ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณทุกท่านทีนำข่าวสารมาให้อ่านครับ ส่วนตัวอ่านแล้วเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ได้ความรู้เพิ่่มขึ้นครับ :01

ผมก็เริ่มจากไม่มีความรู้เลย เริ่ม ก ที่เวปนี้ครับ(จบสายวิทยาศาสตร์) อ่านและคิดเพื่อสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ รู้มากขึ้นไปเรื่อยๆครับ

เคยเรียนที่โรงเรียนไหนก็จะรักและผูกพันธ์กับโรงเรียนนั้น สำหรับเรื่องการลงทุนผมเริ่มจากเวปนี้ผมถึงรักเวปนี้ครับ ในเวปนี้มีทั้งเพื่อน พี่ น้อง ที่มีน้ำใจเอาความรู้มาฝากกัน มีเจ้าของเวปที่ใจดีมีน้ำใจ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก็อปมาฝากครับ ดูแล้วอึ้ง :034

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ามด

ตายห่า ล่ะ เรื่องน้ำมันไม่ทันหายเรื่องทอง­คำมาแทนที่

 

หลังจากคลิปนี้เผยแพร่ไม่ถึง24ช­ม. เวบที่มาของข้อมูลส่งออกทองคำก็ถูกเปลี่ยนให้ข้อมูลหายวับไป เหลือแต่เศษตัวเลขที่ไม่สำคัญ เป็นความเลวร้ายมากที่สุดในการท­ำเรื่องข้อมูลความจริงประเทศไทย อำนาจมืดใดที่ทำลายข้อมูลในหน่ว­ยงานได้เพียงนี้???

 

เสวนาเปิดขุมทรัพย์แร่ทองคำของไทย ณ.สถานีเรดการ์ดเรดิโอ วิทยากร อ.สมลักษณ์ อ.ฉ.ฉิ่ง อ.สุรวทย์ 27-02-13

 

http://youtu.be/ZNnS3cwMQso

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพบนไทม์ไลน์

 

 

ย้อนกลับไปที่อัลบั้ม · รูปภาพของ ประเทศไทยอยู่ตรงไหน · หน้าของ ประเทศไทยอยู่ตรงไหน

ก่อนหน้านี้ · ถัดไป

373149_228414833852002_680339775_q.jpg

ประเทศไทยอยู่ตรงไหน

 

คนไทยจ่ายภาษีมากแค่ไหน?

 

ภาษีเป็นกลไกที่สำคัญมากของประเทศ เพราะนอกจากจะเป็นรายได้หลักของรัฐบาลที่นำไปใช้บริหารประเทศแล้ว ภาษียังเป็นกลไกสำคัญในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกหลายอย่าง เช่น เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ เครื่องมือควบคุมการบริโภคสินค้าบางประเภท เครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจผ่านโครงสร้างภาษีชนิดต่างๆ ฯลฯ

 

ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้ (Income Tax) ที่เก็บจากรายได้ของบุคคล/นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ที่เก็บจากสินค้าบางประเภท และภาษีศุลกากร (Custom Tax) ซึ่งเก็บจากการค้าขายระหว่างประเทศ ตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง [1] ระบุว่าในปี 2012 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้สุทธิจากภาษีทั้งสิ้น 1.83 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากกรมสรรพากรถึงประมาณ 74%

 

ข้อมูลปี 2010 จากธนาคารโลก [2] ได้แสดงสัดส่วนรายได้รัฐจากภาษีทุกประเภทเทียบกับ GDP ได้ดังนี้

 

มาเก๊า 34.3%

เดนมาร์ก 33.8%

นอร์เวย์ 27.4%

สหราชอาณาจักร 26.7%

ฝรั่งเศส 21.3%

สวีเดน 21.3%

ไทย 16.0%

เกาหลีใต้ 15.1%

มาเลเซีย 13.8%

สิงคโปร์ 13.5%

ฮ่องกง 13.5%

ลาว 12.9%

ฟิลิปปินส์ 12.1%

เยอรมนี 11.4%

สเปน 11.3%

อินโดนิเซีย 10.9%

กัมพูชา 10.1%

อินเดีย 9.7%

สหรัฐอเมริกา 9.4%

ญี่ปุ่น 9.1%

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากข้อมูลในปี 2010 ประเทศไทยเก็บภาษีทุกประเภทรวมกันได้เป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 16% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในอาเซียน และสูงกว่าหลายๆประเทศในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น อินเดีย หรือฮ่องกง รวมทั้งประเทศอย่าง สหรัฐฯ สเปน เยอรมนี ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อ GDP สูงกว่าประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในยุโรปโดยเฉพาะประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน เป็นต้น

