ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

Stugeron tab

ชื่อไทย : สติวเจอร่อน

 

 

 

กลไกการออกฤทธิ์ (Action ):

     

        เภสัชจลนศาสตร์

       

ซินนาริซีน ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด  โดยขัดขวางช่องทางของแคลเซียม  คุณสมบัติเพิ่มเติมของ ซินนาริซีน นอกจากการเป็น direct  

 

calcium  antagonism  ก็คือลดฤทธิ์ของ  vasoactive  substances  ตัวอื่น ๆ เช่น  นอร์เอพิเนรฟรินและซีโรโทนินในการทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด

 

หดตัว  โดยขัดขวาง  receptor-operated  calcium  channels  การต้านการไหลเข้าของแคลเซียมสู่เซลล์เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงต่อเนื้อเยื่อ  จึงมีคุณสมบัติ

 

ต้านการหดตัวของหลอดเลือดโดยปราศจากผลกระทบต่อความดันโลหิต  และอัตราการเต้นของหัวใจ ซินนาริซีน อาจจะช่วยปรับปรุงระบบการหมุนเวียนระดับไมโครที่

 

บกพร่องไป  โดยช่วยปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเม็ดเลือดแดงและช่วยลดความหนืดของ โลหิต  ความต้านทานของเซลล์ต่อภาวะไฮโปรเซียจะสูงขึ้น ซินนาริซีน

 

ช่วยยับยั้งการกระตุ้นระบบควบคุมการทรงตัวของร่างกาย  ซึ่งแสดงผลออกมาในแง่การกดการเคลื่อนไหวของลูกตาโดยไม่ตั้งใจ  และกดการรบกวนระบบออโตโนมิคอื่น ๆ ดัง

 

นั้น ซินนาริซีน จึงช่วยลดหรือป้องกันภาวะเวียนศีรษะชนิดเฉียบพลัน

       

ระดับยาสูงสุดในเลือดจะถึงภายใน 1-3 ชม.  หลังจากรับประทานยา ซินนาริซีน และจะหายไปจากกระแสเลือดโดยมีระยะครึ่งชีวิต 4 ชม. ซินนาริซีน ถูกเมตาบอไล

 

ต์หมด  การกำจัดสารเมตาบอไลต์เกิดขึ้นโดย 1/3  ผ่านทางปัสสาวะ และ 2/3  ผ่านทางอุจจาระ ซินนาริซีน จับกับโปรตีนในเลือด 80%

       

ข้อบ่งใช้การใช้ยา (Indication) :

     

  -ความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตในสมอง

     

  -ใช้ในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะรับการทรงตัว  เช่น  เวียนศีรษะ  มึนงง  มีเสียงหึ่งในหู  ลูกตาเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ  คลื่นไส้และ

อาเจียน

     

  -ป้องกันและรักษาการปวดศีรษะชนิดไมเกรน

       

  -ใช้ในการรักษาต่อเนื่องสำหรับอาการที่เกี่ยวเนื่องมาจากระบบหลอดเลือดใน สมอง เช่น  มึนงง  มีเสียงหึ่งในหู  ไม่อยากเข้าสังคม  หงุดหงิดง่าย  ความจำเสื่อม  ขาด

 

สมาธิ

  -ใช้ในการรักษาต่อเนื่องสำหรับอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบไหล เวียนโลหิตส่วนปลาย  เช่น  Raynaud's phenomenon  อาการก่อนมีการเน่า

 

ตายของอวัยวะ  อาการปวดน่องขณะเดิน  แผลที่เกิดจากการเป็นโรคเส้นเลือดขอด  อาการปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อเวลากลางคืน  paraesthesia  อาการเย็นตามปลาย

 

มือหรือปลายเท้า

 

ขนาดการใช้ยา (Dosage) :

     

ความผิดปกติของระบบการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง    1 เม็ด วันละ 3 เวลา

       

ความผิดปกติของระบบการไหลเวียนโลหิตส่วนปลาย     2-3  เม็ด วันละ 3 เวลา

     

ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบควบคุมการทรงตัว             1  เม็ด วันละ 3 เวลา

       

เมารถ,  เมาเรือ       -  ในผู้ใหญ่ 1 เม็ด ครึ่งชั่วโมงก่อนเดินทางและให้ซ้ำได้ทุก 6  ชั่วโมง

         

                     -  ในเด็ก (อายุ 5-12 ปี) แนะนำให้ใช้ขนาดรับประทานครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่

       

ควรรับประทาน สติวเจอร่อน หลังอาหาร  ขนาดรับประทานสูงสุดที่แนะนำไม่ควรเกิน 225 มก.(9เม็ด)  ต่อวัน  เนื่องจากประสิทธิผลของ สติวเจอร่อน ในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ  มีลักษณะขึ้นกับขนาดยา  ดังนั้น  จึงควรค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาให้สูงขึ้นตามลำดับ

 

ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ (Precaution & Adverse Effects) :

   

 

 สติวเจอร่อน มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาตัวนี้

 

ขนาดของบรรจุภัณฑ์ (Packages) :

   

        บรรจุฟอยล์  กล่องละ 25x10 เม็ด  และ  100x10 เม็ด    

        เก็บในที่แห้งและอุณหภูมิอยู่ระหว่าง  15-25 ฐ C

 

 

http://www.thairx.com/dmdrug.asp?did=stgrt

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Stugeron (cinnarizine)

How does it work?

 

 

Stugeron tablets contain the active ingredient cinnarizine, which is a type of medicine called an antihistamine. (NB. Cinnarizine is also available without a brand name, ie as the generic medicine.) Cinnarizine is used to control travel sickness and the symptoms of inner ear disorders such as Meniere's disease.

 

Vomiting is controlled by an area of the brain called the vomiting centre. The vomiting centre is responsible for causing feelings of sickness (nausea) and for the vomiting reflex. It is activated when it receives nerve messages from the vestibular apparatus in the middle ear.

 

The vestibular apparatus provides continual feedback to the brain about our body position. When something disturbs the vestibular apparatus, such movement of the head when travelling by boat or car, nerve signals are sent from the vestibular apparatus to the vomiting centre. This can cause sensations such as nausea, dizziness or spinning sensations (vertigo) and the reflex of vomiting.

 

Cinnarizine works by blocking histamine and muscarinic receptors in the vomiting centre in the brain. This prevents the vomiting centre from receiving nerve messages from the vestibular apparatus. In turn, this prevents disturbances in the middle ear from activating the vomiting centre and causing nausea, vertigo and vomiting.

 

What is it used for?

 

   * Preventing and treating motion sickness

   * Relieving nausea, vomiting, attacks of dizziness or spinning sensations (vertigo) and sensations of ringing or other noise in the ears (tinnitus) associated with Meniere's disease and other middle ear disorders.

 

Warning!

 

   * This medicine may cause drowsiness. If affected do not drive or operate machinery. Alcohol should be avoided.

   * If you find this medicine upsets your stomach, taking it with or after food may help.

   * If you are due to have any skin prick tests to diagnose allergies you should stop taking this medicine at least 48 hours before the tests. This is because antihistamines can prevent or lessen the skin reactions that indicate an allergy, and so can make the test results unreliable.

    * Decreased kidney function

   * Decreased liver function

   * Parkinson's disease.

 

Not to be used in

   * Children under five years of age

   * Hereditary blood disorders called porphyrias

   * Pregnancy

   * Breastfeeding

   * Rare hereditary problems of fructose or galactose intolerance, Lapp lactase deficiency, glucose-galactose malabsorption or sucrase-isomaltase insufficiency (Stugeron tablets contain lactose and sucrose).

 

This medicine should not be used if you are allergic to one or any of its ingredients. Please inform your doctor or pharmacist if you have previously experienced such an allergy.If you feel you have experienced an allergic reaction, stop using this medicine and inform your doctor or pharmacist immediately.

Pregnancy and Breastfeeding

 

Certain medicines should not be used during pregnancy or breastfeeding. However, other medicines may be safely used in pregnancy or breastfeeding providing the benefits to the mother outweigh the risks to the unborn baby. Always inform your doctor if you are pregnant or planning a pregnancy, before using any medicine.

 

   * The safety of this medicine when used during pregnancy has not been established. It is not recommended for use by pregnant women. Seek medical advice from your doctor.

   * It is not known if this medicine passes into breast milk. It is not recommended for mothers who are breastfeeding. Consult your doctor for further advice.

 

Label warnings

   * This medication may cause drowsiness. If affected do not drive or operate machinery. Avoid alcoholic drink.

 

Side effects

 

Medicines and their possible side effects can affect individual people in different ways. The following are some of the side effects that are known to be associated with this medicine. Because a side effect is stated here, it does not mean that all people using this medicine will experience that or any side effect.

  * Drowsiness

   * Disturbances of the gut such as diarrhoea, constipation, nausea, vomiting or abdominal pain

   * Headache

   * Dry mouth

   * Sweating

   * Weight gain (rarely with long-term use)

   * Abnormal movements of the hands, legs, face, neck and tongue, eg tremor, twitching, rigidity (rarely with long-term use, mostly in elderly people - stop taking this medicine and consult your doctor if this occurs)

   * Skin reactions (very rarely with long-term use)

   * Jaundice (very rarely with long-term use)

The side effects listed above may not include all of the side effects reported by the drug's manufacturer.For more information about any other possible risks associated with this medicine, please read the information provided with the medicine or consult your doctor or pharmacist.

How can this medicine affect other medicines?

 

It is important to tell your doctor or pharmacist what medicines you are already taking, including those bought without a prescription and herbal medicines, before you start treatment with this medicine. Similarly, check with your doctor or pharmacist before taking any new medicines while taking this one, to ensure that the combination is safe.

 

There may be an increased risk of drowsiness if this medicine is taken with any of the following (which can also cause drowsiness):

   * alcohol

   * antipsychotics, eg chlorpromazine

   * benzodiazepines, eg diazepam, temazepam

   * sedating antihistamines, eg chlorphenamine, promethazine

   * sleeping tablets, eg zopiclone

   * strong opioid painkillers, eg morphine, codeine

   * tricyclic antidepressants, eg amitriptyline.

