ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานมีอะไรบ้าง

:excl: :o :wub:

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมามากกว่า 10 ปี พบว่าหากเป็นเบาหวานนาน 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสต้องถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11

เป็นชาย เสี่ยงกว่าเพศหญิง

คุมเบาหวานไม่ดี น้ำตาลสูงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี

การสูบบุหรี่

มีโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ

พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมทั้งมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงยังเท้า

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน

 

1..มีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้า

 

2..มีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบ การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้นเมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า(Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น

 

3..การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลสามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า

 

4..มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี

 

5..มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical

รูปแสดงการติดเชื้อรูปแรกเล็บขบจนเกิดการติดเชื้อ รูปกลางเป็นเชื้อราที่ซอกนิ้ว รูปขวาเป็นเชื้อราที่เล็บ

 

a6.jpgtinea.jpgtoenails.jpg

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/diabetes_foot.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Tricep Dip ท่ากระชับท้องแขน Emoticon_002_Tzuki.gif

 

 

ท่าออกกำลังกายท่านี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่ไม่ ค่อยมีเวลาฟิตแอนด์เฟิร์มร่างกาย โดยเฉพาะหนุ่มสาวออฟฟิศที่วันๆ อิริยาบถหลัก คือ การนั่งทำงาน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังนั่งเมื่อยอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ และกำลังมองหาวิธีการยืดเส้นยืดสายแบบสนุกๆ แถมช่วยกระชับกล้ามเนื้อให้แลดูเป็นสปอร์ตแมน สปอร์ตเลดี้อีกด้วย

 

ท่า Tricep Dip นี้ต้องใช้อุปกรณ์เล็กน้อย อาจจะเป็นเก้าอี้ หรือพื้นที่ต่างระดับเช่นขั้นบันได แต่หากใช้เก้าอี้ควรเป็นเก้าอี้ที่ไม่มีล้อเลื่อน เพราะไม่มั่นคงและอาจล้มได้ วิธีการทำก็ไม่ยาก แค่เลื่อนสะโพกให้พ้นเก้าอี้แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างยันตัวขึ้น ท่านี้จะช่วยกระชับกล้ามเนื้อไตรเซปที่แขนด้านหลัง เพิ่มอีกนิดว่าท่านี้เหมาะกับคุณผู้หญิงที่กำลังประสบปัญหาท้องแขนห้อย ทำสม่ำเสมอทุกวันวันละ 20 นาที รับรองกระชับ Emoticon_051_Olympic2008.gifEmoticon_011_Olympic2008.gifEmoticon_053_Olympic2008.gifEmoticon_024_Olympic2008.gif

 

 

 

26_200908131011051..jpg

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3 ท่าฟื้นฟูข้อเท้าแพลง

 

anothersidebloggang0d70.jpg

"โอ๊ย...ปวด ข้อเท้าจัง เมื่อวานไปตีแบดกับเพื่อน ๆ แต่รีบมากไปหน่อยจึงไม่ได้อบอุ่นร่างกาย

แถมยังเจอพื้นลื่น ๆ อีก ทำให้ข้อเท้าพลิก แย่จังอดเล่นกีฬาไปอีกหลายอาทิตย์เลย"

 

ข้อเท้า เคล็ด หรือข้อเท้าแพลง เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันซึ่งพบได้บ่อย

ส่วนใหญ่เกิด จากเดินสะดุด หกล้ม หรือลงน้ำหนักขาผิดท่า

ส่วนคนที่เล่นกีฬาก็พบได้ บ่อยจากการวิ่งหรือปะทะกันแล้วล้ม

 

นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อ รักษาอาการบาดเจ็บแล้ว

การบริหาร 3 ท่าต่อไปนี้ ยังสามารถป้องกันการเป็นซ้ำอีก เพราะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เริ่มต้นง่าย ๆ จาก

 

