนี้จะทำงานหนักเพื่อสร้างความเชื่อมันว่า เราจะเดินหน้าฟื้นตัวต่อไป แต่วอชิงตันเองก็ยอมรับว่ามันคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ" เขากล่าวหลังจากพบปะกับแกนนำพรรครีพับลิกันและเดโมแครตที่ทำเนียบขาว

 

หากปราศจากข้อตกลง โอบามา จะมีเวลาจนถึงเที่ยงคืน สำหรับออกประกาศให้หน่วยงานต่างๆของรัฐบาลลดงบประมาณลง ขั้นตอนที่เรียกว่า "ซีเควสเตอร์" ขณะเดียวกันสำนักงบประมาณทำเนียบขาว ก็ต้องส่งรายงานรายละเอียดของการตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านั้นถึงสภา คองเกรส และในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หน่วยงานของรัฐก็จะแจ้งถึงลูกจ้างว่ามีใครบ้างที่ถูกพักงาน

 

ในวันพฤหัสบดี(28ก.พ.)สมาชิกรีพับลิกันบางคนวิจารณ์ว่า การนัดหารือในวันที่มาตรการลดการใช้จ่ายเริ่มมีผลบังคับใช้เช่นนี้บ่งชี้ว่า ทำเนียบขาวไม่จริงใจในการหาทางออก ขณะที่บางคนกล่าวหาว่า ประธานาธิบดีใช้ "เทคนิคการข่มขู่” เพื่อบีบให้รัฐสภาขึ้นภาษี

 

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินแล้ว อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจะหดหายไปร้อยละ 0.6 หรืออาจมากกว่านั้น จากมาตรการซีเควสเตอร์ ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็เตือนว่ามาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมอย่าง อัตโนมัติ จะฉุดเศรษฐกิจของอเมริกาจะหดหายไปอย่างน้อยๆร้อยละ 0.5 ในปีนี้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มะกันดิ่งสู่ตัดงบอัตโนมัติ หลังโอบามาถกผู้นำสภาไร้ทางออก blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 02:50 น.

 

 

blank.gif

 

เอเจนซี - รัฐบาลสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์(1) ดิ่งสู่มาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมอย่างอัตโนมัติ ซึ่งอาจฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังประธานาธิบดีบารัค โอบามาและเหล่าผู้นำสภาคองเกส ที่ยังคงปักหลักปกป้องจุดยืนของตนเอง ล้มเหลวในการค้นหาแผนออกมาตรการอื่นๆ มาใช้แทนมาตรการนี้

 

มาตรการที่ไร้ความยืดหยุ่นหรือมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ (ซีเควสเตอร์ sequester) เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายในปี 2011 ที่มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขวิกฤติการคลังในปีนั้น อย่างไรก็ดี ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันต่างก็ไม่ชื่นชอบมาตรการนี้ เพราะมันจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ แต่วิธีเดียวที่สามารถหลีกเลี่ยง ซีเควสเตอร์ นี้ได้ต้องมาจากข้อตกลงระหว่างสภาคองเกสและทำเนียบขาว

 

อย่างไรก็ดีตามหลังการหารือที่ทำเนียบขาวในวันศุกร์(1) ทั้งสองฝ่ายคงปักหลักปกป้องจุดยืนของตนเอง นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงที่หน่วยงานต่างๆของรัฐบาล จะถูกตัดงบประมาณรายจ่ายอย่างเหมารวมทั่วทุกภาคส่วน 85,000 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม

 

พรรคเดโมแครตทำนายว่าการตัดงบประมาณรายจ่ายจะส่งผลกระทบเร็วๆนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรทางอากาศที่จะล่าช้า ลูกจ้างของรัฐหลายแสนคนถูกพักงาน รวมถึงสร้างความยุ่งเหยิงแก่ด้านการศึกษาและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