 

Other medicines containing the same active ingredient

 

Cinnarizine tablets are also available without a brand name, ie as the generic medicine.

 

http://www.netdoctor.co.uk/medicines/100002475.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยาแก้เมารถ เมาเรือ ค่ะ

 

เผื่อมีบางคนกล้าซื้อค่ะ ระหว่าง dramamine และ stugeron จะเลือกใช้ตัวไหนดี เลยหาๆมาฝากค่ะ แต่ dramamine ยังไม่ได้ค้น

 

อิอิ หมอเถื่อนอ่านแล้วงงไม่รู้ว่าใช้แก้เมารถ ไม่จั่วหัวว่ายาแก้เมารถนี่ครับ

ปลอดภัยทั้งคู่ครับ

dramamineอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ (antihistamine)

:o :wub:

 

ยาแก้เมารถที่ขายตามร้านขายยาที่ผมเห็น ส่วนมากDimenhydrinate(Dramamineเป็นชื่อทางการค้า ตัวยาคือDimenhydrinate) บางทีไปเที่ยวกันแล้วมีบางคนเป็นหวัดแต่ไม่ได้เตรียมยาแก้หวัดไป

ผมบอกว่าขอดูยาแก้เมารถที่เตรียมมาหน่อย พอเห็นว่าเป็นDimenhydrinateผมก็บอกว่ากินแก้หวัดได้เลยครับ ตามที่คุณหมอเล็กบอกครับว่ายาตัวนี้

เป็นยากลุ่มantihistamine ผมเลยให้เขาใช้กินแก้หวัด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2010, 21:11:52 โดย ส้มโอมือ »

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดื่มโกโก้ ช่วยหลอดเลือดสมองไหลเวียนดี

481876qojaq5ujfk.gif

 

 

สำนักข่าวเอพีรายงานผลการวิจัยล่าสุด

ซึ่งพบว่า การดื่มโกโก้บางชนิดมีผลดีต่อการเสริมสร้างการทำหน้าที่ของสมองมนุษย์โดยเฉพาะเมื่อร่างกายแก่ตัวลงเรื่อย ๆ

 

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกว่าการที่ประชากรโลกมี อายุยืนยาวขึ้นทำให้มีจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมมากขึ้น

 

และมีความจำเป็นในการหาทางช่วยให้สมองของมนุษย์สามารถคงความสามารถในการทำหน้าที่ได้ยาวนานและดีขึ้นกว่าเดิม

 

ทีมนักวิจัยที่ทำการวิจัยนี้กล่าวต่อที่ประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันว่า

 

หนึ่งแหล่งซึ่งมีแนวโน้มในการช่วยเสริมสร้างการทำหน้าที่ของสมองคนคือสาร ฟลาวานอลส์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มักพบในเม็ดโกโก้

 

สารนี้เชื่อว่า สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในสมอง

 

ศาสตราจารย์เอียน แมคโดนัลด์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งนอตติงแฮมในประเทศอังกฤษได้นำเสนอผลการทดสอบต่อที่ประชุมวานนี้ว่า

 

ในบรรดาผู้หญิงที่ให้ดื่มเครื่องดื่มประเภทโกโก้ที่มีสารฟลาวานอลส์สูง มีการไหลเวียนโลหิตในสมองดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ดื่ม

ในขั้นตอนการทดลองนั้นนักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่าง   ทำแบบทดสอบที่มีความซับซ้อนในขณะที่ทำการศึกษาสมองของคนพวกนี้ด้วยเครื่อง เครื่องฉายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

เพื่อตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ หรือเอ็มอาร์ไอ   ศาสตราจารย์แมคโดนัลด์กล่าวด้วยว่า

 

ผลการทดลองนี้ทำให้เพิ่มความเป็นไปได้ในการนำสารฟลาวานอลส์มาใช้ในการรักษา โรคสมองเสื่อมซึ่งมาพร้อมกับการลดลงของการไหลเวียนโลหิตในสมอง และใช้ในการ

 

บำรุงรักษาหลอดเลือดหัวใจ   ศาสตราจารย์แมคโดนัลด์กล่าวว่า

 

สำหรับขั้นต่อไปคือการขยายผลจากผลของโกโก้ต่อการบำรุงสุขภาพในคนปกติไปสู่คนที่มีปัญหาทางด้านการไหลเวียนโลหิตในสมอง

 

ด้านศาสตราจารย์ นพ. นอร์แมน ฮอลเลนเบอร์ก จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดกล่าวว่า

 

เขาก็เคยศึกษาพบประโยชน์ต่อสุขภาพของโกโก้ในชนเผ่าอินเดียคูนา ในปานามาซึ่งดื่มโกโก้กันเป็นประจำ

 

อย่างไรก็ดี นพ. ฮอลเลนเบอร์ก กล่าวว่า  โกโก้ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมักเป็นชนิดที่มี สารฟลาวานอลส์ต่ำเนื่องจากสารนี้ถูกขจัดออกไปเพื่อลดรสขมของโกโก้ และ

 

ประชาชนไม่ควรถือเอาผลการวิจัยนี้เป็นเหตุผลในการดื่มโกโก้กันอย่างเมามัน   นพ. ฮอลเลนเบอร์กกล่าวและว่า  ช๊อคโกแลตคือความสุข

 

แต่มันไม่เคยถือว่าเป็นอาหาร

 

สุขภาพเพราะว่ายังมีปัญหาเรื่องแคลอรี่อยู่  ส่วนในโกโก้นั้นไขมันจำนวนมากได้ถูกขจัดออกไป ผมมองว่าโกโก้มีอนาคตที่สดใส

..

นพ. ฮอลเลนเบอร์กซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความดันโลหิตได้ศึกษา

 

ชนเผ่าคูนาเพราะว่าเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะและไม่มีปัญหาความดันโลหิต สูง โดยเขาศึกษาพบว่าสมาชิกของชนเผ่านี้ที่ย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองมักมีความดัน โลหิตสูงขึ้น

 

ซึ่งคาดว่าจะมาจากความแตกแต่ง

 

ในการดื่มโกโก้ที่ต่างชนิดกันเพราะโกโก้ที่ชนเผ่านี้เตรียมเองเป็นโกโก้ที่ มีสารฟลาวานอลส์สูงและเป็นเพียงเครื่องดื่มชนิดเดียวที่ชนเผ่านี้ที่อาศัย อยู่ในเกาะดื่ม ต่างจากคนที่ย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองที่เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มกินตามท้องถิ่น

 

และนอกจากชนเผ่าคูบา

 

ที่อาศัยอยู่บนเกาะจะไม่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงแล้วแล้วนพ. ฮอลเลนเบอร์กยังพบอีกด้วยว่าไม่มีรายงานคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมในชนเผ่าพวก นี้เลย

 

http://variety.teenee.com/foodforbrain/2159.html

 

หามาเพิ่มค่ะ.....    Cartoon_Animation_03.gif

 

 

Dark Chocolate for Life….

 

      เรื่อง ราวคุณประโยชน์ของช็อกโกแลต (chocolate) ต่อสุขภาพหัวใจ ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ความจริงแล้วประโยชน์ของมันไม่ได้อยู่ที่ช็อกโกแลตครับ แต่อยู่ที่สารที่อยู่ในโกโก้ (Cocoa) นั่นคือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารนี้พบได้ในผัก ผลไม้หลายชนิด ที่เรารู้จักกันดี คือ ประโยชน์ของไวน์แดงก็มาจากการที่ไวน์แดงมี ฟลาโวนอยด์สูงนั่นเอง หรือแม้กระทั่งผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ เช่น อาไซอิ เบอร์รี่(Acai Berries) ก็มีสารพวกนี้สูงมาก คุณประโยชน์ของ ฟลาโวนอยด์ มีการศึกษายืนยันว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น ป้องกันการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด (แบบเดียวกับแอสไพริน แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า) ลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) (อ้างอิงจาก 136 scientific publications on chocolate, Harvard University school of Public Health) นอกจากนั้นยังช่วยให้ฮอร์โมนอินสุลินทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

การศึกษาล่าสุดจาก มิลาน อิตาลี เรียกว่า Moli-sani project ลงพิมพ์ในวารสารด้านโภชนาการ Journal of Nutrition ทำการรวบรวมประชากรกว่า 4,849 คน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี ตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประทานช็อกโกแลต และ เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับ hs-CRP ค่านี้เป็นดัชนีบ่งบอกการอักเสบของหลอดเลือดแดง (hs-CRP) ปัจจุบันพบว่า hs-CRP มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจมาก ค่าที่มากกว่า 3 มก.ต่อลิตรจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ พบกว่าผู้คนที่รับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำมีค่า hs-CRP ต่ำกว่าคนที่ไม่ได้รับประทาน

 

เร็วๆ นี้ (กพ 2553) มีรายงานผลการศึกษา โดยวิเคราะห์การศึกษาเกี่ยวกับช็อกโกแลตที่มีมาทั้งหมด ถึงผลต่อการเกิด stroke (หลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก) จะรายงานในการประชุมแพทย์ทางระบบประสาททั่วโลกในเดือน เมษายน นี้ พบว่า การรับประทานช็อกโกแลต สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ประมาณ 50 กรัม) จะช่วยลดโอกาสเป็น stroke ลงร้อยละ 22 (Sahib S, Saposnik G, et al. American Academy of Neurology 2010 Annual Meeting; April 10-17. 2010)

ดัง นั้นจึงน่าสนใจว่า สารฟลาโวนอยด์ ที่มีมากในช็อกโกแลต นอกจากช่วยลดโรคหัวใจลงแล้ว ยังช่วยลด stroke (ที่น่ากลัวกว่าโรคหัวใจ) ลงอีกด้วย