★ ท่าที่ 1 ยืนแยกขาตามสบาย แล้วเขย่งเท้าขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยไม่ให้เสียการทรงตัว แล้วกลับที่เดิม ทำซ้ำ 20 ครั้ง

 

★ ท่าที่ 2 ยืนด้วยส้นเท้า ยกปลายเท้าขึ้นจากพื้น เดินรอบห้องด้วยส้นเท้าเป็นเวลา 2-3 นาที

 

★ ท่าที่ 3 ต่อจากนั้นเดินด้วยข้างเท้าด้านในและด้านนอกสักพักหนึ่ง

 

เพียง เท่านี้ก็ช่วยฟื้นฟูข้อเท้าของคุณ ให้พร้อมกลับมาเล่นกีฬากันต่อได้แล้วค่ะ

 

ข้อมูล จาก ชีวจิต

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/68698

ภาพจาก : http://fotosa.ru

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำเลือดเทียมทำงานได้ เหมือนอย่างเลือดแท้ เพาะขึ้นจากสายรกเด็ก

 

:excl: :angry: :lol:

 

300.jpg

 

แผนกวิจัยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้คิดค้นทำเลือดเทียมซึ่งมีคุณสมบัติไม่แพ้ของจริงขึ้นได้ และมั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้นำไปใช้ในแผนกคนไข้ฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลทุกแห่งได้

 

วารสารข่าววิทยาศาสตร์ "ป๊อปปิวล่าร์ ไซแอนต์" ของสหรัฐฯ ได้รายงานว่า นักวิจัยได้สร้างเลือดเทียมขึ้นจากเซลล์ที่ได้มาจากสายรก และนำมาเข้าเครื่องเลียนแบบกับที่ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงที่ใช้ประโยชน์ ได้จำนวนมากขึ้น

 

บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ "อาทีรีโฮไซต์" ที่อเมริกา ซึ่งได้รับอนุญาต ให้ผลิตขึ้นในปริมาณมาก อ้างว่า มันสามารถไหลเวียนในร่างกายได้เช่นเดียวกับเม็ดโลหิตแดงตามธรรมชาติอย่างไรอย่างนั้น สามารถใช้ตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อสำรองไว้กันเลือดขาดมือ ในการผลิตนั้นรกสายหนึ่งจะสามารถนำไปผลิตโลหิตได้ถึงประมาณ 20 ยูนิต ทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบปกติต้องให้เลือดประมาณคนละ 20 ยูนิต

 

http://www.thairath.co.th/content/life/95888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การบริหารเท้า

 

TLC_61-20080422_RabitZaa.gif

 

 

ตารางการบริหารเท้าควรทำทุกวันเพื่อ เพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ขา

 

 

1.jpg

การเดินควรจะเดินวันละ 1/2-1ชั่วโมงควรจะเริ่มจากน้อยแล้วค่อยเพิ่มเวลา

 

d2.jpg

การยืดกล้ามเนื้อน่องโดยการยืนห่างกำแพงเท้าแยกกันเล็กน้อย ส้นเท้าติดพื้น งอข้อศอกพร้อมกับโน้มตัวไปติดกำแพง ทำวันละ10ครั้ง

 

d5.jpg

นั่งเก้าอี้ กอดอก ลุกขึ้นนั่งและยืนวันละ 10 ครั้ง

 

d6.gif

นั่งบนพื้น ตัวเอนไปข้างหลังสลับเท้ากลับไปกลับมาหลายๆครั้ง

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

d7.gif

 

บริหารปลายเท้า ยืนเอามือเกาะเก้าอี้แขย่งเท้าที่ละข้างสลับกัน

 

d8.gif

ยืนเขย่งเท้าขึ้นลงประมาณ 20 ครั้ง

 

d3.jpg

บริหารปลายเท้า ยืนเอามือเกาะเก้าอี้แขย่งเท้าที่ละข้างสลับกัน

 

d4.jpg

งอเข่า มือจับขอบเก้าอี้ลุกขึ้นยืนและนั่ง 10 ครั้ง

 

d9.jpg

เดินขึ้นบันไดในลักษณะเท้าแขย่ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวานและการรับประทานอาหาร

