ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

บทสัมภาษณ์ลุงจิมล่าสุด คราวนี้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก จัดเต็ม

ไม่เหมือนสัมภาษณ์สั้นๆทั่วไป ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสนำมาแปล/สรุปให้

ถ้าท่านใดได้อ่านแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ ฝากด้วยนะครับ

 

http://www.futuresma...omething-to-say

 

ลองดูเนื้อหาคร่าวมีพูดถึงCDS เอาCDSมาฝากก่อนครับครับ อ่านแล้วจับใจความได้นิดหน่อยคงต้องรอคนเก่งภาษามาช่วยนะครับ

 

CDS : อนุพันธ์พลังทำลายล้างรุนแรง

คอลัมน์ หอคอยงาช้าง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรมคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4041

ครึ่งหลังของเดือนกันยายนเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเหตุการณ์ "Black Monday" ที่ดัชนีดาวโจนส์ตกลงในวันเดียวถึง 504.5 จุด หรือราวร้อยละ 4.4 ในการซื้อขายของวันจันทร์ที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา การที่ราคาหุ้นในตลาดนิวยอร์กไหลลื่นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นผลมาจากที่วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่อย่างเลห์แมน บราเธอร์ส ต้องประสบภาวะล้มละลายและประกาศเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐ

นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสหรัฐต่างมองไปที่บริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (หรือ AIG) ว่ายักษ์ใหญ่ในวงการประกันจะเป็นสถาบันการเงินรายต่อไปที่จะต้องประสบชะตากรรมล้มละลายต่อจากเลห์แมนฯ

การคาดการณ์ดังกล่าวหาใช่เป็นควันที่ไร้ซึ่งเชื้อไฟไม่ เพราะมีรายงานข่าวในช่วงเวลาเดียวกันนั้นว่า AIG กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นต้องขอเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารกลางสหรัฐ

เพียงสามวันให้หลัง (วันพุธที่ 18 กันยายน) ปัญหาของ AIG กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนรัฐบาลสหรัฐต้องเข้ามา "อุ้ม" มิให้ AIG ต้องล้มครืนลงตามเลห์แมนฯ (และเฟรดดี้ แมค แฟนนี่ เม แบร์ สเติร์น ฯลฯ) ที่ได้ล้มไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐได้หยิบยื่นเงินกู้มูลค่า 85 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการเข้าครอบครองกิจการของ AIG

บทบาทของรัฐบาลสหรัฐสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยให้ AIG ล้มลงโดยไม่เข้าแทรกแซง จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง ไม่เพียงแค่ลูกค้าผู้ซื้อประกันจาก AIG เท่านั้นที่จะต้องแบกรับความเสียหาย แต่บรรดาธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐและยุโรปต่างล้วนตกอยู่ในฐานะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายในทันที หาก AIG ต้องล้มครืนลง

มาถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า เหตุไฉนหายนะของ AIG ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการขายประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุ จึงสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่สั่นสะเทือนความมั่นคงของสถาบันการเงินและธนาคารกลางในหลายประเทศทั่วโลกได้ถึงขนาดนี้

คำตอบสั้นๆ เพียงแค่สามวลีครับ "CDS"

CDS นี้ย่อมาจาก Credit Default Swap เป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงที่ส่วนวาณิชธนกิจของ AIG สร้างภาระผูกพันไว้เป็นจำนวนมหาศาล

ตราสารอนุพันธ์นี้จะอ้างอิงกับตราสารหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน โดยมีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ผู้ออกสัญญาจะให้การประกัน คุ้มครองผู้ซื้อจากความเสี่ยงที่เกิดเมื่อตราสารหนี้ที่อ้างอิงอยู่นั้นมีการผิดนัดชำระ สมมุติว่าธนาคาร X ได้ซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท Y ธนาคาร X ย่อมเผชิญกับความเสี่ยงที่บริษัท Y จะผิดนัดชำระหนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคาร X สามารถซื้อสัญญา CDS ไว้ โดยคู่สัญญา (หรือผู้ออก CDS) จะให้การคุ้มครองกับธนาคาร X ในกรณีที่บริษัท Y ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ดีหากบริษัท Y ยังคงจ่ายผลตอบแทนให้กับธนาคาร X ได้ตามกำหนดเวลา (ไม่เกิดเหตุการณ์เบี้ยวชำระหนี้ขึ้น) ธนาคาร X มีภาระต้องจ่ายเงิน (ตามแต่ตกลงในสัญญา) ให้กับคู่สัญญา (หรือผู้ออกตราสาร CDS นั่นเอง) ในทุกๆ งวดที่มีการชำระเงิน ประหนึ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคุ้มครองทางการเงิน ยามเกิดการผิดชำระหนี้

