ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ดาวโจนส์ทรงตัว น้ำมันร่วงฉุดหุ้นพลังงาน ขณะผิดหวังจ้างงานภาคเอกชน

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 22:09:51 น.

ตลาดหุ้นนิวยอร์กทรงตัวในวันนี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานกดดันตลาด หลังราคาน้ำมันดิ่งลงจากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณสต็อกน้ำมันจำนวนมากในสหรัฐ

ณ เวลา 21.55 น.ตามเวลาไทย ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กอยู่ที่ 17,669.81 จุด บวก 2.45 จุด หรือ 0.02% หลังจากดีดตัวขึ้นในช่วง 2 วันที่ผ่านมา

สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวลงในวันนี้ หลังดีดตัวขึ้น 4 วันติดต่อกัน ขณะที่ถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในสัปดาห์ที่แล้ว

 

 

ณ เวลา 20.05 น.ตามเวลาไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เดือนมี.ค.ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตลาด NYMEX ลดลง 1.27 ดอลลาร์ หรือ 2.39% แตะ 51.80 ดอลลาร์/บาร์เรล

ทั้งนี้ การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) เปิดเผยว่า น้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว

นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ต่ำกว่าคาดก็ได้จำกัดช่วงบวกในตลาด

ผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุในวันนี้ว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 213,000 รายในเดือนม.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 240,000 ราย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ โทร.02-2535000 อีเมล์: kongkiat.k@infoquest.co.th--

 

ก่อสร้างภาคอีสานปรับตัวดีขึ้น ธปท.อีสานเผยเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น1.8เท่า พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้น โครงการใหญ่ในโคราช สรุปภาพรวมตลาดหุ้น 4-2-58 vdo.gif สรุปภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้น ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 4-2-58 แนวโน้มราคาทอง vdo.gif ตรงประเด็นข่าวค่ำ แนวโน้มราคาทองคำ สดตรงจากนักวิเคราะห์ "NOW26" 4-2-58 คลังถกยุทธศาสตร์รองรับอาเซียน พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติซื้อ2.4พันลบ. Money Wise COMMODITIES 4-2-58 vdo.gif หุ้นพลิกปิดลบ2.73จุดหลุด1,600

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 08:00:30 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เพราะได้ปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทเอกชน อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างหนัก หลังจากสหรัฐเผยสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,673.02 จุด เพิ่มขึ้น 6.62 จุด หรือ +0.04% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,716.70 จุด ลดลง 11.04 จุด หรือ -0.23% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,041.51 จุด ลดลง 8.52 จุด หรือ -0.42%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) ทำสถิติปิดบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ เพราะได้แรงหนุนจากข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาปัญหาหนี้ของกรีซ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์และตลาดหุ้นกรีซ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.5% ปิดที่ 372.1 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,696.30 จุด เพิ่มขึ้น 18.40 จุด หรือ +0.39% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,911.32 จุด เพิ่มขึ้น 20.37 จุด หรือ +0.19% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,860.02 จุด ลดลง 11.78 จุด หรือ -0.17%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) โดยได้รับปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดจนผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากภาคเอกชน

 

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 11.78 จุด หรือ 1.17% ปิดที่ 6,860.02 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 4.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.45 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน ดิ่งลง 3.75 ดอลลาร์ ปิดที่ 54.16 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เพราะได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและหนุนสภาพคล่องภายในประเทศ

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 4.2 ดอลลาร์ หรือ 0.33% ปิดที่ระดับ 1,264.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 7.4 เซนต์ ปิดที่ 17.395 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 3.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,238.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เนื่องจากกรีซเผชิญแรงกดดันรอบใหม่ หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่าจะไม่ยอมรับการใช้พันธบัตรรัฐบาลกรีซมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ของธนาคารกลาง