 

การจัดเก็บภาษีแต่ละชนิดนั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกันไปไม่เฉพาะแต่เพื่อมุ่งสร้างรายได้เข้ารัฐเพียงอย่างเดียว เช่น ภาษีบุหรี่-สุรา มีเพื่อลดแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าทำลายสุขภาพ ภาษีนำเข้า มีเพื่อปกป้องตลาดสินค้าภายในประเทศบางชนิด โครงสร้างภาษีรายได้แบบขั้นบันไดมีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเทศย่อมมีนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าสัดส่วนรายได้จากภาษีทุกประเภทต่อ GDP ของประเทศไทยที่ค่อนข้างสูงนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้เข้ารัฐแล้ว การใช้จ่ายภาษีโดยรัฐบาลเองก็มีความสำคัญและควรได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ดังที่เราได้เคยนำเสนอไปแล้วในเรื่อง “งบประมาณไทยอยู่ตรงไหน” [3] หรือเรื่อง “งบทหารของไทย” [4][5] หรือหากท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถสืบค้นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่างๆได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง [6]

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=608665632493585&set=a.228416537185165.77508.228414833852002&type=1&theater

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ใหญ่ที่ทำงานในเฟดคนนึงเคยบอกกับผมว่า

การพิมพ์เงินก็เหมือนกับการฉี่บนเตียง

แรกๆก็รู้สึกดีหรอก แต่อีกไม่นานมันก็เละทีเดียวเลยหล่ะ

 

-- แฟรนเชสโก กูเอรา (วอลล์สรีทเจอร์นัล ก.พ. ๒๐๑๓)

 

 

http://www.zerohedge.com/news/2013-03-11/sense-and-nonsense

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดาวโจนส์ไม่ตอบโจทย์มะกันพื้นฐานยังน่าห่วงการเงินไม่แกร่งพอ

 

 

icon-sns-facebook.gif

2

icon-sns-tweeter.gif

0

 

5E1B76BB92D64223BE4B308817DC1334.jpg

 

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

ดูเหมือนว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันกำลังเดิน หน้าเข้าสู่ภาวะ “ฟ้าหลังฝน” เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ตกอยู่ในความถดถอยซบเซามาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2550

เห็นได้จากความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น ตลาดทุนแดนลุงแซมในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทำลายสถิติปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดรายวัน จนล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มี.ค. พุ่งทะยานเกิน 1.44 หมื่นจุด ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551

ขณะที่ตัวเลขการว่างงานปัจจัยสำคัญในการวัดสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐใน เดือน ก.พ. ปรับตัวลดลงเหลือ 7.7% จากเดิมที่ 7.9% ในเดือน ม.ค.ก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรยังเพิ่มขึ้น 2.36 แสนตำแหน่ง มากกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ว่าจะอยู่ที่เพียง 1.65 แสนตำแหน่ง

ด้านตลาดบ้านและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของครัวเรือนภายในสหรัฐส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยดัชนีเอสแอนด์พี เคสชิลเลอร์ ซึ่งเป็นดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองสำคัญทั่วสหรัฐในช่วงปี 2555 ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7%

เรียกได้ว่าตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจข้างต้นล้วนบ่งชี้ไปในทำนองที่ทำให้ ผู้คนทั่วโลกส่วนใหญ่เริ่มเชื่อมั่นว่าสหรัฐใกล้จะฟื้นคืนกำลังกลับมาอีก ครั้ง

อย่างไรก็ตาม หลังฝ่าฟันมรสุมมานาน นักลงทุน นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์อีกส่วนหนึ่ง ก็ยังอดตั้งคำถามไม่ได้อยู่ดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ดีพอที่จะตั้งความหวังกับสหรัฐได้อย่างวางใจได้หรือ ไม่

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ข่าวดีที่มีผลทางบวกต่อสหรัฐในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของแดนลุงแซมเป็นไปอย่าง ยั่งยืนแน่นอนแน่แล้วหรือ

