ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'แผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร', ' อาการแผลในกระเพาะอาหาร ', 'ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ' หรือ 'โรงพยาบาลนครธน'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 46 รายการ

  1. ปัจจุบันยังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเข่า จากภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะผู้สูงวัย และกรณีที่ผู้ป่วยนั้นภาวะมีข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ ยิ่งจะมีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น บางรายถึงขนาดข้อเข่าผิดรูป ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอย่างยิ่ง บทความนี้เราได้นำความรู้ดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจากทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่านั้นฉีดอย่างไรเมื่อฉีดแล้วต้องดูแลรักษาร่างกายอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยลดอาการปวดเข่าได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อเข่า ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า รักษาข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้อเข่าอยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ถึงแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก พร้อมบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  2. ผู้สูงอายุนับเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุ จึงควรใส่ใจให้การดูแลเป็นพิเศษ ทำให้ท่านมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ แน่นอนว่าปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายของท่านนั้นมีความเสื่อมถอยตามวัย ดังนั้นผู้ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุดอีกด้วย วันนี้เราขอนำความรู้การดูแลผู้สูงอายุ จากทางคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจในปัญหาด้านต่าง ๆ ที่มีในผู้สูงอายุว่ามีอะไรบ้าง? และเพื่อทราบแนวทางการดูแลผู้สูงอายุของทางคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน หากผู้สูงอายุที่ท่านรักพบปัญหาด้านสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้เตรียมความพร้อมและรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้องค่ะ คลินิกผู้สูงอายุ พร้อมดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ปัญหาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มีความเสื่อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของความเจ็บป่วยที่ซับซ้อนและแตกต่างจากวัยอื่น ๆ เป็นอย่างมาก แม้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับยา และเข้ารับการรักษาตามอาการเจ็บป่วย แต่ด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่มีความเสื่อมถอยตามวัย จึงมีอาการแสดงของภาวะเจ็บป่วยที่ไม่ตรงไปตรงมา ประกอบกับมีโรคประจำตัวร่วมหลายระบบ ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยโรคด้วยแพทย์ทั่วไป ผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มการเจ็บป่วยได้ง่ายและเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้ความสามารถในการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุลดลง เมื่อผู้สูงอายุเกิดความเจ็บป่วยจึงส่งผลให้การดูแลผู้สูงอายุนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสัญญาณเตือนทางสุขภาพของผู้สูงอายุ มีดังนี้ - ปัญหาสมองเสื่อม ความทรงจำถดถอย - ปัญหาการกลืน เบื่ออาหาร - ปัญหากระดูกพรุน - ปัญหาปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ - ปัญหาภาวะหูตึง - ปัญหาพลัดตก หกล้ม - ปัญหาการนอนไม่หลับ - โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตอบโจทย์การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมควรจะมีแพทย์ประจำตัวที่มีความรู้ ความเข้าใจเฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ เพื่อให้การรักษาฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีตามวัยและพิจารณาส่งต่อการดูแลผู้สูงอายุร่วมกับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน ผู้ดูแลจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมทั้งกายและจิตใจ เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เจาะลึกถึงปัญหาสุขภาพ ด้วยการบริการทางการแพทย์ของคลินิกผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน เข้าใจถึงปัญหาที่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลทุกคนต้องเผชิญ จึงเปิดให้บริการดูแลรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู กลุ่มผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามมาตรฐานสากล (Holistic Care) โดยแพทย์เฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ (Geriatric Doctor) และทีมสหวิชาชีพที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านการดูแลผู้สูงอายุ ให้การประเมินผู้สูงอายุครอบคลุมทุกมิติ กาย จิต สังคม และวิเคราะห์ปัญหาของผู้สูงอายุเป็นแบบรายบุคคล (Personalized care) ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อวางแผนการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และลดความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแล (Caregiver burden) โดยมีกระบวนการดังนี้ 1.พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ : ประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคทางคลินิกของผู้สูงอายุ (Geriatric Syndromes) โดยการใช้แบบประเมินการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (Comprehensive Geriatric Assessment) ก่อนพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อค้นหาความเสี่ยงทางสุขภาพเบื้องต้น โดยประเมินด้านต่าง ๆ ดังนี้ - ความสามารถการดูแลตนเองในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ - ความเสี่ยงภาวะโภชนาการในผุ้สูงอายุ - ความเสี่ยงต่อความรู้สึกเป็นภาระการดูแลผู้สูงอายุในผู้ดูแล 2.พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ : แพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาและการดูแลผู้สูงอายุ ทำการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาทางสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยการซักประวัติตรวจร่างกายประกอบกับผลการทดสอบต่าง ๆ เพื่อทำการวินิจฉัยเจาะปัญหาของผู้สูงอายุเชิงลึกในแต่ละด้าน และนำมาวางแผนโปรแกรมการดูแลรักษาเฉพาะรายบุคคล (Personalized care) ซึ่งจะพิจารณาเชิญทีมสหวิชาชีพด้านต่าง ๆ เข้ามาร่วมรับการรักษา ตามความเหมาะสมตามปัญหาของผู้สูงอายุดังนี้ - ปัญหาด้านยา พบเภสัชกร: ประเมินตรวจสอบกลุ่มยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยใช้กระบวนการทำข้อมูลรายการยา (Medication Reconciliation) ที่มีการใช้ยาหลายชนิดในการรักษาแต่ละโรคซ้ำซ้อนกันหรือไม่ หรือมีปฏิกิริยาต่อกันหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้สูงอายุ - ปัญหาด้านอาหาร พบนักโภชนาการ: ประเมินภาวะทางโภชนาการในผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำในการจัดอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของผู้สูงอายุ - ปัญหาด้านกล้ามเนื้อและการทรงตัว พบนักกายภาพบำบัด: ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว เพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ และออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมในผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล เพื่อรักษาฟื้นฟูทางด้านกายภาพของผู้สูงอายุ - ปัญหาด้านประสาทสัมผัส ความคิดและการใช้ชีวิต พบนักกิจกรรมบำบัด: ประเมินและออกแบบกิจกรรมที่ช่วยบำบัด ฟื้นฟู พัฒนา และชะลอความเสื่อมตามวัยที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ - การฝึกทักษะ และให้ปรึกษาในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น ปัญหาการใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวัน, ปัญหาการกลืน และปัญหาจากโรคเส้นประสาทต่าง ๆ เป็นต้น - การประเมินและบำบัด ในด้านความรู้ ความเข้าใจ และความจำในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม การจัดการพฤติกรรมและอารมณ์ - ปัญหาด้านช่องปาก พบทันตแพทย์: ประเมินปัญหาสุขภาพช่องปากและให้การดูแลรักษาช่องปาก ตลอดจนการใส่ฟันปลอม ซึ่งมีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลง ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารกับผู้สูงอายุตามมา เพราะผู้สูงอายุนั้นคือบุคคลสำคัญที่สุดในครอบครัว ปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน และไม่ควรให้ผู้สูงอายุมีความเครียด หรือกังวลกับเรื่องต่าง ๆ เพราะย่อมส่งผลต่อร่างกายได้เสมอ หากคุณกำลังประสบปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้สูงวัยที่คุณรักอยู่ คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทุกด้าน และพร้อมให้การดูแลผู้สูงอายุ และยินดีให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้สูงอายุ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/center/detail/คลินิกผู้สูงอายุ
  3. เชื่อว่าตอนนี้ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ ที่อาจเป็นสัญญาณเนื้องอกมดลูก เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง เกี่ยวกับเนื้องอกมดลูกอยู่อีกมาก เพราะเนื้องอกในมดลูกนี้ เป็นโรคทางนรีเวช ที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้เกือบทุกคน เช่น หากมีผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือนเข้ามาตรวจอาจพบเนื้องอกในมดลูกได้ถึง 30-50% (ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล) ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงต้องให้ความใส่ใจถึงความผิดปกติ และ สัญญาณเตือนต่าง ๆ ของโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายอีกด้วย วันนี้เราได้นำข้อมูลความรู้จากทางศูนย์สุขภาพสตรี ของโรงพยาบาลนครธน เกี่ยวกับเนื้องอกมดลูกมาฝากกัน เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจถึงอาการของโรค และประเภทของเนื้องอกมดลูกว่ามีกี่ประเภท รวมถึงแนวทางการรักษา เพื่อลดความกังวลใจ และเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคทางนรีเวชนี้ ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรักได้เสมอค่ะ เนื้องอกในมดลูก อีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่พบบ่อยประมาณร้อยละ 25 ในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบ 1 ใน 3 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ สามารถพบได้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในตัวมดลูก โดยมีขนาดต่างกันไป อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ บางชนิดโตช้า บางชนิดโตเร็ว แต่ที่น่าเป็นกังวลคือผู้หญิงหลายคนมักไม่รู้ว่าตัวเอง อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ เนื่องจากเนื้องอกในมดลูกจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ บอกชัดเจน มักทราบโดยบังเอิญจากการที่ตรวจสุขภาพประจำปีหรือมาปรึกษาแพทย์ด้วยโรคอื่น ๆ เนื้องอกมดลูก มีกี่ประเภท? เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri หรือ Uterine Fibroid) มีทั้งชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง โดยส่วนใหญ่เกิดจากชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกที่เป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่า ซึ่งมีเนื้องอก 2 แบบใหญ่ ๆ คือ - เกิดจากกล้ามเนื้อโดยตรง หรือเกิดจากมีเนื้ออย่างอื่นแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อของมดลูก - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แทรกเข้ามาในมดลูก หรือมีหลายเม็ดเกาะกันเป็นกลุ่มจนใหญ่ขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูก ปัจจุบันในทางการแพทย์นั้นยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคใด ๆ แต่ปัจจัยส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ และพบว่ามีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งสร้างในรังไข่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหญิงวัยเจริญพันธุ์จึงมีอัตราการเกิดเนื้องอกในมดลูกสูง และเนื้องอกมักจะฝ่อตัวเล็กลงหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยตัวเนื้องอกนี้มักเจอในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์คือ มีประจำเดือนไปสัก 3 ปี 5 ปี 10 ปี แล้วเริ่มตรวจเจอว่ามีเนื้องอกมดลูก ประจำเดือนมามากผิดปกติ สัญญาณเนื้องอกในมดลูก ประจำเดือนมามากผิดปกติ คือ อาการบ่งชี้หรือสัญญาณเตือนเนื้องอกในมดลูก เนื้องอกมดลูกนั้นอาจทำให้ประจำเดือนมามากและนานขึ้น มีลิ่มเลือดหรือเป็นก้อนปนออกมา อาจจะมีอาการปวดท้องน้อยที่เพิ่มมากขึ้น หรือไม่ปวดก็ได้ หรือในบางกรณีมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายเหมือนมีประจำเดือน แต่กลับไม่มีประจำเดือน อาการที่อาจเป็นเนื้องอกในมดลูก อาการของเนื้องอกในมดลูกขึ้นกับความรุนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย แต่เมื่อตรวจภายใน หรืออัลตราซาวด์กลับพบเนื้องอก และนอกจากอาการเกี่ยวกับประจำเดือนที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ - ปวดท้องน้อย มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอก เช่น มีขนาดใหญ่ขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงเนื้องอกไม่พอ ทำให้เนื้องอกขาดเลือด หรือปวดท้องน้อยเพราะเนื้องอกไปกดเบียดอวัยวะอื่นๆ จนทำให้เกิดการปวดแบบหน่วงๆ เหมือนมีก้อนหนักๆ ในท้อง - ปัสสาวะบ่อย อาจเกิดจากก้อนเนื้องอกไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ - ท้องผูก อาจเกิดจากก้อนเนื้องอกไปกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่ต่อกับทวารหนัก - ปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์ - อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย - คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย - การมีบุตรยากและแท้งบุตร จะตรวจพบเมื่อคนไข้ไปตรวจกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก พออัลตราซาวด์ถึงจะเจอ อันนี้มักจะเป็นลักษณะก้อนเล็ก ๆ ไม่มีอาการอะไร บางทีอาจจะมีก้อนแค่ 1-2 เซนติเมตรอยู่ในโพรงมดลูก ไปขวางการฝังตัวของทารกทำให้มีบุตรยาก ตรวจวินิจฉัยเนื้องอกในมดลูก เมื่อผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์ด้วยมีอาการที่อาจสงสัยว่าจะเป็นเนื้องอกมดลูก แพทย์จะทำการซักประวัติ และสอบถามถึงอาการต่าง ๆ พร้อมกับทำการตรวจภายใน การตรวจด้วยการคลำ และทำอัลตราซาวด์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง การตรวจอัลตราซาวด์แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1.การตรวจโดยผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งแพทย์จะให้คนไข้ดื่มน้ำเปล่าแล้วกลั้นปัสสาวะเอาไว้จนในกระเพาะปัสสาวะมีปริมาณน้ำปัสสาวะมากพอ เพื่อให้สามารถมองเห็นมดลูกและรังไข่ได้ชัดเจนขึ้น 2.การตรวจโดยผ่านทางช่องคลอด โดยแพทย์จะทำการสอดอุปกรณ์อัลตราซาวด์เข้าไปทางช่องคลอด คนไข้อาจจะต้องนอนหงายหรือนอนตะแคงเข่าชันชิดหน้าอก หรือนอนบนขาหยั่ง ซึ่งแพทย์จะสามารถมองเห็นภาพของมดลูกและรังไข่จากจอมอนิเตอร์ได้ชัดเจน การรักษาเนื้องอกมดลูก การรักษาเนื้องอกมดลูกสามารทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะของเนื้องอก และปัจจัยโดยรวมของผู้ป่วย เช่น อายุ ความต้องการในการมีบุตร การตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา แต่ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมี 2 แบบ ได้แก่ 1.วิธีผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบมาตรฐาน เป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องคล้ายคลึงกับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยเปิดแผลบริเวณหน้าท้องในแนวขวาง เวลาผ่าตัดจะสามารถเห็นได้ว่าท่อไตอยู่ตรงไหน เนื้องอกอยู่ตรงไหนจึงสามารถแยกได้อย่างชัดเจนทำให้การผ่าตัดค่อนข้างปลอดภัย และสามารถเก็บมดลูกไว้ใช้งานได้ปกติ 2.วิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง การผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกในมดลูก ได้รับความนิยมและมีข้อดีในหลายๆ ด้าน คือ แผลมีขนาดเล็ก คนไข้เสียเลือดน้อย เจ็บตัวน้อย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากที่สุด การป้องเนื้องอกมดลูกได้ดี คือการหมั่นตรวจภายในเป็นประจำทุกปี รวมถึงการตรวจอัลตราซาวด์ และเมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที ศูนย์สุขภาพสตรี ของโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในมดลูก-โรคยอดฮิตของผู้หญิงทุกวัย
  4. ปัจจุบันยังมีคู่สมรสอีกหลายคู่ที่กำลังอยากมีลูก เพื่อให้ชีวิตครอบครัวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ยังรอคอยจังหวะการมาของทารกน้อยในครรภ์ แต่ยิ่งรออายุก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนประสบปัญหาการมีลูกยาก ลองมาแล้วสารพัดวิธี แต่ก็ยังไม่สำเร็จสักที จนอาจทำให้รู้สึกท้อใจ เราอยากบอกว่าอยากพึ่งหมดหวังค่ะ หากคุณยังไม่ได้ลองการทำอิ๊กซี่ (ICSI) วันนี้ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ของโรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) รักษาภาวะมีบุตรยาก เพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์ มาให้ความรู้กันด้วยค่ะ สำหรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก หากการเก็บอสุจิและไข่มาผสมกันแบบเด็กหลอดแก้วธรรมดาแล้วยังไม่ได้ผล คงต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วยโดยการนำตัวอสุจิผสมกันกับไข่ให้เห็นกันเพื่อความชัวร์ ซึ่งเป็นอีกวิธีในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่เรียกว่า อิ๊กซี่ (ICSI) แล้วการทำอิ๊กซี่มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น คู่รักหลายคู่ที่คิดจะทำคงต้องการทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำ เช่นนั้นไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกัน อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ? การทำอิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic sperm injection) คือ การคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยมีเทคนิคการใช้อสุจิตัวที่แข็งแรงและเคลื่อนที่ดี 1 ตัวดูดเข้าไปในเข็มแก้วเล็กๆ แล้วใช้เข็มนั้นเจาะเข้าไปในไข่ฟองเดียวและฉีดอสุจิที่อยู่ในเข็มเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยปฏิสนธิ ในรายที่มีจำนวนอสุจิน้อยมาก หรืออสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปในไข่เองได้ หรืออาจมีความหมายว่า เป็นวิธีการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่นั้นเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้ อิ๊กซี่ (ICSI) เหมาะกับใคร ? - ฝ่ายชายมีปัญหาปริมาณอสุจิค่อนข้างน้อย อสุจิไม่สมบูรณ์ และการเคลื่อนที่ผิดปกติรุนแรง - ฝ่ายชายเป็นหมัน หรือทำหมันแล้วแต่อยากมีลูกอีก แต่ยังคงสามารถนำอสุจิออกมาได้โดยการผ่าตัด - ฝ่ายหญิงที่มีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้าไปปฏิสนธิได้ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วธรรมดาแล้วไม่ได้ผล - คู่สมรสที่มีปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่ต้องได้รับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน การทำอิ๊กซี่ (ICSI) มีขั้นตอนดังนี้ 1.การกระตุ้นไข่ หลังจากฝ่ายหญิงมาตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกายว่าเหมาะสมกับการทำอิ๊กซี่แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นรังไข่ให้ฟองไข่โตพร้อมกันหลายๆ ใบ จะเริ่มกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน ด้วยการฉีดยาติดต่อกันเฉลี่ยแล้วจะฉีดประมาณ 8-10 วัน เพื่อกระตุ้นให้ไข่โตหลายๆ ใบ ซึ่งมากกว่าจำนวนไข่ที่ตกในแต่ละรอบเดือนตามธรรมชาติ โดยปกติจะต้องการไข่จำนวน 8-15 ใบ 2.ตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ แพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ โดยใช้เครื่อง อัลตราซาวด์ ร่วมกับการประเมินระดับฮอร์โมน โดยการตรวจเลือดทุก 3-4 วัน เมื่อพบว่าขนาดของถุงไข่โตเต็มที่แล้ว แพทย์จะให้ฉีดยาฮอร์โมน ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสมบูรณ์ของฟองไข่ 3.กระบวนการเก็บไข่ หลังจากฟองไข่โตสมบูรณ์แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่ภายใน 34-36 ชั่วโมง ผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่ง แล้วใช้เข็มเล็กๆ เจาะไข่ออกมาจากรังไข่ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อได้เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ 4.เก็บอสุจิของฝ่ายชาย โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ จากนั้นน้ำเชื้อไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองอสุจิเพื่อเลือกตัวที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด แล้วนำมาปฏิสนธิกับไข่ในห้องปฏิบัติการ โดยนำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์ โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ หากฝ่ายชายเคยทำหมัน หรือตรวจไม่พบตัวอสุจิ จำเป็นต้องเจาะดูดจาดอัณฑะโดยตรง 5.เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หรือ การเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (BLASTOCYST CULTURE) เมื่อได้ตัวอ่อนแล้ว โดยทั่วไปจะทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3-5 วัน ในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมปัจจัยที่เหมาะสมกับตัวอ่อน ที่ปลอดเชื้อโดยการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้นและแรงดัน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในน้ำยาพิเศษที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนนี้จะเป็นกระบวนการเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายมากที่สุด จนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) คือ ระยะเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีความแข็งแรง แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ทั้งนี้ก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก นักวิทยาศาสตร์จะเลือกตัวอ่อนโดยการสังเกตพัฒนาการของตัวอ่อน และเลือกตัวอ่อนนั้นจะมาตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ หรือ พีจีที (PGT) ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกตัวอ่อนจากผลการตรวจอย่างละเอียดในระดับโครโมโซมและระดับยีน เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่พันธุกรรมผิดปกติออกไป สำหรับการตรวจ PGT จำเป็นต้องมีการตัดและดึงเซลล์ของตัวอ่อนในระยะวันที่ 5 หรือเรียกว่า ระยะบลาสโตซีสท์ ซึ่งในระยะนี้ตัวอ่อนมีเซลล์เป็นร้อยเซลล์หรือมากกว่า จึงสามารถดึงเซลล์ 5-10 เซลล์จากโทรเฟคโตเดิร์ม (trophectoderm) ของตัวอ่อนซึ่งจะเจริญต่อเป็นรก เพื่อนำไปตรวจ การใช้วิธีอิ๊กซี่ร่วมกับการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน จะช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสเลือกตัวอ่อนที่ปลอดภัย หรือโครโมโซมปกติ หรือมีเพียงยีนแฝงเท่านั้นในการย้ายกลับสู่โพรงมดลูก และยังช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ต่อรอบการใส่ตัวอ่อนอีกด้วย 6.ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก การใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก จะทำโดยการใช้หลอดพลาสติกเล็กๆ สอดผ่านทางช่องคลอดปากมดลูกและเข้าไปในโพรงมดลูก แล้ววางตัวอ่อนลงไปภายใต้การอัลตราซาวด์ดูตำแหน่งที่เหมาะสม วิธีการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ - รอบสด คือ เมื่อนำไปเลี้ยงตัวอ่อนครบ 3-5 วัน แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกรอบเดียวกับการกระตุ้นไข่ - รอบแช่แข็ง คือ เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบถัดไป ซึ่งตัวอ่อนจะสามารถเก็บแช่แข็งไว้ได้นานถึง 5-10 ปี ทั้งนี้การย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือรอบแช่แข็ง แพทย์จะดูความเหมาะสมจากสภาวะของฮอร์โมนและโพรงมดลูกในรอบกระตุ้นไข่ ว่าสามารถใส่ตัวอ่อนกลับได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ต้องการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน จำเป็นต้องแช่แข็งตัวอ่อนระหว่างรอผลโครโมโซม 7.ตรวจการตั้งครรภ์ หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 9-11 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจปัสสาวะเพื่อการตั้งครรภ์เอง เนื่องจากอาจมีความผิดพลาดได้ การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน หลังจากใส่ตัวอ่อนฝ่ายหญิง ควรนอนพักอย่างน้อย 15-20 นาที ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด ไม่ออกกำลังกายหักโหมหรือยกของหนักๆ เพราะอาจมีผลต่อการฝักตัวของตัวอ่อนได้ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติ ต้องเข้าพบแพทย์ทันที การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ถือเป็นเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยากที่มีโอกาสท้องมากที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามอัตราที่จะเกิดความสำเร็จของแต่ละคู่นั้นอาจแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาวะร่างกายและความพร้อมของแต่ละบุคคล หากอายุไม่เกิน 35 ปี ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ถึง 40-50% สำหรับอายุเกิน 35 ปี และตรวจโครโมโซม มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงขึ้น ประมาณ 50-75% ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทุกด้านให้กับคู่ของคุณ ด้วยบริการดูแลรักษาปัญหาภาวะมีบุตรยากแบบครบวงจร โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) คือเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถมีบุตรได้ หากคุณและคู่สมรสกำลังประสบปัญหานี้อยู่สามารถติดต่อเข้ามาขอคำปรึกษาก่อนได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรโรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/7-ขั้นตอนการทำอิ๊กซี่-เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยาก