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1418 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1487 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5222 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5168 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.36 เยน เทียบกับระดับ 117.60 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9237 ฟรังก์ จาก 0.9229 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7781 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7795 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,673.02 จุด เพิ่มขึ้น 6.62 จุด, +0.04%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,716.70 จุด ลดลง 11.04 จุด, -0.23%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,041.51 จุด ลดลง 8.52 จุด, -0.42%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,696.30 จุด เพิ่มขึ้น 18.40 จุด, +0.39%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,911.32 จุด เพิ่มขึ้น 20.37 จุด, +0.19%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,860.02 จุด ลดลง 11.78 จุด, -0.17%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,883.11 จุด ลดลง 117.03 จุด, -0.40%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,417.57 จุด เพิ่มขึ้น 9.55 จุด, +0.28%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,803.02 จุด เพิ่มขึ้น 21.76 จุด, +1.22%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,315.28 จุด เพิ่มขึ้น 23.56 จุด, +0.45%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,679.76 จุด เพิ่มขึ้น 124.98 จุด, +0.51%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,716.06 จุด เพิ่มขึ้น 102.91 จุด, +1.35%

 

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดวันนี้ที่ 3,174.13 จุด ลดลง 30.78 จุด, -0.96%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,962.79 จุด เพิ่มขึ้น 10.83 จุด, +0.55%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,678.74 จุด เพิ่มขึ้น 342.89 จุด, +1.98%

 

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,513.92 จุด เพิ่มขึ้น 65.19 จุด, +0.69%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,777.30 จุด เพิ่มขึ้น 69.90 จุด, +1.22%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq20/2086511

 

เงินหยวนอ่อนค่าแตะ 6.1366 หยวนต่อดอลลาร์เช้านี้

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 08:54:23 น.

China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนอ่อนค่าลง 0.48% แตะที่ 6.1366 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เงินหยวนได้รับอนุญาตให้ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 2% จากอัตราค่ากลางของการซื้อขายแต่ละวัน

 

ทั้งนี้ อัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อิงกับราคาเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการซื้อขายในแต่ละวัน

 

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย กนิษฐนุช สิริสุทธิ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq21/2086526

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางยุโรประงับปล่อยกู้กรีซ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ว่าธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธ เรื่องการระงับการเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินของกรีซผ่านการเข้าถึงแหล่งทุนของอีซีบีด้วยการใช้พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรเอกชนที่ทางการเอเธนส์รับรองหรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือการระงับปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลกรีซ

อย่างไรก็ตาม อีซีบียืนยันสถาบันการเงินในกรีซยังสามารถเข้าถึงกองทุนฉุกเฉินของธนาคารกลางกรีซเองได้ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่รัฐบาลเอเธนส์เคยใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศต้องผิดนั้นชำระหนี้เมื่อปี 2555 แต่ต้องยอมแลกกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และรับผลกระทบจากความเสียหายอื่นทั้งหมด

 

ขณะที่นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรัซ เดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียูที่สำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์ เพื่อหารือเรื่องการผ่อนปรนมาตรการรัดเข็มขัด และข้อตกลงประนอมหนี้ ซึ่งนายฌอง-โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ( อีซี ) เผยจะนำข้อเสนอของซีปราสไปพิจารณาแต่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตรัฐบาลกรีซยังไม่เคยแจกแจงอย่างชัดเจนเลยว่าจะใช้วิธีใดมาลดภาระหนี้สินของประเทศแทนมาตรการรัดเข็มขัด

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/…/ธนาคารกลางยุโรประงับปล่อยกู้กร…

ภาพประกอบ : http://pixabay.com/en/euro-currency-finance-europe-165852/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ

 

โชคดี ถูกทาง มีภูมิคุ้มกัน นะคะ

 

 

 

 

 

 

 

Thanong Fanclub

14 mins ·

 

 

"ยังไม่สายเกินไปที่กรีซจะเปลี่ยนใจ"

กรีซจ่ายค่าโง่ที่แสนแพงด้วยการยกอำนาจการพิมพ์เงินของตัวเองไปให้ธนาคารกลางของยุโรป แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่คิดจะเปลี่ยนใจ

เมื่อวานนี้ธนาคารกลางของยุโรปประกาศว่าจะไม่ยอมรับพันธบัตรรัฐบาลกรีซเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินระยะสั้น มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นการใช้ไม้แข็งต่อรัฐบาลใหม่ที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขเงินช่วยเหลือมูลค่า 240,000 พันล้านยูโร