ตลาด CDS เติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ประมาณกันว่ามูลค่าของตลาด CDS มีค่าถึง 6.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ผมไม่ได้พิมพ์คำว่า "ล้าน" เกินมาคำหนึ่งนะครับ) ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของบรรดาหุ้น ที่มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐแล้ว เราจะพบว่ามูลค่าของตลาด CDS นั้นมีขนาดมากกว่า มูลค่าของตลาดทุนสหรัฐ ถึงสามเท่าเลยทีเดียว (และอย่าตกใจไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า มูลค่าของการเทรดตราสารอนุพันธ์ทั้งหมด ณ เมื่อธันวาคม ปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 68.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสิบเท่าของจีดีพี ของทุกประเทศทั่วโลกรวมกัน)

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้ว CDS เป็นเครื่องมือเพื่อใช้บริหารความเสี่ยง แต่มันกลับถูกใช้อย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือสำหรับการเก็งกำไร บล็อกเกอร์รายหนึ่งเล่าว่า เฮดจ์ฟันด์สามารถฟันกำไรอย่างงามได้จากการออก CDS โดยสามารถนอนรอรับเงินจำนวน 320,000 เหรียญสหรัฐในแต่ละปี จากการขายประกันความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรเกรด BBB หรือ junk bond ก้อนเงินจำนวนมากที่เข้ามาเหมือนได้เปล่าเช่นนี้ เป็นเพราะผู้ออก junk bond ยังสามารถชำระดอกเบี้ยได้ตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเมื่อใดที่ junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นจะมีภาระต้องชดเชยความเสียหายสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

แม้เรื่องเล่าข้างต้นจะให้ภาพทั้งสองด้านของการเก็งกำไรด้วย CDS แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐ และของโลกขยายตัวในอัตราสูง ใครๆ ก็มองเห็นกันแต่ด้านของเงินกำไรที่ได้มาง่าย โดยละเลยความเสียหายจำนวนมหาศาล ที่จะตามมา หากทุกอย่างเกิดความผิดพลาดขึ้น ลองนึกภาพดูสิครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หาก junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ แล้วตัวเฮดจ์ฟันด์ที่ออก CDS นั้นก็ไม่มีเงินเพียงพอจะจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้ซื้อตราสารอนุพันธ์ CDS ความเสียหายสุดท้ายจะตกอยู่กับใคร

อันที่จริงเรื่องราวที่เล่ามาข้างต้นนี้ก็ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์จริงที่กำลังคุกคามเสถียรภาพของตลาดเงิน และระบบเศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้เท่าใดนัก ผมจะลองฉายภาพคร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหา "ซับไพรม" CDS และความเปราะบางของสถาบันการเงินในโลกปัจจุบันนี้

โดยปกติสถาบันการเงินย่อมต้องการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ เพราะโอกาสที่ลูกค้าจะผิดชำระหนี้นั้นย่อมมีน้อย แต่เมื่อการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น สถาบันการเงินจึงเริ่มขยายตลาดรุกเข้าสู่พรมแดนของลูกค้า ที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น ลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำหรือถูกจัดชั้นว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูงนี้ ถูกเรียกว่ากลุ่มลูกหนี้ "ซับไพรม" (เนื่องด้วยเหตุที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าลูกค้าชั้นดี คือจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าไพรมเรตนั่นเอง)

เพื่อป้องกันตัวเองจากความเสียหายที่อาจเกิดจากลูกค้าซับไพรม สถาบันการเงินจึงใช้วิธีผ่องถ่ายเอาสัญญาเงินกู้ ของกลุ่มลูกค้าซับไพรมมารวมกัน แล้วแปลงสภาพให้เป็นตราสารหนี้ นำออกขายทอดตลาดอีกต่อ ด้วยวิธีการเช่นนี้สถาบันการเงินสามารถนำเอาสินทรัพย์เสี่ยง (คือสัญญาเงินกู้) ออกจากงบดุลของตัวเอง ทำให้ไม่ต้องมีภาระเพิ่มเงินกองทุนในภายหลัง ตราสารหนี้ที่มีกระแสผลตอบแทนมาจากสัญญาเงินกู้นี้เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO

ความน่าลงทุนใน CDO อยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือในระดับสูง แม้ว่าลูกหนี้ซับไพรมจะมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูง แต่ทว่าโอกาสที่ลูกหนี้จำนวนมากรายจะผิดนัดชำระเงินกู้พร้อมๆ กันนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นแม้บางรายผิดนัดชำระในบางงวด แต่ยังมีรายอื่นๆ จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาในจำนวนที่พอเพียง กับอัตราผลตอบแทนบนตราสาร CDO ได้

เพื่อให้ตราสาร CDO นี้มีความน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น สถาบันการเงินหัวใสจึงขาย CDS เพื่อประกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือตราสาร CDO ตามไปด้วย ดังนั้นในยุคที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐบูมสุดๆ สถาบันการเงินแย่งกันปล่อยกู้ให้กับลูกค้าระดับซับไพรม และจัดการแปลงเงินกู้เหล่านั้นให้เป็น CDO จึงฉุดพาให้ตลาด CDS โตตามไปด้วย

