ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

ไวรัสไข้หวัดนกหรือไวรัสสายพันธุ์ H5N1

 

 

ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อ ได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย

 

ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1

 

สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไว้ว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้

 

1. บอก type ว่าเป็น type A, B หรือ C

2. ชนิดของสัตว์ที่แยกเชื้อไวรัสได้ ถ้าแยกได้จากมนุษย์ไม่ต้องบอก

3. สถานที่แยกเชื้อไวรัสได้ มักเป็นชื่อเมืองหรือประเทศ

4. ลำดับของเชื้อที่แยกได้ในปีนั้น

5. ปี ค.ศ. ที่แยกเชื้อไวรัสได้

6. ถ้าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A จะต้องบอก subtype ของ H และ N ด้วย

 

ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีรูปร่างหลายแบบ กลมหรือเป็นสายยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 นาโนเมตร แต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีสายพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวมี polarity เป็นลบ และแยกเป็นชิ้น โดย types A และ B มี 8 ชิ้น ส่วน type C มี 7 ชิ้น สำหรับไวรัสไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A พบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A ทุกชนิดสามารถก่อให้เกิดโรคในสัตว์ปีกได้ ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ types B และ C ไม่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์ปีก

 

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A ก่อการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า สุกร นก ไก่ เป็นต้น โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบในมนุษย์มีสาเหตุเกิดจาก type A ประมาณร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกด้วย เป็น type ที่มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสไปจากเดิมมากจน กระทั่งเกิดเป็น subtype ใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ชั้นนอกของไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเปลือกหุ้ม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไขมันและไกลโคโปรตีน บนเปลือกหุ้ม มี spikes สองชนิดคือ ฮีแมกกลูตินิน ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง และนิวรามินิเดส ซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด spikes 2 ชนิด รวมกันมีจำนวนประมาณ 500 ก้าน จำนวนของ H: N มีอัตราส่วนประมาณ 4-5: 1

 

 

H5N102.gif

 

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลง แอนติเจนได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย หรือมีการเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อระบาดวิทยาใหญ่ทั่วโลกบ่อยกว่าไวรัสอื่น วงการแพทย์ได้บทเรียนจากอดีตว่าถ้าเชื้อจากไข้หวัดนกและเชื้อจากไข้หวัดคนไป ติดในคนคนเดียวกันหรือสัตว์ตัวเดียวกันมีโอกาสที่เชื้อจะผสมกันได้ ไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่มีความรุนแรงเหมือนไข้หวัดนกและสามารถติดคนได้เหมือน ไข้หวัดคน ถ้ามีเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นจะเกิดการระบาดไปทั่วโลก เพราะไม่เคยมีคนใดมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้มาก่อน คนอาจจะตายหลายล้านคนเหมือนไก่ การป้องกันในคนทำยากกว่ามากเพราะเราไม่สามารถเอาคนที่สัมผัสโรคมาทำลายเหมือนไก่ได้ เชื้อไข้หว้ดใหญ่ในคนติดง่ายกว่าเชื้อซารส์ เพราะฉะนั้นจึงต้องป้องกันไว้ก่อนไม่ให้เกิด

 

แอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ฮีแมกกลูตินิน ทำหน้าที่ในการจับกับที่รับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลได้ ตำแหน่งของตัวรับนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและ สัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม คุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ เชื้อไข้หวัดใหญ่ types B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype

 

นิวรามินิเดสเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีน ซึ่งเป็นตำแหน่งของตัวรับบนผิวเซลล์ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป แอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสมีผลในการคุ้มกันโรคเพียงบางส่วน โดยแอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในขั้นตอนการปลด ปล่อยไวรัสออกจากเซลส์

 

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-15-35/1844--h5n1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ฟันผุเรื้อรัง" อันตรายกว่าที่คิด!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2553 12:52 น.

"ทพ. ประเสริฐ เกียรติประวัติ"

 

:wub: :unsure: :lol:

 

หลายคนคิดว่า "ฟันผุ" มักจะเกิดขึ้นเฉพาะในวัยเด็ก อาจจะด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด การแปรงฟัน การกิน เนื่องจากเด็กกับลูกอมเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร จนทำให้ต้องถอนฟันเกือบหมดปากตั้งแต่ตอนเด็ก และถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะธรรมชาติของมนุษย์จะมีฟัน 2 ชุด หากถอนฟันชุดแรก หรือที่เรียกว่า "ฟันน้ำนม" ออกไปก็ยังมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทน แต่ที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้น หากมี "ฟันผุเรื้อรัง" ที่เกิดจากการลุกลามของฟันที่ผุตั้งแต่ฟันชุดแรก

 

ทพ. ประเสริฐ เกียรติประวัติ กล่าวให้ความรู้ว่า ฟันผุเกิดจากการสะสมของคราบแบคทีเรียและเศษอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดกรดที่จะมาทำลายผิวเคลือบฟัน ทำให้เนื้อฟันถูกละลายออกไป จนเป็นรูหรือโพรงลึกที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในช่องปากบางชนิด เช่น “พลัค” จุลินทรีย์ที่เกิดจากการสะสมของเศษอาหารตามเคลือบฟัน จนกลายเป็นหินปูนเกาะตามฟัน จากนั้นจะเริ่มมีฝ้าขาวที่ผิวฟัน ส่งผลให้มีการผุกร่อนของผิวฟัน เกิดเป็นร่องลึกลงไปในแนวตั้งและขยายออกกว้างเป็นชั้นๆ ลักษณะคล้ายกับถ้ำ คือปากรูจะมีขนาดเล็กแต่ข้างในจะเป็นโพรงขยายใหญ่มาก

 