 

รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของอเล็กซิส ซีปาสต้องการที่จะต่อรองเงื่อนไขต่างๆในการปล่อยเงินสนับสนุน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่เขาชนะการชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 25 มกราคม เพราะเงื่อนไขประกอบการปล่อยเงินกู้เดิมทำให้คนกรีกจนลง และทำให้เศรษฐกิจติดลบถึง 25% ตั้งแต่ปี 2010

รัฐบาลกรีซอยากได้รับการยกหนี้ให้บางส่วนเพื่อที่ประเทศจะได้เริ่มต้นใหม่ หนี้มูลค่า 320,000 พันล้านยูโร หรือเท่ากับ 170% ของ GDP ถ้าลดหนี้ลงได้สัก 50% กรีซจึงอาจหวังว่าจะมีโอกาสที่จะฟื้นตัว

รัฐมนตรีว่าการกระทรงการคลังของกรีซ ยานิส วารูคาคิสได้เสนอการปรับโครงสร้างหนี้เดิมให้เป็นหนี้ใหม่ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการชำระหนี้มากขึ้น

ช่างไม่ดีเสียเลยที่ข้อเสนอของกรีซได้รับการเพิกเฉยจาก ทรอยก้า ซึ่งประกอบด้วย อีซีบี สหภาพยุโรปและ ไอเอ็มเอฟ ทรอยก้ายังยืนกรานตามเงื่อนไขเดิมให้กรีซใช้มาตรการรัดเข็มขัดทางการคัลง และขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำมาชำระหนี้ตามกำหนดการเดิม โดยไม่มีการลดหนี้แต่อย่างใด

กรีซต้องทำตามเส้นตายของทรอยก้าภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ มิฉะนั้นก็จะไม่ได้รับเงินกู้เพิ่มเติมจำนวน 7,000 พันล้านยูโร อันมีผลให้จะถูกตัดจากการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารกรีซจะต้องเผชิญต่อการถอนเงินฝากจากประชาชนต่อไป

แต่มันยังไม่ใช่วันสิ้นโลกสำหรับกรีซ เพราะว่ารัสเซียยื่นมามาพร้อมที่จะช่วยเหลือถ้ากรีซยอมลาออกจากยูโรโซน รัสเซียจะยกเว้นการแบนการส่งออกอาหารและพืชผลเกษตรต่ออียูให้กับกรีซ กรีซเองก็ยังสามารถกู้ยืมเงินจากจีน ซึ่งปัจจุบันก็ทำตัวเป็นผู้ให้กู้เหมือนอย่าง IMFอยู่แล้ว อันเห็นได้จากการปล่อยกู้โดยตรงให้อาเจนติน่าและเวนเนซูเอล่า

เมื่อกรีซออกจากยูโรโซนจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อค่าเงินยูโร ประเทศอย่างโปรตุเกสและสเปนซึ่งไม่พอใจและถูกบังคับด้วยมาตรการต่างๆก็จะเดินตามรอยกรีซและขอลาออกจากเขตยูโรเช่นกัน

และถ้ากรีซประกาศพักชำระหนี้มูลค่า 320,000 ล้านยูโร ธนาคารของเยอรมัน ฝรั่งเศส และ อิตาลี จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ระบบยูโรก็จะเผชิญต่อการล่มสลายแม้ว่าธนาคารกลางแห่งยุโรปจะพิมพ์เงินยูโรออกมาอย่างไม่จำกัดก็ตาม

การออกจากยูโรจะทำกรีซกลับมาพิมพ์เงิน Drachma และสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างอิสระได้อีกครั้ง ความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศ BRICS จะทำให้กรีซผ่านสิ่งที่เลวร้ายไปได้ และสามารถฟื้นเศรษฐกิจของตัวเอง