  5. คุณเคยทราบไหมคะว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ซึ่งโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่นการดื่มชา กาแฟ การทานยาบางชนิด หรือผู้มีความเครียด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจรั่ว ผู้เป็นโรคเบาหวาน มีความดันสูง ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่าคนทั่วไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ เราทุกคนจึงไม่ควรมองข้าม และบางคนอาจมีคำถาม หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว จะมีโอกาสให้กลับมาปกติได้ไหมโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด? คำถามนี้ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้ เพื่อคุณจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อเตรียมรับมือ ก่อนที่โรคนี้จะเข้ามาส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่สงบสุขของคุณและคนที่คุณรักค่ะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น หัวใจเต้นสะดุด หรือบางครั้งหัวใจจะเต้นช้า มีอาการเหมือนกับหัวใจหยุดเดินไป 1-2 จังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะเต้นเร็วเกินไป ในบางรายมีอาการใจหวิว วูบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการเป็นลม หมดสติ เหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาให้หายได้ โดยใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ รวมถึงภาวะโรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มักไม่ค่อยรู้ตัว จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่คงที่ไม่แน่นอน แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) การเอ็กซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ และการตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การจี้หัวใจ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ สามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา โดยวิธีการคือ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ (เช่นเดียวกับการตรวจสวนหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี) สายสวนหัวใจชนิดพิเศษดังกล่าวจะมีขั้วโลหะที่ส่วนปลาย จึงสามารถบันทึกกระแสไฟฟ้าในหัวใจ แสดงให้เห็นบนจอ Monitor ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 - 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยวิธีดังกล่าวได้ผล 95% โดยมีผลแทรกซ้อนน้อยกว่า 1% เช่น หัวใจทะลุ ลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ปอด เกิดลิ่มเลือดบริเวณที่เจาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่น้อยและยังไม่เคยเกิดขึ้น และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนหลังจากทำเสร็จ หลังจากนั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในบางกรณีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรือในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation สามารถรักษาได้โดยการฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการจี้หัวใจ ก่อนการทำหัตถการจี้หัวใจด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในวันทำการรักษาควรนำญาติมาด้วยเพื่อร่วมตัดสินใจในการรักษาของแพทย์ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้างหรือคอด้านขวาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะใส่สายสวน รวมทั้งจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการจี้หัวใจ หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่ห้องพักฟื้น 1 คืนเพื่อรับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงห้องพักต้องนอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดได้ผิวหนัง หากมีอาการแน่นหน้าอกเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้และรู้สึกอุ่นๆ ขึ้น ๆ หรือพบว่ามีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที วันรุ่งขึ้นถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะควรมีการดูแลรักษาตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น สูบบุหรี่. ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชากาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน พร้อมควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด ประจำตัว เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมทั้งควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคประจำตัว และหากรู้สึกว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงที่มีอาการทันที เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วไม่ส่งผลต่ออันตราย เนื่องจากอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตนเองมีอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ อย่าปล่อยปละละเลยสัญญาณเตือนของร่างกาย เพราะภาวะเจ็บป่วยดังกล่าวหากไม่รีบรักษา อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/จี้หัวใจ-รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
  6. หากคุณกำลังมีอาการปวดคอ ปวดหลังส่วนบนเกิดขึ้นหลังจากยกของหนักหรือเล่นกีฬา อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ถ้าหากอาการที่เป็นอยู่ไม่สามารถหายได้เองหรือเป็นเกิน 2 - 3 อาทิตย์ขึ้นไป อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการเรื้อรัง ควรหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธี หากคุณมีอาการเหล่านี้อยู่ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากทางศูนย์กระดูกสันหลังโรงพยาบาลนครธนมาฝากค่ะ เพื่อให้คุณได้หมั่นสังเกตตัวเองว่า เวลาปวดนั้นรู้สึกปวดแบบใด เพราะลักษณะอาการปวดคอ ปวดหลังส่วนบนนั้น สามารถเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ ดังนี้ อาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน เป็นอาการที่พบได้บ่อยและสร้างปัญหาให้แก่คนส่วนใหญ่ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเคยมีประวัติการ ปวดอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดจากท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ และโรค เกี่ยวกับกระดูกที่ทำให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนได้ สาเหตุของอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน - อาการบาดเจ็บหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด - การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป - ข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม - หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท วิธีดูแลและบรรเทาอาการปวดคอด้วยตนเองเบื้องต้น - พยายามนั่งหลังตรง - ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ - นวดเบาๆ บริเวณที่มีอาการปวด - ประคบร้อน หรือเย็น - รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ปวดคอแบบไหนควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ถึงแม้ว่าอาการปวดอาจต้องใช้เวลากว่าอาการจะทุเลาลง แต่บางครั้งก็อาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดคอไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถทนได้จนรบกวนกิจวัติประจำวัน (ลุก นั่ง ยืน เดิน) - มีอาการปวดรุนแรง ปวดรุนแรงแบบฉับพลัน แบบไม่ปกติ - อาการปวดไม่หายขาดมานานกว่า 3 เดือน - อาการปวดคอร่วมกับ อาการปวดร้าวลงแขน แขนชาหรืออ่อนแรง - มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาเกร็งแข็ง - มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบน แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ ระยะเวลา พร้อมทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ และ/หรือตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รวมถึงวัดการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยมีแนวทางการรักษาประกอบด้วย การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ 1.การรักษาแบบประคับประคอง การรับประทานยา การนอนพัก การให้ออกกำลังกายแบบใช้ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่คอ มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น 2.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง เป็นยาที่ผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา ฉีดเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังหรือใกล้กับบริเวณที่มีอาการปวด จะช่วยลดความปวดจากการอักเสบ และช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน ทั้งนี้การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนด้วยวิธีนี้จะให้ประสิทธิผลดีที่สุดเมื่อทำร่วมกับกายภาพบำบัด หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อหลังและคอ สำหรับผู้ป่วยที่อาการปวดบรรเทาลงมากแล้ว การรักษาเพิ่มเติมหรือการผ่าตัดอาจไม่จำเป็นก็ได้ การรักษาอาการปวดคอและปวดหลังส่วนบนโดยการผ่าตัด ได้แก่ 1.การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า รักษาโรคหรือภาวะหมอนรองกระดูกต้นคอเลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือทับไขสันหลังหรือหมอนรองกระดูกต้นคอที่เสื่อม ร่วมกับมีกระดูกงอกกดทับเส้นประสาท 2.การเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนคอ การที่นำหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดออก และนำหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปแทนที่ นอกจากนี้ศัลยแพทย์สามารถตัดกระดูกส่วนที่งอกออกมา และขยายพื้นที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทและรากประสาท 3.การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) เป็นการผ่าตัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ โรคโพรงประสาทตีบแคบ โดยการสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดซึ่งมีขนาดเพียง 7.9 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของเอ็นโดสโคปจะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาของศัลยแพทย์อยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก มั่นใจในมาตรฐานศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน โรงพยาบาลนครธน ร่วมมือกับ “บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก” ให้บริการเฉพาะทางสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง โดยทีมแพทย์และพยาบาลชำนาญเฉพาะทาง พร้อมด้วย เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope อันทันสมัย ในราคาเข้าถึงได้ รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ของบำรุงราษฎร์ที่เรียกว่า บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิรก์ คือการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ บุคลากรที่มีประสบการณ์เทคโนโลยีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ได้สั่งสมมากว่า 40 ปี มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลนครธน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ทันสมัยเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมได้รับการรักษาในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ เมื่อมีอาการปวดคอร่วมกับปวดหลังส่วนบน ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการปวดอาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาต้นตอสาเหตุคือสิ่งที่ดีที่สุด และเมื่อมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้ ควรรีบนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง ของศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนมีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/อย่าปล่อยให้อาการปวดคอ-ปวดหลังส่วนบน-เป็นปัญหากวนใจ