"การผุของฟันชุดแรกหรือฟันน้ำ นมนั้น สามารถส่งผลให้ฟันชุดที่สองเกิดอาการฟันผุได้ ถ้าเกิดการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียมาสู่ฟันซี่ที่ไม่ผุ เพราะเด็กที่มีฟันผุจะมีการละเลยและไม่กล้าแปรงฟัน เนื่องจากเกิดอาการเกร็งและเจ็บปวด ทำให้ฟันแท้ที่เกิดใหม่ไม่ได้ทำความสะอาด ส่งผลให้ฟันแท้ผุตามไปด้วย นอกจากนั้นคนที่มีสุขภาพในช่องปากไม่ดีอยู่แล้ว เช่น ฟันเก ฟันซ้อน หรือไม่ดูแลสุขภาพช่องปากก็สามารถก่อให้เกิดฟันผุได้เช่นกัน"

 

สำหรับอาการเริ่มแรกของฟันผุจะมีกลิ่นปาก เนื่องจากเศษอาหารที่เข้าไปติดในรูหรือโพรงของฟันผุจนเกิดการหมักหมม หรือบางรายจะมีอาการเสียวฟันเวลารับประทานของร้อนหรือเย็น ซึ่งเกิดจากเคลือบผิวฟันถูกทำลาย ทำให้ฟันทำงานงานได้ไม่ดี เช่น เคี้ยวอาหารไม่สะดวก มีอาการปวด และอาจเกิดเป็นโรคเหงือกหรือปริทันต์ได้ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

ฟันผุเรื้อรังไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เกิดอาการดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ทันตแพทย์ท่านนี้ยังบอกว่า หลายคนไม่ให้ความสนใจในการรักษาสุขภาพในช่องปาก หรือบางครั้งก็จะแก้ปัญหาโดยการถอนฟันที่ผุออกไปเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้รักษาฟันซี่ที่อยู่ติดกัน จนเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย และกลายเป็นปัญหาในช่องปากเรื้อรังที่ส่งผลเสียให้เกิด "โรคลิ้นหัวใจรั่ว" (Subacute Bacterial Endocardiris) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococci Occurs Viridans เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียตัวนี้จะไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน หากมีการสะสมในปริมาณมากๆ เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปกระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนัก มากขึ้น จนเกิดการอักเสบบริเวณลิ้นหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยบางรายอาจจะอาการไข้สูงในระยะเริ่มต้น นอกจากนั้นยังทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจน้อยกว่าปกติ

 

 

นอกจากนั้น การทำฟัน เคลียร์ช่องปาก หรือการผ่าตัดตกแต่งเหงือก ก็มีโอกาสเสี่ยงถูกอุปกรณ์ในการทำฟันขูดหรือบาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์และการทำความสะอาดอุปกรณ์ทาง การแพทย์ของสถานบริการทันตกรรมด้วย เพราะหากมีแผลและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปากได้อีกด้วย ซึ่งการรักษาโรคดังกล่าวจะอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะส่วนมากในการตรวจโรคหัวใจหรือมะเร็งจะมีการตรวจทั้งความผิดปกติทางร่าง กายและสุขภาพในช่องปาก เนื่องจากเป็นแหล่งที่สะสมเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ตัวการที่ทำให้เกิดโรค โดยแพทย์จะนำผลมาวินิจฉัยหาสาเหตุอาการป่วยร่วมกัน

 

อย่างไรก็ตาม ทพ. ประเสริฐ แนะนำและฝากเตือนทุกบ้านว่า ทุก คนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หากไม่มีการดูแลฟันมาตั้งแต่ฟันชุดแรก อีกทั้งปล่อยปละละเลยปัญหาในช่องปาก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มปลูกฝังเรื่องการกินให้กับเด็กและผู้ใหญ่ในบ้าน ให้เลือกรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกอมซึ่งถือว่าเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดฟันผุ และควรมีการตรวจเช็คสุขภาพฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง บางกรณีอาจจะต้องเคลือบฟลูออไรด์ และที่สำคัญแนะนำให้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ รวมถึงก่อนนอนด้วย

 

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000136782

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงครับ อาหารควรจะรับประทานผสมผสนกันไปให้ครบ ถ้ารับประทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้โดยตัวมันเองจะมีประโยชน์ เช่น กล้วย ไข่ นม ฯลฯ แต่การที่รับประทานอย่างเดียวโดยไม่ผสมกับอาหารประเภทอื่น ก็จะเกิดโทษแก่ร่างกายอย่างข้อมูลที่คุณมดแดงนำมาเสนอนั่นแล

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยืดอายุกระดูก ใครไม่ป่วย Tape 68 1/5

 

 

 

 

 

ยืดอายุกระดูก ใครไม่ป่วย Tape 68 2/5

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

คุณ วิลาวัลย์ อินพานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพ ได้พูดถึงแคลเซียมวัฒกรรมใหม่ เปรียบเทียบถึงการดูดซึมที่ได้ถึง9-10เท่า และไม่ตกค้างทำให้ผู้ที่ทานเข้าไปไม่ท้องผ­ูก และที่น่าสนใจคุณผู้ชมรู้จักกระดูกอ่อนปลา­ฉลามมั้ยครับ....

 

 

 

 

คุณ วิลาวัลย์ อินพานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพ ยังคงอธิบายเพิ่มเติม ถึงประโยนช์ของแคลเซียมนวัฒกรรมใหม่ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่ทานเข้าไป....และผู­้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องข้อและกระดูก จะมาเล่าประสบการณ์ให้กับพวกเราฟังกันครับ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงครับ

 

เรื่องฟันนี่ ผมขอเสริมจากประสบการณ์ตัวเองเลยว่า การแปรงฟันถึงจะแปรงให้ถูกวิธีละเอียดลออยาวนานเพียงใด ก็ไม่สามารถขจัดเศษอาหารที่อยู่ตามซอกฟันได้ครับ ดังนั้น จึงต้องใช้ไหมขัดฟัน ทำความสะอาดตามซอกฟันหลังแปรงฟันทุกครั้ง ใครที่ไม่เคยใช้ไหมขัดฟัน เมื่อลองใช้ดูจะเห็นเลยว่าเราทิ้งเศษอาหารสะสมในซอกฟันมานาน จนมีกลิ่นบูดเน่าให้รู้สึกได้เลย และเมื่อใช้ไหมขัดฟันแ้ล้วก็จะรู้ด้วยตัวเองเลยว่าฟันของเราสะอาดปราศจากเศษอาหารอย่างแท้จริงครับ

