ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีค่ะ คุณเน็กซ์หายไปนานเลยยยยยยย คิดถึงค่ะ :wub: เมื่อไหร่จะมีบทความดีดี มันส์มันส์มาอ่านบ้างคะ B)

 

 

ช่วงนี้ ติดเที่ยวเล่นเยอะไปหน่อย :lol:

ขออภัยที่ทำให้รอนะครับ

เดี๋ยวมีข้อมูลอะไรใหม่ๆน่าสนใจ

จะเขียนบทความแน่นอนครับ... :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Vietnam's inflation hits 16 percent in first half

By: The Associated Press | The Associated Press | 06/24/11 12:23 AM

Vietnam's inflation rate has surged to 16 percent in the first half of this year against the same period last year, driven by price increases in food, housing, education and transport.

 

The government's General Statistics Office says food prices have increased 20.6 percent, housing prices are up 18 percent while transport and education costs soared nearly 12 percent and 24 percent respectively.

 

Inflation in June alone hit 20.8 percent from a year ago, it said in a report Friday. Inflation for all of last year was 11.5 percent.

 

The GSO often releases economic data before the end of the month, based on estimates.

 

The government has introduced a series of measures including raising interest rates and cutting public spending to try to tame one of Asia's highest inflation rates.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อันนี้ดูเหมือนจะเป็นข่าวดีทางฝั่งยุโรปหรือไม่ผมก็ไม่แน่ใจ

 

 

xBT> GREECE:ปธน.ฝรั่งเศสยันบรรลุดีลแบงก์ต่ออายุหนี้กรีซออกไปเป็น 30 ปี

เอเธนส์/ปารีส--28 มิ.ย.--รอยเตอร์

 

ทางการฝรั่งเศสเสนอแนวทางในการแก้ไขวิกฤติหนี้กรีซ โดยเสนอให้ธนาคาร

พาณิชย์ฝรั่งเศสต่ออายุหนี้กรีซบางส่วนออกไปอีก 30 ปี ในขณะที่รัฐบาลกรีซพยายามหาเสียง

สนับสนุนทางการเมืองเพื่อผลักดันมาตรการรัดเข็มขัดระยะ 5 ปีให้ผ่านความเห็นชอบของ

สภาในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสกล่าวในการแถลงข่าวว่า

ธนาคารพาณิชย์ของฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงกับทางการฝรั่งเศสแล้วในเรื่องการสมัครใจ

แปลงพันธบัตรกรีซเป็นพันธบัตรชุดใหม่เมื่อพันธบัตรเดิมครบกำหนดไถ่ถอน (rollover)

ต่อข้อซักถามที่ว่า มีการบรรลุข้อตกลงในการแปลงตราสารหนี้กรีซเป็นพันธบัตร

ใหม่อายุ 30 ปีแล้วหรือไม่ ปธน.ซาร์โคซีตอบว่า "ใช่" และเขาหวังว่า ประเทศอื่นๆ

ในยุโรปจะทำแบบเดียวกัน

ปธน.ซาร์โคซีกล่าวว่า "เราได้ข้อสรุปว่า การยืดอายุสินเชื่อออกไปอีก 30 ปี

โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดียวกับสินเชื่อยุโรป และบวกด้วยค่าพรีเมียมที่อิงกับ

อัตราการเติบโตในอนาคตของกรีซ จะเป็นระบบที่ทุกประเทศมองว่ามีความน่าดึงดูด"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ภายใต้ร่างข้อตกลงดังกล่าวนั้น ธนาคารฝรั่งเศสจะนำเงิน

70 % ที่ได้รับจากพันธบัตรกรีซที่ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2011-2014 มาลงทุนใหม่อีกครั้ง

(reinvestment)

ในส่วนของเงินที่นำมาลงทุนใหม่นี้ เงิน 50 % จะเป็นการลงทุนในพันธบัตรใหม่

อายุ 30 ปี และ 20 % จะเป็นการลงทุนในพันธบัตรที่ไม่ระบุดอกเบี้ยที่มีอันดับความน่า

เชื่อถือขั้น AAA ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน

พันธบัตรใหม่นี้จะเก็บไว้ในนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) แห่งหนึ่ง ซึ่งจะถือเป็น

การปลดพันธบัตรกรีซออกจากงบดุลของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมในโครงการ โดยธนาคาร