ทรอยก้าเชื่อว่าสามารถต้อนให้กรีซยอมจนมุมอย่างหมดรูปได้ แต่การได้รับความสนับสนุนอย่างชัดเจนจากพันธมิตร BRICS เป็นการพลิกเกมส์ไปเลย กรีซไม่มีอะไรที่จะต้องเสียอีกแล้ว รัสเซียเล่นไพ่กรีซนี้เพื่อตอบโต้อียู พวกเราคงเห็นกันได้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ชนะที่แท้จริง

thanong

5/2/2015

(ปล. Mark Piathanom ช่วยแปลบทความนี้จากภาษาอังกฤษที่ผมเขียนให้The Nation ซึ่งจะตีพิมพ์วันพรุ่งนี้)

 

 

 

 

10348199_318678008328580_547995311921972322_n.jpg?oh=3bf4e87656d6a132ee35a4dcd20cf9a0&oe=554FE2E9

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10426894_879973375432947_3210594379975780142_n.jpg?oh=96153eec45effa653dfce0c104d3113f&oe=5556060D&__gda__=1431475332_73745a22a7d48b8d32d60f40f9225e6c

อยู่งี้ได้ไงงง

1782139_879973392099612_9212929663752546413_n.jpg?oh=ea98d03378c783efaa61d21b5184652a&oe=555B117A&__gda__=1430873569_9c4abbd15e088d8838f93ff57c510c89

ออกมะได้

1,oo,oo pic

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดอนุพันธ์: ผันผวนสูง-ไร้ปัจจัยใหม่ จับตาเจรจาหนี้กรีซ-ราคาน้ำมันตลาดโลก

 

 

รัฐบาลกรีซเมิน ECB ระงับความช่วยเหลือ ยันยึดมั่นจุดยืนต้านมาตรการรัดเข็มขัด

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 17:34:10 น.

รัฐบาลชุดใหม่ของกรีซยืนยันจะยึดมั่นในจุดยืนเรื่องการต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด แม้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษที่เคยให้แก่สถาบันการเงินต่างๆของกรีซในการใช้พันธบัตรรัฐบาลกรีซมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอเงินกู้จากธนาคารกลาง

 

โฆษกรัฐบาลกรีซ กล่าวว่า กรีซไม่ต้องการใช้วิธีแบล็คเมลเพื่อเอาชนะกลุ่มเจ้าหนี้แต่อย่างใด แต่กรีซเองก็จะไม่ยอมให้ประเทศถูกแบล็คเมลเช่นกัน

 

การดำเนินการล่าสุดของ ECB หมายความว่า ธนาคารกลางกรีซจะต้องจัดสรรเงินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ของกรีซด้วยวงเงินปล่อยกู้ฉุกเฉินจำนวนหลายหมื่นล้านยูโรของ ECB ในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลกรีซ รวมทั้งพันธบัตรที่รับประกันโดยทางการกรีซ จะไม่มีคุณสมบัติในการเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันสำหรับการระดมทุนครั้งใหม่จาก ECB ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ของกรีซอีกต่อไป

 

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq29/2087023

 

เงินบาทปิด 32.63/64 แกว่งแคบ ขาดปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 17:25:49 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.63/64 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 32.62/63 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 32.58 บาท/ดอลลาร์ และทำไฮที่ระดับ 32.64 บาท/ดอลลาร์ ตามทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ

 

"ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบตาม flow ทิศทางเหมือนช่วงสองสามวันก่อนหน้านี้ และกลับมาอ่อนค่าช่วงท้ายตลาด" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

 

นักบริหารเงิน ประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้จะอยู่ในกรอบระหว่าง 32.60-32.70 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.31 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 117.14 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1380 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1351 ดอลลาร์/ยูโร

 

- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,607.92 จุด เพิ่มขึ้น 8.11 จุด, +0.51% มูลค่าการซื้อขาย 54,382.38 ล้านบาท

 

- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 111.49 ล้านบาท(SET+MAI)

- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค.58 อยู่ที่ 80.4 ลดลงจาก 81.1 ในเดือน ธ.ค.57 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและมีความกังวลกับการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 69.7 ลดลงจาก 70.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 74.1 ลดลงจาก 74.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 97.4 ลดลงจาก 98.3

 