ความน่ากลัวชวนสยดสยองมาขมวดปมตรงที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งธนาคารกลางบางแห่ง ต่างละเลยถึงความเสี่ยง และต่างเข้าถือครอง CDO จำนวนมาก และผู้เล่นรายใหญ่อย่างแบร์ สเติร์น และ AIG ต่างก็ออกตราสารอนุพันธ์ CDS มาคุ้มครองความเสี่ยงให้กับ CDO เหล่านั้นในมูลค่าที่มากมายมหาศาลไม่แพ้กัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดต่ำลง ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เริ่มขยายวงกว้าง จนกลายเป็นปัญหาทั้งระบบ ผู้ให้การประกันความเสี่ยงอย่างแบร์ สเติร์น หรือ AIG ย่อมไม่มีเงินเพียงพอจะมาจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS ได้ครบเต็มจำนวนทุกราย โดยเฉพาะในช่วงที่เครดิตตึงตัวเช่นนี้

หากปล่อยให้เรื่องราวจบลงตามยถากรรม แบร์ สเติร์น และ AIG คงจะต้องล้มละลาย เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS และบรรดาผู้ถือสัญญา CDS และมี CDO เน่าๆ ไว้ในครอบครองก็ต้องพลอยล้มละลายตามไปด้วยเป็นแน่แท้ บทสรุปแบบนี้คงไม่ต่างอะไรกับภาพตัวโดมิโนที่ล้มระเนระนาดต่อๆ กันไปเป็นลูกโซ่

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์เป็นอาวุธทางการเงินที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง คำเปรียบเปรยของกูรูด้านการลงทุนรายนี้สะท้อนภาพต้นตอหายนะทางการเงินในช่วงปีนี้ได้เป็นอย่างดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 30 เมษายน 2555 04:00

 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

news_img_449101_1.jpg

 

นิตยสารรายสัปดาห์ The Economist 2 ฉบับที่ผ่านมามีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจโดยเฉพาะที่วิเคราะห์ถึง การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3

ที่ The Economist สรุปว่า กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจกับ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกในทิศทางที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกนั้นเกิดขึ้น 200 ปีที่แล้ว โดยสาระสำคัญ คือ การประดิษฐ์เครื่องจักร (ในขั้นแรกคือเครื่องจักรไอน้ำ) เพื่อทดแทนแรงงานของมนุษย์ ทำให้เกิดการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ในเมือง (mechanization) เพื่อให้คนงานจำนวนมากต้องมาทำงานร่วมกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำลายการผลิตในระดับครัวเรือน (cottage industry) เพิ่มผลผลิตและความสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ภาคเกษตรกรรมตกต่ำลงในเชิงเปรียบเทียบ ตลอดจนเพิ่มความสำคัญของเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์การผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับ การกระจายการผลิตในภูมิภาค

 

การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองเกิดขึ้นประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา จากการปฏิรูปทางการผลิตของ Henry Ford ที่เป็นการแบ่งกันประกอบและเน้นการผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำ (moving assembly line และ mass production) ทำให้สรุปได้ว่าโรงงานยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งได้เปรียบ หรือ economy of scale ทำให้เกิดบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีโรงงานการผลิตขนาดใหญ่ทั่วโลก ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ บริษัทรถยนต์ข้ามชาติ ซึ่งผลิตรถยนต์รุ่นหนึ่งปีละหลายแสนคัน เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่เพียงสิบกว่าบริษัทและยากที่จะเห็น บริษัทรถยนต์ขนาดเล็กสามารถมาแข่งขันได้ (บริษัทเล็กเช่น Volvo และ Saab ถูกควบรวมและ/หรือปิดตัวลง)

 

ใน ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ The Economist กล่าวถึงว่า กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นการผลิตที่นำเอาเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิตและการตลาดครั้งใหญ่ โดยในอนาคต Economist เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก economy of scale เป็น economy of speed และจาก mass production เป็น mass customization แปลว่าการผลิตในอนาคตจะเป็นการผลิตที่ไม่ต้องผลิตจำนวนมาซ้ำซาก แต่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีความแตกต่างกัน ตรงตามความต้องการของลูกค้าทุกคนทุกประการ นอกจากนั้น เนื่องจากปริมาณการผลิตต่อโรงงานไม่สูงมาก ก็แปลว่าสามารถที่จะลดขนาดโรงงานลงและที่สำคัญจะต้องย้ายโรงงานไปตั้งอยู่ กับฐานลูกค้าในแต่ตลาดเพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการที่ปรับเปลี่ยนไป ของผู้บริโภคในแต่ละตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