 

ใครยังใช้ไม่เป็นก็ลองซื้อมาใช้ดูนะครับ

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชวนทุกบ้าน.....กินเพื่อสุขภาพ ลดความดันโลหิตสูง

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

"วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร"

 

 

อย่างที่ทราบกันดี ว่า วัฒนธรรมการกินของคนไทย ณ ปัจจุบันถูกชาติตะวันเข้าครอบงำ เนื่องจากมีค่านิยมของการรับประทานอาหารฟาสฟู้ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายของสังคมคนเมืองทุกครอบ ครัวในอันดับต้นๆ จึงไม่แปลกที่เห็นคนไทยรับประทานอาหารไทยน้อยลง ทั้งๆ ที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่ก็ยังสู้ความสะดวกรวดเร็วของอาหารฟาสฟู้ดไม่ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบเร่งไปทำงาน จนไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารการกินให้กับลูกว่าลูกจะได้รับสารอาหารที่มี ประโยชน์หรือไม่ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นไม่ทันยั้งคิดถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นเลย

 

กับประเด็นปัญหานี้ "วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร" นัก กำหนดอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพ สะท้อนมุมมองว่า ทุกวันนี้เด็กๆ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ตกเป็นทาสของอาหารฟาสฟู้ด เนื่องจากถูกปลูกฝังค่านิยมมาตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้เกิดความเคยชินในการกินไปจนถึงวัยของผู้ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคภัยตามมาเมื่อเข้าสู่วัยชรา โดยเป็นผลพวงมาจากการกินที่สะสมตั้งแต่ในวัยเด็ก คือ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีสาเหตุมาจากการมีไขมันในเลือดสูงเกินไป พันธุกรรม สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ มีความเครียดสะสม และที่สำคัญรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดเป็นประจำ

 

แม้โรคความดันโลหิตสูงจะเป็น โรคที่ไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน แต่บางรายอาจพบอาการปวดศีรษะบริเวณท้าทอย มึนงง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ใจสั่น ตามัว มือ-เท้าชา และอาจมีเลอดกำเดาไหลได้ หากเป็นในระยะเวลาที่นานและไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อม สภาพ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอดจนถึงขั้นตาบอดได้ ไตวายหรือไตพิการ หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ถ้ามีอาการรุนแนงอาจชักจนหมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

 

อย่างไรก็ดี นักกำหนดอาหารท่านนี้กล่าวว่า อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต คนเราต้องบริโภคอาหารทุกวัน ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะอาหารและสุขภาพเป็นเรื่องระยะยาว ขอให้เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมก่อนที่ร่างกายจะต้องเผชิญกับโรคร้าย เพื่อป้องกันการการเจ็บป่วยเรื้อรังและเมื่อท่านป่วยอาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ชะลอหรือควบคุมการเกิดของโรคได้

 

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะต้องเลือกรับประทานอาหารประเภท DASH diet (Dietary Approch to Stop Hypertension) เช่น ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่ำ เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลต่ำ มีใยอาหารสูง โดยเน้นการบริโภคอาหารที่มีสารอาหารที่ส่งผลให้ลดความดันโลหิต (เช่น โปแตสเซียม, แคลเซียม และแมกนีเซียม) ซึ่งสามารถควบคุมได้ทั้งความดันโลหิตและไขมันในเลือด หากเป็นเมนูอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารไทย เช่น น้ำพริกผักต้มและแกงส้ม แต่ควรหลีกเลี่ยงเมนูที่มีส่วนประกอบหลักเป็นกะปิ เกลือและกุ้งแห้ง เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกกุ้งเสียบ เนื่องจากทั้งกะปิและกุ้งแห้งมีปริมาณโซเดียมที่ค่อนข้างสูง และไม่ควรรับประทานแกงที่มีส่วนผสมของกะทิอีกด้วย ขณะเดียวกันการรับประทานน้ำพริกให้รับประทานเหมือนคนโบราณ คือเป็นเครื่องจิ้มไม่ใช่การตักปริมาณมากๆ ในแต่ละคำที่บริโภค

 

"ถึงแม้ว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มได้แล้วยังมีอาหารบางประเภทที่มีรสชาดไม่เค็ม แต่มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่จำนวนมาก เช่น เครื่อง ปรุงรสทุกชนิด ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ และอาหารแปรรูปที่ส่วนใหญ่ที่มีการถนอมอาหารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น หมูยอ กุนเชียง ปลากระป๋อง รวมทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่เรีกว่าอาหาร ready-to-eat ต่างๆ ที่ปัจจุบันมีวางขายจำนวนในท้องตลาด โดยจากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่าประเทศที่รับประทานอาหารที่มีเกลือสูงจะมี อุบัติการณ์โรคความดันโลหิตสูงขึ้นหลายเท่าตัว และเกิดในกลุ่มที่อายุน้อยลง ไม่เพียงแต่ในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น" วีรวรรณกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม วีรวรรณกล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากการควบคุมเรื่องอาหารของผู้ป่วยโรคนี้แล้ว ควรมีการทำกิจกรรมหรือมีการดูแลสุขภาพ ถ้าน้ำหนักตัวเริ่มมากขึ้น ควรออกกำลังกายให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ถ้าจะให้ดีต้องออกกำลังกายทุกๆ วัน วันละ 30 นาที หรืออย่างน้อย3 ครั้งต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่อละเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงใส่ใชเรื่องสภาวะจิตใจให้อารมณ์ดี อยู่เสมอ

 

**แนะนำเมนูเพื่อสุขภาพ

 

วันนี้ทีมงาน Life & Family จึงขอแนะนำเมนูอาหารไทยเพื่อสุขภาพให้ทุกครอบครัวไปลองทำกัน โดยเฉพาะบ้านที่กำลังมีคุณตา คุณยายป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องรีบเปิดครัวลงมือทำกันกับ 2 เมนูสุขภาพนี้