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 58 จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในครึ่งปีแรกคาดว่าจะขยายตัวในอัตรา 4.5% ส่วนในครึ่งปีหลังจะโต 3.4% ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 4%

 

- นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าธปท. เผยในปี 58 จะใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศษฐกิจ และสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพการเงินในระยะยาว โดย ธปท.จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้ผันผวนมากเกินไป แต่ก็จะไม่ฝืนกลไกตลาด ทั้งนี้เชื่อว่าจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และการดำเนินนโยบายที่เหมาะสมจะเป็นภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับกับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายปีนี้ได้

 

- สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ในปี 2557 ขยายตัว 5.02% ลดลงจากอัตรา 5.58% ในปี 2556 และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งสะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลกและการคุมเข้มทางการเงินในประเทศได้ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซียแล้ว ส่วนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซียที่สำคัญเพิ่มขึ้น 5.14% ในปีที่แล้ว ซึ่งชะลอลงหลังจากที่ขยายตัว 5.38% ในปี 2556

 

- กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม มาเลเซีย เผยยอดส่งออกเดือน ธ.ค.57 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6.77 หมื่นล้านริงกิต (1.89 หมื่นล้านดอลลาร์) ปรับตัวขึ้นจากปีก่อน 2.7%และยอดส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคม 2557 พุ่งขึ้น 15% ขณะที่ก๊าซธรรมชาติเหลวดีดตัวขึ้น 13% เนื่องจากอานิสงส์การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากฝั่งสหรัฐ และประเทศในแถบสหภาพยุโรป ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่ยอดนำเข้าสินค้าในเดือน ธ.ค.57 ปรับตัวขึ้น 4.2% แตะที่ระดับ 6.85 หมื่นล้านริงกิต สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้เช่นกัน

 

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เผยราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้น 20 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 11,720 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ หรือราคาเทียบเท่ากับ 1,267.78 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.16 ดอลลาร์ ที่อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 1 ดอลลาร์สหรัฐ/7.75 ดอลลาร์ฮ่องกง

 

อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq03/2087017

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยอดีตปธน.เยอรมันถึงแก่อสัญกรรม

 

 

ข่าวทั่วไป RYT9.COM -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 18:15:20 น.

ในหลวงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย บารอน ริชาร์ด ฟอน ไวซ์เซคเคอร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ถึงแก่อสัญกรรม

 

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย ไปยังประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการที่ บารอน ริชาร์ด ฟอน ไวซ์เซคเคอร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558 ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้เชิญผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

 

 

 

ข้าพเจ้าและพระราชินี รู้สึกเศร้าสลดใจที่ได้ทราบว่า บารอน ริชาร์ด ฟอน ไวซ์เซคเคอร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ถึงแก่อสัญกรรม ข้าพเจ้าและพระราชินีขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังท่านประธานาธิบดีและครอบครัวของท่านบารอน ตลอดจนประชาชนชาวเยอรมัน ในการสูญเสียรัฐบุรุษที่กล้าหาญและอุทิศตนเพื่อสร้างเสริมสันติภาพและความสมัครสมานสามัคคีให้แก่ประเทศเยอรมนี

 

(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ปร.

อินโฟเควสท์ โดย ณัฐชญา อัครยรรยง โทร.02-253-5000 ต่อ 114 อีเมล์: natchaya@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iqry/2087045

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แผ่นดินไหวจ.พะเยา 2 ริกเตอร์ช่วงบ่ายที่ผ่านมา

 

 

ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 17:04:57 น.

สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 15.18 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 2.0 ริกเตอร์ ที่อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ไม่มีรายงานความเสียหาย

 

 

 

อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq01/2086999

 

อีซีบีประกาศตัดสิทธิการค้ำประกันเงินกู้ด้วยพันธบัตรกรีซ

 

 

ข่าวต่างประเทศ RYT9.COM -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 15:14:35 น.