TIPS ในการรับประทานช็อกโกแลต เพื่อสุขภาพ

 

Dark Chocolate เท่านั้น ไม่ผสมนม น้ำตาล ปกติแล้วแม้แต่ชนิด dark ก็ยังให้พลังงาน และ มีไขมัน การรับประทานมากเกินไปอาจจะมีผลเสียได้เช่นกัน ไม่ควรรับประทานชนิดที่ผสมนม เพราะนอกจากได้สารสำคัญคือ ฟลาโวนอยด์ น้อยกว่า (ตามน้ำหนัก) แล้วยังได้ของแถมอื่นๆด้วย เช่นนม น้ำตาล

 

อ่านฉลากก่อนรับประทาน ช็อกโกแลตที่รับประทานควรมี Cocoa มากกว่า70% ขึ้นไป

 

ปริมาณที่แนะนำคือ อย่างน้อย 6.7 กรัมต่อวัน

 

ผม เก็บมาเล่าให้ฟังเป็นความรู้เท่านั้นครับ ความจริงแล้วไม่ได้ตั้งใจให้ทุกท่านรับประทานช็อกโกแลตเพื่อป้องกันโรคหัวใจ แต่อย่างใด แต่สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่ม Chocolate Lovers แล้วละก็ ให้เลือกรับประทานแต่ชนิด Dark เท่านั้นครับ อย่าลืมว่าเรายังสามารถหา ฟลาโวนอยด์ ได้อีกมากมายทั้งจากธรรมชาติ ผักผลไม้ รวมทั้งอาหารเสริมรูปแบบต่างๆล้วนผสมสารนี้กันทั้งนั้นครับ

 

http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538981191&Ntype=2

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

chocolate is good for your health

 

:lol: :huh:

 

  UCSFscientists are publishing sweet results of a study examining chocolate's effects on blood vessel function in healthy people. The team reports that small daily doses of flavonoid-rich dark chocolate consumed over a two-week period improved blood vessels' ability to dilate, or expand. They also report that a particular flavonoid thought to be beneficial for blood vessel function, epicatechin, was absorbed at high levels in the blood.

 

"This is the longest clinical trial to date to show improvement in blood vessel function from consuming flavonoid-rich dark chocolate daily over an extended period of time," says lead author Mary Engler, PhD RN, professor of physiological nursing in the UCSF School of Nursing. "It is likely that the elevated blood levels of epicatechin triggered the release of active substances that vasodilate, or increase, blood flow in the artery. Better blood flow is good for your heart." The study appears in the June issue of the Journal of the American College of Nutrition.

 

Previous clinical studies have shown the beneficial effects of chocolate on the function of blood vessel endothelium [the inner lining of blood vessels] after either a single dose or several doses of chocolate over a few days.

Flavonoids, a group of chemical compounds with antioxidant properties, are derived from a variety of plants. They have been shown to promote several beneficial effects in the cardiovascular system, including decreasing oxidation of LDL cholesterol (a harmful process that allows cholesterol to accumulate in blood vessels); inhibiting aggregation of blood platelets (which contributes to the risk of blood clots that produce stroke and heart attack); and decreasing the body's inflammatory immune responses (which contribute to atherosclerosis).

In the randomized, double-blind, placebo-controlled study, eleven people received 46 grams (1.6 ounces) of dark, flavonoid-rich chocolate every day for two weeks, while ten others received dark chocolate with low-flavonoid content. At the end of the two-week trial, Engler and her team recorded the ability of the principal artery in the arm, the brachial artery, to expand. The brachial artery's dilation measurements correlate well with those of the coronary arteries that supply the heart.

 

The team measured the artery's "flow-mediated dilation" using ultrasound to obtain the brachial artery's diameter immediately after deflating a blood pressure cuff that had been inflated for five minutes on study participants' forearms. "This measurement actually gives us a "videoclip" of an individual's vascular health, and can be helpful in determining whether one is at risk for heart disease," says Engler. The induced increase in blood flow after the cuff is deflated causes release of many dilator substances, such as nitric oxide and prostanoids, which relax, the artery. Flow-mediated dilation is expressed as the percentage maximum change in vessel diameter from baseline.

 

In the high-flavonoid group, flow-mediated dilation increased from an initial 10.2 percent at the beginning of the study to 11.5 percent at the end of the study, while in the low-flavonoid group dilation decreased from 10.7 percent at the beginning of the study to 9.74 percent at the end of the study. The mean increase in flow-mediated dilation between the two groups showed a statistically significant difference, says Engler.

 

"Improvements in endothelial function [the ability of the artery to dilate] are indicative of improved vascular health and a lower risk for heart disease," Engler says. "Arteries that are able to dilate more have increased blood flow, and this is especially important for the heart."

 

Engler and her group also found that concentrations of the cocoa flavonoid epicatechin soared in blood samples taken from the group that received the high-flavonoid chocolate, rising from a baseline of 25.6 nmol/L to 204.4 nmol/L. In the group that received the low-flavonoid chocolate, concentrations of epicatechin decreased slightly, from a baseline of 17.9 nmol/L to 17.5 nmol/L.

 

The authors also found that the participants did not have increased blood cholesterol levels after these daily snacks of chocolate for two weeks.

 

The study was funded by the UCSF School of Nursing. Chocolate for the study was provided by the American Cocoa Research Institute, Vienna, VA.

 

In the past five years, scientists have developed increasingly accurate methods of detecting flavonoids. Only a few years ago, dark chocolate was found to contain more flavonoids than any other food that's been tested so far, including such flavonoid-rich foods as green and black tea, red wine and blueberries, says Engler. "Many people don't realize that chocolate is plant-derived, as are the fruits and vegetables recommended for a healthy heart. Chocolate is made from the cacao bean found in the fruit pod of the cacao tree (Theobroma cacao)."

 

Standard manufacturing of chocolate destroys about a quarter to half of its flavonoids. Now, some companies are using processing methods with reduced heat and alkalization, which can preserve as much as 70 percent to 95 percent of the chocolate flavonoids.

 

The UCSF study suggests that the beneficial effects of eating small doses of chocolate can be found in eating chocolate with higher amounts of cocoa , i.e., at least seventy percent cocoa content, says Engler. Additional information on current chocolate research can be found at the Chocolate Information Center website (http://www.chocolateinfo.com) sponsored by Mars, Inc, she says.

The current study supports many other studies that have shown benefits from cocoa flavonoids, Engler says. "Even though we still have a long way to go before we understand all of chocolate's effects, for now, there's little doubt that in moderation and in conjunction with a healthy, balanced diet and exercise we can enjoy -- and even benefit from -- moderate amounts of high-flavonoid dark chocolate."

 

Engler's co-author, Marguerite Engler, PhD, RN, presented an abstract of this research at the American Heart Association's Scientific Sessions in New Orleans in November 2002. Mary Engler and her team also presented the work at the Experimental Biology 2003 meeting in San Diego in April 2003. The abstract was published in The FASEB Journal in conjunction with that meeting.

 

Other researchers who participated in the study are Amanda Browne, RN, BS, Elisa Chiu, RN, MS, Michele Mietus-Snyder, MD, all from the Department of Physiological Nursing, UCSF School of Nursing; Chung Y. Chen, PhD, Ho-Kyung Kwak, PhD, Paul Milbury, MS, and Jeffrey Blumberg, PhD, FACN, all from the Jean Mayer USDA Human Nutrition Research Center on Aging, Antioxidants Research Laboratory at Tufts University, Boston, MA; Mary J. Malloy, MD, Cardiovascular Research Institute at UCSF, and Steven M. Paul, PhD, Office of Research, UCSF School of Nursing.

 

 

http://www.ucsf.edu/, http://www.ucsfhealth.org

 

http://www.news-medical.net/news/2004/06/01/2061.aspx

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหารนักคอม + นักเล่นเกมส์ขั้นเทพ

 

 

 

หนังสือ ‘Hands: Stragies for strong, pain-free hands’ ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ มีคำแนะนำท่าบริหารมือ เพื่อป้องกันและแก้ไขอาการปวดมือ ปวดข้อมือ ปวดแขน และปวดข้อศอก

 

คำแนะนำเหล่านี้ เหมาะกับพวกเราทั้งที่ทำงานสำนักงาน นักคอม(พิวเตอร์) นักเล่นเกมส์ชั้นเทพ (จริงๆ ‘เทพ’ = เทวดาที่ไม่ใช่ชั้นล่างสุดจะไม่ป่วยด้วยโรคทางกาย แต่เทพในที่นี้คือ เก่งระดับเซียน) คนที่ทำงานซ้ำๆ เช่น ทำงานโรงงาน ฯลฯ หรือใช้แรงงาน ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

 

 

(1). ท่าเหยียด-งอข้อ มือ > วางข้อมือที่ขอบโต๊ะ เหยียด-งอข้อมือดังภาพจนรู้สึกตึงๆ หรือเจ็บเล็กน้อย ค้างไว้นานเท่ากับนับ 1-20 ช้าๆ ทำวันละ 1-2 ครั้ง

 

 

090801exerc2.jpg

 

2). ท่ากระดกข้อมือ ขึ้นลงแนวดิ่ง > วางข้อมือที่ขอบโต๊ะ ทำดังภาพ

 

090801exerc2b.jpg

 

(3). ท่างอนิ้วหัวแม่ มือ > ทำดังภาพ ท่านี้ดูเผินๆ เหมือนไม่มีประโยชน์ แต่จะได้ประโยชน์มากขึ้น ถ้างอให้สุด กดลงไปพอเจ็บเล็กน้อย เวลาเหยียดออกให้เหยียดจนรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงด้วย ได้ยืดเส้นด้านตรงข้ามด้วย

 

090801exerc2c.jpg

 

(4). ท่างอนิ้วหัวแม่ มือ > ทำดังภาพ ท่านี้สำคัญมากตรงจังหวะที่ 2 (B) คือ ให้งอนิ้วมือตรงปลายแบบที่เรียกว่า “ท่ามะเหงก” ไว้สำหรับเคาะกะโหลก (กบาล) ให้ทำทีละจังหวะ เกร็งไว้ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ของมือ และช่วยยืดเส้นยืดสายด้วยในตัว