 

1. น้ำพริกอ่อง (อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ)

 

553000014539502.JPEG

 

 

เครื่องปรุง

 

- หมูสับ 200 กรัม

- มะเขือเทศลูกเล็ก 150 กรัม

- พริกแห้ง 4-5 เม็ด

- กระเทียม 3-4 กลีบ

- เกลือ กะปิ อย่างละ 1/2 ช้อนโต๊ะ

- น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ

- ถั่วเน่าแผ่น 1/2 แผ่น

- หัวหอม 2 หัว

- น้ำปลา

- น้ำตาล

- ผักชี ต้นหอม หั่นหยาบ

 

วิธีทำ

 

1. นำถั่วเน่าแผ่นมาย่างไฟ ทิ้งไว้ให้กรอบ แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด

2. โขลกพริกแห้ง เกลือ กระเทียม กะปิ หัวหอม ให้ละเอียด แล้วนำถั่วเน่าแผ่น ที่โขลกเอาไว้ มาโขลกรวมกับน้ำพริก

3. นำหมูสับมาโขลกกับเครื่องปรุงในข้อ 2 ใส่มะเขือเทศลงไป โขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน

4. ใส่น้ำมันลงในกะทะ แล้วนำเครื่องปรุงที่โขลกเข้ากันดีแล้ว ลงไปผัดจนเห็นว่าได้ที่ดีแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ชิมรส ยกลงโรยด้วยต้นหอมผักชี

 

เครื่องจิ้ม

 

รับประทานคู่กับแคบหมูและผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วพู หรือผักต้ม เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค กะหล่ำปลี ฟักทอง

 

2. แกงส้มผักรวม

 

553000014539501.JPEG

 

เครื่องน้ำพริกแกงส้มผักรวม

 

-พริกแห้ง 25 กรัม

-กระชาย 2 ช้อนโต๊ะ

-เกลือ 2 ช้อนชา

-หอม 25 กรัม กะปิ 2 ช้อนชา

 

ส่วนผสม

 

-น้ำ 6 ถ้วยตวง

-แตงโมอ่อน 500 กรัม

-ถั่วฝักยาว 250 กรัม

-ปลาช่อน 700 กรัม

-กะหล่ำปลี 300 กรัม

- ดอกแค 300 กรัม

 

ปรุงรส

 

-น้ำมะขามเปียก 3/4 ถ้วยตวง

-น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ

-น้ำปลา 1/3 ถ้วยตวง

 

วิธีทำ

 

1.โขลกส่วนผสมของน้ำพริกให้ละเอียด ส่วนกระชายถ้าชอบกลิ่นก็ใส่ แต่ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องใส่

2.ขอดเกล็ดปลาช่อนล้างน้ำให้สะอาดต้มกับน้ำเดือด

3.ตั้งน้ำพอเดือดใส่ส่วนหางที่แบ่งไว้ต้มให้เปื่อย แกะก้างออกโขลกเนื้อกับน้ำพริกให้เข้ากัน น้ำพริกละลายในน้ำเดือดใส่ผักที่สุกยากก่อน ใส่น้ำปลา น้ำมะขามน้ำตาล ปรุงรส ใส่ผักที่เหลือตั้งให้เดือดอีกครั้งใส่เนื้อปลา ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม สุก ยกลง

 

***ข้อควรระวังในการรับประทานแกงส้ม ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตไม่ควรซดน้ำแกงมาก ควรรับประทานผักให้มากกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงครับ

 

เรื่องฟันนี่ ผมขอเสริมจากประสบการณ์ตัวเองเลยว่า การแปรงฟันถึงจะแปรงให้ถูกวิธีละเอียดลออยาวนานเพียงใด ก็ไม่สามารถขจัดเศษอาหารที่อยู่ตามซอกฟันได้ครับ ดังนั้น จึงต้องใช้ไหมขัดฟัน ทำความสะอาดตามซอกฟันหลังแปรงฟันทุกครั้ง ใครที่ไม่เคยใช้ไหมขัดฟัน เมื่อลองใช้ดูจะเห็นเลยว่าเราทิ้งเศษอาหารสะสมในซอกฟันมานาน จนมีกลิ่นบูดเน่าให้รู้สึกได้เลย และเมื่อใช้ไหมขัดฟันแ้ล้วก็จะรู้ด้วยตัวเองเลยว่าฟันของเราสะอาดปราศจากเศษอาหารอย่างแท้จริงครับ

 

ใครยังใช้ไม่เป็นก็ลองซื้อมาใช้ดูนะครับ

:ph34r:

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ขอเสริมอีกนิดนึง

 

:huh: หรือจะใช้แปรงเล็กๆที่มีขายตาม ร้านวัทสัน (บางท่านอาจหายาก เลยต้องขออนุญาติเอ่ยชื่อ)ซึ่งร้านอืื่น มีบ้างไม่มีบ้าง มีหลากหลายแบบ ไปลองเลือกดู เพราะแปรงนี้ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ สำหรับซอกฟันที่ห่าง คือต้องใช้ทั้งสองอย่างล่ะค่ะ

 

:blush: อาจ อมน้ำมันมะพร้าว หลังแปรงฟัน หรือเมือตื่นนอนก่อนแปรงฟัน ( oil pulling แทนน้ำเกลือ ) สำหรับตนเองได้ปฏิบัติแบบนี้ค่ะ ทำให้ลดการไปหาหมอฟัน.... :lol:ประหยัดเงินไปได้แยะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ขอเสริมอีกนิดนึง

 

:huh: หรือจะใช้แปรงเล็กๆที่มีขายตาม ร้านวัทสัน (บางท่านอาจหายาก เลยต้องขออนุญาติเอ่ยชื่อ)ซึ่งร้านอืื่น มีบ้างไม่มีบ้าง มีหลากหลายแบบ ไปลองเลือกดู เพราะแปรงนี้ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ สำหรับซอกฟันที่ห่าง คือต้องใช้ทั้งสองอย่างล่ะค่ะ