Economist ยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D printing) ซึ่งสามารถ “พิมพ์” ค้อน 1 ชิ้นออกมาได้ตามความต้องการของลูกค้าทุกประการ และหากมีลูกค้าอีกรายหนึ่งต้องการค้อน 1 ชิ้นที่มีลักษณะแตกต่างจากลูกค้าคนแรกก็จะสามารถสั่งเครื่องพิมพ์ให้ปรับ มิติต่างๆ ของค้อนได้ตามที่ต้องการในทันทีและหากมีลูกค้าคนที่ 3 ต้องการค้อนอีกลักษณะหนึ่งก็จะสามารถสั่ง “พิมพ์” ออกมาได้ทันทีเช่นกัน ตรงนี้แตกต่างจากการผลิตค้อนในปัจจุบันที่จะต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลายชิ้น และนำมาประกอบเป็นค้อนหนึ่งชิ้น ดังนั้น หากจะสั่งให้ทำค้อนดังกล่าวเพียง 1 ชิ้น ก็จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายได้แตกต่างจากการใช้ เครื่องพิมพ์สามมิติดังกล่าวข้างต้น นอกจากนั้นแล้วเครื่องพิมพ์ที่ว่านี้จะใช้แรงงานน้อยมากคือ ใช้คนมาปรับแบบ เปิด-ปิดเครื่อง และเติม “หมึก” (วัตถุดิบ) เท่านั้น ในรายละเอียดนั้นผมขอให้ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถอ่านบทความดังกล่าวเพิ่ม เติมในรายละเอียดได้ แต่ ผมจะขอกล่าวเพิ่มเติมว่าหากเปลี่ยนตัวอย่าง “ค้อน” เป็นชิ้นส่วนเฉพาะอย่างของรถยนต์เช่นที่เปิดประตูรถยนต์หรือชิ้นส่วนช่วง ล่างของรถยนต์ก็จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการนี้ จะทำให้สามารถจะสร้างรถยนต์แบบทำด้วยมือ (handmade ไม่ใช่แบบประกอบในโรงงานขนาดใหญ่) สามารถทำได้โดยต้นทุนต่อหน่วยต่ำ และราคาต่อหน่วยจะลดลงจากปัจจุบันที่ 10-20 ล้านบาทต่อคัน เป็นต้น

 

นอก จากนั้นแล้ว The Economist ยังชี้ให้เห็นว่า วัสดุปัจจุบันนั้นเบากว่า แข็งแรงกว่าและคงทนกว่า วัสดุในอดีตเช่น carbon fiber ซึ่งผลิตได้ง่ายกว่า เบากว่าและแข็งแรงกว่าอะลูมิเนียม ทำให้จักรยานภูเขาปัจจุบันลดการใช้อะลูมิเนียมและหันมาใช้ carbon fiber มากขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่จะทำให้การผลิตทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และใช้คนงานจำนวนน้อยลง อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การจำแนกต้นทุนการผลิตของ Ipad ที่มีราคาขาย 499 ดอลลาร์นั้น (ตาราง) ต้นทุนจากแรงงานนั้นต่ำมากและผลตอบแทนหลัก คือ กำไรหรือรางวัลสำหรับผู้ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ไม่ใช่ผู้ที่ลงแรงผลิต สินค้า

 

ในเมื่อจำนวนแรงงานมี ความสำคัญลดลงก็มีการคาดการณ์กันว่าการผลิตจะย้าย ฐานจากประเทศกำลังพัฒนากลับไปที่ประเทศพัฒนาแล้วมากขึ้นในอนาคต วิวัฒนาการที่ทำให้แรงงานมีผลิตผลเพิ่มขึ้นได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นโรงงานผลิตรถยนต์ของนิสสันที่ Sunderland ประเทศอังกฤษ นั้นในปี 1999 ผลิตรถยนต์ 271,157 คันโดยใช้คน 4,594 คนแต่ในปี 2011 นั้นสามารถผลิตรถยนต์ได้ 480,485 คัน โดยมีคนงานเพียง 5,462 คน บริษัท Boston Consulting Group ประเมินว่า 10-30% ของสินค้าประเภทการขนส่ง (รถยนต์) คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรที่สหรัฐนำเข้าจากจีนในปัจจุบันจะถูกย้ายกลับมา ผลิตในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2020 เพราะต้นทุนการผลิตจีนที่เพิ่มขึ้น วิวัฒนาการทางการผลิตที่ลดการใช้แรงงานลง และเพราะธุรกิจควรที่จะมีแหล่งผลิตที่ใกล้ชิดกับฐานลูกค้ามากขึ้น ผลที่จะตามมา คือ จีดีพีของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นปีละ 20,000-55,000 ล้านดอลลาร์

 

มุม มองอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจของ The Economist คือ การเตือนว่ารัฐบาลจะพยายามเลือกธุรกิจที่มองว่าเป็น “ผู้ชนะ” (Champion) หรือธุรกิจที่จะรุ่งเรือง (winner) ซึ่งตัวอย่างในอดีตรัฐบาลมักจะทำได้ไม่ดี ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและสลับซับซ้อนในอนาคตย่อมจะหมายความว่ารัฐบาลจะ ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดสูง โดยเฉพาะในยุคที่การผลิต การสื่อสารและการขนย้ายของทุนสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน ดังนั้น รัฐบาลจึงควรจำกัดบทบาทของตนให้อยู่ในเรื่องของการส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานให้ แข็งแกร่ง ได้แก่ ทำให้โรงเรียนมีคุณภาพ แรงงานมีทักษะและกฎหมาย (ในการทำธุรกิจ) มีความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยปล่อยให้การเสี่ยงทำธุรกิจเป็นเรื่องของภาคเอกชนเป็นหลักครับ