 

090801exerc2d.jpg

 

(5). ท่างอข้อมือไปทาง ฝ่ามือ > ทำดังภาพ จับไปที่ตัวมือ ไม่ใช่นิ้วมือ กดลงจนรู้สึกตึงหรือเจ็บเล็กน้อย ค้างไว้

 

 

090801exerc2e.jpg

 

(6). ท่างอข้อมือไปทาง หลังมือ > ทำดังภาพ จับไปที่ตัวมือ

 

 090801exerc2f.jpg

 

(7). ท่าใช้มือออกแรง ต้าน-เกร็งไว้ > ทำดังภาพ ให้มือหนึ่งอยู่ด้านล่าง-อีกข้างอยู่ด้านบน พยายามยกมือที่อยู่ด้านล่างขึ้น พร้อมกับใช้มือที่อยู่บนกดลง ออกแรงต้านกันเอง ท่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อที่แขนด้านนอก-ด้านหลังแข็งแรง ขณะเดียวกันจะช่วยนวดมือไปในตัว

 

090801exerc2g.jpg

(8). ท่าบริหารข้อมือ ด้วยตุ้มน้ำหนักหรือถุงทราย > ทำดังภาพ วางมือบนโต๊ะ ให้ข้อมือโผล่พ้นโต๊ะ และเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนข้อมือ ให้แขนตรึงนิ่งอยู่กับที่

 

เริ่มด้วยน้ำหนักน้อยๆ คือ 1-3 ปอนด์ หรือประมาณ 0.5-1.5 กิโลกรัม เพิ่มน้ำหนักได้ทีละน้อย ไม่เกินคราวละ 0.5 กิโลกรัม

 

 

ท่าแรกให้ทำ 2 รอบ (จริงๆ มี 2 ท่า) คือ รอบแรกหงายมือ รอบสองคว่ำมือ กระดกข้อมือขึ้นช้าๆ… ท่าที่สำคัญมากคือ ท่าคว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อที่งอข้อมือไปด้านหลังแขนมีความแข็งแรงน้อยกว่ากล้าม เนื้อที่งอข้อมือไปทางหน้าแขน

 

 

ท่าที่สองให้กระดกข้อ มือในแนวยกขึ้นลง ไม่ใช่ยกแขน

 

090801exerc2h.jpg

 

เคล็ดไม่ลับ คือ พอทำเสร็จแล้ว ให้ทำท่าพนมมือ ออกแรงดันมือ 2 ข้างเข้าหากัน พอให้รู้สึกตึงหรือเจ็บเล็กน้อย นับ 1-20 จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอก-ปีกแข็งแรงขึ้น

 

หลังจากนั้นให้ใช้มือ 2 ข้างกดลงที่หน้าขา พอให้รู้สึกตึงหรือเจ็บเล็กน้อย นับ 1-20 จะทำให้กล้ามเนื้อหลังด้านบนแข็งแรงขึ้น…

 

หลักการสำคัญในการ ออกแรง คือ หายใจเข้า-ออกช้าๆ อย่ากลั้นหายใจ เพื่อป้องกันความดันเลือดสูงขึ้นจากการเบ่งหรือเกร็ง

 

การบริหารเพื่อลดอาการ ปวดเมื่อยเน้นอยู่ 3 เรื่อง คือ ทำกล้ามเนื้อ-เอ็นให้แข็งแรงขึ้น (ด้วยการออกกำลังต้านแรง หรือยกน้ำหนัก), ยืดหยุ่นมากขึ้น (ด้วยการยืดเส้น), และฝึกหายใจเข้า-ออกช้าๆ เพื่อลดระดับความเครียด

 

 

ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 

> Thank [ harward.edu ]

 

http://health.buddythai.com/archives/tag/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคบ้านหมุน (Vertigo)  

!45 !034

 

 

โรคบ้านหมุนเป็นโรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุก คน บางคนจะมีอาการเวียนศีรษะ, โคลงเคลง, ลุกไม่ไหว ซึ่งบางครั้งก็เป็นมากจนต้องนำส่งโรงพยาบาล เลยทีเดียว โดยคำวินิจฉัยส่วนใหญ่ของแพทย์มักระบุว่า เกิดจากอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ มีตะกอนในหูชั้นใน ทำให้มีคำถามตามมาอีกว่า อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีผลกระทบร้ายแรงหรือไม่ และสามารถจะหายขาดได้หรือไม่

 

 

1.จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นอาการบ้านหมุน?

 

ถ้า อาการเพิ่งจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยมักจะแยกไม่ออก ให้ลองสังเกตดูว่า อาการที่เกิดขึ้นมีลักษณะบ้านหมุน (Vertigo) โคลงเคลง เซหรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่ามีปัญหาที่ระบบควบคุมการทรงตัว ได้แก่ หูชั้นใน และระบบประสาทส่วนกลางบริเวณก้านสมอง ส่วนอาการมึน ๆ (Dizziness) คล้ายนอนไม่พอ มีสาเหตุมากมายด้วยกัน ตั้งแต่เครียด พักผ่อนไม่พอ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อาการสุดท้ายที่ต้องแยกคือ อาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม (Pre-syncope) สาเหตุจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ พบมากในผู้ป่วยที่ความดันโลหิตต่ำ ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร สรุปว่าในขั้นแรกต้องใจเย็นๆ ตรวจเช็คอาการให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นอาการบ้านหมุน หน้ามืด หรือ แค่มึนๆ เพราะสาเหตุต่างๆ ดังกล่าว

 

2. ถ้าเป็นบ้านหมุนแล้วเกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการบ้านหมุนส่วนใหญ่ มักเกิดจากปัญหาที่ หูชั้นใน ได้แก่ มีตะกอนในหูชั้นใน น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือติดเชื้อไวรัส เป็นต้น ส่วนน้อยพบว่า มีปัญหาจากก้านสมอง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ลิ้นแข็ง แขนขาอ่อนแรง เห็นภาพซ้อน ถ้าเป็นทันทีให้คิดถึงอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงในเรื่องความดันโลหิตสูง เบาหวาน และสูบบุหรี่จัด (ถ้ามีอาการบ้านหมุนร่วมกับอาการ

ทาง ระบบประสาท ควรมาพบแพทย์โดยเร็ว เพราะหากเกิดจากสมองขาดเลือด อาการอาจเป็นมากขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง)  

 

3. โรคที่กล่าวมา มีอาการแตกต่างกันอย่างไร ?

 

โรคหูชั้นใน มักจะมีอาการเวียนศีรษะมาก บางครั้งมีหูอื้อหรือภาวะการได้ยินลดลง แต่จะไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงแบบอัมพฤกษ์ ปากเบี้ยว หรือไม่มีอาการทางระบบประสาท สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

 

โรคตะกอนในหูชั้นใน โรคตะกอนในหูชั้นใน ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะในท่าต่างๆ เช่น บ้านหมุนจะเป็นขึ้นทันทีเวลาจะนอน เงยหน้า หยิบของบนชั้น หรือสระผมที่ร้านเสริมสวย ในขณะที่เป็นจะรู้สึกรอบๆ ตัวหมุนไปหมด คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ต้องนอนนิ่งๆ ซักพักถึงจะดีขึ้น แต่ถ้าขยับศีรษะก็จะมีอาการบ้านหมุนขึ้นมาใหม่ เป็นๆหายๆ เป็นวันหรือสัปดาห์ ศัพท์แพทย์ที่ใช้ตามลักษณะของโรคโดยตรง คือ Benign Paroxysmal Positional Vertigo (BPPV) โรคเวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่า

 

สำหรับ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะมา ก่อน เคยติดเชื้อในหูชั้นใน และที่สำคัญ คือมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

 

ในหูชั้นในประกอบ ด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ

  1. อวัยวะรูปก้นหอย (cochlea) มีหน้าที่รับการได้ยิน

  2. อวัยวะรูปครึ่งวงกลม (semicircular canal) เชื่อมต่อกันสามชิ้น มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว

 

ใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการตกตะกอนของสารที่อยู่ข้างใน หรือมีหินปูนหลุดจากอวัยวะข้างเคียงเข้ามาอยู่ในส่วนครึ่งวงกลมดังกล่าว ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยขยับศีรษะเกิดการสั่นของตะกอนในหูข้างที่มีปัญหา สัญญาณที่ส่งจากหูทั้งสองข้างไปยังสมองส่วนกลางจึงไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความรู้สึกบ้านหมุนขึ้นมา โดยทั่วไปอาการเวียนศีรษะในครั้งแรกจะรุนแรง ต่อมาจะค่อยๆ ลดความรุนแรงลง อาการบ้านหมุนสามารถเป็นได้หลายๆ ครั้งต่อวัน จากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นอาจจะนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ในบางรายอาการจะกลับเป็นซ้ำได้อีกในเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี แต่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการหูอื้อไม่มีเสียงผิดปกติหรือหูไม่ได้ยิน และไม่พบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลา ไม่มีอาการหมดสติ

 

การรักษา การทำกายภาพบำบัด (Vestibular exercise) ในปัจจุบันเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและได้ผลดีมาก แบ่งได้ 2 วิธี

 

วิธีแรก ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเวียนศีรษะเท่านั้น ซึ่งจะต้องประเมินก่อนว่า ผู้ป่วยมีข้อห้ามในการทำด้วยวิธีดังกล่าวหรือไม่ เช่น มีหมอนรองกระดูกคอเสื่อม เส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ (Carotidartery Stenosis) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina) โดยแพทย์จะหมุนศีรษะผู้ป่วย เพื่อให้ตะกอนเคลื่อนที่ออกมาจากอวัยวะรูปครึ่งวงกลมที่คุมเรื่องการทรงตัว วิธีนี้ ได้ผลประมาณ 50-70% หลังจากทำครั้งแรก หากทำซ้ำอีกจะได้ผลถึง 90% ทีเดียว