556000002725101.JPEG โอบามาแถลงหลังจาก หารือกับเหล่าผู้นำสภาคองเกสจากทั้งรีพับลิกันและเดโมแครต โดยยอมรับว่ารัฐบาลกำลังดิ่งมุ่งหน้าสู่มาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ blank.gif แม้ความสาหัสอย่างเต็มรูปแบบของมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวม อย่างอัตโนมัติ จะมีกรอบเวลาอยู่ที่ 7 เดือน แต่สภาคองเกรสสามารถหยุดยั้งมันได้ทุกเมื่อ หากว่าทั้งสองพรรคสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

 

ขณะที่ โอบามา ก็ไม่ถึงขั้นทุรนทุรายต่องบประมาณที่จะถูกตัดทอนลงไป "แม้มาตรการตัดลดงบประมาณมีผลบังคับใช้ ชาวบ้านทุกหัวระแหงของประเทศแห่งนี้จะทำงานหนักเพื่อสร้างความเชื่อมันว่า เราจะเดินหน้าฟื้นตัวต่อไป แต่วอชิงตันเองก็ยอมรับว่ามันคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ" เขากล่าวหลังจากพบปะกับแกนนำพรรครีพับลิกันและเดโมแครตที่ทำเนียบขาว

 

หากปราศจากข้อตกลง โอบามา จะมีเวลาจนถึงเที่ยงคืน สำหรับออกประกาศให้หน่วยงานต่างๆของรัฐบาลลดงบประมาณลง ขั้นตอนที่เรียกว่า "ซีเควสเตอร์" ขณะเดียวกันสำนักงบประมาณทำเนียบขาว ก็ต้องส่งรายงานรายละเอียดของการตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านั้นถึงสภา คองเกรส และในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หน่วยงานของรัฐก็จะแจ้งถึงลูกจ้างว่ามีใครบ้างที่ถูกพักงาน

 

ในวันพฤหัสบดี(28ก.พ.)สมาชิกรีพับลิกันบางคนวิจารณ์ว่า การนัดหารือในวันที่มาตรการลดการใช้จ่ายเริ่มมีผลบังคับใช้เช่นนี้บ่งชี้ว่า ทำเนียบขาวไม่จริงใจในการหาทางออก ขณะที่บางคนกล่าวหาว่า ประธานาธิบดีใช้ "เทคนิคการข่มขู่” เพื่อบีบให้รัฐสภาขึ้นภาษี

 

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินแล้ว อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจะหดหายไปร้อยละ 0.6 หรืออาจมากกว่านั้น จากมาตรการซีเควสเตอร์ ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็เตือนว่ามาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมอย่าง อัตโนมัติ จะฉุดเศรษฐกิจของอเมริกาจะหดหายไปอย่างน้อยๆร้อยละ 0.5 ในปีนี้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้วย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าวนี้น่าจะทำให้ตลาดหุ้นอเมริกาล่วงหนัก แต่DJปิดตลาดวันศุกร์ไม่ล่วง มองได้แนวไหนบ้าง(เพื่อนช่วยเสริมมุมมองด้วยครับ)

---1)ตลาดDJปิดก่อนและช่วงก่อนปิดตลาด นักลงทุนก็เชื่อว่าจะตกลงกันได้DJถึงไม่ล่วง อาจเทกระหน่ำในสัปดาห์หน้า

---2)ตลาดเชื่อว่าถึงจะตกลงกันช้าไปนิด แต่ก็จะสามารถหาข้อสรุปได้ในเร็ววัน ทำให้ผลของ "ซีเควสเตอร์"ไม่มีผลอะไร

---3)จะทำให้มีการลดเครดิตอเมริกามั้ย บริษัทไหนจะกล้าลด ครั้งที่แล้วS&Pลดเครดิตอเมริกาก็โดนคนของรัฐบาลเอาคืน โดนตรวจสอบเรื่องผิดพลาดต่างๆที่จะเล่นงานS&Pและมีการฟ้องเรียกค่าปรับ ด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเทศที่มีทองคำสำรองมากที่สุดโลก (The World 's Biggest Gold Reserves)

 

(ข้อมูลจาก World Gold Council ม.ค. 2013)

 