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่ 3เครื่อง พิมพ์สามมิติ (3D printing) จะมาแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศกลุ่มพัฒนาทันเวลามั้ย ถ้าแก้ ทันก่อนปัญหาcurrency CRISISระเบิด ราคาทองคำอาจไม่พุ่งทะยานฟ้า เหมือนที่หลายคนคาดหวัง กลัวแต่ว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้เป็นจุณซะแล้ว เครื่งพิมพ์สามมิติ (3D printing)มีคนพูดให้ผมฟังมาเกือบปีแล้ว

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ

 

เศรษฐกิจสัมพันธ์กับการเมือง ถ้าแรงงานไม่มีงานทำ แล้วจะเป็นอย่างไร ช่องว่างก็มากขึ้น

 

เศรษฐกิจดี แต่คนจำนวนมากลำบาก ประเทศนั้นๆ ไม่น่าไปรอด

 

เรื่องแรงงาน ผมยังสงสัย แรงงานที่ต่อไปน่าจะขาดแคลน น่าจะเป็นแรงงานไร้ฝีมือมากกว่า

 

ผมกลับมองว่า ประเทศที่มีคน(แรงงานไร้ฝีมือ)มากๆ น่าจะมีข้อได้เปรียบ

 

ดูสารคดีผลิตลูกอเมริกันฟุตบอล การกลับลูกบอล ไม่ว่าใช้เครื่องมือแบบไหนก็สู้มือคนกลับไม่ได้

 

ผมมองตามแบบคนไม่รู้นะครับ เห็นการผลิตหลายๆ อย่าง ใช้แค่แรงงานไร้ฝีมือทั้งนั้น

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤตหนี้อียูยังอยู่ครบ รัดเข็มขัดไม่ใช่ทางออก

 

 

 

 

0Share

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

แม้จะมีข่าวดีให้นักลงทุนทั่วโลกพอจะตั้งความหวังได้บ้าง หลังจากที่ได้เห็นความพยายามของสหภาพยุโรป (อียู) ในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาค ทั้งความคืบหน้าในแผนปฏิรูปสหภาพการคลัง (Fiscal Union) การบังคับใช้แผนรัดเข็มขัดเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ หรือแม้กระทั่งนโยบายปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้กับธนาคารพาณิชย์ทั่ว ยุโรปของธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

แต่จนแล้วจนรอด สถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปกลับไม่ได้ดีขึ้นตามเป้าหมายที่วาดหวังกันไว้ แถมยังมีทีท่าว่าจะร่อแร่หนักมากกว่าเดิม

หลักฐานบ่งชี้ล่าสุดก็คือ สเปน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของภูมิภาค ซึ่งใช้มาตรการแก้ปัญหามาแล้วทุกทาง กำลังปวดหัวกับวิกฤตที่แผลงฤทธิ์หนักข้อขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการว่างงานที่พุ่งสูงถึง 24.4% ปริมาณหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่สูงถึง 80% ผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจประเทศ ถ้ายิ่งสูงมากแสดงว่าความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ก็จะต่ำมาก ปรับเพิ่มขึ้นถึง 5.6%

และความอ่อนแอล่าสุดของภาคธนาคารสเปนก็แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนอีก ครั้ง เมื่อสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกจากสหรัฐลงดาบปรับลดอันดับ เครดิต 11 ธนาคารในสเปนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

เมฆทะมึนของวิกฤตที่ตั้งเค้าปกคลุมภูมิภาคยุโรปอีกระลอกเรียกกระแส วิพากษ์วิจารณ์มากมายจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก โดยในขณะที่ฝ่ายหนึ่งมองว่าปัญหาที่แก้ไม่ตกนี้เกิดจากการที่บรรดาผู้นำ ประเทศต่างๆ ไม่นำกลยุทธ์ที่มีอยู่ เช่น แผนรัดเข็มขัดมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดดีพอ

นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งดูจะเป็นส่วนที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนทั่วภูมิภาคยุโรป กลับมองว่า สถานการณ์เลวร้ายในปัจจุบันเป็นผลมาจากมาตรการที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้เสีย มากกว่า และถึงเวลาแล้วที่บรรดาผู้นำประเทศในอียูจะต้องพิจารณาหามาตรการอื่นมาใช้ แทน