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ระงับการให้สิทธิพิเศษแก่สถาบันการเงินต่างๆ ของกรีซ ในการใช้พันธบัตรรัฐบาลกรีซมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอเงินกู้จากธนาคารกลาง แสดงให้เห็นว่า อีซีบี ต้องการให้รัฐบาลกรีซจัดสรรเงินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ของกรีซ ด้วยวงเงินปล่อยกู้ฉุกเฉินจำนวนหลายหมื่นล้านยูโรของอีซีบีในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลกรีซ และพันธบัตรที่รับประกันโดยรัฐบาลกรีซ จะไม่เป็นที่ยอมรับของอีซีบีอีกต่อไป

 

นักวิเคราะห์ มองว่า การตัดสินใจของอีซีบีครั้งนี้ จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น เกี่ยวกับการเจรจาระหว่างกรีซและบรรดาเจ้าหนี้ และจะเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลใหม่ของกรีซ ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ และแบกรับความรับผิดชอบของเงื่อนไขในการชำระคืนหนี้สิน

 

 

 

อินโฟเควสท์ โดย ณัฐชญา อัครยรรยง โทร.02-253-5000 ต่อ 114 อีเมล์: natchaya@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iqry/2086941

 

(เพิ่มเติม1) ผู้ว่า ธปท.เผยปี 58 ใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนต่อเนื่อง-เตือนบริหารความเสี่ยง

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 18:03:34 น.

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า ในปี 58 จะใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศษฐกิจ และสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพการเงินในระยะยาว โดยยืนยันว่า ธปท.จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้ผันผวนมากเกินไป แต่ก็จะไม่ฝืนกลไกตลาดจนนำไปสู่การเกิดความไม่สมดุลและลดแรงจูงใจของภาคธุรกิจใจการปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

 

 

 

ทั้งนี้ เชื่อว่าจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นและเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล, ภาระหนี้ต่างประเทศที่เหมาะสม, จะเป็นด่านแรกที่ช่วยบรรเทาความผันผวนของตลาดการเงินได้ นอกจากนี้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และการดำเนินนโยบายที่เหมาะสมจะเป็นภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับกับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในปีนี้ได้

 

ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 58 จะเติบโตได้ 4% จากปีก่อน โดยครึ่งปีแรกคาดว่าเศรษฐกิจจะโตได้ 4.5% และครึ่งปีหลังคาดว่าจะโตได้ 3.4% ซึ่งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ขณะที่การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน แต่การเติบโตคงยังไม่สูงนัก เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่เข้มแข็ง และมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหลายรายการลดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนจะเป็นความหวังที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย

 

พร้อมกันนั้น ในปีนี้ ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อมีเสถียรภาพและแรงกดดันด้านอุปสงค์ยังมีไม่มาก ทั้งนี้ในปี 58 คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้เปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อที่เป็นสากลมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเงินเฟ้อพื้นฐานมาเป็นเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.5% บวกลบ 1.5% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนี้จะสะท้อนค่าครองชีพได้ดีขึ้น

 

"ผมขอให้ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว โดยอัตราการฟื้นตัวไตรมาสต่อไตรมาสจะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งแรกของปี และจะชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากการลงทุนของรัฐบาลเข้าสู่ระบบเศรษบกิจมากขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่เข้มแข็งนักและขจอจำกัดด้านการผลิตของไทยจะทำให้การส่งออกขยายตัวไม่สูงดังเช่นในอดีต

 

ผมขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าภาวะเศรษฐกิจการเงินในปีนี้ยังมีความไม่แน่นอนและเกิดความผันผวนได้ นักธุรกิจและนักลงทุนทุกท่านไม่ควรประมาท ผมสนับสนุนให้ทุกท่านบริหารความเสี่ยงและความผันผวนจากทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และควรเร่งสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการปรับโครงสร้างทางการเงินให้มีความแข็งแกร่งและมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ต่ำลง"ผู้ว่าการ ธปท.ระบุ

 