1. อเมริกา 8133.5 ตัน (76.3% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

2. เยอรมัน 3391.3 ตัน (73.5% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

3. อิตาลี 2451.8 ตัน (72.8% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

4. ฝรั่งเศส 2435.4 ตัน (71.2% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

5. จีน 1054.1 ตัน (1.7% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

6. สวิสเซอร์แลนด์ 1040.1 ตัน (11% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

7. รัสเซีย 934.9 ตัน (9.8% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

8. ญี่ปุ่น 765.2 ตัน (3.3% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

9. เนเธอแลนด์ 612.5 ตัน (60.6% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

10. อินเดีย 557.7 ตัน (10.3% ของปริมาณทุนสำรองฯ)

 

สำหรับต้นปีนี้มีความเคลื่อนไหวจากปลายปีก่อนเล็กน้อย ที่น่าสนใจคือประเทศรัสเซียมีการสั่งซื้อทองคำมาเก็บไว้เป็นทุนสำรอง (Monetary Gold) เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

เป็นที่ทราบกันว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารัสเซียเป็นประเทศที่นำเข้าทองคำเพื่อเป็นทุนสำรองมากที่สุดในโลก (มากกว่าจีนประมาณ 25%) ทั้งนี้รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาสินเชื่อในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง (1997-1999) อย่างรุนแรง จนถึงขนาดที่ต้องนำน้ำมันดิบไปแลกกับทองคำในราคาขาดทุนมโหฬารอย่างทันทีเพื่อบรรเทาปัญหาผิดนัดชำระหนี้ (คนเกิดรุ่นเดียวกับผมน่าจะจำเหตุการณ์นี้ได้นะ) ภายหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนั้นในยุคของประธานาธิบดี Vladimir Putin เมื่อฟื้นฟูให้รัสเซียกลับมาจากความบอบช้ำทางเศรษฐกิจได้ เขาก็ดำเนินนโยบายที่เน้นการสำรองทองคำเพิ่มมาตลอด

 

ขณะเดียวกันจากข้อมูลข้างต้น สังเกตหรือไม่ว่าประเทศจีนแม้ว่าจะมีปริมาณทองคำสำรองมากเป็นอันดับที่ห้าของโลก แต่หากเทียบเป็นอัตราส่วนของปริมาณทุนสำรองฯ แล้วจะดูน้อยมากคือเป็นเพียง 1.7% เท่านั้น!!!

 

สาเหตุที่ปริมาณทองคำเทียบเป็นอัตราส่วนทุนสำรองฯ น้อยขนาดนี้ มี 2 สาเหตุหลัก คือ

1) ปริมาณทุนสำรองฯ ของจีนมีมหาศาลเลยเทียบสัมพัทธ์แล้วดูน้อย

2) การที่จีนถือหาง US Dollar ด้วยการทำตัวเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ผ่านพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนั้น เอื้อต่อการเติบโตและเข้ากับยุทธศาสตร์ที่จีนกำหนดไว้

 

อย่างไรก็ตามความไม่สมดุลดังกล่าว รวมถึงสภาพเศรษฐกิจโลกที่ดูเหมือนจะยังไม่มีเสถียรภาพ (แข่งกัน QE เพื่ออัดฉีดสภาพคล่อง) ทำให้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศหลายคนวิเคราะห์ว่าจีนจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณทองคำสำรองให้มากกว่าปัจจุบันอีกประมาณ 5 เท่า (เพิ่มปริมาณทองคำสำรองเป็นประมาณ 6000 ตัน)

 

แต่ทว่าดูเหมือนจีนจะไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจจากคำเตือนนั้นนัก เพราะการทำเช่นนั้นก็เท่ากับทำร้ายเงินในกระเป๋าตัวเองเช่นกัน (เพราะปริมาณเงินทุนสำรองฯ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ) และหรืออาจจะมองอีกมุมได้ว่า ...