พาณิชย์จะเป็นผู้ถือหุ้นใน SPV แห่งนี้แทน

แหล่งข่าวกล่าวว่า พันธบัตรชุดใหม่นี้อาจได้รับการค้ำประกันจากกองทุนรักษา

เสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) หรือจากธนาคารเพื่อการลงทุนในยุโรป

นักลงทุนกังวลมากยิ่งขึ้นว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 3.40 แสนล้านยูโร

หลังจากมูดี้ส์ประกาศว่า ธนาคารกรีซได้สูญเสียเงินฝากจากภาคเอกชนราว 8 %

นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ในขณะที่ลูกค้าใช้เงินออมของตนเองเนื่องจากต้องตกงาน, โยกย้าย

เงินทุนไปต่างประเทศ หรือเข้าซื้อทองคำ

แหล่งข่าวในรัฐบาลฝรั่งเศสกล่าวว่า ข้อเสนอนี้ "เป็นเหมือนกับพันธบัตรเบรดี้

เอกชนที่ไม่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล" โดยเขาเล็งถึงเหตุการณ์ในปี 1989 ที่มี

การสว็อปตราสารหนี้ละตินอเมริกากับหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ซึ่งได้รับการค้ำประกัน

บางส่วน โดยนายนิโคลัส เบรดี้ ผู้ดำรงตำแหน่งรมว.คลังสหรัฐในยุคนั้นเป็นผู้เสนอให้มี

การทำสว็อปตราสารหนี้

เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังอิตาลีกล่าวว่า มีการเสนอแผนดังกล่าวต่อที่ประชุม

เจ้าหน้าที่ธนาคาร, เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

(IIF) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโรมเมื่อวานนี้ แต่ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆในเรื่องนี้

ธนาคารพาณิชย์ของเยอรมนีแสดงความสนใจในข้อเสนอของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี

นายโยเซฟ แอคเคอร์มานน์ ซีอีโอของดอยช์ แบงก์กล่าวว่า ข้อเสนอนี้เป็นเพียงหนึ่งใน

ทางเลือก 2-3 ทางที่กำลังได้รับการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะมี

การค้นพบข้อเสนอที่น่าพึงพอใจหรือไม่

นายแอคเคอร์มานน์กล่าวว่า "ผู้นำทางการเมืองคาดว่าจะมีการค้นพบทางออก

ก่อนสิ้นสุดสัปดาห์นี้ แต่เราไม่ควรรีบร้อนในเรื่องนี้

สิ่งที่สำคัญก็คือการมีทางออกที่ดี

เพราะปัญหานี้มีความซับซ้อนและจำเป็นต้องได้รับการหารือกัน"

นายแอคเคอร์มานน์กล่าวเสริมว่า "ถ้าหากปัญหานี้เกี่ยวข้องกับกรีซเพียง

ประเทศเดียว ปัญหานี้ก็ถือว่ามีขนาดใหญ่มากอยู่แล้ว แต่ถ้าหากปัญหานี้ลุกลามเข้าสู่

ประเทศอื่นๆด้วย ปัญหานี้ก็อาจมีขนาดใหญ่กว่าวิกฤติเลห์แมน" โดยเขากล่าวถึง

การล้มละลายของวาณิชธนกิจเลห์แมน บราเธอร์สของสหรัฐในปี 2008

ขณะนี้รัฐสภากรีซกำลังเปิดการอภิปรายเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดระยะ

5 ปี โดยรัฐสภามีแนวโน้มจะลงมติในวันพุธนี้เกี่ยวกับกรอบการทำงานของมาตรการ

ดังกล่าว และจะลงมติในวันพฤหัสบดีนี้เกี่ยวกับร่างกฎหมายในการนำมาตรการรัด

เข็มขัดมาบังคับใช้

การผ่านมาตรการรัดเข็มขัดจะเปิดโอกาสให้กรีซได้รับเงินกู้งวดที่ 5

จากมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุน

การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในช่วงกลางเดือนก.ค.