  7. อาการหลงลืมที่เกิดขึ้นกับคนเราบ่อย ๆ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าหากลืมบ่อย ๆ ถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต อาจไม่ใช่เพียงแค่อาการหลงลืมปกติ หากคุณเป็นลูกๆที่กำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับคุณพ่อคุณแม่และผู้สูงอายุในครอบครัวที่เริ่มมีอาการหลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง แล้วอาการ “ลืม” แบบไหนเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อม วันนี้เรามีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคความจำเสื่อมจาก ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลนครธน มาฝากไว้ให้สังเกตผู้สูงอายุที่บ้านกันค่ะ อาการหลงลืมจำไม่ได้วางของอยู่ไหน ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมกุญแจ นึกคำพูดไม่ออก บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้ ล้วนมักเป็นการอาการเริ่มต้นของโรคความจำเสื่อม คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ซึ่งกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความจำเสื่อมก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว รวมทั้งกลัวการรักษาจนปล่อยให้โรคลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ ส่งผลกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนที่คอยดูแล ปัจจัยเสี่ยงความจำเสื่อม สมองเสื่อม ความจำเสื่อมเป็นหนึ่งในอาการของภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่เซลล์สมองในบริเวณต่าง ๆ เสื่อม จากสาเหตุต่าง ๆ โดยเริ่มจากส่วนหนึ่งในสมองแล้วลุกลามไปยังสมองส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและบุคลิกภาพ การเกิดภาวะสมองเสื่อม นั้นปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ อายุที่มากขึ้นซึ่งผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีความจำถดถอยลง อับดับสองเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ พอหลอดเลือดสมองตีบ มีภาวะอุดตันก็จะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมตามมาได้ นอกจากปัจจัยดังกล่าว ยังมีเรื่องของไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ คือ 1.ผู้ที่ชอบทำอะไรซ้ำซาก จำเจ มีกิจวัตรประจำวันเดิม ๆ ทำอะไรซ้ำ ๆ ไปเที่ยวที่เดิม รับประทานอาหารร้านเดิม เมนูเดิม ไม่ยอมทำอะไรใหม่ๆ 2. ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเป็นเวลานาน และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้สมองส่วนความจำที่มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เหี่ยวเล็กกว่าคนปกติทั่วไป และ 3. กลุ่มคนที่ไม่ชอบเข้าสังคม เก็บตัวอยู่คนเดียว อาการโรคความจำเสื่อม อาการของโรคความจำเสื่อม จะเริ่มมีความจำผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อย เช่น หลงลืมวางของอยู่ไหน ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมกุญแจ ลืมปิดประตูบ้าน ลืมปิดไฟ ลืมรับประทานยาที่จำเป็น มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใครบอกอะไรไปแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น เป็นต้น จนถึงภาวะความจำเสื่อมขั้นรุนแรงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เรียกชื่อสิ่งของและชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก หรือสูญเสียความเข้าใจภาษา และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการมีพฤติกรรมผิดปกติ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง สังเกตความผิดปกติของโรคความจำเสื่อมได้อย่างไร? - อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา - สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร - จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า - มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ - ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก - มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ การดูนาฬิกา - มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว - ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น การวินิจฉัยและรักษาโรคความจำเสื่อม แพทย์จะมีการซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแลที่สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับความสามารถในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง จากนั้นจะเริ่มการทดสอบทางสมอง เพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานประเมินความบกพร่องในการรับรู้เพื่อใช้วินิจฉัยโรค เช่น ให้ทำแบบทดสอบกระดาษหน้าเดียวที่มีคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทักษะสมอง คิดเลข ร่วมกับการตรวจร่างกายและเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม เพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้องเพื่อคัดแยกโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อความจำเสื่อม ผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ และมีสาเหตุจากอะไร โดยการตรวจในห้องปฏิบัติการจะประกอบไปด้วย การตรวจเลือดต่าง ๆ การตรวจภาพสมองด้วยเครื่อง Computed Tomography (CT) หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) ในด้านของการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก เช่น ความจำเสื่อมที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาจะประกอบด้วยการให้ยาที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการดำเนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน (TDCS) เพิ่มความจำและความสามารถของสมอง เป็นต้น เทคโนโลยี TDCS รักษาความจำเสื่อม เครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน หรือ TDCS เป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยพบว่าเทคโนโลยี TDCS สามารถช่วยเพิ่มความจำและความสามารถของสมองได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะแรก และระยะกลาง ที่มีอาการความจำเสื่อมไม่รุนแรงมากนัก เทคโนโลยี TDCS นี้ จะส่งกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ประมาณ 1-2 mA ผ่านอิเล็กโทรดไปยังกะโหลกศีรษะ โดยการกระตุ้นสมองส่วนหน้าของกลีบหน้าผาก (Prefrontal cortex) หรือ สมองกลีบขมับส่วนหน้า (anterior temporal cortex) เพื่อเพิ่มความจำและทำให้การประมวลผลของสมองเร็วขึ้น (speed of cognitive) หรือ ความยืดหยุ่นของสมองดีขึ้น (neuroplasticity) ขั้นตอนการรักษาด้วย TDCS จะใช้เวลากระตุ้นประมาณ 20-30 นาที ต่อครั้ง การรักษาโดยส่วนใหญ่แล้วประมาณ 5-10 ครั้ง จะเริ่มเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้น ในช่วง 1 เดือนแรก ควรเข้ามารับการกระตุ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็จะทำให้วงจรประสาททำงานได้ปกติ และมีการหลั่งสารสื่อประสาทออกมาได้ ซึ่งขั้นตอนการรักษานั้น ทำเพียงแค่ติดสายส่งกระแสไฟฟ้า 2 ตำแหน่งคือ กระแสไฟเข้า และกระแสไฟออก จากนั้นปล่อยกระแสไฟฟ้า ระหว่างการรักษาผู้ป่วยเพียงแค่นั่งเฉยๆ ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหมือนมดกัด เหมือนมีเข็มเล็ก ๆ ทิ่ม หรือคัน ในตำแหน่งที่กระแสไฟฟ้าเข้าหรือออกได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 30-60 วินาที หรืออาจเกิดผิวหนังแดงบริเวณที่กระตุ้นได้ในบางครั้ง ข้อควรระวังการรักษาความจำเสื่อม ด้วยเทคโนโลยี TDCS - ผู้ป่วยที่มีบาดแผล การติดเชื้อ มีรอยโรค หรือเส้นเลือดอักเสบในบริเวณหนังศีรษะที่กระตุ้น - มีประวัติเลือดออกง่าย หรือมีประวัติชัก - ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจชนิด Demand-Type - ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือกสมองอุดตัน/แตกในระยะเฉียบพลัน ควรระมัดระวังในการรักษา - ผู้ป่วยที่ได้รับยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นด้วย TDCS ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของคุณพ่อ คุณแม่ และผู้สูงอายุในครอบครัว หากลูกหลานสัมผัสได้ว่าผู้สูงอายุเหล่านี้ ต้องพึงพาเราในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีพฤติกรรมผิดปกติเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องรีบนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท ของศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เพื่อทำการวินิจฉัย และหาทางป้องกันเพื่อชะลอการดำเนินของโรค ให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคความจำเสื่อม-อาการหลงลืม-ที่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา
  8. มีผู้หญิงหลายคน เวลามีประจำเดือนทีไร มีความทุกข์ทรมานกับอาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างมาก เป็นสิ่งที่น่าเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่ง อาการแบบนี้ถ้าไม่เกิดกับใครจะไม่รู้สึกหรอก แต่ก็มีผู้หญิงบางคนไม่เคยปวดท้องน้อยมาก่อนเลย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการมีประจำเดือนหรือไม่มีประจำเดือน ก็ไม่เคยปวดเลยสบายดีมาตลอด แต่มาช่วงนี้ทำไมเกิดปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน เกิดอะไรขึ้นกันแน่ อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย ๆ ที่ทำให้ต้องมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจและรักษาโรคทางนรีเวช เป็นอาการที่สร้างความกังวลใจให้ได้เรื่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดอยู่ตลอด ๆ ปวดเรื้อรังไม่หายสักที ดังนั้นเราจึงควรมารู้จักกับอาการปวดท้องน้อยกันสักหน่อย จากทางศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน เพื่อจะได้ทราบแนวทางทั้งการตรวจวินิจฉัยรวมถึงแนวทางการรักษาด้วย ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่ว ๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่หากปวดเฉียบพลัน ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ปวดบ่อยแบบไม่ทราบสาเหตุ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวชได้ อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร? อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ แต่อาการปวดท้องอย่างไรที่ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเพิ่มเติม ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่ โรคทางนรีเวชที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องน้อย เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้องรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor) อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้ การตรวจและการวินิจฉัย การซักประวัติและการตรวจร่างกาย การตรวจภายใน การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน การรักษา การให้ยาแก้ปวด การรักษาด้วยฮอร์โมน การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง ดังนั้น หากคุณผู้หญิงเกิดมีอาการปวดท้องน้อยขึ้นมาอีก ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ก็อย่ารอทิ้งให้อาการปวดเรื้อรังเนิ่นนานเกินไป แวะปรึกษากับแพทย์หรือมารับการรักษากับทางศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธนเสียแต่เนิ่น ๆ นะคะ จะเป็นการช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้คุณกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธนhttps://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดท้องน้อยในผู้หญิง-สัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวช
  9. การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐที่สุด แต่โรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์นั้นหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดป่วยขึ้นมาจึงต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดกับตนเองอยู่ตลอด เช่น ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง หรือปวดคล้ายกับเวลาหิวข้าว อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการแผลในกระเพาะอาหารซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารเสร็จแล้วแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง วันนี้เรามีข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับของทางโรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ เพื่อจะได้รู้จักโรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการภาวะแทรกซ้อนและการรักษา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับคุณในอนาคต มาติดตามอ่านข้อมูลกันได้เลยค่ะ อาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น” อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร อยู่ก็เป็นได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ รู้จัก...โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อๆ ว่า โรคพียู (PU) หรือพียูดี (PUD, Peptic ulcer disease) เป็นโรคที่มีแผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น สาเหตุสำคัญเกิดจาก กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ความเครียด เป็นต้น นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H.Pylori : Helicobacter pylori) มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้กระเพาะอาหารมีการอักเสบเรื้อรัง จนทำลายผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการสำคัญหลักๆ เลย คือ ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหารบริเวณลิ้นปี่ มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะมีอาการปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว ปวดๆหายๆ เป็นแรมปี และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกมีอัตราสูงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม และที่สำคัญโรคแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ภาวะเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีเลือดออกจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ จะทำให้ปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมา กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร การรักษาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้ 1. การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน โดยแพทย์จะให้ยาลดกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แผลถึงจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร 2. การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ จากเดิมเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารตามแต่แพทย์สั่ง 3. การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วไม่เข้ารับการรักษา มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กฉีกขาด เป็นต้น ทั้งนี้ ควรงดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร และควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากทิ้งไว้นานวันเข้าโดยที่ไม่รักษาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นโรคเรื้อรั้งที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดได้ อีกทั้งอาจเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ หากคุณที่อ่านกำลังมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่าได้เก็บความกังวลใจความสงสัยไว้กับตัวสามารถติตต่อสอบถามศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาท่านได้ค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลนครธนhttps://www.nakornthon.com/article/detail/ปวดท้องแบบนี้-สัญญาณบ่งบอกแผลในกระเพาะอาหาร/