:huh: :blink: :blush:

 

แนวทางการรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย

 

หลักการควบคุมง่ายๆในการคุมอาหาร

* รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

* รับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารพวกแป้งเป็นบางมื้อ

* รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ

* รับประทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดเป็นประจำ

* ดื่มนมให้พอเหมาะกับวัย

* หลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มัน และเค็ม

* รับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างหนึ่งมื้อ และรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ห้ามงดอาหาร

* รับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อที่รางกายจะได้รับสาร อาหารอย่างเพียงพอ โดยพิจารณาจากภาพให้รับประทานอาหารได้มากบริเวณฐาน และรับประทานน้อยบริเวณยอดสามเหลี่ยม

* รับประทานไขมันให้น้อย เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงการทอดใช้การย่าง อบ ต้ม หรือเผาแทนการทอด

* รับประทานน้ำตาลให้น้อยลง ก่อนรับประทานอาหารให้อ่านสลากอาหาร และหลีกเลี่ยง sucrose,dextrose,fructose,corn syrup หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาล หลีกเลี่ยงคุกกี้ เค้ก ลูกอม

* หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม โดยการเติมเกลือให้น้อย หลีกเลี่ยงอาหารกระป่อง ให้ชิมรสอาหารก่อนปรุง

* หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

 

pyramid.gif

 

การควบคุมอาหาร Medical nutrition therapy(MNT) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องสามารถที่จะวางแผนในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้อย่างเหมาะ สม เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นการรักษาที่สำคัญใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารคือ

1. รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดโดยการ ปรับให้เกิดความสมดุลระหว่างกับยาที่ใช้คุมเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นยาฉีดหรือยารับประทาน

2. เพื่อป้องกันโรคที่พบร่วมกับเบาหวานได้แก่

 

* ไขมันในเลือดสูง

* ความดันโลหิตสูง

 

เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนได้แก่ หลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะหมดสติจากน้ำตาลต่ำหรือสูง

 

ต้องได้รับพลังงานเพียงพอที่จะรักษา ระดับน้ำหนักให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตในเด็ก เพียงพอสำหรับที่จะตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพียงพอที่จะใช้ต่อสู้กับภาวะเครียดต่างๆ

 

ส่งเสริมสุขภาพให้ดีที่สุด

 

เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควร เป็น ถ้าเป็นเด็กต้องให้ได้พลังงานที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

 

เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติ

 

แผนการควบคุมอาหารให้ปรับเป็นรายๆขึ้น อยู่กับสภาพของโรค มี insulin resistant หรือไม่ อายุ น้ำหนัก ยาที่รับประทาน พฤติกรรมการบริโภค ตารางข้างล่างเป็นเป้าหมายในการคุมเบาหวานโดยคุมอาหาร

 

หลักการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

การควบคุมอาหารในปัจจุบันไม่ได้เข้มงวดเหมือนในอดีต ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารต่างๆได้เหมือนปกติ แต่อาจจะต้องดัดแปลงหรือจำกัดปริมาณเพื่อให้เหมาะสมกับโรคปัจจัยที่เราจะ ต้องนำมาพิจารณาได้แก่

 

1. ปริมาณพลังงานที่ได้รับ

 

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าการกินน้ำตาลมากจะทำให้น้ำตาลใน เลือดสูง ผเมื่อเจาะเลือดตรวจพบน้ำตาลว่าสูงผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักจะบอกว่าช่วงนี้ไม่ ได้รับประทานหวานเลยทำไมน้ำตาลยังสูงอยู่ ความจริงระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหนมิได้ขึ้นกับปริมาณน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต์ แต่ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ หากรับมากเกินความต้องการของร่างกายระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระวังอาหารมันซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำตาลในเลือดและ ไขมันในเลือดสูง

 

* พลังงานที่ได้ควรเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและ เพียงพอในการคงสภาพน้ำหนัก คนที่อ้วนควรจะจำกัดพลังงานร่วมกับการออกกำลังกาย คนผอมควรจะได้รับพลังงานเพิ่มเพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ คนที่ทำงานใช้แรงมากก็ควรจะได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ

* พลังงานที่ได้ขึ้นกับสภาพน้ำหนัก และกิจกรรมในแต่ละวัน

* โดยทั่วไปประมาณ20-45 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กก.