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่อียูกำลังวางแผนฉุกเฉินสำหรับกรีซ

เพื่อใช้ในกรณีที่รัฐสภากรีซปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด โดยแผนสำรองนี้ครอบคลุม

วิธีการต่างๆในการรับประกันว่า กรีซจะได้รับสภาพคล่องที่จำเป็นต้องใช้--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

ถูกแก้ไข โดย cocohill

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

xBT> GREECE:อียูเตรียมแผนสำรองฉุกเฉินอุ้มกรีซหากสภาคว่ำมาตรการรัดเข็มขัด

เอเธนส์--28 มิ.ย.--รอยเตอร์

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังวางแผนฉุกเฉิน

สำหรับกรีซ เพื่อใช้ในกรณีที่รัฐสภากรีซปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด โดยแผนสำรองนี้

ครอบคลุมถึงวิธีการต่างๆในการรับประกันว่ากรีซจะได้รับสภาพคล่องที่จำเป็น

รัฐมนตรีกรีซรายหนึ่งกล่าวเตือนว่า อาจเกิดหายนะขึ้น ถ้าหากรัฐสภากรีซ

ขัดขวางมาตรการปรับขึ้นภาษีและปรับลดงบรายจ่ายวงเงิน 2.8 หมื่นล้านยูโร (4 หมื่น

ล้านดอลลาร์) หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า สมาชิกรัฐสภาบางส่วนที่อยู่ในพรรครัฐบาล

อาจโหวตคัดค้านมาตรการนี้

ขณะเดียวกัน ฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านของกรีซปฏิเสธเสียงเรียกร้อง

ของอียูที่ให้ชาวกรีซทั้งประเทศมีความเป็นเอกภาพ ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปัน

เดรอูของกรีซต้องพึ่งพาพรรค PASOK ของเขาในการผลักดันมาตรการรัดเข็มขัดให้

ผ่านความเห็นชอบของสภา แต่พรรคของเขาครองเสียงข้างมากในรัฐสภาในระดับ

ที่ไม่มากนัก

ถ้าหากรัฐสภากรีซไม่อนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด อียูและกองทุนการเงิน

ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็จะไม่ปล่อยเงินกู้งวดที่ 5 ให้แก่กรีซ ซึ่งเป็น

เงินกู้ภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.10 แสนล้านยูโร

รัฐบาลกรีซต้องการเงินกู้งวดดังกล่าว ซึ่งมีวงเงิน 1.2 หมื่นล้านยูโร

เพื่อนำมาใช้ในการชำระหนี้ในเดือนหน้า ไม่เช่นนั้นกรีซจะกลายเป็นประเทศแรก

ในยูโรโซนที่ผิดนัดชำระหนี้ และเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อระบบ

การเงินทั่วโลก

นายปานอส เบกลิทิส รมว.กลาโหมของกรีซกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าแผนรัด

เข็มขัดจะผ่านความเห็นชอบ เพราะถึงแม้ว่ามีความกังวลและความไม่พอใจในช่วงนี้

แต่สมาชิกรัฐสภาในพรรค PASOK ก็มีจุดยืนร่วมกันในการดำเนินความรับผิดชอบร่วมกัน"

นายเบกลิทิสกล่าวว่า "การโหวตคัดค้านแผนนี้จะส่งผลให้กรีซเผชิญกับความ

ยุ่งยากอย่างมากในวันถัดไป ซึ่งรวมถึงการล้มละลายและการผิดนัดชำระหนี้" และเขา

กล่าวเตือนว่าความล้มเหลวในการผ่านมาตรการนี้ในสภาจะส่งผลให้มีการเลือกตั้งใหม่

ซึ่งจะกลายเป็นหายนะสำหรับกรีซ

เป็นที่คาดกันว่ารัฐสภากรีซจะลงมติเกี่ยวกับกรอบการทำงานของมาตรการ

รัดเข็มขัดในวันพุธนี้ และจะลงมติต่อร่างกฎหมายที่บรรจุขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงในการ

ดำเนินการในวันพฤหัสบดีนี้

การแปรพักตร์ของสมาชิกพรรครัฐบาลในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้

เสียงสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีปาปันเดรอูในรัฐสภาลดลงเหลือเพียง 155 เสียง

จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 300 ที่นั่งในรัฐสภา อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อย่างน้อย 3 คนในพรรครัฐบาลที่แสดงความไม่มั่นใจหรือไม่เห็นด้วยกับแผนรัดเข็มขัด