 

:blush: อาจ อมน้ำมันมะพร้าว หลังแปรงฟัน หรือเมือตื่นนอนก่อนแปรงฟัน ( oil pulling แทนน้ำเกลือ ) สำหรับตนเองได้ปฏิบัติแบบนี้ค่ะ ทำให้ลดการไปหาหมอฟัน.... :lol:ประหยัดเงินไปได้แยะค่ะ

 

 

ร้านทุกอย่าง 60 บาทก็มีครับ เอารูปมาให้ดูครับเผื่อใครนึกภาพไม่ออก

 

Interdental-brushes.JPG

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนภัยเห็ดพิษ และข้อแนะนำในการบริโภคเห็ด ........โดย พญ. พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา

 

 

1276766344.jpg

 

 

เตือนภัยเห็ดพิษ และข้อแนะนำในการบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

 

ทุก ปีสำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการป่วยและการเสียชีวิตจากเห็ดพิษ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมักจะได้รับรายงานมากในช่วงเริ่มต้นของฤดุฝน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

 

โดยทุกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิตจะเกิดจากการรับประทานเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า โดยเฉพาะเห็ดที่ขึ้นตามภูเขา โดยที่เห็ดพิษทำให้เกิดการเสียชีวิตแยกได้ยากจากที่ไม่มีพิษ

 

ในปี พ.ศ. 2553 สำนักระบาดวิทยาเริ่มได้รับรายงานการป่วยเป็นกลุ่มก้อนและการเสียชีวิตจาก เห็ดพิษในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (30 พฤษภาคม -12 มิถุนายน 2553) รวมทั้งหมด 11 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 5 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2552 ทั้งปีที่มีรายงานเพียง 3 เหตุการณ์ และในจำนวนนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนปี พ.ศ. 2551 ที่มีรายงานทั้งหมด 10 เหตุการณ์ และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 2 ราย

 

จังหวัดที่มีรายงานการ ป่วยเป็นกลุ่มก้อนจากเห็ดพิษในปี 2553 มาจากเชียงใหม่ 5 เหตุการณ์ โดยหนึ่งในนี้เป็นกลุ่มผู้ป่วยจากประเทศพม่า (ป่วย 18 ราย เสียชีวิต 3 ราย มาจากคนละอำเภอ) อุบลราชธานี 2 เหตุการณ์ (ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย มาจากคนละอำเภอ) อำนาจเจริญ 2 เหตุการณ์ (ป่วย 11 ราย ไม่เสียชีวิต) และน่าน 1 เหตุการณ์ (ป่วย 2 รายไม่เสียชีวิต)

 

ที่น่าสนใจคือ มีถึง 4 เหตุการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากที่มีลักษณะคล้ายเห็ดไข่ห่าน (ซึ่งอยู่ในกลุ่มเห็ดระโงก) โดย 3 เหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตและอีก 1 เหตุการณ์มีไตวาย ซึ่งเห็ดไข่ห่านนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกเห็ดระโงก มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ สำหรับชนิดที่มีพิษเป็น Amanita virosa มีสารพิษในกลุ่ม Amatoxin ซึ่งเป็นพิษต่อตับ จากข้อมูลที่ผ่านมาผู้ที่รับประทานเห็ดไข่ห่านประมาณ 1 ดอกก็ทำให้เสียชีวิตได้

 

ประชาชนส่วนใหญ่รู้ว่าเห็ดไข่ห่านมีทั้ง ชนิดมีพิษและไม่มีพิษ แต่มีความเชื่อว่าสามารถแยกชนิดของเห็ดพิษได้โดยวิธีต่างๆที่เป็นภูมิปัญญา พื้นบ้าน แต่เป็นความเชื่อที่ผิด ในครั้งนี้ก็มี 2-3 เหตุการณ์ที่มีการทดสอบด้วยวิธีต่างๆก่อนรับประทาน

 

อีก 1 เหตุการณ์ในจังหวัดอุบลราชธานีที่เป็นเด็ก 1 ปี 9 เดือน ผู้ปกครองให้กินเห็ดที่ย่างสุกแล้ว เรียกเห็ดขี้กะเดือน เด็กมีอาการถ่ายเป็นน้ำ และภายหลังถ่ายเป็นเลือดแล้วเสียชีวิต ในขณะที่ตาและยายซึ่งกินด้วยกันไม่มีอาการ ซึ่งไปด้วยกันกับคำแนะนำที่ ไม่ควรให้เด็กอ่อนบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

 

จาก ข้อมูลในปีที่ผ่านๆมาพบว่าการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตมักเกิดในกลุ่มเดิมๆ คือ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเขา (รวมทั้งชาวเขา) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทหารเกณฑ์ ซึ่งมักมาจากต่างพื้นที่แต่เคยกินเห็ดลักษณะนี้มาก่อน

 

โดยสรุป ในพื้นที่ที่มีเห็ดที่ทำให้ถึงชีวิตซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยๆ เช่น จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มักเสียชีวิตจากเห็ดไข่ห่าน ควรให้สุขศึกษาในช่วงก่อนหน้าฝนโดยเน้นให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดไข่ ห่านไม่ว่าชนิดใดๆ โดยเน้นในพื้นที่และกลุ่มประชากรที่พบบ่อยๆ

 

 

ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการรับประทานเห็ด

 

เห็ดในธรรมชาติมีหลายชนิด ดังนั้นการจำแนกว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษบางครั้งเป็นเรื่องยาก หลักสำคัญคือการรู้จักเห็ดชนิดนั้น ๆ เป็นอย่างดีก่อนจะเลือกมารับประทาน หากแต่ว่าชาวบ้านบางส่วนยังมีความเชื่อที่ผิดในการทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เมา เช่น

 

1. เห็ดที่มีแมลงกัดกินย่อมรับประทานได้

 