EBED6AE17C574D6B9684FAC9B1D0C8B2.jpg

ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ กล่าวว่า กลยุทธ์ที่ใช้กันอยู่ขณะนี้ ซึ่งเน้นไปที่การประหยัดและตัดลดค่าใช้จ่าย ไม่ใช่แค่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถบรรเทาเยียวยาและฟื้นฟูภาคการเงิน ตลอดจนกระตุ้นตลาดของประเทศให้กลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ แม้บรรดาผู้นำในอียูต่างยอมรับและเห็นตรงกันว่าปัญหาของภูมิภาคมาจากปริมาณ หนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล จนทำให้ประเทศขาดความแข็งแกร่งในการแข่งขันในตลาด ขณะที่มูลค่าหนี้ที่ท่วมท้นยังส่งผลกระทบต่อภาคการเงิน เนื่องจากรัฐบาลต้องปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อที่จะได้สามารถจูงใจ เหล่าเจ้าหนี้ยอมปล่อยกู้ให้

แต่เป็นที่น่าเสียใจและเสียดายว่า อียูได้มองข้ามต้นตอของปัญหาที่แท้จริงของหนี้สาธารณะ ทำให้วางกลยุทธ์แก้ผิดพลาด จนส่งผลให้ภูมิภาคยุโรปตกอยู่ในสภาพหมิ่นเหม่บนปากเหวเช่นเดิม

ในมุมมองของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ปัญหาการเงินของยุโรปในปัจจุบันก็คือการที่เศรษฐกิจไม่สามารถเดินหน้าเติบโต ต่อไปได้ โดยเมื่อมองย้อนกลับไปก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ทั้งโปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี หรือสเปน ต่างเดินหน้าใช้จ่ายอย่างมหาศาล โดยที่ไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในขณะนั้นมีแรงขับเคลื่อนและมีการเติบโตดี อยู่ จนไม่เป็นปัญหาต่อดุลงบประมาณ

พูดให้เข้าใจง่ายก็คือมีรายรับเพียงพอกับรายจ่าย

แต่วิกฤตเมื่อปี 2551 ทำให้เศรษฐกิจของยุโรปหยุดชะงัก การเติบโตสะดุด จนรัฐบาลประเทศต่างๆ เผชิญหน้ากับการขาดดุลอย่างต่อเนื่องสั่งสมกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ท่วมตัวใน ที่สุด

ทั้งนี้ ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงเกินอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจนปริมาณ หนี้บานปลายเกินควบคุม หนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตให้ได้

ดังนั้น การมุ่งสู่แผนรัดเข็มขัดที่บรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปเดินหน้าใช้กันอยู่จึงอาจถือได้ว่าเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า เมื่อความต้องการในตลาดลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในระดับใกล้ศูนย์หรือเป็นศูนย์ หากยิ่งเดินหน้าใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพื่อตัดลดการขาดดุลงบประมาณลง ก็จะยิ่งส่งผลหนักต่อการเติบโต

เรียกได้ว่า แม้จะสามารถลดการขาดดุลลงได้ 1% แต่การเติบโตของจีดีพีก็จะหดตามลงไปด้วยถึง 1% หรือ 1.5%

พูดให้เข้าใจง่ายก็คือว่า มาตรการรัดเข็มขัดทั้งหลายคือหนทางแก้ปัญหาที่ไม่สร้างสรรค์และจะกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างรุนแรง เนื่องจากการตัดลดรายจ่ายของรัฐบาลคือการลดหนทางสร้างรายได้ จนทำให้ความสามารถในการหาเงินใช้หนี้ลดลง ขณะที่ผลลัพธ์ที่ได้จากแผนรัดเข็มขัดมีเพียงการขาดดุลน้อยลงในระดับหนึ่ง เท่านั้น

นอกจากนี้ แผนรัดเข็มขัดยังส่งผลระยะยาวต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลและกระเทือนต่อการ เติบโตของประเทศในอนาคต เพราะบรรดาผู้ประกอบการหรือนักลงทุนเลือกที่จะชะลอหรือลดการลงทุน และทำให้จำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้นในที่สุด

ยิ่งไปกว่านั้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งต่างเห็นตรงกันว่าแผนรัดเข็มขัดของแต่ละประเทศยัง ส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของภูมิภาคยุโรปที่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า ระหว่างกัน เพราะเมื่อประเทศหนึ่งเลือกที่จะประหยัดและลดปริมาณความต้องการสินค้าลง การส่งออกของอีกประเทศหนึ่งก็ย่อมต้องลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ หลายฝ่ายอาจข้องใจว่าการที่ประเทศที่มีหนี้ติดตัวมหาศาลจะใช้เงินมากขึ้นไปอีกจะไม่เป็นอันตรายต่อสถานะทางการเงินหรืออย่างไร

คำตอบก็คือ ไม่ เนื่องจากรายได้ของประเทศส่วนหนึ่งพิจารณาจากรายจ่าย หรืออาจพูดได้ว่าการใช้จ่ายของประเทศก็คือการลงทุนในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าการมุ่งใช้แผนรัดเข็มขัดจะทำให้การลงทุนหายไปและเศรษฐกิจจะ เริ่มถดถอยซึมเซา