และระบุว่าอาจลงมติคัดค้านมาตรการนี้

นายธีโอดอร์ ปันกาลอส รองนายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวว่า เขาเชื่อว่า

มาตรการแรกจะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในวันพุธ แต่การผ่านร่างกฎหมาย

อีกฉบับในวันพฤหัสบดีอาจประสบปัญหา

"นั่นคือจุดที่เราอาจประสบปัญหา ผมไม่รู้ว่าสมาชิกรัฐสภาบางคนของเรา

จะโหวตคัดค้านมาตรการนี้หรือไม่" นายปันกาลอสกล่าว

อย่างไรก็ดี สมาชิกรัฐสภา 2 คนที่เคยแสดงท่าทีว่าจะโหวตคัดค้าน

มาตรการนี้ได้ส่งสัญญาณว่า พวกเขาอาจโหวตสนับสนุนมาตรการนี้ ถ้าหากพวกเขา

ได้รับการรับประกันจากรัฐบาลในสิ่งที่พวกเขาต้องการ

นายปานาจิโอติส คูรูบลิส สมาชิกรัฐสภากรีซกล่าวว่า "ผมได้ยื่นข้อเสนอ

16 ข้อต่อนายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซ และผมคาดว่าจะได้รับ

คำตอบที่เฉพาะเจาะจง และจุดยืนของผมจะตั้งอยู่บนคำตอบนี้"

ทั้งนี้ ผู้นำยุโรปกำลังจัดเตรียมมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

ชุดที่สองสำหรับกรีซ โดยอาจให้ธนาคารเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยผ่าน

ทางการทำ rollover หรือการแปลงพันธบัตรกรีซชุดใหม่เพื่อแทนที่พันธบัตรเดิม

ที่ครบกำหนดไถ่ถอน

แหล่งข่าวกล่าวในวันอาทิตย์ว่า กระทรวงการคลังฝรั่งเศสได้บรรลุ

ข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์ฝรั่งเศสในการทำ rollover ในแบบที่เป็นที่ยอมรับ

ได้มากยิ่งขึ้น

หนังสือพิมพ์ Le Figaro ระบุว่า ข้อตกลงนี้ระบุให้เจ้าหนี้นำเงิน

70 % ที่ได้รับจากพันธบัตรกรีซที่ครบกำหนดไถ่ถอนมาลงทุนใหม่อีกครั้ง โดย

จะได้รับพันธบัตรที่มีอายุยาวนานขึ้นและหุ้นในกองทุนที่ไม่ระบุดอกเบี้ย

นายแอกเซล เวเบอร์ อดีตประธานธนาคารกลางเยอรมนี กล่าวว่า

ยุโรปจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการค้ำประกันหนี้คงค้างทั้งหมดของกรีซ

นายเวเบอร์กล่าวในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลว่า "การคลี่คลาย

ปัญหาหนี้กรีซจำเป็นต้องรับมือกับหนี้คงค้างในอดีต และด้วยเหตุนี้เราจึงมีทางเลือก

เหลืออยู่เพียงไม่กี่ทาง ซึ่งได้แก่การผิดนัดชำระหนี้ หรือการขอลดหนี้บางส่วน หรือ

การค้ำประกันหนี้คงค้างของกรีซ"

"รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการใช้ทางเลือกใด แต่วิธีการ

ในปัจจุบันที่ให้ความช่วยเหลือทีละครั้งไปเรื่อยๆเช่นนี้จะนำไปสู่ทางเลือกสุดท้าย

เพราะในที่สุดคุณต้องตัดยอดขาดทุนและเริ่มต้นระบบใหม่"

มีผู้มาชุมนุมประท้วงหลายร้อยคนที่จัตุรัสซินแทกมานอกรัฐสภากรีซ

ในช่วงคืนวันอาทิตย์ ซึ่งผลการสำรวจระบุว่า ชาวกรีซราว 3 ใน 4 คัดค้าน

มาตรการรัดเข็มขัด ขณะที่กรีซมีประชากรทั้งหมด 11 ล้านคน

สหภาพแรงงานที่ทรงอิทธิพลในกรีซประกาศผละงานทั่วประเทศ

เป็นเวลาสองวันนับตั้งแต่วันนี้เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาล โดยบริษัทหลายแห่ง