  10. อัมพฤกษ์ อัมพาต คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากเนื้อสมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลงจากหลอดเลือดแดงที่ ตีบ, อุดตัน หรือ แตก ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย โดยมีอาการแสดงอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ถึงวิธีการรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกของการฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต วันนี้เรามีข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS จากศูนย์สมองและระบบประสาท ของโรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร? TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมอง โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่าง ๆ จะใช้หัว Coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วย ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรง สื่อสารลำบาก กลืนลำบาก จากภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน - ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร - ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ให้ประสิทธิภาพดีแค่ไหน? การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60% แพทย์จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาและความถี่ที่นัดมาทำขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้แพทย์จะคอยซักถามและสังเกตอาการข้างเคียงตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้วและอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า - ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง ข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ที่มีการฝังโลหะหรือชิ้นส่วนของโลหะในสมองและในช่องหู เพราะสนามแม่เหล็กสามารถเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ จนอาจก่อให้เกิดแรงกระทำต่อโครงสร้างสมองโดยรอบวัตถุนั้นได้ - ผู้ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย เพราะสนามแม่เหล็กจะรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเครื่องเหล่านั้นได้ ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย TMS มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้นแต่น้อยมากจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ข้อแนะนำก่อนรักษาด้วย TMS 1.แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว 2.ห้ามอดนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วย TMS ในวันรุ่งขึ้น 3.หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนทำ TMS 4.กรณีมียาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยานอนหลับ ยาทางจิตเวช ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง อัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะมีผู้ป่วยหลายคนที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการหนักแล้ว ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง ว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ หน้าเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก การมองเห็นผิดปกติ เวียนศีรษะ เดินเซ ซึมลง หรือปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่งแล้วอย่ารีรอ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะการได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยลดความพิการและการเสียชีวิตลงได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/tms-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
  11. สำหรับคู่สมรสบางคู่อาจจะเป็นคู่ที่โชคดีสามารถมีลูกกันได้อย่างสบาย ๆ แบบหัวปีท้ายปีกันเลย แต่ก็ยังมีคู่สมรสอีกหลาย ๆ คู่ที่ประสบปัญหาภาวะการมีลูกยาก ทั้ง ๆ ที่ปล่อยแบบธรรมชาติมาตั้งนานแถมกิจกรรมทางเพศก็มีไม่ขาด แต่ลูกก็ยังไม่มาสักที ดังนั้นวันนี้โรงพยาบาลนครธนเราได้รวบรวมหลาย ๆ คำถามเกี่ยวกับคู่สมรสที่มาพบคุณหมอเพราะต้องการรักษาภาวะมีลูกยาก ซึ่งมีหลากหลายคำถามที่อาจจะตรงกับคู่สมรสของคุณก็ได้ค่ะ สำหรับคู่แต่งงานที่มีลูกยาก ลองมาแล้วสารพัดวิธีก็ไม่สำเร็จสักที อาจมีคำถามเกี่ยวกับภาวะการมีลูกยากมากมายว่าจะรักษาอย่างไรดี มีวิธีอะไรบ้าง ถ้าจะนับวันไข่ตกทำอย่างไร จะกินยากระตุ้นไข่เองได้หรือไม่ เมื่อไหร่ถึงต้องใช้การอุ้มบุญ ไปคลายข้อสงสัยเหล่านี้กันได้เลยค่ะ Q : เมื่อไหร่ถึงต้องไปปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก? คำว่ามีบุตรยากคือการที่คู่สามีภรรยาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่มีบุตร โดยที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอคือประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคู่สามีภรรยาที่ว่านี้ควรปรึกษาเรื่องการมีบุตร แต่ก็มีหลายกรณีที่อาจจำเป็นต้องรีบมาปรึกษาหรือทำการรักษาเช่น คู่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ฝ่ายหญิงอาจมีโรคประจำตัว ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดประจำเดือนมาก เหล่านี้ก็น่าสงสัยจะเป็นกลุ่มที่มีบุตรยากโดยไม่ต้องรอให้ครบหนึ่งปี หรือบางครั้งจะมีการตรวจเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรโดยการคัดกรองเบื้องต้น หาสาเหตุของฝ่ายชายและหญิงก่อนแต่งงานหรือก่อนมีบุตรได้ Q : คนที่มีลูกยากต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเพิ่มความสำเร็จในการมีลูก? ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีลูกยาก โดยทั่วไปคู่สมรสควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเหล้าและบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม Q : มีวิธีนับวันไข่ตกอย่างไร? การนับวันไข่ตกเหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาตรงตามปกติ โดยทั่วไปคือประมาณ 28 วันจะมีประจำเดือนมาอีกครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะนับได้ว่ากลางรอบเดือน คือ ระยะตรงกลางระหว่างประจำเดือนวันแรกของรอบที่แล้วกับประจำเดือนวันแรกของรอบถัดไป คือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือนนับจากประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ไข่น่าจะตก แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นวันนั้นแน่เสมอไป อาจเป็นวันก่อนหน้าหรือวันอื่นถัดๆ ไป แต่ก็จะอยู่ในช่วงกลางระหว่างรอบเดือนสองรอบนั้น แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันช่วงระหว่างที่คาดว่าจะมีการตกไข่ Q : การรักษาภาวะมีบุตรยากมีวิธีการอะไรบ้าง? วิธีการเบื้องต้นอาจจะเป็นการนับวันไข่ตก การตรวจฮอร์โมนไข่ตก แล้วมีเพศสัมพันธ์กันเองตามธรรมชาติ บางครั้งอาจใช้ร่วมกับวิธีการทานยากระตุ้นไข่ การฉีดยากระตุ้นไข่ เพื่อให้ใข่มีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยีการคัดเชื้อแล้วทำการฉีดเชื้อหรือเรียกอีกอย่างว่าการผสมเทียม คือการเอาเชื้อฝ่ายชายฉีดเข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิงในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็เป็นอีกวิธีการใช้เทคโนโลยีในเบื้องต้นอันหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจต้องทำหลายครั้งกว่าจะสำเร็จ ส่วนการทำกิ๊ฟ คือการนำเอาไข่กับเชื้อผสมกันในท่อนำไข่ในช่องท้อง โดยต้องใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ปัจจุบันอาจมีการทำน้อยลง เนื่องจากขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ที่ทำการรักษาเรื่องมีบุตรยากมักจะหันมาใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว รวมทั้งวิธีทำ ICSI ในการทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มากที่สุด การเลือกใช้วิธีไหน ขึ้นกับข้อบ่งชี้หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีมากประกอบในการตัดสินใจในการรักษาต่อไป Q : อยากทราบค่าใช้จ่ายในการรักษาสำหรับผู้มีบุตรยากคิดอย่างไร? ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยที่มี บางคนไม่มีภาวะผิดปกติอะไร อายุยังน้อยก็อาจใช้วิธีการนับวันไข่ตก ตรวจฮอร์โมนการตกไข่ก็อาจมีบุตรได้ บางคนมีโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัดก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด หรือบางคนต้องรับยาซึ่งยาบางอย่างมีราคาแพง โดยเฉพาะยาฉีดกระตุ้นไข่ ส่วนการฉีดเชื้อผสมเทียมก็อาจมีค่าใช้จ่ายแต่ไม่แพงมากนัก สามารถทำได้หลายครั้ง ส่วนการทำเด็กหลอดแก้วก็ถือว่ามีการใช้ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่ทำการรักษา อาจเป็นหลักแสนขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ทุกคนที่มีความจำเป็นในการทำเด็กหลอดแก้ว ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากก็ขึ้นอยู่กับภาวะของแต่ละคน Q : ทารกที่เกิดจากการรักษามีบุตรยากจะมีความสมบูรณ์หรือไม่? จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ที่ได้รวบรวมข้อมูลในการทำเด็กหลอดแก้วรวมทั้งการทำ ICSI พบว่า อัตราการเกิดความพิการในเด็กโดยทั่วไปไม่ได้แตกต่างกัน ยกเว้นความพิการอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งถ้าเอาตัวเลขของครรภ์แฝดที่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติมาดูแล้วเทียบกัน ก็ไม่ต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ทำอาจไม่ต้องมีความกังวลมากนักในเรื่องความพิการในทารก อีกทั้งเทคโนโลยีการตรวจสารพันธุกรรม (PGD) ก่อนที่จะใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก ก็อาจช่วยในการคัดกรองเบื้องต้นในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ความพิการในทารกหรือทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์ลดลงด้วย Q : อยากทราบวิธีทานยากระตุ้นไข่ทำอย่างไร? การทานยากระตุ้นไข่ ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก ไม่มีซื้อขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยทั่วไปจะให้กินยาเป็นเวลา 5 วันในช่วงที่มีประจำเดือน ยากระตุ้นไข่จะช่วยให้จำนวนไข่โตมากขึ้น หรือไข่ตกมากขึ้นนั่นเอง ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มีมากยิ่งขึ้น บางครั้งอาจต้องใช้ยานี้ร่วมกับการฉีดเชื้อผสมเทียมได้ Q : การกระตุ้นไข่บ่อย ๆ มีผลอะไรหรือไม่? เพราะรักษาด้านนี้มาหลายปีต่อเนื่องตลอด ตอนนี้รู้สึกเหมือนประจำเดือนผิดปกติ การกระตุ้นไข่ในแต่ละรอบเดือนจำเป็นต้องเว้นช่วงบ้าง เนื่องจากไข่ที่ถูกกระตุ้นหลายๆ รอบติดกัน อาจทำให้ปริมาณของฟองไข่ลดลง ระบบฮอร์โมนที่ควบคุมประจำเดือนอาจมีการแปรปรวนได้บ้าง การเว้นช่วงการกระตุ้นอาจช่วยให้ประจำเดือนกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตามประจำเดือนที่ผิดปกติอาจมาจากสาเหตุอื่น ดังนั้นควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน Q : การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนคืออะไร? แล้วจำเป็นต้องทำทุกรายหรือไม่? การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน คือ วิธีการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมจากเซลล์บางส่วนของตัวอ่อน ทั้งในระดับยีน (gene) หรือระดับโครโมโซม (chromosome) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีสารพันธุกรรมที่ปกติเท่านั้น มาย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง Q : หากต้องการได้บุตรที่แข็งแรง ปราศจากโรคที่เกิดจากโครมโมโซมที่ผิดปกติ สามารถทำได้หรือไม่ แล้ววิธีที่เหมาะสมคือวิธีใด? ปัจจุบัน มีกระบวนการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว หรือ PGD (Preimplantation genetic diagnosis) ซึ่งเราสามารถตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้มั่นใจได้ว่าทารกจะมีโครโมโซมที่ปกติ โดยเทคนิคใหม่ที่แนะนำคือ เทคนิค CGH (Comparative Genomic Hybridization) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โดยสามารถตรวจโครโมโซมได้ทั้ง 24 คู่ อีกทั้งยังมีความถูกต้อง และได้ผลสำเร็จที่ดีกว่าเทคนิคแบบเก่า (FISH: Fluoresence In Situ Hybridization) Q : หญิงอายุมากมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์บุตรที่ผิดปกติอย่างไรบ้าง แล้วมีวิธีการป้องกันหรือไม่? เนื่องจากหญิงที่อายุมากมีจำนวนฟองไข่ลดลง คุณภาพของไข่ลดลง มีการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น จึงมีปัญหามีบุตรยาก มีภาวะแท้งสูงขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมสูงขึ้น ได้แก่ - ความผิดปกติของโครโมโซมชนิดโครงสร้าง เช่น Translocation, inversion - ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) เนื่องจากความผิดปกตินี้พบได้ในทารก การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation genetic diagnosis: PGD) จึงมีประโยชน์ในการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมปกติ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และลดอัตราการแท้งบุตรได้อีกด้วย Q : หากลูคนแรกมีภาวะผิดปกติ และต้องการมีลูกคนที่สองอีก มีโอกาสหรือไม่ที่ลูกจะเกิดมาเป็นปกติได้ และหากฝ่ายหญิงอายุ 40 ปีแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง? แนะนำให้รีบมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อประเมินและให้การรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที Q : สามีเป็นหมันต้องทำอย่างไร และอาหารประเภทไหนที่จะบำรุงเชื้อฝ่ายชาย? สามีที่เป็นหมันคือ ฝ่ายชายที่ไม่สามารถนำเอาเชื้ออสุจิออกมาได้ หรือไม่มีเชื้อเอาน้ำอสุจิออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วการตรวจเชื้อฝ่ายชายจะทราบว่ามีหรือไม่มีเชื้อ หรือว่ามีเชื้อแล้วผ่านเกณฑ์หรือเปล่า ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะเรียกว่าเชื้ออ่อน คนที่เชื้ออ่อน ก็อาจมีวิธีรักษาโดยการคัดเชื้อการฉีดเชื้อหรือการทำผสมเทียม หรือถ้าอ่อนมากอาจต้องทำ ICSI สำหรับอาหารที่บำรุงเชื้อฝ่ายชายไม่มีอะไรเป็นพิเศษ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การงดดื่มเหล้าสูบบุหรี่ หรืองดชากาแฟ ก็จะมีส่วนช่วยได้ รวมทั้งการได้รับประทานยาบางตัวจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจช่วยให้เชื้อแข็งแรงขึ้นมาบ้าง Q : เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อคโกแลตซีสท์ คืออะไร ทำให้มีบุตรยากหรือไม่? ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คือ การที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูกในช่องท้อง อาจสะสมตามรังไข่และปีกมดลูก ถ้าเป็นมากอาจทำให้เกิดเป็นช็อคโกแลตซีสท์ได้ ความสำคัญก็คือ การมีภาวะนี้จะทำให้โอกาสในการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น เพราะภาวะนี้อาจทำให้มีผังผืดเพิ่มขึ้นที่ปีกมดลูก หรือสารบางตัวจากภาวะนี้ไปทำลายไข่ หรือขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ผู้ที่มีภาวะนี้ ถ้าเป็นมากก็ควรทำการรักษาก่อนที่จะทำการรักษาให้มีบุตร อาจใช้ยาหรือการผ่าตัดแล้วแต่กรณี บางคนผ่าตัดไปแล้วก็สามารถมีลูกได้เองโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการมีบุตรเพิ่มเติม Q : การคัดเพศบุตรมีวิธีอย่างไร? การคัดเพศบุตรที่ได้ผลมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือการคัดเชื้ออสุจิแล้วทำการฉีดเชื้อผสมเทียม ซึ่งผลในการคัดไม่แน่นอนนักประมาณ 70% ส่วนอีกวิธีที่ได้ผล 100% คือต้องทำเด็กหลอดแก้วแล้วทำ PGD ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีนอกจากได้ผลแน่นอนแล้ว ก็ยังสามารถทำการคัดกรองความสมบูรณ์ของเด็กเบื้องต้นก่อนได้ด้วย เช่น คัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น Q : เมื่อไหร่ถึงต้องอุ้มบุญหรือการใช้เชื้อหรือไข่บริจาค? ผู้ที่ต้องอุ้มบุญคือ ในกรณีที่มดลูกมีความผิดปกติหรือมีเนื้องอก หรือบางรายเยื่อบุโพรงมดลูกมีปัญหา ก็ต้องไปใช้มดลูกคนอื่นที่ปกติแทน ส่วนผู้ที่ต้องใช้เชื้อบริจาคก็คือ ผู้ชายทีเป็นหมันหรือไม่มีเชื้อหรือเชื้อน้อยมาก ซึ่งกรณีนี้อาจจะลองเจาะอัณฑะหรือท่อนำเชื้ออสุจิก่อนก็ได้ ถ้าพอมีเชื้อก็อาจทำ ICSI ได้ ส่วนกรณีที่ใช้ไข่บริจาคก็คือ ผู้ที่มีจำนวนไข่น้อยหลังจากกระตุ้นไข่แล้ว หรือได้ไข่ที่ไม่มีคุณภาพ ก็ต้องไปหาไข่ของผู้อื่น โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้เป็นญาติของผู้ที่ต้องการไข่เองมากกว่า เนื่องจากจะได้มีส่วนทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นคำถามหลักๆ ที่คู่สมรสที่มีภาวะมีลูกยากได้สอบถามกับทางคุณหมอเข้ามา และหากคู่สมรสต้องการวางแผนที่จะสร้างครอบครัว การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานถือเป็นสิ่งสำคัญมาก หากได้ตรวจเพื่อหาสาเหตุตั้งแต่แรก การมีลูกจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ปรึกษาทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลนครธนสิคะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/สารพันปัญหาการมีบุตรยากที่พบบ่อย
  12. ปัญหาด้านสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่มักจะเจอคือ มีภาวะของโรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลให้มีอาการปวดเข่า เข่าฝืด ใช้งานไม่ถนัด บางครั้งมีอาการเข่าบวมโตปวดทรมานมาก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้การรักษาด้วยวิธีการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร และช่วยให้โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงวัยดีขึ้นจริงหรือไม่ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม กำลังมองหาทางเลือกในการรักษา วันนี้โรงพยาบาลนครธนจะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไรบ้างกันค่ะ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้ออยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลนครธน เราหวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคุณอย่างมาก หากมีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมอยู่ สามารถติดต่อเข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนได้ค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  13. เชื่อว่ายังมีผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ที่หลีกเลี่ยงการ “ตรวจภายใน” และผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มาหาหมอด้วยอาการปวดท้องประจำเดือนหรือปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง มีประจำเดือนมามากผิดปกติ ถึงได้มาพบหมอ พอตรวจอย่างละเอียดกลับพบว่าเป็นเนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทำงานขึ้นชื่อว่าวัยทำงานส่วนใหญ่อาจทำงานยุ่งวุ่นวายจนลืมนึกถึงสุขภาพ ไม่ได้ตรวจร่างกายประจำปี โดยเฉพาะการตรวจภายใน ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกที่จะเลี่ยงการตรวจไปจนกว่าจะมีอาการผิดปกติบางอย่างเสียก่อน บทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักว่าเนื้องอกในมดลูกคืออะไร ลองพิจารณาดูว่าคุณกำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคทางนรีเวชนี้อยู่หรือไม่ ตามมาอ่านข้อมูลจากโรงพยาบาลนครธนกันได้เลยค่ะ เนื้องอกในมดลูก อีกหนึ่งโรคทางนรีเวชยอดฮิตที่พบบ่อยประมาณร้อยละ 25 ในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบ 1 ใน 3 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ สามารถพบได้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในตัวมดลูก โดยมีขนาดต่างกันไป อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ บางชนิดโตช้า บางชนิดโตเร็ว แต่ที่น่าเป็นกังวลคือผู้หญิงหลายคนมักไม่รู้ว่าตัวเอง อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ เนื่องจากเนื้องอกในมดลูกจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ บอกชัดเจน มักทราบโดยบังเอิญจากการที่ตรวจสุขภาพประจำปีหรือมาปรึกษาแพทย์ด้วยโรคอื่น ๆ เนื้องอกมดลูก มีกี่ประเภท? เนื้องอกมดลูก มีทั้งชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง โดยส่วนใหญ่เกิดจากชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกที่เป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่า ซึ่งมีเนื้องอก 2 แบบใหญ่ ๆ คือ เกิดจากกล้ามเนื้อโดยตรง หรือเกิดจากมีเนื้ออย่างอื่นแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อของมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แทรกเข้ามาในมดลูก หรือมีหลายเม็ดเกาะกันเป็นกลุ่มจนใหญ่ขึ้น ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาการบ่งชี้ของเนื้องอกในมดลูก ประจำเดือนมามากผิดปกติ คืออาการบ่งชี้หรือสัญญาณเตือนเนื้องอกในมดลูก อาจจะมีอาการปวดท้องหรือไม่ปวดก็ได้ ซึ่งอาการปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอก เช่น มีขนาดใหญ่ขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงเนื้องอกไม่พอ ทำให้เนื้องอกขาดเลือด หรือปวดท้องเพราะเนื้องอกไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ จนทำให้เกิดการปวดแบบหน่วงๆ เหมือนมีก้อนหนัก ๆ ในท้อง และทำให้ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก รวมทั้งมีอาการปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย การรักษาเนื้องอกมดลูก การรักษาเนื้องอกมดลูกสามารทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะของเนื้องอก และปัจจัยโดยรวมของผู้ป่วย เช่น อายุ ความต้องการในการมีบุตร การตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา ฉีดยา แต่ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งวิธีผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบมาตรฐาน และการผ่าตัดผ่านกล้องที่ได้รับความนิยมและมีข้อดีในหลาย ๆ ด้าน คือ แผลมีขนาดเล็ก คนไข้เสียเลือดน้อย เจ็บตัวน้อย ใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้คุณคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเนื้องอกในมดลูกมากขึ้น และ คงจะหันมาใส่ใจกับเรื่องของสุขภาพและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจภายในกันมากขึ้นแล้วนะคะ ดังนั้นหากคุณกำลังมีอาการปวดท้องประจำเดือนหรือปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง มีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีอาการบงชี้เนื้องอกในมดลูกดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของทางศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้การรักษายากขึ้นอีกด้วยนะคะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/เนื้องอกในมดลูก-โรคยอดฮิตของผู้หญิงทุกวัย
  14. โรคกระดูกเสื่อมมักเกิดเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธี รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้กระดูกเกิดความผิดปกติได้ โดยส่วนมากพบว่าอาการผิดปกติ มีอาการเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ พบมากในกลุ่มคนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยความเสื่อมของแคลเซียมในร่างกายและการใช้งานข้อหรือกระดูกมายาวนาน เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเสื่อม ข้อไหล่ติด เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหากระดูกและข้อ การได้รับคำปรึกษาที่ดี การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจที่สำคัญค่ะ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบริการทางการแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่ - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่) - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง - รักษาเนื้องอกกระดูก - รักษาภาวะกระดูกพรุน - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) - การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น ศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและมีประสบการณ์ บริการให้คำปรึกษา รักษา และดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อดูแลคุณอย่างครบทุกด้าน ด้วยทางเลือกการรักษาทั้งแบบผ่าตัดส่องกล้องและไม่ผ่าตัด ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ ให้บริการตรวจรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน จึงวินิจฉัยหรือวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และตรงจุด จะรักษาตามอาการของโรคใช้ยาแก้อักเสบ การผ่าตัด อาการที่มีการเรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งการรักษาที่ดีและเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูก คือ การปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงที่ทำให้ระบบข้อและกระดูกเสื่อม เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยเจ็บน้อย ฟื้นตัวไว กลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิมในเวลาไม่นาน สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาด้านกระดูกและข้อสามารถติดต่อเข้ามาขอรับคำปรึกษากับทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธนยินดีให้คำปรึกษาโดยตรงค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ
  15. โรคกระดูกและข้อเกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกตามธรรมชาติเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจสำคัญ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบริการทางการแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธร มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่ - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่) - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง - รักษาเนื้องอกกระดูก - รักษาภาวะกระดูกพรุน - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) - การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมให้คำปรึกษา ดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้ออย่างครอบคลุม ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญ ตลอดจนเทคโนโลยีการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันสมัย ครอบคลุมโรคทางกระดูกและข้ออย่างครบถ้วน ให้บริการรักษาแบบครบวงจร ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ
  16. ปัญหาข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการใช้ข้อเข่ามาอย่างยาวนาน อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกผิวข้อสึกกร่อน น้ำเลี้ยงบริเวณข้อเข่าลดน้อยลง จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ “การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้ เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้ออยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า การรักษาแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ 2-3 วันแรก และอาจจะดูแลในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
  17. ด้วยสภาวะสังคมและเศรษฐกิจทำให้สมัยนี้คนมักจะแต่งงานช้า บางคู่แต่งงานกันเร็วแต่กลับมีลูกช้า ปัจจุบัน ผู้หญิงยุคใหม่แต่งงานช้าลง โดยเฉลี่ยที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ถึงจะแต่งงาน ส่วนมากทุ่มเทกับงาน การเที่ยว และการใช้ชีวิตอย่างอิสระ ห่วงแหนความโสด รอสร้างอนาคตครอบครัวกับคนที่ใช่ในวันข้างหน้า แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไป ความเสื่อมของร่างกายก็มากขึ้นทำให้โอกาสในการมีลูกก็ยากเช่นกัน ผู้หญิงที่เลยวัย 35 ปีไปแล้ว หากมีลูกอาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะมีภาวดาวน์ซินโดรตามมาได้ ดังนั้นวงเวลาทองที่เหมาะสมจะมีลูกคืออายุ 20-30 ปี ทำให้ผู้หญิงยุคใหม่จึงหันมาสนใจในเรื่องฝากไข่และแช่แข็งไข่เพิ่มมากขึ้น วันนี้เรามีข้อมูลความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการแช่แข็งเซลล์ไข่ รวมถึงขั้นตอนการเก็บและการตรวจร่างกายก่อนฝากเซลล์ไข่ จากนพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน มาฝากกันค่ะ การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Oocyte freezing) คืออะไร การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Oocyte freezing) คือ การที่ผู้หญิงเก็บเซลล์สืบพันธุ์หรือที่เรียกว่า “ไข่” ที่ได้จากกระตุ้น เก็บออกมาภายนอกร่างกายและนำมาแช่แข็งเอาไว้ในอุณหภูมิที่เย็นจัด -196 องศาเซลเซียส จำนวนไข่ที่เก็บได้ ขึ้นกับปริมาณรังไข่สำรองอยู่ในผู้หญิงของแต่ละคน โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 ใบ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีจำนวนไข่มาก อาจเก็บได้มากถึง 20-30 ใบได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน แต่หากประสบกับภาวะรังไข่เสื่อมอายุ อาจเก็บไข่ได้เพียง 3-5 ใบเท่านั้น ซึ่งโอกาสประสบความสำเร็จจากการต้องการในอนาคต ขึ้นกับจำนวนฟองไข่ที่เก็บได้ ขั้นตอนการเก็บเซลล์ไข่มาแช่แข็ง ขั้นตอนของการแช่แข็งไข่ ใช้กระบวนการเดียวกันกับการกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว โดยผู้ที่ต้องการฝากเซลล์ไข่ จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจเลือด หากไม่พบปัญหาใด จึงจะสามารถดำเนินการกระตุ้นไข่ต่อไปได้ เมื่อถึงขั้นตอนเก็บไข่ออกมาภายนอกร่างกาย โดยดูดผ่านทางช่องคลอดคัดเอาไข่ที่มีความสมบูรณ์ เพื่อเก็บรักษาไว้ในน้ำยาเลี้ยงและแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว ในห้องปฏิบัติการณ์ที่มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาละลายออกมาใช้งานในอนาคต การตรวจร่างกายก่อนฝากเซลล์ไข่ 1.ตรวจเลือด 2.ตรวจโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส เป็นต้น 3.ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย 4.เตรียมตัวกระตุ้นไข่ โดยใช้ยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก และทำการเก็บไข่หลังจากฉีดยากระตุ้นไปประมาณ 8-12 วัน การแช่แข็งไข่เหมาะกับใคร 1.ผู้หญิงที่ยังไม่วางแผนที่จะมีลูก โดยเฉพาะเมื่ออายุใกล้ 35 ปี 2.ผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนและคุณภาพเซลล์ไข่ 3.ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่อาจทำให้ประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ หรือมีประวัติประจำเดือนหมดเร็วในครอบครัว 4.ผู้ที่ต้องผ่าตัดรังไข่ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ช็อคโกแลตซีสต์ อายุเท่าไรควรมาแช่แข็งและฝากเซลล์ไข่ สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเมื่อทำการแช่แข็งไข่ เมื่ออายุน้อยกว่า 35 ปี จะทำให้ได้จำนวนไข่และคุณภาพสูง หากอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการความสำเร็จของการมีบุตรจากการแช่แข็งไข่ จะลดน้อยลง และอาจจำเป็นต้องได้จำนวนไข่มากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้ก็จะลดลงด้วย โดยจำนวนไข่ที่แนะนำให้แช่แข็งขึ้นกับอายุของผู้หญิง ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12-15 ใบ ประสิทธิภาพของการเก็บรักษาเซลล์ไข่ การแช่แข็งไข่เปรียบเสมือนกับการหยุดอายุไข่ไว้เท่าอายุตอนที่เก็บไข่ ไม่ให้มากขึ้นไปตามอายุจริง ยิ่งอายุน้อยโอกาสสำเร็จยิ่งสูง โดยเฉลี่ยหลังละลายสามารถนำไข่มาใช้ได้ 80-90% ซึ่งอายุของผู้หญิง ณ วันที่แช่เข็งไข่เป็นตัวแปรสำคัญในการบอกโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์ สามารถเก็บแช่แข็งเซลล์ไข่ ไว้ใช้ได้นานเพียงไร ตามหลักการ สามารถแช่แข็งไข่ไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ยังมีสารรักษาความเย็นที่เพียงพอ ปัจจุบันข้อมูลที่เก็บแช่ไข่ไว้นาน 14 ปี เมื่อนำมาใช้ก็ประสบผลสำเร็จดี โดยทั่ว ๆ ไปแนะนำให้ใช้ไข่แช่แข็งเพื่อตั้งครรภ์ก่อนอายุ 40-45 ปี เนื่องจากอายุเกินกว่านี้ตั้งครรภ์อาจพบภาวะแทรกซ้อนมาก ผลข้างเคียงของการรักษาไข่ ผลข้างเคียงที่อาจพบได้เกิดจากการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ ไม่ต่างกับการทำเด็กหลอดแก้ว ได้แก่ อาจเกิดภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากการเก็บไข่ ซึ่งโอกาสเกิดผลข้างเคียงนั้นมีน้อย ในขณะที่ความผิดปกติของเด็ก ในแง่ของโครโมโซมหรือความพิการแต่กำเนิดไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ Did you Know การแช่แข็งไข่ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การแช่แข็งแบบ Vitrification อายุที่เหมาะสมต่อการฝากไข่ คือ 28-37 ปี เพราะอายุที่มากกว่านี้ปริมาณและคุณภาพไข่จะลดลง ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บเซลล์ไข่เทียบเท่ากับการทำเด็กหลอดแก้วและยังมีค่าฝากรายปี โดยปกติต้องใช้ไข่ประมาณ 12-15 ใบ เพื่อจะให้ได้ลูก 1 คน ดังนั้น การกระตุ้นไข่ 1ครั้ง อาจได้ไข่ไม่เพียงพอเซลล์ไข่ที่ถูกแช่แข็ง เปลือกไข่จะหนาและแข็ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธี “อิ๊กซี่” (ICSI) ช่วยปฏิสนธิ โดยวิธีนี้คือการเอาเซลล์อสุจิ 1 ตัว ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ (อสุจิ 1 ตัวต่อเซลล์ไข่ 1ใบ) ตามกฎหมายไทย การฝากไข่ไม่จำเป็นต้องใช้ทะเบียนสมรส แต่หากจะนำมาใช้ปฏิสนธิจำเป็นต้องใช้ทะเบียนสมรส การวางแผนการมีลูกนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากวางแผนมีลูกตั้งแต่อายุยังน้อย โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็จะมีมาก โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มาก คือในช่วงอายุตั้งแต่ 20-30 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายมีความสมบูรณ์เต็มที่ และหากตั้งครรภ์ในช่วงนี้ เด็กส่วนมากจะมีความสมบูรณ์และมี โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยมาก แม้วิธีการแช่แข็งไข่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนที่พร้อมมีลูกในวัยที่เลย 35 ไปแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมเสมอก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/แช่แข็งไข่-อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีลูก
  18. โดยปกติทั่วไปคนเราจะลืมนั่น ลืมนี่กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ โรคสมองเสื่อม หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะลืมที่ค่อนข้างรุนแรง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์สมองค่อย ๆ เสื่อมลง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาการของโรคจะค่อย ๆ เป็นช้า ๆ และอาการก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหลงลืมเรื่องต่าง ๆ ลืมชื่อคน ลืมว่าทำอะไรไปบ้าง หรือแม้แต่ลืมบทสนทนาที่เพิ่งคุยกันมาหมาด ๆ ทั้งยังทำให้บุคลิกภาพและอารมณ์เปลี่ยนไป ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาการลืมก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน แล้วโรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการเหมือนกันหรือไม่? เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ 1. ด้านสมาธิ 2. ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน 3. ด้านความจำ 4. ด้านการใช้ภาษา 5. ด้านมิติสัมพันธ์ 6. ด้านการเข้าสังคม ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะสมองเสื่อม” โรคสมองเสื่อม มีกี่ประเภท? ประเภทของโรคสมองเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด 2. กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการ เหมือนกันหรือไม่? หลาย ๆ ท่านอาจจะมีความสงสัยหรือสับสนว่า จริง ๆ แล้วโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้ว โรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ อาการแบบไหน ควรสงสัยว่าเป็นสมองเสื่อม? · ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง · สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร · ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี · บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้ · บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ · บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้ · บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง ปัจจัยที่เสี่ยงมีผลต่อภาวะสมองเสื่อม ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมมีหลากหลาย ทั้งปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ และปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่ · อายุเกิน 65 ปี · ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ไขมัน เพราะดรคเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ และทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม · ผู้ที่ชอบทำอะไรจำเจ ทานอาหารเดิม ๆ ไปสถานที่เดิม ๆ มีกิจกรรมเดิม ๆ · ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา · ผู้ที่ไม่เข้าสังคม เช่น นอนดูทีวีอยู่บ้าน ชอบอยู่คนเดียวเป็นกิจวัตร โรคสมองเสื่อม ป้องกันได้ ถ้าหากว่าไม่ใช้งานสมองเลย กล้ามเนื้อสมองก็จะเหี่ยว เล็ก และเสื่อมถอยลงไปในที่สุด เพราะฉะนั้นควรกระตุ้นสมองให้ทำงานทั้ง 6 ด้าน ด้วยการทำกิจกรรมฝึกสมองบ่อย ๆ เช่น · ไม่ควรอยู่กับบ้านเฉยๆ ควรทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ · เรียนรู้ภาษาหรือสิ่งใหม่ๆ เช่น ภาษาที่สาม การทำอาหาร การเรียนศิลปะ · ร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น อาสาสมัคร ชมรมต่าง ๆ · ออกกำลังกาย แอโรบิค โยคะ เดินในที่อากาศโปร่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในตอนนี้ โรคสมองเสื่อม อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่สมอง ดังนั้นหากคุณไม่อยากสูญเสียความทรงจำหรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก็อาจ ป้องกันโรคสมองเสื่อมโดยการนำวิธีง่าย ๆ หากคนใกล้ตัวหรือตัวคุณเองมีอาการเข้าข่ายภาวะสมองเสือม หรือสงสัยว่าโรค อัลไซเมอร์อาการ อย่างไร สามารถเข้ามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลนครธน ตลอดเวลาทำการ เรายินดีให้คำปรึกษาและวิธีป้องกันอย่างละเอียด ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคสมองเสื่อมรู้ทันป้องกันได้