และคำตอบที่ได้จากนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็คือ เศรษฐกิจของสหรัฐยังไม่อาจเรียกได้ว่าแข็งแกร่งดีพอ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

มาร์ก วิทเนอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากเวลส์ ฟาร์โก พร้อมใจกล่าวว่า หากมองในเชิงนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ผลลัพธ์ทางบวกมากมายที่เกิดขึ้น ต้องยกให้เป็นความดีความชอบของธนาคารกลางแห่งสหรัฐ (เฟด) กับความกล้าหาญของบรรดาผู้ประกอบการเป็นสำคัญ

เหตุผลเพราะขณะที่รัฐบาลกลางภายใต้การบริหารจัดการของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในนโยบายการคลังใดๆ ร่วมกันได้ จนประธานาธิบดีโอบามาจำต้องลงนามรับรองอนุมัติการใช้มาตรการซีเควสเตรชัน (การตัดลดงบประมาณภาครัฐแบบเหมารวม) ให้เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เป็นนโยบายทางการเงินของเฟด ทั้งการอัดเงินเข้าระบบ กดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำติดศูนย์ต่างหาก ที่ทำให้นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในสหรัฐ

และหากไม่เพราะเจ้าของกิจการทั้งหลายเลือกที่จะไม่สนใจกับปัญหาที่เกิด ขึ้นกับรัฐบาลสหรัฐ แล้วตั้งหน้าตั้งตาขวนขวายหาหนทางเดินหน้าต่อ และหาแนวทางเพื่อป้องกันตัวเองแล้ว ย่อมไม่มีการขยับขยายจนสามารถจ้างแรงงานเพิ่มเติมขึ้นมาได้

หรือสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า เพราะท่าทีของเฟดที่ยืนยันว่าจะยังไม่ยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐใน เร็ววันนี้แน่นอน ทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเดินหน้าลงทุนขยับขยายกิจการของตัวเอง

ทั้งนี้ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วสหรัฐส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจของสหรัฐยังคงมีปัจจัยน่าวิตกที่ทำให้ความหวังการฟื้นตัวเติบโตใน ระยะยาว ซึ่งรวมถึงกรณีที่เฟดยุติสารพัดมาตรการกระตุ้นต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ยังคงเกิดขึ้นได้ยาก

ปัจจัยแรกสุดย่อมหนีไม่พ้นกับกรณีของนโยบายทางการคลังของภาครัฐ ที่มีผลต่อการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐบาลทั้งระบบ โดยเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมืองของ 2 พรรคใหญ่ อย่างพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน

เพราะล่าสุด ประธานาธิบดีโอบามาได้เซ็นลงนามรับรองอนุมัติใช้มาตรการซีเควสเตรชัน (การตัดลดงบประมาณภาครัฐเหมารวมทั้งระบบ) เรียบร้อยแล้ว ทำให้ความเสี่ยงของการตัดลดรายจ่ายซึ่งจะมีผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ หดลง 0.5% และส่งผลต่อการปลดลดตำแหน่งงานที่มากกว่า 7 แสนตำแหน่ง มีความเป็นไปได้สูงมากขึ้น

ขณะเดียวกันตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันยังเป็นผลมาจากกำไร ของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมาจากปัจจัยบวกระยะสั้นของภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และภาคก่อสร้าง ขณะที่การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับที่ 2% ดังนั้น จึงไม่อาจสรุปได้เต็มปากว่าเศรษฐกิจของสหรัฐแข็งแรงดีแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ตัวเลขการจ้างงานจะลดลงแต่จำนวนคนว่างงานที่มีมากกว่า 12 ล้านคนทั่วประเทศ ก็ยังนับว่าสูงอยู่มากเมื่อเทียบกับจำนวนก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และยังคงเป็นปัจจัยขวางหลักที่จะผลักดันเศรษฐกิจของสหรัฐให้กลับมาแข็งแกร่ง บนลำแข้งของตัวเองได้อย่างแท้จริง เนื่องจากขาดกำลังการบริโภคของประชาชนภายในประเทศ

ปัจจัยต่อมาที่ทำให้นักวิเคราะห์รู้สึกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐยังวางใจไม่ ได้ก็คือ ผลการทดสอบสมรรถภาพทางการเงิน (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ในประเทศครั้งล่าสุด ซึ่งดำเนินการโดยเฟด