 

ไม่ใช่ไม่อยากซื้อ แต่หากจีนจะพยายามสำรองทองคำเพิ่มเพื่อปกป้องความเสี่ยงทางยุทธศาสตร์ พวกเขาจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 8 ปีในการค่อยๆ สะสมทองคำให้ได้ตามเป้า

 

แม้ว่า "ทองคำ" จะเป็นสินทรัพย์ที่ผมไม่ใคร่สนับสนุนให้ใครซื้อเพื่อการลงทุน (เพราะมันไม่มี Intrinsic Value) แต่หากสินทรัพย์ที่ลงทุนในตลาดหลัก และสินทรัพย์ลงทุนทางเลือก มีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงมากๆ

 

"ทองคำ" น่าจะถูกใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือในการกระจาย (Diversify) และบริหารความเสี่ยงมากที่สุดตัวหนึ่งครับ

 

เมื่อสามปีก่อนมีเพื่อนนักลงทุนท่านหนึ่งมาแลกเปลี่ยนกับผมว่าเขาควรซื้อทองคำหรือไม่? ผมเสนอให้เขาจัดสรรเงินก้อนนั้นมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แทน เพราะถ้าหากสมมติฐานเรื่องมูลค่าของเงินด้อยลงถูกใช้เป็นเหตุผลในการซื้อทองคำ จากบริบทกลไกการด้อยค่าของเงินตามสมมติฐานที่เขากล่าวมาเราจะอนุมานได้ว่ามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ (ที่เป็นที่ต้องการของตลาด) จะต้องพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน แต่อสังหาริมทรัพย์สามารถใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์ OPM การสนับสนุนทางด้านภาษีจากรัฐบาล และแนวโน้มดอกเบี้ยต่ำระยะยาว หากคำนวณผลตอบแทนเป็น IRR จะพบว่าอสังหาริมทรัพย์มีความน่าสนใจกว่ามากมาย ไม่นับข้อดีอื่นๆ เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนที่สามารถใช้ทักษะความรู้ที่เหนือกว่าในการเอาชนะตลาดได้ ในขณะที่ราคาทองคำจะถูกกำหนดโดยนายตลาดและยากที่จะทำนายได้อย่างแม่นยำผ่านแบบจำลองต่างๆ เพราะมีสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับราคาทองคำมากมาย

 

โชคดีที่เราแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน เพราะหากเพื่อนนักลงทุนท่านเดิมมาแลกเปลี่ยนกับผมด้วยคำถามเดียวกันในวันนี้ จากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังร้อนแรงมาก ผมคงตอบคำถามนี้ยากทีเดียวว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่น่าซื้อหรือเปล่า

 

The Hekonomist

 

******************************************************************************************

 

Ran Pravithana ไม่เห็นด้วยเรื่องที่ทองไม่มี intrinsic value ครับ

ผมมองว่าทองนี่แหละ ที่มี intrinsic value มากที่สุดเมื่อเทียบกับ currency อื่นๆ ที่พิมพ์กันมั่วซั่ว ทองถูกใช้ในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมาหลายพันปี ก่อนที่โลกนี่จะวิปริตเอาแบงค์กระดาษมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทน

ถึงวันหนึ่งที่ธนบัตรไร้ค่าท่วมโลก เมื่อนั้นคนจะต้องกลับมาหาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่คัดสรรโดยธรรมชาตินั่นคือทองคำ และเมื่อนั้นราคาของทองคำเมื่อเทียบกับแบงค์กระดาษก็จะเทียบไม่ได้เลยกับตอนนี้

9 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 6

 

Ran Pravithana และผมคิดว่ายุทธศาสตร์ของจีนในระยะยาวจะไม่เก็บทุนสำรองเป็น us แน่ๆ ครับ ดูจากการสะสมทองคำ รวมถึงการหาช่องทางการลงทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การซื้อพันธบัตรสหรัฐ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เมื่อจีนพร้อม จีนจะถีบส่งอเมริกาและดันหยวนขึ้นเป็นทุนสำรองโลกแทนแน่นอน

9 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 9

 

 