แน่นอนว่า สถานการณ์ของภูมิภาคยุโรปในขณะนี้ยังจำเป็นต้องพูดคุยถึงเรื่องการประหยัด มัธยัสถ์ อย่างการเพิ่มระยะเวลาเกษียณอายุ การปฏิรูปกฎข้อบังคับ และการปรับโครงสร้างสวัสดิการรัฐบาล เพื่อให้การใช้จ่ายเงินมีระเบียบวินัยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในแง่ที่ว่ายุโรปจะไม่ก่อปัญหาหนี้ สาธารณะมากวนใจอีกต่อไป

แต่เงื่อนไขเหล่านี้จะสามารถหารือโดยไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กับทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องได้ก็ต่อเมื่อ เศรษฐกิจของภูมิภาคมีสัญญาณการเติบโต โดยอียูต้องหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

เพราะสถานการณ์ของยุโรปในขณะนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะพิสูจน์ได้ว่า มาตรการรัดเข็มขัดเป็นทางออกที่ “ใช่” สำหรับอียูหรือไม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัญหาหนี้ยุโรป-สหรัฐฯ แก้ยาก บลจ.บัวหลวงแนะเก็บทองอุ่นใจ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2555 15:20 น.

 

 

Share

blank.gif blank.gif 555000005724602.JPEG วรวรรณ ธาราภูมิ blank.gif

บลจ.บัวหลวงมองหนี้ยุโรป และสหรัฐฯ แก้ยากหลังยืดเยื้อปัญหาต่อไปเรื่อยๆ แนะนักลงทุนเก็บทองคำเข้าพอร์ตเพื่อความอุ่นใจในระยะยาว พร้อมเอาใจนักลงทุนลด Brokerage Fee กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์เหลือ 0.12%

 

นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรปในปัจจุบันยังคง ไม่เปลี่ยนและยิ่งเหมือนเดิม เพราะโมเดลที่ใช้คือ การแก้หนี้ด้วยการเพิ่มหนี้ที่ธนาคารกลางต้องคงดอกเบี้ยต่ำ และไม่หยุดพิมพ์เงิน คำถามคือ แล้วจะลากปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นี้ไปได้ไกลแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ทำให้ทองคำจะยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ควรมีไว้บ้างในพอร์ตลงทุน เพื่อความอุ่นใจในระยะยาว

 

“ตั้งแต่ 1 มกราคม ปีหน้าคนอเมริกันจะพบกับ Taxmagedden โดยจะมีการขึ้นภาษีพร้อมๆ ไปกับการรัดเข็มขัด เพื่อให้ยอดหนี้ลดลงตามที่รัฐบาลสัญญาไว้กับสภาคองเกรสในครั้งที่ขอขยาย เพดานหนี้ ซึ่งนักวิชาการประมาณไว้ว่าจะทำให้ GDP ลดลงไป 3% ซึ่งจะทำให้ติดลบ นั่นคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์จะลดลงพร้อมๆ ไปกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน ถ้าเป็นไปอย่างที่คาดการณ์นี้ โอกาสที่จะเกิด QE ครั้งใหม่ก็มีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553 และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 จะกลับมาอีกครั้ง” นางวรวรรณกล่าว

 

นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มจัดการกองทุน กล่าว ว่า ราคาทองคำในปัจจุบันยังคงใกล้เคียงกับสิ้นปีที่ผ่านมา โดยราคาขายทองคำแท่ง 96.5 ณ 27 เมษายนอยู่ที่บาทละ 23,700 บาท ใกล้เคียงกับ 30 ธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 23,500 บาท และถึงแม้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงประเภทอื่นๆ น่าจะให้ผลตอบแทนดีในปีนี้ เช่น หุ้น โดยผลตอบแทนจากดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 27 เมษายน เพิ่มขึ้นประมาณ 19% จากสิ้นปี แต่มองระยะยาวที่สถานการณ์ในต่างประเทศ จึงไม่แปลกที่ทองคำ จะยังเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนควรมีติดในกระเป๋าเพื่อความอุ่นใจ

 

ทางด้านนายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกองทุนรวม กล่าวว่า สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในทองคำ กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะมีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ คือ SPDR Gold Trust เพียงกองทุนเดียวซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Gold ETF) จัดตั้งและจัดการโดย World Gold Trust Services, LLC ทั้งนี้ BGOLD ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

 

และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่นักลงทุน บลจ.บัวหลวงได้ลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Brokerage fee) เหลือเพียงร้อยละ 0.12 เพื่อลดต้นทุนค่าธรรมเนียมการซื้อขายแต่ละครั้งให้นักลงทุนได้แล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ซื้อขายสับเปลี่ยนวันนี้ (2 พ.ค.) เป็นต้นไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรกิจใหญ่...ใช้เครื่องจักรเทคโนโลยี่ทันสมัย ใช้แรงงานน้อย...ให้ผลกำไรตอบแทนสูง...