เพราะแม้รายงานการสำรวจจะพบว่า ธนาคาร 17 แห่งจากทั้งหมด 18 แห่ง รวมถึงซิตี้กรุ๊ป แบงก์ ออฟ อเมริกา และ เจ.พี.มอร์แกน จะผ่านการทดสอบจนสะท้อนให้เห็นว่าภาคการธนาคารของสหรัฐมีความแข็งแกร่งด้าน เงินทุนที่จะต้านวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

แต่เมื่อพลิกดูรายละเอียดของผลทดสอบครั้งใหม่ที่เกิดขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายกลับอดขมวดคิ้วไม่ได้ เพราะกฎระเบียบข้อบังคับสากลของภาคธนาคาร หรือกฎบาเซิล ที่เฟดนำมาใช้ในครั้งนี้ คือ บาเซิล 1 ไม่ใช่บาเซิล 3 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ล่าสุดที่ปรับปรุงให้เข้มงวด เนื่องจากกฎบาเซิล 3 นี้ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ทั้งหมด

ดังนั้น จึงเท่ากับว่าผลลัพธ์ที่ได้คราวนี้ ไม่อาจยืนยันได้เต็มที่ว่า ภาคธนาคารสหรัฐมีภูมิต้านทานที่แข็งแกร่งเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น ผลของธนาคารซิตี้กรุ๊ป ที่ได้อัตราส่วนร่วมในระดับ 1 ที่ 12.7% แต่หากคำนวณตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเบเซิล 3 อัตราส่วนร่วมข้างต้นของซิตี้กรุ๊ปจะอยู่ที่ 8.6%

นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจากผลการทดสอบสมรรถภาพทางการเงินครั้งนี้ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทำใจเชื่อไม่ได้ ก็คือการที่บางธนาคารเผยผลการทดสอบสมรรถภาพดังกล่าวที่คำนวณด้วยตัวเองออกมา เปรียบเทียบกับผลที่เฟดดำเนินงาน แล้วพบว่าผลลัพธ์มีความแตกต่างกันทั้งๆ ที่ใช้กฎเกณฑ์เดียวกัน

เพราะผลลัพธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กฎระเบียบที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางการเงินยังมีช่องว่างที่ทำให้แต่ละ ฝ่ายอาศัยมุมมอง หรือความคิดเห็นเฉพาะบุคคลเข้ามาตัดสิน

อาจพูดได้ว่าเกณฑ์ทดสอบขาดความเที่ยงตรง โดยตามรายงานของเฟด ผลการทดสอบของ เจ.พี.มอร์แกน อยู่ที่ 6.3% ขณะที่ทาง เจ.พี.มอร์แกน คำนวณได้ 7.6% หรือกรณีของโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งอยู่ที่ 8.6% สวนทางกับผลของเฟดที่ 5.8% และกับเวลส์ ฟาร์โก ที่ผลลัพธ์อยู่ที่ 8.3% แต่เฟดกลับได้ที่ 7%

เรียกได้ว่า การจ้างงานที่ยังไม่แน่นอน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากเฟด ความเป็นไปได้ที่จะต้องเผชิญกับมาตรการรัดเข็มขัดครั้งใหญ่ของภาครัฐ และความกังขาในความแข็งแกร่งของภาคธนาคาร ล้วนเป็นประเด็นที่ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จากหลายสำนักเห็นตรงกัน ว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวเรียบร้อยดีแน่ แล้ว

และขณะเดียวกันก็ยังเร็วเกินไปที่จะตั้งความหวังอย่างเชื่อมั่นกับมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกอย่างสหรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปตัวเลขของเดือนธันวาปีที่แล้วเพิ่งออกวันที่ 8 เดือนนี้ครับ

นิวไฮ อีกแล้วพี่น้องเอ๊ย สำหรับคูปองอาหาร

 

 

an all time high of 47,791,966 Americans closed 2012

http://www.zerohedge...-debt-20-eligib

 