 

วิธีที่สอง ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำที่บ้านเองได้ ด้วยการทำซ้ำๆ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น โดยให้ผู้ป่วยนั่งข้างเตียง แล้วล้มตัวด้านข้างจนหูแนบที่นอน ถ้ามีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นให้ค้างในท่านั้นจนกว่าจะดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เกิน 3-5 นาที แล้วลุกนั่งเพื่อล้มไปยังด้านตรงข้างใหม่ ควรทำซ้ำๆ อย่างน้อย 5-10 ครั้ง เช้า-เย็น อาการจะดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ ในช่วงแรกที่อาการเป็นมาก สามารถให้ยาแก้เวียนศีรษะทานได้ แต่ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราจะทำให้อาการบ้านหมุนหายช้าลง ไม่เกิดการปรับตัวตามธรรมชาติของสมอง

 

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)

 

เป็น โรคที่คิดว่าทุกคนคงเคยได้ยินชื่อมาก่อน บางคนก็เข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากมีน้ำเข้าไปในหู ซึ่งในหูชั้นในของเราประกอบด้วยท่อครึ่งวงกลมเชื่อมต่อกับส่วนที่รับฟังรูป ก้นหอย ดังที่อธิบายมาข้างต้นแล้ว และในท่อดังกล่าวมีของเหลวบรรจุอยู่ภายใน สาเหตุของโรคนี้จริงๆ แล้วยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากความดันของของเหลวดังกล่าวเพิ่มขึ้น (Endolymphatic hydrops) เป็นครั้งคราว ส่งผลให้สัญญาณจากหูทั้งสองข้างไม่เท่ากันจึงมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้น ประเด็นที่ผู้ป่วยมักจะสงสัยกันบ่อย ได้แก่

 

  • อาการแบบไหนถึงจะเป็นอาการจากน้ำในหูไม่เท่ากัน และต่างจากภาวะตะกอนในหูอย่างไร?

อาการ เริ่มต้นมักจะมีหูอื้อหรือมีเสียงวิ้งๆ ในหูนำมาก่อน เป็นที่หูข้างหนึ่งหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ จากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการบ้านหมุน ซึ่งจะรุนแรงและนานเป็นชั่วโมงหรืออาจเป็นวันได้ โดยต่างจากภาวะตะกอนในหูที่จะเป็นช่วงสั้นๆ คล้ายเดินอยู่บนเรือโคลงเคลงตลอดเวลา อาเจียน คลื่นไส้ หลังจากอาการดีขึ้น จะเพลียมากต้องนอนพักเป็นวัน

 

พบบ่อยแค่ไหน ทำไม่เวลาบ้านหมุนทีไร หมอก็บอกว่าเป็นโรคนี้ทุกครั้ง?

จริงๆ แล้วโรคนี้พบได้ไม่บ่อยเท่ากับโรคตะกอนในหู และพบในผู้ป่วยที่อายุเริ่มเป็นน้อยกว่า รวมถึงมักจะมีประวัติครอบครัวร่วมด้วย

 

วินิจฉัยได้อย่างไร?

ดูจาก ประวัติและอาการเป็นหลัก ถ้าสงสัยมีภาวะอื่นร่วมด้วย หรือมีอาการทางระบบประสาท จำเป็นจะต้องตรวจเอ็กซเรย์สมองเพิ่มเติม ในรายที่เป็นมานานหรือมาตรวจขณะที่กำลังมีอาการ การตรวจการได้ยินแบบละเอียด (Audiogram) หากพบว่ามีการได้ยินเสียงในความถี่ต่ำลดลงก็จะช่วยในการวินิจฉัยได้มากขึ้น

 

ต้อง ปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างเวลามีอาการ?

ขณะมีอาการบ้านหมุน รุนแรง ควรนอนพักให้ศีรษะอยู่นิ่งๆ ให้นานที่สุด เพราะการขยับศีรษะจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นได้ การทานยาแก้อาเจียนหรือยาลดอาการเวียนศีรษะก็ช่วยได้มากเช่นกัน

 

จะมีทางรักษาให้หายขาด หรือไม่ และต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

ลักษณะของโรคน้ำในหู ไม่เท่ากัน จะเป็นๆหายๆ บางราย 2-3 ปี มีอาการหรือบางคนเป็นเกือบทุกเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความดันที่เพิ่มในท่อครึ่งวงกลม และปัจจัยกระตุ้นต่างๆ

 

คำแนะนำสำหรับผู้เป็น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

 

  1. สูตรอาหารเฉพาะสำหรับน้ำในหูไม่เท่ากัน เนื่องจากเลือดและของเหลวตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเชื่อมต่อและมีการแลกเปลี่ยนกัน อาหารและปริมาณเกลือแร่ที่เราจึงมีผลกับความดันของน้ำในช่องหู

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ

 

-อาหารที่มีปริมาณเกลือและน้ำตาลมาก เช่น อาหารที่ผ่านการหมัก,ดอง, อาหารกระป๋อง

-อาหารที่มีผงชูรส หรือสารปรุงแต่งมาก เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

-อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็น ส่วนผสม เช่น กาแฟ ชา ชาเขียว น้ำอัดลม

-กลุ่มแอลกอฮอล์

 

อาหารที่รับประทานได้--------ผัก ผลไม้สด อาหารที่ปรุงเอง

 

  2. การใช้ยาในกลุ่มแก้เวียนศีรษะ เช่น ยาแก้เมารถ หรือยาในกลุ่มใหม่ที่ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงหรือง่วงซึม ทานช่วงที่มีอาการในสัปดาห์แรกจะได้ผลดี

  3. ในรายที่เป็นเรื้อรังและไม่ได้ผลจากการคุมอาหารหรือใช้ยา และกลุ่มที่มีอาการได้ยินมีปัญหา การผ่าตัดเพื่อเอาครึ่งวงกลมในส่วนที่มีปัญหาออก (Endolymphaticsac Surgery) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

สมองในส่วนการทรงตัว ขาดเลือดเป็น ๆ หาย ๆ (Vertebro-basilar Insufficience)

อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หูชั้นในส่วนที่เป็นครึ่งวงกลมทำหน้าที่รับการทรงตัว จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังก้านสมอง (Brainstem) และสมองน้อยด้านหลัง (Cerebellum) ดังนั้นพยาธิสภาพอะไรก็ตาม เช่น สมองขาดเลือด สมองอักเสบบริเวณดังกล่าวก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกหมุน โคลงเคลงได้ สำหรับผู้ป่วยรายใดก็ตาม ถ้ามีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ตาเห็นภาพซ้อนเห็นคนเป็นสองหัว พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง แขนขาอ่อนแรงข้างเดียว หรือสองข้างมีอาการเดินเซจะล้มโดยที่ขายังมีแรงดี บ่งบอกว่าอาการบ้านหมุนจะต้องมาจากรอยโรคในระบบประสาทแน่นอน ส่วนใหญ่อาการจะเกิดเป็นนาทีแล้วก็จะดีขึ้น

 

  • ผู้ป่วยมักจะมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดมาก่อน ได้แก่ เบาหวาน, ความดัน, โลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, สูบบุหรี่จัด และอายุมาก

  • ทำไมต้องแยกว่าสาเหตุอยู่ที่หูหรือสมอง? เพราะ การรักษารวมไปถึงการพยากรณ์โรคต่างกันอย่างสิ้นเชิง โรคของหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องได้ยาป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบหรืออุดตัน โดยใช้ยาในกลุ่มยาต้านเกร็ดเลือดหรือต้านการแข็งตัวของเลือด ควบคู่ไปกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือด มิฉะนั้นหากปล่อยทิ้งไว้ ผู้ป่วยอาจเกิดอัมพาต  

 

http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/home/popup_cms_detail.php?id=389

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

15 วิธีสำหรับคนขี้เมา... เมารถ เมาเรือ เมาคลื่น

โดย....ปุ๊ย

 

 

การหลีกเลี่ยงอาการเมา

1. ข้อแรก ของตาย….กินยา แก้เมาสิคะ เช่น Dramamine (มีทั้งของไทย แผงละ 8 บาท และ ของนอก แผงละ 20 บาท จากประสบการณ์ แยกไม่ออกว่า อันไหนของไทยของนอก ของไทย แผงพลาสติกใสๆ ของนอก แผงสีเงิน) มียี่ห้ออื่น เช่น Bonine, Marazine (อาจจะไม่คุ้นหูนัก)

 

2. กินก่อนที่จะมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเมา ยาเหล่านี้ ใช้ป้องกัน ไม่ใช่รักษาอาการเมา ส่วนใหญ่เขาแนะนำให้กินอย่างน้อย 30 นาทีก่อน ออกทะเล หรือขึ้นเครื่อง

 

3. ใช้ Scopolamine patches อันนี้เป็นยาเหมือนกัน แต่ออกฤทธิ์ถึง 72 ช.ม. (3 วัน) ไม่ต้องกินกันบ่อยๆ ไม่รู้เมืองไทยมีขายหรือเปล่า เขาบอกว่าควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

 

4. ใช้ Sea Bands เป็นคล้ายๆ ผ้าพันข้อมือมีปุ่มๆ ที่จะทำให้โดนจุดอะไรไม่ทราบ (acupressure points) บนข้อมือของเรา ยังไม่มีผลพิสูจน์ทางการแพทย์ แต่ก็ได้ยินมานานแล้วว่าคนเขาใช้กัน หาซื้อได้ใน web site ทั่วไป (เท่าที่เห็น ในกรุงเทพฯ มีขายที่ร้าน Planet Scuba, The Terminal นะคะ ไปซื้อมาแล้วเหมือนกัน)

 

5. ยิ่งใหญ่ยิ่งดี (เรือ) คือว่ายิ่งเรือกว้างเท่าไร การแกว่งไปมาก็ยิ่งช้ากว่าเรือเล็ก ทำให้เมายากขึ้นหน่อย