  19. ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกที่เรียกกันอีกอย่างนึงว่า Stroke เป็นโรคที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุความพิการและเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ความน่ากลัวของโรคนี้คือ หากเป็นแล้วส่งผลต่อผู้ป่วยทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้และถึงแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ยังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มีปัญหาด้านการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา และการเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้มีปัญหาต่อการช่วยเหลือตัวเอง และการประกอบกิจวัตรประจำวัน บางรายก็ไม่สามารถเดินเองได้ ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่ทำให้มีเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดหลอดเลือดสมองตีบและแตก ได้แก่ เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วยังมีอาการอ่อนแรงหรือการเกร็งของกล้ามเนื้อ การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า tms กระตุ้นสมอง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูและลดอาการเกร็งของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองได้ ซึ่งหลายคนยังคงสงสัยว่าการทำ การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง คืออะไร วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร? TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมอง โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่าง ๆ จะใช้หัว coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วย ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน - ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร - ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ให้ประสิทธิภาพดีแค่ไหน? การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60% แพทย์จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาและความถี่ที่นัดมาทำขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้แพทย์จะคอยซักถามและสังเกตอาการข้างเคียงตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้วและอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า - ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง ข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) - ผู้ที่มีการฝังโลหะหรือชิ้นส่วนของโลหะในสมอง เพราะสนามแม่เหล็กสามารถเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ จนอาจก่อให้เกิดแรงกระทำต่อโครงสร้างสมองโดยรอบวัตถุนั้นได้ - ผู้ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย เพราะสนามแม่เหล็กจะรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเครื่องเหล่านั้นได้ ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย TMS มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในบริเวณหนังศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย อาจจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ข้อแนะนำก่อนรักษาด้วย TMS 1.แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว 2.ห้ามอดนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วย TMS ในวันรุ่งขึ้น 3.หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนทำ TMS 4.กรณีมียาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยานอนหลับ ยาทางจิตเวช ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง 5.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง เนื่องจากเทคโนโลยี tms รักษา อัมพฤกษ์ หรือ tms กระตุ้นสมอง มีใช้รักษาในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนมีใช้อยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เราเตรียมพร้อมในการดูแลผผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ให้กลับบมาปกติเหมือนเดิมมากที่สุด เพราะทุกชีวิตมีค่าสำหรับเรา การดูแลใส่ใจผู้ป่วยอย่างดีที่สุดคือหน้าที่ของเรา หากมีปัญหาหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลาทำการค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/TMS-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
  20. เมื่ออายุมากขึ้นคุณจะมีปัญหาเรื่องกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาทหรือแม้แต่ข้อต่อต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ทำให้การเลือกรักษาโรคกระดูกและข้อ กับหมอกระดูกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญ เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จ ทางโรงพยาบาลนครธน เรามีความพร้อมอย่างเต็มที่ ที่จะมอบประสบการณ์การรักษา ให้เป็นมากกว่าแค่การดูแลการเจ็บป่วยเพียงร่างกายให้กับคุณ ด้วยบริการเฉพาะทางศูนย์กระดูกและข้อ โดยทีมแพทย์หมอกระดูกและบุคลากรที่มีประสบการณ์ยาวนาน และเป็นที่ยอมรับในการรักษาระดับสากล เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและความเชี่ยวชาญในทุกด้าน ทั้งการตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การบริการทางการแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธร มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่ - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง - การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด - การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า , ข้อไหล่) - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง - รักษาเนื้องอกกระดูก - รักษาภาวะกระดูกพรุน - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์ - เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography : CT) - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI) - การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น เนื่องจากทุกชีวิตมีความหมายกับเราเป็นอย่างมาก การดูแลรักษาโรคกระดูกและข้อ รวมไปถึงการผ่าตัดจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่สุด เพราะอาจส่งผลยิ่งใหญ่ต่อร่างกาย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน เล็งเห็นความละเอียดอ่อนและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก การดูแลรักษาทุกขั้นตอนจึงเป็นไปอย่างรอบคอบและปลอดภัย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำการรักษา เรายินดีให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 23.00 น. ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ชั้น 1 ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ
  21. เมื่อพูดถึงเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศในสังคมเมืองหลายคนคงคุ้นชินกันดี เพราะตกเป็นเหยื่อโรคเหล่านี้ไม่น้อย เนื่องจากการใช้ชีวิตที่เสี่ยงก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับเยอะขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ แม้กระทั่งการเป็นไวรัสตับอักเสบที่พบเยอะขึ้นเช่นกัน บางชนิดร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต บ้างแค่สร้างความรำคาญ และส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้โรงพยาบาลหลาย ๆ ที่มี ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยตามมาด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน ด้วยสภาพแวดล้อม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้สถานการณ์ของโรคระบบทางเดินอาหารและตับพบได้มากขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ที่กำลังเป็นปัญหาต่อคนในสังคม ตลอดจน ความซับซ้อนในการดูแล และรักษา ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน จึงมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพเพื่อการรักษาที่ได้มาตรฐาน พร้อมให้การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ทั้ง อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ตลอดจนแพทย์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ รังสีแพทย์ และแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านเคมีบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการวินิจฉัย และรักษาโรคระบบเดินทางอาหารและตับ นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องมีการตรวจส่องกล้องวินิจฉัยทางเดินอาหาร เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติได้อย่างชัดเจน และทำการรักษาอย่างทันท่วงที ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ มีห้องทำหัตถการส่องกล้อง ห้องเตรียมลำไส้ ห้องพักฟื้น และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งถือเป็นการวินิจฉัย และรักษาที่ครบวงจรภายในที่เดียวกัน (One Stop Service) โดยผู้ป่วยทุกรายจะอยู่ในการดูแลของวิสัญญีแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญโดยผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดี ด้วยความเอาใจใส่ และมุ่งมั่น ในการให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดระยะเวลาการพักฟื้นของผู้ป่วย การบริการทางการแพทย์ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน บริการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาครอบคลุมทุกปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และให้บริการครบวงจรในที่เดียว (One Stop Service) โดยกลุ่มอาการ และโรคที่พบบ่อย เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคมะเร็งลำไส้ และทวารหนัก โรคมะเร็งตับ โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น - ให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาเกี่ยวกับปัญหาระบบทางเดินอาหารและตับ เช่น ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ภาวะติดเชื้อในทางเดินอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบ มีเลือดออกในลำไส้ ถ่ายเป็นเลือด เลือดออกที่ทวารหนัก มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ ตับแข็ง ตับอักเสบ ไขมันพอกตับ เป็นต้น - ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ - ตรวจวัดความยืดหยุ่นของตับ และภาวะไขมันพอกตับ (Fibroscan with CAP) - ตรวจหาเชื้อโรคแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ในกระเพาะอาหาร ด้วยวิธีการตรวจผ่านทางลมหายใจ Urea Breath Test - ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ และบี - โปรแกรมตรวจสุขภาพเฉพาะทางสำหรับผู้ที่มีปัญหาหรือความเสี่ยงด้านระบบทางเดินอาหารและตับ เทคโนโลยีทางการแพทย์ - การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound upper abdomen) ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ม้าม ไต - การตรวจช่องท้องโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Abdomen) - การตรวจช่องท้องโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Abdomen) - การส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy : EGD) - การส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) - การส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย, ริดสีดวงทวารหนัก (Sigmoidoscopy) - การตรวจกายวิภาคศาสตร์ของท่อทางเดินน้ำดี และท่อตับอ่อนด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRCP) และการส่องกล้องตรวจ พร้อมรักษาโรคทางเดินท่อน้ำดี และท่อตับอ่อนด้วย Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) - การตัดเนื้องอกขนาดเล็กในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ลำไส้ใหญ่ โดยผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง (Endoscopic polypectomy) - การรักษาอาการตกเลือด หรือ ป้องกันการตกเลือดจากโรคเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารโดยการรัด หรือ ฉีดยาที่เส้นเลือดขอดโดยผ่านการส่องกล้อง (Endoscopic variceal ligation : EVL, Endoscopic sclerosing therapy : EST) - รักษาภาวะตกเลือดในทางเดินอาหาร โดยหยุดเลือดออกผ่านการส่องกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดใหญ่ (Endoscopic treatment for gastrointestinal bleeding) - ตรวจหาเชื้อโรคแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ในกระเพาะอาหาร ด้วยวิธีการตรวจผ่านทางลมหายใจ Urea breath test (13C-UBT ) - แคปซูลตรวจบันทึกภาพ และวินิจฉัยโรคลำไส้เล็ก (Video capsule endoscopy : VCE) - ตรวจคัดกรองเนื้องอก และมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจอุจจาระ (Fecal imminochemical test : FIT) - การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจจับปริมาณไขมันสะสมในตับ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (FibroScan with CAP) เพื่อประเมินสภาพความแข็งของเนื้อตับทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อ ช่วยพยากรณ์โรคแทรกซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล - การดูด (FNA : Fine needle aspiration) และการเจาะตับ (Liver Biopsy) เพื่อนำเนื้อเยื่อ และเซลล์ตับมาวิเคราะห์ในกรณีที่มีก้อนในตับสงสัยเป็นมะเร็งตับ หรือมีการอักเสบของตับ - การตรวจรักษามะเร็งตับ ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง (TACE : Trans Arterial Chemo Embolization) เป็นการรักษามะเร็งตับอีกวิธีหนึ่งทำโดยรังสีแพทย์ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยการรักษาด้วยวิธีการให้เคมีบำบัดเฉพาะทางที่ผ่านทางหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งตับโดยตรง แล้วอุดกั้นหลอดเลือดนั้นเพื่อไม่ให้เลือดไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ในบางกรณี เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง และไม่กระจายไปที่อื่น อาจจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ อย่างไรก็ตามเราควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพตัวเองและตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพราะบางครั้งโรคเหล่านี้อาจแฝงเข้ามาทำร้ายเราได้เสมอ อย่าชะล่าใจคิดว่าปวดท้องนิดหน่อยไม่เป็นไร เพราะอาการปวดท้องเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่จะตามมาได้ ทางศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน เรายินดีให้บริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากต้องการนัดหมายและติดต่อสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่ 0-2450-9999 ต่อ 1390-1392 ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/center/detail/ศุนย์ทางเดินอาหารและตับ
×
×
  • สร้างใหม่...