ผู้ว่าฯ ธปท. ระบุว่าความท้าทายที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีนี้มี 3 เรื่อง คือ 1.ต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตของประเทศไทยในระยะกลางและระยะยาวมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงการปฏิรูปเพื่อวางรากฐานของประเทศ การปฏิรูปบางอย่างอาจมีต้นทุนในระยะสั้นเกิดขึ้นบ้าง แต่การปฏิรูปเหล่านี้จะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว 2.สำหรับภาคครัวเรือนในระยะยาวนั้น การเพิ่มการออมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญ 3.สำหรับภาคธุรกิจระยะยาวนั้น การเพิ่มผลิตภาพการผลิตเป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นโอกาสดีสำหรับการลงทุน เพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ

 

ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปี 58 ในภาพรวมยังมีทิศทางที่ขยายตัว ซึ่งจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะโตได้ 3.5% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนที่โต 3.3% ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ 3 ตัว คือ เศรษฐกิจสหรัฐ, เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่น และเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถือเป็นเครื่องยนต์ที่ทำงานได้เต็มที่ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี สะท้อนจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่เครื่องยนต์ตัวที่ 2 คือ เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่น ยังมีปัญหา เพราะมีแนวโน้มอ่อนแอต่อไป เนื่องจากยุโรปยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศ เช่น กรณีรัสเซีย-ยูเครน, การเปลี่ยนรัฐบาลของกรีซ ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอ่อนแอ หลังจากการขึ้นภาษีบริโภคในปีที่แล้วที่ส่งผลกระทบหนักทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ 80 ล้านล้านเยนต่อปีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนเครื่องยนต์ตัวที่ 3 กลุ่มตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย และอาเซียนนั้น เศรษฐกิจชะลอตัวลงบ้าง เพราะทางการจีนเน้นรักษาสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปเศรษฐกิจ

 

"เศรษฐกิจของแต่ละส่วนมีการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน และแนวนโยบายการเงินที่แตกต่างกันมากขึ้น กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและตลาดการเงินโลกในปีนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะผ้นผวน" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ

 

นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่จะมีบทบาทสำคัญ คือ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีก่อน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยบวกในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ เนื่องจากกลุ่มประเทศที่นำเข้าน้ำมันซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 3 ใน 4 ของเศรษฐกิจโลก ส่วนไทยเองก็นำเข้าน้ำมันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10% ของ GDP ก็จะได้รับประโยชน์เช่นกันผ่านค่าครองชีพที่ลดลงของภาคครัวเรือน ต้นทุนที่ลดลงของภาคธุรกิจ และดุลการค้าที่ดีขึ้น

 

ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและการปฏิรูปประเทศกำลังเป็นที่จับตามอง โดยหนึ่งในนั้นคือ นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) และเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ในปีนี้เอง ธปท.ได้มีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยได้รับมอบหมายให้กำกับตรวจสอบ SFIs ในฐานะ regulator ตามนโยบายของรัฐที่ต้องการแยกบทบาทการกำกับตรวจสอบออกมาให้ชัดเจนจากผู้กำหนดนโยบายและพันธกิจ (policy maker) และผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ (owner) ในปัจุบันคือกระทรวงการคลัง

 

"เชื่อว่าการกำกับดูแลให้ SFIs มีระบบบริหารความเสี่ยงและหลักธรรมาภิบาลที่ดีมีความโปร่งใส จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ SFIs มีความเข้มแข็ง มีฐานะการเงินที่มั่นคง และสามารถทำหน้าที่ตามพันธกิจเพื่อช่วยปิดช่องว่างการให้บริการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่สร้างความไร้เสถียรภาพด้านระบบการเงิน ซึ่งล่าสุด ธปท.กำลังอยู่ในขั้นตอนการหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อวางขอบเขตและกติกาที่เหมาะสมร่วมกันในการกำกับดูแลต่อไป" ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าว

 

ผู้ว่าฯ ธปท. ยังกล่าวถึงกรณีที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เสนอให้นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างประเทศนั้น มองว่า ตลาดการเงินในปัจจุบันยังมีสภาพคล่องเพียงพอในการให้ภาครัฐใช้ระดมทุน ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ ซี่งทุนสำรองนั้นจะใช้ในกรณีที่ตลาดเงินมีสภาพคล่องไม่เพียงพอเท่านั้น

 

อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/ศศิธร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq03/2087041

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...