 

6. อยู่บนดาษฟ้าเรือจะดีกว่า เพราะว่าทำให้เรามองเห็นไกลๆ มองเห็นขอบฟ้า มองไกลๆ เข้าไว้ ประสาทตา และหูส่วนกลางจะได้สัมพันธ์กัน หูส่วนกลางกำลังรับรู้ว่าเรือกำลังโคลงเพราะตัวเรามีการเคลื่อนไหวไปมา ถ้าอยู่ในห้องหรือใต้ท้องเรือตาของราจะบอกว่าเราอยู่นิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไว (มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่าเหตุหนึ่งของอาการคลื่นเหียน วิงเวียน คือ การที่ประสาทตา กับหู ไม่สัมพันธ์กัน เช่น ตาบอกว่าเราอยู่นิ่งๆ แต่ ประสาทหูบอกว่าเรากำลังเคลื่อนไหว)—งงไหมข้อนี้ สงสัย ต้องให้พวกที่เรียนสายแพทย์มาอธิบายหน่อยแหละ ดิฉันไม่ถนัดด้านนี้เลย

 

7. อย่าอ่านหนังสือ หรือ อ่านอะไรทั้งนั้นแหละ การให้สายตาเพ่งอยู่ที่จุดนิ่งๆ ใกล้ๆ จุดหนึ่ง ทำให้เมาได้ง่ายมาก ขึ้นอีก ดังนั้น ทำตาให้เหม่อลอย ดูฟ้า ดูนก มองไกลๆ เข้าไว้

 

8. ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่แคบๆ อยู่ในห้อง หรือนอน ควรหลับตาเสีย (แต่ก็ให้ปลอดภัยล่ะ) อันนี้ช่วยได้มาก เพราะสายตาจะไม่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวให้กับสมองของเรา

 

9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ ทั้งก่อน และ ระหว่างการเดินทาง

 

10. ทานอะไรนิดหน่อย (อันนี้แล้วแต่คนด้วยนะคะ) แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วการทานอะไรไปนิดหน่อยจะดีกว่าปล่อยให้ท้องว่าง เลือกอาหารที่ทานด้วย พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ เช่น พวกทอด, ผัด น้ำมันเยิ้มๆ

 

11. ทำตัวตามสบาย ยิ่งวิตกกังวล ยิ่งเครียด ยิ่งเมาง่ายขึ้นนะ จะ บอกให้

 

12. สังเกตอาการของตัวท่านให้ดี ถ้าเริ่มมีอาการ เช่น ตัวเย็นๆ, ปวดหัว, เรอบ่อยๆ ละก็ น่าจะขึ้นไปบนดาษฟ้าเรือ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดีๆ ลมพัดเย็นๆ ได้แล้ว

 

ถ้าเมาแล้ว ทำอย่างไรต่อไป บางครั้งหลีกเลี่ยงแล้วก็ยังไม่วายเมาอยู่ดี มี 3 วิธีแนะนำดังนี้

 

13. ถ้ารู้สึกว่าต้องอาเจียน ก็ อาเจียนเสียเถอะ ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งทรมาน โดยปกติเมื่ออาเจียนแล้วอาการก็จะดีขึ้น

 

14. พยายามอย่าอาเจียน ในห้องน้ำ ไปข้างๆ เรือ หาที่มั่นๆ และปลอดภัย จะดีกว่าแต่อย่าอยู่ต้นลม หรือใช้ถุง ถัง หรือ ถ้าไม่รู้ว่าจะไปอาเจียนตรงไหนดี ถามลูกเรือ ก็ได้ ไม่ต้องอายหรอก เพราะคุณคงไม่ใช่คนแรกที่อาเจียนในเรือของเขา

 

15. ขั้นสุดท้าย เอาชนะมันให้ได้ ในกรณีปกติ คนใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในการปรับตัว บางคนก็ใช้ 1-2 วัน มากที่สุด 3 วันสำหรับคนส่วนมากในโลกนี้

 

เทคนิคอื่นๆ ที่เพื่อนๆ ส่งมาให้............

 

ถ้ารู้ตัวว่าจะลงเรือไปผจญคลื่นลม ให้พักผ่อนไปให้มากๆ นอนไปให้เต็มอิ่ม จะเมาเรือน้อยกว่าคนที่อดหลับอดนอนไปลงเรือ

ส่วนถ้าเมาเรือแล้ว วิธีแก้ของผมก็คือ นอนหงายครับ นอนเลย อาการเมาจะหายไปภายในราวๆชั่วโมงนึง พอลุกขึ้นมาก็เมาต่อครับ อิๆๆๆ

 

อีกเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ มีผู้ใจดีคนหนึ่งส่งมาให้

(อันนี้ต้องลองไปทำดูกันเองนะคะ)

 

ปกติอันนี้เป็นเรื่องของความไวต่อการรับสัญญาณที่ส่งมาจากหู ซึ่งในแต่ละคนมีไม่เท่ากันครับ

แต่เราพอจะฝึกหรือพัฒนาประสาทให้ดีขึ้นได้

(ทางนาซ่าเค้าก็มีการฝึกฝนให้นักบินอวกาศของเค้านะครับ)

โดยการออกการบริหารบางท่าที่ส่งผลต่อประสาทการทรงตัวครับ

ท่าพื้นฐานที่ควรฝึกบ่อยๆก็คือ เริ่มจากนั่งตัวตรง(ห้อยขาด้วยจะถนัดหน่อยครับ) แล้วก็ตะแคงข้างลงนอน(ทางขวาหรือทางซ้ายก่อนก็ได้) แล้วก็ตั้งตัวกลับมาท่านั่งเหมือนเดิม ทำสิบครั้ง แล้วก็ทำอีกข้าง(ตรงข้ามกับเมื่อกี้)อีกสิบครับ

ทำให้ได้อย่างน้อยวันละสามเซ็ท (ถ้ายิ่งทำได้บ่อยยิ่งดีครับ ระวังละเมอลุกขึ้นนั่งตอนกลางคืนด้วยล่ะ)

จะช่วยให้ประสาทเราปรับตัวไวขึ้นช่วยให้เมายากขึ้นครับ

 

http://www.siamscubadiving.com/content/view.php?id=6&cat=article

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่า...อย่าทาแป้งตรงนั้น

 

 

 

การศึกษาใหม่พบ ว่า การทาแป้ง (talcum powder) "ตรงนั้น" สัปดาห์ละครั้งอาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุมดลูก (womb cancer) 24% [ Mailonline ]

----//----

 

กลไกที่อาจ เป็นไปได้ คือ ระบบสืบพันธุ์ผู้หญิงยอมให้ "อะไรๆ" ที่เล็กจิ๋ว เช่น อสุจิ (sperm) ฯลฯ ผ่านจากช่องคลอดไปยังปากมดลูก โพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ เพื่อให้เกิดการผสมกันระหว่างอสุจิ (ของคุณพ่อ) กับไข่ (ของคุณแม่) ได้

 

ขณะเดียวกัน... การเป็น "ประเทศเปิด" ให้อะไรๆ ผ่านไปได้ก็อาจทำให้ของที่เล็กจิ๋วอื่นๆ ผ่านไปได้ เช่น เชื้อโรคบางอย่าง ผงแป้ง ฯลฯ ผ่านไปได้เช่นกัน

 

...

 

ปัญหา คือ ผงแป้งที่ทา "ตรงนั้น" หรือบริเวณใกล้ช่องคลอด อาจผ่านเข้าไปภายในโพรงมดลูก และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจกระตุ้นการเกิดมะเร็งได้

 

ผู้เชี่ยวชาญประมาณการณ์ว่า ผู้หญิง 40% ทาแป้ง "ตรงนั้น" เป็นประจำ

 

...

 

ารศึกษาก่อน หน้านี้พบว่า การทาแป้ง "ตรงนั้น" อาจมีความสัมพันธ์กับมะเร็งรังไข่ได้

 

การศึกษาใหม่จากวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด บอสตัน สหรัฐฯ ติดตามพยาบาล 66,000 คนไปหลายสิบปี (เริ่มตั้งแต่ 1982 = พ.ศ. 1982+543 = 2525) พบว่า มีความเป็นไปได้ที่แป้งอาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้

 

...

 

กระบวนการเกิด มะเร็งน่าจะใช้เวลานานนับสิบๆ ปี คือ ทาตั้งแต่เด็กแล้วเป็นโรคหลังหมดประจำเดือน

 

การทาแป้ง "ตรงนั้น" เป็นประจำ (regular use) คือ ทาตั้งแต่ 1 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุมดลูก 24%

 

...

 

ถ้าทาทุก วัน... ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 41%

 

ผงแป้งทำจากแร่ธาตุแมกนีเซียม (hydrous magnesium silicate) ที่พบในธรรมชาติ นำไปทุบ ตากให้แห้ง แล้วบดใส่กระป๋องขาย

 

...

 

ทีนี้ถ้าไม่ กลัวมะเร็งเยื่อบุมดลูกแล้วโปะแป้งไปแรงๆ จนเกิดฝุ่นละอองในอากาศ หายใจเข้าไปในปอด... ฝุ่นแป้งจะตกค้างได้นานประมาณ 8 ปี ช่วงนี้จะเกิดการอักเสบเฉพาะที่ในปอดไปด้วย

 

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... บอกเป็นนัยว่า ถ้าจะทาแป้ง... ให้ทาเบาๆ อย่าโปะจนฟุ้งและหายใจเอาฝุ่นแป้งเข้าไป และอย่า... อย่าทาแป้ง "ตรงนั้ัน"

 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 

 

ที่มา                                                        

 

   *      Thank Dailymail.co.uk > Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention.

   *      นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 4 พฤษภาคม 2553.