หากแต่ว่าจากการศึกษาวิจัยในกรณีคนไข้นำเอา เห็ดไข่ห่านขาว (Amanita virosa) ที่รับประทานแล้วเสียชีวิตจากตับวาย มาทำการแยกชนิดและเพาะเชื้อเห็ดในห้องทดลอง ผลปรากฏว่ามีแมลงหวี่เกิดขึ้น บ่งชี้ว่ามีแมลงหวี่ในธรรมชาติมาไข่ไว้ในครีบของเห็ดและแมลงก็สามารถอาศัย อยู่ร่วมกับเห็ดได้

 

2. ถ้าเป็นเห็ดเมา หากขณะต้มหรือแกงให้ใส่ข้าวสารลงไปด้วยมันจะสุก ๆ ดิบ ๆ

 

3. เห็ดที่มีสีสวยมักจะเป็นเห็ดเมา

 

4. ถ้าน้ำต้มเห็ดถูกกับช้อนเงิน ช้อนเงินจะเปลี่ยนเป็นสีดำแสดงว่าเห็ดพิษ

 

5. เห็ดเมาถ้าใส่หัวหอมลงไปปรุงอาหารจะเป็นสีดำ

 

6. ใช้มือถูกลำต้นแล้วเป็นรอยดำแสดงว่าเห็ดนั้นมีพิษ

 

7. เห็ดที่ขึ้นผิดฤดูกาลมักเป็นเห็ดพิษ

 

ซึ่งความเชื่อดังกล่าวไม่สามารถแยกเห็ดพิษชนิดที่ทำให้เสียชีวิตออกจากเห็ดที่รับประทานได้

 

 

คำแนะนำในการบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า มีดังนี้

 

1. อย่าบริโภคเห็ดสด

 

2. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีน้ำตาลดอกเล็ก ๆ เพราะจำแนกยากและมีพิษมาก

 

3. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีขาว เพราะจำแนกยาก เช่น เห็ดระโงก ที่มีพิษร้ายแรง

 

4. ระมัดระวังการบริโภค

- เห็ดที่มีวงแหวน

- เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคน

- เห็ดที่โคนก้านป่อง ออกเป็นกระเปาะ

- เห็ดที่มีเกล็ดบนหมวกดอก

 

5. หลีกเลี่ยงเห็ดผึ้ง (มีรูอยู่ใต้หมวกดอก) ชนิดที่ปากรูสีแดง และเมื่อทดลองถูที่ผิวปากรู จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

 

6. หลีกเลี่ยงเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า

 

7. อย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัวควาย

 

8. อย่าบริโภคเห็ดธรรมชาติ และเห็ดป่าพร้อมกับการดื่มเหล้า เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้

 

9. เด็กอ่อน คนแก่ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ไต และตับ ไม่ควรบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

 

10. อย่าบังคับ หรือชวนคนไม่ชอบเห็ดหรือกลัวเห็ดให้บริโภคเห็ดป่า เพราะความกลัวอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้นั้นป่วยได้

 

11. ถ้าเป็นเห็ดที่ไม่เคยพบหรือไม่แน่ใจว่าเป็นเห็ดที่รู้จักไม่ควรบริโภคเห็ดเหล่านั้นโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 

:lol: :wub: :mad:

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

1) ราชบัณฑิตยสถาน. เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ. 2539.

 

2) สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย. เห็ดพิษ. กรุงเทพฯ. 2543.

 

3) ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ระวัง “เห็ดเมา” พิษร้ายในหน้าฝน ค้นวันที่ 12 มิถุนายน2553. จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/37619

 

 

 

แถม..

 

สถานการณ์ ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการกินเห็ด จังหวัดน่าน

วารสารคลินิก เล่ม :274

เดือน-ปี :10/2550

คอลัมน์ :นานาสาระ

นัก เขียนรับเชิญ :นพ.อภิชาติ รอดสม

 

http://www.doctor.or.th/node/7452

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แหม ว่าจะออกไปเก็บเห็ดพอดี คุณมดแดงเอาข้อความมาเตือน ต้อง print ไปดูด้วย

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ สำหรับ ข้อมูลดีๆ มากมาย ที่นำมาให้อ่านครับ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีรักษาไข้หวัดแบบประหยัด549057i52s2pstm0.gif

 

 

โรคน่ารู้

นักเขียนหมอชาวบ้าน :

รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

 

474167l68h9nknqq.gif

 

 

วิธีรักษาไข้หวัดแบบประหยัด

 

ระยะ ย่างเข้าหน้าฝนนี้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างถูกไข้หวัดเล่นงานกันงอมแงม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีลูกหลานเล็กๆ ที่เพิ่งเข้าเรียนหนังสือในปีแรก อาจรู้สึกเดือดร้อนที่เด็กน้อยเป็นไข้หวัดแทบไม่เว้นแต่ละเดือน ต้องขาดเรียนอยู่เรื่อยๆ และเสียเงินค่ายาค่าหมอทีละไม่น้อย

 

เคยมีผู้ อ่านซึ่งเป็นคนในโรงงานเขียนจดหมายมาเล่าให้ฟังว่า มีลูกเป็นไข้หวัดบ่อย แต่ก่อนต้องพาไปหาหมอ เสียค่ารักษาแต่ละครั้งประมาณ 70-80 บาท ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้วิธีรักษาโรคไข้หวัดจาก หมอชาวบ้าน จึงได้นำความรู้ไปรักษาลูกของตัวเองเวลาเป็นหวัด เสียค่ายา (ซื้อตามคำแนะนำในนิตยสาร) ครั้งละ 15-20 บาทเป็นอย่างมาก ซึ่งไปทุ่นเงินไปได้หลายสตางค์

 

ครั้งนี้จึงขอถือโอกาสแนะนำวิธีการรักษาไข้หวัดด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง ดีไหมครับ

 

ข้อน่ารู้เกี่ยวกับไข้หวัด

 

1) ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น (ได้แก่ จมูกและคอ) ติดต่อกันได้ง่ายด้วยการอยู่ใกล้ชิดกัน รับเชื้อจากละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จามหรือหายใจรด