ถ้าว่ากันเป็นครัวเรือนก็ 23,064,554 ครัวเรือนเอ๊ง นิวไฮเหมือนกัน เมกาฟื้นแน่นอนครับแบบนี้ :_ee

post-23-0-98740600-1363065408_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเรียนถามคุณหมอเล็กและคุณส้มโอมือ อยากทราบว่าการที่กองทุน SPDR เทขายทองออกมาทุกๆวันแบบนี้จะมีนัยสำคัญอะไรที่จะเกิดผลลบกะทองในอนาคตข้างหน้ามั้ยค่ะ เริ่มเสียวๆๆๆแล้วค่ะ ไม่มีแรงซื้อกลับเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคุ่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเรียนถามคุณหมอเล็กและคุณส้มโอมือ อยากทราบว่าการที่กองทุน SPDR เทขายทองออกมาทุกๆวันแบบนี้จะมีนัยสำคัญอะไรที่จะเกิดผลลบกะทองในอนาคตข้างหน้ามั้ยค่ะ เริ่มเสียวๆๆๆแล้วค่ะ ไม่มีแรงซื้อกลับเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคุ่ะ

การที่กองทุน SPDR เทขายเกิดจากการที่หลายๆเฮดจ์ฟันด์เทขายหุ้นของกองทุนครับ ระยะสั้นๆมันก็มีผลต่อราคาทองแน่ๆ แต่ในที่สุดถ้าขายกันจนไม่มีของส่งมอบกันแล้วตลาดกระดาษกับตลาดของจริงมันจะแยกกันครับ

ผมเคยอ่านเจอฝรั่งเม้นท์กันว่าที่มันเทขายเพราะมันน่าจะรู้อะไรบางอย่างว่ามันน่าจะไปไม่รอดเนื่องจากกองทุนนี้ไม่มีทองจริงๆ(จำไม่ได้แล้วว่าอ่านมาจากตรงใหนเลยเอาลิ้งค์มาให้ดูไม่ได้)

ใจเย็นๆรอก็แล้วกัน ให้คิดว่าซื้อพันธบัตร 7 ปี อิอิ จะได้สบายใจ

 

As the Gold price declines, the COMEX will approach a default.

The COMEX has almost no metal, and has almost no clients, compared to five years ago

http://www.silverdoc...one/#more-22940

 

ทุกๆประเทศกำลังแข่งกันพิมพ์เงินทำให้ค่าเงินลดลงยกตัวอย่างญี่ปุ่น ทองขึ้นราว 36%เพราะการนี้

In Japan, for example, gold has gone up like a rocket 36 percent.An ounce of gold in Japan selling for 125,000 yen in July 2012, now sells for 145,000 and even peaked at a highest ever of 155,000 in February. Japans ‘quantitative easing’, or print money like toilet paper, has reduced the value of the yen plummeting on international exchanges.So if a Japanese citizen has a yen for gold it is going to take more yen than ever to buy gold.

http://buying-gold.g...ncies-down.html

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การที่กองทุน SPDR เทขายเกิดจากการที่หลายๆเฮดจ์ฟันด์เทขายหุ้นของกองทุนครับ ระยะสั้นๆมันก็มีผลต่อราคาทองแน่ๆ แต่ในที่สุดถ้าขายกันจนไม่มีของส่งมอบกันแล้วตลาดกระดาษกับตลาดของจริงมันจะแยกกันครับ

ผมเคยอ่านเจอฝรั่งเม้นท์กันว่าที่มันเทขายเพราะมันน่าจะรู้อะไรบางอย่างว่ามันน่าจะไปไม่รอดเนื่องจากกองทุนนี้ไม่มีทองจริงๆ(จำไม่ได้แล้วว่าอ่านมาจากตรงใหนเลยเอาลิ้งค์มาให้ดูไม่ได้)

ใจเย็นๆรอก็แล้วกัน ให้คิดว่าซื้อพันธบัตร 7 ปี อิอิ จะได้สบายใจ

 

As the Gold price declines, the COMEX will approach a default.

The COMEX has almost no metal, and has almost no clients, compared to five years ago

http://www.silverdoc...one/#more-22940

 

ทุกๆประเทศกำลังแข่งกันพิมพ์เงินทำให้ค่าเงินลดลงยกตัวอย่างญี่ปุ่น ทองขึ้นราว 36%เพราะการนี้

In Japan, for example, gold has gone up like a rocket 36 percent.An ounce of gold in Japan selling for 125,000 yen in July 2012, now sells for 145,000 and even peaked at a highest ever of 155,000 in February. Japans ‘quantitative easing’, or print money like toilet paper, has reduced the value of the yen plummeting on international exchanges.So if a Japanese citizen has a yen for gold it is going to take more yen than ever to buy gold.