 

1. ปริมาณคาร์โบไฮเดรต์ที่ได้รับ

 

คาร์โบ"ฮเดรต์หมายถึง อาหารพวกแป้งซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น น้ำตาล ( sugar) อาหารพวกแป้ง(starch ) ใยอาหาร (fiber)น้ำตาลชนิดอื่น (sucrose,fructose,lactose) จากการศึกษาพบว่าไม่ว่าจะรับประทานอาหารพวกแป้งชนิดไหนก็สามารถทำให้น้ำตาล ขึ้นได้ใกล้เคียงกัน ขึ้นกับปริมาณของแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต์ที่ได้รับ ลบ ล้างความเชื่อที่ว่ารับประทานผลไม้แล้วน้ำตาลไม่ขึ้น หรือรับประทานอาหารที่มีใยมากแล้วน้ำตาลไม่เพิ่ม

 

Glycemic index.

เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าอินเด็กเท่ากับร้อยหมายความว่าดูดซึมได้เท่ากับอาหารมาตรฐาน ถ้าต่ำกว่า 100ก็แสดงว่าดูดซึมได้น้อยกว่าอาหารมาตรฐาน ถ้าสูงกว่า 100 แสดงว่าอาหารนั้นดูดซึมได้ดีกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีค่าอินเด็กต่ำ

ชนิดอาหาร ค่าอินเดกซ์

ขนมปังขาว 110

ข้าวเหนียว 106

ข้าวจ้าว 100

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 76

ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ 75

มะกะโรนี สะปาเก็ตตี 64-67

วุ้นเส้น 63

ทุเรียน 62.4

สัปปะรด 62.4

ลำไย 57.2

ส้ม 55.6

องุ่น 53.1

มะม่วง 47.5

มะละกอ 40.6

กล้วย 38.6

 

ดังนั้นผลไม้ที่ควรจะรับประทานได้แก่กล้วยและมะละกอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวานและการออกกำลังกาย

 

 

หลักการออกกำลังกายอย่างง่าย

 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจนเกิดภาวะแทรกซ้อน การรักษาที่สำคัญของโรคเบาหวานประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การใช้ยาลดน้ำตาล การดูแลตัวเอง

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย02.gif

 

 

* การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักลด

* คนที่ไม่เคยออกกำลังกายให้เริ่มทีละน้อย โดยเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินไปทำงาน การใช้บันไดแทนบันไดเลื่อน หรือการทำสวน เมื่อท่านแข็งแรงขึ้น ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง

* เลือกกิจกรรมที่ท่านมีความสุข เช่นเต้นรำ และควรออกกำลังร่วมกับครอบครัว

 

คนปกติเวลาออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้ glycogen,triglyceride,free fatty acid และ glucose เป็นพลังงานร่างกายจะปรับตัวมิให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำโดยการลดการหลั่ง insulin เพิ่มการหลั่ง glucagon ในระยะเริ่มต้น เพิ่มการหลั่ง adrenalin ในระยะต่อมา ผลทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลอย่างเหมาะสมไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

 

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งกลไกการหลั่งฮอร์โมนเสียไปกล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ารักษาไม่ดีได้รับ insulin ไม่พอ เวลาออกกำลังกายมีการหลั่ง adrenalin มาก ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกิดภาวะ ketoacidosis ได้ง่าย และในทางตรงกันข้ามหากได้ insulin มากเกินไปจะเกิดภาวะน้ำตาลค่ำ [hypoglycemia] ได้ง่าย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองภาวะดังกล่าวพบได้น้อย