Ran Pravithana ปากจีนก็พูดเชียร์ dollar ครับ แต่ภาคปฏิบัติจริงๆ จีนสะสมทองคำต่อเนื่อง วางแผนระยะยาวที่จะโค่น dollar ลงแบบเนียนๆ

ผมว่าลึกๆ จีนก็กลัวจะเจ๊งแบบญี่ปุ่นตอนที่โดน plaza accord หักคอ ทำเอาทุนสำรองประเทศลดฮวบไปครึ่งนึง เพราะ us dollar ถูกแทรกแซงให้อ่อนค่า หลังจากนั้นญี่ปุ่นไม่ฟื้นอีกเลยจนถึงทุกวันนี้

9 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 6

 

 

Ran Pravithana ผมว่าหยวนจะบินอิสระได้ก็ต่อเมื่อจีนลดการพึ่งพาการส่งออกได้ครับ ถ้าการบริโภคในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนจีนได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นหยวนน่าจะหยุด peg กับ dollar และน่าจะโบยบินได้ทันที

ซึ่งนโยบาย urbanization ของจีนที่กระจายสาธารณูปโภคไปยังเมืองต่างๆ และเร่งการบริโภคในประเทศนี่แหละครับ จะเป็นอาวุธเด็ดของจีนในระยะยาว

ถ้าจีนสร้างเองใช้เองได้เมื่อไหร่ อเมริกาจะหมดความสำคัญสำหรับจีนในทันที ซึ่งผมว่า urbanization ของจีน ไม่น่าจะเกิน 5-10 ปีน่าจะเป็นรูปเป็นร่างครับ

9 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 6

 

 

Ran Pravithana ทุกวันนี้จีนมี dollar ท่วม reserve เหตุหนึ่งก็เกิดจากการแทรกแซงเพื่อ peg ค่าเงิน ถ้าหยวนไม่ peg กับ dollar จีนก็จะลดการสะสม dollar เป็น reserve ได้อีกทาง ช่วงเวลานั้นอาจจะเกิด petroyuen แทน petrodollar ก็ได้ครับ และถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงๆ เงิน dollar ทั่วโลกจะไหลบ่ากลับอเมริกา ผมคิดว่าเมื่อนั้นเตรียมรออเมริกาเปิดสงครามโลกได้เลย ^^"

9 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 6

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=222012754605157&set=a.187322068074226.46535.187186628087770&type=1&theater

 

****************************************************************************************************

 

อ่านแล้วเหมือนว่า ศึกนี้คงยืดเยื้อยาวนานหลายปี ไม่ใช่แค่ระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่เดือน หรือ ไม่กี่ปี > <

ถูกแก้ไข โดย tunn

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“โอบามา” ลงนามคำสั่งตัดงบอัตโนมัติ $85,000 ล้าน หลังเจรจาคองเกรสล้มเหลว blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 12:10 น.

 

 

blank.gif 556000002731101.JPEG ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แถลงข่าวเรื่องมาตรการตัดงบแบบเหมารวมอัตโนมัติ (sequestration) หลังสิ้นสุดการเจรจากับผู้นำคองเกรสที่ทำเนียบขาว วานนี้(1) blank.gif รอยเตอร์ - ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐลงทั้งระบบ เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา(1) หลังการเจรจากับฝ่ายรีพับลิกันเพื่อบรรลุข้อตกลงหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าว ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งการหั่นรายจ่ายแบบเหมารวมนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และบั่นทอนความพร้อมของกองทัพ

 

“การตัดงบประมาณอาจยังไม่มีผลกระทบต่อทุกฝ่ายในทันที แต่ความเดือดร้อนจะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปครอบครัวชนชั้นกลางจะเริ่มสัมผัสได้ถึงความยาก ลำบาก” โอบามา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว หลังเสร็จสิ้นการประชุมกับบรรดาผู้นำเดโมแครตและรีพับลิกันในสภาคองเกรส

 