ธุรกิจเล็ก...เครื่องจักรไม่ทันสมัย ใช้แรงงานมาก...ให้ผลกำไรตอบแทนต่ำ...

แต่...ปัญหาของรัฐส่วนใหญ่...เกิดจากปัญหาว่างงานของคนในประเทศ..

ซึ่งส่งผลต่อเงินชดเชยและเงินช่วยเหลือที่รัฐต้องจ่าย...

 

ดังนั้น...Apple สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้สูง...แต่เงินเข้าสู่กระเป๋าคนกี่คน...กระจายรายได้เท่าไร...

ภาษีที่รัฐเก็บได้...ถ้าแลกกับการจ้างงานของคนในประเทศ...อะไรคุ้มกว่ากัน...

รายได้และกำไรมหาศาลจากภาคธุรกิจที่ไปลงทุนใช้แรงงานจากต่างประเทศ....

แต่กับไม่ได้ช่วยเหลือ..ปัญหาเรื่องการจ้างงานในประเทศเลย....

 

เราต้องการอะไรมากกว่ากัน....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กำลังใจยังดีกันอยู่หรือเปล่าครับ

 

เท่าที่ตามอ่านกูรูเมืองนอก ไม่มีใครหวั่นเลยครับ

 

http://www.mediabistro.com/fishbowldc/files/original/mlss_luigi-hammer.jpg

post-2564-0-16327600-1336121258_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย wcg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กำลังใจยังดีกันอยู่หรือเปล่าครับ

 

เท่าที่ตามอ่านกูรูเมืองนอก ไม่มีใครหวั่นเลยครับ

 

http://www.mediabist...uigi-hammer.jpg

แล้วท่านคิดว่าอย่างไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธรกิจใหญ่...ใช้เครื่องจักรเทคโนโลยี่ทันสมัย ใช้แรงงานน้อย...ให้ผลกำไรตอบแทนสูง...

ธุรกิจเล็ก...เครื่องจักรไม่ทันสมัย ใช้แรงงานมาก...ให้ผลกำไรตอบแทนต่ำ...

แต่...ปัญหาของรัฐส่วนใหญ่...เกิดจากปัญหาว่างงานของคนในประเทศ..

ซึ่งส่งผลต่อเงินชดเชยและเงินช่วยเหลือที่รัฐต้องจ่าย...

 

ดังนั้น...Apple สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้สูง...แต่เงินเข้าสู่กระเป๋าคนกี่คน...กระจายรายได้เท่าไร...

ภาษีที่รัฐเก็บได้...ถ้าแลกกับการจ้างงานของคนในประเทศ...อะไรคุ้มกว่ากัน...

รายได้และกำไรมหาศาลจากภาคธุรกิจที่ไปลงทุนใช้แรงงานจากต่างประเทศ....

แต่กับไม่ได้ช่วยเหลือ..ปัญหาเรื่องการจ้างงานในประเทศเลย....

 

เราต้องการอะไรมากกว่ากัน....

 

ระบบการศึกษาปัจจุบันนี้ สร้างคนเพื่อเป็นฟันเฟือง เพื่อเป็นอะไหล่ และชิ้นส่วน

ในเครื่องจักรอันใหญ่โต ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้

 

สมัยก่อน คนส่วนมาก มักจะเป็นเครื่องจักรเล็กๆของตัวเอง ไม่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่โต

มากมายแบบที่เราเห็นทุกวันนี้

 

เมื่อไหร่ที่เจ้าของเครื่องจักรหาอะไหล่ได้ถูกกว่า, มีคุณภาพกว่าจากแหล่งอื่นๆ

หรือว่า เครื่องจักรเครื่องใหญ่นั้นพังลงไป อะไหล่ที่ผลิตมา ก็จะหมดค่าลงไปทันที

อย่างที่เห็นได้ในตลาดต่างๆทั่วโลก

 

ชักเพ้อเจ้อเกินไปละ :huh:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
กำลังใจยังดีกันอยู่หรือเปล่าครับ

 

เท่าที่ตามอ่านกูรูเมืองนอก ไม่มีใครหวั่นเลยครับ

 

ขาชักสั่นเหมือนกันครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยิ้มครับ ยิ้ม ได้แต่ลุ้นว่าให้มันตกลงนานๆ ทันเวลาที่จะได้กระดาษล็อตใหม่ออกมา

 

ส่วนตัว* ผมเชื่อว่ายังไงก็ต้องมีขึ้นแรงๆอีก และน่าจะขึ้นไปได้สูงกว่านี้อีกมาก

แต่ความผันผวนก็มีมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเอาเงินเย็นเจี๊ยบไปแลกโลหะมีค่ามา

ไม่หวั่นใจครับ

 

* ไม่มีใครรู้อนาคตแน่นอนนะครับ กระดาษใคร กระดาษมัน ได้เอง เสียเอง

ผมอาจจะผิดเต็มประตูก็ได้

 

แล้วท่านคิดว่าอย่างไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...