ซึ่งรวมถึง PPC ที่เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่ได้เริ่มต้นผละงานประท้วง

นายเวนิเซลอสได้บรรลุข้อตกลงกับคณะผู้ตรวจการณ์ของอียู/ไอเอ็มเอฟ

ในสัปดาห์ที่แล้วในเรื่องการชดเชยการขาดดุลวงเงิน 3.8 พันล้านยูโรในมาตรการ

รัดเข็มขัด โดยมาตรการดังกล่าวครอบคลุมการปรับเพิ่มภาษีเชื้อเพลิงทำความร้อน

และการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ลงสู่ 8,000 ยูโรต่อปี

จาก 12,000 ยูโรต่อปี อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับ

สมาชิกบางคนในพรรครัฐบาล--จบ--

 

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หนึ่งในหกของธนาคารคาดว่าไม่ผ่าน Stress Tests

 

One In Six Banks Expected To Fail EU-Wide Stress Tests

 

 

http://www.zerohedge...de-stress-tests

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิตาลีนับถอยหลังวิกฤตหนี้จ่อคอหอย

28 มิถุนายน 2554 เวลา 08:08 น. | เปิดอ่าน 448 | ความคิดเห็น 1

และแล้วสิ่งที่ทุกฝ่ายกังวลก็เกิดขึ้นจนได้เมื่อ Moody’s บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินชั้นนำของโลก

 

 

ประกาศพิจารณาความน่าเชื่อถือของธนาคารสัญชาติอิตาลีถึง 13 แห่ง ขู่ว่าอาจถึงขั้นลดระดับเครดิตลงมาอยู่ในระดับติดลบ หรือ Negative อีกทั้งยังขู่ที่จะเปิดกระบวนการพิจารณาเครดิตระยะยาวของธนาคารสัญชาติอิตาลีอีก 16 แห่ง เนื่องจากเสถียรภาพทางการเงินเริ่มสั่นคลอน

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ตอกย้ำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ว่า โอกาสที่วิกฤตหนี้สาธารณะจะลุกลามไปทั่วภูมิภาคยังมีอยู่สูงมาก แม้ว่ากรีซจะได้ผ่านความเห็นชอบของสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จนสามารถเดินหน้าแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในระดับต่อไปได้แล้วก็ตาม

 

นับตั้งแต่ต้นปีแล้วที่อิตาลีอยู่ในรายชื่อประเทศที่สุ่มเสี่ยงจะจมดิ่งในวิกฤตหนี้สาธารณะ ถึงกับได้รับสมญานามเป็นหนึ่งในประเทศ PIGS หรือประเทศที่มีหนี้กองสุมพร้อมทั้งปัญหาเศรษฐกิจจนยากจะเยียวยา อันประกอบไปด้วย โปรตุเกส (P) อิตาลี (I) กรีซ (G) และสเปน (S)

 

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาอิตาลีเจ้าของอักษร I ถูกแทนที่ด้วยไอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรนำหน้าด้วยตัว I เหมือนกัน ขณะที่สเปน ยังไม่เลวร้ายถึงขั้นขอความช่วยเหลือจาก EU และ IMF แต่อาการร่อแร่เต็มที

 

 

 

นอกจากนี้ คำเรียกขานกลุ่มประเทศ PIGS ยังกลายเป็นคำต้องห้ามในหลายกรณี เพราะพ้องกับคำแปลถึงสัตว์ 4 เท้า ซึ่งมีนัยเหยียดหยามเจ้าของประเทศ กระแสการเฝ้าจับตาระวังกลุ่มประเทศที่เหลือจึงค่อยๆ เบาบางลง โดยเฉพาะการจับตาสถานการณ์ทางการเงินในอิตาลี

 

แม้จะรอดมาได้ แต่ที่ผ่านมาวงการเศรษฐกิจยังคาดหมายว่าอิตาลีอาจประสบปัญหาเกี่ยวกับหนี้สาธารณะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากมีระดับหนี้ที่สูงถึง 119% ของสัดส่วน และครองเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ในยุโรปเป็นรองก็แต่เพียงกรีซในลำดับที่ 5 ของโลก และไอซ์แลนด์ในอันดับที่ 6 ซึ่งแม้ไอซ์แลนด์จะอยู่นอกกลุ่ม EU และไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน แต่ประเทศนี้อยู่ในภาวะใกล้ล้มละลายมาตั้งแต่ปี 2550 เพราะความเกี่ยวพันอย่างเหนียวแน่นกับวิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐ

 

นักวิเคราะห์บางรายถึงกับเคยกล่าวอย่างเชื่อมั่นไว้เมื่อช่วงต้นปีว่า หากสเปนต้องขอรับความช่วยเหลือจากวิกฤตการเงินเป็นรายที่ 4 ต่อจากโปรตุเกสแล้ว ในเวลาอีกไม่นานอิตาลีจะกลายเป็นรายต่อไป

 

วันนี้สเปนยังไม่ขอรับความช่วยเหลือ แต่ก็เฉียดเต็มที พิจารณาจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าอย่างหนัก โดยเฉพาะอัตราว่างงานที่สูงกว่า 20% หรือสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเหนือกว่าทุกประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม

 

หากสเปนไม่สามารถฟื้นความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ ต่อให้สเปนสามารถอัดฉีดทุนช่วยกู้สถานะของธนาคารที่ประสบปัญหาสภาพคล่องได้ ในที่สุดก็คงไม่อาจฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งแน่นอน

 

กรณีของอิตาลีก็เช่นเดียวกัน เสียแต่ว่าอิตาลียังไม่มีความพยายามใดๆ จากภาครัฐที่จะสกัดกั้นมิให้ธนาคารประสบกับปัญหาร้ายแรง หรืออย่างน้อยก็ตอบโต้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ที่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินยุโรปครั้งแล้วครั้งเล่า

 

เป็นไปได้ว่า ภาครัฐยังไม่เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารในประเทศเป็นปัญหา เพราะธนาคารที่อยู่ในบัญชีพิจารณาของ Moody’s ล้วนแต่เป็นธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง

 

ต่างจากวิกฤตที่รุมเร้าไอร์แลนด์ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ผลมาจากหนี้สาธารณะแต่มาจากความสั่นคลอนที่เกิดขึ้นกับธนาคาร ซึ่งล้วนแต่เป็นธนาคารระดับ Top 5 โดยรายหนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ

 

นอกจากนี้ อิตาลียังเชื่อมั่นว่าระบบธนาคารของตนมีความแข็งแกร่ง ซึ่งมีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย เนื่องจากอิตาลีขึ้นชื่อลือชาในเรื่องธุรกิจการเงินและนายแบงก์ที่มีชื่อเสียงมาตั้งสมัยศตวรรษที่ 15 จากประสบการณ์นับร้อยปี ทำให้สถาบันการเงินของอิตาลีเรียนรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จและล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน

 

ที่สำคัญก็คือ ธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้ธนาคารสัญชาติอิตาลี คือธรรมเนียมการปล่อยเงินกู้ที่เคร่งครัด ทั้งยังมีทุนสำรองสูงมากเมื่อเทียบกับธนาคารของประเทศอื่นๆ ในยุโรป

 

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ระบบการเงินการธนาคารจึงสามารถต้านทานกับวิกฤตการเงินโลกได้มากกว่าธนาคารในยุโรป

 

ด้วยเหตุนี้ระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารอิตาลีจึงไล่เลี่ยอยู่ที่ AA หรือระดับ A ซึ่งถือว่าดีไม่น้อย และเหมาะกับการลงทุนอย่างยิ่ง

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความแข็งแกร่งเพียงใด เมื่อกระทบเข้ากับความกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้สาธารณะ บวกกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ธุรกิจธนาคารของอิตาลีถูกจับตามองอย่างหวาดระแวงมากขึ้น ว่าอาจมีจุดจบเหมือนกับธนาคารสัญชาติไอร์แลนด์ ที่ถึงกับทำให้ทั้งประเทศหมิ่นเหม่กับการล้มละลาย

 

สถานการณ์ของอิตาลีอาจคล้ายคลึงกับไอร์แลนด์ แต่หากเจาะให้ลึกยิ่งขึ้น จะพบว่ากรณีนี้เหมือนกับสเปนไม่มีผิดเพี้ยน

 