 

http://www.thaiblogonline.com/health.blog?PostID=16265

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Transporting)

 

 

 

    การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้

1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว

    วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)

    วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน

 

 

028.jpg

 

ภาพที่ 28 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน

 

 

    วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม

029.jpg

ภาพที่ 29 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม

 

 

    วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี

    ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ

 

030.jpg

ภาพที่ 30 การลาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Transporting)

 

 

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน

 

    วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

031.jpg

ภาพที่ 31 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก

 

 

    วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้

 

    วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

032.gif

ภาพที่ 32 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่

 

 

    วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี

 

033.gif

ภาพที่ 33 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน

 

 

3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน

 

    วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียงหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ

   

วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้

         คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน

         คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น

         คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา

       

ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง

 

034.gif

ภาพที่ 34 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

 

    วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

 

    1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ

    2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ

    3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ

    4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า

    5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

 >ภาพที่ 35 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน

 

http://www.nurse.nu.ac.th/cai/firstaid024_2.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนน้ำอัดลมทำผิวเหี่ยวย่นก่อนวัย

:wacko: :excl:

 

งานวิจัยล่าสุดเตือน น้ำอัดลมอาจมีผลทำให้เกิดริ้วรอย

 

      เดลิเมล์ – เตือนการดื่มน้ำอัดลมอาจทำให้แก่ก่อนวัย หลังนักวิจัยพบฟอสเฟตในเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นสาเหตุให้ผิวหนังและกล้าม เนื้อของหนูทดลองเหี่ยว

     

       งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าฟอสเฟตที่ผู้ผลิตผสมลงไปเพื่อทำให้น้ำอัดลมมี รสเปรี้ยว อาจกระตุ้นภาวะสูงวัยได้

     

       แร่ธาตุชนิดนี้ที่ถูกเติมลงในเนื้อแปรรูป เค้ก และขนมปังด้วยนั้น มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อเหี่ยวย่น และอาจเป็นอันตรายต่อหัวใจและไต

     

       แม้เป็นการทดลองกับหนู แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ เชื่อว่าผลลัพธ์นี้แสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการดังกล่าวหากมีฟอสเฟต ปริมาณสูง

     

       เจอรัลด์ ไวส์แมน จากวารสารงานวิจัยฟาเซ็บที่ตีพิมพ์ผลวิจัยนี้ กล่าวว่างานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าสมดุลฟอสฟอรัสมีอิทธิพลต่อกระบวนการสูงวัย

     

       นี่อาจไม่ใช่การศึกษาชิ้นแรกที่กระตุ้นเตือนถึงความปลอดัยของน้ำอัดลมและน้ำ ผลไม้อัดลมที่คนนับพันล้านดื่มทุกวัน

     

       โรคกระดูกพรุน มะเร็งตับอ่อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอัมพาต ล้วนเชื่อมโยงกับน้ำอัดลม โดยเชื่อว่าการดื่มสัปดาห์ละแค่สองกระป๋องเพียงพอแล้วที่จะทำให้ความเสี่ยง ของอาการเหล่านี้เพิ่มขึ้น

     

       ในงานวิจัยล่าสุด ดร. เอ็ม. ชอว์แคต ราซแซค จากคณะทันตกรรม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาผลของฟอสเฟตที่เกิดกับหนูทดลอง 3 กลุ่มๆ แรกถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมให้มียีน klotho ซึ่งทำให้ระดับฟอสเฟตในร่างกายสูงกว่าปกติ

     

       ผลปรากฏว่าหนูกลุ่มนี้มีอายุเพียง 8-15 สัปดาห์ และมีปัญหาสุขภาพหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาวะสูงวัยก่อนเวลา

     

       หนูกลุ่มที่ 2 ไม่มี klotho ผลลัพธ์คือมีฟอสเฟตใกล้เคียงระดับปกติ มีชีวิตอยู่ 20 สัปดาห์

     

       กลุ่มสุดท้ายไม่มี klotho เช่นกัน แต่ได้กินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ปรากฏว่าหนูทั้งกลุ่มนี้ตายในสัปดาห์ที่ 15 เช่นเดียวกับกลุ่มแรก

     

       นักวิจัยสรุปว่า อาหารที่มีฟอสเฟตเป็นส่วนผสมมีอันตราย โดยเตือนว่าแร่ธาตุชนิดนี้อาจทำให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อเหี่ยวย่น รวมถึงกระตุ้นหรือทำให้ปัญหาโรคไตและหัวใจรุนแรงขึ้น

     

       “คนเราจำเป็นต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ และการรักษาสมดุลของฟอสเฟตในอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพและการมีชีวิตยืนยาว”

     

       อนึ่ง เมื่อต้นปี นักวิจัยอเมริกันพบว่าการดื่มน้ำอัดลมสัปดาห์ละ 2 กระป๋องขึ้นไปอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งตับอ่อนกว่าเท่าตัว

     

       อย่างไรก็ตาม สมาคมน้ำอัดลมอังกฤษได้ออกมาตั้งคำถามกับรายงานล่าสุด โดยระบุว่าไม่ได้เป็นการวิจัยโดยใช้น้ำอัดลมโดยตรง และว่าฟอสเฟตในน้ำอัดลมคิดเป็นเพียง 3% ของฟอสเฟตในอาหารโดยรวม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงยังสามารถดื่มน้ำอัดลมในปริมาณพอเหมาะพอดีได้ต่อไป

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000062508

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อดนอนเป็นประจำทำชีวิตสั้นลง

 

:ph34r: :blink:

 

นอนไม่พออาจทำให้ โอกาสในการเสียชีวิตภายใน 25 ปีมีมากขึ้นถึง 12%

     

เอเอฟพี – นักวิจัยเตือนคนที่นอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมง หรือมากกว่าคืนละ 9 ชั่วโมง มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

     

       งานศึกษาระบุว่าคนที่นอนคืนละไม่ถึง 6 ชั่วโมงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 12% ที่จะเสียชีวิตภายใน 25 ปี

     

       ศาสตราจารย์ฟรานเชสโก คาปุคชิโอ ผู้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์วิก อังกฤษ ระบุว่าการนอนน้อยอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และคลอเรสเตอรอลสูง

     

       

การศึกษาที่มหาวิทยาลัยวอร์วิกจัดทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเฟเดอริโกที่ 2 ในเนเปิลส์ อิตาลี ได้รวบรวมงานศึกษา16 ฉบับจากสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียตะวันออก ที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างกว่า 1.3 ล้านคน และพบหลักฐานชัดเจนของความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างการอดนอนกับการเสียชีวิต ก่อนวัย ซึ่งเชื่อว่ามาจากกลไกของฮอร์โมนและกระบวนการเผาผลาญอาหาร

     

       คาปุคชิโอกล่าวในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสลีปว่า ระยะเวลาในการนอนหลับเป็นปัญหาสาธารณสุข และควรได้รับการพิจารณาจากแพทย์ในฐานะที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

     

       “สังคมกดดันให้เราได้นอนหลับน้อยลงเรื่อยๆ” คาปุคชิโอกล่าวและเสริมว่าประชากรในสหรัฐฯ และอังกฤษประมาณ 20% นอนคืนละไม่ถึง 5 ชั่วโมง

     

       การนอนหลับต่ำกว่าคืนละ 6 ชั่วโมงเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าเกือบจะปกติในหมู่พนักงานเต็มเวลา บ่งชี้ว่าสาเหตุอาจมาจากความกดดันทางสังคมที่ต้องการชั่วโมงการทำงานที่ยาว นานขึ้นและการทำงานแบบกะ

     

       ในทางกลับกัน ความเสื่อมถอยของสถานะสุขภาพของเรามักมาพร้อมระยะเวลาการนอนที่นานขึ้น

     

       ผลศึกษายังพบความเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อคืนกับการเสียชีวิตก่อนวัย ทว่า คาปุคชิโอเชื่อว่า การนอนมากเกินไปน่าจะเป็นผลจากความเจ็บป่วยมากกว่าเป็นสาเหตุ

     

       “หมอไม่เคยถามคนไข้เลยว่านอนหลับได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งที่นี่อาจเป็นดัชนีบ่งชี้ความผิดปกติบางอย่างก็ตาม” คาปุคชิโอ ผู้อำนวยการโครงการการนอนหลับ สุขภาพและสังคมของมหาวิทยาลัยวอร์วิก สำทับ

     

       ทั้งนี้ งานวิจัยไม่พบผลแง่ลบจากการนอนหลับคืนละ 6-8 ชั่วโมงแต่อย่างใด และคาปุคชิโอมองว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริงว่าเหตุใดการนอนจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดี

     

       ศาสตราจารย์จิม ฮอร์น จากศูนย์วิจัยการนอนหลับลัฟโบโรห์ เสริมว่าอาจมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วยนอกเหนือจากการนอนหลับเพียงอย่างเดียว และการปรับปรุงพฤติกรรมการนอนอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้คนเรามีชีวิตที่ดีขึ้น หรือยืนยาวขึ้น กระนั้น การนอนคืนละไม่ถึง 5 ชั่วโมงไม่เพียงพอสำหรับคนส่วนใหญ่ และการง่วงเหงาหาวนอนตอนกลางวันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการประสบอุบัติเหตุขณะ ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรอันตราย

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000062511

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มหันตภัยร้ายกับมะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer

 

 

!_01

ต่อมลูกหมาก นั้นเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย  อยู่ล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น  มีรูปร่างลักษณะคล้ายเม็ดเกาลัด  หนักประมาณ 20-30 กรัม  หน้าที่ของมันคือผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำกามที่หลั่งออกมาตามปกติของท่านชาย ส่วนสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น  ยังไม่มีใครทราบ แต่มะเร็งนั้นเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากมากขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสพบได้ในผู้ชายอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป  และพบสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น

 

 

สำหรับประเทศไทย อุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในเพศชาย และพบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น คือช่วงระหว่างวัย  60 - 79 ปี  แนวโน้มพบมากขึ้น  เพราะคนไทยอายุยืนขึ้น  