 

ประโยชน์จากการออกกำลังกาย04.gif

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ประโยชน์ดังนี้คือ

 

1. ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

2. ทำให้น้ำหนักลดลง

3. ทำให้การคุมเบาหวานดีขึ้นเนื่องจากการเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน [insulin sensitivity] หลังออกกำลังกาย 48 ชั่วโมงร่างกายยังไวต่อ insulin หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อ insulin ดีขึ้นโดยที่น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง

4. สามารถลดยาฉีด insulin หรือ ยากิน

5. เพิ่มคุณภาพชีวิต

 

ข้อแนะนำการออกกำลังกายกับเบาหวานชนิดที่หนึ่ง05.gif

 

* ไม่ควรออกกำลังกายถ้าน้ำตาลตอนเช้ามากกว่า 250มก.%

* ให้กินน้ำตาลถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า100มก.%

* ตรวจน้ำตาลก่อนและหลังออกกำลังกาย

* เตรียมน้ำตาลไว้ขณะออกกำลังกาย

* ปรับการฉีด insulin และอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ

 

แนวทางออกกำลังกายอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวาน06.gif

 

* ปรึกษาแพทย์และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด

* ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ

* ควบคุมน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป คือไม่เกิน 250 มก.%ในเบาหวานชนิดที่1 ไม่เกิน 300 มก.%ในเบาหวานชนิดที่2

* เรียนรู้อาการ และวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

* ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ

* ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง

* ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีด insulin แนะนำให้เลี่ยงการออกกำลังกายช่วงขณะที่ยาออกฤทธิ์สูงสุด และไม่ฉีด insulin บริเวณที่ออกกำลังกายให้ฉีดบริเวณหน้าท้องแทน

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ให้ลดขนาดยาลง 30-35%

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ร่วมกับออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting ให้ลดหรืองด short-acting insulin และลด intermediate-acting intermediate-acting ลง1/3

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting insulin ให้ลดยาฉีดก่อนออกกำลังกาย

* ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีน้ำตาลติดตัว

* ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย

 

สรุปแนวทางออกกำลังกาย01.gif

1. จะต้องออกกำลังกายจนรู้สึกหัวใจเต้นหรือเหงื่อออก หรือจับชีพขจรได้ 60-80%ของอัตราเต้นสูงสุด

2. จะต้อง warm up cool down อย่างละ 5 นาทีโดยต้องออกกำลังวันละ 20-40 นาที

3. วิธีการออกกำลังอาจทำได้โดย การวิ่งอยู่กับที วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ

4. ออกกำลังกายวันละครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

5. แนะนำให้ออกช่วงเย็น

6. เริ่มต้นออกกำลังแบบเบาๆก่อน และเพิ่มขึ้นเมื่อท่านแข็งแรงขึ้น

7. พยายามออกกำลังเวลาเดียวกัน สำหรับผู้ที่ฉีดอินซูลินควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด

8. อินซูลินควรจะฉีดที่หน้าท้อง

9. ไม่ควรออกกำลังกายหลังอาหารมื้อหนักโดยทันที

10. งดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกไม่สบาย

11. จับชีพขจรขณะออกกำลังกาย และควบคุมมิให้การเต้นของหัวใจเกินเป้าหมาย

12. ควรออกกำลังกายเป็นกลุ่ม

13. พกบัตรประจำตัวว่าเป็นเบาหวาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การป้องกันโรคเบาหวาน

 

:blush: :lol: :ph34r:

 

 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั่ว โลก และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี เมื่อเป็นเบาหวานระยะหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นทางระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไตเป็นต้นซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวานจะเป็นหนทางที่จะลดการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรก ซ้อน

 