http://buying-gold.g...ncies-down.html

เสียวๆค่ะเพราะว่าติดแท่งจริงไว้ 400 บาทยังขายออกไม่ได้เลยราคาสุงมากค่ะถ้าถัวเฉลี่ยแล้วราคาประมาณ 25500 ค่ะ สงสัยปีนี้คงไม่ได้ลงดอยอันยาวไกลนี้อย่างแน่นอนค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสียวๆค่ะเพราะว่าติดแท่งจริงไว้ 400 บาทยังขายออกไม่ได้เลยราคาสุงมากค่ะถ้าถัวเฉลี่ยแล้วราคาประมาณ 25500 ค่ะ สงสัยปีนี้คงไม่ได้ลงดอยอันยาวไกลนี้อย่างแน่นอนค่ะ

ถึงเวลาที่มันขึ้นเลยราคาซื้อไปก็ใจเย็นๆนะครับ ผมเคยเห็นหลายคนที่ดอยนานๆ พอราคามามีกำไรหน่อยแล้วรีบขายกลัวไม่ได้ลงดอย

ปล. 26450 ผมก็มีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงเวลาที่มันขึ้นเลยราคาซื้อไปก็ใจเย็นๆนะครับ ผมเคยเห็นหลายคนที่ดอยนานๆ พอราคามามีกำไรหน่อยแล้วรีบขายกลัวไม่ได้ลงดอย

ปล. 26450 ผมก็มีครับ

5555 กิ๊บเก๋อยากจะบอกว่าของกิ๊บเก๋มีตั้งแต่ปี 2011 ค่ะที่ราคา 26950 26850 26450 ทั้งหมด 50 บาทค่ะ วันนั้นรู้สึกว่าทองจะขึ้นไปถึง 27050 ไม่แน่ใจค่ะ แล้วก็วันนั้นออกไปธุระไม่ได้ติดตาม แล้วต่อมาราคาก็ร่วงยาวววววววววเกือบ 1000 บาทก็เลยถือเลยตามเลยค่ะ สุดท้ายดอยค้างเติ่งค่ะ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปตัวเลขของเดือนธันวาปีที่แล้วเพิ่งออกวันที่ 8 เดือนนี้ครับ

นิวไฮ อีกแล้วพี่น้องเอ๊ย สำหรับคูปองอาหาร

 

 

an all time high of 47,791,966 Americans closed 2012

http://www.zerohedge...-debt-20-eligib

 

ถ้าว่ากันเป็นครัวเรือนก็ 23,064,554 ครัวเรือนเอ๊ง นิวไฮเหมือนกัน เมกาฟื้นแน่นอนครับแบบนี้ :_ee

น่าสงสารเหมือนกันกันนะครับ

ผมเคยเห็นในทีวี จากคนที่มีธุรกิจ มีบ้าน มีรถ มาเป็นคนไร้บ้าน หมดสิทธิดูแลลูก ต้องให้รัฐเลี้ยง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อันนี้เป็นอีกอันนึงที่แสดงให้เห็นถึงการจ้างงานของเมกาว่าที่จริงแล้วไม่ได้ดีขึ้นเลย

ก่อนหน้าที่จะมีปัญหา การจ้างงานอยู่ที่ 63% ตกลงมาต่ำกว่า 59% เป็นเวลา 42เดือนต่อกันแล้ว

 

 

 

A chart of the employment-population ratio in the United States over the past several years is posted below...

Employment-Population-Ratio-2013-425x255.png

As you can see, the percentage of Americans with a job fell from about 63 percent to below 59 percent during the last economic crisis. Since that time, it has not risen back above 59 percent. This is the first time in the post-World War II era that we have not seen the employment rate bounce back following a recession. At this point, the employment-population ratio has been below 59 percentfor 42 months in a row.

http://theeconomiccollapseblog.com/archives/the-chart-that-proves-that-the-mainstream-media-is-lying-to-you-about-unemployment

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Brazil’s real fell from a 10-month high after the central bank sold $1 billion of reverse foreign- exchange swaps to weaken the currency.

http://www.bloomberg.com/news/2013-03-11/brazil-real-drops-from-10-month-high-as-central-bank-intervenes.html

 

บราซิลก็ทนแข็งไม่ไหว ต้องแซกแซงลดค่่าเงินตัวเอง

ประเทศใหนอ่อนเร็ว,อ่อนแรงชนะยกแรก ยกสุดท้ายตายหมู่ :_cd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...