ธนาคารของสเปนที่มีปัญหาสภาพคล่องส่วนใหญ่เป็นธนาคารในระดับกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังมีปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางสเปนคาดว่า ในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวเพียง 0.8% เช่นเดียวกับอิตาลี ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.1% นับได้ว่าแทบปราศจากแรงหนุนโดยสิ้นเชิง

 

ต้องจับตากันว่า หากสเปนมีอันเป็นไปอีกราย อิตาลีมีโอกาสสูงที่จะเดินตามรอยไปสู่หายนะทางการเงิน ด้วยเหตุและปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน

 

อีกทั้งยังมีระดับหนี้สาธารณะที่สูงกว่าสเปนถึงกว่าเท่าตัว

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วงนี้ ติดเที่ยวเล่นเยอะไปหน่อย :lol:

ขออภัยที่ทำให้รอนะครับ

เดี๋ยวมีข้อมูลอะไรใหม่ๆน่าสนใจ

จะเขียนบทความแน่นอนครับ... :rolleyes:

 

 

ไม่ต้องขออภัยค่ะคุณ Next :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝากค่ะ จากเวปคุณลุงโฉลก บทความวันที่ 27 มิถุนายน 2554

 

ค่าเงิน Dollar ในระยะยาว ส่ออาการ Double Dip ของ Wave [C] ความพินาศน์กำลังจะเกิดขึ้น

 

 

ส่วนราคาทองคำนั้น เมื่ออเมริกาขายสมบัติหมดแล้ว ทองจะขึ้นต่อไปอีกมาก เป้าหมายแรกอยู่ที่ $1600 เร็วๆนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝากค่ะ จากเวปคุณลุงโฉลก บทความวันที่ 27 มิถุนายน 2554

 

ค่าเงิน Dollar ในระยะยาว ส่ออาการ Double Dip ของ Wave [C] ความพินาศน์กำลังจะเกิดขึ้น

 

 

ส่วนราคาทองคำนั้น เมื่ออเมริกาขายสมบัติหมดแล้ว ทองจะขึ้นต่อไปอีกมาก เป้าหมายแรกอยู่ที่ $1600 เร็วๆนี้

 

เมกายังมีสมบัติให้ขายหรอครับ ><'

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รูปยอดฮิต

 

 

ถูกแก้ไข โดย หมีน้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพสผิด ขออภัย

ถูกแก้ไข โดย หมีน้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับคุณ next รออ่านบทความใหม่เหมือนกัน

มีอะไรน่าสนใจอย่าลืมมาเขียนเล่าให้เพื่อนๆในห้องนี้ฟังครับ

 

 

 

 

เห็นเงินบาทแข็งเอาๆ ท่าจะรอไม่ได้แล้ว

วันนี้ไปซื้อทองมาเรียบร้อย

หวังว่าคงจะเลือกเวลาเข้าถูก ไม่ดอยเหมือน silver laugh.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝาก จาก facebook คุณ Jimmy Siri ค่ะ

 

Gold 27.6.11 เทศกาลลดกระหน่ำ Summer Sell off ก็ได้เริ่มต้นเป็นทางการซะทีครับ ในกรณีที่กลุ่มแบงค์เกอร์ขาใหญ่เค้าจัดแค่ "ชุดเล็ก" กรอบของราคาทองคำในอีกเกือบ 2 เดือนข้างหน้า ก็คงจะออกมาราคานี้คือ กรอบล่าง $1465 และกรอบบน $1555

 

อย่างที่บอกกรอบราคานี้ในกรณีที่เป็น "ชุดเล็ก" เท่านั้นนะครับ ถ้าหลุด $1465 ลงไปได้อีกก็จะกลายเป็น "ชุดกลาง" กรอบล่างคงจะลงไปที่ $141x ส่วนถ้า "ชุดใหญ่" เลย ก็คงจะได้เป็นกราฟ T1 ที่โพสต์ให้ไปเมื่อสัปดาห์ก่อนๆ กรอบล่างก็คงอยู่ประมาณ $132x

 

ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การประกาศ QE3 ในที่สุด ไม่ว่าจะออกมารูปแบบ หรือชื่อใดก็ตาม แต่ตลาดก็คงรับรู้อยู่แล้วนั่นแหละคือการ "ปั๊มเงินกระดาษ" ออกมาจากอากาศนั่นเองครับ!!

 

http://www.facebook.com/#!/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1

ถูกแก้ไข โดย ตังเม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...