มียาหลายชนิดออกสู่ท้องตลาดแต่โรคแทรกซ้อนก็ยังไม่ได้ลดเท่าที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะควบคุมโรคเบาหวานอย่างเคร่งครัด ก็ยังเกิดโรคแทรกซ้อน จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ให้ความสนใจว่าการรักษาโรคเบาหวานนั้น สายเกิดไปหรือไม่ หากจะให้ได้ผลดีก็น่าจะป้องกันโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาล 110-125 ม.%จัดเป็นภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน ในกลุ่มนี้ก็มีหลักฐานว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

 

มีรายงานการป้องกันโรคเบาหวานออกมา 4 รายงานโดย 2 รายงานจะใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยให้ลดน้ำหนักลง 5-8% ลดปริมาณไขมันที่รับประทานลงเหลือไม่เกิน 30% ลดไขมันอิ่มต่ำน้อยกว่า 10% เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารมากกว่า 15 กรัม/วัน ออกกำลังกายมากกว่า 150 นาที/สัปดาห์ ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดเบาหวานลงได้ร้อยละ 58 ส่วนอีก 2 รายงานใช้ยาในการป้องกันโรคเบาหวานผลสามารถลดอัตราการเกิดได้ร้อยละ 36-56 % จากรายงานดังกล่าวซึ่งได้ผลดีจึงได้กำหนดแนวทางในการป้องกันโรคเบาหวาน

 

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน

 

1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นโรคเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัวและประเทศ

2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100-125 มก.%จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงมาก

3. มีการตรวจหาภาวะ prediabetic ซ่ึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มากและสามารถบ่งชี้การเป็นโรคเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือดและการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test

4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพหากดูแลตัวเองได้ดี จะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 58

5. ค่าใช้จ่ายในการคัดกรองไม่แพง

 

ใครเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ประเทศอเมริกาเรียก prediabetes หมายถึงภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน)

 

จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมาสรุปว่ากลุ่มที่มีลักษณะดังนี้ต้องเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นกลุ่ม prediabetes หรือไม่

1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและดัชนีมวลกายมากกว่า 25 การคำนวนดัชนีมวลกายคลิกที่นี่

2. ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25และพบภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย

 

* ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน

* ความดันโลหิตสูง

* ไขมันในเลือดสูง

* เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับชาวเอเชียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย 23

 

วิธีการตรวจ

 

1. เจาะเลือดตรวจน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีระดับน้ำตาล 10-125มก.%ถือเป็น prediabetes

2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานน้ำตาลอยู่ระหว่าง 140-200 มก%ถือเป็น prediabetes

 

หากว่าท่านได้รับการตรวจแล้วจัดเป็น prediabetes ท่าน ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังนี้

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

 

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ

1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

 

* ลดน้ำหนักลงให้ได้ 5-7 %จากน้ำหนักเบื้องต้นโดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 สำหรับชาวเอเชีย)

* ออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์โดยการเดินเร็วๆและแกว่งแขนแรง

 

2. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยาเพื่อป้องกันเบาหวาน 3 ชนิดคือโดยการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง

 

* Metformin สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 31ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยอายุน้อย 20-44 ปีและอ้วนดัชนีมวลกายสูง

* Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32

* Troglitazone สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56

 

การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการเปลี่ยนพฤติกรรม

แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อนเนื่องสามารถการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 58%ขณะที่ใช้ยาลดได้เพียง 36% และการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดในขณะที่การใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต้องใช้ต่อเนื่องอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาในอนาคต

 

สรุป

 

1. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานท่านต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจว่าท่านเป็นภาวะ prediabetes หรือไม่

2. หากท่านเป็น prediabetes ท่านจะต้องออกกำลังกายวันละ 30 นาที 5วันต่อสัปดาห์

3. ท่านต้องคุมอาหารเพื่อให้น้ำหนักลดลง 5-7%

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/prediabetes.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับทุกท่านค่ะ.....childbirth ......