 

2) เชื้อโรคที่ทำให้เป็นไข้หวัด (เรียกว่า เชื้อหวัด) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ออกไปร่วม 200 ชนิด ในการเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงหนึ่งชนิด เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัด เฉพาะชนิดนั้นเพียงชนิดเดียว เมื่อติดเชื้อหวัดอีกชนิดหนึ่ง วนเวียนไปเรื่อยๆ ดังนั้นคนเราจึงเป็นไข้หวัดได้บ่อย (หรือจนกว่าจะเวียนไปครบทุกชนิด)

 

3) เด็กเล็กจะมีภูมอต้านทานต่อเชื้อหวัดน้อยกว่าผู้ใหญ่ (เพราะผู้ใหญ่เคยรับเชื้อมาอย่างโชกโชนตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก) ดังนั้น จึงมีโอกาสเป็นไข้หวัดได้บ่อย และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนใน 1-2 ปีแรก จะรับเชื้อหวัดจากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ซึ่งพกเอาเชื้อหวัดรดกันคนละพันธุ์สองพันธุ์มาแจกจ่ายกันจนถ้วนหน้า เมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดมากขึ้น จึงเป็นไข้หวัดห่างขึ้น และอาการจะรุนแรงน้อยลง

 

4) ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันไข้หวัดอย่างได้ผลเต็มที่ เพราะคนที่มีเชื้อหวัดในจมูกและคอ จะเริ่มแพร่โรคให้คนข้างเคียง ตั้งแต่ก่อนจะมีอาการตัวร้อนหรือเป็นหวัด ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าใครบ้างที่จะเป็นคนแพร่เชื้อ (ยกเว้นเมื่อเขามีอาการแสดงชัดเจนแล้วเท่านั้น) ซึ่งควรจะหลีกหนีจากเขา อย่าให้ถูกเขา ไอ จาม หรือหายใจรดใส่

 

โดยทั่วไป เรามักจะแนะนำว่าในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดไม่ควรเข้าไปในสถานที่ๆ มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นหวัด เวลาไอหรือจาม ควรปิดปากอย่าให้เชื้อแพร่ออกไป และควรอยู่ให้ไกลจากผู้อื่น อย่านอนรวมกับผู้อื่น

 

ส่วนเด็กเล็ก มักมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะธรรมชาติของเด็กคือการจับกลุ่มเล่นหัวคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามได้ยาก

 

5) เนื่องจากไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ฆ่าเชื้อกลุ่มนี้อย่างได้ผล จึงอาจกล่าวได้ว่ายังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้หวัดโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส คางทูม ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (ไวรัสลงตับ) เป็นต้น

 

 

การ รักษาไข้หวัดและกลุ่มโรคที่เกิดจากไวรัส จึงอยู่ที่การพักผ่อน กินอาหารที่มีประโยชน์ (ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค) และให้ยารักษาไปตามอาการเท่านั้น

 

รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นอื่น?

 

อาการของไข้หวัด ได้แก่ ตัวร้อน (ไข้) เป็นหวัด (คัดจมูกน้ำมูกไหล) และไอ

 

อาจ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ ยังวิ่งหรือทำงานได้ ถึงแม้จะไม่เหมือนเดิมก็ตาม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นอาจมีไข้สูงและต้องนอนพักผ่อนเป็นครั้งคราว แต่เมื่อกินยาลดไข้แล้ว อาการมักจะดีขึ้นจนสามารถวิ่งเล่นหรือทำงานได้

 

แน่ละ มีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดได้

 

ในที่นี้ขอแนะนำวิธีสังเกตดูอาการต่างๆ เพื่อแยกไข้หวัดออกจากโรคอื่นๆ ดังนี้

 

1) ถ้ามีไข้สูงเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีน้ำมูกไหล และจับไข้ตลอดทั้งคืน ทั้งวัน หน้าแด งตาแดง กินยาลดไข้ก็ไม่ได้ผล อาจเป็นไข้เลือดออก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในช่วงหน้าฝน) ควรดื่มน้ำให้มากๆ ทุกวัน นอนพักผ่อนให้เต็มที่ ห้ามกินยาลดไข้ ประเภทแอสไพริน (เช่น ยาแก้ไข้ชนิดซอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ) เพราะถ้าเป็นไข้เลือดออกจริง อาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ ยาแก้ไข้ถ้าจำเป็นให้เลือกใช้พาราเซตามอล

 

ทางที่ดีควรปรึกษาหมอที่อยู่ใกล้บ้าน ภายใน 1-2 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาการร้ายแรง

 

2) ถ้ามีอาการเจ็บคอมาก ควรอ้าปากใช้ไฟฉายส่องดูคอ ถ้าพบว่าต่อมทอนซิลโตแดง หรือเป็นหนองแสดงว่าต่อมทอนซิลอักเสบ ควรไปหาหมอ หมอจะให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี (ผู้ใหญ่ใช้ชนิด 4 แสนยูนิต เด็กใช้ชนิด 2 แสนยูนิต) กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1 เม็ด ก่อนอาหาร สักครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ถ้าแพ้ยานี้ หมอจะให้อีริโทรมัยซินแทน ผู้ใหญ่ครั้งละ 2 แคปซูล เด็กครั้งละ 1 แคปซูลหรือ 1-2 ช้อนชา วันละ 4 ครั้งเช่นเดียวกัน ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไข้รูมาติกหรือไตอับเสบ

 

3) ถ้ามีอาการหอบ หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอกมาก อาจเป็นปอดอักเสบ ควรไปหาหมอโดยเร็ว ถ้าเป็นมากอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หากชักช้าอาจเป็นอันตรายถึงตายได้

 

4) ถ้ามีอาการปวดในหู หูอื้อ หรือหูน้ำหนวกไหล อาจเป็นหูอักเสบแทรกซ้อน ควรไปหาหมอ หมอจะให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ (เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน) และยาแก้หวัด ควรกลับไปให้หมอตรวจซ้ำให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังต่อไป