เมื่อคืนวานนี้(1) โอบามาลงนามประกาศใช้มาตรการตัดงบแบบเหมารวม หรือ “ซีเควสเตรชัน” (sequestration) ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดถูกตัดงบรวมทั้งสิ้น 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันนี้(2) ไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม โดยครึ่งหนึ่งจะมาจากงบของกระทรวงกลาโหม

 

ชัค เฮเกล ผู้นำเพนตากอนคนใหม่ กล่าวเตือนว่า การหั่นงบกองทัพครั้งนี้จะทำให้ภารกิจด้านการทหารทั้งหมดตกอยู่ในความเสี่ยง

 

แม้คองเกรสและ โอบามา จะยังพอมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะยับยั้งมาตรการซีเควสเตรชัน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสเมื่อปี 2011 เพื่อแก้ไขวิกฤตงบประมาณสหรัฐฯในช่วงนั้น ทว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังไม่มีท่าทีรอมชอมกันได้

 

พรรคเดโมแครตประเมินว่า การตัดงบประมาณทั้งระบบจะก่อปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการสัญจรทางอากาศ, กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยอาหารที่ช้าลง อันจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเนื้อสัตว์ในตลาด, การยกเลิกสัญญาระหว่างเอกชนกับภาครัฐ และความเสียหายต่อเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพต่างๆ

 

หัวใจของวิกฤตงบประมาณครั้งนี้ก็คือความเห็นไม่ลงรอยระหว่างฝ่ายเดโม แครตกับรีพับลิกันเกี่ยวกับวิธีที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีที่มาจากการทำสงครามต่อเนื่องหลายปีในอิรักและอัฟกานิสถาน รวมถึงเม็ดเงินที่รัฐบาลใช้อัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

โอบามา ต้องการให้รัฐตัดงบประมาณบางส่วนควบคู่ไปกับการขึ้นภาษี ขณะที่รีพับลิกันก็ไม่ปรารถนาที่จะอ่อนข้อในเรื่องภาษีอีก หลังจากที่เคยยอมไปแล้วครั้งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยง “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา

 

ความโกรธเกรี้ยวจากสังคมน่าจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีที่สุดที่จะทำให้ รัฐบาลและคองเกรสยอมหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการตัดงบประมาณที่จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกภาคส่วนภายใน อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

 

การตัดงบอัตโนมัติ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯอาจฟังดูไม่มากมายเมื่อเทียบกับงบรายจ่ายรวมของรัฐบาล สหรัฐฯที่สูงถึง 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี แต่เนื่องจากโครงการสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพต้องได้รับการปกป้องไว้ ทำให้ภาระส่วนใหญ่จะไปตกอยู่กับพนักงานรัฐมากกว่าประชาชนที่ได้รับการอุด หนุนโดยตรง

 

รัฐบาลสหรัฐฯถือเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่พลเรือนในสังกัดราว 2.7 ล้านคน ซึ่งหากการตัดงบอัตโนมัติยังคงมีผลบังคับต่อไป พนักงานรัฐกว่า 800,000 คนอาจถูกลดวันทำงานและตัดเงินค่าจ้าง ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน

 

หน่วยงานต่างๆเริ่มประกาศเตือนเรื่องการปลดพนักงานตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา และแจ้งเตือนไปอย่างทั่วถึงเมื่อวานนี้(1) หลังเป็นที่แน่นอนแล้วว่า การเจรจาโค้งสุดท้ายระหว่าง โอบามา กับผู้นำคองเกรสล้มเหลวแน่

 

ผลสำรวจออนไลน์โดยรอยเตอร์/อิปซอส เมื่อวานนี้(1) พบว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 28 โทษว่าเป็นความผิดของรีพับลิกันที่ทำให้การหลีกเลี่ยงมาตรการตัดงบรายจ่าย อัตโนมัติไม่เป็นผล, ร้อยละ 18 คิดว่าเป็นความผิดของ โอบามา, ร้อยละ 4 โทษฝ่ายเดโมแครต แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 37 คิดว่าผิดด้วยกันทุกฝ่าย

556000002731102.JPEG blank.gif

556000002731103.JPEG blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...