 

http://www.youtube.com/watch?v=duPxBXN4qMg&feature=related

 

ใกล้ถึงวันแม่แล้วค่ะ.....

 

http://www.youtube.com/watch?v=XmBQ3Wsnq5Q

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝากคุณหมอค่ะ....

 

AMAZING DOG BIRTH!!

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคลีเจียนแนร์” ป้องกันได้ สธ.แนะโรงแรมหมั่นทำ"ล้างแอร์"

 

553000010842001.JPEG

สธ.แนะนำผู้ประกอบการ โรงแรมโดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว เพิ่มมาตรการทำความสะอาดระบบแอร์ป้องกันโรค “ลีเจียนแนร์” โดยหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ถาดรองแอร์ หัวก๊อกน้ำในโรงแรมอย่างน้อยทุก 6 เดือน

 

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สำนักระบาดวิทยา รายงานข้อมูลตั้งแต่ปี2547-2553 มีรายงานชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ป่วยเป็นโรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires Disease) จำนวน 15 ราย แต่ไม่พบรายงานโรคในคนไทย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าลีเจเนลลา นิวโมฟิลา (Legionella pneumophila) ซึ่งอาจพบได้ในระบบแอร์รวม โดยเฉพาะหอผึ่งเย็นระบบน้ำที่ขาดการดูแลทำความสะอาดตามมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขเน้นความสำคัญแม้จะมีผู้ป่วยไม่มากและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ โรคนี้ส่วนใหญ่มักพบในนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวยุโรปที่อยู่ในประเทศเขตหนาว ที่เดินทางมายังประเทศในเขตร้อน ทั้งในเขตอเมริกาใต้ เอเชีย และอาฟริกา เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคที่พบในพื้นที่เขตร้อนต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เหนื่อย ไอ หอบ ปอดบวม อาจเสียชีวิตได้ สวนในคนไทยมีโอกาสเกิดโรคนี้น้อยและยังไม่มีรายงาน

 

นพ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดดูแลเฝ้าระวังโรค ดังกล่าวตามโรงแรมที่พัก โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อดำเนินการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลาตามมาตรฐานที่กำหนดตามพระราชบัญญัติ สาธารณสุข โดยโรงแรมจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้คือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมใน โรงแรมที่พัก ระบบเครื่องปรับอากาศเพื่อทำลายเชื้อ และติดตามประเมินผลเพื่อให้การทำลายเชื้อโรคได้ผลดีที่สุด

 

ด้านนพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่เป็นโรคใหม่แต่อย่างใด พบได้ทั่วโลกและตลอดทั้งปี ไม่ติดต่อจากคนสู่คน เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ มีระยะฟักตัวประมาณ 5-6 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มจากเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และปวดหัว อาการจะมี 2 ชนิดคือชนิดไม่รุนแรง เป็นแล้วหายได้เองไม่ต้องรักษา และชนิดรุนแรงทำให้ปอดอักเสบหรือปอดบวม โดยจะมีไข้ ไอ และหอบ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้คือผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง รวมทั้งโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ ทั้งนี้ เชื้อลิเจียนแนร์ เป็นแบคทีเรียที่พบได้เฉพาะในที่บริเวณชื้นแฉะ และพบในแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นในพื้นที่จำกัด เช่น หอผึ่งเย็น ถาดรองแอร์ หัวก๊อกน้ำ น้ำพุที่มีลักษณะเป็นละอองน้ำฝอยเล็กๆ เป็นต้น ในการป้องกันโรค ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการโรงแรมที่พัก หมั่นล้างทำความสะอาดแอร์ภายในอาคาร หอผึ่งเย็น ถาดรองแอร์ ถังกักเก็บน้ำ ขัดล้างหัวก๊อกน้ำด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก อย่างน้อยทุก 6 เดือน

 

http://www.manager.co.th/QOL/default.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...