 

มีรายงานทางการแพทย์หลายแห่ง พบว่าอาหารที่มีไขมันสูง อาจจะมีส่วนที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แล้วยังเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย  อย่างถ้าท่านมีบิดาที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก  โอกาสที่จะเป็นย่อมสูงกว่าคนปกติ

 

 

มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถป้องกันได้ไหม

           มะเร็งหลาย ๆ ชนิด ก็ไม่สามารถป้องกันได้ สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น แม้เราจะป้องกันไม่ได้  แต่สามารถระวังติดตามคอยตรวจอย่างสม่ำเสมอว่าเราเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือ ไม่

 

โดยเฉพาะท่านชายที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจต่อมลูกหมากประจำปีจากแพทย์    โดยขั้นต้นนั้น แพทย์จะซักถามอาการเกี่ยวกับระบบปัสสาวะของท่าน รวมทั้งตรวจคลำต่อมลูกหมากโดยการใช้นิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาด  รูปร่าง ความยืดหยุ่น และความแข็งของต่อมลูกหมาก   ซึ่งถ้าคลำได้ต่อมลูกหมากที่แข็ง ผิวขรุขระ  โอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นค่อนข้างสูง  

 

          จากนั้นแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อหาสารค่ามะเร็งของต่อมลูกหมากที่เรียกว่า PSA ( Prostate Specific Antigen)   สารนี้จะถูกผลิตออกมามากผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก  ถ้าระดับของPSA ในเลือดสูงกว่า

 

ปกติ   โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะสูงตามไปด้วย  ถึงตอนนี้แพทย์จะแนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป    เพื่อให้แน่ใจว่าท่านเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่

 

 

ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก prostate cancer ออกเป็น 4 ระยะ  โดยที่ในระยะเริ่มแรกนั้น มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่เมื่อมะเร็งขยายตัวมากขึ้นก็จะก่อให้เกิดการกดเบียดท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ  ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ต่อมาเริ่มปัสสาวะลำบากมากขึ้น ต้องเบ่ง ปัสสาวะไม่ออก อาจมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด   นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ    ในระยะท้ายๆ ของโรค มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง กระดูกและอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อสะโพก กระดูกซี่โครง หัวไหล่   นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และบางรายอาจจะเดินไม่ได้ เป็นอัมพาตเนื่องจากมีการหักของกระดูกสันหลังไปกดทับไขสันหลัง

 

ระยะมะเร็ง   ต่อมลูกหมาก

ระยะที่ 1

มะเร็งมีขนาดเล็ก อยู่ในต่อมลูกหมาก  การตรวจทางทวารหนักมักไม่ค่อยพบ

 

อาจพบได้อาการที่   ....ไม่มีอาการในระยะนี้

 

ระยะที่ 2

มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก

 

อาการที่อาจพบได้  ....ปวดปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง  

 

ระยะที่ 3

มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น จนอุดกั้นท่อปัสสาวะ และกระจายออกนอกต่อม สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก

 

อาการที่อาจพบได้......ปวดปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะลำบาก  ต้องเบ่ง บางครั้งปัสสาวะไม่ออก

 

ระยะที่ 4

ระยะที่ 4.1  มะเร็งลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองรอบๆ

 

ระยะที่ 4.2  มะเร็งลุกลามไปกระดูก  อวัยวะอื่นๆ

 

อาการที่อาจพบได้......ปวดปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก  ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง  ปวดกระดูก  น้ำหนักลด อ่อนเพลีย  อัมพาต

 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาตามระยะอาการของโรค มีดังต่อไปนี้

ระยะเริ่มแรก  คือมะเร็งระยะที่ 1 และ 2   ระยะนี้เนื้อมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมาก ยังไม่แพร่กระจาย   เราสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้  โดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ

   * การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมด ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้มาตรฐาน มักใช้ในผู้ป่วย

ที่มีอายุไม่มาก  ปัจจุบันนี้สามารถทำการผ่าตัดได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง  หรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยใช้กล้องเจาะผ่านช่องท้อง (Laparoscopic surgery)   ในปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์จากทั่วโลกถึงผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ รักษาด้วยวิธีใช้กล้องแล้วเกือบ 10,000 ราย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี  

 

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยกล้องมีหลายประการเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิด คือ เจ็บแผลน้อยกว่า เนื่องจากเป็นแผลเจาะรู เสียเลือดน้อย  ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัด  การตัดเลาะต่อมลูกหมากสามารถทำได้ละเอียดแม่นยำ เนื่องจากเห็นภาพขยายทางกายวิภาคของท่อปัสสาวะและใยเส้นประสาทจากการ ส่องกล้องได้ดีและชัดเจนกว่า

 

อย่างไรก็ตามข้อเสียของการผ่าตัดไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปิดหรือผ่าตัด ส่องกล้องก็ตามคือ หลังผ่าตัด  ผู้ป่วยอาจสูญเสียการควบคุมปัสสาวะไปชั่วคราว หรือมีภาวะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์

 

  * การรักษาทางรังสี

เป็นการฉายรังสีเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง หรือ  โดยการฝังแร่เข้าไปที่บริเวณต่อมลูกหมาก มักใช้ในผู้ป่วยที่อายุมาก หรือมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  ไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดได้วิธีนี้มีข้อดีคือ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด โอกาสสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศอาจจะน้อยกว่าการผ่าตัดเอา ต่อมลูกหมากออกแต่ในระยะยาว ความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศก็ไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับการ รักษาโดยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามอาจมีผลแทรกซ้อนเนื่องจากการฉายรังสี นั่นคือ ปัญหาการอุจจาระบ่อย   เกิดการระคายเคืองที่ทวารหนัก   ปัสสาวะลำบาก  และปัสสาวะบ่อยร่วมได้  

 

ระยะกลาง   คือระยะที่  3  เนื่องจากระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามทะลุออกนอกเปลือกของต่อมลูกหมากแล้วและบาง ครั้งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบ ๆ   การรักษาจึงจำเป็นต้องใช้วิธีผสมผสานที่มากกว่า 1 วิธี เช่น อาจใช้การผ่าตัดร่วมกับการฉายแสง และหรือให้ยาทางด้านฮอร์โมน  ซึ่งวิธีเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับระยะที่แน่นอนของโรค อายุของผู้ป่วย และที่สำคัญคือดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งต่อมลูกหมาก    การมุ่งหวังให้หายขาดในกลุ่มนี้จะน้อย  แต่จะมีโอกาสได้บ้าง ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกเปลือกต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

 

ระยะแพร่กระจาย คือระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว การมุ่งหวังรักษาให้หายขาดจึงเป็นไปได้ยาก แต่เนื่องจากธรรมชาติของมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่โตช้า   ดังนั้นแม้จะเป็นมะเร็งที่ลุกลามไปแล้ว ถ้าให้การรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการดีขึ้น หรือยืดระยะเวลาของการแพร่กระจาย หรือการเสียชีวิตออกไปได้พอสมควร  

 

การรักษาที่นิยมคือ ตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง หรือบางรายอาจให้ยาต้านฮอร์โมนเพศชายร่วมด้วย ซึ่งยาเหล่านี้จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้  นอกจากนี้ยังอาจให้การรักษาผสมผสานร่วมเป็นกรณีไป เช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดกระดูก เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปที่ตำแหน่งใด อาจใช้การฉายรังสีรักษาเฉพาะที่เพื่อลดอาการเจ็บปวดก็เป็นได้

 

 

-----------------------------------------------------------

http://www.thaiprostateclinic.com/modules.php?name=News&file=article&sid=6

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมยังกะเคยอ่านเจอมาว่าถ้ากินมะเขือเทศมากหน่อยจะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

แต่พอหาข้อมูลใหม่กลับเจอไอ้นี่  งง ตายห่ะ

 

ผลการศึกษาใหม่พบว่า การรับประทานมะเขือเทศไม่ได้ช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่กลับพบว่าเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คุณสมบัติใกล้เคียงกับไลโคปีนในมะเขือเทศมีความเชื่อมโยง กับความเสี่ยงที่มะเร็งต่อมลูกหมากจะลุกลาม

 

ดร.อูลริค ปีเตอร์ส จากศูนย์วิจัยมะเร็ง เฟรด ฮัทชิสัน ในเมืองซีแอตเติลของสหรัฐฯ เผยผลการศึกษาที่แย้งกับการศึกษาบางชิ้นก่อนหน้านี้ที่ว่า ไลโคปีนในมะเขือเทศช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เขาศึกษาผู้ชาย 28,243 คน อายุ 55-74 ปี ที่ไม่มีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน เก็บตัวอย่างเลือด และให้ทำแบบ สอบถามเรื่องสุขภาพและการใช้ชีวิต ผลการติดตามศึกษาเป็นเวลา 8 ปี พบว่ามี 692 คน เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เทียบกับคนในวัยเดียวกันและใช้ชีวิตใกล้เคียงกัน 844 คนที่ไม่เป็น เมื่อวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดไม่พบว่าทั้งสองกลุ่มมีระดับไลโคปีนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่า ไลโคปีนไม่ช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้

 

ดร.ปีเตอร์สเผยด้วยว่า การศึกษาครั้งนี้ยังพบสิ่งเหนือความคาดหมายว่า ความเสี่ยงที่มะเร็งต่อมลูกหมากจะลุกลามเพิ่มขึ้นตามระดับเบต้าแคโรทีนที่เพิ่มขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ทราบกันเพียงว่าเบต้าแคโรทีน เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดและโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้สูบบุหรี่ อย่างไร ก็ดี ยังจะไม่แนะนำให้ประชาชนเลิกรับประทานแครอทและผักใบเขียว ซึ่งอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน แต่จะเตือนเรื่องการรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานในปริมาณมาก ผู้ที่จะรับประทานควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...