 

5) ถ้ามีผื่นขึ้นตามตัว หลังมีอาการคล้ายไข้หวัด 3-4 วัน แต่ไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ไม่ได้ผล หน้าแดง ตาแดง อาจเป็นหัด ควรให้ยารักษาแบบไข้หวัด เพราะเป็นโรคในกลุ่มไวรัสเช่นเดียวกัน

 

6) ถ้ามีอาการแบบไข้หวัด แต่มีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัวมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการมักจะรุนแรงจนต้องนอนซมเป็นพักๆ โรคนี้เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นไวรัส การรักษาก็ให้การดูแลรักษาไปตามอาการแบบเดียวกับไข้หวัดธรรมดา เมื่อได้พักผ่อนและกินยาลดไข้ อาการควรจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน ถ้ายังมีไข้สูงติดต่อกันมากกว่า 7 วัน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ซีด เหลือง หอบ ชัก มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ปวดศีรษะรุนแรง ควรไปหาหมอโดยเร็ว

 

 

วิธีรักษาไข้หวัด

 

ถ้าแน่ใจว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เราอาจใช้การรักษาตัวเอง ดังนี้

 

1. พักผ่อนให้มากขึ้น อย่าอาบน้ำเย็น ควรดื่มน้ำมากๆ (อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ ก็ได้)

 

2. ถ้าเบื่ออาหารให้กินน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆ

 

3. กินยาลดไข้ เช่น แอสไพริน หรือพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (เด็กใช้พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อมครั้งละ ครึ่ง-2 ช้อนชาตามอายุ) ถ้ายังมีไข้ให้กินซ้ำได้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง

 

ถ้ามีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก อย่ากินยาแอสไพริน ควรใช้ยาพาราเซตามอล แทน

 

 

การ รักษาเพียง 3 ข้อนี้ ก็เพียงพอสำหรับไข้หวัดและโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ และอาการไข้ควรจะลดลงภายใน 3-4 วัน ส่วนยาอื่นๆ ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัด ยาอื่นๆ ได้แก่

 

 

4. ยาแก้หวัดแก้ไอ ถ้าเป็นไม่มาก ไม่ต้องกินก็ได้ ถ้าจะใช้ให้เลือกใช้ ดังนี้

 

ในเด็กเล็ก: ให้ ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอคลอริเอต ยาแก้หวัดแก้ไอไพร์ตอน เป็นต้น ให้กินครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดได้ หรือถ้ากินแล้วกลับมีอาการไอมากขึ้นก็ควรงดเสีย เพราะยานี้อาจทำให้เสลดในคอเหนียว ขับออกยาก ทำให้ไอมากขึ้นได้

 

สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่: ให้ กินยาแก้แพ้ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง และยาแก้ไอน้ำดำ จิบครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชาเวลาไอ ถ้ากินแล้วกลับไอมากขึ้นควรงดเช่นเดียวกัน

 

5. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัดแต่อย่างไร เพราะไม่ได้กำจัดเชื้อหวัด (และไวรัสทุกชนิด) แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปแทรกซ้อนภายหลัง ซึ่งจะสังเกตได้จากน้ำมูกหรือเสมหะที่เคยใสจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสี เขียว

 

 

ดังนั้นถ้าพบว่าเป็นหวัด น้ำมูกใส เสมหะขาวไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าน้ำมูกหรือเสมหะเหลืองหรือเขียวจึงค่อยให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนวี หรือ อีริโทรมัยซินวิธีใช้ให้ใช้แบบเดียวกับการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบดังกล่าวข้างต้น

 

เมื่อ ได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะหายเป็นปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมีน้ำมูกหรือไอต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ (บางคนอาจไอโครกเป็นเดือน) ถ้าอาการทั่วๆ ไปเป็นปกติดี กินได้น้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง

 

อย่าลืมว่ายาแก้หวัดแก้ไอ อาจทำให้อาการไอเป็นมากขึ้น เพราะทำให้เสลดเหนียวขับออกยาก ดังนั้นถ้ายังไอมากควรงดยาเหล่านี้ แล้วหันไปดื่มน้ำอุ่นมากๆ อาจช่วยให้เสลดออกง่ายขึ้น และอาการไอจะค่อยหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา

 

 

http://www.doctor.or.th/node/5925

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิอิ สมัยนี้ เพนวี กับ อีริโธรมัยซินคงมีแต่ 30 บาทรักษาทุกโรคหรืออนามัยตามหมู่บ้านละมังครับที่จ่ายให้laugh.gif

แซวเล่นน๊า wub.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิอิ สมัยนี้ เพนวี กับ อีริโธรมัยซินคงมีแต่ 30 บาทรักษาทุกโรคหรืออนามัยตามหมู่บ้านละมังครับที่จ่ายให้laugh.gif

แซวเล่นน๊า wub.gif

 

อันนั้นมันข้อมูลนานแล้ว .. แต่อ่านแล้วมันครอบคลุมดีค่ะ

 

มดแดงนะคะใช้ ฟ้าทะลายโจร เมือเริ่มเจ็บคอ ใช้วันละ 2 กรัม โอเลยค่ะ และถ้าระคายคอ ไอ จากคอเป็นเม็ดๆ ใช้สูตรของแม่ค่ะ มะนาว เกลือ น้ำตาล พริกป่น หอมสับ ป้ายค่ะ ป้ายปุ๊บ ยุ๊บปั๊ปเลย หยุดไอ แต่ก่อนไม่เชื่อค่ะ มีอยู่ครั้งที่คอเป็นเม็ดอย่างเร็ว ยิ่งเอาลิ้นเลียรู้สึกมากขึ้น กลับมาบ้าน รีบทำหายเลยค่ะ และเดี๋ยวนี้ พอเริ่มจะเจ็บคอแต่ไม่มีเม็ดนะคะ ทำ oil pulling น้ำมันมะพร้าว ก็เรียบร้อยดีค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...